ลูกทารกผมบาง โตขึ้นผมหนาเฉยเลย ทารกบางคนผมดำสนิท แต่พอโตสีผมเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล บางคนตอนเด็กผมตรงแต่โตแล้วผมหยักศก เรื่องนี้เรามีคำตอบค่ะ
เรื่องผมในวัยเด็กอาจสังเกตได้ว่าหลายๆ คนที่ตอนเด็กผมดูสีน้ำตาลอ่อน น้ำตาลแดง หรือดูหยักศก แต่ทำไมโตขึ้นผมเปลี่ยนเป็นสีดำเข้มหรือเหยียดตรง แม้แต่ในเด็กฝรั่งบางคนตอนเด็กมีผมสีเหลืองทอง โตขึ้นกลับมีสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำได้ บางคนที่เส้นผมเคยบางแทบไม่มี แต่เมื่อโตขึ้นกลับมีผมดกดำได้ มาดูกันว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ผมของเจ้าตัวเล็กมีความเปลี่ยนแปลง
ลักษณะของเส้นผม เช่น หยิก หยักศก หรือเหยียดตรง เกิดจากเส้นผมซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "Keratin" ซึ่งเป็นชนิดเดียวกันทั้งเส้นผมและเล็บ เส้นผมนั้นงอกจากรากผมที่อยู่ตรงท่อยาวๆ ใต้ผิวหนัง ซึ่งท่อยาวๆ ดังกล่าวเรียกว่า "Follicle" โดยทำหน้าที่กำหนดว่าผมของเราจะมีลักษณะหยิก หยักศก หรือเหยียดตรงตามพันธุกรรมที่ได้รับจากพ่อแม่ รวมทั้งการที่เราจะมีเส้นผมดกหนาหรือบางเบาด้วยค่ะ
Follicle นั้นเกือบทั้งหมดติดอยู่กับต่อมไขมัน หรือ Sebaceous Gland ซึ่งมีหน้าที่ผลิตไขมันออกมาทำให้เส้นผมเป็นมันเงางาม แต่หากมากไป เช่น ในวัยรุ่น หรือเวลาออกกำลังกาย ก็ทำให้เส้นผมมันเกินไปและดูสกปรกได้
ทั้งสองเป็นปัจจัยที่ทำให้ผมลูกเปลี่ยนแปลงได้เมื่ออายุมากขึ้น เพราะตอนเด็กเม็ดสีผลิตได้น้อย ผมลูกจึงมีสีอ่อน เมื่อโตขึ้นมีการผลิตเม็ดสีมากขึ้น ผมอาจมีสีที่เข้มดกดำกว่าตอนเด็ก และในผู้สูงอายุเม็ดสีเหล่านี้ก็จะลดจำนวนลงตามธรรมชาติ จึงเห็นเป็นผมสีเทาหรือ ผมหงอก
ปกติเส้นผมมีประมาณ 100,000 เส้น และหลุดร่วงประมาณวันละ 50-100 เส้น เส้นผม 1 เส้นมีอายุประมาณ 2-6 ปี หากได้รับการดูแลที่เหมาะสม ก็จะหลุดเองตามธรรมชาติหรือจากกการหวี การดูแลเส้นผมที่สำคัญที่สุดคือการรักษาความสะอาดค่ะ