พ่อแม่ที่ปล่อยให้ลูกวัย 2 ขวบ ดูจอบ่อยๆ หรือนานเกินไป ส่งผลให้ลูกพูดช้า พัฒนาการช้า ไอคิวต่ำ สมาธิสั้นได้ พราะเห็นว่าลูกใช้แล้วจะอยู่นิ่ง ไม่งอแงหรือโวยวาย ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วหน้าจอจะส่งเสียต่อลูกหลายด้านมากค่ะ เรามาดูข้อเสียของหน้าจอกันค่ะ
1. ขาดพัฒนาการด้านการสื่อสาร พูดช้า พูดไม่ชัด
2. ความสามารถในการสื่อสารลดลง พัฒนาการทางสมองช้า ไอคิวต่ำ
3. ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ หงุดหงิดง่าย ใจร้อน รอคอยไม่ได้
4. ลูกสมาธิสั้น ขาดสมาธิ ไม่มีความใจจดใจจ่อ
5. มีปัญหาด้านสายตาล้าหรืออักเสบ
6. ร่างกายไม่แข็งแรง เคลื่อนไหวช้า เหนื่อยง่าย
7. ขาดทักษะการเข้าสังคม แยกตัวเข้ากับเพื่อนไม่ได้
1. พ่อแม่ควรหลีกเลี่ยงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด ห้ามเด็กดูจอ โดยเฉพาะเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี ส่วนเด็กที่อายุมากกว่า 2 ปี ให้จำกัดระยะเวลาไม่เกิน 30 นาทีต่อวัน
2. พ่อแม่ควรหลีกเลี่ยงสื่อที่ไม่เหมาะสมต่อเด็ก เช่น สื่อที่มีเนื้อหารุนแรง ก้าวร้าว หรือเกี่ยวกับเรื่องเพศ เป็นต้น
3. พ่อแม่ควรเลือกสื่อที่เหมาะสมกับเด็ก และสร้างมาเฉพาะเด็กโดยตรง รวมทั้งดูสื่อเหล่านั้นไปพร้อมกับเด็ก คอยอธิบาย ให้คำปรึกษา แนะนำกับเด็กไปพร้อม ๆ กับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เหล่านั้น
4. หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ พ่อแม่ควรมีการตั้งกฎเกณฑ์การรับสื่ออย่างเหมาะสม มีการจำกัดเวลา กำหนดสถานที่ เป็นต้น
5. พ่อแม่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการรับสื่อ เนื่องจากการที่พ่อแม่ติดสื่อ ล้วนส่งผลให้ความสนใจที่มีต่อลูกลดลงเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ หากพ่อแม่กำลังทำงานอยู่ไม่สามารถเล่นกับลูกได้ ควรหากิจกรรมหรือของเล่นให้ลูกเล่นโดยไม่ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยให้ลูกเล่นอยู่ใกล้ ๆ บริเวณที่พ่อแม่ทำงานเพื่อความปลอดภัยของลูก
6. ควรจัดสภาพแวดล้อมในบ้านให้เหมาะสม เช่น ในห้องนอนลูก ไม่ควรมีสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เพื่อลดโอกาสการเข้าถึงสื่อเหล่านั้น
ที่สำคัญที่สุดคือไม่ควรให้หน้าจอเป็นพี่เลี้ยงลูกเพราะเห็นว่าลูกใช้แล้วอยู่นิ่ง ไม่โวยวาย แต่กลับส่งผลเสียมากมายแทนค่ะ และอย่าลืมว่ากิจกรรมการเล่นที่เหมาะสมตามวัยโดยปราศจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์รวมถึงการที่พ่อแม่เล่นกับลูกยังคงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ช่วยให้ลูกมีพัฒนาการที่ดี พฤติกรรมที่เหมาะสม สุขภาพที่แข็งแรง มีความสัมพันธ์ในครอบครัวที่แน่นแฟ้น
ที่มา : กรมอนามัย