หลักสูตรปฐมวัย ตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด คือ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546 (สำหรับเด็กอายุ 3 - 5 ปี) โรงเรียนจะต้องมีการจัดการตามหลักเกณฑ์นี้
1. มีหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย และสาระสำคัญของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546 (สำหรับเด็กอายุ 3 - 5 ปี)
2. จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย
การแบ่งประเภทการศึกษาตามเกณฑ์ฐานการเรียนรู้
1. การศึกษาทางเลือกที่จดโดยครอบครัว เช่น กลุ่ม Home School
2. การศึกษาทางเลือกที่อิงกับระบบรัฐ ได้แก่ กลุ่มโรงเรียนทางเลือก
3. การศึกษาทางเลือกสายครูภูมิปัญญา
4. การศึกษาทางเลือกสายศาสนธรรม
5. การศึกษาทางเลือกที่เป็นสถาบันนอกระบบรัฐและเน้นการจัดกิจกรรมการศึกษาแก่กลุ่มเป้าหมายเฉพาะ
6. การศึกษาทางเลือกของกลุ่มการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม เช่น กลุ่มกิจกรรมแพทย์พื้นบ้าน
7. การศึกษาทางเลือกผ่านสื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้
การแบ่งประเภทโรงเรียนตามแนวการศึกษาโดยหลักการของการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศไทย จะแบ่งประเภทโรงเรียน ดังนี้
โรงเรียนทางเลือก
โรงเรียนทางเลือกในประเทศไทยเข้าไปอยู่ในระบบการศึกษาทางการ โดยมีสถานภาพเป็นโรงเรียนที่มีกฎหมายรองรับและจัดการศึกษาที่อิงกับระบบของกระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียนทางเลือกจดทะเบียนจัดตั้งเป็นโรงเรียนในสังกัดหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงศึกษาธิการ เช่น
สถานะดังกล่าวทำให้โรงเรียนทางเลือกจัดการศึกษาในโครงสร้างเดียวกับโรงเรียนทั่วไปนั่นคือตั้งแต่ขั้นอนุบาลหรือปฐมวัยไปจนถึงขั้นพื้นฐาน (ประถมศึกษาจนถึงมัธยมศึกษา) และต้องเข้ารับการประเมินคุณภาพการศึกษาจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)
โรงเรียนเตรียมความพร้อมหรือโรงเรียนทางเลือก เป็นโรงเรียนที่จะจัดกิจกรรมและดูแลกิจวัตรประจำวันให้เด็ก โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุล ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ด้วยการให้เด็กเรียนรู้อย่างสนุกสนาน ผ่านการเล่นและทำกิจกรรมที่เด็กได้ลงมือทำ
ดังนั้นจะเห็นภาพเด็กลงมือทำกิจกรรมกันอย่างเพลิดเพลิน ทั้งในและนอกห้องเรียน
กิจกรรมมีความหลากหลาย เด็กๆ ทำกิจกรรมเป็นกลุ่มย่อมบ้าง กลุ่มใหญ่บ้างเป็นรายบุคคลบ้าง สลับกันไป หากสังเกตให้ดีจะพบว่ากิจกรรมที่เด็กๆ ลงมือทำนั้นได้ผสมผสานพื้นฐานทักษะวิชาต่างๆ เช่น ภาษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ฯลฯ เข้าไปอย่างแนบเนียน จึงไม่ใช่การเล่นสนุกไปวันๆ แต่เป็นการเล่นอย่างมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ โดยมีคุณครูคอยสนับสนุนและกระตุ้นให้เด็กคิด แสวงหาคำตอบจากสิ่งที่สงสัย
การจัดสภาพแวดล้อมจะ มีมุมการเรียนรู้อยู่รอบๆ ห้องเรียน เช่น มุมบล็อก มุมบ้าน มุมเกมการศึกษา มุมศิลปะ ฯลฯ มีผลงานของเด็กปรากฏให้เห็นตามบอร์ดต่างๆ และผลงานมีความหลากหลายตามความคิด จินตนาการและความสามารถของเด็ก บรรยากาศในห้องเรียนดูผ่อนคลาย ครูและเด็กมีความสุข
โรงเรียนทางเลือก (Alternative School) จะใช้ปรัชญาและแนวคิดด้านการศึกษาค่อนข้างผสมผสานและหลากหลาย โรงเรียนทางเลือกเป็นการศึกษาแนวใหม่ ที่แหวกแนวกับระบบเดิมๆ ในโรงเรียน
แม้โรงเรียนทางเลือกจะมีหลายแนวคิด แต่สิ่งหนึ่งที่ไปในทางเดียวกันนั้นก็คือ การมุ่งเน้นให้เข้าถึง ธรรมชาติของผู้เรียน และให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการศึกษาไปพร้อมๆ กับเด็ก
ในโรงเรียนเด็กจะไม่ได้เรียนแค่การท่องจำตำรา แต่จะต้องเรียนรู้ถึงวิถีชีวิตที่ควรเป็นไปในสังคม เด็กคือศูนย์กลางการเรียนรู้อย่างแท้จริง และความรู้เกิดจากการลงมือทำจริง ครูเป็นเพียงผู้สนับสนุนและเรียนรู้ไปพร้อมกับเด็ก
โดยหลักการตามวิชาการนั้นจึงเป็นไปตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด แต่กระบวนการสอนนั้นมีความยืดหยุ่นแต่ละแห่งมีการจัดการเรียนการสอนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จึงพบว่าโรงเรียนทางเลือกเหล่านี้ไม่ได้มีการจัดตารางเรียนแยกเป็นวิชาอย่างตายตัว วิธีการสอนมีทั้งให้นักเรียนไปปลูกผัก ทำกับข้าวกินเอง วาดภาพระบายสี
โรงเรียนทางเลือก หรือ โรงเรียนบูรณาการ ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ และรูปแบบการเรียนการสอนที่นำมาประยุกต์และปรับใช้ ซึ่งก็แล้วแต่โรงเรียนจะเลือกนำมาใช้ให้เหมาะสม เช่น
โรงเรียนวิถีพุทธ (หรือ พุทธธรรมประยุกต์)
แนวคิดพุทธธรรมประยุกต์เป็นการนำหลักสำคัญในศาสนาพุทธมาประยุกต์เข้ากับการเรียนรู้เชิงวิชาการในโรงเรียนอย่างสมดุล และครอบคลุมทั้งกาย จิตใจ และปัญญา ตามแนวพุทธศาสนา เช่น
หลักไตรสิกขา เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งความรู้ในศาสตร์ต่างๆ ความรู้ในการประกอบวิชาชีพ และที่สำคัญก็คือการศึกษาและปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
การจัดการเรียนการสอนจะใช้สิ่งแวดล้อมและความเป็นธรรมชาติเป็นแหล่งการเรียนรู้ใหญ่ รวมกับการค้นคว้า การประมวลความรู้เข้ากับความคิด การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และบันทึกข้อมูล ธรรมะ มีความหลากหลายในรูปแบบต่างๆ ที่สื่อถึงคุณค่าและสามารถทำงานชิ้นนั้นๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น
โรงเรียนจะสอนคุณธรรมผ่านกิจวัตรประจำวัน โดยการบูรณาการ หลักสูตรก่อนประถมศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการเข้ากับหลักสูตรอิสลามศึกษา
เด็กๆ จะได้รับความรู้จากหลักสูตรกลางซึ่งเรียนเป็นหน่วยการเรียน และได้เรียนรู้และซึมซับวิถีมุสลิมด้วย ในการเรียนการสอนจะสอดแทรกเรื่องคุณธรรมและศาสนาอิสลามให้กับเด็ก
โรงเรียนแนวการสอนแบบมอนเตสเซอรี่ (Montessori)
เน้นการเรียนรู้เป็นรายบุคคล เรียนรู้ด้วยตนเอง มีอิสระในการเลือกทำอุปกรณ์การสอนที่ครูจัดเตรียมไว้ เพื่อเป็นการฝึกความคิดริเริ่มด้วยตนเอง เปิดโอกาสให้เด็กฝึกทำลองผิดลองถูก ซึ่งเมื่อเด็กทำได้เขาจะเกิดความภาคภูมิใจ เป็นรางวัลภายในตนเอง ที่สำคัญคือไม่เน้นบทบาทการสอนของครูมากนัก ครูจะเป็นผู้ช่วยผู้สนับสนุนอำนวยความสะดวกให้กับเด็ก
แนวคิดการสอนมอนเตสซอรี่แบ่งแยกออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
ครูผู้สอนจะต้องปรับให้เด็กสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและเหมาะสมกับแต่ละท้องถิ่น ด้วยวิธีการสอน ด้วยการทำซ้ำ หรือการสาธิตให้เด็กดูไปตามขั้นตอน ถ้าเด็กไม่เข้าใจขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง ครูจะเริ่มสาธิตให้ดูใหม่ เมื่อแน่ใจว่าเด็กเข้าใจสิ่งที่ทำให้เด็กดูแล้ว จึงจะดำเนินการขั้นตอนต่อไป
โรงเรียนแนวการการสอนแบบโครงการ (The Project Approach)
เป็นการสอนด้วยวิธีสะสมแฟ้มผลงานเด็กโดยสืบค้นข้อมูลตามเรื่องที่เด็กสนใจ ค้นหาคำตอบจากคำถามที่เกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้ เน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา คุณธรรม จริยธรรม ผ่านการสอนแบบโครงงานที่เน้นกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง ในบางโรงเรียนจะให้ความสำคัญกับการจัดกิจกรรมภาษาอังกฤษโดยเรียนกับครูชาวต่างประเทศ
เน้นให้เด็กศึกษาสืบค้นลงลึกในเรื่องที่เด็กสนใจหรือทั้งผู้สอนและเด็กสนใจ โดยเด็กเป็นผู้ลงมือปฏิบัติ สืบค้นข้อมูลเพื่อหาคำตอบจากคำถามของตนเอง ภายใต้การช่วยเหลือ แนะนำ โดยการอำนวยความสะดวกและสนับสนุนจากผู้สอน แบ่งเป็น 3 ระยะ ซึ่งในแต่ละระยะจะประกอบด้วยการอภิปราย การออกภาคสนาม การสืบค้น การนำเสนอ และการจัดแสดง
โรงเรียนแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติ (Whole Language Approach)
เป็นการสอนภาษาแบบบูรณาการผ่านการพูด ฟัง อ่าน เขียน โดยมีเด็กเป็นศูนย์กลาง เตรียมความพร้อมทุกด้านให้เด็กมีพัฒนาการทางภาษาได้ง่ายและเร็วขึ้น
นวัตกรรมนี้มีปรัชญาความเชื่อว่าการสอนภาษาให้กับเด็กนั้นต้องเป็นการสอนภาษาที่สื่อความหมายกับเด็ก ผู้สอนต้องเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งการพูด การฟัง การอ่าน การเขียน เด็กจึงจะสามารถเรียนรู้ภาษาได้ดี เด็กควรอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยภาษาที่สื่อความหมาย มีการจัดสื่อเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านกระบวนการเล่นได้อย่างเป็นธรรมชาติที่สุด ไม่ใช่การทำแบบฝึกปฏิบัติ
โรงเรียนแนวการสอนแบบวอลดอร์ฟ (Waldorf)
เน้นการสอนให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น สอนกิจกรรมฝึกทักษะ การคิดและจินตนาการ ทั้งศิลปะ ดนตรี โดยให้เด็กมีโอกาสได้ปฏิบัติจริง แนวคิดนี้เชื่อว่า เด็กปฐมวัยเรียนรู้จากการเลียนแบบ ผู้สอนต้องเป็นแบบอย่างที่ดีกับเด็ก จุดมุ่งหมายของวอลดอร์ฟ คือ ช่วยให้มนุษย์บรรลุศักยภาพสูงสุดที่ตนมี พัฒนามนุษย์ให้เป็นมนุษย์ที่ดี มีสังคมที่สมบูรณ์ โดยเน้นในเรื่องจิตวิญญาณความรู้สึก เน้นการสร้างเจตคติในตัวเด็ก เน้นสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ที่ทำจากธรรมชาติ
โรงเรียนแนวการสอนแบบนีโอ-ฮิวแมนนิสต์ (Neo-Humanist Education)
เป็นการผสมผสานกันระหว่างแนวการเรียนการสอนทางตะวันออกและความทันสมัยของทางตะวันตก โดยให้เด็กฝึกสมาธิทำโยคะไปพร้อมๆ กับใช้เสียงเพลง เป็นวิธีการสอนแบบใหม่
แนวคิดนี้เชื่อว่า เด็กเปรียบเสมือนกิ่งไม้ไผ่อ่อนๆ ที่ดัดได้ เพราะฉะนั้นจึงควรให้ความสนใจกับการศึกษาระดับอนุบาลยิ่งกว่าการศึกษาระดับใด
การจะเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้นั้นเกิดจากศักยภาพ 4 ด้าน คือ ร่างกาย จิตใจ ความมีน้ำใจและวิชาการ กระบวนการเรียนรู้จะอาศัยหลัก 4 ข้อ คือ
โรงเรียนแนวการสอนแบบเรกจิโอ เอมิเลีย (Reggio Emilia)
เน้นการสอนให้พ่อแม่ ครู เด็กและชุมชน มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ร่วมกัน มีการตั้งสมมติฐาน สำรวจ แล้วแสดงผลผ่านการวาดภาพ งานปั้น หรือการเล่นละคร เชื่อว่าเด็กแต่ละคน มีลักษณะที่เป็นตัวของตัวเอง มีศักยภาพและความสามารถในตนเองมาตั้งแต่เกิด และทุกคนเรียนรู้ไปพร้อมกัน การเรียนรู้จึงที่มีคุณค่าสำหรับเด็กมากกว่าการสอนจากครูโดยการบอกเล่า แต่สิ่งที่ดีกว่าคือ การจัดสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้มากกว่า
โรงเรียนแนวการสอนแบบพหุปัญญา (Multiple Intelligence)
เป็นการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนในลักษณะเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างสาระการเรียนรู้และความสามารถทางการเรียนรู้ที่มีอยู่ในนักเรียน โดยมุ่งเน้นให้เด็กแต่ละคนได้พัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่และได้ใช้ความสามารถได้สูงสุดซึ่งจำแนกไว้ 8 ด้าน ได้แก่
โรงเรียนแนวคิดการสอนแบบ ไฮสโคป (High/Scope)
เน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำผ่านมุมเล่นหลากหลาย ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการและการแก้ไขปัญหา โดยจะมีการแบ่งการสอนเป็นกลุ่มๆ เพื่อให้ง่ายต่อการกระตุ้นพัฒนาการแต่ละด้าน ผ่านประสบการณ์หรือศูนย์การเรียนที่หลากหลาย ด้วยวัสดุอุปกรณ์และกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก ส่งเสริมในขณะเด็กวางแผนในแต่ละวันว่าจะทำอย่างไร ปฏิบัติตามที่วางแผนและทบทวนสิ่งที่พวกเขาได้ทำ ครูใช้การสอนกลุ่มย่อยเพื่อกระตุ้นพัฒนาการการใช้คำถาม การสนับสนุนและการขยายการเรียนรู้ของเด็กๆ ไปพร้อมๆ กับการเพิ่มพูนทักษะการสื่อสาร
โรงเรียนแนววิชาการ
โรงเรียนของรัฐในที่นี้หมายถึง ศูนย์การเรียน ศูนย์พัฒนาเด็ก หรือโรงเรียนที่ใช้หลักสูตรปฐมวัย ตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด คือ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546 (สำหรับเด็กอายุ 3 - 5 ปี) ไม่เน้นเนื้อหาทางวิชาการมากเหมือนสมัยก่อน มีการเรียนการสอนแบบบูรณาการ และนำแนวคิดปรัชญาการสอนแบบต่างๆ มาประยุกต์ใช้ เช่น
โดยเน้นที่เด็กเป็นสำคัญ สนองความต้องการ ความสนใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคลและบริบทของสังคมที่เด็กอาศัยอยู่ ให้เด็กได้รับการพัฒนาโดยให้ความสำคัญทั้งกับกระบวนการและผลที่ได้รับ และผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กมากขึ้น มีการจัดการเรียนรวม ให้กับเด็กกลุ่มเป้าหมายเฉพาะซึ่งมีความต้องการพิเศษเรียนรวมในชั้นเรียนปกติ เช่น เด็กพิเศษ ที่สามารถเรียนมารวมได้ โดยทางโรงเรียนต้องเตรียมการอย่างระมัดระวัง ทั้งการเตรียมตัวผู้สอน ตัวเด็กที่จะเข้าร่วมเรียน เพื่อนๆ เด็กปกติในชั้นเรียน ผู้ปกครองเด็กพิเศษและผู้ปกครองเด็กปกติ ตลอดจนบุคคลต่างๆในสถานศึกษาและในชุมชน ผู้บริหารจะต้องดูแลให้การเรียนรวมเป็นเรื่องของชุมชน ไม่ใช่เฉพาะผู้สอนเรียนรวมและเด็กที่มีความต้องการพิเศษเท่านั้น
เป็นโรงเรียนแนววิชาการ สอนวิชาการ โดยใช้นวัตกรรม เพราะโรงเรียนสาธิต เกิดจากการนำนวัตกรรมการสอนที่นักเรียนระดับวิชาชีพ (ปริญญาตรี) ซึ่งในสมัยก่อนคือ ส่วนหนึ่งของโครงการฝึกหัดครูของวิทยาลัยวิชาการศึกษา
ปัจจุบน โรงเรียนสาธิตได้ใช้เป็นที่สังเกตการสอนและการจัดโรงเรียน เพื่อการปฏิบัติงานและฝึกสอนของนิสิตนักศึกษา เป็นสถานที่ศึกษาค้นคว้า และวิจัยเกี่ยวกับความเจริญเติบโตของเด็กและทดสอบหลักวิชาการประถมศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยมาโรงเรียนสาธิต จะจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง โดยให้ได้ปฏิบัติจริง ทดลอง สำรวจและแสดงออก ตามความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยมีครูเป็นผู้จัดประสบการณ์ ให้เด็กได้ฝึกคิด ฝึกทักษะกระบวนการ ฝึกการตัดสินใจ มีวินัย และมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง
โรงเรียนนานาชาติ (International School) เป็นโรงเรียนที่จัดการศึกษาในระบบหลักสูตรของต่างประเทศหรือหลักสูตรต่างประเทศที่ปรับรายละเอียดเนื้อหารายวิชาใหม่หรือหลักสูตรที่จัดทำขึ้นเองที่ไม่ใช่หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ และใช้ภาษาต่างประเทศเป็นสื่อในการเรียนการสอนให้กับนักเรียน โดยไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา
เด็กจะได้รับการปลูกฝังวัฒนธรรมในระดับสากลและใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลางในการสื่อสารให้กับทุกคนในโรงเรียน ซึ่งพ่อแม่นิยมให้เด็กเรียนในโรงเรียนนานาชาติ เพราะไม่ส่งลูกหลานไปเรียนไกลๆ ในต่างประเทศ และประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าเรียนในต่างประเทศ
การจัดการศึกษาของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทยก็อยู่ภายใต้การกำกับของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัย โดยโรงเรียนจัดการศึกษาตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ หรือหลักสูตรที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการ และจัดเป็นรูปแบบการศึกษาในระบบโรงเรียนประเภทสามัญศึกษา เป็นการจัดการเรียนการสอนวิชาสามัญ ในระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา
เนื้อหาสาระของการศึกษา คือ ความรู้ที่ทำให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีความสามารถทำงานเพื่อชีวิตตนเองและเพื่อผู้อื่น การศึกษาสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมนุษย์ ศักดิ์ศรี สิทธิเสรีภาพของมนุษย์และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
เน้นความสำคัญของชีวิตจิต ธรรมชาติและสังคม โดยยึดหลักคำสอนของศาสนาเป็นพื้นฐาน ประกอบกับความรู้วิทยาการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ด้านสังคม การดำเนินชีวิตในสังคม หมู่คณะอย่างมีความหมายและเป็นสุข เน้นคุณค่าของชีวิตมากกว่าวัตถุ
ลักษณะพิเศษของโรงเรียนคาทอลิกตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อทางศาสนาที่ประยุกต์เข้ากับวัฒนธรรม พัฒนามนุษย์ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม โดยการสร้างบรรยากาศทางการเรียนให้เกิดเป็นวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ที่มีหลักบนความเชื่อทางศาสนา โดยมีพระคริสตเจ้าเป็นแบบฉบับ
โรงเรียนสองภาษา (Bi-Lingual) นอกจากสอนวิชาการอื่นๆ ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการแล้ว โรงเรียนจะสอนภาษาไทยกับภาษาต่างประเทศอีก 1 ภาษา ซึ่งอาจเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาจีน บางแห่งมีการสอนถึง 3 ภาษา ทั้งไทย-อังกฤษ-จีน เป็นทางเลือกสำหรับผู้ปกครองที่ต้องการมุ่งเน้นพัฒนาทักษะทางภาษาให้เด็ก
นักวิชาการสนับสนุนให้เด็กเรียนรู้ภาษาที่สอง ตั้งแต่ยังเล็กๆ หากยิ่งเริ่มเรียนรู้ในช่วงวัยอนุบาลก็ยิ่งดี โดยให้เหตุผลว่าจะทำให้เด็กซึมซับสำเนียงภาษา ใช้ภาษานั้นได้อย่างมีสำเนียงถูกต้อง และที่สำคัญคือเด็กจะคิดออกมาเป็นภาษานั้นโดยอัตโนมัติ แทนที่จะต้องแปลก่อนจึงค่อยคิด โดยมีผลงานวิจัยที่บอกว่า เมื่ออายุ 5 - 8 ปี หากให้เด็กในวัยนี้เริ่มเรียนภาษาอังกฤษ รูปแบบทางเสียงภาษาอังกฤษจะไม่ทำให้รูปแบบทางเสียงภาษาไทยบิดเบือนไป เพราะสมองของเด็กมีรูปแบบทางประสาทของระบบเสียงภาษาแม่ หรือภาษาไทยที่ค่อนข้างคงตัวแล้ว สามารถแยกได้แล้วว่า เสียงในภาษาแม่เป็นอย่างไร และเสียงในภาษาอังกฤษมีลักษณะอย่างไร
นอกจากนี้นักภาษาศาสตร์ในต่างประเทศ ได้ศึกษาการเรียนรู้ภาษาของเด็ก พบว่าเด็กอายุ 4 - 5 ปี เป็นช่วงอายุที่เหมาะสมที่สุดในการเรียนภาษาที่สอง แต่ถ้าจะรอจนกระทั่งถึงระดับก็จะยากกว่าการสอนเด็กวัยเล็กซึ่งอยู่ในวัยของการรับรู้ภาษามาก เพราะศักยภาพแห่งการปรับรูปแบบหรือ ความยืดหยุ่นของสมอง (Brain Plasticity)ได้หมดไปแล้ว