ถ้าอยากตามใจลูกโดยไม่ทำให้ลูกเสียนิสัยและเอาแต่ใจ เรามีเคล็ดลับมาบอก ลองทำกันดูค่ะ
เด็กวัย 1-3 ปี เป็นวัยแห่งการค้นหา กำลังสนุกกับโลกใบใหม่ เห็นอะไรก็อยากทำ จับ เขย่า รื้อ สารพัดจะสนุกแบบไร้ขอบเขต ซึ่งในวันข้างหน้าลูกต้องอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ ในสังคม คงไม่สามารถเอาแต่ใจ อยากทำอะไรก็ได้ทุกอย่างแบบนี้ ดังนั้นต้องใช้ "กติกาและกฎของบ้าน" มาปรับใช้กับลูกแล้วค่ะ
ใช้วิธีชักชวนโดยไม่ใช่ใช้คำสั่ง เพราะเด็กยังเล็กเกินกว่าจะเข้าใจ "ลูกเลือกเอาค่ะว่า จะกินข้าวหรือจะไปเล่น ถ้าจะกินข้าวต้องนั่งที่โต๊ะอาหารนะ"
มีทางเลือกให้สักหน่อย ไม่ใช่ฝืนใจไปหมด แต่ทางเลือกนั้นต้องมีกติการ่วมอยู่ด้วย "เดี๋ยวการ์ตูนเรื่องนี้จบแล้ว เราไปอาบน้ำกันนะ"
ให้เวลาทำใจแยกจากกิจกรรมที่กำลังสนใจสักหน่อย เช่น การบอกล่วงหน้าจะทำให้ลูกเตรียมตัวเตรียมใจ "แม่อนุญาตให้เล่นน้ำได้ แต่ถ้าฉีดน้ำเปียกทั่วบ้าน ต้องขึ้นนะลูก"
ทุกกิจกรรมของลูกที่อาจลามปามเกิดความวุ่นวาย ต้องมีกติกาแฝงไว้สักหน่อย และแม่ก็ถือว่าเป็นการฝึกหัดให้หนูรู้จักรับผิดชอบในสิ่งที่ทำด้วย "วันนี้ลูกอยากไปเที่ยว แม่จะพาไป แต่ต้องสัญญากันว่าครั้งนี้จะไม่ซื้อของเล่น เพราะคราวที่แล้วซื้อมาหลายชิ้นแล้ว"
ได้อย่างก็ต้องเสียอย่าง ไม่มีอะไรที่ลูกจะได้ไปหมดทุกอย่าง และที่สำคัญสัญญาที่แม่ว่าก็คือกติกานั่นเอง "วันนี้ลูกเก่งจัง กินนมไม่หกด้วย"
คือ ชมเชยเมื่อลูกทำได้ แต่แม่จะไม่ตำหนิถ้าลูกทำผิด เพราะแม่รู้ว่าวัยแค่นี้จะคาดหวังอะไรนักหนา ที่สำคัญลูกกำลังต้องการกำลังใจในการทำสิ่งต่างๆ แม่จะพยายามหาวิธีสนับสนุนให้ลูก "ทำได้"
ถ้าเป็นเรื่องอันตราย คำว่า "ห้าม" สามารถใช้ได้ ที่สำคัญต้องมีท่าทีที่เด็ดขาดด้วย แค่นี้ลูกก็สัมผัสได้ว่าแม่เอาจริง และจะเป็นแบบนี้ทุกครั้งที่ลูกไม่เชื่อฟัง เช่น "ห้ามเล่นปลั๊กไฟ ห้ามออกนอกบ้านคนเดียว ฯลฯ"
ทุก ๆ กติกาไม่ใช้วิธีบังคับ หรือเข้มงวดและคาดหวังว่าลูกต้องทำได้ แต่จะค่อย ๆ ใช้เหตุผลและแฝงกติกาเหล่านี้ไว้ในกิจกรรมของลูกแทน
เด็กวัย 1-3 ปีนี้ถึงป่วนยังไง แต่ท้ายสุดแล้ว ก็พูดรู้เรื่อง มีเหตุผล และมี "กติกา" ในแบบของเขา เมื่อโตขึ้น วุฒิภาวะที่มากขึ้นพร้อมกับอายุ จะค่อย ๆ ทำให้เด็กซึมซับ "กติกา" ที่สลับซับซ้อนขึ้น เพียงแต่พ่อแม่ต้องเริ่มเสียตั้งแต่วันนี้ค่ะ