8 เรื่องวัคซีนโรต้า ป้องกันลูกท้องร่วงจากเชื้อไวรัสโรต้า
ไวรัสโรต้าเป็นเชื้อโรคที่ทำให้ทารก ลูกเล็กท้องร่วงค่ะ วัคซีนโรต้าคือตัวช่วยสำคัญที่ช่วยป้องกันได้ แต่ก่อนพาลูกไปรับวัคซีนโรต้า นี่คือ 8 เรื่องเกี่ยวกับวัคซีนโรต้าที่พ่อแม่ต้องรู้
8 เรื่องวัคซีนโรต้า ป้องกันลูกท้องร่วงจากเชื้อไวรัสโรต้า
- โรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้าคืออะไร และป้องกันได้อย่างไร
ไวรัสโรต้า เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งในหลายชนิดที่ก่อให้เกิดโรคท้องร่วงซึ่งอาจรุนแรงได้ มักพบในเด็กเล็ก โดยเด็กมักมีอาการไข้และอาเจียนร่วมด้วย โดยทั่วไปคาดว่าเด็กทุกคนจะติดเชื้อไวรัสนี้ก่อนอายุครบ 5 ปีไวรัสโรต้าเป็นสาเหตุประมาณครึ่งหนึ่งของโรคอุจจาระร่วงรุนแรง ที่ทำให้เด็กต้องนอนโรงพยาบาล ไวรัสนี้ระบาดได้ตลอดทั้งปีและพบมากขึ้นในช่วงฤดูหนาว เชื้อพบได้ในอุจจาระของเด็กที่เป็นโรค ติดต่อได้โดยการรับประทานนม หรืออาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ หรือการที่เด็กเอาของเล่นที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่เข้าปาก เชื้อโรต้ามักทนทานในสิ่งแวดล้อม ดังนั้นแม้จะมีสุขอนามัยที่ดี ก็ยังอาจเกิดโรคท้องร่วงจากไวรัสโรต้าได้ การหมั่นล้างมือ ล้างของเล่นจะช่วยลดโอกาสติดเชื้อไปได้มาก
โรคท้องร่วงจากไวรัสโรต้า สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน วัคซีนที่มีครอบคลุมเชื้อสายพันธุ์ที่พบบ่อย แต่ยังไม่ครอบคลุมเชื้อทุกสายพันธุ์
- วัคซีนโรต้า คืออะไร
วัคซีนโรต้า ทำมาจากเชื้อไวรัสโรต้าที่ทำให้อ่อนฤทธิ์จนก่อโรคไม่ได้ จึงมีความปลอดภัยสูง และมีประสิทธิภาพดีในการป้องกันโรค อย่างไรก็ตามวัคซีนยังคงป้องกันโรคได้ไม่สมบูรณ์ แม้จะได้รับวัคซีนก็ยังอาจเกิดโรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้าได้ แต่อาการมักไม่ค่อยรุนแรง
- ใครควรได้รับวัคซีนโรต้า และจะต้องให้กี่ครั้ง อย่างไร
เด็กที่มีภูมิคุ้มกันปกติสามารถรับวัคซีนนี้โดยการรับประทาน เด็กควรได้รับวัคซีน 2 ครั้ง หรือ 3 ครั้ง แล้วแต่ชนิดของวัคซีน โดยให้ในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า6 เดือน การให้รับประทานวัคซีนในแต่ละครั้งต้องห่างกันอย่างน้อย 4 สัปดาห์หลังจากรับประทานวัคซีน เด็กสามารถรับประทานอาหารและนมได้ตามปกติ
วัคซีนโรต้า สามารถให้พร้อมวัคซีนอื่นๆ ได้ ยกเว้นวัคซีนโปลิโอชนิดรับประทาน ซึ่งไม่ควรให้พร้อมกันควรให้วัคซีนโรต้าห่างจากวัคซีนโปลิโอชนิดรับประทาน อย่างน้อย 14 วัน หรือให้ใช้วัคซีนโปลิโอชนิดฉีดแทน
- ใครไม่ควรรับหรือควรเลื่อนการรับวัคซีนโรต้า
วัคซีนโรต้าไม่ควรให้ในเด็กที่มีอายุเกินกว่าที่แนะนำ และเด็กที่มีภาวะดังต่อไปนี้ไม่ควรรับวัคซีน
- เคยแพ้วัคซีนในการให้ครั้งก่อน
- มีอาการท้องร่วง อาเจียน หรือปัญหาทางระบบทางเดินอาหารอยู่ ควรรอให้หายก่อน
- มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- เคยมีภาวะลำไส้กลืนกัน
- หากมีไข้ไม่สบายควรเลื่อนการรับวัคซีนไปก่อน ควรรอให้หายป่วยก่อน จึงมารับวัคซีนกรณีเป็นหวัดเล็กน้อย ไม่มีไข้ สามารถรับวัคซีนได้
- อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังรับวัคซีนโรต้า
วัคซีนทุกชนิดสามารถทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้ เด็กที่ได้รับวัคซีนโรต้าอาจมีอาการท้องร่วงหรืออาเจียนภายใน 7 วันหลังรับวัคซีนได้ แต่อาการจะมีเพียงเล็กน้อยและมีโอกาสพบน้อย ไม่พบทำให้เกิดอาการข้างเคียงรุนแรง การรับวัคซีนนี้มีความปลอดภัยมากกว่าการติดเชื้อไวรัสโรต้าตามธรรมชาติ วัคซีนนี้อาจพบมีส่วนของไวรัสอื่นแต่ไม่ก่อโรคในคน
การดูแลรักษาอาการข้างเคียง หากมีไข้ให้รับประทานยาลดไข้ในขนาดที่เหมาะสม หากอาการข้างเคียงเป็นรุนแรง หรือเป็นมาก ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที และบอกอาการให้แพทย์ทราบโดยละเอียด
- วัคซีนโรต้าอยู่ในแผนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของกระทรวงสาธารณสุขหรือไม่ และใครเป็นผู้รับผิดชอบค่าวัคซีน
วัคซีนโรต้า ไม่อยู่ในแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของกระทรวงสาธารณสุข ดังนั้นผู้ปกครองของเด็กที่จะรับวัคซีนนี้ ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง
- เด็กจำเป็นต้องได้รับวัคซีนวัคซีนบีซีจีหรือไม่
ประเทศไทยกำหนดให้เด็กแรกเกิดทุกคนต้องได้รับวัคซีนบีซีจีเนื่องจากอัตราการเกิดวัณโรคในประเทศไทยยังสูงอยู่มาก
- มีสิ่งที่ต้องปฏิบัติอื่นๆ หรือไม่
เนื่องจากวัคซีนป้องกันวัณโรค มีประสิทธิภาพไม่สมบูรณ์ แม้ฉีดแล้วยังมีโอกาสเป็นวัณโรคได้ หากได้รับเชื้อ ดังนั้นการระวังไม่ให้รับเชื้อวัณโรคจึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ควรนำผู้ที่ทราบหรือสงสัยว่าเป็นวัณโรคมารับการตรวจรักษาควรหลีกเลี่ยงอย่าให้เด็กอยู่ใกล้ผู้ที่เป็นวัณโรค หรือสงสัยว่าเป็นวัณโรค เช่น ผู้ที่มีอาการไอเรื้อรัง จนกว่าจะรักษาหายแล้ว หากเด็กได้ใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นวัณโรคควรให้มารับการตรวจโดยเร็ว เพื่อพิจารณาให้ยาป้องกันวัณโรคต่อไปผู้ปกครองควรพาเด็กมารับวัคซีนตามกำหนดเวลาที่แพทย์แนะนำเสมอ ในกรณีที่ไม่สามารถมารับวัคซีนได้ตามที่กำหนด ควรรีบมารับทันทีที่ทำได้ผู้ปกครองควรเฝ้าสังเกตอาการของเด็กในสถานพยาบาลที่ได้รับวัคซีนอย่างน้อย 30 นาที จึงพาเด็กกลับบ้าน และควรสังเกตอาการต่อที่บ้านด้วย หากเด็กมีอาการข้างเคียงภายหลังจากการได้รับวัคซีน ผู้ปกครองควรรายงานให้แพทย์ทราบทุกครั้งก่อนการรับวัคซีนครั้งต่อไปผู้ปกครองควรเก็บบันทึกการรับวัคซีนของเด็กไว้ตลอดไป เพื่อเป็นหลักฐานว่าเด็กมีการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคใดบ้างแล้ว
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
พ.ญ.ขนิษฐา เดชตครินทร์
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตาร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย