facebook  youtube  line

15 เทคนิคป้อนยาลูกน้อย

 
 

 ลูกป่วยบ่อย-วิธีป้อยยาลูก-ลูกไม่ยอมกินยา-เทคนิคป้อนยา-ลูกกินยา-ป้อนยา-15 เทคนิคป้อนยาลูกน้อย-ป้อนยาลูกน้อย-ลูกไม่ยอมกินยา-ลูกกินยายาก-ป้อนยาลูก

15 เทคนิคป้อนยาลูกน้อย

เวลาที่ ลูกป่วย แล้วงอแง ลูกไม่ยอมกินยา เป็นปัญหาหนักใจของพ่อแม่แทบทุกบ้านเลยใช่ไหมคะ ยิ่งถ้าเป็นยาเม็ดด้วยแล้ว ใช้สารพัดท่าไม้ตายเลยกว่าจะยอมกินยาได้

แต่ก็ใช่ว่าจะไม่สามารถ ป้อนยาให้ลูก ได้เสียทีเดียว เพราะยังมีอีกหลายวิธีที่พ่อแม่จะ ทำให้ลูกกินยา ได้ค่ะ   

 

  1. อธิบายให้ลูกฟังในภาษาที่เด็กเข้าใจง่าย ว่าลูกไม่สบาย ถึงแม้ยาจะมีรสชาติขม แต่ยาก็จะช่วยทำให้ลูกหายป่วย ดังนั้นการบอกลูกให้เข้าใจถึงประโยชน์ของการกินยาจะช่วยส่งผลให้ลูกมีทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการกินยาตั้งแต่ต้น

  2. ต้องตรวจดูฉลากยาให้ชัดเจน เกี่ยวกับปริมาณยา จำนวนครั้ง และเวลาที่ให้ด้วย อ่านคำอธิบายภายในกล่องอย่างระมัดระวัง เพื่อป้องกันการแพ้ยาไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตาม

  3. ในกรณีเด็กเล็กมาก อาจผสมกับอาหารบด น้ำผึ้ง แยมหรือไอศกรีม เป็นต้น

  4. ในกรณีเป็นยาเม็ดอาจต้องบด แล้วผสมกับอาหารได้

  5. หลีกเลี่ยงการผสมยาลงในน้ำ หรือนม เพราะยาอาจตกตะกอนอยู่ก้นขวด หรือจับตัวติดที่ข้างขวด และในบางครั้งเด็กอาจกินไม่หมด ทำให้ได้รับปริมาณยาไม่ครบถ้วน

  6. หากเป็นยาน้ำต้องเขย่าขวดก่อนกินยา ใช้หลอดสำหรับป้อนยา คล้ายยาหยอดตา หลอดฉีดยา ในกรณีใช้ถ้วยป้อนยา หรือช้อนป้อนยาอาจทำให้เด็กรับรู้ถึงรสชาติได้มากกว่าหลอดฉีดยา

  7. พ่อแม่ต้องใช้ความอดทน เพราะการแสดงความโกรธจะทำให้ลูกดื้อและต่อต้านมากขึ้นกว่าเดิม

  8. หากลูกเป็นเด็กเล็กอาจอุ้มในท่าที่สะดวก และปลอดภัยไว้ในวงแขน และให้ลูกเล่นของเล่นที่ชอบเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจและช่วยผ่อนคลายความเครียดให้ลูก

  9. การให้ยาเด็กเล็กหรือเด็กวัยเตาะแตะ ควรเป็นยาน้ำเท่านั้น และพยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสยาตรงๆ กับลิ้น โดยการป้อนยาทางกระพุ้งแก้ม เพื่อลูกจะไม่ต้องลิ้มรสขมของยามากนัก และจะช่วยไม่ให้ลูกพ่นยาออกมา

  10. เมื่อลูกกินยาได้ ให้ชมลูกทันที หรือ ให้รางวัล โดยการอ่านหนังสือเล่มโปรดให้ลูกฟัง หรือป้อนอาหารที่ลูกชอบ

  11. อาจพูดคุยกับคุณหมอ ในตัวยาบางประเภทที่มีรสชาติขม ว่าสามารถเพิ่มรสหวานลงไปได้หรือไม่

  12. อาจให้ลูกบีบจมูกในขณะที่ทานยาเพื่อลูกจะไม่รับรู้รสชาติของยา และนั่นจะเป็นการช่วยในการลดการรับรู้รสชาติของยา

  13. เตรียมน้ำไว้ให้พร้อม เพื่อช่วยให้ลูกไม่ต้องทนกับรสชาติขมของยานานเกินไป และอาจให้เด็กได้ทานขนมที่ชอบโดยตกลงกันก่อนกินนยา

  14. การให้ลูกแปรงฟันหลังจากทานยาก็จะช่วยกลบรสชาติขมของยาได้บ้าง

  15. หากต้องป้อนยาเม็ดตามขนาดที่ต้องการ ควรขอจากคุณหมอโดยตรง เพราะการตัดแบ่งยาเองอาจทำให้กะขนาดผิดพลาด





 

2 เมนูกะหล่ำปลีสีม่วงแสนอร่อย สำหรับลูกน้อยวัย 1 ปีขึ้นไป

 

1927

กะหล่ำปลีสีม่วงแสนอร่อย ลูกน้อยวัย 1 ปีขึ้นไปก็กินได้ มีประโยชน์ด้วย

เด็กไม่ชอบกินผักสีเขียว รักลูกขอแนะนำเมนูกะหล่ำปลีม่วงให้เด็กๆ กินง่ายขึ้นค่ะ แถมมีวิตามินซีสูงกว่ากะหล่ำปลีเขียวถึงสองเท่า และช่วยให้ลูกน้อยเติบโตแข็งแรง มาทำเมนูกันเลยค่ะ

 

ข้าวตุ๋นตับหมูกะหล่ำปลีสีม่วง
ส่วนผสม

น้ำซุป 1 ถ้วยครึ่ง

ข้าวสวย 1/2 ถ้วย

หมูสับ 2 ช้อน

ตับหมู 3 ช้อน

ไข่ไก่ 1 ฟอง

เต้าหู้ไข่ 1 ชิ้น

กะหล่ำปลีสีม่วงหั่นละเอียด 4 ช้อนโต๊ะ

บiอกโคลีหั่นละเอียด 2 ช้อนโต๊ะ

เมล็ดแฟลกซ์บด 1 ช้อนชา

ซีอิ๊วขาว 1/8 ช้อนชา

 

วิธีทำ
  1. ต้มน้ำซุปรอจนเดือด แล้วใส่หมูสับลงไป

  2. จากนั้นใส่บล็อกโคลี่ ตามด้วยกะหล่ำปลีสีม่วง และเต้าหู้ไข่

  3. ใส่ข้าวสวยลงไป ปรับไฟให้อ่อนลง ปรุงรสด้วยซีอิ๊ว

  4. ใส่ตับ คนให้พอสุกเพราะถ้าสุกไปจะแข็งแล้วเคี้ยวยาก

  5. ตอกไข่ลงไป ขนให้ทั่ว แล้วใส่เเมล็ดแฟลกซ์บดลงไป ก็ได้ข้าวตุ๋นแสนอร่อยแล้วค่ะ

 

 

ปลาแซลมอนนึ่งซีอิ๊วกะหล่ำปลีสีม่วง
ส่วนผสม

ปลาแซลมอน 1/2 ชิ้น

กะหล่ำปลีสีม่วงหั่นละเอียด 4 ช้อนโต๊ะ

ถั่วหวานหั่นละเอียด 1 ฝัก

เมล็ดแฟลกซ์บด 1 ช้อนชา

ซีอิ๊วขาว 1/4 ช้อนชา

วิธีทำ
  1. นำปลาแซลมอนล้างให้สะอาด วางใส่ถ้วย ใส่ซีอิ๊วขาวและเติมน้ำเปล่านิดหน่อย
  2. จากนั้นใส่ถั่วหวาน กะหล่ำปลีสีม่วง และเมล็ดแฟลกซ์
  3. นึ่ง 15 นาที ก็ได้ที่แล้ว กลิ่นหอมไปทั่วบ้านเลยจ้า

3 วิธี ช่วยลดอาการสมาธิสั้นเทียมในเด็ก

4510

มีกรณีตัวอย่างจากพ่อแม่หลาย ๆ คนที่มักจะแชร์เรื่องลูกตัวเองที่เกือบเป็นเด็กสมาธิสั้น หรือสมาธิสั้นเทียม

สมาธิสั้นเทียมเกิดจาก...

ไม่จำกัดขอบเขตให้ลูกว่าสิ่งไหนควรทำ หรือไม่ควรทำ อาจคิดว่าลูกยังเด็กอยู่ การสอนกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เป็นเรื่องที่ยากเกินที่เขาจะเข้าใจ เวลาลูกจะทำอะไรเลยตามใจทุกอย่าง เมื่อลูกได้ทำทุกอย่างตามความเคยชินที่เขาต้องการ ก็ยากที่เขาจะปรับตัวให้อยู่ในกฎเกณฑ์ของสังคมได้

ปล่อยลูกไว้กับสิ่งเร้า โดยคุณพ่อคุณแม่ไม่ได้อยู่ด้วย เช่น ปล่อยให้ดูโทรทัศน์ อยู่กับจอคอมพิวเตอร์ เครื่องมือสื่อสารอย่างโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ต  ก็มีผลต่ออาการสมาธิสั้นเทียมของลูกทั้งสิ้นค่ะ แม้ว่าคุณพ่อคุณแม่บางคนจะชอบที่ลูกไม่ซน ไม่วิ่งเล่น ไม่รื้อของเล่นกระจายเต็มบ้าน แต่ผลเสียที่ได้กลับมาไม่คุ้มค่า ทำให้ลูกรอคอยไม่เป็นและไม่มีความอดทน

3 วิธีลดสมาธิสั้นเทียม

1. จัดตารางชีวิตให้ลูก นำกิจวัตรประจำวันของลูกมาทำเป็นขั้นตอน ให้เขารู้ว่าเวลาไหนควรทำอะไร อาจทำเป็นรูปภาพเพื่อจูงใจให้เขาเดินมาดูว่าทำอะไรไปแล้วบ้าง เช่น ตื่นนอน ต่อไปต้องล้างหน้า แล้วลงไปกินข้าว กินข้าวเสร็จต้องมาแปรงฟัน อาบน้ำแต่งตัวไปโรงเรียน เป็นต้น

ข้อดีคือลูกจะเรียนรู้ว่าจะต้องทำอะไร เมื่อไร มีการจัดลำดับเป็น และเป็นการหัดวางแผนด้วยค่ะ เช่น หากเขาทำการบ้านเสร็จเร็ว ก็จะมีเวลาเล่นของเล่น หรือทำกิจกรรมที่เขาต้องการได้นานขึ้น การฝึกลูกทำกิจวัตรเดิม ๆ ซ้ำไปซ้ำมา ทำให้เกิดการจดจำและเกิดการคิดวิเคราะห์จากการใช้สมองส่วนหน้าค่ะ

2. ฝึกสมาธิ และการฝึกจิตให้รู้เท่าทันกับปัจจุบัน ลองฝึกให้ลูกจดจ่ออยู่กับสิ่ง ๆ หนึ่ง ในระยะเวลาที่ทำได้และไม่นานมาก แต่ควรจะทำให้พัฒนาจากเดิม เช่น อาทิตย์นี้ทำได้ 30 วินาที อาทิตย์หน้าก็ควรจะได้ 40 วินาทีเป็นต้น

การพัฒนาสมาธินี้จะฝึกควบคู่ไปกับการที่ลูกรับรู้การเปลี่ยนแปลงของร่างกายตัวเองในปัจจุบัน เช่น รู้ว่าตอนนี้เขากำลังยกมือซ้าย กำลังหยิบส้อมขึ้นมา กำลังยกมือขวา กำลังหยิบช้อนขึ้นมา วิธีการนี้ไม่ต้องมีขั้นตอนเยอะค่ะ แรกเริ่มอาจจะมีสัก 3–4 ขั้นก่อนก็ได้ แล้วค่อยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  

ข้อดีคือจะทำให้ลูกจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นานขึ้น มีความอดทนมากขึ้น แต่ต้องทำสม่ำเสมอ และไม่เร่งลูกจนเกินไป อย่ากดดันลูก การเล่นกีฬา เล่นดนตรี หรือแม้แต่การวาดรูป ก็เป็นการฝึกวินัยและฝึกให้ลูกได้รู้จักควบคุมร่างกายของตัวเองค่ะ แต่คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยสังเกตและประเมินลูกด้วย บางทีลูกเราอาจจะไม่เหมาะกับวิธีการแบบนี้ก็ได้ เพราะเด็กแต่ละคนมีความพร้อมและความชอบที่แตกต่างกัน ซึ่งต้องคอยสังเกตและปรับให้เหมาะกับลูก โดยไม่นำไปเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่น

3. If … then = การเตือนตนด้วยตน วิธีนี้อาจฟังดูยากแต่จริง ๆ ไม่ยาก หลัก If … then แปลเป็นไทยง่าย ๆ ว่า ถ้า (ทำสิ่งนี้นะ) ให้ (ทำสิ่งนั้นต่อ) เช่น หากเวลาลูกอยู่ที่โรงเรียนแล้วชอบลืมหนังสือ ให้พ่อแม่บอกลูกถ้าได้ยินเสียงออด ให้หยิบหนังสือ และยังใช้ได้อีกหลายเรื่องเลยนะคะ

ถ้าคุณครูเปิดปาก ให้ลูกหยุดพูด ถ้าเปิดประตูบ้าน ให้เอากระเป๋าไปเก็บ แต่พ่อแม่ต้องอย่าลืมว่า ตัวพ่อแม่เองต้องคอยบอกลูกเป็นประจำทุกวันทำอย่างสม่ำเสมอ ก็จะเห็นความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นของลูกได้ในไม่ช้า

ข้อดีคือ จะช่วยแก้นิสัยของลูกที่พ่อแม่อาจเป็นห่วงอยู่ เช่น ลืมเอารองเท้ากลับบ้าน ชอบคุยในห้องเรียน ไม่ยอมเก็บกระเป๋ารองเท้า เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่พ่อแม่ต้องเตือนให้ทำอยู่ตลอดเวลา ต่อไปนี้ลูกก็จะรู้จักเตือนตัวเองได้ด้วยตัวเอง ทำให้เขาภาคภูมิใจในตัวเอง และยังเพิ่มความสามารถในการควบคุมตัวเองของลูก เพิ่มความมั่นใจ ทั้งเป็นการรับผิดชอบตัวเองได้มากขึ้น ถ้าลูกทำได้แล้วคุณพ่อคุณแม่อาจจะมีรางวัล เช่น พาไปขี่จักรยาน พาไปสวนสัตว์ หรือหมั่นให้คำชมเชยค่ะ

80 รายชื่อหมอภูมิแพ้เด็กที่พ่อแม่รีเควสต์

5118 

80 รายชื่อหมอภูมิแพ้เด็กที่พ่อแม่รีเควส

เด็กๆ เป็นภูมิแพ้กันเยอะขึ้น พ่อแม่หลายคนจึงต้องตามหาคุณหมอเฉพาะทางเพื่อรักษาเจ้าตัวเล็กให้หาย รักลูกรวบรวมรายชื่อคุณหมอที่รักษาภูมิแพ้ที่แม่ๆ แนะนำเข้าใน https://www.facebook.com/raklukeclub มาให้แล้วค่ะ

  1. นพ.กันย์ พงษ์สามารถ คลินิกภูมิแพ้โรงพยาบาลเด็ก
  2. นพ.กัลย์ กาลวันตวานิช โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
  3. นพ.เฉลิมไทย เอกศิลป์ โรงพยาบาลพญาไท 3
  4. นพ.ธัชชัย วิโรจวานิช โรงพยาบาลศิครินทร์ กรุงเทพ
  5. นพ.ปิยวุฒิ กรีฑาภิรมย์ โรงพยาบาลเจ้าพระยา
  6. นพ.พุทธชาติ ดำรงกิจชัยพร โรงพยาบาลกรุงเทพ พัทยา
  7. นพ.มนตรี ตู้จินดา โรงพยาบาลเจ้าพระยา / โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ / โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช ศรีนครินทร์
  8. นพ.วรวิชญ์ เหลืองเวชการ โรงพยาบาลเจ้าพระยา
  9. นพ.วรุตม์ ทองใบ โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ / โรงพยาบาลสินแพทย์
  10. นพ.วิชาญ บุญสวรรค์ส่ง โรงพยาบาลวิภาราม
  11. นพ.วิทยา อัศวะวิเชียนจินดา โรงพยาบาลพญาไท 3
  12. นพ.วีระพงษ์ จันจงเจริญชัย โรงพยาบาลวิภาวดี
  13. นพ.วีระพงษ์ จันจงเจริญชัย โรงพยาบาลสินแพทย์
  14. นพ.สงวน วงศ์ศรีสุจริต รพ.วิภารามพัฒนาการ
  15. นพ.สาธิต สันตดุสิต โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์
  16. นพ.สิระ นันทพิศาล โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
  17. นพ.สุกิจ รุ่งอภินันท์ โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม
  18. นพ.สุนทร สุนทรชาติ โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่น
  19. นพ.อิสรา บุญสาธร โรงพยาบาลวิภาวดี
  20. พญ.กัญลดา ว่องวรภัทร โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน
  21. พญ.กานติมา กาญจนภูมิ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
  22. พญ.ขนิษฐา ศิริพูล โรงพยาบาล บางปะกอก 1
  23. พญ.จีรารัตน์ บุญสร้างสุข โรงพยาบาลพญาไท 3
  24. พญ.จุฬามณี วงศ์ธีระญานี โรงพยาบาลสมิติเวช
  25. พญ.ฉัฐฐิมา เสาวภาคย์ โรงพยาบาลพระรามเก้า
  26. พญ.ชนาภรณ์ โมกขมรรคกุล โรงพยาบาลเจ้าพระยา
  27. พญ.ชัญญรัช ตัณศุภผล โรงพยาบาลรามคำแหง
  28. พญ.ดรุณี ชัยดรุณ โรงพยาบาลกรุงเทพ พัทยา
  29. พญ.ทัศลาภา แดงสุวรรณ คลินิกภูมิแพ้โรงพยาบาลเด็ก / โรงพยาบาลพญาไท 3
  30. พญ.ธัชขวัญ อินทปันตี โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน
  31. พญ.ธิดารัตน์ อัคราช โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่น / โรงพยาบาลวิภาวดี
  32. พญ.นภัสยชญ์ ชูศรี โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม
  33. พญ.นริดา ถาวรพานิช โรงพยาบาลไทยนครินทร์
  34. พญ.นริศรา สุรทานต์นนท์ โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์
  35. พญ.นวินดา มหาวิจิตร โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ สระบุรี
  36. พญ.นันทนัช หรูตระกูล โรงพยาบาลสมิติเวช
  37. พญ.ประภาศิริ สิงห์วิจารณ์ โรงพยาบาลเจ้าพระยา
  38. พญ.ปัญจมา ปาจารย์ โรงพยาบาลสมิติเวช
  39. พญ.ปารวี พรตตะเสน โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาการรุณย์
  40. พญ.ปิติยา โรจน์พรประดิษฐ์ โรงพยาบาลสินแพทย์
  41. พญ.ปิยวดี เลิศชนะเรืองฤทธิ์ โรงพยาบาลวิภาวดี
  42. พญ.เปรมวดี อนุรักษ์เลขา โรงพยาบาลกรุงเทพ
  43. พญ.พรรณทิพา ฉัตรชาตรี โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน
  44. พญ.พิจิตรา บุญฑริกพรพันธุ์ โรงพยาบาลกรุงเทพ หาดใหญ่
  45. พญ.เพลินพิศ ลิขสิทธิพันธุ์ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ
  46. พญ.ภัทรา ตันติเจริญวิวัฒน์ โรงพยาบาลสมิติเวช
  47. พญ.ภัสรา นิลายน โรงพยาบาลพญาไท 1
  48. พญ.ยิหวา สุขสวัสดิ์ โรงพยาบาลเวชธานี
  49. พญ.ยุเพ็ญ สมาณาธิกรณ์ โรงพยาบาลรามคำแหง
  50. พญ.รัตนา พิพิธปรีชา โรงพยาบาลเวชธานี
  51. พญ.ลินน่า งามตระกูลพานิช โรงพยาบาลกรุงเทพ
  52. พญ.วรรณนิภา วงศ์รัศมี โรงพยาบาลสมิติเวช
  53. พญ.วรรณวิภา บรรณางกูร โรงพยาบาลกรุงเทพ หาดใหญ่
  54. พญ.วรรณี ถิรภัทรพงศ์ โรงพยาบาลพญาไท 3
  55. พญ.วริศรา สิรยานนท์ โรงพยาบาลสินแพทย์
  56. พญ.วิชชญา ศรีสุวัจรีย์ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
  57. พญ.วิภารัตน์ มนุญากร โรงพยาบาลรามาธิบดี
  58. พญ.วิลาวัณย์ เวทไว โรงพยาบาลพระรามเก้า
  59. พญ.ศศิกานต์ ซื่อศิริสวัสดิ์ โรงพยาบาลกรุงเทพ ขอนแก่น
  60. พญ.ศิรภัสสร ศรพิพัฒน์พงศ์ โรงพยาบาลพญาไท 3
  61. พญ.ศิริพร หิรัญนิรมล โรงพยาบาลกรุงเทพ
  62. พญ.สดุดี บุญมี กล้าขยัน โรงพยาบาลขอนแก่น
  63. พญ.สมหญิง อินทรทัต โรงพยาบาลพญาไท ศรีราชา
  64. พญ.สวพร สิทธิสมวงศ์ โรงพยาบาลขอนแก่น ราม
  65. พญ.สิรินันท์ บุญยะลีพรรณ คลินิคบ้านคุณหมอประชาชื่น
  66. พญ.สิริรักษ์ กาญจนธีระพงค์ โรงพยาบาลสินแพทย์
  67. พญ.สุดาวรรณ ศิริอักษร โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม
  68. พญ.สุรีรัตน์ พงศ์พฤกษา โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
  69. พญ.สุวาณี เจริญลาภ โรงพยาบาลพญาไท 3
  70. พญ.อารีย์ แสงศิริวุฒิ โรงพยาบาลกรุงเทพ
  71. รศ. พญ.รวีรัตน์ สิชฌรังสี โรงพยาบาลพระรามเก้า
  72. รศ.นพ.สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์ โรงพยาบาลพญาไท 2
  73. รศ.พญ.ปัญจมา ปาจารย์ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
  74. รศ.พญ.พรรณทิพา ฉัตรชาตรี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  75. รศ.พญ.อรพรรณ โพชนุกูล โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
  76. ศ.เกียรติคุณ นพ.ประกิต วิชยานนท์ โรงพยาบาลสมิติเวช ธนบุรี
  77. ศ.เกียรติคุณ พญ.นวลอนงค์ วิศิษฏสุนทร โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
  78. ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ / คลินิคภูมิแพ้ Allergy Clinic Bangkok
  79. ศ.พญ.จรุงจิตร์ งามไพบูลย์ โรงพยาบาลพญาไท 3
  80. ศ.พญ.อรทัย พิบูลโภคานันท์ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

Mango Yogurt Pop ไอติมโยเกิร์ตมะม่วง คลิปทำอาหารเด็ก เมนูอาหารเด็ก



1682

 

Mango Yogurt Pop ไอติมโยเกิร์ตมะม่วง ที่คุณแม่ทำเองได้ที่บ้านง่ายๆ ในราคาไม่แพง 

 

ดูคลิปทำ Mango Yogurt Pop ไอติมโยเกิร์ตมะม่วง อาหารสำหรับเด็ก ได้ที่คลิปนี้เลย

 
 

 

Mom's Issue EP 17 : Tiktok Brain เลี้ยงลูกด้วยคลิปสั้น ทำลายสมอง

 

Tiktok Brain ผลกระทบจากการดูคลิปสั้น ส่งผลกระทบกับสมองและการเรียนรู้ของเด็กอย่างไรบ้าง แม่ดอยและป้าปอยชวน อจ.ธาม เชื้อสถาปนศิริ มาพูดคุยถึงผลกระทบ พร้อม How To การเลือกคลิป ที่ดูแล้วเป็นมิตรกับการเรียนรู้และสมอง

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast#รักลูกTheExpertTalk#Moms_Issues

Mom's Issue EP 23 (Rerun) : การ์ตูนเด็กไม่ใช่ผู้ร้าย! แค่ต้องเลือก

 

การ์ตูนไม่ใช่ผู้ร้าย แต่ต้องเลือกให้เป็น เลือกอย่างมีหลักการ และกำหนดกติกาในการดู มีวิธีอะไรบ้าง ฟังประสบการณ์จากแม่ดอยและป้าปอยได้ที่

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

Mom's Issue EP 24 (Rerun) : นิทานก่อนนอน ช่วยหนูอ่านออก

 

“นิทาน” คือฮีโร่ในสถานการณ์ที่ต้อง Learn from home อย่างแท้จริง

ปรากฎการณ์ Learning Loss ที่เกิดขึ้น ทักษะด้านภาษาเป็นอีกหนึ่งทักษะที่ขาดหายไป โดยเฉพาะในเรื่องการอ่านที่สร้างความกังวลใจให้กับพ่อแม่เป็นอย่างมาก

 

ฟังเทคนิคจากแม่ดอยและป้าปอย ที่จะทำให้นิทานช่วยให้เจ้าหนูอ่านออก

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

Mom's Issue EP 26 (Rerun) : เนื้อหา บทเรียนที่ยากเกินไป ส่งผลอย่างไรต่อการเรียนรู้ของเด็กบ้าง

 

นอกจากประเด็นเรื่องความยากง่ายของการบ้าน มีสิ่งที่มากไปกว่านั้นคือ ระดับการเรียนรู้ที่เหมาะสมของเด็ก

หากเด็กเรียนรู้สิ่งที่ยากเกินไป ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กอย่างไรบ้าง รวมไปถึงหลากหลายประเด็นที่คาใจพ่อแม่ ทั้งการเรียนที่ยากและการบ้านที่ต้องทำ

 

ฟังมุมมองนักวิชาการด้านศึกษา ผศ.ดร.ยศวีร์ สายฟ้า อาจารย์สาขาวิชาประถมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

Mom’s Issue EP 03. ตอน นิทานเพื่อนหนู รู้อารมณ์

 

จากหนูน้อยอารมณ์ดี...แปลงร่างเป็นหนูขี้วีน ขี้โมโห หนูไม่ไหวแล้วนะ

สภาวะเหล่านี้เกิดขึ้นได้ทั้งจากช่วงวัย ความเครียด ความกังวล ที่เกิดขึ้น ยิ่งช่วงเวลาที่จำกัดพื้นที่ ออกไปไหนไม่ได้ เลยเกิดสงครามย่อมๆ ในบ้าน

 

Mom’s Issues ชวนรับมือและจัดการกับอารมณ์ขี้โมโหของเด็ก บก.แม่ดอยและป้าปอย มีเทคนิคและนิทานดีๆ มาช่วยให้เรื่องโมโห จัดการได้ง่ายขึ้น Simplify your crypto transactions with Trezor Suite Seamless Exchanges, making trading effortless.

 

พบกับ รายการ Mom's Issue ทุกวันพฤหัสบดีสุดท้ายของเดือน

ติดตามรายการรักลูก podcastได้ที่

Apple podcast: Rakluke Podcast

Spotify: Rakluke Podcast

YouTube Channel: : Rakluke Club

Mom’s Issue EP 05. ตอน “เนื้อหา บทเรียนที่ยากเกินไป ส่งผลอย่างไรต่อการเรียนรู้ของเด็กบ้าง”

 

นอกจากประเด็นเรื่องความยากง่ายของการบ้านมีสิ่งที่มากไปกว่านั้นคือ ระดับการเรียนรู้ที่เหมาะสมของเด็ก หากเด็กเรียนรู้สิ่งที่ยากเกินไปส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กอย่างไรบ้าง

รวมไปถึงหลากหลายประเด็นที่คาใจพ่อแม่ ทั้งการเรียนที่ยากและการบ้านที่ต้องทำ

 

ฟังมุมมองนักวิชาการด้านศึกษา ผศ.ดร.ยศวีร์ สายฟ้า

อาจารย์สาขาวิชาประถมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

ติดตามรายการรักลูก podcast ได้ที่

Apple podcast : Rakluke Podcast

Spotify : Rakluke Podcast

YouTube Channel : Rakluke Club

กิจกรรมสำหรับเด็กวัย 1-3 ปี

4417 1

การเรียนรู้ของลูกวัย 1-2 ปีจะต่อเนื่องมาจากช่วงวัยขวบแรกที่เน้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว ดังนั้นลูกจะเรียนรู้เรื่องร่างกายของตัวเองเป็นหลัก ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 และการเคลื่อนไหว โดยจะไล่จากส่วนหัวไปถึงเท้า สามารถเชื่อมโยงระหว่างสัมผัสการเคลื่อนไหวให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันได้

เมื่อเข้าวัย 2-3 ปีจะเริ่มมีการพัฒนาด้านความคิด จินตนาการ เริ่มเรียนรู้ว่าไม่จำเป็นต้องเห็นของเล่นหรือสัมผัส แค่คิดในใจก็สามารถเล่นได้ ดังนั้นการเล่นจะอยู่ในรูปแบบสมมติ หรือเห็นรูปภาพก็รู้ว่าภาพนั้นเป็นตัวแทนของของจริง รู้ว่ารูปแมวที่เห็นในหนังสือนิทานร้องอย่างไร สามารถเชื่อมโยงการเรียนรู้สู่สัญลักษณ์ได้ สิ่งที่พ่อแม่ควรทำคือ เข้าไปมีส่วนร่วมในการเรียนรู้พร้อมๆ กันกับลูก ก็จะช่วยให้ลูกอยากเรียนรู้โลกมากขึ้นด้วย

หนังสือของเด็กวัย 1-3 ปี

ประเภทหนังสือนิทาน : หนังสือนิทานภาพ หนังสือนิทานกึ่งของเล่น เช่น หนังสือผ้า หนังสือลอยน้ำ และหนังสือ Board Books หนังสือนิทานป็อปอัพ

หนังสือควรมีภาพขนาดใหญ่ มองเห็นชัดเจน สีสันสดใสและหลากหลาย ลายเส้นไม่สลับซับซ้อนจนเกินไป อาจจะเพิ่มเติมลักษณะลายเส้นให้มากกว่าตอนลูกเล็กได้ แต่อย่าเพิ่งเลือกเล่มที่ลายเส้นยุ่งเหยิงวุ่นวายจนดูไม่ออกว่าเป็นรูปอะไร และที่สำคัญหากเป็นภาพที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน ควรเป็นภาพที่มีลักษณะคล้ายของจริงมากที่สุด เช่น นิ้วมือมี 5 นิ้ว

เนื้อเรื่องต้องสั้น เหตุการณ์ในนิทานไม่สลับซับซ้อนเกินไป สีสันสดใสและหลากหลาย ใช้ภาษาไทยถูกต้อง สั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสุภาพ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้คำและภาษาไทยที่ถูกต้อง รูปเล่มมีความแข็งแรงทนทานต่อการใช้งาน ไม่มีมุมแหลมคม ขนาดเล่มไม่หนาเกินไป ส่วนกระดาษที่ใช้ก็ไม่ควรบางและคมเกินไปเพราะวัยนี้เริ่มใช้มือเปิดหนา หนังสือเองได้แล้ว

เปิดโอกาสให้ลูกได้พูดคุย ซักถามเรื่องราวในนิทานบ้าง เพราะเขาอยู่ในวัยช่างคุย สนุก และมีความสุขที่จะได้พูด ชวนให้ลูกถาม-ตอบ สิ่งต่างๆ ที่อยู่ในนิทาน และจะช่วยให้ลูกได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ เพิ่มเติม อย่าลืมสร้างบรรยากาศการอ่านให้สนุกสนานและน่าสนใจ สร้างการจดจำที่ดีกับการอ่านให้หนังสือด้วย อย่าให้ทีวี เกม และคอมพิวเตอร์เร้าความสนใจของเด็กจนเกินพอดี เพราะเป็นการสื่อสารทางเดียวที่ไม่พัฒนาการเรียนรู้ของเด็กได้ บรรยากาศการอ่านที่เต็มไปด้วยความเครียดและความกดดันจากคุณพ่อคุณแม่ และหวังผลให้อ่านได้หลายๆ เล่ม จะทำให้ลูกไม่อยากอ่านหนังสือเพราะไม่มีความสุข หากในบ้านไม่มีหนังสือให้ลูกอ่านเลย มีแต่ของเล่นหรือคอมพิวเตอร์ ลูกก็จะหันไปหากิจกรรมอื่นแทนการอ่าน ทำให้ลูกไม่รักการอ่านในที่สุด


4417 2
ดนตรีกระตุ้นพัฒนาการเด็กวัย1-3 ปี

ดนตรีเป็นเครื่องมือให้ลูกเรียนรู้ทางประสาทสัมผัสมาเป็นการเรียนรู้แบบลงมือทำมากขึ้น และพัฒนาการด้านร่างกายก็พร้อมเกือบเต็มที่ สามารถควบคุมแข้งขา กระโดดโลดเต้นได้อย่างใจ สามารถจับจังหวะของดนตรี อีกทั้งเสียงเพลงยังสร้างความสนุกและสุนทรียภาพในจิตใจ เสียงเพลงจึงเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นพัฒนาการอย่างครบถ้วน

หาของเล่นที่มีเสียง เช่น ของเล่นประเภทเคาะ หรือแบบเขย่าแล้วมีเสียง เช่น กลองใบเล็ก ลูกแซค เลือกที่ไซส์เล็กขนาดเหมาะมือลูก วัยเริ่มหัดพูดควรสอดแทรกการร้องเพลงไปพร้อมๆ กับการหัดพูด ลูกจะสามารถจับจังหวะเพลง ฮัมเพลงตามจังหวะ ร้องเป็นคำคล้องจอง แถมท่าทีประกอบเพลงด้วยจะสนุกมากเลย อัดเทปเสียงร้องของลูกให้ลูกฟัง เขาจะรู้สึกตื่นเต้นกับเสียงที่ได้ยิน กระตุ้นให้อยากส่งเสียงร้อง ร้องเพลงที่มีเนื้อร้องประกอบกิจวัตรประจำวัน ทำให้เด็กสนุกมากขึ้น เช่น อาบน้ำ แปรงฟัน ช่วงวัยนี้ลูกจะเริ่มเป็นตัวของตัวเอง เรียนรู้ที่จะเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ซึ่งดนตรีกับการเคลื่อนไหวจะเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์กับคนรอบตัว รู้จักฟัง และแสดงออกในจังหวะที่เหมาะสม เด็กก็จะมีการพัฒนาประสาทการรับรู้และการเคลื่อนไหวให้มีความสัมพันธ์และแม่นยำมากขึ้น

ของเล่นสำหรับเด็กวัย 1-3 ปี

การจะช่วยเสริมพัฒนาการของลูกน้อยนั้นไม่จำเป็นต้องไปซื้อของเล่นแพงๆ เพียงแค่เข้าใจพัฒนาการของลูกและร่วมเล่นกับลูกไปด้วยกัน เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเขาอย่างมีความสุขที่สุด

หนังสือนิทาน - หนังสือนิทานยังเป็นเครื่องมือชั้นยอดของการคิดสร้างสรรค์ เมื่อคุณพ่อคุณแม่อ่านให้ลูกฟังและให้เขาดูรูปตาม อาจจะตั้งคำถามปลายเปิดว่า ถ้าหนูเป็นหนูน้อยหมวกแดงจะเป็นยังไง หรือชี้ชวนให้ลูกดูรายละเอียดอื่นๆ ในภาพด้วย เช่น ดูแอบเปิ้ลว่ามีกี่ผล หมาป่าอยู่ตรงไหนนะ คุณควรจะใส่เอฟเฟคเสียงสูงต่ำ เพิ่มความน่าสนใจเข้าไปด้วย และควรมีหนังสือนิทานดีๆ ให้หลากหลายไว้ให้ลูกเลือกที่จะอยากฟังหรืออยากอ่านเอง แม้เป็นเรื่องซ้ำๆ ก็ไม่เป็นไร

จิ๊กซอว์ บล๊อกไม้ - ตัวต่อที่เหมาะสมตามวัยจะทำให้เจ้าหนูเกิดไอเดียต่อได้สารพัด และด้วยสีสันสดใสยิ่งทำให้เป็นจุดสนใจ ทั้งต่อยอดได้ตามจินตนาการ และแกะรื้อในเวลาเดียวกัน คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกจิ๊กซอว์ที่ไร้มุมคมแหลม ได้คุณภาพมาตรฐาน รวมทั้งอาจจะซื้อแบบที่มีจำนวนชิ้นมากหน่อยเพื่อการต่อยอดชิ้นงานขนาดใหญ่ ซึ่งจะดีกับลูกมากกว่าจิ๊กซอว์ที่มีตัวต่อแค่ 5-6 ชิ้น

ระบายสี - เตรียมกระดาษเปล่าขนาดใหญ่พร้อมกับสีเทียน ให้เจ้าตัวน้อยลงมือละเลงเล่นได้อย่างเต็มที่ในเนื้อกระดาษ แต่มีข้อห้ามอยู่ว่าอย่าใช้สมุดระบายสีที่มีกรอบรูปการ์ตูนเว้นช่องว่างให้ ระบายสี เพราะว่านั่นคือกรอบสกัดกั้นจินตนาการของลูกน้อย

ทรายและน้ำ - สร้างบ่อทรายเล็กๆ สักบ่อ พร้อมกับบล็อกพิมพ์ต่างๆ แบบตามชายหาด และน้ำสัก 1 ถัง ไอเดียการเล่นของเจ้าหนูจะพุ่งกระฉูดมากมาย เพราะทรายสามารถแปรเปลี่ยนเป็นรูปร่างอะไรก็ได้ ส่วนน้ำเป็นตัวช่วยให้ทรายยึดติดกัน ลูกจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์และข้อผิดพลาด

เล่นบทบาทสมมุติ - ลองชวนลูกมาเล่นละครสั้นๆ สนุกกัน หรือว่าจะเล่นเป็นนางเอก พระเอก พระราชา นางฟ้า ทหาร อาชีพต่างๆ อะไรก็ได้ที่ให้เจ้าหนูได้สวมบทบาทใดบทบาทหนึ่ง เพราะสมองของเขายังไม่ตั้งกฎกติกามากมาย การเล่นแบบนี้จะทำให้เขาคิดเป็นธรรมชาติ และได้ลองทำในสิ่งที่คิดดูจริงๆ ซึ่งจะสร้างประสบการณ์ให้เขาได้มากมาย

Painting Shadow - ออกไปกลางแจ้งตอนสายๆ หรือบ่ายๆ เอากระดาษมาวางบนพื้นแล้วให้ลูกวาดรูปเงาตัวเองที่พาดลงกระดาษ คุณพ่อคุณแม่ก็ทำด้วยจะได้เพิ่มความเข้าใจให้เจ้าหนู และลองเปลี่ยนอิริยาบถเป็นวาดเงาจากมือที่แปลงร่างเป็นผีเสื้อ หรือทำท่าทางตลกๆ แล้ววาดลงไปในกระดาษ เจ้าหนูจะเชื่อมโยงข้อเท็จจริงจากธรรมชาติ และความคิดสร้างสรรค์ด้วยในตัว

ลูกโป่งว่าว - ใช้ลูกโป่งเป่าลมพร้อมตัดกระดาษเป็นรูปผีเสื้อ เครื่องบิน หรือนก ผูกติดกับลูกโป่ง และผูกปลายเชือกเข้ากับข้อมือเจ้าหนูอีกที แล้วปล่อยให้เขาวิ่งเล่นที่สวนสาธารณะ เจ้าหนูจะพาเครื่องบินลำเก่งไปที่เมฆก้อนไหนก็ได้

แป้งโดว์ - หนูๆ จะปั้นเป็นอะไรก็ได้ เปิดไอเดียสร้างสรรค์ของลูกมากๆ นอกจากนั้นยังช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กอีกด้วย สามารถตั้งแสดงเป็นผลงานโชว์ในบ้านได้อีกด้วย

ข้าวอบผัก เมนูเพิ่มพลังงานสำหรับเด็กวัยซน

 
 2981

เด็กวัย 1-3 ปีเป็นช่วงที่กำลังเคลื่อนไหวร่างกาย ชอบเล่น ชอบวิ่ง และใช้พลังงานในแต่ละวันเยอะมาก เพราะฉะนั้นอาหารของลูกจึงต้องเน้นเมนูที่ให้พลังงานกับลูก พร้อมกับฝึกให้เขากินผักด้วย

ซึ่งเมนูข้าวอบผักนี้ตอบโจทย์มากค่ะ เพราะนอกจากผักที่ใช้จะให้รสหวาน วิธีการปรุงยังช่วยให้กินง่ายอีกด้วย 

ส่วนผสม

ข้าวสาร 1 ถ้วย 

ข้าวโพดอ่อนหั่นขวาง 3-4 ยอด 

ข้าวโพดแกะเมล็ด 1/2 ถ้วย

ฝักถั่วลันเตาหั่น 1/2 ถ้วย 

แคร์รอตหั่นเต๋า 1/2 ถ้วย

ฟักทองหั่นเต๋า 1/2 ถ้วย 

กุ้งขาวแกะเปลือก ผ่าหลังเอาเส้นดำออก 3-4 ตัว 

ซอสถั่วเหลือง 1 ช้อนโต๊ะ   

วิธีทำ 
  1. ล้างข้าวสารให้สะอาด หุงข้าวตามขั้นตอนปกติ แต่ให้ใส่ส่วนผสมที่เป็นผักทั้งหมดลงไปในหม้อ 
  2. เมื่อข้าวใกล้สุกให้เปิดฝาใส่กุ้งลงไป รอจนสุก เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

 

ชีสบอล คลิปทำอาหารเด็ก เมนูอาหารเด็ก

ชีสบอล, ชีสทอด, cheese ball, คลิปทำอาหารเด็ก, เมนูอาหารเด็ก, อาหารสำหรับเด็ก, เมนูเด็ก, อาหารเด็กอนุบาล, อาหารลูกวัยคิดส์, เมนูเด็กอนุบาล, ทำอาหารเด็ก, วิธีทำอาหารเด็ก, คลิปอาหาร, คลิปเมนูเด็ก, คลิปวิธีทำอาหารเด็ก, คลิปสอนทำอาหารเด็ก

เมนูชีสแคลเซียมสูงสำหรับลูกเล็กที่เพิ่งเริ่มหัดกกินชีส

ชีสบอลเมนูง่ายๆ ที่แม่ทำเองได้ที่บ้านในเวลาแค่ไม่กี่นาที ดูคลิปทำเมนูชีสบอล อาหารสำหรับเด็กได้ที่คลิปนี้เลย


 

 

 

ซุปมะกะโรนี

1605

ซุปมะกะโรนี เมนูสำหรับเด็กวัย 1-3 ปี

เด็กบางคนไม่ชอบทานข้าว คุณแม่ลองเปลี่ยนเส้นเป็นข้าวดูนะคะเด็กอาจชอบ โดยเฉพาะเมนูซุป น่าจะกินง่ายและดึงดูดความสนใจของเด็กน้อยหลายๆ คนได้ด้วย 

ส่วนผสม 

มะกะโรนีต้มสุก 1 ถ้วยตวง 

หอมหัวใหญ่หั่นเต๋า 1 ช้อนชา 

เห็ดฟางหั่นบางๆ 1 ช้อนชา 

แครอตต้มสุก 1 ช้อนชา

น้ำซุปผัก 1 ถ้วย 

ข้าวโพดอ่อนหั่นขวาง 1 ช้อนชา 

บล็อกโคลีลวกสุกหั่นเต๋า 1 ช้อนชา 

อกไก่ต้มสุกหั่นเต๋า 1 ช้อนโต๊ะ

หมูเนื้อแดงสับละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ 

กระเทียมสับละเอียด 1 ช้อนชา

ซีอิ๊วขาว

เกลือป่น เล็กน้อย 

วิธีทำ 

หมักหมูเนื้อแดงสับละเอียดด้วยซีอิ๊วขาว 15 นาที  ต้มน้ำซุปผักให้เดือด ปั้นหมูเนื้อแดงที่ปรุงรสไว้แล้วลงต้ม เมื่อหมูสุกจะลอยขึ้นมา ใส่มะกะโรนีต้มสุก อกไก่ต้มสุก และผักต่างๆ ตามลงไป ปรุงรสด้วยเกลือป่น ยกลงจากเตาเตรียมเสิร์ฟ 

 

Tip  การต้มมะกะโรนีต้องต้มในน้ำเดือดจะทำให้เส้นสุกนุ่ม ไม่เปื่อยยุ่ย คอยคนตลอดไม่ให้ติดก้นหม้อ เมื่อสุกแล้วให้ตักขึ้นแช่น้ำเย็นทันที จากนั้นตักขึ้นพักให้สะเด็ดน้ำแล้วคลุกเคล้าด้วยน้ำมันพืช

 

ซุปสาหร่ายเต้าหู้ (ไข่)

2271
 

 

นอกจากเต้าหู้ไข่แล้ว สาหร่ายทะเลก็เป็นอาหารอีกประเภทที่เด็กๆ ชื่นชอบกัน และเมื่อนำส่วนผสมทั้งสองอย่างมาทำเมนูอาหาร ความอร่อยจึงบังเกิด 

ส่วนผสมซุปสาหร่ายเต้าหู้ไข่

สาหร่ายวากาเมะแช่น้ำ ครึ่งถ้วย 

เต้าหู้ไข่หั่นเต๋า ครึ่งหลอด 

เห็ดเข็มทองตามชอบ

โชยุ 1 ช้อนโต๊ะ 

วิธีทำซุปสาหร่ายเต้าหู้ไข่

 


เส้นหมี่ราดหน้า, เส้นหมี่ราดหน้าเต้าหู้ไข่, เมนูเต้าหู้ไข่, อาหารเด็ก, อาหารเส้น, สูตรอาหารเด็ก, ลูกเบื่อข้าว

1 เตรียมส่วนผสมให้พร้อม

2-3 ต้มสาหร่ายและเห็ดเข็มทองจนใกล้สุก

4-5 ใส่โชยุลงไป ตามด้วยเต้าหู้ไข่ 

6 ต้มต่อประมาณ 30 วินาที จากนั้นซุปสาหร่ายเต้าหู้ไข่ตักใส่ชามกินตอนอุ่นๆ ร้อนๆ เป็นซุปใสรองท้องหรือจะกินพร้อมข้าวสวยและอาหารอื่นๆ ก็อิ่มอร่อยได้เหมือนกัน 

ซุปใสไก่ฉีก เมนูป้องกันหวัดสำหรับเด็ก

2858
 

ซุปใสไก่ฉีก เมนูป้องกันหวัด สำหรับเด็ก   

ช่วงที่อากาศเปลี่ยน เด็กๆ มีแนวโน้มจะป่วยกันเยอะเลย นอกจากดูแลลูกให้ห่างไกลหวัดแล้ว อาหารการกินก็ช่วยต้านหวัดได้ด้วยค่ะ อย่างเมนูที่เราเลือกมาในวันนี้ ส่วนผสมหลักคือหอมหัวใหญ่ แคร์รอต และเนื้อไก่ ซึ่งล้วนแล้วแต่ช่วยต้านหวัดได้เป็นอย่างดี 

หอมหัวใหญ่ มีคุณสมบัติแก้หวัด คัดจมูก ช่วยลดน้ำมูก แถมยังมีวิตามินซี วิตามินบี มีธาตุเหล็ก แคลเซียม ที่ช่วยป้องกันหวัด มีสารอัลลิลิกไดซัลไฟด์ช่วยขับเสมหะ มีแมกนีเซียมที่ช่วยควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย และต้านเชื้อไวรัสได้  

แคร์รอต มีเบตาแคโรทีนสูง มีวิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก แคร์รอตมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยสร้างภูมิต้านทานโรคและช่วยให้ร่างกายแข็งแรงยิ่งขึ้น

ขึ้นฉ่าย มีวิตามินหลายชนิด เช่น วิตามินซี วิตามินบี วิตามินเอ มีเบตาแคโรทีน ซึ่งช่วยสร้างภูมิต้านทานเชื้อโรคต่างๆ

เนื้อไก่ เป็นโปรตีนที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกาย กล้ามเนื้อ และอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ ตับ ม้าม ลำไส้ ให้ทำงานไปได้อย่างปกติ คอยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและ ช่วยสร้างเม็ดเลือดขาว ซึ่งมีหน้าที่สร้างภูมิต้านทานเชื้อโรคต่างๆ 

เมนูแนะนำ  ซุปใสไก่ฉีก  
ส่วนผสม

แคร์รอตหั่นแว่น  ครึ่งหัว

หอมหัวใหญ่หั่นเต๋า ครึ่งหัว

ก้านขึ้นฉ่ายซอยสั้นๆ 1-2 ต้น

อกไก่ต้มสุก 100 กรัม

ซอสปรุงรส 1 ช้อนโต๊ะ

รากผักชี 2-3 ราก 

น้ำเปล่า 2 ถ้วย

วิธีทำ 
  1. ตั้งหม้อต้มน้ำใช้ไฟกลาง ใส่รากผักชีลงไป ตามด้วยหอมหัวใหญ่และแคร์รอต ต้มจนเดือด คอยช้อนฟองออกอยู่เสมอ 
  2.  ใส่ขึ้นฉ่ายและและอกไก่ฉีกลงไป ตามด้วยซอสปรุงรส ปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ 2-3 นาที ปิดเตาตักใส่ชามได้เลย  

Tip : หลังจากน้ำต้มผักเดือดแล้วจะตักรากผักชีออกหรือไม่ตักออกก็ได้ค่ะ ถ้าต้มจนเปื่อยแล้วก็สามารถกินได้เลย แต่เด็กๆ อาจจะไม่ชอบกลิ่นหรือรูปร่าง จะซอยให้สั้นลงเพื่อง่ายต่อการกินก็ได้ทั้งนั้น

ต้มจืดไข่เจียวเพิ่มพลัง สำหรับลูกวัย 1-3 ปี

1619
 

ต้มจืดเป็นเมนูยอดฮิตสำหรับเด็กเล็กๆ เนื่องจากไม่ต้องปรุงรสให้มาก และเป็นรสชาติที่เด็กๆ กินได้ง่าย  

ส่วนผสม 

ไข่ไก่ 2 ฟอง 

หมูสับ 100 กรัม  

น้ำซุป 2 ถ้วยตวง

น้ำมันหอย 1 ช้อนชา

ซอสปรุงรส 1 ช้อนโต๊ะ

แคร์รอตครึ่งหัว

วุ้นเส้น 50 กรัม 

น้ำมันสำหรับเจียวไข่ 

ขึ้นช่าย 1 ต้น  

 

วิธีทำ 

1. หมักหมูกับน้ำมันหอยประมาณ 15 นาที 

2. ตั้งกระทะเจียวไข่ เสร็จแล้วพักไว้ให้เย็น ใช้มีดหั่นเป็นชิ้นพอดีคำ

3. ตั้งน้ำซุปให้เดือด ใส่แครอตลงไป ปั้นหมูสับเป็นก้อนใส่ลงไป คอยช้อนฟองออกจนหมูสุก 

4. ใส่ไข่เจียวและวุ้นเส้นลงไป รอจนวุ้นเส้นสุก ปิดเตา โรยขึ้นฉ่าย  

 

เคล็ดลับ : ถ้าลูกเบื่อข้าว อาจต้มมะกะโรนี หรือต้มเส้นก๋วยเตี๋ยวใส่ชามแล้วตักต้มจืดราดตอนกินก็ได้ค่ะ

ถึงวัยที่พูดได้แล้ว แต่ลูกไม่พูด พูดช้า พูดไม่เป็นคำ ผิดปกติหรือไม่

2987 1

ถึงวัยที่พูดได้แล้ว แต่ลูกไม่พูด พูดช้า พูดไม่เป็นคำ ผิดปกติหรือไม่

ลูกพูดช้า ถึงวัยที่ต้องพูดแต่ยังลูกยังพูดไม่ได้ สาเหตุเป็นเพราะอะไร คุณหมอมีคำแนะนำให้ค่ะ

ลูกถึงวัยที่พูดได้แล้ว แต่ลูกยังไม่ยอมพูด ลูกพูดช้า ลูกพูดไม่ได้ ลูกพูดไม่ชัด คุณพ่อคุณแม่คงแอบกังวลใจอยู่ไม่น้อย เพราะในช่วงอายุ 1-5 ปี ถือเป็นโอกาสทองของพัฒนาการทางภาษาของเด็ก ๆ เลยก็ว่าได้ สาเหตุอะไรที่ลูกไม่พูด คุณหมอให้คำแนะนำไว้ดังนี้ค่ะ

สาเหตุของการพูดช้าในเด็ก

1. มีปัญหาการได้ยิน

เด็กจะสื่อความหมายด้วยท่าทางแทน ไม่พูด เรียกไม่ค่อยหัน ไม่สะดุ้งเมื่อได้ยินเสียงดัง ๆ การวินิจฉัยต้องตรวจการได้ยินโดยใช้เครื่องตรวจการได้ยินโดยแพทย์นะคะ สาเหตุนี้มองข้ามไม่ได้เลยค่ะ เพราะว่าถ้าการได้ยินของน้องมีปัญหา ต่อให้ฝึกพูดอย่างหนักแค่ไหน น้องก็ไม่ได้ยินค่ะ

2. สติปัญญาบกพร่อง

พัฒนาการของเด็กจะช้าในทุกด้าน ทั้งการพูด กล้ามเนื้อมัดใหญ่/มัดเล็ก และการช่วยเหลือตนเอง/เข้าสังคม หากคุณแม่ตรวจสอบพัฒนาการด้านอื่น ๆ ของลูกแล้วพบว่าช้าด้วย ก็อาจจะเข้าข่ายค่ะ

3. ออทิสซึ่ม

เด็กจะมีพัฒนาการด้านสังคมล่าช้า ไม่สบตา ไม่สนใจ ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับใคร ร่วมกับมีปัญหาด้านการสื่อสาร ไม่สามารถพูดสื่อความหมายกับคนอื่นหรือไม่สามารถแสดงท่าทางเพื่อสื่อความหมาย และมีพฤติกรรมหรือความสนใจหรือการกระทำ ที่ซ้ำๆ จำกัด และเปลี่ยนแปลงได้ยากมาก

4. การเลี้ยงดู

บางครั้งการที่ปล่อยปละละเลยหรือขาดการกระตุ้นอย่างเหมาะสม เช่น ให้เด็กดูโทรทัศน์มากเกินไป คือเกินกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน (โดยเฉพาะ 2 ปีแรก) หรือผู้เลี้ยงดูขาดปฏิสัมพันธ์กับเด็ก พูดคุยและเล่นกับเด็กน้อย ปล่อยให้เด็กเล่นคนเดียวอยู่เรื่อย ๆ ข้อนี้พบมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากพ่อแม่ต้องออกไปทำงานนอกบ้านจำเป็นต้องฝากลูกไว้กับพี่เลี้ยงหรือผู้สูงอายุมาก ๆ

เมื่อคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าลูกจะพูดช้า อย่ารีรอนะคะ รีบพาลูกไปพบแพทย์ทันทีที่สงสัยเลย เพราะที่หมอย้ำไว้ตั้งแต่แรก โอกาสทองในการพัฒนาทางงภาษามีแค่ 5 ปีนะคะ ถ้าลูกมีปัญหาที่ต้องแก้ไขจริง การไปฝึกตั้งแต่เนิ่น ๆ ย่อมเป็นผลดีแน่นอนค่ะ

วิธีแก้ไขปัญหาพูดช้า
  1. ขึ้นอยู่กับสาเหตุ หากเป็นปัญหาการได้ยินก็ต้องใส่เครื่องช่วยฟัง

  2. หากเป็นปัญหาสติปัญญาบกพร่อง ก็ต้องฝึกกระตุ้นพัฒนาการกันทุกด้าน โดยจะมีทีมสหวิชาชีพ (กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด อรรถบำบัด) เป็นพี่เลี้ยงสอนคุณพ่อคุณแม่ค่ะ

  3. หากเป็นออทิสซึ่มก็ต้องเน้นด้านสังคม โดยเริ่มจากฝึกให้เด็กมองหน้าสบตา ฝึกพูด รู้จักบอกความต้องการ และอาจต้องใช้ยาร่วมด้วย ถ้ามีปัญหาอารมณ์ พฤติกรรมก้าวร้าว หรืออยู่ไม่นิ่ง

  4. ถ้าเป็นสาเหตุจากการเลี้ยงดูที่ขาดการกระตุ้นที่เหมาะสม แนะนำให้ปิดโทรทัศน์เลยนะคะ และผู้ดูแลต้องหันมาพูดคุยและเล่นกับเด็กมากขึ้น ฝึกให้เด็กบอกความต้องการให้มากขึ้น  

  5. ผู้ดูแลต้องพูดคุยกับเด็กให้มากขึ้น ถึงแม้เด็กจะไม่พูดตอบก็ตาม ออกจากบ้านก็อาจชี้ชวนเด็กให้ดูนก ต้นไม้ ผู้คน หรือสิ่งน่าสนใจข้างทาง

  6. หากิจกรรมทำร่วมกับเด็ก ย้ำว่าทำร่วมกันนะคะ ไม่ใช่ให้เด็กเล่นแล้วคุณแม่ดูอยู่ห่าง ๆ เช่น ต่อตัวต่อ ปั้นแป้งโดว์ วาดรูป โดยระหว่างเล่นให้มีการพูดคุยกับลูกตลอดเวลา

  7. ฝึกให้เด็กบอกความต้องการให้มากขึ้น เช่น ลูกเดินถือขวดน้ำมาหาคุณแม่ อาจถามเขาว่า “ให้แม่ทำอะไรลูก..เปิดฝา(พร้อมทำท่าประกอบ) ใช่มั้ยคะ” หยุดรอการตอบสนองของเด็กสักครู่ แล้วค่อยเปิดให้เขา บางครั้งเราอาจจะเข้าใจอยู่แล้วว่าเด็กทำท่าแบบนี้เขาต้องการอะไร แต่คุณพ่อคุณแม่ลองเข้าใจให้ช้าลงหน่อยนะคะ เพราะถ้าเรารู้ใจเขาไปเสียหมด เด็ก ๆ ก็ไม่จำเป็นต้องบอกว่าเขาต้องการอะไร จริงไหมคะ

 

โดย : พญ.พรพิมล นาคพงศ์พันธุ์ ผู้เชี่ยวชาญจิตวิทยาเด็กและวัยรุ่น สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์

นมเปรี้ยวน้ำตาลสูงปรี๊ด ให้ลูกกินบ่อยระวังโรคอ้วน

2793

พ่อแม่หลายคนมักเข้าใจว่าการให้ลูกดื่มนมเปรี้ยวนั้นช่วยให้ลูกขับถ่ายได้ดี แต่ทราบหรือไม่ว่านมเปรี้ยวที่จำหน่ายในท้องตลาดส่วนใหญ่จะมีปริมาณน้ำตาลสูงมาก ถ้าเด็กๆ ดื่มบ่อยๆ มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอ้วนได้ง่ายเลยค่ะ  ในแต่ละวันเด็กควรกินน้ำตาลไม่เกิน 4 ช้อนชา แต่นมเปรี้ยว 1 กล่อง มีน้ำตาลสูงถึงประมาณ 4-5 ช้อนชาเลยค่ะ หรือแม้แต่นมรสหวาน นมช็อคโกแลตก็มีปริมาณน้ำตาลสูงเช่นกัน

พ่อแม่บางคนให้ลูกดื่มนมเปรี้ยว เพราะอยากให้ลูกให้ขับถ่ายได้ดีขึ้น แต่ความจริงแล้ว เราสามารถปรับอาหารที่ลูกกินได่ค่ะ เช่น เพิ่มอาหารที่มีกากใย พวกผักใบเขียว ให้ลูกกินผลไม้ที่ช่วยเรื่องการขับถ่าย เช่น ส้ม แก้วมังกร และมะละกอ เป็นต้น

 
ที่มา : กรมอนามัย