ลูกเครียดหรือกำลังอยู่ในภาวะซึมเศร้า พ่อแม่ต้องสังเกต เพราะผลกระทบมากกว่าที่ตาเห็น ทั้งพัฒนาการทางสมองและพฤติกรรมในอนาคต ฟังวิธีการสังเกตและรับมือโดยนพ.รัตนภูมิ วัฒนปัญญาสกุล แพทย์เฉพาะทางด้านจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลนวเวช
จากตัวเลขที่ทดสอบมา ทำวิจัยมาทั้งในประเทศทั้งในต่างประเทศภาวะซึมเศร้ามากขึ้นทุกวัยไม่ว่าจะทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่บางรายงานมีมากกว่าเดิม 3 เท่า บางรายงานมีมากกว่าเดิม 2 เท่า เอาเป็นว่ามากขึ้นทุกที่ทุกเพศทุกวัย
ก่อนหน้านี้มีสถิติเพิ่มขึ้นทุกปีอยู่แล้ว แต่พอมาเป็นช่วงนี้สถานการณ์โควิดตั้งแต่ปี 63 ทั้งปี ขึ้นแบบก้าวกระโดดเลยอย่างที่หมอบอกไป 2-3 เท่าเลยทีเดียว โดยปัจจัยของโควิด คือด้วยตัวโควิดเองก็เครียดอยู่แล้ว เป็นเรื่องที่เราไม่สามารถควบคุมได้ คาดการณ์ก็ไม่ได้ โควิดมันแรงขึ้นมันจะกลายพันธุ์หรือเปล่า เดี๋ยวเปิดประเทศจะกลับมาอีกไหม ซึ่งมันคาดการณ์อะไรไม่ได้
เพราะฉะนั้นอะไรก็ตามที่มันควบคุมไม่ได้มันจะส่งผลต่อจิตใจมนุษย์อย่างมาก มนุษย์จะเกิดความกังวลไปซะทุกเรื่อง เครียดไปซะทุกเรื่องมากกว่าปกติทั่วๆ ไป
เด็กเล็กๆ จะดูยาก เพราะเขายังไม่ได้เป็นวัยที่จะพูดอารมณ์อะไรออกมาได้ดีไม่สามารถที่จะเล่าเรื่องอะไรออกมาได้เต็มที่เหมือนเรา หมออยากให้ผู้ปกครองสังเกตดูว่าลูกเปลี่ยนแปลงไปหรือเปล่า มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมต่อเนื่องหรือเปล่า
จากเดิมเป็นเด็กร่าเริงกลายเป็นเด็กซึม ทำอะไรก็ไม่มีความสุข จากเดิมไปเล่นอะไรกับพ่อแม่ก็ดูสนุกสนานดี ตอนบ่ายนั่งซึมนั่งจ๋อยๆ ถ้าเป็นต่อเนื่องให้ระวัง หรือเด็กบางคนนอนไม่ค่อยหลับจากเดิมหลับดี ธรรมชาติเด็กเขาไม่เครียดอยู่แล้ว
โดยทั่วไปเขาจะเครียดเรื่องอะไร เขาไม่ต้องมาทำงานเหมือนเราไม่ได้มีเรื่องเครียดเหมือนผู้ใหญ่ แต่ถ้าเด็กนอนไม่หลับให้ระวังว่ามีอะไรหรือเปล่าเพราะโดยธรรมชาติเด็กจะไม่เครียดไม่คิดอะไรเขาจะหลับได้ดี
แต่ถ้านอนไม่หลับต่อเนื่องเป็นเวลาหลายคืน ที่หมอเจอบ่อยในช่วงนี้ พ่อแม่พามาด้วยเรื่องของลูกนอนไม่หลับ เราจะรู้ว่าลูกนอนไม่หลับคือเขาตื่นมาแล้วจะง่วง ตื่นมาไม่สดชื่น สะลึมสะลือ กลางวันก็ง่วงแต่พอกลางคืนก็ไม่หลับ เด็กเขาก็อยากนอนเขาก็ง่วงแต่ทำไมเขานอนไม่หลับ เขาก็กลิ้งไปกลิ้งมาเด็กบางคนกลิ้งทั้งคืนก็ยังไม่หลับ อารมณ์อะไรก็ตามที่เปลี่ยนไป
การนอนอะไรก็ตามที่เปลี่ยนไปต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานอันนี้ต้องระวังเป็นสัญญาณอย่างหนึ่งว่าเด็กกำลังมีภาวะทางอารมณ์เกิดขึ้น
คุณหมอยังไม่ใช้คำว่าเครียดแต่เขาเริ่มมีภาวะบางอย่างที่คุณพ่อคุณแม่ จริงๆ 2 ข้อก็สังเกตได้แล้ว 1. ลูกเหวี่ยงงอแงง่าย 2. กระสับกระส่ายนอนไม่หลับก็สังเกตได้ หากปล่อย 2 อาการนี้ไปในระยะยาว ทำให้กระทบพัฒนาการหรือไปถึงซึมเศร้า
ต้องบอกข้อมูลก่อนว่าเด็กหรือไม่เด็กก็ได้คนทั่วไปที่มีภาวะซึมเศร้า ความเครียดนานๆ ค้นพบว่าเลือดที่ไปเลี้ยงสมองส่วนหน้าลดลง เลือดที่ไปเลี้ยงสมองส่วนความจำก็ลดลง เราก็ต้องมาดูว่าสมองส่วนหน้ามีหน้าที่อะไร
สมองส่วนหน้ามีหน้าที่จัดการชีวิตวางแผนชีวิต จัดระเบียบจัดความสำคัญ มีหน้าที่ในการควบคุมอารมณ์ มีหน้าที่สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ เมื่อสมองส่วนหน้าเลือดไปเลี้ยงลดลงแน่นอนว่าส่งผลต่อเด็กในระยะยาวแน่นอนเด็กไม่สามารถคิดวางแผนอะไรในอนาคตได้
เด็กไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของเขาได้ ฉะนั้นมันส่งผลต่อการควบคุมอารมณ์ ส่งผลต่อการวางแผนชีวิตในอนาคต วางแผนอะไรในการคิดเด็กไม่สามารถจัดลำดับความสำคัญอะไรได้ถูก เด็กกลุ่มนี้พอเวลาไปเรียนหนังสือก็จะไม่มีสมาธิตาวอกแวกนั่งเหม่อไปเรื่อยๆ ใจไม่มีแล้วใจไม่อยู่เพราะเลือดไปเลี้ยงสมองส่วนนั้นลดลง
นอกจากสมองส่วนหน้าแล้วยังมีสมองส่วนความจำอีก เด็กก็จะความจำไม่ดีไม่สามารถที่จะเรียนรู้ จำอะไรใหม่ๆ ได้ ส่งผลอย่างมาก ถ้าเป็นต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ พบว่าสมองของส่วนดังกล่าวฝ่อล
ไม่ใช่เรื่องของอารมณ์แล้วมันลามไปสมองพอเด็กกลุ่มนี้โตไป เขาจะรู้สึกว่าไม่มีอะไรที่จะคิดวางแผนอะไรได้ทำให้เขาไม่มั่นใจตัวเอง รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง รู้สึกแย่กับตัวเอง ทัศนคติต่อคนอื่นก็แย่ลง ถ้าปล่อยต่อไปเรื่อยๆ ไวทำงานถึงวัยแต่งงานเขาก็จะส่งต่อทัศนคติตรงนี้ให้ลูกๆ ให้กับครอบครัว ต้องระวัง ฉะนั้นการสังเกตตั้งแต่เริ่มถือเป็นจุดสำคัญอย่างมาก
สาเหตุตรงนี้ส่งผลต่อซึมเศร้าแน่นอน นอกเหนือจากซึมเศร้าก็จะมีเรื่องวิตกกังวลต่างๆ เช่น โรควิตกกลัวทุกเรื่อง ด้วยอาการของโรคซึมเศร้าอย่างที่หมอบอก
1.เรื่องของอารมณ์ อารมณ์เศร้าต่อเนื่อง เบื่อไม่อยากทำอะไรเลย กิจกรรมที่เคยทำแล้วมีความสุขจากเดิม อาจจะดูซีรีย์ ดูการ์ตูนเรื่องนั้นแล้วมีความสุขพอกลับไปดูอีกรอบกลับไม่มีความสุข สิ่งที่เคยทำแล้วมีความสุข ไม่สุขเหมือนเดิมอีกแล้ว อันนี้คือภาวะซึมเศร้าถ้าเป็นต่อเนื่องเกิน 2 สัปดาห์ให้ระวัง
2.การนอน นอนไม่หลับต่อเนื่อง 2 อาทิตย์ก็ให้ระวัง
1.เข้าใจภาวะซึมเศร้า
ต้องเข้าใจว่าภาวะซึมเศร้าไม่ใช่เรื่องของดราม่า ไม่ใช่เรื่องของภาวะทั่วๆ ไป แต่มันเกี่ยวข้องกับสมองมันเป็นโรค สมองมีการเปลี่ยนแปลงสารสื่อประสาทมีการเปลี่ยนแปลง เลือดเลี้ยงสมองลดลงจริงๆ คุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจว่าเป็นเรื่องของโรคเรื่องของข้อจำกัด เท่าที่หมอคุยกับเด็กๆ ไม่อยากทุกข์อยากมีความสุข เด็กอยากคิดดีกว่านี้อยากเล่นแต่เขาไปแล้วไม่ได้จริงๆ
อยากให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจก่อนว่ามันคือตัวโรคมันคือข้อจำกัดไม่ใช่ความดราม่า ไม่ใช่ความอ่อนแอ มันเป็นข้อจำกัดทางสมอง ในช่วงนี้พ่อแม่อยู่กับลูกตลอดช่วงโควิด ช่วงนี้เจอบ่อยมากเจอเยอะขึ้นการที่อยู่ด้วยกันตลอดกลายเป็นเรื่องของความพัวพันมากขึ้น เหมือนเด็กไม่มีโลกส่วนตัว
2.มีพื้นที่ส่วนตัว
เด็กวัยรุ่นหมอเจอบ่อยมากอยู่กับพ่อแม่ทั้งวันไม่มีพื้นที่ส่วนตัวเหมือนแม่เข้ามายุ่งกับการเรียนตลอดเข้าห้องมาตลอด มนุษย์ต้องมีพื้นที่ส่วนตัวของฉัน ของเธอ ของพ่อแม่และของเรา เหมือนวงกลมฉันกับเธอที่ไม่ควรเหลื่อมกันเกินไป ไม่ควรก้าวก่ายกันเกินไป การที่วงกลมฉันกับเธอมันก้าวก่ายกันมากเกินไปทำให้เด็กขาดพื้นที่ส่วนตัว เด็กขาดความเป็นตัวเอง
สถานการณ์โควิดทำให้เราอยู่กันมากขึ้นมากเกินไป พื้นที่ส่วนตัวนี้เลยก้าวล่วงกันมากนิดหนึ่งทำให้เด็กอึดอัดพออึดอัดไม่ได้ระบายไปไหนก็ไม่ได้ หมอเคยคุยกับเด็กที่เขาอยู่คอนโดน่าสงสารมากอยู่กับพ่อแม่เป็นลูกคนเดียวเขาอึดอัด จะลงมาว่ายน้ำก็ไม่ได้ จะลงมาเล่นลู่วิ่งก็ไม่ได้
เขาก็นั่งอยู่ในห้องเขาไม่ไหวก็ทุบหัวตัวเองเขาอยากออกเหงื่อออกแรงแต่ทำไม่ได้ หมอเลยแนะนำในหลายๆ บ้านที่พอมีพื้นที่ บางคนหมอแนะนำให้เอากระสอบทรายที่ใส่น้ำไว้ตรงฐานให้เด็กต่อยเล่น
3.หากิจกรรมให้ลูกทำ
พ่อแม่ต้องสรรหากิจกรรมให้เด็กได้ระบายได้ออกแรงบ้าง อย่าให้เขาหมกตัวอยู่กับมือถืออย่างเดียว สรรหาพื้นที่สรรหากิจกรรมให้เด็กได้ระบายได้ออกแรงทำกิจกรรม ต้องเข้าใจธรรมชาติของเด็กๆ ต้องได้ขยับตัวไม่ให้กล้ามเนื้อฝ่อ ต้องขยับตัวให้มีกล้ามเนื้อบ้าง พอเด็กไม่ได้ขยับตัวไม่ได้ออกไปไหนไม่ได้ระบายเลย แล้วมนุษย์เป็นสัตว์สังคมเล่นกับเพื่อนก็ไม่ได้
Effect มากงานวิจัยเขาบอกว่าการออกกำลังกายมีผลเท่ากับยาบางรายงานดีกว่ายาเพราะการออกกำลังกายช่วยเพิ่มเลือดไปเลี้ยงสมองอันนี้เป็นข้อเท็จจริงให้เราเห็นว่าการออกกำลังกายมันเพิ่มเลือดเลี้ยงสมองเพราะเวลาเราขยับตัวมันต้องสั่งการจากสมองเวลาเราขยับตัวเลือดต้องไปที่สมองเพื่อจะสั่งการให้ขยับตัว
การออกกำลังกายต้องถึงมีผลอย่างมากช่วยภาวะซึมเศร้าอย่างมากโดยทั่วไปการออกกำลังกายไม่ใช่แป๊บๆ ต้องเกิน 30 นาที 5-10 นาทีไม่ช่วยต้อง 30 นาทีขึ้นไป อาทิตย์หนึ่งให้ได้มากที่สุดเท่าทำได้ขั้นต่ำประมาณ 3 วัน
การอยู่ด้วยกันช่วงโควิดอย่างที่หมอเกริ่นไป การอยู่ด้วยกันนานๆ มากเกินไปจากผูกพันกลายเป็นพัวพัน ต้องมีพื้นที่แม่ต้องมีพื้นที่ของแม่ ลูกต้องมีพื้นที่ความคิดของลูกอย่าก้าวก่ายซึ่งกันและกันมากเกินไปให้เขามีอารมณ์เป็นของตัวเองมีความคิดเป็นของตัวเอง
เพราะการอยู่ด้วยกันแน่นอนมันส่งเสริมให้เกิดการพัวพันเว้นพื้นที่เว้นช่องว่างให้กันและกันบ้าง เพราะเรื่องนี้มีปัญหามากเลยเด็กเล็กอาจจะไม่เท่าไหร่แต่วัยรุ่นมีปัญหามากเลย อยู่ด้วยกันทุกวันพัวพันซึ่งกันและกันระบายก็ไม่ได้ เว้นพื้นที่ซึ่งกันและกัน เว้นช่องว่างซึ่งกันและกัน เคารพสิทธิการเป็นตัวของตัวเองซึ่งกันและกันช่วยได้
1.เข้าใจธรรมชาติของเด็ก
มนุษย์แต่ละคนไม่เหมือนกัน มีความคิดมีอารมณ์เป็นของตัวเอง เด็กไม่ใช่ผ้าขาวเด็กมีสีของเขาอยู่แล้วเขามีโทนสีตั้งแต่เกิดอยู่แล้วถ้าเราอยากให้เขาเป็นอย่างที่เราอยากให้เป็นมันก็ไมได้เราต้องเข้าใจธรรมชาติของเด็กและเคารพธรรมชาติของเด็ก เด็กแต่ละคนมีความคิดความอ่านมีสีของเขาตั้งแต่เกิดอยู่แล้ว
2.มีกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว
มีกิจกรรมร่วมกันระหว่างครอบครัว ในยุคโควิดจากเดิมติดโซเชียลอยู่แล้วพอมีโควิดยิ่งติดโซเชียลมากขึ้นการที่เด็กเล่นโซเชียลมากเกินไปเป็นข้อเสียเหมือนกัน เพราะโซเชียลส่งเสริมการเปรียบเทียบซึ่งกันและกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
อย่างสมัยก่อนถ้าเราจะเห็นใครไปเที่ยวต่างประเทศ หรือใครมีชีวิตดีๆ เขาต้องมาเล่าให้เราฟังหรือเอารูปให้เราดูต้องพูดอวดในห้อง แต่ยุคนี้ไม่ใช่เปิดคลิกเข้าไปเราก็เห็นแล้วชีวิตเขาดีจังเลยดูชีวิตเรา คือมันส่งเสริมให้เปรียบเทียบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ฉะนั้นการติดโซเชียลทำให้เรารู้สึกว่าทำไมฉัน มันเกิดการเปรียบเทียบ
สิ่งหนึ่งที่จะดึงเด็กออกจากโลกโซเชียลได้คือกิจกรรมของครอบครัวให้มีกิจกรรมร่วมกันดึงเขาออกจากโลกเสมือนจริงมาอยู่โลกแห่งความเป็นจริงบ้างจะช่วยลดการเปรียบเทียบ เพราะฉะนั้นให้มีกิจกรรมครอบครัวมีพื้นที่ซึ่งกันและกัน
หลักๆ เรื่องของซึมเศร้ามีวิธีการรักษาอยู่ 2 หลักใหญ่ๆ คือ
1.การใช้ยา
ยุคนี้สมัยนี้มียาแล้ว การรักษาซึมเศร้าไม่ได้ยากเหมือนสมัยก่อน สมัยก่อนต้องมานั่งคุยเป็นเดือนๆ ปีๆ สมัยนี้มียาซึ่งช่วยภาวะซึมเศร้าได้เร็วแนะนำว่าอย่ารอบางคนรอๆ แล้วรออีก อย่างที่บอกไปสมองฝ่อไปแล้วถ้ามัวแต่รอเลือดไปเลี้ยงสมองส่วนหน้าลดลงเรื่อยๆ เลือดไปเลี้ยงสมองส่วนความจำลดลงๆ สมองฝ่อพอดีโอกาสที่จะกลับมารักษาก็จะอยากขึ้น ฉะนั้นถ้ามีภาวะโรคซึมเศร้าเกิดขึ้นแล้วแนะนำให้พบจิตแพทย์แนะนำให้รักษาโดยการใช้ยามันช่วยจริงๆ
การใช้ยาพบว่าสมองส่วนที่ฝ่อไปแล้วมันเติบโตขึ้นได้อีก ช่วยให้สมองมีการาแตกแขนงเกิดขึ้นจากเดิมที่ฝ่อเล็กไปแล้ว ยาในเรื่องของรูปพรรณทำให้เซลสมองพัฒนาเจริญเติบโตมันช่วยได้เร็วทำให้ผลกระทบระยะยาวลดลง
เพราะถ้าเราปล่อยให้สมองฝ่อไปแล้วทัศนคติด้านลบจะเกิดในใจเขาๆ ก็เชื่อไปอย่างนั้นแล้วว่าฉันไม่ดี โลกนี้สิ้นหวังเหลือเกินฝังอยู่ในสมองส่วนหน้า ฝังเป็นทัศนคติต่อให้รักษาทัศนคติตัวนี้ก็จะส่งต่อไปเมื่อเขาโตขึ้น พอเขามีครอบครัวก็จะส่งต่อไปยังลูก รีบรักษาดีกว่า
2.จิตบำบัด
คือเป็นการพูดคุยอาจจะนำครอบครัวมาพูดคุยด้วย เอาครอบครัวมารวมในการทำจิตบำบัดด้วย ดูว่าความคิดที่ฉันไม่ดี หนูไม่ดีหนูมันแย่จริงหรือเปล่าหรือความคิดเฉยๆ หรือเป็นความจริง เราจะพูดคุยกับเด็กให้เด็กตระหนัก ให้เด็กมีสติว่ามันไม่ใช่ฉันมโนไปเอง
หมอเจอเรื่อยๆ เจอประจำ มีเด็กคนหนึ่งค่อนข้างวัยรุ่นแล้วครอบครัวมีปัญหาอย่างมาก ปะทะกันรุนแรง ด่ากันรุนแรง เด็กก็เลยมีอาการอารมณ์ซึมเศร้าเกิดขึ้น ตอนแรกมาหาหมอด้วยเรื่องของไม่กินไม่นอนข้าวไม่กินนั่งเฉยๆ หมอเลยรับปรึกษาที่โรงพยาบาลให้หมอเขาไปดูเด็กนั่งเงียบนั่งนอนเป็นผักเลย
ขนาดขับถ่ายยังไม่ไปเลยใส่ผ้าอ้อมเด็กโตแล้วด้วย ไม่ทำอะไรเลยเขาเบื่อชีวิตเซ็งชีวิตมาก หมอขึ้นไปเจอครอบครัวเขาพ่อแม่ทะเลาะกันรุนแรงมากจริงๆ ในโรงพยาบาลเลยต่อหน้าหมอเลย ปัญหาทุกอย่างมาหมด
หมอพยายามคุยกับเด็กว่าเกิดอะไรเพราะอะไร เพราะว่าการที่หนูเป็นแบบนี้การที่หนูไม่ขยับตัวแบบนี้ส่วนหนึ่งหนูจะได้ไม่ต้องไปเจอเรื่องไม่ดี พ่อแม่ได้ไม่ทะเลาะกันอย่างนี้ใช่หรือเปล่า เด็กพยักหน้า
ทางออกต้องให้หยุดจากเดิมที่ทะเลาะกันรุนแรงด่ากันรุนแรงถ้าเขามีอาการอะไรบางอย่างเกิดขึ้นมันทำให้ครอบครัวหยุดความรุนแรง แล้วเขาเจออย่างนี้ทุกวันจนเขาสิ้นหวังเขาเลยไม่รู้จะพูดอะไร
เคสนั้นมีปัญหามากกว่าหมอจะจับพ่อแม่มานั่งคุยกันเรื่องความรุนแรง ช่วงแรกหมอให้เด็กไปอยู่กับปู่ย่าก่อนเลยเพราะพ่อแม่มีปัญหากันเยอะมากจริงๆ ไปอยู่กับปู่ย่าเขาอาการดีขึ้นกินข้าวได้เหมือนเดิมมีแรงขับถ่ายตามปกติเลย
ครอบครัวนี้เป็นตัวอย่างเลยที่ครอบครัวอยู่ด้วยกันในช่วงโควิดแล้วมีปัญหากันรุนแรงส่งผลกับเด็กจริงๆ ต้องรีบแก้บริบทครอบครัวต้องรีบแก้ที่ผู้ปกครอง ครอบครัวสำคัญจริงบริบท บรรยากาศครอบครัวมีความสำคัญกับเด็กจริงๆ
วิธีการสอนเด็กที่ดีที่สุดคือการเป็นตัวอย่างให้ดู ถ้าเราไม่อยากให้ลูกติดหน้าจอเราก็อย่าติดหน้าจอ ถ้าเราอยากให้ลูกเอาตัวออกมาจากหน้าจอเราก็ต้องเอาตัวออกมามีกิจกรรมร่วมกันกับเด็กและเมื่ออยู่ด้วยกันแล้วเว้นช่องว่างซึ่งกันและกันเคารพสิทธิ เคารพความคิด เคารพอารมณ์ของแต่ละคนซึ่งกันและกัน เท่านี้บรรยากาศครอบครัวก็จะดีขึ้นแล้ว อึดอัดพัวพันก็จะกลายเป็นความผูกพัน
ติดตามฟังได้ที่รายการรักลูก The Expert Talk
Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB
Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube: https://bit.ly/3cxn31u