ลูกวัย 9 เดือนมีพัฒนาการอย่างไร ก่อนจะส่งเสริมพัฒนาการให้ลูกได้อย่างถูกต้อง คุณพ่อคุณแม่มาเช็กกันก่อนสักนิดว่าพัฒนาการเด็กวัย 9 เดือนของเราโตแค่ไหนแล้ว
ลูกเริ่มคลานมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว เวลานี้คือเวลาที่ลูกจะเริ่มตั้งไข่และพร้อมที่จะยืนได้เพียงลำพัง แต่การก้าวเดินยังไม่มั่นคงนัก โดยมากจะเป็นการยืนนิ่งๆ ย่อตัว และนั่งลงมากกว่า ลูกจะมีความสุขมากที่ตัวเองยืนได้แล้ว และนอกเหนือจากการยืนลูกจะชอบการเหนี่ยวและการดึงเพื่อเป็นหลักให้ตนเอง ดังนั้นจึงเป็นช่วงพัฒนาการที่คุณพ่อคุณแม่ควรระมัดระวังอุบัติเหตุต่าง ๆ โดยเฉพาะบันได ตู้ และประตู
พัฒนาการทางร่างกายของทารก 9 เดือนที่เด่นชัด ได้แก่
พัฒนาการของเด็กวัย 9 เดือนนี้จะแปลกไปสักนิด เพราะลูกจะเริ่มกลัวโดยไม่มีเหตุผล หรือจากที่เคยไม่กลัวกลับกลายเป็นกลัว ทำให้คุณพ่อคุณแม่ทำตัวไม่ถูกเหมือนกัน โดยเฉพาะการกลัวความสูงที่ค่อนข้างขัดแย้งกัน เพราะว่าเจ้าหนูชอบปีน แต่ก็จะร้องเพราะตนเองกลัวความสูง หรือกลัวสิ่งของที่เคลื่อนไหวไปมา หากลูกมีอาการกลัวคุณควรอยู่ใกล้ๆ กอดเขาแน่นๆ และบอกว่ามันไม่มีอะไร อาจจะชวนลูกลองจับสัมผัสสิ่งที่ลูกกลัว เพื่อให้ลูกรู้ว่ามันไม่มีอะไรจะสามารถทำอะไรเข้าได้ ค่อยๆ ให้ลูกเอาชนะความกลัวด้วยตัวเขาเอง คุณพ่อคุณแม่จะต้องแยกแยะให้ดีๆ เพราะบางครั้งการที่ลูกร้องไห้อาจจะไม่ได้หมายถึงความกลัวเสมอไป อาจจะเป็นเพราะความตกใจ หรือเพราะความไม่รู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรจะไขปัญหาด้วยการกอดและปลอบประโลม พร้อมหาคำตอบไปพร้อมกับเขา แล้วลูกก็จะมีความกลัวลดน้อยลง
วัยนี้ลูกจะมีความมั่นคงทางจิตใจบ้างแล้ว คุณอาจจะสังเกตได้จากการที่ลูกต้องการทำอะไรด้วยตนเอง ทำบางสิ่งซ้ำๆ ต้องการพึ่งตนเองโดยเอาประสบการณ์เก่าเข้ามาช่วยแก้ปัญหาด้วย
พัฒนาการทางอารมณ์ จิตใจของทารก 9 เดือนที่เด่นชัด ได้แก่
ด้วยร่างกายที่สามารถขยับเขยื้อนตนเองได้อย่างคล่องแคล่วแล้ว ลูกน้อยยังชื่นชอบการเข้าสังคม ดังนั้นหากทุกคนตื่นเต้นที่ลูกสามารถตั้งไข่ได้ ส่งเสียงเชียร์เวลาลูกปีน ก็จะทำให้ลูกมีกำลังใจในการฝึกฝนพัฒนาการของตนเองมากขึ้นเรื่อยๆ
พัฒนาการทางสังคมของทารก 9 เดือนที่เด่นชัด ได้แก่
ชอบเป็นคนเด่นในบ้าน ถ้าได้รับเสียงปรบมือหรือคำชมเชยจะทำซ้ำใหม่อีกครั้ง
ลูกจะลำดับความสำคัญและเรียงเหตุการก่อนหลังได้ พร้อมกับเชื่อมโยงการเล่นระหว่างสิ่งของต่างๆ ได้อย่างดีขึ้น สังเกตได้ว่าลูกจะชอบของเล่นที่มีการทำงานของมิติ อย่างเช่น บล๊อกไม้ เล่นซ่อนของ หรือแม้แต่การหยิบของลงภาชนะที่ ลูกจะเพลิดเพลินยิ่งนัก
นอกจากนี้สมองส่วนซีรีเบลลัม (Cerebellum) ยังมีการพัฒนามากขึ้น โดยสมองส่วนนี้มีหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาสมดุล การทรงตัว และช่วยให้กล้ามเนื้อของเด็กทำงานสัมพันธ์กันในการควบคุมการเคลื่อนไหว สมองส่วนนี้เองที่เมื่อพัฒนาไปด้วยดีจะช่วยให้เด็กสามารถเปลี่ยนจากคว่ำไป เป็นคลาน และจากคลานไปเป็นเดินได้ และประสานการเคลื่อนไหวอย่างอัตโนมัติ รวมถึงไขว่คว้าสิ่งของต่างๆ ได้อย่างแม่นยำอีกด้วย
พัฒนาการทางสมองของทารก 9 เดือนที่เด่นชัด ได้แก่