EF ทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จ
EF (Executive Functions) เป็นกระบวนการทางความคิด (Mental process) ในสมองส่วนหน้า ที่เกี่ยวข้องกับการคิด ความรู้สึก และการกระทำ เช่น การยั้งใจคิดไตร่ตรอง การควบคุมอารมณ์ การยืดหยุ่นทางความคิด การตั้งเป้าหมาย วางแผน ความมุ่งมั่น การจดจำและเรียกใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดลำดับความสำคัญของเรื่องต่างๆ และการทำสิ่งต่างๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอนจนบรรลุความสำเร็จ ซึ่งเป็นทักษะที่มนุษย์เราทุกคนต้องใช้ มีความสำคัญยิ่งต่อทั้งความสำเร็จในการเรียน การทำงาน รวมทั้งการมีชีวิตครอบครัว ทักษะ EF นี้นักวิชาการระดับโลกชี้แล้วว่า สำคัญกว่า IQ
ทั้งนี้ มีงานวิจัยชัดเจนว่า ช่วงวัย 3-6 ปีนี้ เป็นช่วงเวลาทองของชีวิตในการพัฒนาทักษะ EF ให้กับเด็ก เพราะสมองจะมีการพัฒนาทักษะ EF ได้ดีที่สุดในช่วงเวลานี้ พ้นจากช่วงเวลานี้ไปถึงวัยเรียน วัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น แม้จะยังพัฒนาได้ แต่ก็จะไม่ได้ดีเท่ากับช่วงปฐมวัย
Executive Functions (EF) ประกอบด้วยทักษะ 9 ด้าน ประกอบด้วย
1.Working memory ความจำที่นำมาใช้งาน ความสามารถในการเก็บข้อมูล ประมวล และดึงข้อมูลที่เก็บในคลังสมองของเราออกมาใช้ตามสถานการณ์ที่ต้องการ
2.Inhibitory Control การยั้งคิด และควบคุมแรงปรารถนาของตนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จนสามารถหยุดยั้งพฤติกรรมได้ในกาลเทศะที่สมควร เด็กที่ขาดความยับยั้งชั่งใจ ก็เหมือน “รถที่ขาดเบรก”
3.Shift หรือ Cognitive Flexibility การยืดหยุ่นความคิด สามารถปรับเปลี่ยนความคิดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปยืดหยุ่นพลิกแพลงเป็น เห็นทางออกใหม่ๆ และคิดนอกกรอบ”ได้
4.Focus / Attention การใส่ใจจดจ่อมุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยไม่วอกแวก
5.Emotional Control การควบคุมอารมณ์ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จัดการกับความเครียดความเหงาได้ มีอารมณ์มั่นคง และแสดงออกแบบที่ไม่รบกวนผู้อื่น
6.Planning and Organizing การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการเริ่มตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การเห็นภาพรวม จัดลำดับความสำคัญ จัดระบบโครงสร้าง จนถึงการแตกเป้าหมายให้เป็นขั้นตอน
7.Self -Monitoring การรู้จักประเมินตนเอง รวมถึงการตรวจสอบการงานเพื่อหาจุดบกพร่อง และรู้ตัวว่ากำลังทำอะไร ได้ผลอย่างไร
8.Initiating การริเริ่มและลงมือทำงานตามที่คิดเมื่อคิดแล้วก็ลงมือทำ ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
9.Goal-Directed Persistence ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย เมื่อตั้งใจและลงมือทำแล้ว มีความมุ่งมั่นบากบั่น ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆก็พร้อมฝ่าฟันจนถึงความสำเร็จ
สถาบันอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป) ในฐานะ Content Experts ผู้เชี่ยวชาญเนื้อหาวิชาการ และเป็นผู้นำในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก สตรี ครอบครัว ผู้สูงวัย ชุมชนและสังคม ได้ทำการจัดการความรู้เรื่อง “Executive Functions (EF)-ทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จ” อันเป็นความรู้ที่วงการพัฒนาการเด็กในต่างประเทศกำลังให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่งในประเทศไทยมี รศ.ดร.นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาและคณะจากศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ศึกษาวิจัยและรวบรวมงานวิจัยจากต่างประเทศ และสถาบันอาร์แอลจีได้จัดการความรู้และพัฒนาให้ความรู้ EF เป็นที่เข้าใจง่าย โดยมุ่งหวังให้พ่อแม่และบุคลากรทางการศึกษา โดยเฉพาะปฐมวัยศึกษาสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาเด็กได้อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยมุ่งมั่นว่า EF จะเป็นองค์ความรู้หนึ่งที่จะร่วมส่งเสริมการปฏิรูปการศึกษาของไทยที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้
พักหลังเราจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับเด็กเครียด ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า และฆ่าตัวตายกันมากขึ้น ปฏิิเสธไม่ได้ว่าแรงกดดันจากสภาพแวดล้อมมีส่วนสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน ครู เพื่อน หรือแม้แต่พ่อแม่ซึ่งเป็นคนที่อยู่ใกล้ชิดลูกมากที่สุด
ยิ่งถ้าทุกคนคาดหวังความสำเร็จกับเด็ก ไม่ว่าจะเป็นการเรียน กีฬา ดนตรี หรือแม้แต่กิจกรมที่ลูกชื่นชอบ ก็ยังคาดหวังว่าลูกจะทำสิ่งนั้นให้ได้ดี ประสบความสำเร็จ ชนะเลิศ หรือมีชื่อเสียงโด่งดังโดยมองข้ามความสุขหรือมองว่าเป็นกิจกรรมเสริมทักษะ พ่อแม่เองอาจกำลังสร้างความเครียดและความกดดันให้ลูกอยู่ก็ได้
พ.ญ.วิมลรัตน์ วันเพ็ญ รอง ผอ.สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ เคยกล่าวถึงสถานการณ์ผู้ป่วยที่เป็นโรคจิตรเวชในเด็กและวัยรุ่นว่า "การคาดหวังในตัวเด็กไม่ใช่สิ่งที่ผิดแต่บางครั้งผู้ปกครองเองก็ลืมไปว่าเป้าหมายในชีวิตนั้นลูกๆ ต้องเป็นผู้กำหนดไม่ใช่เรากำหนด การที่เราไปกำหนดเป้าหมายให้บ่อยครั้งเราก็กำหนดผิดทิศและกำหนดยากเกินไปสำหรับเด็ก ผู้ปกครองเพียงแต่แนะนำเป็นแนวทางเท่านั้นและสถิติเด็กที่ป่วยจิตเวชมีอยู่ในทุกช่วงอายุและแต่ละคนนั้นจะมีปัญหาที่แตกต่างกันไปตามช่วงวัยแต่ที่พบส่วนใหญ่จะเป็นเคสเด็กสมาธิสั้น
ดังนั้นผู้ปกครองทุกท่านควรทำความเข้าใจในการเลี้ยงดูบุตรหลาน ทำความเข้าใจในสิ่งที่เด็กเป็นและคอยประคับประคองให้อยู่ในกรอบที่ถูกต้อง ไม่ใช่การบังคับขู่เข็ญ หรือเปรียบเทียบให้เด็กเกิดความน้อยใจ และหากบุตรหลานของท่านมีความผิดปกติเสี่ยงต่อการเป็นโรคทางจิตเวชควรพาไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพราะคนที่มีอาการดังกล่าวไม่ใช่คนบ้าเพียงแต่เป็นผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาเพียงเท่านั้น"
เอมี โมริน นักจิตวิทยาและนักเขียนหนังสือจิตวิทยาชื่อดังพูดถึงผลกระทบที่เด็กๆ ต้องเผชิญเมื่อถูกพ่อแม่กดดันอย่างหนัก
ผลกระทบที่เด็กๆ ต้องเผชิญเมื่อถูกพ่อแม่กดดันอย่างหนัก
1. อัตราการป่วยทางจิตจะสูงขึ้นเด็กที่ถูกกดดันอย่างหนักอาจรู้สึกวิตกกังวลอย่างต่อเนื่อง ความเครียดที่มีอยู่ในระดับสูงทำให้เด็กมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะซึมเศร้าหรือปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ ได้
2. มีความเสี่ยงจะฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น มีการศึกษาพบความเชื่อมโยงระหว่างความคิดฆ่าตัวตายและแรงกดดันจากพ่อแม่ผู้ปกครอง โดย 1 ใน 5 ของเด็กนักเรียนมีความคิดที่จะฆ่าตัวตายเมื่อได้รับแรงกดดันอย่างหนักจากพ่อแม่
3. เด็กไม่เห็นคุณค่าในตนเองการผลักดันเด็กๆ ให้เก่งจะทำลายความนับถือตนเอง เด็กที่เครียดตลอดเวลาจะขาดความเป็นตัวของตัวเอง เพราะเขาจะรู้สึกว่าตนเองนั้นยังไม่ดีหรือไม่มีคุณค่ามากพอ
4. อดนอน เด็กที่ถูกกดดันเรื่องการเรียนอย่างต่อเนื่อง อาจะตื่นสาย เรียนช้า และและมีความพยายามที่จะงีบหลับตลอดเวลา
5. มีความเสี่ยงที่จะได้รับบาดเจ็บโดยเฉพาะเด็กที่เป็นนักกีฬาที่รู้สึกกดดันมากๆ แม้จะได้รับบาดเจ็บจากการข่งขันก็จะเมินเฉย ไม่สนใจความเจ็บปวด เพราะตนเองุ่งหวังแต่ชัยชนะ สุดท้ายแล้วอาจทำให้บาดเจ็บเพิ่มมากขึ้น
6. เพิ่มโอกาสในการโกง เมื่อมุ่งเน้นความสำเร็จมากกว่าการเรียนรู้ เด็กๆ มักจะโกง ไม่ว่าจะเป็นการลอกข้อสอบเพื่อนข้างในชั้นประถมหรือจ่ายเงินจ้างให้คนอื่นทำรายงานในระดับชั้นที่โตขึ้นไป
7. ปฏิเสธการมีส่วนร่วมกับผู้อื่น เด็กที่ถูกกดดันมักจะมองแต่เป้าหมายของตนเอง เมื่อเข้าร่วมทีมกับเด็กคนอื่นเขาอาจรู้สึกตนเองถูกลดบทบาท หรือไม่ฉายแสงก็จะออกจากกลุุ่มไป ซึ่งน่าเสียดายว่าพวกเขาจะไม่ได้ใช้ทักษะสัมคม ไม่ได้เรียนรู้การใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น เห็นอกเห็นใจกัน เป็นต้น
"รักวัวให้ผูก รักลูกให้เลี้ยงด้วย EF"
ขอบคุณความรู้ EF โดย สถาบัน RLG
กอดลูกยังไง ให้ลูกสตรอง
ความผูกพัน (attachment) เกิดขึ้นได้ง่ายๆ ด้วยการกอดค่ะ และความผูกพันนี้เป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาทักษะ EF
กอดแบบไหนสร้าง EF
อุ้มกอดอย่างอ่อนโยนหมั่นอุ้มกอดสัมผัสโลกอย่างอ่อนโยน ให้การกอดเป็นการแสดงความรักที่เป็นธรรมชาติ หรือชื่นชมลูกด้วยการโอบกอด
พูดคุยสบตา ทุกครั้งที่พูดกับลูก สบตาเขาทุกครั้ง โดยทำเสียงหรือหน้าตาให้ลูกสนใจเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดี
ตอบสนองลูกเสมอตอบสนองอารมณ์และความต้องการของลูกอย่างเหมาะสม เพื่อให้เขารู้สึกมั่นคงทางใจ ปลอดภัยทางกาย
สะท้อนอารมณ์แสดงความเข้าใจด้วยการสะท้อนอารมณ์ลูก เช่น “แม่เข้าใจว่าหนูกำลังหิว หนูกำลังโกรธ” เป็นต้น
ให้ลูกรู้จักการกอดสอนลูกรู้ว่าการกอดสื่อถึงความรู้สึกได้ เช่น กอดเพื่อปลอบ กอดเพราะรัก กอดเพื่อให้รู้ว่าทำผิด
พ่อแม่เป็นแบบอย่างที่ดีโดยเฉพาะการควบคุมอารมณ์ หรือให้ลูกเห็นแบบอย่างของพ่อแม่ในการขอโทษเมื่อทำผิด เป็นต้น
สอนด้วยวินัยเชิงบวกเช่น “แม่เข้าใจว่าหนูกำลังโกรธ หนูไปนั่งสงบๆ ก่อน หายโกรธแล้วมาคุยกันนะ” ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงคำว่า “ห้าม ไม่ อย่า หยุด”
"รักวัวให้ผูก รักลูกให้เลี้ยงด้วย EF"
ขอบคุณความรู้ EF โดย สถาบัน RLG
บ่อยครั้งที่เรามักจะพบว่าเด็กๆ ไม่สามารถควบคุมอารมณ์และความรู้สึกของตนเองได้ ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการไม่ได้รับการฝึกฝน หรือแก้ไขตั้งแต่เล็กๆ ขณะเดียวกันความสัมพันธ์ของเด็กๆ กับคนที่อยู่รอบข้างก็ต้องอยู่ในเชิงบวกด้วย เขาถึงจะรู้สึกมั่นคง อารมณ์ดี มีการต่อยอด และพร้อมเรียนรู้
เข้าใจธรรมชาติและพื้นฐานอารมณ์ลูก
เด็กแต่ละวัยมีพื้นฐานทางอารมณ์และพัฒนาการที่ไม่เหมือนกัน
เด็กวัยแรกเกิด - 1 ปี เด็กแต่ละคนมีพื้นฐานอารมณ์ที่ไม่เหมือนกัน ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการรับรู้ด้านประสาทสัมผัสที่ไวกว่าปกติ การที่ลูกอารมณ์ไม่ดี อาจเกิดจากการได้ยินเสียงบางอย่าง หรืออารมณ์ไม่ดีเวลาเห็นของบางอย่างที่เขาดูแล้วไม่เข้าใจ เช่น ตุ๊กตาไขลาน เพราะเด็กบางอาจไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร ทำไมถึงเคลื่อนที่ได้ เมื่อเห็นแล้วก็รู้สึกไม่ชอบสิ่งนั้น
เด็กวัย 2-3 ขวบเป็นวัยที่ยึดตัวเองเป็นหลัก จะหวงของ ไม่แบ่งใคร เอาแต่ใจตนเอง จึงเป็นช่วงวัยที่มีนิสัยชอบขี้วีนขี้เหวี่ยง
เด็กวัย 3-4 ปีอารมณ์แปรปรวน อ่อนไหว หรือฉุนเฉียวได้ง่าย พ่อแม่บางคนอาจไม่เข้าใจว่าทำไมลูกถึงได้ดื้อนัก ซึ่งตามพัฒนาการของเด็ก วัยนี้จะเริ่มมีความรู้สึกอยากท้าทายผู้ใหญ่ อยากทำตาม อยากค้นหาตัวเอง และเมื่อลูกทำอะไรได้เอง ก็จะเริ่มขัดใจพ่อแม่
เด็กวัย 3-6 ปี เริ่มมีความรู้สึกนึกคิดเป็นของตัวเองจึงไม่แปลกถ้าเขาจะมีการแสดงออกทางด้านอารมณ์ที่มากกว่าเด็กวัยอื่นๆ ซึ่งบางครั้งพ่อแม่ก็อาจไม่เข้าใจว่าทำไมพวกเขาช่างเจ้าอารมณ์ยิ่งนัก
เพราะฉะนั้น พ่อแม่ต้องอธิบายให้ลูกเข้าใจ และไม่ควรตอบสนองลูกทุกครั้ง เพราะถ้าลูกทำกับพ่อแม่ได้ เขาก็มีแนวโน้มจะไปทำกับคนอื่นได้เช่นกัน โดยเฉพาะกับเพื่อนๆ ในวัยเดียวกัน ซึ่งอาจส่งผลกระทบไปถึงทักษะสังคมในอนาคตของลูก
ก่อนจะสายเกินแก้พ่อแม่สามารถปรับอารมณ์ลูกได้ดังนี้
หาขอบเขตที่เหมาะสมให้ลูก อาจไม่ใช่การสร้างกฎข้อบังคับเสียทีเดียว แต่เป็นการทำข้อตกลงหรือต่อรองซึ่งกันและกัน ว่าสิ่งไหนที่ลูกสามารถทำได้ สิ่งไหนที่ทำไม่ได้ และถ้าหากลูกไม่หยุดหรือไม่ยอมเชื่อฟัง เขาก็ต้องได้รับบทลงโทษ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น พ่อแม่เองต้องไม่ใช้อารมณ์หรือความรุนแรงกับลูกเช่นกัน เพราะการใช้อารมณ์ ใช้ไม้เรียว หรือแม้แต่คำพูดที่รุนแรงจะทำให้ลูกรู้สึกแย่และเห็นเป็นแบบอย่างที่ไม่ดี ซึ่งเขาก็อาจนำไปใช้กับผู้อื่น หรือมีการต่อต้านพ่อแม่เกิดขึ้น
แม้ว่าในบางครั้งที่ลูกอาจจะก้าวร้าว เกเร ดื้อ ซน แต่ถ้าเขาไม่ทำร้ายร่างกายตนเองและผู้อื่น ไม่ทำลายข้าวของให้เสียหาย เขาก็ยังสามารถแสดงอาการเหวี่ยงวีนออกมาได้ ตราบใดที่เขาไม่ทำให้ใครเดือดร้อน เพราะธรรมชาติของลูกเป็นแบบนั้นค่ะ
อย่าช่วยลูกมากจนเกินไป ควรให้ลูกได้ช่วยเหลือตนเองบ้าง ให้เขาได้แสดงความคิดตามขอบเขตของเขา และไม่ว่าจะผิดหรือถูก ลูกมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็น เพียงแต่พ่อแม่ต้องคอยสอนว่าอะไรควรไม่ควร อาจจะให้คำแนะนำ หรือใช้คำถามในลักษณะที่เกิดการต่อยอดหรือเกิดความคิดในการแก้ไขปัญหา
ไม่ควรห้ามความรู้สึกของลูกเพราะเรื่องของความรู้สึกเราห้ามกันไม่ได้ ยิ่งเด็กๆ ที่มักจะอารมณ์อ่อนไหวง่าย ในยามโกรธ เสียใจ ทุกข์ใจ พ่อแม่ต้องไม่ปิดกั้นอารมณ์ของลูก เพราะไม่เช่นนั้นอาจทำให้ลูกมีปัญหาได้ คือ เขาจะไม่เชื่อใจตนเอง ในขณะที่เด็กบางคนอาจจะก้าวร้าวรุนแรง หรือบางคน ก็เป็นเด็กขี้วิตกกังวล ขณะเดียวกันถ้าเด็กคนไหนที่ได้รับการฝึกฝนมาบ่อยๆ พ่อแม่ฝึกมาแล้วจากที่บ้าน เขาก็จะสามารถจัดการกับปัญหาต่างๆ ได้ดี
อย่าปรับแต่ลูก พ่อแม่เองก็ต้องปรับอารมณ์ด้วย
อย่างที่บอกไปว่า เด็กๆ เรียนรู้จากการเลียนแบบ และพ่อแม่คือต้นแบบของเขา เวลาที่พ่อแม่สอนลูกแล้วไม่สามารถทำให้เขาเห็นเป็นแบบอย่างได้ จะทำให้ลูกขาดความเชื่อมั่นในตัวพ่อแม่ ทำให้พ่อแม่ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของลูกได้
ยิ่งถ้าลูกต่อต้านพ่อแม่แล้วพ่อแม่ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ ก็อาจทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในครอบครัว และอาจส่งผลให้ลูกเป็นเด็กก้าวร้าว หรือในทางตรงกันข้ามก็คือ พ่อแม่ยอมตามใจลูกไปเสียหมด ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ นานวันเข้าลูกก็จะเคยตัว ที่สุดก็นำพฤติกรรมเหล่านี้ออกไปแสดงให้คนอื่นเห็น
ที่สำคัญพ่อแม่ไม่ควรคาดหวังกับลูกมากเกินไป แต่ควรเปิดใจเรียนรู้ และสัมผัสพื้นอารมณ์ความรู้สึกของกันและกัน โดยเฉพาะช่วงวัย 0-6 ปี ถ้าเราดูแลพื้นอารมณ์ลูกได้ดี ลูกก็จะไม่มีปัญหาเรื่องของอารมณ์และพัฒนาการอย่างแน่นอน
"รักวัวให้ผูก รักลูกให้เลี้ยงด้วย EF"
ขอบคุณความรู้ EF โดย สถาบัน RLG
กิจวัตรประจำวันตอนเย็น - ดาวน์โหลดฟรี Learning Sheet
เกมที่เด็กจะได้เรียนรู้เรื่องกิจวัตรประจำวัน ฝึกความมีวินัย ความรับผิดชอบต่อตัวเอง และเรียนรู้เรื่องเวลา
ระดับ
วิธีเล่น
- ดูภาพกิจวัตรประจำวันที่เด็กต้องทำในตอนเย็น แล้วใส่ตัวเลขเวลาที่ทำกิจวัตรแต่ละอย่าง
สิ่งที่เด็กเรียนรู้
- เรียนรู้เรื่องกิจวัตรประจำวัน เวลา
- ฝึกการคิดการเรียงลำดับ การเชื่อมโยงความสัมพันธ์
- ฝึกความจำเพื่อใช้งาน (Working Memory)
บทบาทพ่อแม่ / ผู้ปกครอง
- ชวนเด็กๆ พูดคุยเรื่องกิจวัตรประจำวัน ความรับผิดชอบต่อตัวเอง
- สอนเด็กๆ เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องเวลาและนาฬิกา
หมวดการเรียนรู้/ทักษะ
ทักษะสมอง EF, การเชื่อมโยงความสัมพันธ์, การสังเกตจดจำ, คณิตศาสตร์, ภาษาอังกฤษ
วัยเด็กเป็นวัยที่เต็มไปด้วยความฝัน จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ขณะที่คนเป็นพ่อแม่ไม่ว่าลูกจะทำอะไรก็พร้อมสนับสนุน แต่พ่อแม่อีกหลายคนก็ลังเลว่าลูกจะจริงจังหรือไม่ สนับสนุนไปแล้วจะเสียเวลาหรือเปล่า และลูกเราจะไปได้สุดทางหรือไม่
เด็กเล็กๆ วัย 2-3 ปี มักเริ่มอยากรู้อยากลอง เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น พอเข้าสู่ช่วง 3-6 ปี จะเริ่มมีจินตนาการความคิดสร้างสรรค์และพร้อมจะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้มากกว่าเดิม ซึ่งทุกการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจะมีการพัฒนาโครงข่ายเส้นไยประสาทสมองที่แตกแขนงมากขึ้นตลอดเวลา
เด็กวัย 3 ปีขึ้นไป จะคิดริเริ่มอยากทำสิ่งต่างๆ หรืออาจใฝ่ฝันอยากเป็นดารา นักแสดง นักดนตรี นักกีฬา ตามไอดอลที่เขาชื่นชอบ โดยเขาอยากเรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่ชอบได้มากมาย แม้จินตนาการและความใฝ่ฝันของเด็กวัยนี้จะยังไม่ใช่ทิศทางที่กำหนดชีวิตชัดเจนเหมือนวัยรุ่นตอนปลายที่จะรู้ว่าตัวเองต้องการทำอาชีพอะไรก็ตาม
หากพ่อแม่รู้จักสังเกตว่าลูกชอบอะไร เปิดโอกาสในการรับฟังและส่งเสริมในสิ่งที่เขาชอบก็อาจทำให้เขาค้นพบว่า เขามีความสามารถพิเศษอะไรที่ซ่อนอยู่ในตัวเองได้
กลับกันถ้าพ่อแม่คอยห้ามปรามในสิ่งที่ลูกคิดริเริ่ม เขาจะกลายเป็นเด็กที่ไม่มั่นใจในการคิดริเริ่ม และหากบางครอบครัวนำความใฝ่ฝันและความคาดหวังของพ่อแม่มาใส่และบีบให้ลูกทำสิ่งต่างๆ มากไป เขาจะรู้สึกไม่สนุก เครียด กดดัน ทำสิ่งนั้นได้ไม่ดี และอาจเกิดปัญหาทางอารมณ์และมีพฤติกรรมต่อต้านได้
แล้วเราจะรู้หรือมีวิธีค้นหาสิ่งที่ลูกชอบ เพื่อจะส่งเสริมได้อย่างไร
1. เริ่มจากการสังเกตเด็กทุกคนมีความสนใจความถนัดไม่เหมือนกัน ซึ่งเขาจะแสดงออกให้พ่อแม่เห็น ถ้ารู้จักสังเกตว่าลูกชอบอะไรก็จะนำไปสู่การส่งเสริมที่ตรงจุดได้
2. เปิดโอกาสรับฟังความเห็นและความรู้สึกของลูกบ้างเช่น ไปเรียนเปียโนวันนี้สนุกไหม หนูรู้สึกยังไง ถ้าหนูชอบเราไปกันใหม่ไหม ถ้าไม่ชอบอยากลองเปลี่ยนไปเล่นอย่างอื่นไหม
3. ให้ลูกได้มีส่วนตัดสินใจทำในสิ่งที่ชอบวิธีนี้จะทำให้เด็กรู้สึกดีที่คุณรับฟังและเปิดโอกาสให้เขาได้ร่วมตัดสินใจ จะทำให้เขากล้าริเริ่มทำในสิ่งที่ชอบและสนุกกับสิ่งที่เขาได้เลือกทำ
4. พยายามหาข้อมูลเพื่อเลือกกิจกรรมที่หลากหลายให้ลูกได้ลองจนรู้ว่าชอบอะไรไม่ชอบอะไรจะได้รู้ความชอบความถนัดของลูก
5. ส่งเสริมและชื่นชมเช่น รู้ว่าลูกอยากเล่นเปียโน ก็ส่งเสริมให้เขาได้เรียนและเมื่อเขาทำได้ดีก็ชื่นชมให้กำลังใจ ซึงจะเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เขาสนุกที่จะทำต่อ
6. ควรส่งเสริมความสามารถให้หลากหลายไม่ควรจำกัดอยู่แค่การเรียนทางวิชาการ ควรส่งเสริมทักษะในหลายๆ ด้าน เช่น ดนตรี กีฬา ศิลปะ ทักษะทางสังคม และทักษะการช่วยเหลือตัวเองได้ตามวัย เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้ลูกพึ่งตัวเองได้ตามวัย เวลามีความเครียดจากการเรียนเขาก็สามารถผ่อนคลายมาเล่นดนตรีกีฬา ในสิ่งที่ชอบได้
พบว่าเด็กที่มีทักษะความสามารถพิเศษอื่นๆ นอกเหนือจากการเรียน เด็กจะรู้สึกว่าตัวเองมีดี มีความเชื่อมั่น สามารถปรับตัวและแก้ปัญหาได้ดีกว่าเด็กที่ถูกกวดขันเรื่องการเรียนทางวิชาการอย่างเดียว
7. อย่าคาดหวังและกดดัน เด็กบางคนอาจมีความชอบและทำได้ดีในบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นดนตรี กีฬา ศิลปะฯ แต่ความชอบในวัยนี้ยังไม่ใช่ตัวกำหนดอนาคตว่าเด็กจะทำอาชีพในด้านนั้นๆ เพราะกว่าที่เด็กจะรู้ว่าตัวเองอยากทำอาชีพอะไร ต้องเป็นช่วงที่เข้าสู่วัยรุ่นตอนปลายถึงผู้ใหญ่ตอนต้น
เด็กที่มีทักษะและมีจุดเด่นในหลายด้าน จะมีความมั่นใจ ภูมิใจในตัวเอง โดยในหลายๆ รายจะพบว่าทักษะเหล่านี้อาจพัฒนาไปเป็นอาชีพที่เขาชอบ ซึ่งจะทำให้เด็กเอาตัวรอดในอนาคตได้
"รักวัวให้ผูก รักลูกให้เลี้ยงด้วย EF" ขอบคุณความรู้ EF โดย สถาบัน RLG
เกมที่เด็กจะได้สนุกกับการเรียนรู้ศัพท์ภาษาอังกฤษ ชื่อสัตว์ชนิดต่างๆ
คำศัพท์แสนสนุก 3 - ดาวน์โหลดฟรี Learning Sheet
ระดับ: ประถมศึกษาตอนต้น
วิธีเล่น: ดูรูปภาพและตัวอักษรในภาพ เขียนเรียงตัวอักษรใหม่ให้เป็นคำศัพท์ที่ถูกต้อง
สิ่งที่เด็กเรียนรู้
- เรียนรู้ศัพท์และพื้นฐานภาษาอังกฤษ
- ฝึกการสังเกต จดจำ
- ฝึกการคิดเชื่อมโยง
บทบาทพ่อแม่ / ผู้ปกครอง
- ชวนเด็กเรียนรู้คำศัพท์เพิ่มเติมจากสิ่งรอบตัว
- ชวนเด็กต่อยอดสร้างเกมคำศัพท์ด้วยตัวเอง ผลัดกันทาย
หมวดการเรียนรู้ / ทักษะ
ภาษาอังกฤษ, ทักษะสมอง EF, การสังเกตจดจำ, การเชื่อมโยงความสัมพันธ์
คุณแม่จอมขัดใจ คุณแม่ช่างห้ามทำลูกขาด EF ไปจนโต
คุณแม่ที่ไม่เคยสังเกตลูก ว่าอะไรคือสิ่งที่ลูกสนใจ หรือชอบสั่งให้ลูกทำตามสิ่งที่ตัวเองต้องการ พอลูกไม่ทำ ไม่เชื่อฟัง ก็ไปทำให้เอง แต่ทำให้แบบบ่นว่าไป ไม่ได้สอนหรือคุยกับลูกด้วยเหตุผล แต่ต้องทำตามที่ตัวเองสั่งเท่านั้น เป็นคุณแม่ที่ชอบขัดใจลูกไปซะทุกอย่างไม่สนใจว่าจริง ๆ แล้วลูกต้องการอะไรกันแน่ แบบนี้จะทำให้ลูกมีปัญหาได้ค่ะ
“ลูกเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ”
เพราะลูกของคุณแม่ไม่ได้มีโอกาสสื่อสารหรือทำในสิ่งที่ตัวเองอยากทำ นั่นจะบ่มเพาะให้เด็ก กลายเป็นคนเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ เพราะเวลาที่ไม่ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบหรือสนใจ การจดจ่อใส่ใจจะน้อย ทำให้เด็กไม่สามารถทำสิ่งนั้น ๆ จนสำเร็จได้ เวลาเกิดอะไรขึ้นมาก็ไม่บอก แต่ใช้วิธีโกหกหรือแก้ตัว เพื่อให้พ่อแม่พอใจ แต่พอลับหลังก็จะไปแอบทำในสิ่งที่ตัวเองอยากทำ
สิ่งที่คุณแม่ควรทำ
1. รับฟังความคิดเห็นของลูกหรือคนรอบข้างให้มากขึ้น
2. เปลี่ยนการออกคำสั่งเป็นการถามความเห็น
3. เลิกบ่นซ้ำ ๆ แต่เปลี่ยนเป็นการสื่อสารให้ตรงจุดถึงสิ่งที่ต้องการจะบอกกับลูก
EF (Executive Functions) คืออะไร
EF ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ คือ กระบวนการทำงานของสมองส่วนหน้าของมนุษย์ทุกคน ที่ใช้ในการกำกับความคิด ความรู้สึกและการกระทำ เพื่อให้บรรลุสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ EF เป็นทักษะที่สำคัญยิ่งต่อความสำเร็จในการเรียน การงาน การอยู่ร่วมกับเพื่อนมนุษย์ การคิดสร้างสรรค์ และการจัดการทุกด้านตลอดชีวิต
Executive Functions (EF) ประกอบด้วยทักษะ 9 ด้าน ประกอบด้วย
Working memory ความจำที่นำมาใช้งาน
ความสามารถในการเก็บข้อมูล ประมวล และดึงข้อมูลที่เก็บในคลังสมองของเราออกมาใช้ตามสถานการณ์ที่ต้องการ
Inhibitory Control การยั้งคิด และควบคุมแรงปรารถนาของตนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
เป็นความสามารถในการเพิกเฉยต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ที่จะทำให้เราหลุดออกจากการทำงานที่อยู่ตรงหน้าได้ รวมไปถึงความสามารถในการทนต่อสิ่งยั่วยุทางอารมณ์จนสามารถหยุดยั้งพฤติกรรมได้ในกาลเทศะที่สมควรได้ เด็กที่ขาดความยับยั้งชั่งใจ ก็เหมือน “รถที่ขาดเบรก” เด็กที่มี Inhibitory Control จะสามารถควบคุมตนเองระหว่างอยู่ในห้องเรียนไม่ให้พูดโพล่งระหว่างครูสอน
Shift หรือ Cognitive Flexibility การยืดหยุ่นความคิด
สามารถปรับเปลี่ยนความคิดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปยืดหยุ่นพลิกแพลงเป็น เห็นทางออกใหม่ๆ และคิดนอกกรอบได้
Focus / Attention การใส่ใจจดจ่อ
มุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ โดยไม่วอกแวก
Emotional Control การควบคุมอารมณ์
ความสามารถในการควบคุมอารมณ์และแสดงออกอย่างเหมาะสม ไม่หุนหันพลันแล่น รู้จักจัดการกับความเครียด ความหงุดหงิดใจและใช้เวลาไม่นานในการคืนอารมณ์สู่ภาวะปกติ
Planning and Organizing การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ
ความสามารถในการตั้งเป้าหมายและจัดลำดับความสำคัญ การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการเริ่มตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การเห็นภาพรวม จัดระบบโครงสร้าง จนถึงการแตกเป้าหมายให้เป็นขั้นตอน
Self -Monitoring การรู้จักประเมินตนเอง
ความสามารถในการตรวจสอบ ประเมินผลงานตนเอง เพื่อหาข้อดีและข้อบกพร่อง ตลอดจนประเมินผลกระทบจากพฤติกรรมของตนเองที่มีต่อผู้อื่น และรู้ตัวว่ากำลังทำอะไร ได้ผลอย่างไร
Initiating การริเริ่มและลงมือทำงานตามที่คิด
เมื่อคิดแล้วก็ลงมือทำ ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง สามารถลงมือทำด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีคนคอยบอก มีทักษะการคิดและลงมือสร้างสรรค์ให้สิ่งที่คิดเป็นจริงหรือสำเร็จตามที่คิดไว้ได้
Goal-Directed Persistence ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย
เมื่อตั้งใจและลงมือทำแล้ว มีความมุ่งมั่นบากบั่น ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใด ๆ ก็พร้อมฝ่าฟันจนถึงความสำเร็จ
หนูกำลังรู้สึกยังไง ชวนคุณแม่ดาวน์โหลดกิจกรรมน่ารักสอนลูกเรียนรู้ความรู้สึกของตัวเองผ่านภาพน่ารัก ที่นอกจากจะช่วยให้ลูกรู้และรับมือกับความรู้สึกตัวเองแล้ว ยังใช้สังเกตคนรอบข้างได้ด้วย
ดาวน์โหลด Learning Sheet : ความรู้สึกของฉันเป็นอย่างไร บอกหน่อยซิ
ระดับ
วิธีเล่น
- ตัดภาพใบหน้าแสดงอารมณ์ Sad (เสียใจ, เศร้า) และ Happy (มีความสุข) วางตรงช่องสี่เหลี่ยมให้ถูกต้อง
สิ่งที่เด็กเรียนรู้
- เรียนรู้เรื่องอารมณ์และความรู้สึกของตัวเอง และคนอื่น
- เรียนรู้คำศัพท์ไทย-อังกฤษเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึก
บทบาทพ่อแม่ / ผู้ปกครอง
- สอนให้ลูกรู้จักอารมณ์ต่างๆ เพิ่มเติม และวิธีจัดการกับอารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเชิงบวก
สิ่งที่ได้เรียนรู้
- การเข้าใจผู้อื่น, ทักษะทางอารมณ์และสังคม, ภาษาอังกฤษ, ความจำเพื่อใช้งาน (Working Memory)
ช่วงแรกเกิดถึง 1 ปี เป็นช่วงที่คุณพ่อคุณแม่ต้องสร้างพื้นฐาน EF ให้กับลูกอย่างแน่นหนาเลยค่ะ ซึ่งนอกจากการให้นมแม่จะเป็นการส่งเสริม EF ให้ลูกแล้ว การจัดสิ่งแวดล้อม การทำกิจกรรมและการละเล่นต่างๆ ก็ช่วยสร้าง EFให้ลูกได้เช่นกัน
การเล่นปรบมือกับลูก แม้เด็กวัย 6-12 เดือน จะยังไม่เข้าใจจังหวะ แต่การตบแปะๆ ก็ช่วยให้ลูกมี Working Memory ค่ะ
"ตบมือแปะๆ จะได้กินนม นมไม่หวาน ใส่น้ำตาล น้ำอ้อย ใส่นิดหน่อย อร่อยจังเลย"
เพลงง่ายๆ ที่ร้องประกอบการตบมือกับลูก เมื่อลูกได้ยินเสียงพ่อแม่ร้องเพลงนี้พร้อมกับตบมือแปะๆ ไปด้วย Working Memory จะทำงานไปด้วย เพราะลูกจะจำได้ว่าเมื่อพ่อแม่ร้องเพลงนี้เขาต้องตบมือ หรือต้องทำกิจกรรมบางอย่าง เช่น กินนม กินข้าว เล่น หรืออาบน้ำ เป็นต้น
ซึ่งนอกจากการเล่นตบมือกับลูกแล้ว กิจกรรมอื่นๆ ก็ช่วยส่งเสริม EF ให้กับลูกวัยเตาะแตะได้เช่นกัน อย่างการเล่นจ๊ะเอ๋ เล่นซ่อนของ เล่นเป่ายิ้งฉุบ เป็นต้น
พ่อแม่หลายคนกลัวลูกจะเป็นอันตราย หรือได้รับบาดเจ็บเวลาที่ลูกเล่นปีนป่ายเครื่องเล่นต่างๆ ซึ่งจริงๆ แล้วการเล่นปีนป่ายมีประโยชน์กับสมองมาก ส่วนอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นนั้นพ่อแม่สามารถป้องกันให้ลูกได้ค่ะ
ลูกได้ขบคิดเมื่อปีนป่าย
ถ้ามองจากภายนอกเด็กได้ใช้ร่างกาย ไม่ว่าจะกล้ามเนื้อมัดใหญ่หรือมัดเล็ก แต่ถ้ามองเข้าไปในสมองของเด็กจะเห็นเลยว่า การปีนใช้ความคิดอย่างมาก เด็กไม่ได้ปีนแบบไม่คิด แต่เด็กคิดตลอดเวลา
ในแต่ละวันเด็กก็อาจจะตั้งเป้าหมายว่า วันนี้อยากจะปีนไปถึงตรงไหน ตรงกลาง ปีนไปกี่ขั้นแล้วพอ เป็นต้น ซึ่งกระบวนการตรงนี้คือการตั้งเป้าหมายด้วยตัวเอง
ที่มาของการตั้งเป้าหมายนั้นเกิดจากการที่เด็กประเมินตัวเองว่า “น่าจะทำได้” โดยคิดจากประสบการณ์เดิม เช่น เมื่อวานเคยปีนได้ 3 ขั้น วันนี้อยากปีนให้ได้ 6 ขั้น อันนี้คือการประเมินความสามารถตนเอง และเชื่อมั่นในสิ่งที่ตัวเองเคยทำได้ว่าวันนี้น่าจะทำได้มากกว่านั้น วันรุ่งขึ้นอาจจะปีนไปถึงจุดสูงสุดก็ได้ ทั้งหมดนี้มาจากกระบวนการที่เกิดขึ้นในสมองของเด็กค่ะ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดเร็วมากกับการตัดสินใจไปตามเป้าหมายที่เด็กตั้งเอาไว้
นอกจากนั้นเด็กจะต้องคิดอีกว่าจะไปถึงเป้าหมายด้วยวิธีใด ต้องปีนแบบไหน เพราะฉะนั้นเขาจะเอาประสบการณ์เดิมมาใช้เพื่อให้ก้าวข้ามไปให้ได้ นอกจากนี้พอเริ่มปีนเด็กต้องโฟกัสมาก มีสมาธิ มีการจดจ่อกับมือกับเท้า จะปล่อยมือนี้แล้วไปจับอะไรต่อ เรียกว่าทุกจังหวะปีนมีการจดจ่อ มีการวางแผนการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
ปีนป่ายแบบปลอดภัย
- ดูแลเรื่องความปลอดภัย แต่ต้องไม่ให้กระทบโอกาสของเด็ก เช่น ไปยืนใกล้ๆ แต่ไม่ต้องกำกับ เช่น จับดีๆ นะ เอามือนั้นจับตรงนี้ เอาขาไว้แบบนี้สิลูก เพราะเมื่อเราเป็นคนกำกับตรงนี้เท่ากับเราเป็นคนสั่งการ ก็จะไปปิดโอกาสสมองของเด็กที่จะได้คิด ทักษะสมองก็จะไม่เกิดและพ่อแม่สะท้อนให้เห็นว่าสิ่งที่ลูกกำลังจะทำนั้นน่ากลัว
- ลองปล่อยให้ลูกได้ลองได้ตัดสินใจ โดยยืนอยู่ใกล้ๆ ด้วยสีหน้าที่สบายใจ ผ่อนคลาย คุณพ่อคุณแม่จะได้เห็นว่าบางทีเด็กกำลังจะก้าวไปแล้วแต่ก็ถอยกลับด้วยตัวเอง นั่นคือเด็กประเมินตัวเองแล้วว่ายังไม่เอาดีกว่าเดี๋ยวค่อยลองใหม่ แต่ไม่มีเด็กคนไหนเลิกไปเลย เด็กยังมีความมุ่งมั่นที่จะเผชิญใหม่จะพิชิตมันให้ได้ ทักษะเหล่านี้มีความหมายมากตอนโตเวลาที่เด็กต้องเจอกับเรื่องยากหรืออุปสรรค ถ้าเราเลี้ยงลูกให้ขี้กลัว พอเจออุปสรรคเด็กจะถอยหนีหมด ไม่สู้ หนีปัญหา
ไม่ใช่แค่การปีนป่าย จริงๆ แล้วการฝึกให้ลูกได้คิดและแก้ปัญหา เริ่มได้ตั้งแต่เป็นทารก เช่นเวลาที่เด็กอยากได้ลูกบอลหรืออยากได้ขวดนม เด็กจะเกิดความมุ่งมั่นที่จะคว้ามาให้ได้ และจะค้นหาว่าตัวเองจะไปแบบไหนเพื่อจะไปหาเป้าหมาย ซึ่งถ้าตั้งแต่เล็กๆ พ่อแม่ทำให้หมด เด็กจะไม่เรียนรู้ที่จะทำอะไรด้วยตัวเองค่ะ
ถ้าอยากให้ลูกมุ่งมั่น มีเป้าหมาย ทำอะไรได้ด้วยตัวเอง ต้องให้เด็กได้คิดและแก้ปัญหาผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่ลูกเล่นค่ะ
"รักวัวให้ผูก รักลูกให้เลี้ยงด้วย EF"
ขอบคุณความรู้ EF โดย สถาบัน RLG
เวลาลูกดื้อ ต่อต้าน เอาแต่ใจ พ่อแม่ก็มักจะพูดซ้ำๆ บ่นซ้ำๆ บางทีก็บ่นจนโมโหและดุลูก และยิ่งถ้าเป็นแบบนี้บ่อยๆ ไม่แปลกเลยที่ลูกจะต่อต้านค่ะ
พ่อแม่ขี้บ่น ทำลูก EF ต่ำไม่รู้ตัว
พ่อแม่บางคนชอบใช้คำสั่งด้วยการ "พูดไปเรื่อย ๆ" โดยที่ตนเองก็ไม่ทันสังเกตว่าลูกสนใจในเรื่องที่ตนเองพูดอยู่หรือเปล่า เช่น แม่นั่งทำงานอยู่ ลูกกำลังนั่งเล่นของเล่น พอถึงเวลากินข้าว แม่พูดกับลูกว่า "เก็บของได้แล้วลูก" "เก็บให้เรียบร้อยนะ" "มากินข้าวได้แล้ว" "ถ้าไม่เก็บ ไม่ต้องกินข้าวนะ" พูดโดยที่ไม่หันไปดูหรือไม่ได้ไปช่วยลูกเก็บเลย นั่งพูดไปเรื่อยๆ พูดซ้ำแล้วซ้ำอีก พอหันไปเห็นว่าลูกยังไม่เก็บ ก็เกิดอารมณ์เสีย เสียงดังใส่ลูก ดุลูกว่าทำไมยังไม่เก็บอีก บอกให้เก็บตั้งนานแล้ว เป็นต้น
การพูดซ้ำเรื่อยๆ ทำให้เด็กเกิดการเบื่อหน่ายและจับประเด็นไม่ถูก ไม่รู้ว่าพ่อแม่จะให้ทำอะไร ต้องการอะไร ไม่เข้าใจว่าคุณแม่จะสั่งเขาเรื่องอะไร ทำให้ลูกเบื่อหน่าย หรืออาจจะมีปัญหาความสัมพันธ์ และนำไปสู่การมีปัญหาทางอารมณ์กับลูก ถ้าพูดบ่อยแล้วไม่ทำตามที่แม่พูดก็ดีหรือดุ ซึ่งจะยิ่งส่งผลให้ลูกเกิดพฤติกรรมต่อต้าน เช่น ไม่ยอมทำ อาละวาด ร้องไห้ โวยวาย หรือขว้างข้าวของ กลายเป็นเด็กขี้หงุดหงิด และอารมณ์รุนแรงได้ค่ะ
ดังนั้นถ้าไม่อยากให้ลูกอารมณ์รุนแรง ขี้หงุดหงิดง่ายละก็ ลองนำเทคนิคเหล่านี้ไปปรับใช้กับลูกดูค่ะ
1. พูดประโยคสั้นๆ ชัดเจน
เน้นประเด็นสำคัญเข้าใจง่าย และที่สำคัญควรพูดเป็นรูปธรรม เช่น ถ้าหนูไม่ทำแบบนั้นเดี๋ยวบาปนะ ซึ่งการพูดเป็นนามธรรม เด็กจะงง และไม่เข้าใจว่าบาปคืออะไรดังนั้น ต้องพูดให้ชัดเจน ว่าหนูควรทำอะไร แล้วมีผลอย่างไรซึ่งจะส่งผลต่อพัฒนาการที่ดีกว่าค่ะ
2. ใช้เทคนิคการพูดแบบให้เลือก
ถ้าอยากให้ลูกทำอะไรก็ให้เขาเลือก แต่สิ่งที่จะให้ลูกเลือกก็ควรอยู่ในบริบทที่จัดไว้ให้แล้ว เช่น หนูจะแปรงฟันก่อนหรืออาบน้ำก่อนดี เพราะไม่ว่าเขาจะเลือกอะไรก่อนก็เป็นสิ่งที่พ่อแม่วางแผนไว้แล้วว่าลูกจะต้องทำทั้งสองอย่าง แต่ลูกสามารถมีโอกาสที่จะเลือก ได้แสดงความเป็นตัวของตัวเอง ซึ่งเด็ก ๆ จะชอบวิธีแบบนี้มากกว่า
3. พูดควบคู่ไปกับการกระทำ
ถ้าต้องการให้ลูกเข้านอนจากที่เคยพูดสั่งว่าเข้านอนได้แล้ว ให้เปลี่ยนเป็นการตกลงกันว่าลูกจะเข้านอนกี่โมง แล้วชวนลูกทำเป็นตารางเวลา เป็นกิจวัตรประจำวัน ให้เขามีส่วนร่วมในการรับรู้ แล้วให้ตกลงกันว่าต้องทำแบบนี้ ถ้าลูกทำได้ก็ชมเขา หรือมีรางวัลให้เขาด้วยค่ะ ที่สำคัญต้องเน้นความสม่ำเสมอ ว่าต้องเข้านอนเวลานี้ทุกวันถ้าลูกไม่เข้านอนจะมีผลอย่างไร หรือมีบทลงโทษอะไรที่จะเกิดขึ้นกับเขา เช่น ของที่เขาเคยได้ หรือเคยตกลงกันไว้ว่าจะซื้อให้ลูกก็จะไม่ได้แล้วนะ ซึ่งจะทำให้เขาเชื่อฟังและรู้จักรับผิดชอบหน้าที่ของตนเองอีกด้วย
4. การใช้น้ำเสียง
ขึ้นอยู่เหตุการณ์ด้วย เช่น บอกให้ลูกมาอาบน้ำ แล้วอยากให้เขาสนุกกับการอาบน้ำ การใช้น้ำเสียงควรจะสนุก ตื่นเต้น หาของเล่นมาเล่นกับลูก เพื่อให้เขามีความสุขกับการอาบน้ำมากขึ้น แต่ถ้าเขาไม่ทำตาม เริ่มงอแง ให้ใช้น้ำเสียงนิ่ง และค่อย ๆ เข้มขึ้นและจริงจังมากขึ้น แสดงสีหน้าจริงจัง แต่ไม่ใช่ตวาดหรือดุจนเขากลัว เพราะจะทำให้ลูกเข็ดขยาดกับการอาบน้ำได้
การฝึก EF ไม่ได้ฝึกแค่เฉพาะเด็กๆ ค่ะ พ่อแม่อย่างเราเองก็ต้องมี EF ในตัวเองด้วย
ปัจจุบัน โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การพัฒนาทักษะให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีและการทำงานในอนาคตจึงเป็นเรื่องสำคัญที่เด็กยุคนี้จะต้องเรียนรู้มากขึ้น โดยเฉพาะเรื่อง Coding ซึ่งจะทำให้เยาวชนไทยใช้ชีวิตก้าวทันโลกในศตวรรษที่ 21
สำหรับเด็กที่เริ่มเข้าโรงเรียนช่วงอายุประมาณ 3-9 ปี เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกาย จิตใจ สมอง และสังคม และที่โดดเด่นที่สุดคือ การเรียนรู้ เพราะเป็นช่วงวัยที่สังเกต คิด วิเคราะห์ เชื่อมโยงจนกลายเป็นชุดความรู้และประสบการณ์ใหม่ได้แล้ว ซึ่งกระบวนการนั้นเรียกว่า Pre Coding การเตรียมความพร้อมกระบวนการคิดและวางแผนอย่างเป็นขั้นตอนนั่นเอง
พญ.สินดี จำเริญนุสิต กุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม แนะนำว่า เพื่อส่งเสริม Pre Coding ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมกระบวนการคิดและวางแผนของลูก พ่อแม่จำเป็นต้องรู้ด้วยว่า ลูกวัย 3-9 ปี มีพัฒนาการด้านการเรียนรู้อย่างไร เพื่อส่งเสริมและจุดประกายให้ลูกเกิดการเรียนรู้ในระยะยาว
พัฒนาการด้านการเรียนรู้ที่โดดเด่นของเด็กเล็กเพื่อต่อยอดเรื่อง Pre Coding
1. “คิดเป็น” เด็กๆ จะชอบการสังเกต ทดลอง และเรียนรู้ เช่น รูปทรง ขนาด สี ความเหมือน ความแตกต่าง หรือการมองเพื่อจดจำและทำตามอย่างเป็นขั้นตอน เช่น ดูวิธีที่คุณแม่ทำไข่เจียว แล้วคิดตาม จดจำขั้นตอนจนสามารถทำเองได้ เป็นต้น
2. “เชื่อมโยงได้” สิ่งต่างๆ กับความหมายได้ เช่น สัญลักษณ์กากบาทหมายถึง ผิด หรือ ห้าม เชื่อมโยงความหมายไปถึงสีแดงของสัญญาณไฟจราจรที่หมายถึง หยุด ห้ามไป และเชื่อมโยงสีแดงไปในความหมายว่า อันตราย การเตือนภัย เช่น ถังดับเพลิง เป็นต้น
3. “วางแผนเป็น” โดยเฉพาะช่วง 3-7 ปี เด็กจะรู้จักกติกา รู้จักวางแผน เริ่มสนใจเล่นเกมกระดาน บางครั้งอาจมีช่วงเวลาที่อยากคิดและเล่นคนเดียวบ้าง และเริ่มเลือกกลุ่มเพื่อนที่จะเล่นด้วย เมื่ออายุเข้า 8-12 ปี จะเริ่มชอบการแข่งขัน มีเป้าหมายชัดเจนเป็นของตัวเองมากขึ้น เป็นตัวของตัวเอง
4. “ร่างกายทำงานประสานกันเพื่อการเรียนรู้” ตา มือ และสมองทำงานประสานกันอย่างเป็นระบบ สังเกตจากกิจกรรมง่ายๆ เช่น วาดรูป ตัดกระดาษ การประดิษฐ์ การทดลองวิทยาศาสตร์ง่ายๆ เป็นต้น และตั้งแต่ช่วง 9 ปีขึ้นไปจะเริ่มคำนวณในใจง่ายๆ ได้ เริ่มใช้เหตุผลมาอธิบายเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นแล้วสรุปเป็นหลักการทั่วไปได้เอง (Inductive Reasoning)
บอร์ดเกม กิจกรรม Pre Coding ปูพื้นฐานการคิด วางแผน และสร้างสรรค์
เมื่อเรารู้แล้วว่าลูกวัย 3-9 ปี คิดเป็น วางแผนได้ แถมยังชอบความท้าทายที่มีเป้าหมายอยู่ตลอดเวลา บอร์ดเกมจึงเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยกระตุ้นทักษะ Pre Coding ได้เป็นอย่างดี เพราะมีทั้งการใช้ความคิด การวางแผน การแก้ไขปัญหา หรือแม้แต่การกำหนดคำสั่งให้ผู้ที่เล่นด้วยได้ทำตามโจทย์ไปยังเป้าหมายเดียวกัน
วิธีทำและเล่นบอร์ดเกมบันไดงูกับลูก
1. หาไฟล์ภาพเกมบันไดงูที่ลูกชอบ หรือเกมแบบอื่น เช่น เส้นทางขับรถกลับบ้าน สวนสัตว์ เป็นต้น
2. เชื่อมต่อ Wifi โทรศัพท์มือถือเข้ากับปริ้นเตอร์เพื่อปริ้นท์ภาพบอร์ดเกมบันไดงู
3. อธิบายกติกาการเล่นให้ชัดเจน คือ
- ผลัดกันทอยลูกเต๋าคนละ 1 ครั้งและเดินตามช่องเกมตามจำนวนแต้มลูกเต๋าที่ทอยได้
- หากไปตกช่องที่มีหัวงู ให้เดินตามลำตัวงูลงมาช่องที่มีหาง หรือ หากตกช่องที่มีโจทย์เพิ่มก็ให้ทำตามโจทย์
4. การชนะเกมนี้ได้คือ ต้องไปถึงจุดหมายปลายทาง ดังนั้น ลูกจะคิดคำนวณว่าต้องทอยให้ได้กี่แต้มเพื่อไม่ให้เดินตกช่องงู หรือ ต้องทอยให้ได้กี่แต้มหรือจะไปตกช่องที่ทำให้เดินต่อได้อีก
5. ในการเล่นครั้งต่อไปลองท้าทายลูกด้วยการเปลี่ยนรูปแบบเกมให้ยากขึ้น เช่น เพิ่มการเดินหมากเป็น 3 ตัวแต่สีเดียวกัน โดยมีกติกาว่า ให้พาหมากสีตัวเองไปถึงเป้าหมายให้ได้ทีละตัวจนครบทั้ง 3 ตัว หากทีมสีไหนถึงครบ 3 ตัวก่อนจะชนะเกม เป็นต้น
สนับสนุนการเรียนรู้โดย
มองภาพจากมุมสูง - ดาวน์โหลดฟรี Learning Sheet
เกมที่เด็กได้ฝึกสมอง ฝึกการสังเกต คิดแก้ปัญหา ส่งเสริมทักษะสมอง EF และทักษะพื้นฐานเรื่อง Coding
ระดับ
วิธีเล่น
สังเกตรายละเอียดในภาพใหญ่ แล้วหาว่าตรงกับรูปในสี่เหลี่ยมรูปไหนถ้ามองจากมุมสูง
สิ่งที่เด็กเรียนรู้
- ฝึกทักษะพื้นฐานเรื่อง coding
- ฝึกการสังเกตจดจำ
- ฝึกการคิดวิเคราะห์ คิดเชิงเหตุผล
บทบาทพ่อแม่ / ผู้ปกครอง
- ชวนเด็กคิดหาวิธี ขั้นตอนที่ใช้ในการหาคำตอบ เพื่อสรุปการเรียนรู้การคิดอย่างเป็นระบบตามความถนัดของเด็ก
หมวดการเรียนรู้ / ทักษะ
Coding, ทักษะสมอง EF, การคิดเชิงเหตุผล, การคิดแก้ปัญหา, การสังเกตจดจำ
นิทานชุดในสวนของย่า เรื่อง “แบบนี้ดีต่อใจ” จะช่วยให้พ่อแม่มองเห็นความสำคัญของการสร้างความสุขให้กับเด็กผ่านต้นชมพู่มะเหมี่ยว เพราะเมื่อเด็กมีความสุข Self ของเด็กจะดีและมีทักษะ EF
ชวนฟังหลักคิดเพื่อนำไปปรับใช้ในการเลี้ยงลูกจากนิทานย่าติ่ง คุณสุภาวดี หาญเมธี สุภาวดี หาญเมธี ประธานสถาบันรักลูกเลิร์นนิ่ง กรุ๊ป
แบบนี้ดีต่อใจและได้เรียนรู้
เป็นนิทานที่เล่าเรื่องของต้นมะเหมี่ยว ซึ่งเป็นต้นไม้ใหญ่ต้นเดียวในบ้านทําให้บ้านเย็น เวลาที่ทําสวนข้างบนมันร้อนก็จะได้อาศัยร่มเงาเขา ก็เป็นประเด็นว่าอยากเสนอเรื่องความสุข เพราะว่าเวลารณรงค์เรื่องEFอย่างที่เรารู้ว่าการทํางานของสมอง สมองส่วนคิดจะทํางานได้ดี หรือEFจะทํางานได้ดีก็ต่อเมื่อ Selfดี มีสมองส่วนอารมณ์ เบิกบาน ปลอดภัย เพราะฉะนั้นคนที่จะมีความสุขคือคนที่มี Selfดี ต้องมีความสุข จะมีความสุขเพราะว่ารู้สึกดีกับตัวเอง แล้วก็สามารถที่จะไปรู้สึกดีกับสิ่งอื่นๆได้ เพราะว่าเขามีความสุขอยู่ในตัว
เพราะฉะนั้นการที่เด็กจะมีความสุขได้ มันเริ่มจากหลายอย่างแต่อันหนึ่งก็คือการมองเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายหรือความสุขมาจากการที่ เราทําอะไรได้ด้วยตัวเองสําเร็จ ความสุขจากการที่รู้สึกว่ามีคนรักเรา มีคนเอื้อเฟื้อเรา เรากําลังทุกข์ใจก็มีคนมากอดเรา มีคนมาให้ความช่วยเหลือ ความสุขก็ค่อยๆ ฟื้นคืนกลับมา เพราะฉะนั้นกระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งความสุขมันก็ต้องค่อยๆ สะสม ถ้าคิดแบบปรัชญาก็คือว่าทุกข์เป็นของตาย ยังไงเราก็มีความทุกข์ นี่เป็นของตายตามหลักศาสนาหรือปรัชญา แต่ว่าจริงๆมนุษย์ก็ต้องมีจังหวะเวลาโอกาสที่จะต้องมีความสุขเพื่ออะไรเพื่อให้มันประคองชีวิตไปได้ คนที่มีแต่ทุกข์อยู่ตลอดแล้วไม่รู้สึกมีความสุขเลยเนี่ยมันชีวิตเดินหน้าไม่ได้ชีวิตจะไม่มีพลัง
ทำแบบนี้ดีต่อใจลูก
เพราะฉะนั้นการที่เด็กจะมีพลังพ่อแม่หรือคุณครูต้องทำให้
1.เด็กรู้สึกดีกับตัวเองให้เขารู้สึกว่าตัวเองมีดี เด็กทุกคนมีดีอยู่ที่ว่าเราจะเห็นดีของเขาหรือไม่ เพราะฉะนั้นถ้าเขารู้สึกดีกับตัวเอง ถือแก้วน้ําได้แล้ว เดินหยิบขยะไปทิ้งที่ถังขยะได้ เล่นเองแล้วเก็บของเล่นเองได้ จะทำให้ระหว่างทางเขามีความสุขเกิดขึ้น
2.ส่งเสริม ชื่นชม กระตุ้น สนับสนุนเขา ความรู้สึกที่มีความสุขจากการที่ตัวเองมีดีมันจะเป็นฐานที่เมื่อเขาผ่านสถานการณ์ที่ไม่ถูกใจ แต่ถ้าเขาปรับตัวได้หรือพลิกมุมมองบางอย่าง เช่น ต้นแม่มะเหมี่ยวก็จะมีเสียงที่คอยยุแยงตะแคง คอยถาม มาทำให้รําคาญ แต่ก็มีวิธีมองคือมองเรื่องเล็ก ๆ ว่าไม่เป็นปัญหา เรื่องดีมันมีมากกว่านั้นอีก ขี้นกตกเยอะก็ไม่เป็นไรเดี๋ยวฝนมาขี้นกมันก็หายไป
3.ฝึกลูกอยู่ง่าย กินง่าย ปรับตัวง่าย มองโลกให้มีความสุขเรื่องพวกนี้ก็จะไม่รบกวนเขามากถึงวันที่มันมีเรื่องใหญ่จริงๆ ทุกข์จริงๆ เขาก็จะเอาความสุขที่มีอยู่ในตัวเขาที่มีพลังไปแก้ปัญหาคือวิธีแบบนี้ไม่ได้แปลว่าโลกสวย แต่เราต้องให้เด็กอยู่กับความจริง อะไรที่เป็นสุขก็คือเป็นสุข อะไรที่เป็นทุกข์ก็ต้องยอมรับว่ามันคือความทุกข์มันจะได้ไปแก้ปัญหา เพียงแต่ว่าการมีมุมมองที่บวก Positive Thinking มันคือการพลิกมุมมอง อย่างขี้นกตกใส่รถแทนที่จะโวยวายก็พลิกสถานการณ์จากลบให้เป็นบวกจะได้ชวนลูกบ้างรถ ไม่ได้แปลว่าเราไม่เห็นว่าขี้นกเป็นปัญหาเราเห็นมันเป็นปัญหา แต่เราหยิบปัญหามาเป็นสถานการณ์ที่เป็นการเรียนรู้
ปลายทางของมันคืออะไรคือทําให้เด็กอยู่ง่าย ทําให้เขามีความสุขง่าย มีอะไรก็ดีได้ไม่ต้องยาก แล้ววันที่เขาไปเจอของยากจริงๆ ของแย่จริงๆ เจออุปสรรคที่มันใหญ่จริงๆ ความสุขเหล่านี้มันจะเป็นฐานให้เขาไปแก้ไขปัญหาได้ง่ายขึ้น คือคนที่จะแก้ปัญหาอะไรยากๆ ถ้าเป็นคนที่คิดลบตลอดจะแก้ปัญหาไม่ได้ เด็กควรโตมาแบบที่เห็นว่าเรื่องยากทั้งหลายมันไม่ยากเกินกําลังแล้วเราก็เคยผ่านมาแล้วเคยจัดการเรื่องเหล่านี้มาแล้วก็สําเร็จมาทีละเล็กทีละน้อย คือมนุษย์มีศักยภาพที่จะหาความสุข สร้างความสุข เราไม่ต้องไปตัดศักยภาพของเด็กทําให้กลายเป็นคนที่รู้จักแต่ความทุกข์อย่างนี้ไม่แฟร์กับเด็กเราต้องให้เขามีโอกาสที่จะหาความสุขด้วย ให้เขามีทักษะมีวิธีมองมีประสบการณ์ไหมคะก็เหมือนกับเรื่องทักษะEF มองยืดหยุ่นความคิดไปอีกมุมหนึ่ง พลิกมุมจากความทุกข์เป็นความสุขได้ คือวิธีคิดที่ดีก็จะนํามาซึ่งความสุข แต่ขณะเดียวกันความสุขก็จะทําให้เรามีโอกาสมีวิธีคิดที่ดีมันเป็นสิ่งที่มันคู่กัน
ถ้าเด็กเป็นคนมีความสุข โดยเฉพาะเป็นความสุขที่มาจากการที่เขาประสบความสําเร็จ ได้รับคําชื่นชมเขาจะใช้ประสบการณ์ที่มีคุณภาพที่มีความสุขเหล่านี้ไปแก้ปัญหาได้เยอะจะรู้สึกดีกับตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ มันมีสถานการณ์แบบนั้นในชีวิตเราเยอะมากที่เราควรที่จะต้องหยิบมาแล้วก็ฝึกให้เขามองว่าถ้ามองอีกแบบหนึ่ง มองแล้วไม่เป็นทุกข์เป็นอย่างไรแล้วพอ คือเวลาที่มันเกิดจากเรื่องที่ไม่ถึงกับยาก ถ้าเราฝึกเขาไว้ในวันที่เขาเจอเรื่องยากเขาจะหยิบประสบการณ์พวกนี้ไปทดลองคิด แต่ถ้าเราไม่เคยให้ลูกทุกข์เลยเพอร์เฟกต์ไม่ต้องคิดอะไรของไม่ดีก็ทิ้งไป เขาก็จะรู้วิธีเดียวหรือแบบที่ตัดปัญหาไป แต่จริงๆ ในชีวิตจริงเราทําให้ดีกว่านั้นได้เราไม่จําเป็นต้องทําแบบนั้น กระบวนการคิด ที่มันค่อยๆซับซ้อนและประณีตขึ้น มันจะเกิดขึ้นได้จากการที่เราชวนเขามองเรื่องอย่างนี้ไปก่อน เริ่มต้นจากเรื่องง่ายๆ
EF ทำให้ลูกอยู่รอด
แม้โลกไม่ VUCA อย่างไรก็ต้องใช้ทักษะ EF เพราะว่าEFคือทักษะที่เกิดจากสมองส่วนหน้า ส่วนที่เราแตกต่างจากสัตว์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นความสามารถนี้ก็ พิสูจน์มาตลอดว่าเราใช้ EF ในการแก้ปัญหา ปรับตัว สร้างสรรค์และพัฒนา ยังไงเราก็ต้องเจอกับปัญหาที่มันหนักขึ้นเรื่อยๆ โลกร้อนนี่ก็เรื่องหนึ่งนะคะ หรือเทคโนโลยีที่เข้ามา อย่างตอนนี้มีแชท GPT มนุษย์ก็ต้องเก่งต้องพัฒนาเพื่อที่จะรับมือแล้วก็จัดการชีวิตเรา ชีวิตครอบครัวเรา ชีวิตสังคมเราได้
เพราะฉะนั้นสถานการณ์เหล่านี้มันต้องการความสามารถของสมองสิ่งที่เรากําลังทำคือฝึกเด็กเรื่องEF ให้เขารู้จักคิด มีทักษะที่จะคิด มีความรู้สึกดีที่จะคิด มีความรู้สึกอยากลองได้ลองผิดลองถูก กระบวนการฝึก EFในเด็กเล็กที่เราพยายามรณรงค์กันคือเพื่อให้เขามั่นใจว่าเขามีทักษะเหล่านี้ดีขึ้น เข้มแข็งขึ้นแล้วฝังอยู่ในสมองเป็นชิปที่เมื่อไหร่ก็ตามที่เจอกับอะไรเขาก็จะสามารถค่อยๆคิดวิเคราะห์ค่อยๆหาคําตอบ จนในที่สุดเรื่องยากเรื่องใหญ่มันก็จะเข้ามาในลูปของเส้นใยประสาทแบบนี้เหมือนกัน ถ้าเด็กของเราจํานวนมากเป็นอย่างนี้เราก็มั่นใจได้ว่าเขาจะช่วยกันคิด พากันแก้ปัญหา
สิ่งที่สําคัญก็คือว่าเวลานี้เราพบมากไปกว่านั้นว่าไม่ใช่แค่เด็กคิดเก่งเท่านั้นที่จะสามารถพัฒนาตัวเองไปได้ดี แต่เราพบว่าเขาจะคิดเก่งคิดดีได้ ก็ต้องมีฐานใจที่ดีด้วยเช่นเดียวกัน ฐานสมอง ฐานใจก็ต้องเสริมกัน เพราะฉะนั้พอเราจะมาทําเรื่องส่งเสริมEFให้เด็ก เราต้องส่งเสริมเรื่องSelfเขาไปด้วย เพราะว่าSelfที่ดีจะทําให้เขาพัฒนาEFได้ กล้าคิด กล้าพูด กล้าทํา กล้าไปเผชิญโลก กล้าไปเจอปัญหา แต่ถ้าSelfไม่ดี เขาก็จะกลัวไปหมดทั้งโลกมันน่ากลัว ทั้งโลกมันมืดมนทั้งโลกไม่มีโอกาส เพราะฉะนั้นต่อให้เขาคิดอย่างไรก็ไปต่อไม่ได้จึงต้องทำสองเรื่องนี้ไปคู่กัน แล้วพอมีโควิดก็ทําให้เห็นว่าฐานกายก็ต้องไปด้วยกัน คือสุขภาพที่ดีจึงจะทําให้เขาสามารถไปคิดไปสร้างไปอะไรได้แล้วก็จะทําให้จิตใจของเขาดีได้ด้วย
เพราะฉะนั้นราต้องทำให้เด็กแข็งแรงทั้งสมอง จิตใจ ร่างกายก็คือครบองค์รวมได้ประโยชน์ครอบคลุม แทนที่เราจะไปทําเรื่องคุณธรรมก็ไม่ใช่ไม่ทําแต่ว่าไม่ใช่โฟกัสเรื่องเดียวคือคุณธรรม สมองที่คิดได้ดีที่ยับยั้งตัวเองได้ดีนั่นแหละคุณธรรมก็เกิด ไม่จําเป็นต้องไปไล่บอกว่าคุณต้องฝึกคุณธรรมอย่างโน้นอย่างนี้ อย่างนั้น จริงๆ EFที่ดีมีการยั้งคิดไตร่ตรองก็มีศีลในตัวเอง เพราะฉะนั้นเราจะทําอะไรก็ตามทําให้มันเป็นทําเรื่องเดียวแล้วมันได้ทุกเรื่อง
ทำEFได้คุณธรรมแน่นอน ได้การคิดเก่งแน่นอน ได้IQ ได้ EQด้วย เวลานี้เราผลักดันอยากเชิญชวนพ่อแม่ทําเรื่องส่งเสริมEF ส่งเสริมSelfแล้วก็ผ่านกิจกรรมทางกายด้วย พาลูกออกกําลังกายเยอะๆ แต่ถ้าไปพาเรื่องเรียนเก่งอย่างเดียวจะมาเสียใจทีหลังว่า ลูกไม่มีSelf ลูกซึมเศร้า ลูกอยากฆ่าตัวตาย เมื่อตอนเป็นวัยรุ่น หรือเอาแต่ลูกเรียนหนังสืออย่างเดียว ปรากฏว่าก็ไม่มีปฏิภาณที่จะแก้ปัญหาในชีวิต สรุปแล้วก็ไม่คุ้มทําสามเรื่องนี้ดีกว่าแล้วก็ยาวไปตลอดชีวิตของเขา
Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB
Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube: https://bit.ly/3cxn31u
งานวิจัยพบว่าเด็กที่ใช้สื่อเย็นเซลล์สมองจะเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ได้มากกว่า
ขณะที่สื่อร้อนการเชื่อมต่อของเซลล์ที่ชั้นเปลือกสมองจะทําได้น้อย กระทบกับพัฒนาการของสมอง โดยเฉพาะทักษะสมอง EF
ไม่อยากให้ลูกติดจอ พ่อแม่ทำได้
ฟัง อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริบอกแนวทางการฝึกทักษะให้พ่อแม่มี Digital Literacy เพื่อรับมือและรู้เท่าทันก่อนสื่อหน้าจอจะทำลายสมองลูก
ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่https://linktr.ee/rakluke
เมื่อพ่อแม่ให้โทรศัพท์ แท็บแล็ตหรือสร้างแอคเคาท์บนโซเชียลมีเดียให้ลูก เราอาจจะคิดว่าอินเทอร์เน็ตมันเป็นโลกของข้อมูลความรู้
แต่ถ้าลองคิดในมุมกลับกัน เมื่อให้ลูกเข้าถึงโลกทั้งใบ โลกทั้งใบก็เข้าถึงลูกของเราได้เหมือนกัน…การเกิดอาชญากรรมออนไลน์จึงเกิดขึ้นได้ง่าย
รู้กลลวงของเหล่ามิจฉาชีพบนโลกออนไลน์เพื่อรับมืออย่างเท่าทัน ฟัง อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ
ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่https://linktr.ee/rakluke
เมื่อลูกถูมิจฉาชีพหลอกลวง พ่อแม่จะช่วยลูกและรับมือกับสถานการณ์นี้อย่างไร ฟัง อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ
ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่https://linktr.ee/rakluke