เด็กชายวัย 3 ขวบ ในมณฑลกวางตุ้งทางภาคใต้ของจีนคนนี้ ยังนอนพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล เนื่องจากถูกกรดซัลฟิวริกเข้มข้นกัดปากและคอบาดเจ็บสาหัส แม่ของเด็กคนนี้บอกว่า ลูกชายออกไปวิ่งเล่นกับเพื่อนๆที่สนามเด็กเล่นใกล้บ้าน และดื่มน้ำจากขวดที่ตั้งทิ้งไว้ในสนาม โดยไม่มีเจ้าของ ก่อนจะวิ่งร้องไห้กลับมาบ้านและมีน้ำลายฟูมปาก เธอจึงรีบพาส่งโรงพยาบาล ซึ่งแพทย์บอกว่าน้ำที่เด็กชายดื่มเข้าไปนั้นมีกรดซัลฟิวริกเข้มข้นผสมอยู่ด้วย
แพทย์ระบุว่าฤทธิ์ของกรดได้ทำลายช่องปาก คอ และหลอดอาหารจนเด็กชายไม่สามารถกลืนน้ำลายได้ แพทย์ต้องให้นมและยาผ่านทางท่อที่ต่อตรงเข้าไปที่กระเพาะอาหาร
เพื่อไม่ให้เรื่องเลวร้ายเกิดขึ้นอีก อย่าเทสารพิษทั้งหลายลงในขวด หรือภาชนะอื่นๆ เช่น ใส่ในถ้วย ในจาน ในชาม ในขวด ด้วยคิดว่าเป็นการสะดวกหากจะใช้อีก และที่มักเคยพบเห็นบ่อยก็คือ เทใส่ขวดน้ำอัดลม (สีเขียวๆ แดงๆ ที่เด็กๆ เห็นแล้วกระหายและรีบเทเข้าปาก แต่ที่แท้แล้วมันคือ น้ำมันเครื่อง น้ำมันเบนซิน โซดาไฟ ยาฆ่าหญ้า ฯลฯ)
อย่าวางสารพิษทั้งหลายไว้ใกล้ ๆ อาหารหรือเครื่องดื่ม เช่น บนโต๊ะอาหาร ในตู้กับข้าว ผู้ใหญ่หลายท่านมักประมาท โดยคิดง่ายๆ ว่า เอาไว้ตรงนี้ก่อนแหละ เดี๋ยวค่อยเก็บเข้าที่ ซึ่งพฤติกรรมเช่นนี้ ได้ทำให้เด็กป่วยหรือตายมาหลายต่อหลายรายแล้ว
อย่าเก็บวัตถุเคมี ยา และสารพิษต่างๆ ไว้ในที่ๆ เด็กๆ มองเห็นและหยิบจับได้ เช่น วางไว้บนพื้น บนเก้าอี้ บนโต๊ะ ที่วางของชั้นล่าง ใต้อ่างล้างจาน
โปรดเก็บน้ำอันตรายเหล่านี้ไว้ในที่ที่ ควรเก็บ นั่นก็คือ ปิดฝาให้แน่นแล้วเอาไปไว้ในตู้เฉพาะแล้วล็อคกุญแจอย่างแน่นหนา หรือวางไว้บนที่สูงๆ เพื่อให้พ้นจากสายตาและมือของเด็กๆ
สิ่งสำคัญที่พวกเรามักจะละเลยเสมอก็คือ การอ่านฉลากข้างขวด ซึ่งจะต้องอ่านให้ละเอียดและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ในขณะเดียวกัน เจ้าของผลิตภัณฑ์หลายๆ ราย ก็พิมพ์ตัวหนังสือขนาดจิ๋วจนต้องพึ่งแว่นขยาย
ปฐมพยาบาลเมื่อโดนสารพิษเล่นงาน
เมื่อถึงโรงพยาบาลต้องเตรียมคำตอบสำหรับคำถามจากคุณหมอ ดังนี้