การเขย่าตัวทารกแรกเกิด หรือ เด็กเล็กอันตรายถึงชีวิตนะคะ ไม่ว่าจะเป็นการเขย่าเพราะเล่น อยากให้หยุดร้อง หรือ เพราะโมโหก็ไม่ควรทำเด็ดขาด กุมารแพทย์จะมาบอกให้รู้ว่า การเขยา่ตัวเด็กแม้เพียงเบาๆ ไม่กี่วินาทีอันตรายแค่ไหน พร้อมแนะนำวิธีปลอบให้ลูกหยุดร้องได้อย่างใจเย็น และ ได้ผลค่ะ
ภาวะที่มักพบในเด็กที่อายุน้อยกว่า 1 ปี ซึ่งเกิดจากการที่พ่อแม่จับลูกเขย่าแรง ๆ อาจจะด้วยความตั้งใจ หรือไม่ได้ตั้งใจก็ตาม แรงเขย่านั้นจะทำให้เนื้อสมองกระแทกกับกะโหลกศีรษะ เส้นเลือดรอบเนื้อสมองฉีกขาด เกิดเลือดออกในสมองและอาจลุกลามไปจนทำให้เส้นเลือดในจอตาขาดได้ด้วย เพราะเส้นเลือดในสมองของเด็กเล็กยังไม่แข็งแรง โอกาสที่มีการฉีกขาดจึงมีมากกว่าผู้ใหญ่
เด็กที่ตกอยู่ในภาวะสมองกระทบกระเทือนจากการถูกเขย่าตัวมีโอกาสเสียชีวิต ถึง 1 ใน 3 หรือหากรอดชีวิตอีกร้อยละ 30-40 ก็ไม่สามารถกลับมาเป็นปกติได้ โดยเฉพาะเด็กเล็กที่ยังมีกล้ามเนื้อคอไม่แข็งแรง ยังไม่สามารถพยุงศีรษะตัวเองได้ หากถูกเขย่าอย่างรุนแรง จะทำให้เกิดกลุ่มอาการเด็กถูกเขย่า หรือภาษาอังกฤษ เรียกว่า Shaken Baby Syndrome เรามาทำความรู้จัก และเรียนรู้วิธีป้องกันภาวะนี้กันค่ะ
หากมีอาการเหล่านี้ ควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์ และควรแจ้งด้วยว่าเด็กได้รับการเขย่าตัวอย่างรุนแรง เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยและรักษาทันเวลา ผลที่อาจตามมาในระยะยาวหากไม่ได้รับการรักษาทันที คือ ตาบอด พัฒนาการช้าลง ชัก เป็นอัมพาต หรือเสียชีวิตได้
สรุปแล้ว Shaken baby syndrome หรือกลุ่มอาการเด็กถูกเขย่า ทำให้เด็กได้รับบาดเจ็บ และเป็นภาวะใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้ทุกบ้านค่ะ โดยเฉพาะครอบครัวที่มีเด็กวัยต่ำกว่า 1 ปี หากพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดู รู้เท่าไม่ถึงการณ์เขย่าตัวลูก ไม่ว่าจะเพราะเล่น หรือโมโหที่ลูกร้องไห้ ก็อาจทำให้เด็กได้รับบาดเจ็บจนถึงแก่ชีวิตได้นะคะ
หากไม่พบสาเหตุ ให้ลองอุ้ม ปลอบ หรือ เบี่ยงเบน ชวนให้เด็กสนใจสิ่งอื่น
พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู ต้องมีจิตใจที่เข้มแข็ง หนักแน่น พยายามเข้าใจว่าเด็กยังสื่อสารด้วยคำพูดไม่ได้จึงต้องใช้วิธีการร้อง แต่หากคิดว่าควบคุมอารมณ์ตนเองไม่ไหวหรือหงุดหงิดมาก ควรเรียกหาคนใกล้ชิดที่ไว้ใจได้มาดูแลเด็กแทนในช่วงนั้น
ต้องจำไว้เสมอว่าไม่ควรเขย่าหรือทุบตีเด็ก เพราะนอกจากจะไม่ทำให้เด็กหยุดร้องแล้ว ยังจะเกิดอันตรายอย่างรุนแรงกับเด็กได้
การดูแลเด็กไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ยากจนเกินไป เพราะลักษณะของเด็กมีหลากหลายตามพื้นอารมณ์ของแต่ละคน พ่อแม่หรือคนเลี้ยงดูจึงต้องปรับตัวตามลักษณะของเด็กด้วย พยายามไม่เปรียบเทียบกับครอบครัวอื่น ๆ หรือไปรับข้อมูลมากมายที่จะทำให้ตัวเองเครียด จำไว้เสมอว่า “เด็กแต่ละคน ไม่เหมือนกัน”
ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงต้องดูแล สังเกต เอาใจใส่ลูกของเรา เพื่อจะได้รู้จังหวะและลักษณะของเขา เราจะได้ไม่เครียดและสนุกกับการเลี้ยงลูก คอยติดตามพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกในแต่ละวันอย่างมีความสุขค่ะ เหนื่อยแต่ก็คุ้มค่าค่ะ
รักลูก Community of The Experts
พญ.สินดี จำเริญนุสิต
กุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม