ที่มาของโรงเรียนแนวคิดการสอนแบบไฮสโคป High Scope
ดร. ไวคาร์ต (Dr.David Weikart) ประธานมูลนิธิวิจัยการศึกษาไฮสโคป (High Scope Educational Research Foundation) เป็นผู้ริเริ่มและพัฒนาร่วมกับคณะ นักวิชาการและนักวิจัย อาทิ แมรี่ โฮแมน (Marry Hohmann) และดร. ชไวฮาร์ต (Dr.Larry Schweinhart) จากโครงการเพอรี่ พรี สคูล (Perry PreSchool Project) ตั้งแต่ พ.ศ.2505 โรงเรียนแนวคิดการสอนแบบไฮสโคป เน้นการเรียนรู้แบบลงมือทำ ด้วยการจัดห้องเรียนที่เหมาะกับการเรียนรู้ของเด็ก มุมเล่นที่หลากหลาย มีสื่อและ กิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก และการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น
แนวการเรียนของโรงเรียนแนวคิดการสอนแบบไฮสโคป
โรงเรียนไฮสโคปมีสิ่งที่คุณครูจะกระตุ้นให้เด็กดำเนินกิจกรรมตามกระบวน 3 ขั้นตอนดังนี้
1. การวางแผน (Plan)
การวางแผนมีความสําคัญต่อแนวคิดการสอนแบบไฮสโคป เนื่องจากเป็นการสนับสนุนความคิด การเลือกและการตัดสินใจของเด็กที่ชัดเจน เราอาจเห็นการวางแผนของเด็กผ่านการกระทําท่าทางหรือคําพูด วิธีนี้จะช่วยส่งเสริมความรู้สึกเชื่อมั่นในตนเองของเด็กและความรู้สึกในการควบคุมตนเอง ทําให้เด็กสนใจการเล่นที่ตนเองได้วางแผนไว้
2. การปฏิบัติ / การทํางาน (Do / Work time)
ช่วงเวลาการทํางานเป็นช่วงที่เด็กได้ปฏิบัติตามสิ่งที่ตั้งใจ และวางแผนไว้ เป็นกระบวนการที่เด็กได้ช่วยกันคิด แก้ปัญหาร่วมกันอย่างมีจุดมุ่งหมาย ได้เรียนรู้ตามประสบการณ์ ค้นพบความคิดใหม่ๆ การได้เล่นของเด็กคือความต้องการที่จะสํารวจ ทดลอง ประดิษฐ์ สร้างสรรค์และเลียนแบบ ดังนั้นเมื่อเด็กได้วางแผน กิจกรรมจึงมีลักษณะทั้งการทํางานที่จริงจังและการเล่นที่มีความสนุกสนาน สร้างสรรค์อย่างเป็นธรรมชาติ โดยมีคุณครูเป็นผู้คอยให้คำแนะนำ สังเกตเด็กเพื่ออํานวยความสะดวก เรียนรู้ สนับสนุน ในช่วงนี้ครูจะพบว่าเด็กแต่ละคนมีวิธีการคิด ใช้เหตุผล และใช้ความรู้ในการแก้ปัญหาอย่างไรบ้าง ครูมีส่วนร่วมในการเล่นกับเด็ก สนทนา ส่งเสริมการแก้ปัญหาของเด็ก พิจารณาปฏิสัมพันธ์จากสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว บันทึกการสังเกตเด็ก
3. การทบทวน (Recall time)
การทบทวนเป็นช่วงที่เด็กได้สะท้อน พูดคุย เล่าถึงประสบการณ์และงานที่ทำ ช่วยให้เด็กได้ฝึกการเล่าเรื่อง การบรรยาย ฝึกความสามารถในการแสดงให้ผู้อื่นเห็น และเข้าใจประสบการณ์ของตน การทบทวนทําให้เด็กนึกย้อนไปยังเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้ ครูช่วยกระตุ้นการระลึกประสบการณ์ของเด็ก ส่งเสริมโดยการสังเกตการทบทวนของเด็กในบรรยากาศที่สงบ จัดหาวัสดุอุปกรณ์ หรือประสบการณ์ที่ทําให้เด็กสนใจ เช่น การเยี่ยมชมตามมุมที่เด็กสร้างไว้ ใช้เกม เช่น เก้าอี้ดนตรีโดยให้เด็กที่ได้นั่งได้ทบทวนก่อน ใช้เพื่อนร่วมงานหรืออุปกรณ์ร่วมด้วย
จุดเด่นและสิ่งที่เด็กจะได้รับจากการโรงเรียนแนวคิดการสอนแบบไฮสโคป
การเรียนรู้แบบลงมือในโรงเรียนไฮสโคปทําจะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพมาก ต้องมี 5 องค์ประกอบ
1. การเลือกและตัดสินใจ เด็กจะเป็นผู้ริเริ่มกิจกรรมจากความสนใจและความตั้งใจของตนเอง รวมถึงการตัดสินใจเลือกวัสดุอุปกรณ์ในการนำมาทำกิจกรรมด้วย ในขั้นตอนนี้จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้มากกว่าได้รับการบอกต่อความรู้จากผู้ใหญ่
2. สื่อ ในห้องเรียนจะมีเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ที่ หลากหลาย และเหมาะกับอายุของเด็ก เด็กต้องมีโอกาสและมีเวลา เลือกวัสดุอุปกรณ์อย่างอิสระอย่างเพียงพอ เพื่อจะช่วยให้เด็กรู้จักเชื่อมโยงการ กระทำต่าง ๆ การเรียนรู้ในเรื่องของความสัมพันธ์ และมีโอกาส ในการแก้ปัญหา มากขึ้นด้วย
3. ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เด็กได้สำรวจวัตถุผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 หลังจากที่เด็กคุ้นเคยกับวัตถุแล้วเด็กจะเรียนรู้เรื่องความสัมพันธ์ และความเกี่ยวข้องของวัตถุนั้นได้ด้วยตัวเอง
4. ภาษาจากเด็ก สิ่งที่เด็กพูดจะสะท้อนประสบการณ์และความเข้าใจของเด็ก เด็กมักจะเล่าว่าตน กําลังทําอะไร หรือทําอะไรไปแล้วใน แต่ละวัน เมื่อ เด็กมีอิสระในการใช้ภาษาเพื่อสื่อความคิด เด็กจะรู้จักฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เรียนรู้วิธีการพูดที่เป็นที่ยอมรับของผู้อื่น ได้พัฒนาการ คิดควบคู่ ไปกับการพัฒนา ความเชื่อมั่นในตนเองด้วย
5. การสนับสนุนจากผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ควรรับฟังและส่งเสริมให้เด็กคิด ทําสิ่งต่างๆ ด้วยตน เอง ในห้องเรียน เด็กจะพบกับประสบการณ์สําคัญ ซํ้าแล้วซํ้า อีกในชีวิตประจําวันอย่าง เป็นธรรมชาติ
หากผู้ใหญ่เข้าใจในการเรียนรู้ของเด็ก ผู้ใหญ่จะสามารถวางแผน และประเมินเพื่อจัดประสบการณ์ ที่เป็นส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้อย่างเหมาะสม