พอเข้าช่วงหน้าฝน อากาศเริ่มเปลี่ยนแปลง เดี๋ยวฝนตก เดี๋ยวแดดออก ทำให้เด็ก ๆ เริ่มมีอาการคัดจมูก คันจมูก น้ำมูกไหล ไอ คล้ายไข้หวัด ซึ่งไข้หวัดมักเป็น 2-5 วันก็หาย แต่โรคภูมิแพ้หากเป็นแล้วมีโอกาสเป็น ๆ หาย ๆ ได้อีกอยู่เรื่อย ๆ แต่ไม่มีไข้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกน้อยเป็นภูมิแพ้อย่าง “โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ” ในช่วงหน้าฝนอาการภูมิแพ้จะกำเริบได้บ่อยและควบคุมอาการได้ยาก ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ยิ่งต้องสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดและดูแลลูกน้อยตามคำแนะนำของคุณหมอค่ะ ไม่อย่างนั้นโรคภูมิแพ้อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพและพัฒนาการในระยะยาวเลยทีเดียว
โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจในเด็กที่พบบ่อยคือ โรคหืดและจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ นอกจากนี้โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจยังสามารถก่อให้เกิดโรคหรือภาวะแทรกซ้อนบางอย่างได้ด้วย แต่ก่อนที่คุณพ่อคุณแม่จะเตรียมตัวรับมือและช่วยลูกน้อยจากโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ เรามาดูกันก่อนว่าโรคหืด โรคไข้หวัดและจมูกอักเสบจากภูมิแพ้เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ไซนัสอักเสบเป็นภาวะแทรกซ้อนหนึ่งที่พบได้ในคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ เวลาเป็นหวัดหรือจมูกอักเสบจากภูมิแพ้กำเริบเยื่อบุจมูกจะบวมทำให้ช่องติดต่อระหว่างโพรงไซนัสกับจมูกอุดตันจนเกิดการคั่งค้างของน้ำมูกในโพรงไซนัสและเกิดการติดเชื้อในโพรงไซนัสขึ้น อาการไซนัสอักเสบ
1.ทำความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้ เช่น เสื้อผ้า ตุ๊กตา เครื่องนอน ผ้าห่ม เป็นต้น เพราะสิ่งของเหล่านี้เป็นที่เก็บไรฝุ่นซึ่งเป็นสารก่อภูมิแพ้ที่กระตุ้นอาการโรคภูมิแพ้ของลูกได้
2.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หากฝนตกหลีกเลี่ยงการให้ลูกนอนใกล้หน้าต่างเพราะอาจถูกละอองฝน และใส่เสื้อผ้าหนา ๆ เพื่อให้ร่างกายอบอุ่น ไม่เปิดพัดลมจ่อลูกหรือเปิดแอร์ที่อุณหภูมิเย็นมากเกินไป
3.ออกกำลังกายเป็นประจำ ชวนลูกออกกำลังกายเคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ เช่น เล่นกีฬาที่ลูกชอบ การวิ่ง หรือทำกิจกรรมนอกบ้านกับคุณพ่อคุณแม่ นอกจากจะช่วยต่อสู้กับภูมิแพ้ได้แล้วยังช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่ให้แข็งแรง และการได้ใกล้ชิดกับคุณพ่อคุณแม่ยังเป็นภูมิคุ้มกันทางใจได้ดีอีกด้วย
4.นมแม่ การลดความเสี่ยงของการเกิดโรคภูมิแพ้ที่ดีที่สุดคือ การให้ลูกทานนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน เพราะทารกที่ทานนมแม่อย่างเดียว ทารกจะไม่ได้รับโปรตีนจากนมวัวซึ่งเป็นโปรตีนที่สามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของทารกและทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ ดังนั้นทารกที่ทานนมแม่จึงมีอัตราการเกิดโรคภูมิแพ้น้อยกว่า ส่วนโปรตีนในน้ำนมแม่เป็นโปรตีนของคนไม่ใช่โปรตีนแปลกปลอม และน้ำนมแม่ยังมีสารภูมิคุ้มกันโดยเฉพาะ SIgA และ สารต่อต้านการอักเสบต่าง ๆ ปกป้องเยื่อบุทางเดินอาหารทำให้ลดความเสี่ยงต่อการกระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้โดยสารแปลกปลอมได้ นอกจากนี้ในนมแม่ยังมีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ 2 สายพันธุ์ด้วยกัน คือ บิฟิโดแบคทีเรียมและแลคโตบาซิลลัส เมื่อทารกทานนมแม่ทารกจะได้รับโพรไบโอติกส์ทางปากผ่านเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ของทารกเอง จุลินทรีย์เหล่านี้จะเพิ่มจำนวนขึ้นเป็นทวีคูณทันทีในลำไส้ของทารกเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
5.กรณีที่คุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้อย่างต่อเนื่อง อาจด้วยปัจจัยด้านสุขภาพหรือปัจจัยอื่น ๆ คุณแม่สามารถขอคำปรึกษาจากแพทย์เกี่ยวกับโปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วนจากเวย์ 100% (H.A. หรือ hypoallergenic) ตามคำแนะนำจากแนวทางปฏิบัติในการป้องกันโรคภูมิแพ้แห่งประเทศไทย
6.การเริ่มอาหารเสริมตามวัย สำหรับลูกวัย 6 เดือนขึ้นไปเริ่มทานอาหารเสริมแล้วควรเริ่มด้วยข้าว ผัก ผลไม้ แล้วจึงตามด้วยเนื้อสัตว์ ไข่แดง ที่เหมาะสมกับอายุ
นอกจากอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อยแล้วยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่สามารถกระตุ้นภูมิแพ้ของลูกน้อยให้กำเริบได้ คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันลูกน้อยจากโรคภูมิแพ้ได้โดยให้ลูกน้อยพักผ่อนอย่างเพียงพอ รับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ และออกกำลังกายเป็นประจำ เพียงเท่านี้ลูกน้อยก็จะมีร่างกายที่แข็งแรงพร้อมเรียนรู้ได้ในทุก ๆ วันแล้วค่ะ
อยากรู้ว่าลูกน้อยมีความเสี่ยงภูมิแพ้แค่ไหน ทำแบบทดสอบเบื้องต้นได้เลยที่ https://www.nestlemomandme.in.th/sensitive-expert/sensitive-check
#SensitiveExpert #ผู้เชี่ยวชาญด้านความบอบบางของลูกน้อย
ตรวจสอบข้อมูลโดย : นพ.วรุตม์ ทองใบ กุมารแพทย์เฉพาะทางด้านภูมิแพ้ และภูมิคุ้มกันวิทยา
พื้นที่โฆษณาและประชาสัมพันธ์