ก. โรคฟันผุและเหงือกอักเสบ
ข. โรคต่อมทอนซิลอักเสบ
ค. โรคไซนัสอักเสบ
กลิ่นปากและกลิ่นลมหายใจจะเป็นสัญญาณเตือนทั้ง 3 โรคดังกล่าวได้อย่างไร
1. โรคฟันผุและเหงือกอักเสบ ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียในช่องปากจากการสะสมของเศษอาหาร จนทำให้ฟันผุและเกิดกลิ่นปากได้
2. โรคต่อมทอนซิลอักเสบ เกิดจากต่อมทอนซิลมีอาการบวมแดง หรืออาจมีเยื่อขาวๆ ปกคลุม ในบางคนต่อมทอนซิลอาจมีร่องหลืบทำให้เศษอาหารไปติด จนเกิดเป็นกลิ่นปาก
3. โรคไซนัสอักเสบ ที่เกิดจากอาการภูมิแพ้ ทำให้มีน้ำมูก ซึ่งหากช่องจมูกอุดตันแล้วน้ำมูกไม่สามารถไหลมาทางจมูกด้านหน้าได้ น้ำมูกก็จะไหลย้อนกลับเข้าไปขังในโพรงไซนัส ทำให้ไซนัสอักเสบ ซึ่งโพรงไซนัสจะอยู่ติดกับช่องคอด้านหลัง น้ำมูกที่ไหลมาทางช่องคอจะทำให้เกิดกลิ่นปากและกลิ่นลมหายใจที่เหม็น
อาการร่วมนอกจากกลิ่นปาก
นอกจากกลิ่นปากและกลิ่นลมหายใจที่เหม็นจะเป็นสัญญาณเตือนโรคแล้ว จะต้องสังเกตอาการอื่นๆ ที่เกิดร่วม เช่น
ระวัง! โรคปอดที่ร้ายแรง
เด็กๆ ที่เป็นโรคหลอดลมโป่งพอง (Bronchiectasis) ซึ่งมักจะเกิดตามหลังการติดเชื้อในปอด ที่พบได้บ่อยคือวัณโรค ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังที่มีหนองขังอยู่ในปอด เวลาไอออกมาจะมีเสมหะที่มีกลิ่นคาวเหม็น และยังมีโรคปอดเรื้อรัง (Cystic fibrosis หรือ CF) และโรคฝีในปอด (Lung abscess) โดยทั้ง 3 โรคนี้ เป็นโรคเรื้อรังที่ใช้ระยะเวลายาวนานเป็นเดือนๆ กว่าจะมีกลิ่นปากและกลิ่นลมหายใจเหม็นออกมาค่ะ |
ดูแลรักษาเมื่อมีสัญญาณเตือนโรค
สิ่งแรกที่คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลเมื่อลูกมีกลิ่นปากและกลิ่นลมหายใจ ไม่ว่าจะเกิดจากโรคใดก็ตาม คือการดูแลสุขภาพในช่องปากให้สะอาด เพราะช่องปากและช่องจมูกเป็นทางผ่านของเชื้อโรค โดยการดูแลรักษาโรค ควรทำดังนี้
ข้อมูล จากวารสารในต่างประเทศ พบว่า อาหารที่ทำให้เกิดกลิ่นปากได้นั้น คือหัวหอมและกระเทียม ซึ่งในอาหารไทยก็จะพบว่ามี 2 อย่างนี้เป็นส่วนผสม ทำให้เกิดกลิ่นปากได้ง่าย แต่เป็นกลิ่นปากที่ไม่ได้เป็นสัญญาณเตือนโรค สิ่งแปลกปลอมในโพรงจมูก ถ้า ลูกมีกลิ่นลมหายใจและน้ำมูกเรื้อรังจากรูจมูกเพียงข้างเดียว อาจเกิดจากการมีสิ่งแปลกปลอมค้างคาในรูจมูกได้ เช่น เมล็ดผลไม้ ของเล่นชิ้นเล็กๆ ซึ่งเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเด็ก ควรพาไปตรวจกับแพทย์แต่เนิ่นๆ ก่อนจะมีการอักเสบลุกลามหรือติดเชื้อแทรกซ้อนได้ค่ะ |
หมั่นสังเกตสุขภาพ และอย่าลืมใส่ใจกับกลิ่นปากและกลิ่นลมหายใจของลูกนะคะ เพราะหากพบเจอโรคได้เร็วเท่าไร ก็ยิ่งดีต่อการดูแลสุขภาพของลูกมากขึ้นค่ะ
เรียบเรียงจากการสัมภาษณ์ เรืออากาศเอกแพทย์หญิงหฤทัย กมลาภรณ์ กุมารแพทย์โรคระบบหายใจเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี