facebook  youtube  line

รักลูก The Expert Talk EP.110 (Rerun) : รักลูกเชิงบวก “สร้าง Self ให้ลูก ปลูกฝังตัวตนที่แข็งแกร่ง"

รักลูก The Expert Talk Ep.110 :  รักลูกเชิงบวก "สร้าง Self ให้ลูก ปลูกฝังตัวตนที่แข็งแกร่ง" 

เลี้ยงลูกให้ได้ดี ลูกต้องมี “SELF” เพราะตัวตนที่แข็งแกร่ง จะทำให้ลูกเติบโตและอยู่ในสังคมได้อย่างปลอดภัย มั่นคงและอยู่รอด

 

ชวนสร้าง SELF กับครูหม่อม ผศ. ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร

อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

 

  

ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รักลูก The Expert Talk EP.71 (Rerun) : อยากให้ลูกสูง ต้องรู้ก่อนเสริม

รักลูก The Expert Talk Ep.71 (Rerun) : อยากให้ลูกสูง ต้องรู้ก่อนเสริม

 

ทำความเข้าใจเรื่องความสูงของลูก เป็นประจำเดือนแล้วหยุดสูงจริงหรือ กินยาหรือวิตามินช่วยให้สูงได้ไหม

ฟังรักลูก The Expert Talk พญ.นลินี เชื้อวณิชชากร กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและพฤติกรรม โรงพยาบาล พญาไท1

มาพูดคุยเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจพัฒนาการความสูงของเด็ก พร้อมวิธีการกระตุ้นให้ลูกสูงอย่างถูกต้อง

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk EP.73 (Rerun) : "รักลูก" เลี้ยงลูกแบบนักจิตวิทยา

 

รักลูก The Expert Talk Ep.73 (Rerun) : "รักลูก" เลี้ยงลูกแบบนักจิตวิทยา

 

เลี้ยงแบบไหนที่นักจิตวิทยาแนะนำ

 

ฟังวิธีการเลี้ยงลูก โดยนักจิตวิทยา อาจารย์อลิสา รัญเสวะ

นักจิตวิทยาคลินิก ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น ศูนย์กุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพระรามเก้า 

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk EP.75 (Rerun) : รุ่นในร่ม ปัญหาใหม่ท้าทายพัฒนาการ

 

รักลูก The Expert Talk Ep.75 (Rerun) : Indoor Generation The Effect "รุ่นในร่ม" ปัญหาใหม่ท้าทายพัฒนาการ

 

เรื่องใหม่เรื่องใหญ่ท้าทายพัฒนาการ ผลลัพธ์ของการอยู่ในร่ม น่ากลัวและต้องกังวลมากกว่าที่เราคิด กระทบพัฒนาการและการเรียนรู้ด้านใดบ้าง

 

ชวนฟังก่อนกระทบพัฒนาการไปมากกว่าที่เป็น โดย The Expert อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ

อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk Ep.81 (Rerun) : เปลี่ยน “วัยทอง” เป็นช่วงเวลาทองของชีวิต

 

รักลูก The Expert Talk Ep.81 (Rerun) : เปลี่ยน "วัยทอง" เป็นช่วงเวลาทองของชีวิต

ช่วงวัยทองของเด็ก คือช่วงเวลาทองของชีวิตเด็ก เขาจะเติบโตมาเป็นคนอย่างไร ก็อยู่ที่ช่วงเวลานี้

เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่พ่อแม่ต้องรับมือและมองวัยทองในมุมมองใหม่ เพื่อให้เป็นช่วงเริ่มต้นของชีวิตที่ดีของลูก

 

ฟังมุมมองการรับมือวัยทองแต่ละช่วงวัยจากครูก้าได้ใน EP นี้

เพราะเด็กจะเป็นอย่างไรเริ่มต้นที่วัยนี้ ไม่อยากให้พลาดฟังเพื่อจะได้วิธีการเลี้ยงลูกวัยตั้งต้นของชีวิตได้อย่างเหมาะสมตามพัฒนาการของวัย

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk Ep.82 : วิกฤตซ้อนวิกฤต คลี่คลายอย่างไรในช่วงปฐมวัย

 

รักลูก The Expert Talk Ep.82 : วิกฤตซ้อนวิกฤต คลี่คลายอย่างไรในช่วงปฐมวัย

เด็กปฐมวัยทั่วประเทศมีพัฒนาการล่าช้า 25% หลังสถานการณ์โควิดยิ่งทำให้พัฒนาการของเด็กล่าช้า และถดถอยไปมากกว่าเดิม

ความรักความหวังดีจากพ่อแม่ และครูที่ไม่เข้าใจพัฒนาการและปัญหาที่แท้จริง ยิ่งซ้ำเติมปัญหาพัฒนาการของเด็กให้มากยิ่งขึ้น แล้วเราจะทำกันอย่างไร เพื่อฟื้นฟูวิกฤตซ้อนวิกฤตนี้

 

ชวนคุยกับ The Expert ครูหวาน ธิดา พิทักษ์สินสุข นายกสมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศไทยฯ และผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กปฐมวัย

 

รู้วิกฤต รู้ปัญหาและเห็นทางออกเพื่อฟื้นฟูพัฒนาการให้เด็ก 

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk EP.95 (Rerun) : เลี้ยงลูกแบบหมอเดว “ไม่จับจด ไม่เอาแต่ใจ รู้ผิดชอบชั่วดี”

รักลูก The Expert Talk Ep.95 (Rerun) : เลี้ยงลูกแบบหมอเดว "ไม่จับจด ไม่เอาแต่ใจ รู้ผิดชอบชั่วดี"

ผลลัพธ์ของการเลี้ยงทั้ง 3แบบเด็กจะเป็นอย่างไร หากกำลังเลี้ยงลูกแบบ 3 วิธีการนี้ ลูกจะเติบโตมาเป็นคนอย่างไร และต้องปรับแนวทางการเลี้ยงลูกอย่างไร ฟัง The Expert รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม

เราเลี้ยงลูกบนความไม่เข้าใจบางเรื่องเป็นความปรารถนาดีอยากให้ลูกมีความสุข ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกต้องแต่ความปรารถนาบางครั้งต้องให้ลูกเจอความผิดหวัง เช่น ลูกผิดหวังไม่ได้เลยก็ต้องสอนให้ลูกผิดหวังบางครั้งพ่อแม่เจ็บปวดที่ลูกร้องไห้เพราะไม่ได้ดั่งหวังซึ่งไม่ผิด แต่เราปรับจูนความเข้าใจกันว่าจะมีจังหวะไหนที่ผ่อน จังหวะไหนที่ตึงบางเรื่องแล้วทำให้พ่อแม่รู้เท่าทันว่าบางเรื่องเราต้องถอยบางเรื่องรักษาระยะห่างเป็นการเรียนรู้ร่วมกันแต่จะผิดคือบกพร่องหน้าที่พ่อแม่

เลี้ยงปกป้องเกินไป เด็กขาดความมั่นใจ (Over Protection)

เป็นหน้าที่พ่อแม่ที่ต้องปกป้องลูกแต่ถ้ามากเกินไปมีปัญหาคือไม่ปกป้องเลย เช่น ตอนเป็นเด็กลูกร้องไห้ ปัสสาวะ อุจจาระราดที่บอกว่าเด็กร้องไห้ไม่ต้องสนใจ จริงๆแล้วเด็กอายุน้อยกว่า 6เดือนไม่มีมารยาไม่มีอารมณ์ไม่มีเงื่อนไขแต่รู้สึกไม่สบายตัวจึงร้องไห้ออกมา พ่อแม่ต้องรีบไปดูทันทีเพื่อปกป้องแต่พ่อแม่ไม่ทำนี่คือบกพร่องต่อหน้าที่ หิวก็ปล่อยลูกร้องอายุน้อยกว่า 6เดือน ซึ่งถ้าน้อยกว่า6เดือนไม่มีเงื่อนไขนอกจากหิวไม่สบายตัวจริงๆ

หรือที่ชัดกว่านี้คือเมื่อเด็กมีอารมณ์แต่พ่อแม่น็อตหลุดแทนที่จะเป็นการปกป้องกลายเป็นทารุณกรรมนี่เป็นปัญหา ซึ่งมีหลากหลาย Under Protection แย่ บกพร่อง มีปัญหา และ Over Protectionก็มีปัญหา เช่น เด็กที่ไปเที่ยวแล้วก็ถามว่า “รู้ไหมชั้นลูกใคร” แล้วพ่อแม่ตามไปปกป้อง แม้กระทั่งลูกทำผิดกฎหมายก็ยังเข้าข้าง ปกป้องคุ้มครองจนไม่รู้รับผิดชอบชั่วดี

หรือกรณีที่ด็กอนุบาลแกล้งกันเด็กจบแล้วแต่พ่อแม่ไม่จบบิวท์อารมณ์กันผ่านSocial mediaใช้อารมณ์ของลูกเป็นตัวตั้งจนยกพวกตีกันในรร.อนุบาล แต่ลูกกำลังเห็นโมเดลว่าพ่อแม่กำลังทำอะไร คือยิ่งมีลูกน้อยลงพ่อแม่จะรักแบบเทหมดใจ ซึ่งดีแต่มันเยอะเกินไปผลคือเด็กไม่รู้ผิดชอบชั่วดี

เลี้ยงอ้วน เด็กเอาแต่ใจ (Overfeeding)

คำว่าอ้วนเอาแต่ใจมาจากระดับโภชนาการและเรื่องการซื้อของ มีอันจะกิน มีข้าวกิน มีอาหาร มีของครบตามความจำเป็นหมวดนี้คือการบริโภคนิยมและทุนนิยมอ้วนเอาแต่ใจ เป็นประเภทที่เยอะ แต่ถ้าบกพร่องคือข้าวไม่มีกินคือเกิดปัญหาเราเห็นเด็กที่มีปัญหาภาวะขาดอาหารทุพภาวะโภชนาการ ส่วนอีกกลุ่มตรงกันข้ามคือ มีอันจะกิน กินทิ้งกินขว้าง กินไม่เลือก กินได้ตลอดเวลา จึงขึ้นว่าอ้วนเอาแต่ใจ

มีเคสหนึ่งที่พ่อจบป.เอกถามหมอว่าสอนให้ลูกหัดผิดหวังให้เป็น แล้วถ้าลูกผมดูดขวดนมอย่างสร้างสรรค์แล้วจู่ๆ จะให้ยกเลิกการดูดขวดนมอย่างสร้างสรรค์ก็เท่ากับว่าผมไปบล็อกความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งลูกอายุ 8ขวบแล้วหมอตกใจมากที่ยังดูดนมอยู่คือไม่ต้องคิดว่าอ้วน ฟันผุ ฟันเหยินหรือไม่ หมอจึงบอกพ่อคนนั้นว่าเป็นหน้าที่ของพ่อไหมต้องสอนให้ลูกหัดผิดหวังให้เป็น หรือพอจะตอบหมอได้ไหมว่าจะอยู่จนชั่วชีวิตลูกจะหาไม่ไหม

Overfeed คือการให้ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นการผิดหลักEQทั้งหมดจะเห็นว่าเด็กเอาแต่ใจ ยับยั้งอารมณ์ไม่ได้ ไม่ซื้อของลงไปดิ้นกลางห้าง โตมาหน่อยก็กรี๊ดสนั่นหรือพ่อแม่ที่ซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมไม่อั้นลูกก็ซึมซับ ปากเราพูดอย่างแต่เราทำอีกแบบ ลูกเห็นว่าพ่อแม่ก็ไม่ยั้งตัวเองจับจ่ายอย่างสนุกซื้ออาหารเต็มที่เพราะว่ารวย กินทิ้งกินขว้างไม่มี dog bag คือเหลือเอาเก็บมากิน ลักษณะนี้เรียกว่า อ้วนเอาแต่ใจ มีปัญหาEQ โตมาเป็นคนที่บริโภคนิยมทุนนิยมใช้เงินซื้อทั้งหมดเราคงไม่อยากฝึกลูกให้เป็นแบบนี้ การยั้งตัวเองแล้วทำให้ดูมีประสิทธิภาพ กว่าใช้ปากพูดแล้วสอนให้ลูกเป็นแต่วิธีการทำเป็นอีกแบบมันทำไม่ได้พ่อแม่ต้องเป็นต้นแบบ

เลี้ยงอวดรวย (Multiple homes)

หลักการคือการไม่มีบ้านก็เป็นเด็กเร่ร่อนคือบกพร่องไม่มีบ้านอยู่ ส่วนมีหลายบ้านคือมีทั้งบ้านและคอนโด จันทร์ถึงศุกร์อยู่คอนโดเสาร์อาทิตย์อยู่บ้าน ผลคือลูกไม่รู้จักข้างบ้าน ไม่มีการร่วมทุกข์ร่วมสุข ซึ่งเมื่อก่อนเราเติบโตมาเป็นชุมชนมีรากเหง้าเราจะเรียนรู้ซึมซับร่วมทุกข์ร่วมสุขไปกับชุมชนจะรักและเรียนรู้รากเหง้าของเราเองว่าเราเป็นคนจังหวัดนี้ พอย้อนกลับไปก็ภูมิใจว่าบ้านเราเมื่อก่อนเจริญแต่เด็กยุคนี้ไม่มี

การอยู่หลายที่ทำให้ความรักในรากเหง้าการเรียนรู้อยู่ในชุมชนจะอ่อนแอไปด้วย ผลลัพธ์คือโตเป็นคนจับจด เปลี่ยนที่ได้ง่ายเวลาเข้ามาทำงานก็ทำงานตามค่าตอบแทนที่สูงกว่า ความมั่นคงในจิตใจที่จะร่วมทุกข์ร่วมสุขในองค์กรไม่มี อาจจะบอกว่านี่เป็นเทรนด์ใหม่ของโลกก็เพราะสถานการณ์บีบบังคับจึงทำให้ได้เทนรด์ใหม่ของโลกในลักษณะนี้ แต่เราจำเป็นต้องเติมไม่งั้นจะเป็นประเด็นเกิดขึ้นได้แน่นอน

สร้างวิถีใหม่ปรับเปลี่ยนแนวทางการเลี้ยงลูก

1.เรียนรู้ว่าความรักกับความถูกต้องคนละเรื่องกัน รักลูกก็จริงแต่ผิดลูกก็ต้องเรียนรู้ไม่ปกป้องแม้จะผิด

2.ต้องระมัดระวัง มีบันยะบันยัง วิธีการคือเราเองต้องเป็นต้นแบบที่ดี ทั้งการเลือกกิน เลือกซื้อของ คือหลักพอเพียง หัดเบรคตัวเองมีแล้วหรือยังลูกก็จะเรียนรู้ว่าพ่อแม่ไม่ใช่คนฟุ่มเฟือย

3.ต้องเปิดใจให้ลูกเรียนรู้ อยู่ร่วมกับการมีหลายบ้านให้รักรากเหง้าทำให้ลูกเป็นผู้ให้ในหมู่บ้าน ชุมชนในคอนโด ก็จะทำให้เกิดการรักรากเหง้าร่วมทุกข์ร่วมสุขในชุมชนได้

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รักลูก The Expert Talk EP.96 (Rerun) : "กล้าพอไหมเปลี่ยนวิถีใหม่ในบ้าน แก้ปัญหาหนักใจวัยอนุบาล"

 

รักลูก The Expert Talk Ep.96 (Rerun) : เข้าใจ "วัยทอง" ลูกอนุบาลกับครูก้า กรองทอง บุญประคอง "กล้าพอไหม เปลี่ยนวิถีใหม่ในบ้าน แก้ปัญหาหนักใจวัยอนุบาล"
 

เปิดศึกกลางบ้าน ไม่มีทีท่าว่าจะสงบและยังเกิดขึ้นถี่ๆ บ้านไหนเป็นแบบนี้ ชวนฟังวิธีแก้ 3 ปัญหาน่าหนักใจ เพื่อไม่ให้กระทบพัฒนาการระยะยาว ได้แก่ ติดจอ, ก้าวร้าวเอาใจ, นิ่ง เนือย เฉื่อยชา ฟังดูเป็นเรื่องยากแต่แก้ไขได้

 

ฟังแนวทางจากครูก้า กรองทอง บุญประคอง ผู้ก่อตั้งโรงเรียนจิตต์เมตต์ และผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กปฐมวัย

จะทำให้พ่อแม่มองเห็นปัญหา เข้าใจพัฒนาเจ้าตัวเล็ก และเห็นแนวทางแก้ที่ไม่ยากเกินไป

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

ลูกชอบกินไข่มาก แต่เด็กกินไข่ได้วันละกี่ฟองกันนะ

 

เมนูไข่-เด็กกินไข่ได้วันละกี่ฟอง-ลูกชอบกินไข่-กินไข่ได้วันละกี่ฟอง-เมนูไข่หลากหลาย-เมนูไข่สร้างสรรค์-ประโยชน์ของไข่-สารอาหารในไข่-ไข่ สารอาหาร

ลูกชอบกินไข่มากแต่กินไปหลายฟองจะดีต่อสุขภาพมั้ย แล้วเด็กกินไข่ได้วันละกี่ฟอง มาหาคำตอบกัน

ลูกชอบกินไข่มาก แต่เด็กกินไข่ได้วันละกี่ฟองกันนะ

เป็นเรื่องที่ทุกคนรู้อยู่แล้วนะคะ ว่ากินไข่วันละ 1 ฟอง ดีต่อร่างกาย แต่ถ้าเด็ก ๆ ชอบกินไข่มาก เมนูไข่จะกินได้เยอะ ทั้งไข่ออมเล็ต ไข่ต้ม ไข่ตุ๋น ไข่เจียว ไข่คน เรียกว่าขอเมนูไข่ วันละ 3 มื้อ ได้เลย กินไปหลายฟองแบบนี้ พ่อแม่คงกังวลว่ากินไข่มากไปจะดีต่อสุขภาพลูกหรือเปล่า และเด็กกินไข่ได้วันละกี่ฟองกันนะ มาไขข้อสงสัยกันค่ะ

ประโยชน์ของไข่ ที่ดีต่อเด็กวัยกำลังโต

  • ไข่มีโปรตีนสูง ไข่ 1 ฟอง จะมีโปรตีนอยู่ถึง 6 กรัม จึงถือเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี เหมาะสำหรับคนทุกวัย
  • ไข่มีธาตุเหล็ก ที่ช่วยสร้างเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
  • ไข่ช่วยบำรุงสมองและระบบประสาท ไข่ 1 ฟอง มีโคลีน มากถึง 20% เพียงพอต่อร่างกาย จึงทำให้สมองและระบบประสาทแข็งแรง
  • ไข่มีแคโรทีนอยด์ ช่วยในการมองเห็น บำรุงระบบจอประสาทตา
  • ไข่มีวิตามินสูง ช่วยเสริมการทำงานของระบบสมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำและการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี

 เมนูไข่-เด็กกินไข่ได้วันละกี่ฟอง-ลูกชอบกินไข่-กินไข่ได้วันละกี่ฟอง-เมนูไข่หลากหลาย-เมนูไข่สร้างสรรค์-ประโยชน์ของไข่-สารอาหารในไข่-ไข่ สารอาหาร

ปริมาณไข่ ที่เหมาะสมในแต่ละช่วงอายุ

กรมอนามัยสนับสนุนให้เด็ก ๆ กินไข่ วันละ 1 ฟอง รวมถึงกลุ่มวัยอื่น ๆ ด้วย ดังนี้ 

  • เด็กอายุ 6 เดือน ให้กินไข่แดงต้มสุกครึ่งฟอง บดผสมกับข้าวในปริมาณน้อย ๆ 
  • เด็กอายุ 7-12 เดือน ให้กินไข่ต้มสุกวันละครึ่งฟอง 
  • เด็กวัยก่อนเรียน 1 – 5 ปี เด็กวัยเรียน แม่ตั้งครรภ์และแม่ให้นม ผู้ใหญ่กลุ่มวัยทำงาน และผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี สามารถกินไข่ได้เฉลี่ยวันละ 1 ฟอง
  • สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดผิดปกติ ไม่ควรกินไข่เกิน 3 ฟองต่อสัปดาห์ หรือตามคำแนะนำของแพทย์

ไข่เป็นอาหารที่มีประโยชน์ แตี่ถ้าเรากินไข่ร่วมกับอาหารแปรรูปอื่น ๆ ที่มากเกินไปเช่น กินไข่ดาวกับไส้กรอก แฮม เบค่อน บ่อย ๆ ก็อาจทำให้ได้รับไขมันส่วนเกิน หรือหากให้ลูกกินไข่อย่างเดียวเด็ก ๆ ก็อาจเป็นโรคขาดสารอาหาร เนื่องจากสารอาหารจากไข่เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ควรให้ลูกกินไข่แต่พอดี และต้องกินให้หลากหลาย ครบ 5 หมู่ ด้วยค่ะ 

นอกจากนี้  เด็กเล็ก แม่ตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ไม่ควรกินไข่ดิบ หรือไข่กึ่งสุกกึ่งดิบ เช่น ไข่ดอง ไข่ดาวไม่สุก ไข่ต้มยางมะตูม เพราะนอกจากร่างกายจะดูดซึมโปรตีนจากไข่ได้น้อยแล้ว ไข่ดิบยังอาจมีเชื้อซาโมเนลลา (Salmonella) ปนเปื้อนได้อีกด้วย ซึ่งเจ้าเชื้อนี้เป็นตัวการให้เกิดอาการท้องร่วงรุนแรง และบางคนอาจถึงขั้นเสียชีวิตจากการติดเชื้อซาลโมเนลลาได้เลย  

 

 

ลูกพูดช้า ไม่ใช่พัฒนาการปกติ ต้องรีบแก้ไข

ลูกพูดช้า ไม่ใช่พัฒนาการปกติ ต้องรีบแก้ไข

เมื่อลูกพูดช้า แบบไหนจะเรียกว่าพัฒนาการด้านภาษาและการพูดเป็นไปตามปกติ แบบไหนถึงเรียกว่าพัฒนาการด้านภาษาและการพูดไม่เป็นไปตามปกติ พ่อแม่จะป้องกันและดูแลได้อย่างไร 

พัฒนาการด้านภาษาและการพูดตามปกติ

1-4 เดือน ส่งเสียงอ้อแอ้ สนใจเสียงผู้ที่มาคุยด้วย คุ้นเคยกับเสียงคนใกล้ชิด

5-6 เดือน ตอบสนองเมื่อถูกเรียกชื่อ เริ่มหันหาเสียงและเลียนเสียงผู้อื่น

9-12 เดือน เริ่มพูดได้เป็นคำพยางค์เดียว ให้ท่าทางสื่อความหมายร่วมด้วย

1-1.5 ปี มีการโต้ตอบชัดเจน สามารถทำตามคำสั่งได้ เริ่มพูดคำที่มีความหมายได้

1.5-2 ปี พูดได้ 50-80 คำ เริ่มรวมคำ เข้าใจคำสั่งที่ยากขึ้น

2-3 ปี สามารถพูดเป็นประโยคได้ ตอบได้ พูดคุยสื่อสารรู้เรื่องมากขึ้น

แบบไหนเรียกว่าพูดช้า

6-10 เดือน ไม่ส่งสัญญาณการพูด ไม่หันมาตามเสียง ไม่เลียนแบบ

12 เดือน พูดได้แต่เสียงสระไม่มีเสียงพยัญชนะ เช่น อินอ้าว(กินข้าว) แอ้(แม่) อ้อ(พ่อ)

15 เดือน ไม่เข้าใจความหมายของคำง่ายๆ เช่น สวัสดี บ๊ายบาย

18 เดือน พูดคำที่มีพยางค์เดียว เช่น หิว กิน ได้น้อยกว่า 10 คำ 2 ปี พูดคำที่มีความหมาย 2 พยางค์ต่อกันไม่ได้ เช่น ไม่เที่ยว ไม่เอา

1-2 ปี ไม่เริ่มการสื่อสารและไม่เข้าใจคำถามหรืออาจจะพูดไม่หยุด แต่ไม่สื่อสารในเรื่องเดียวกัน

2 ปี 6 เดือน พูดอธิบายสื่อความหมายไม่ได้ 3 ปี พูดยังไม่เป็นประโยค อธิบายความหมายไม่ได้

3 ปี ไม่บอกความต้องการ ไม่เข้าใจและไม่เคยใช้ประโยคคำถาม หรืออาจจะพูดเป็นภาษาสคริปต์ ที่ไม่ใช่ภาษาของเด็กวัยเดียวกัน

สาเหตุของความผิดปกติของพัฒนาการด้านภาษาและการพูดของเด็ก
  • ความผิดปกติของร่างกาย
  • ความผิดปกติจากโรคทางพันธุกรรม
  • ภาวะออทิสติก
  • พัฒนาทางภาษาผิดปกติ
  • ขาดการกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสม เช่น ปล่อยลูกไว้ตามลำพังไม่มีคนพูดคุยด้วย หรือเมื่อลูกพยายามพูดแล้วผู้ใหญ่ไม่ตอบสนอง
  • สมาชิกในบ้านพูดกันมากกว่า 2 ภาษาขึ้นไป อาจทำให้ลูกเกิดความสับสนว่าจะเลือกพูดภาษาไหนดี และอาจจะทำให้ไม่เข้าใจภาษาที่พูดอย่างถ่องแท้ได้
  • คุณแม่ที่สั่งอย่างเดียว หรือให้เด็กดูทีวีมากเกินไป เหล่านี้เป็นการสื่อสารทางเดียวก็จะทำให้เกิดปัญหาได้ค่ะ

พ่อแม่แก้ไขได้

ส่งเสียง ขยับปาก - คุณแม่เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกทำตามได้ดีที่สุด เวลาพูดกับลูกแม่ควรย่อเข่าหรือนั่งลงให้ลูกได้สังเกตหน้าและปากของแม่เวลาพูด หรือให้ลูกส่องกระจกดูว่าคำที่เขาพูดไม่ชัดนั้นเขาทำปากอย่างไร และช่วยแก้ไขโดยให้เขาทำปากตามแม่ ที่สำคัญคุณแม่ควรพูดด้วยน้ำเสียงปกติ ชัดถ้อยชัดคำ ไม่ดังหรือค่อยจนเกินไป และไม่พูดช้าหรือเร็วจนเกินไปด้วย

ชีวิตประจำวันเป็นแบบฝึกหัดที่ดี - เรื่องรอบๆ ตัว คุณแม่สามารถนำมาช่วยกระตุ้นให้ลูกพูดได้ทั้งนั้นค่ะ เช่น การฟังเสียงต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัว ให้เด็กเรียกชื่อสิ่งที่ได้ยิน และควรใช้สิ่งของจริงจะช่วยในการหัดพูดได้ดี เพราะจะช่วยให้ลูกทั้งจำสิ่งของและพูดได้ด้วย

บรรยากาศก็สำคัญ - จัดสภาพแวดล้อมใหม่ๆ ให้ลูกบ้าง เพื่อช่วยในการเรียนรู้ เช่น พาลูกไป หรือชวนคุยเมื่อเจอสิ่งที่น่าสนใจ ควรสอนแทรกไปในกิจวัตรประจำวันและสอนให้บ่อย ถ้าให้ลูกได้มีโอกาสเล่นกับเด็กวัยเดียวกันบ้างก็จะช่วยให้การพูดพัฒนาเร็วขึ้น ส่วนเด็กบางคนไม่มั่นใจที่จะพูดกับผู้ใหญ่ คนแปลกหน้าแบบนี้บทบาทสมมุติช่วยได้ ลองหาตุ๊กตาให้ลูกเล่นสักตัวเป็นเพื่อนเพื่อสร้างความมั่นใจให้ลูกได้นะคะ

อย่าสื่อสารทางเดียว - การถาม-ตอบเป็นสิ่งสำคัญ เช่น ถ้าลูกถามว่า "ทำไม" "อะไร" ควรตอบลูกให้ละเอียด เช่น เมื่อลูกถามว่า "นี่เรียกว่าอะไร" ไม่ควรตอบว่า "แมว" เท่านั้น อาจขยายความต่อว่า "แมวมีสีเทา หางยาว มีสี่ขา" การสื่อสารทางภาษาแบบนี้จะช่วยให้ลูกรับข้อมูลที่หลากหลายมากขึ้นค่ะ ให้กำลังใจ

อย่าหักโหม - อย่าลืมให้กำลังใจลูกทุกครั้งที่ลูกสามารถพูดได้แล้ว สิ่งสำคัญคืออย่าใช้ท่าทีก้าวร้าวรุนแรงกับลูก ต้องเข้าใจว่าความสามารถทางการพูดของลูกนั้นจะขึ้นอยู่ตามระดับอายุ อย่าหักโหมในการสอนเกินไป อ่านสนุก

กระตุ้นการพูดได้ด้วย - คุณแม่ลองหยิบหนังสือภาพสวยๆ มาอ่านให้ลูกฟังดูสิคะ ขณะที่อ่านนั้นลองให้ลูกชี้ภาพให้ตรงกับคำถามของแม่ เช่น นกอยู่ตรงไหน หลังจากนั้นผลัดให้พ่อแม่เป็นฝ่ายชี้ภาพแล้วถามคำถามให้ลูกตอบบ้างว่า ภาพนี้คืออะไร ร้องอย่างไร กำลังทำอะไรอยู่ ลูกน่าจะค่อยๆ พูดได้แล้วค่ะ  

ถ้าสำรวจดูแล้วว่าเราช่วยเหลือลูกอย่างดี แต่ลูกก็ยังมีพัฒนาการทางด้านภาษาที่ช้าอยู่ ก็น่าจะลองพาลูกไปปรึกษากุมารแพทย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางพัฒนาการเด็กเพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง หรืออาจจะไปปรึกษานักแก้การพูดเพื่อช่วยฝึกพูดต่อไปค่ะ

 

 อ้างอิง : RAMA CHANEL

ลูกเป็นผดผื่นใช้แป้งได้ไหม และวิธีดูแลผดผื่นให้ลูกอย่างถูกต้อง

ผด, ผื่น, เด็ก, พัฒนาการเด็ก, ของเล่นเสริมพัฒนาการ, อาหารเด็ก, โรคในเด็ก, กิจกรรมสำหรับเด็ก, สุขภาพเด็ก, ผด ร้อน, ผด ผื่น ร้อน, ผด ร้อน วิธี รักษา, ผด ร้อน ขึ้น หน้า, ผด เหงื่อ, ผด ร้อน ขึ้น ตาม ตัว, ผด ร้อน รักษา, วิธี รักษา ผด ร้อน, ผด ร้อน ที่ หน้า, วิธี แก้ ผด ร้อน, ผด ร้อน รักษา, ผด ร้อน ขึ้น ตาม ตัว

แนะวิธีดูแลผิวหนัง และบรรเทาผดผื่นให้ลูกอย่างถูกต้อง

Q : ลูกชายอายุ 1 ปี 2 เดือน เป็นผดผื่นที่ต้นแขน ลำคอ หลัง ส่วนอื่นไม่เป็น ควรใช้แป้งเด็กที่กันผดผื่นทาไหม ต้องทาเยอะหรือไม่ กลัวว่าเนื้อแป้งจะไปอุดตันปิดตรงตุ่มเล็กๆ ค่ะ และถ้าใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดถูตรงบริเวณที่เป็นผื่นจะดีไหม

A : ลูกอายุ 1 ปี 2 เดือน เป็นผื่นผด ผื่นแดงเล็กๆ บางครั้งจะมีน้ำใสๆ เล็กๆ ที่ยอดผื่น บริเวณที่เป็นบ่อยโดยเฉพาะหน้าร้อน คือ ต้นแขน ลำคอ หน้าอก หลัง ถ้าเป็นมากจะเป็นที่ใบหน้าบริเวณไรผม เพราะอากาศร้อนร่างกายจะระบายความร้อนทางต่อมเหงื่อ ถ้ามีเหงื่อออกมากแต่ผิวหนังมีอะไรไปอุดตันท่อเปิดของต่อมเหงื่อ ก็จะทำให้เกิดการอักเสบเป็นผื่นแดงดังกล่าว

 

การดูแลผิวหนังที่เกิดผดผื่นที่ดีที่สุด

  1. การช่วยลดความร้อนในร่างกายโดยหมั่นอาบน้ำ (แช่น้ำ) ให้ลูกสบายตัว
  2. ใส่เสื้อผ้าเนื้อบางๆ เบาๆ
  3. อยู่ในที่ที่อากาศเย็น เช่น ที่ๆ มีลมโกรก ห้องปรับอากาศหรือมีพัดลมช่วยระบายความร้อน

 

ควรใช้แป้งเด็กที่กันผดผื่นทาไหม?

การทาแป้งจะไม่ค่อยช่วยในการรักษาผด ถ้าทามากไป แป้งโดนกับเหงื่อจะเป็นก้อน ถ้าอยู่ในบริเวณซอกคอ รักแร้ ข้อพับ ก็จะเกิดการเสียดสีเกิดผื่นแดงได้ ถ้าลูบไล้บางๆ เพื่อลดการเสียดสีก็อาจใช้ได้ แต่ไม่ควรเขย่าโรยแป้งลงไปบนตัวเด็ก เพราะฝุ่นแป้งอาจฟุ้งเข้าจมูกเด็ก เกิดโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจตามมา ถ้าเด็กที่เป็นผด มีอาการคัน หลังอาบน้ำหรือใช้ผ้าเย็นชุบเช็ดตัวแล้ว อาจใช้ยาแป้งน้ำคาลาไมน์ช่วยลดอาการคันได้บ้าง

 

ข้อมูลโดย : พญ.สุจิตรา วีรวรรณ

วิธีจัดการลูกอารมณ์รุนแรง ชอบทำร้ายตัวเองและคนอื่น

ลูกทำร้ายตัวเอง- ลูกดื้อ- ลูกก้าวร้าว- ลูกงอแง- ลูกโมโห- ลูกเครียด- ปัญหาพฤติกรรม- พัฒนาการทางร่างกาย- พัฒนาการทางอารมณ์- พัฒนาการเด็ก- อารมณ์รุนแรง

วิธีจัดการลูกอารมณ์รุนแรง ชอบทำร้ายตัวเองและคนอื่น

พฤติกรรมเด็กชอบเอามือตีหัวตัวเอง เอาหัวชนฝาผนัง และชอบกัดคนอื่นเวลาไม่ได้ดั่งใจ พ่อแม่ควรทำอย่างไร เรามีคำแนะนำมาฝากค่ะ

การที่เด็กในวัย 1-3 ปี แสดงพฤติกรรมที่ค่อนข้างรุนแรงเมื่อไม่ได้ดั่งใจนั้น มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยค่ะ

ปัจจัยที่สำคัญได้แก่

1.เด็กยังระบายความโกรธไม่เป็น

เพราะการระบายความรู้สึกโกรธที่ดีที่สุด คือการพูด ดังนั้นในเด็กที่อายุยังไม่ถึง 2 ขวบซึ่งภาษาก็ยังไม่ได้พัฒนามากพอที่จะพูดระบายความอัดอั้นตันใจทั้งหมดทั้งมวลออกมาได้ ก็จะระบายความโกรธออกมาด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น ร้องไห้ ลงไปนอนดิ้นกับพื้น หรืออาจหนักถึงขนาดที่ทำร้ายตัวเองหรือคนอื่นได้เช่นกันค่ะ

 

2.เด็กใช้พฤติกรรมเหล่านี้เป็นเครื่องต่อรอง

หากเด็ก ๆ ของเราเรียนรู้ว่าเมื่อเขาแสดงพฤติกรรมเหล่านี้แล้ว ผู้ใหญ่มีท่าทีตระหนกตกใจ หรือกลายมาเป็นยอมตามใจเขา ไม่ว่าจะเพราะกลัวเด็กจะเครียดหรือเพื่อตัดรำคาญก็ตาม เด็กๆ ก็จะเรียนรู้ว่าหากอยากที่จะเอาชนะเราแล้วละก็ มีเพียงวิธีเหล่าเท่านั้นที่ได้ผล และแน่นอนค่ะว่ายิ่งทำแล้วได้ผลมากเท่าไหร่ เด็กๆ ก็จะยิ่งเกิดความชำนาญ และสุดท้ายเขาอาจกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเอาหัวโขกกำแพง หรือการกัดคนอื่นในที่สุด

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ก็ไม่ได้รุนแรงถึงขนาดที่จะเป็นโรคอะไรนะคะ นั่นหมายความว่า การดูแลอย่างถูกวิธีสามารถทำให้พฤติกรรมเหล่านี้หายไปได้ค่ะ โดยสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำในตอนนี้ได้แก่

-ควรห้ามลูกทุกครั้งเมื่อเขาทำรุนแรง : การห้ามในที่นี้คงไม่ใช่แต่เพียงพูดกับลูกว่า "อย่ากัดแม่นะลูก มันเจ็บ" หรือ "อย่าตีตัวเองสิคะ" เท่านั้นนะคะ แต่เราต้องเข้าไปจับมือเขาไว้เมื่อเขาตีตัวเอง จับหัวเขาไว้ไม่ให้โขกกำแพง และดันตัวเขาออกไปทุกครั้งเมื่อเขากัดเรา เพราะหากเราเพียงแค่พูดเฉยๆ เด็กๆ จะเข้าใจว่าเราไม่ได้เอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้ และรับรองค่ะว่าเขาจะทำอีกแน่นอน

-สอนวิธีระบายความโกรธที่ดีกว่านี้ : ดีที่สุดคือสอนให้เด็กรู้จักพูดเมื่อตัวเองโกรธ แม้เด็กจะไม่สาธยายความโกรธเกรี้ยวฉุนเฉียวของตัวเองออกมาได้ทั้งหมด แต่การพูดว่า "ไม่เอา" หรือ "โกรธ" ออกมาได้ ก็อาจจะช่วยให้เขาลดการทำร้ายตัวเองหรือผู้อื่นลงได้

 

แต่หากในกรณีที่เขายังไม่สามารถพูดคำเหล่านี้ออกมาได้ คุณแม่อาจต้องยอมปล่อยให้เขาร้องไห้ หรือลงไปดิ้นกับพื้นแทน ต้องจำให้ขึ้นใจเลยนะคะว่าเด็กสามารถที่จะโกรธได้ เพียงแต่ต้องระบายออกมาในวิธีที่เหมาะสม และไม่ควรบอกเขาว่า อย่าร้อง ห้ามโกรธ หรืออย่างอแง เพราะว่านั่นคือการฝืนธรรมชาติของมนุษย์ จะทำให้เขากลายเป็นเด็กเก็บกดในที่สุด

และที่สำคัญห้ามตามใจเด็ดขาด เรื่องนี้เป็นเรื่องที่หมอย้ำบ่อยมาก เพราะเด็กจะใช้พฤติกรรมเหล่านี้เพื่อมาต่อรองกับเรา

 

ดังนั้นไม่ว่าเขาจะทำสิ่งที่รุนแรงแค่ไหน คุณแม่ก็เพียงแต่จับเขาไว้และก็ต้องยืนยันว่ายังไงเขาก็จะไม่ได้ของที่เขาต้องการ ในกรณีที่น้องอายุไม่มาก เราอาจใช้วิธีเบี่ยงเบนความสนใจให้เขาสนใจสิ่งของหรือกิจกรรมอื่นแทนได้ค่ะ

สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้การปรับพฤติกรรมลูกสำเร็จหรือไม่ ก็คือผู้ปกครองต้องมีความสม่ำเสมอและห้ามใจอ่อนเด็ดขาด (รวมถึงคุณปู่คุณย่าคุณตาคุณยายที่อยู่ที่บ้านด้วยนะคะ) หรือหากคุณแม่ลองทำดูแล้วไม่ประสบผลสำเร็จอาจพาน้องไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อลองมองหาสาเหตุอื่นหรือการรักษาเพิ่มเติมได้ค่ะ

 



วิธีหยุดเด็กวัย 1-3 ปี อาละวาด

4039

อารมณ์ของเด็กวัย 1-3 ปี มีความแตกต่างกัน เด็กบางคนก็ใจเย็น แต่บางคนชอบเป็นที่หนึ่งและยอมไม่ได้ที่จะไม่เป็นจุดสนใจ ทำให้บางครั้งก็อาละวาด ร้องไห้ ทำให้คนรอบข้างประหลาดใจกันไปตามๆ กัน ดังนั้นสิ่งที่พ่อแม่ควรมีกลยุทธ์วิธีหยุดลูกอาละวาดดังนี้

  • มีเวลาใกล้ชิดเด็กให้มาก พยายามเล่นกับลูกอย่างสนุกสนาน เพราะส่วนหนึ่งที่เด็กอาละวาด เนื่องจากพ่อแม่ละเลยไม่สนใจหรือใส่ใจเขานั่นเอง
  • หลีกเลี่ยงการพูดว่า “อย่า” “ไม่” “เดี๋ยวก่อน” รวมถึงการตะเบ็งเสียง เพราะจะยิ่งยั่วยุให้ลูกโมโหเพราะความขัดใจ แต่ควรพูดในเชิงบวกแทน เช่น “ลูกสามารถเล่นได้เต็มที่หลังจากอาบน้ำเสร็จแล้วนะ”
  • สังเกตช่วงเวลาที่เด็กอาละวาด เด็กบางคนมักงอแงตอนหิว ปวดท้อง หรือตอนก่อนนอน และอีกไม่น้อยที่รับรู้ความรู้สึกได้ว่าพ่อแม่กำลังทะเลาะกัน ดังนั้นลองจับสังเกตดีๆ และแก้ไขปัญหานั้น วิธีลงโทษด้วยการตีหรือการตะคอกใส่เป็นเรื่องต้องเลี่ยง เพราะจะทำให้เด็กยิ่งอาละวาดและโมโหหนักกว่าเดิมอีก

พ่อแม่ต้องหยุดการอาละวาดของเด็กวัย 1-3 ปีนี้ด้วยความใจเย็น และมีอารมณ์ที่นิ่งกว่าลูก ควรพูดให้ลูกเข้าใจสลับกับการปลอบโยน เพื่อให้เด็กรู้สึกว่าสิ่งที่ทำอยู่นี้ไม่ใช่เรื่องที่ดี หรือเบี่ยงเบนด้วยการชวนไปเดินเล่นหรือเล่นของเล่น เพื่อให้ลืมเรื่องอารมณ์เสียนั้นไปก่อน







 

เตือนเด็กต่ำกว่า 2 ขวบไม่ควรดูจอ เสี่ยงพูดช้า สมาธิสั้น ไอคิวต่ำ

 5063 1

เตือนเด็กต่ำกว่า 2 ขวบไม่ควรดูจอ เสี่ยงพูดช้า สมาธิสั้น ไอคิวต่ำ

พ่อแม่ที่ปล่อยให้ลูกวัย 2 ขวบ ดูจอบ่อยๆ หรือนานเกินไป ส่งผลให้ลูกพูดช้า พัฒนาการช้า ไอคิวต่ำ สมาธิสั้นได้ พราะเห็นว่าลูกใช้แล้วจะอยู่นิ่ง ไม่งอแงหรือโวยวาย ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วหน้าจอจะส่งเสียต่อลูกหลายด้านมากค่ะ เรามาดูข้อเสียของหน้าจอกันค่ะ 

 

7 ข้อเสียของการให้เด็กต่ำกว่า 2 ขวบดูจอ

1. ขาดพัฒนาการด้านการสื่อสาร พูดช้า พูดไม่ชัด

2. ความสามารถในการสื่อสารลดลง พัฒนาการทางสมองช้า ไอคิวต่ำ

3. ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ หงุดหงิดง่าย ใจร้อน รอคอยไม่ได้

4. ลูกสมาธิสั้น ขาดสมาธิ ไม่มีความใจจดใจจ่อ

5. มีปัญหาด้านสายตาล้าหรืออักเสบ

6. ร่างกายไม่แข็งแรง เคลื่อนไหวช้า เหนื่อยง่าย

7. ขาดทักษะการเข้าสังคม แยกตัวเข้ากับเพื่อนไม่ได้

 

คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้จอที่เหมาะสม

 5063 2

1. พ่อแม่ควรหลีกเลี่ยงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด ห้ามเด็กดูจอ โดยเฉพาะเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี ส่วนเด็กที่อายุมากกว่า 2 ปี ให้จำกัดระยะเวลาไม่เกิน 30 นาทีต่อวัน

2. พ่อแม่ควรหลีกเลี่ยงสื่อที่ไม่เหมาะสมต่อเด็ก เช่น สื่อที่มีเนื้อหารุนแรง ก้าวร้าว หรือเกี่ยวกับเรื่องเพศ เป็นต้น

3. พ่อแม่ควรเลือกสื่อที่เหมาะสมกับเด็ก และสร้างมาเฉพาะเด็กโดยตรง รวมทั้งดูสื่อเหล่านั้นไปพร้อมกับเด็ก คอยอธิบาย ให้คำปรึกษา แนะนำกับเด็กไปพร้อม ๆ กับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เหล่านั้น

4. หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ พ่อแม่ควรมีการตั้งกฎเกณฑ์การรับสื่ออย่างเหมาะสม มีการจำกัดเวลา กำหนดสถานที่ เป็นต้น

5. พ่อแม่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการรับสื่อ เนื่องจากการที่พ่อแม่ติดสื่อ ล้วนส่งผลให้ความสนใจที่มีต่อลูกลดลงเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ หากพ่อแม่กำลังทำงานอยู่ไม่สามารถเล่นกับลูกได้ ควรหากิจกรรมหรือของเล่นให้ลูกเล่นโดยไม่ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยให้ลูกเล่นอยู่ใกล้ ๆ บริเวณที่พ่อแม่ทำงานเพื่อความปลอดภัยของลูก

6. ควรจัดสภาพแวดล้อมในบ้านให้เหมาะสม เช่น ในห้องนอนลูก ไม่ควรมีสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เพื่อลดโอกาสการเข้าถึงสื่อเหล่านั้น

 

ที่สำคัญที่สุดคือไม่ควรให้หน้าจอเป็นพี่เลี้ยงลูกเพราะเห็นว่าลูกใช้แล้วอยู่นิ่ง ไม่โวยวาย แต่กลับส่งผลเสียมากมายแทนค่ะ และอย่าลืมว่ากิจกรรมการเล่นที่เหมาะสมตามวัยโดยปราศจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์รวมถึงการที่พ่อแม่เล่นกับลูกยังคงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ช่วยให้ลูกมีพัฒนาการที่ดี พฤติกรรมที่เหมาะสม สุขภาพที่แข็งแรง มีความสัมพันธ์ในครอบครัวที่แน่นแฟ้น

 

ที่มา : กรมอนามัย

เป๊ปป้าโปเตโต้

3543

เด็กบ้านไหนเบื่ออาหาร ลองปรับเปลี่ยนวิธีการทำสักนิด อย่างเช่นนำตัวการ์ตูนที่ลูกน้อยชอบมาเป็นส่วนหนึ่งของอาหาร นอกจากจะทำให้ลูกสนใจมากขึ้น ยังทำให้เขาสนุกกับการตั้งตารอคอยอาหารฝีมือคุณแม่ทุกมื้ออีกด้วย

ส่วนผสม  

หมูสันในหั่นเป็นชิ้นลูกเต๋า (ขนาด 1 นิ้ว) 1 ถ้วยตวง

มันฝรั่งผลเล็ก 1 ผล

นมที่ลูกดื่ม 1/2 ถ้วยตวง

ผักต่างๆ ลวกหรือต้มสุก

หอมหัวใหญ่สับละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ

นมสดชนิดจืด 1 ช้อนชา

น้ำซุปผัก 1 ถ้วยตวง

วิธีทำ

ทำมันบดโดยนำมันฝรั่งไปต้มให้สุก ลอกเปลือกออกแล้วบดละเอียดผสมกับนมที่ลูกดื่ม ผัดเนยกับหัวหอมพร้อมกับใส่หมูลงไปผัดจนสุก เติมน้ำซุปให้ท่วม ปิดฝาอบจนเปื่อย ตักใส่จานวางเคียงกับมันบดและผักลวกหรือต้มสุก ช่วยให้อร่อยครบเครื่องยิ่งขึ้น *ให้พลังงานรวม 200 กิโลแคลอรี่



Tip : หลายคนคิดว่าการรับประทานมันฝรั่งจะอ้วน ที่จริงความอ้วนอยู่ที่กรรมวิธีการปรุง เช่น ทอดในน้ำมันท่วม แต่ถ้าปรุงอย่างระมัดระวัง อาจจะต้ม อบ นึ่ง ก็ไม่ต้องกลัวว่าจะอ้วน เพราะโดยเนื้อแท้ของมันฝรั่งมีไขมันต่ำ 

 

เมนูซุปครีมบรอกโคลี เมนูสำหรับเด็กวัย 1-3 ปี

1609

ซุปเด็กมีหลากหลาย วัตถุดิบก็มีมากมาย แม่ๆ สามารถเลือกผักที่ลูกชอบนำมาสร้างสรรค์เมนูให้เจ้าตัวเล็กได้เลย อย่างเมนูนี้เป็นซุปครีมบรอกโคลีที่อุดมวิตามินแร่ธาตุ ช่วยให้เด็กเจริญเติบโตสมวัยเชียวค่ะ 

ส่วนผสม

บรอกโคลี ½ หัว

หอมหัวใหญ่สับ 1 ช้อนโต๊ะ

เนยสด 1 ช้อนโต๊ะ

วิปปิ้งครีม ½ ถ้วยตวง

น้ำซุปไก่ ½ ถ้วยตวง  

วิธีทำ

1. ตั้งกระทะให้ร้อน ใส่เนยลงไป รอจนเนยละลาย นำหัวหอมลงไปผัด ตามด้วยบรอกโคลีจนสุกนุ่ม

2. ตักส่วนผสมที่เสร็จแล้วลงโถปั่น ใส่น้ำซุปไก่และวิปปิ้งครีม ปั่นจนละเอียด นำไปเคี่ยวบนเตาอีกครั้ง ใช้ไฟอ่อนๆ และคนไปในทิศทางเดียวกัน เสร็จแล้วเสิร์ฟพร้อมขนมปัง

เมนูไข่แสนอร่อย 'ซุปไข่ตุ๋น' สำหรับเด็กเบื่อข้าว

2103
 

'ซุปไข่ตุ๋น' เมนูไข่แสนอร่อย สำหรับเด็กเบื่อข้าว

ไข่ตุ๋นว่าอร่อยแล้ว แต่เมนูซุปไข่ตุ๋นนั้นอร่อยกว่า น่ากินกว่าอีกด้วย หากลูกชอบกินเมนูไข่แล้วต้องไม่พลาดที่จะทำเมนูนี้เลยนะคะ  

 

ส่วนผสม

ไข่ไก่ 3 ฟอง

ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนชา

น้ำซุป 1/4 ถ้วยตวง

ผักชี ต้นหอมซอย 2 ช้อนโต๊ะ

 

วิธีทำ

1. ตอกไข่ไก่ใส่ถ้วย ใส่ซีอิ๊วขาว น้ำซุปเล็กน้อย ต้นหอม คนให้เข้ากัน

2. ช้อนฟองออก แล้วเทใส่พิมพ์ ยกขึ้นนึ่งบนน้ำเดือดไฟอ่อนจนสุก จากนั้นยกลงพักไว้ให้เย็น

3. ใช้พิมพ์กดไข่ตุ๋นหรือหั่นเป็นชิ้น ใส่ชามไว้  

 

ส่วนผสมน้ำซุปไก่

น้ำเปล่า 4 ถ้วยตวง

แครอตหั่นชิ้นสี่เหลี่ยม 2 ช้อนโต๊ะ

เนื้อกุ้งหั่นชิ้น 3 ตัว

หมูสับ 30 กรัม

เห็ดหอมสดหั่นชิ้น 1 - 2 ดอก

โครงไก่ 1/4 โครง

อกไก่ต้มสุก ฉีกเป็นเส้นฝอยตามชอบ  

รากผักชี 2 ราก 

เกลือป่นหยาบ 1 ช้อนชา

น้ำตาลกรวด น้ำหนักประมาณ 5 กรัม 1 ก้อน

 

วิธีทำ  

1. ใส่น้ำเปล่าลงในหม้อ ใส่รากผักชี ตามด้วยโครงไก่ต้มจนเดือด

2. จากนั้นปรุงรสด้วยเกลือ น้ำตาล ใส่หมูสับ อกไก่ต้มสุก กุ้ง เห็ดหอม แครอต เคี่ยวไฟอ่อนประมาณ 30-40 นาที เพื่อให้รสชาติกลมกล่อม

3. ตักซุปราดไข่ตุ๋น โรยไก่ฉีก จัดเสิร์ฟได้จ้า

เล่นสนุก..สอนลูกรู้ ‘‘ทิศทาง’’

876 1

เล่นสนุก..สอนลูกรู้ ‘‘ทิศทาง’’

บน ล่าง ซ้าย ขวา ลูกไม่งง แค่เล่นเรียนรู้ "มิติสัมพันธ์"

ใครเคยหลงทางบ้าง ยกมือขึ้น เสียง.พรึบ.พร้อมมือเห็นอยู่ประปราย อย่างนี้ปกติค่ะ แต่ถ้าหลงทางอยู่บ่อยๆ หรือขึ้นลิฟต์ในตึกสูงๆ แล้งหลงทิศจนจำไม่ได้ว่าทางออกอยู่ตรงไหนอยู่เป็นประจำ อย่างนี้ชักไม่ได้การแล้วค่ะ

เรื่องนี้ เราสามารถสอนและส่งเสริมให้เจ้าตัวน้อยให้รู้จัก “ทิศทาง” ได้อย่างดี ด้วยวิธีง่ายๆ จากการเล่นค่ะ

การจดจำทิศทางหรืออ่านแผนที่ได้นั้น ไม่ใช่แค่รู้เรื่องทิศเหนือ ใต้ ออก ตกเท่านั้นนะคะ แต่ยังเกี่ยวข้องกับเรื่องซ้าย ขวา หน้า หลัง บน ล่าง ใกล้ ไกล และอีกหลายๆ อย่างเลยล่ะค่ะ ยิ่งถ้าต้องอ่านแผนที่ สมองก็ต้องแปรให้เป็นภาพ 3 มิติเสียก่อนเพื่อให้นึกเห็นเป็นภาพจริงในความคิด ซึ่งเราเรียกทักษะนี้ว่า มิติสัมพันธ์

มิติสัมพันธ์เป็นความฉลาดด้านหนึ่งในทฤษฎีพหุปัญญาของโฮวาร์ด การ์ดเนอร์ คือ การมีความสามารถสูงในการมองพื้นที่ ขนาด ระยะทาง ทิศทาง สามารถรับรู้สิ่งที่มองเห็นภายนอกแล้วแปลงมาเป็นการรับรู้ภายในได้ เป็นพื้นฐานสำคัญของการคิดอย่างมีเหตุผล ความสามารถในเชิงคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ที่มีอยู่ในทุกคน แต่จะแตกต่างกันไปตามการฝึกฝน ประสบการณ์การรับรู้และระดับความสามารถของสติปัญญาแต่ละคน


ทิศทางของหนู

เจ้าตัวเล็กวัยตั้งแต่ 1 ขวบครึ่งไปจนถึงช่วงวัยก่อนอนุบาล จะเริ่มเข้าใจเรื่องของพื้นที่และขนาด รวมทั้งความแตกต่างระหว่างของที่เป็น 3 เหลี่ยมและ 4 เหลี่ยมได้แล้ว แต่ความสามารถในเรื่องมิติสัมพันธ์ยังจำกัดอยู่ เนื่องจากคิดเชื่อมโยงหาเหตุผลเฉพาะสิ่งที่มองเห็นและสัมผัสได้เท่านั้น เช่น เข้าใจว่าสิ่งของที่อยู่ใกล้ตัวมีขนาดใหญ่กว่าชิ้นที่อยู่ไกลออกไป ทำให้อาจเชื่อมโยงว่าเป็นของคนละชิ้นกันก็ได้ หรือ น้ำที่มีปริมาตรเท่ากันแค่อยู่ในภาชนะต่างกัน เด็กก็จะคิดว่าน้ำในแก้วที่มีระดับสูงกว่าย่อมมีปริมาตรมากกว่า เป็นต้นค่ะ

876 2

สนุกเล่น...ส่งเสริมมิติสัมพันธ์

เรื่องนี้อย่าว่าแต่เด็กๆ เลยนะคะ ผู้ใหญ่อย่างเราๆ ก็หลงทิศ และจำทางกันไม่ได้อยู่บ่อยๆ แต่ก็เป็นทักษะที่จำเป็นและควรส่งเสริม เพราะนอกจากจะมีประโยชน์ในชีวิตประจำวันแล้ว ยังจำเป็นกับทุกอาชีพด้วยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นแม่ค้าที่ต้องจัดเรียงของในพื้นที่จำกัด สถาปนิก มัณฑนากร ศิลปิน นักประดิษฐ์ ที่ต้องถ่ายทอดความคิดลงบนกระดาษ และอ่านแผนที่ความคิดบนกระดาษให้เป็นภาพจริงในหัว คนขับรถ นักบิน นักเดินเรือ ที่ต้องใช้เรื่องทิศทางเป็นหลัก ยิ่งถ้าได้เริ่มฝึกกันไปพร้อมกับการเล่นตั้งแต่วันนี้ รับรองได้ว่า ทิศทางจะไม่ใช่เรื่องยากเกินพัฒนาการของน้องหนูหรอกค่ะ

1. เรียนรู้ได้จากของจริง เริ่มต้นจากการรับรู้และเข้าใจธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว ไม่ว่าจะเป็นลักษณะ รูปทรงของสิ่งของ ระยะทาง จำนวน ทิศทาง ฯลฯ ด้วยการเปิดโอกาสให้ลูกได้สัมผัสของจริงและพูดคุยไปพร้อมกัน

2.ใหญ่-เล็ก ใกล้-ไกล บน-ล่าง สูง-ต่ำ ยาว-สั้น เมื่อรู้จักและเข้าใจสิ่งแวดล้อมรอบตัวอย่างรอบด้านแล้ว ขั้นต่อไปคือการฝึกจำแนกแยกแยะความแตกต่างของสิ่งที่รับรู้ได้ด้วย ลองตั้งคำถามให้ลูกได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ ลองเปรียบเทียบดูนะคะ จะผิดบ้างถูกบ้างก็ไม่เป็นไร เวลาเฉลยก็จับมาเทียบให้เห็นชัดๆ กันไปเลยค่ะ

3. แผนที่ฝีมือหนู แม้เด็กวัยนี้จะยังวาดรูปหรือเขียนหนังสือไม่ได้ แต่คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถฝึกให้ลูกคิดเชื่อมโยง และหาความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้ด้วยการให้ลูกถ่ายทอดภาพที่เห็น รอบตัวเป็นภาพความคิดหรือแผนที่ โดยคุณอาจจะช่วยวาด หรือใช้สติ๊กเกอร์ ผ้าสักหลาดทำเป็นสัญลักษณ์ก็ได้ ทั้งหมดนี้เราเรียกว่าความคิดรวบยอดค่ะ

4. ฝึกดูป้ายสัญลักษณ์ทิศทาง เช่น ตรงไป เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา วนกลับ เป็นต้น แล้วนำมาเล่นเป็นเกม Walk Rally หาสมบัติ หรือของที่ซ่อนไว้ในบ้าน โดยให้สังเกตจากป้ายสัญลักษณ์ที่ติดเอาไว้ ถ้าโตขึ้นมาหน่อยค่อยฝึกอ่านแผนที่หาลายแทงสมบัติกันค่ะ

5. บล็อกไม้ ชวนรู้ เจ้าบล็อกรูปทรงและขนาดต่างๆ นี่แหละจะช่วยให้หนูรู้เรื่องทิศทางและมิติสัมพันธ์เป็นอย่างดี โดยเด็กวัย 2-3 ปี จะเรียนรู้เรื่องบล็อก ผ่านการจับ สัมผัส เคลื่อนย้าย เช่น รถบรรทุกจูงลาก หรือเรียงบล็อกลงตะกร้า
ส่วนช่วงวัย 3-4 ปี จะเป็นเรียนรู้โดยการซ้อนและเรียงแถวทั้งแนวตั้งและแนวนอน ลองหาบัตรภาพหรือป้ายจราจรแปะติดบนบล็อกไม้ให้ลูกคุ้นตาและฝึกเรียงดูนะคะ

6. นวดปั้นเปลี่ยนรูปทรง แป้งโดว์ ดินเหนียว จะช่วยให้ลูกเรียนรู้การเปลี่ยนรูปทรง และสังเกตเห็นความแตกต่างและเปรียบเทียบ เช่น แบ่งแป้งโดว์เป็น 2 ก้อนเท่าๆ กัน ถ้าปั้นงูตัวใหญ่ก็จะได้งูตัวสั้น แต่ถ้าอยากได้งูตัวยาวๆ ก็ต้องคลึงให้เป็นเส้นเล็กๆ

7. จิ๊กซอว์ต่อภาพ วัยขนาดนี้ควรเริ่มที่จิ๊กซอว์ 4 ชิ้นก็พอค่ะ จากนั้นจึงค่อยๆ เพิ่มตามวัยและความสามารถของลูก ช่องเว้าแหว่งกับสีสัน บวกกับภาพตัวอย่างที่วางอยู่ตรงหน้า จะช่วยให้ลูกมองหาความสัมพันธ์ระหว่างช่องว่างและสีของแต่ละชิ้น แต่ถ้าลูกยังทำไม่ได้ก็ไม่ต้องเร่งรัดนะคะ ถือว่าฝึกเตรียมความพร้อมไปก่อน

เล่นสนุกด้วยวิธีง่ายๆ แบบนี้ ช่วยฝึกเรื่องทิศทางและมิติสัมพันธ์ให้ลูกได้ แต่คุณต้องสนุกไปพร้อมกับลูกด้วยนะคะ

 

เลี้ยงลูกอย่างไรให้เป็นคนติดดิน

4772 1

อยากให้ลูกให้เป็นคนติดดิน กินง่าย นอนง่าย และไม่เห็นแก่ตัวเมื่อโตขึ้น ต้องสอนอย่างไรดี? ความคาดหวังของพ่อแม่ทุกคนก็ต้องอยากให้ลูกนั้นเติบโตมาเป็นคนดี แต่การที่ลูกจะเป็นคนดีนั้น ต้องมีพ่อแม่เป็นต้นแบบที่ดีก่อน และจะต้องเริ่มสอนกันตั้งแต่เด็ก ๆ เลยค่ะ

1. สอนลูกให้ทำงานบ้าน

ฝึกได้ตั้งแต่สามขวบเลยนะคะ ให้ลูกช่วยทำงานเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น กวาดบ้าน เช็ดโต๊ะ รดน้ำต้นไม้ พับเสื้อผ้า อย่าให้ลูกเรียนหนังสืออย่างเดียว หรืออยู่กับโลกโซเชี่ยลมากเกินไป คุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่ต้องสร้างนิสัยให้ลูกเป็นคนมีความรับผิดชอบด้วย

2. สอนลูกให้พอเพียง

เริ่มฝึกได้จากเรื่องใกล้ตัว เช่น เข้มงวดให้ลูกปิดไฟเมื่อไม่ใช้ไฟ ปิดก๊อกน้ำหลังใช้งาน ตักข้าวแค่พอทานและทานข้าวให้หมดจาน ไม่กินทิ้งกินขว้าง เป็นการสอนลูกให้เป็นคนรู้จักใช้สิ่งของ และทรัพยากรอย่างประหยัด

4772 2

3. สอนลูกให้ใช้เงินเป็น

คุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้ลูกรู้จักการเก็บออม เริ่มจากอยากได้อะไรให้เก็บเงินซื้อเอง จะได้เห็นคุณค่าของเงิน และไม่ได้อะไรมาง่าย ๆ และพ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีกับลูกในการใช้จ่าย ไม่ฟุ่มเฟือยเกินฐานะ

4. สอนลูกให้รู้จักหน้าที่ตัวเอง

สอนให้ลูกเห็นความสำคัญของการเรียน มีความรับผิดชอบ การศึกษาเป็นสิ่งที่สำคัญ เราจะเห็นได้ว่าคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต ส่วนใหญ่มีเบื้องหลังมาจากการเป็นคนที่รักการเรียนรู้และมีการศึกษาที่ดี

4772 3

5. สอนลูกให้เป็นคนอ่อนน้อม

ควรสอนลูกให้เป็นคนสุภาพเรียบร้อย ให้เกียรติผู้อื่น อ่อนโยน เพราะคนที่อ่อนน้อมถ่อมตนไปอยู่ในสังคมใด ก็มักจะเป็นที่รักใคร่เอ็นดู ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรสอนลูกให้เป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตนทั้งทางกายวาจาใจอยู่เสมอ

6. สอนลูกให้เป็นคนไม่เห็นแก่ตัว

คุณพ่อคุณแม่ควรสอนลูกให้เป็นคนที่มีจิตใจเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รู้จักการเสียสละ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น รู้จักให้ และรับให้น้อย เช่น สอนให้ลูกดูแลสัตว์เลี้ยงและต้นไม้ สอนให้ลูกช่วยเหลือผู้ที่ด้อยโอกาส ปลูกฝังให้ลูกเป็นคนที่มีจิตอาสาในการช่วยเหลือ

จริง ๆ เด็กทุกคนมีความติดดินเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว ชอบเล่นอะไรง่าย ๆ กินขอที่พ่อแม่กิน และธรรมชาติของเด็กจะน่ารัก แต่ส่วนใหญ่ก็อยู่ที่พฤติกรรมของพ่อแม่ด้วย เพราะเด็ก ๆ จะซึมซับจากพ่อแม่เป็นหลัก ฉะนั้น อย่าลืมเป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกนะคะ แล้วเขาจะเป็นเด็กติดดิน ว่านอนสอนง่ายแบบที่พ่อแม่คาดหวังเลยค่ะ

เลือกแตงโมแบบแม่มือโปร แค่ดูก็รู้ว่าหวาน

2765 

แตงโมเป็นผลไม้ที่มีวิตามินและแร่ธาตุอยู่มากมาย เนื้อของแตงโมมีน้ำเป็นส่วนประกอบหลัก รสชาติหวานแต่มีน้ำตาลน้อยกว่าผลไม้บางชนิด เวลากินเลยรู้สึกสดชื่น และดับกระหายได้ แต่เราจะเลือกแตงโมให้หวานอย่างไรนั้น รักลูกมีวิธีมาบอกค่ะ 

แตงโมเป็นผลไม้ที่มี วิตามิน A วิตามิน B1 B2 B3 วิตามิน C แร่ธาตุ ไลโคปีนที่มี สารต้านอนุมูลอิสระ และธาตุโพแทสเซียม ที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย บำรุงประสาทและสมอง ช่วยระบบไหลเวียนโลหิต บำรุงเส้นผมและสายตาอีกด้วย 

เคล็ดลับเลือกแตงโมแบบแม่มือโปร แค่ดูก็รู้ว่าหวาน

ขนาดไม่ใหญ่มาก ควรเลือกแตงโมลูกกลางๆ ผลไม่ใหญ่มากนัก และควรเลือกลูกกลมๆ มากกว่าลูกยาวๆ รีๆ เพราะแตงโมผลกลมเป็นแตงโมเพศเมีย ซึ่งแตงโมเพศจะมีเมียรสชาติหวานกว่าแตงโมเพศผู้ แม้แตงโมเพศผู้จะมีน้ำเยอะกว่าก็ตาม

สังเกตรอยสีเหลือง แตงโมบางลูกจะมีรอยด่างสีเหลือง นั่นหมายความว่าแตงโมอยู่กับดินและต้นเป็นเวลานาน เป็นแตงโมที่สุกกับต้นนาน ยิ่งอยู่นานสีจะยิ่งเข้ม รสชาติยิ่งหวานนั่นเเองค่ะ 

ก้านแตงโมต้องหงิกงอ ชาวสวนจะสังเกตว่าแตงโมลูกไหนเก็บได้แล้วจากก้านหรือขั้วค่ะ ถาก้านตรงแสดงว่ายังไม่สุก แต่ถ้าหงิกงอ ถือว่าแตงโมสุกแล้ว เก็บได้ และรสชาติจะหวานอร่อย  

ลายต้องชัด ยิ่งลายอยู่ชิดก้นยิ่งหวาน 

เด็กกินแตงโมได้ตั้งแต่เมื่อไหร่  

เด็กสามารถกินแตงโมได้ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป เป็นผลไม้เสริมควบคู่กับอาหารอื่นๆ และสลับสับเปลี่ยนกับผลไม้อื่นๆ ตามฤดูกาล โดยหั่นเป็นชิ้นพอดีคำ ประมาณ 100 กรัม หรือ 1 ถ้วยโยเกิร์ต และอย่าลืมเอาเมล็ดออกด้วย

สำหรับเด็กเล็กต่ำกว่า 1 ขวบ กินแตงโมเป็นชิ้นๆ ปลอดภัยกว่ากินแตงโมปั่น เนื่องจากน้ำแตงโมอาจทำให้ลูกสำลักได้ และควรให้ลูกกินหลังอาหารจะดีที่สุด เนื่องจากแตงโมมีน้ำเยอะ ถ้าให้กินก่อนกินข้าวลูกจะอิ่มแตงโมจนไม่ยอมกินข้าวค่ะ

เด็กเล็กกินแตงโมได้มากน้อยแค่ไหน

กระเพาะของเด็กทารกเล็กมาก ดังนั้น ให้กินแตงโมชิ้นเล็กๆ ก็พอ ประมาณ 100 กรัมเทียบได้กับโยเกิร์ตถ้วยเล็กๆ หนึ่งถ้วย ถ้ากินมาก ก็จะส่งผลกระทบต่อการกินอาหารในแต่ละมื้อ

ที่สำคัญไม่ควรนำแตงโมแช่เย็นให้ลูกเล็กกิน เนื่องจากกระเพาะและลำไส้ของลูกยังไม่แข็งแรง แตงโมแช่เย็นอาจทำให้ลูกท้องเสียได้ นอกจากนี้ไม่ควรให้ลูกกินแตงโมที่ผ่าทิ้งไว้เป็นเวลานานให้ลูกกิน เพราะอาจมีแบคทีเรียปนเปื้อนและทำลูกท้องเสียได้เช่นกัน