โรคไหลตายในทารก โรคตายเฉียบพลัน ทารกหลับตายโดยไม่ทราบสาเหตุในเด็กทารก มักเกิดในเด็กวัย 2-4 เดือน หนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการทำให้เกิดโรค SIDS ในเด็กที่มักพบบ่อยคือ เด็กมีการนอนที่เสี่ยง
โรคตายเฉียบพลันโดยไม่ทราบสาเหตุในเด็กทารก (Sudden Infant Death Syndrome) หรือเรียกย่อๆ ว่า ซิดส์ (SIDS) เป็นที่รู้จักกันดีในประเทศพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีรายงานมากมายในประเทศสหรัฐอเมริกาถึงอัตราการตายกว่าปีละ 2,500 คน แม้ว่าจะมีการวิจัยมากมาย สุดท้ายก็ยังไม่รู้ต้นเหตุที่แท้จริง และยังไม่มีวิธีการป้องกันที่ได้ผลดี
SIDS มักเกิดในเด็กแรกเกิด- 1 ปี ส่วนใหญ่จะเกิดกับเด็กอายุ 2-4 เดือน ซึ่งเสียชีวิตขณะนอนหลับ คือนอนแล้วไม่ตื่นอีกเลย โดยที่ก่อนนอนนั้นเด็กไม่มีโรคหรืออาการผิดปกติแต่อย่างไร แต่มักพบว่า เด็กที่เสียชีวิตด้วยโรค SIDS นั้น ส่วนใหญ่มารดาสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า อายุน้อยกว่า 20 ปี ขณะตั้งครรภ์ เป็นเด็กคลอดก่อนกำหนด หรือเด็กทารกที่แรกคลอดน้ำหนักตัวน้อย และยังพบในเด็กที่อยู่ในบ้านที่มีผู้สูบบุหรี่อีกด้วย
การนอนปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญอันดับต้นๆ อีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการทำให้เกิดโรค SIDS ในเด็กที่มักพบบ่อยคือ เด็กมีการนอนที่เสี่ยงดังนี้
คุณแม่ควรเลือกชุดนอนที่หนาอบอุ่น สวมใส่ได้พอดี ทำให้ไม่ต้องใช้ผ้าห่ม หากจะใช้ผ้าห่มต้องเลือกเนื้อผ้าบาง และวิธีใช้ต้องสอดลงใต้เบาะสามด้าน (คือเด็กต้องนอนโดยเอาปลายเท้ามาชิดผนังเตียง) เพื่อไม่ให้ผ้าห่มหลุดลุ่ยมากดใบหน้าเด็ก ส่วนเครื่องนอน ของเล่น เสื้อผ้า อุปกรณ์อื่นๆ ที่มีลักษณะเส้นสายต้องไม่มีความยาวเกินกว่า 15 ซม. เพราะอาจเป็นเหตุให้เกิดการรัดคอเด็กได้
นอกจากนั้น ต้องไม่นำของเล่นชิ้นเล็กๆ หรือของเล่นประเภทอ่อนนิ่มตัวใหญ่ๆ เช่นตุ๊กตาที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งอาจตกทับกดการหายใจได้ หรือเด็กใช้เป็นฐานในการปีนป่ายจนตกเตียงได้ เช่นกัน ถึงแม้ว่าโรค SIDS จะเป็นภัยเงียบใกล้ตัวที่น่ากลัว แต่ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่จัดการนอนให้ปลอดภัย ก็จะสามารถป้องกันและลดอันตราเสี่ยงของการตายเฉียบพลันโดยไม่ทราบสาเหตุ
รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์