เวลาที่ ลูกป่วย แล้วงอแง ลูกไม่ยอมกินยา เป็นปัญหาหนักใจของพ่อแม่แทบทุกบ้านเลยใช่ไหมคะ ยิ่งถ้าเป็นยาเม็ดด้วยแล้ว ใช้สารพัดท่าไม้ตายเลยกว่าจะยอมกินยาได้
แต่ก็ใช่ว่าจะไม่สามารถ ป้อนยาให้ลูก ได้เสียทีเดียว เพราะยังมีอีกหลายวิธีที่พ่อแม่จะ ทำให้ลูกกินยา ได้ค่ะ
อธิบายให้ลูกฟังในภาษาที่เด็กเข้าใจง่าย ว่าลูกไม่สบาย ถึงแม้ยาจะมีรสชาติขม แต่ยาก็จะช่วยทำให้ลูกหายป่วย ดังนั้นการบอกลูกให้เข้าใจถึงประโยชน์ของการกินยาจะช่วยส่งผลให้ลูกมีทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการกินยาตั้งแต่ต้น
ต้องตรวจดูฉลากยาให้ชัดเจน เกี่ยวกับปริมาณยา จำนวนครั้ง และเวลาที่ให้ด้วย อ่านคำอธิบายภายในกล่องอย่างระมัดระวัง เพื่อป้องกันการแพ้ยาไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตาม
ในกรณีเด็กเล็กมาก อาจผสมกับอาหารบด น้ำผึ้ง แยมหรือไอศกรีม เป็นต้น
ในกรณีเป็นยาเม็ดอาจต้องบด แล้วผสมกับอาหารได้
หลีกเลี่ยงการผสมยาลงในน้ำ หรือนม เพราะยาอาจตกตะกอนอยู่ก้นขวด หรือจับตัวติดที่ข้างขวด และในบางครั้งเด็กอาจกินไม่หมด ทำให้ได้รับปริมาณยาไม่ครบถ้วน
หากเป็นยาน้ำต้องเขย่าขวดก่อนกินยา ใช้หลอดสำหรับป้อนยา คล้ายยาหยอดตา หลอดฉีดยา ในกรณีใช้ถ้วยป้อนยา หรือช้อนป้อนยาอาจทำให้เด็กรับรู้ถึงรสชาติได้มากกว่าหลอดฉีดยา
พ่อแม่ต้องใช้ความอดทน เพราะการแสดงความโกรธจะทำให้ลูกดื้อและต่อต้านมากขึ้นกว่าเดิม
หากลูกเป็นเด็กเล็กอาจอุ้มในท่าที่สะดวก และปลอดภัยไว้ในวงแขน และให้ลูกเล่นของเล่นที่ชอบเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจและช่วยผ่อนคลายความเครียดให้ลูก
การให้ยาเด็กเล็กหรือเด็กวัยเตาะแตะ ควรเป็นยาน้ำเท่านั้น และพยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสยาตรงๆ กับลิ้น โดยการป้อนยาทางกระพุ้งแก้ม เพื่อลูกจะไม่ต้องลิ้มรสขมของยามากนัก และจะช่วยไม่ให้ลูกพ่นยาออกมา
เมื่อลูกกินยาได้ ให้ชมลูกทันที หรือ ให้รางวัล โดยการอ่านหนังสือเล่มโปรดให้ลูกฟัง หรือป้อนอาหารที่ลูกชอบ
อาจพูดคุยกับคุณหมอ ในตัวยาบางประเภทที่มีรสชาติขม ว่าสามารถเพิ่มรสหวานลงไปได้หรือไม่
อาจให้ลูกบีบจมูกในขณะที่ทานยาเพื่อลูกจะไม่รับรู้รสชาติของยา และนั่นจะเป็นการช่วยในการลดการรับรู้รสชาติของยา
เตรียมน้ำไว้ให้พร้อม เพื่อช่วยให้ลูกไม่ต้องทนกับรสชาติขมของยานานเกินไป และอาจให้เด็กได้ทานขนมที่ชอบโดยตกลงกันก่อนกินนยา
การให้ลูกแปรงฟันหลังจากทานยาก็จะช่วยกลบรสชาติขมของยาได้บ้าง
หากต้องป้อนยาเม็ดตามขนาดที่ต้องการ ควรขอจากคุณหมอโดยตรง เพราะการตัดแบ่งยาเองอาจทำให้กะขนาดผิดพลาด