เมื่อความแตกต่างยังเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจ การเคารพผู้อื่นและเคารพตนเองก็เป็นสิ่งที่พ่อแม่ต้องปลูกฝังเช่นกัน เพราะเมื่อลูกรู้จักคุณค่าของตนเองลูกก็จะมองเห็นคุณค่าของผู้อื่น และปัญหาการกลั่นแกล้งในโรงเรียนก็จะลดลง
เมื่อต้นปี 2561 มีรายงานที่น่าตกใจจากกรมสุขภาพจิต ว่ามีเด็กนักเรียนไทยถูกรังแกในโรงเรียนกว่า 600,000 คน และมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก
การกลั่นแกล้งรังแกหรือล้อเลียนกันในโรงเรียนเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นการปลูกฝังเรื่องความรุนแรงของเด็กๆ การทำร้ายกันส่งผลกระทบทั้งสองฝ่าย เด็กที่ถูกรังแกมักมีความเครียด เกิดภาวะซึมเศร้า อาจมีปัญหาการเข้าสังคมจนโต หรืออาจนำไปสู่การแก้แค้นและทำร้ายผู้อื่น บางคนหาทางออกไม่ได้ก็ทำร้ายตนเอง และที่รุนแรงกว่านั้นคือการฆ่าตัวตาย
แน่นอนว่าคงไม่มีพ่อแม่คนไหนอยากให้ลูกเที่ยวไปรังแกผู้อื่น ขณะเดียวกัน ก็ไม่มีพ่อแม่คนไหนอยากให้ลูกถูกรังแกเช่นกัน เราจะป้องกันปัญหาการกลั่นแกล้งในโรงเรียนนี้ได้อย่างไร เพราะหากการสอนวิธีรับมือการ Bullying และฝึกทักษะการแก้ปัญหาให้ลูกไม่เพียงพอ การปลูกฝังเรื่องความความแตกต่าง และความเท่าเทียมในสังคม จึงเป็นเรื่องที่พ่อแม่ควรสอนลูกใช่หรือไม่
คุณสุภาวดี หาญเมธี ประธานสถาบันอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป) ได้โพสต์ข้อความใน Facebook ส่วนตัวถึงกรณีข่าวที่เกิดขึ้นว่า
#พวกเขายังเป็นเด็ก ..
การรังแกกลั่นแกล้ง ล้อเลียนให้อาย ในเด็กเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เมื่อเด็กขาดโอกาสเรียนรู้เรื่องพื้นฐาน (จากทั้งบ้านและโรงเรียน) ว่า
“เราเป็นคนเหมือนกัน”
# เขาก็คน เราก็คน เจ็บ ร้อน เหนื่อย หิว อาย... เป็นเหมือนกัน ไม่ว่าเขาจะแตกต่างอย่างไร เขาก็คนเหมือนกัน
# เราล้วนมีจุดอ่อนจุดแข็งเหมือนกัน เขามี เราก็มี ไม่แบบใดก็แบบหนึ่ง เขาทำผิด เราก็เคยทำผิด ฯลฯ
ดังนั้น เราไม่มีสิทธิไปละเมิด เหยียดหยาม ดูหมิ่นหรือรังแกใครทั้งนั้น. และนอกจากต้องเคารพความเป็นคนของเขาแล้ว เรามีหน้าที่ชีวิต ที่ควรเมตตาเกื้อกูลเพื่อนร่วมโลกของเรา(ถ้าเราเห็นว่าเขาอ่อนด้อยกว่าด้วย)
สงสารเด็กทั้งสองคน. ไม่มีใครควรถูกประนามตำหนิ
พวกเขายังเป็นเด็ก ..
ระบบของสังคมเราต่างหากที่ตัองถูกตำหนิหนักๆ และต้องเร่งแก้ไขจริงจัง อย่าเอาเด็ก เอาพ่อแม่เป็นเหยื่อ
ทำไมเราไม่ให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องพื้นฐานนี้. ที่บ้านสอนไม่เป็น โรงเรียนต้องสอนเป็น
มีประโยชน์อะไรที่จะ”จัดการศึกษา” แต่เด็กไม่ได้เรียนรู้เรื่องพื้นฐานชีวิต การเป็นพลเมือง และทักษะชีวิต
แต่ก็ขอเน้นว่า อย่าเอาแค่สอนทักษะ; ทักษะการเผชิญปัญหา ทักษะการรับมือ Bullying...ไม่พอค่ะ
ต้องสร้าง mindset เรื่อง”คนเท่ากัน” ให้เกิดขึ้นให้ได้ นั่นคือฐานที่มั่นคงที่สุด ที่ป้องกันให้ปัญหาเหลือน้อยที่สุด
จาก mindset / attitude จึงเติมเรื่องทักษะทั้งหลาย ไม่ใช่มุ่งแต่สอนทักษะ แต่เลี่ยงที่จะพูดเรื่องที่สำคัญที่สุดของความเป็นคน
บ้านเรามันยากก็ตรงนี้. จะสอนเรื่องmindset ชุดนี้อย่างไร..???ในเมื่อสังคมใหญ่ไม่มี
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง ชนิกา ตู้จินดา เคยกล่าวเอาไว้ในคอลัมน์ “คลินิกคุณหมอชนิกา” นิตยสารรักลูก ถึงการเลี้ยงลูกให้มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นหรือ มี Empahty เอาไว้ดังนี้
“Empathy เป็นความเข้าใจความรู้สึกผู้อื่น ความเห็นอกเห็นใจกัน นับเป็นก้าวสำคัญแห่งมนุษยสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ (human interaction) Empathy ก่อให้เกิด Humanity ซึ่งเกิดได้กับมนุษย์ ซึ่งมีสมองพัฒนายิ่งนัก เราจะสั่งให้ลูกเป็นคนดีมีจริยธรรมไม่ได้ แต่เราสอนให้เขาเป็นได้ และบทบาทพ่อแม่สำคัญมาก”
แล้วพ่อแม่ต้องเลี้ยงลูกอย่างไรถึงจะมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
1. ตอบสนองลูกตั้งแต่ยังเล็ก เป็นการสร้าง Family Attachment หรือสายสัมพันธ์ครอบครัวระหว่างพ่อ แม่ ลูก ให้แข็งแรง เมื่อสายสัมพันธ์แข็งแรง ลูกจะมีภูมิคุ้มกันใจตั้งแต่เด็กไปจนโต