ทราบไหมคะ ช่วงเวลานอนของลูกก็เป็นช่วงที่สมองลูกกำลังพัฒนา!
ในช่วงเวลาที่ลูกนอนหลับพักผ่อน สมองลูกยังต้องทำงานไปด้วยเพื่อเสริมทักษะในการกระตุ้นความจำ สร้างการเรียนรู้ และทักษะการแก้ปัญหา การได้นอนหลับที่ดีและเพียงพอจะช่วยให้ลูกสนใจจดจ่อ ในการเรียนที่โรงเรียนมีความสามารถที่จะตัดสินใจและมีความคิดสร้างสรรค์ แต่หากลูกน้อยไม่ได้นอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ ผลลัพธ์ไม่ใช่แค่อ่อนเพลีย สะลึมสะลือเท่านั้น แต่ผลกระทบที่ลูกต้องเจอ อาจร้ายแรงจนพ่อไม่นึกไม่ถึงเลยค่ะ
เด็กนอนไม่พอเสี่ยงกับโรคอะไรบ้าง
ดร.ไมเคิล ลิม ที่ปรึกษาแผนกกุมารเวชกรรมโรคปอดเด็กและการนอนหลับ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์(1) ได้สรุปผลเสียของการนอนไม่เพียงพอ หรือภาวะการอดนอนของเด็กว่าอาจจะต้องเสี่ยงกับโรคภัยไข้เจ็บ หรือการทำงานร่างกายที่บกพร่องไป มีอะไรบ้างลองดูกันค่ะ
“การนอนหลับ” อย่างเพียงพอจะช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตทางสมองของลูกน้อย เพราะในช่วงที่ร่างกายมีการหลับลึก จะมีการสร้างฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นส่วนต่างๆ ของสมองในการเรียนรู้ จดจำ เรียบเรียงความคิด และมีการตอบสนองอย่างรวดเร็ว อันเป็นรากฐานสำคัญของพัฒนาการของสมองที่ดี(2)
5 เคล็ดลับสำคัญให้ลูกน้อยนอนหลับเพียงพอ
1. ดื่มนมก่อนนอน เคล็ดลับที่ดีที่สุดคือ การให้ลูกได้ดื่มนมแม่ก่อนนอน เพราะนมแม่มีสารอาหารที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นวิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารหลัก เช่น คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน รวมทั้ง “แอลฟา-แล็คตัลบูมิน” ซึ่งเป็นเวย์โปรตีนในน้ำนมแม่ที่ให้กรดอะมิโนจำเป็น ชื่อ “ทริปโตเฟน” ช่วยสร้างสารเซโรโทนิน ซึ่งมีส่วนช่วยในควบคุมการนอนหลับ โดยร่นระยะเวลานอน ให้หลับได้เร็วขึ้น(3) จากการศึกษาของ Cubero, et. Al. พบว่า เด็กที่ดื่มนมแม่จะนอนหลับได้ดีกว่า เนื่องจากนมแม่มีระดับทริปโตเฟนในช่วงกลางคืนสูงกว่าในช่วงกลางวันขณะที่เด็กดื่มนมผสมจะใช้ระยะเวลานานกว่าจะหลับ
2. ปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เรื่องของสภาพแวดล้อมการนอนหลับของเด็กก็มีความสำคัญเช่นเดียวกันค่ะ เพียงคุณพ่อคุณแม่รักษาอุณภูมิห้องนอน ให้เย็นสบาย เงียบสงบ และมืด ก็จะช่วยให้เด็กๆ นอนหลับได้ง่ายขึ้นค่ะ
3. หากิจกรรมผ่อนคลายก่อนนอน สร้างกิจวัตรประจําวันที่จะช่วยให้ลูกๆ ผ่อนคลายก่อนนอน เช่น การอ่านหนังสือนิทานก่อนนอนให้ลูกฟัง การร้องเพลงกล่อมเบาๆ ฯลฯ
4. จัดตารางเวลาการนอนให้เป็นเวลา สร้างวินัยเวลาเข้านอนและเวลาตื่นนอนอย่างเคร่งครัดเป็นประจำวันทุกวัน (รวมทั้งสุดสัปดาห์และวันหยุด)
5. ไม่ให้ลูกหลับกลางวันนานเกินไป ไม่ควรปล่อยให้ลูกน้อยใช้เวลางีบหลับในตอนกลางวันมากเกินไป เพราะจะทำให้ลูกหลับได้ยากขึ้นช่วงกลางคืน
ข้อแนะนํา : ชั่วโมงการนอนหลับที่เหมาะสมสำหรับเด็กแรกเกิด – 6 ปี
ที่มา: Howard, B.J. and Wong, J. Sleep disorders, Pediatrics in Review, 22:327-341, 2001
เอกสารอ้างอิง
(พื้นที่เพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์)