โรคไตในเด็ก หนึ่งสัญญาณเตือนภัยให้พ่อแม่ใส่ใจเรื่องสุขภาพและอาหารการกินของลูก เพราะถ้ายังปล่อยให้เด็กกินอาหารฟาสต์ฟู้ดปริมาณมากอยู่ โรคไตอาจมาเยือน
สาเหตุสำคัญของโรคไตในเด็ก สามารถแยกได้ 2 ช่วงวัย ได้แก่
1.โรคไตในเด็กแรกเกิด ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของรูปร่างไตตั้งแต่กำเนิด การอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ ทำให้เกิดภาวะไตบวมน้ำ สาเหตุของโรคไตในเด็กเล็กมักเป็นจากการติดเชื้อหรือภาวะกรวยไตอักเสบ การไหลย้อนของปัสสาวะไปที่ไต
2.โรคไตสำหรับเด็กโต เกิดจากการอักเสบของไต โดยมาจากโรคภูมิคุ้มกันต่าง ๆ เช่น โรคไตอักเสบเนโฟรติก โรคไตอักเสบจากเอสแอลอี โรคไตอักเสบชนิดไอจีเอ ในส่วนสาเหตุอื่นๆ ที่พบในเด็กโตได้แก่ ความดันเลือดสูง โรคเบาหวาน และภาวะอ้วน
ลูกตัวบวมต้องระวัง อาจจะเป็นเนฟโฟรติก
อาการของโรคไตในเด็กจะมีความแตกต่างกัน
ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคไตด้วย เช่น ผู้ป่วยที่มีอาการไข้สูง ปัสสาวะแสบขัด ปวดท้องน้อย มักเป็นจากการติดเชื้อที่ไต ผู้ป่วยที่มีอาการบวม ปัสสาวะเป็นเลือด หอบเหนื่อยและซีดลง อาการเหล่านี้เกิดจากการอักเสบของไต อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เป็นโรคไตบางชนิดมักจะไม่มีอาการ แต่จะตรวจพบโดยบังเอิญ เช่น ตรวจพบไตบวมน้ำระหว่างที่อยู่ในครรภ์มารดา
การรักษาโรคไตในเด็กขึ้นอยู่กับชนิดของโรคไต
ผู้ป่วยที่ติดเชื้อที่ไต จะต้องเข้ารับการรักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะหรือการรักษา โดยใช้ยากดภูมิคุ้มกันบางชนิดเพื่อรักษาการอักเสบของไต เพื่อฆ่าเชื้อที่เกิดขึ้น สำหรับผู้ป่วยบางรายที่มีการอุดกั้นสิ่งของตรงบริเวณทางเดินปัสสาวะหรือ การไหลย้อนของปัสสาวะที่รุนแรง ในกรณีแบบนี้ควรได้รับการผ่าตัดแก้ไขโดยศัลยแพทย์เด็กด้านระบบทางเดิน ปัสสาวะก่อน จึงสามารถรับยาปฏิชีวนะได้
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์จะมีความทันสมัยและก้าวหน้าไปมาก แต่โรคไตบางชนิดก็ยังหาสาเหตุของการเกิดโรคไตไม่ได้ อาทิ โรคไตเนโฟรติก โรคไตอักเสบชนิดไอจีเอหรือเอสแอลอีนั่นเอง
การป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงโรคไต
โรคไตหลายชนิดสามารถป้องกันได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพียงแค่ ไม่กลั้นปัสสาวะมีการ ควบคุมน้ำหนักที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม หวาน มันและหมั่นออกกำลังกายอยู่เสมอ เพียงเท่านี้ก็จะห่างไกลจากโรคไตของผู้ใหญ่และโรคไตในเด็ก ได้แล้ว แต่สำหรับโรคไตบางชนิดที่ไม่สามารถป้องกันได้ ควรต้องได้รับการตรวจตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็สามารถควบคุมอาการของโรคไตได้ง่าย
ผลไม้ที่คนเป็นโรคไตไม่ควรทาน
ผักผลไม้แต่ละชนิดมีคุณสมบัติ มีสรรพคุณแตกต่างกัน บางชนิดมีสารพิษในตัวเอง หากรับประทานในปริมาณมาก ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว หรือมีโรคเรื้อรังได้ สำหรับผลไม้ที่ผู้ป่วยโรคไตควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ มะเฟืองเปรี้ยว น้ำลูกยอ ทุเรียนก้านยาว ทุเรียนชะนี กล้วยหอม ผักโขม และหน่อไม้ เนื่องจากผัก ผลไม้ เหล่านี้มีกรดอ็อกซาริกและโพแทสเซียมในปริมาณสูง ทำให้ไตต้องทำงานหนักขึ้น
มั่นสำรวจร่างกาย ใส่ใจการเปลี่ยนแปลง เพราะสุขภาพเรา สุขภาพลูกของเรา ไม่มีใครจะดูแลได้ดีเท่ากับตัวเราและเจ้าของร่างกายนั้นนะคะ
ขอบคุณภาพจาก : www.siphhospital.com