เพราะการได้ยินเกี่ยวข้องกับพัฒนาการ และสติปัญญาของเด็ก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงจัดสิทธิประโยชน์คุ้มครองเด็กแรกเกิดที่มีภาวะบกพร่องทางการได้ยิน สำหรับเด็กไทยทุกคน
ใครมีสิทธิได้รับประโยชน์? ครอบคลุม คุ้มครองตั้งแต่อายุเท่าไหร่? มีสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง?
ฟังสิทธิประโยชน์จากสปสช. โดย พญ. กฤติยา ศรีประเสริฐ ผู้เชี่ยวชาญสายงานบริหารกองทุน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และฟังวิธีการสังเกต การรักษาเด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน โดย The Exeprt นพ. ดาวิน เยาวพลกุล นายแพทย์เชี่ยวชาญ ศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง โสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลราชวิถี
การได้ยินสังเกตยากไม่เหมือนกับแขนขา สำหรับการสังเกตในเด็กแรกเกิด ใช้วิธีดูว่าเด็กตอบสนองต่อเสียงดีหรือเปล่า สะดุ้งตกใจ เวลาเปิด ปิดประตู เสียงเรียก เสียงฟ้าร้อง สำหรับเด็ก 6เดือน เรียกแล้วหันตามเสียง ส่งเสียงอ้อแอ้ไม่เป็นคำ อายุมากกว่า 1ปี เริ่มพูดภาษา 1พยางค์ 2ขวบก็สองพยางค์สั้นๆ
หากสังเกตว่าไม่เป็นไปตามวัย หรือสงสัย ไม่ควรรอให้ถึง 2-3ขวบ แต่ถ้า 1ขวบหรือ 1ขวบครึ่งยังไม่ส่งเสียง ที่มีความหมาย ก็ไปหาหมอผู้เชี่ยวชาญได้เพื่อเช็กอย่างน้อยเป็นเรื่องการได้ยิน
ปัจจุบันเรามีวิธีการตรวจเช็กการได้ยินตั้งแต่แรกเกิดภายใน 48 ชม. มีเครื่องมือที่ใส่ไปในหูแล้วกดปุ่มดูว่าเด็กได้ยินหรือไม่ โดยเครื่องจะบอกว่าผ่านหรือไม่ผ่าน ซึ่งปัจจุบันผลักดันให้ทำกับเด็กทุกคนที่คลอดออกมา แต่เมื่อก่อนก็ไม่ได้ทำทุกราย ซึ่งถ้าทำทุกคนก็จะพบได้ตั้งแต่แรกคลอด สำหรับเด็กที่โตมาหน่อยที่เคยและไม่เคยคัดกรองมาก่อนหรืออาจจะเคย
สำหรับเด็กที่ยังไม่ให้ความร่วมมือ ก็จะวัดจากคลื่นสมอง กราฟดูว่าการตอบสนองของคลื่นสมองต่อเสียงเป็นอย่างไรเด็กที่โตมาแล้ว ตรวจเหมือนผู้ใหญ่คือใส่หูฟังครอบ แล้วให้เด็กตอบสนองต่อเสียง
การวินิจฉัยรวดเร็ว จะทำให้แก้ไขได้ทันท่วงที เมื่อทราบว่าเด็กมีปัญหาการได้ยิน ก็จะมาดูความรุนแรงของอาการว่าอยู่ในระดับไหน เริ่มต้นจะแก้ไขด้วยการพยายามทำให้ได้ยินด้วยการใส่เครื่องช่วยฟัง เครื่องที่ช่วยขยายเสียงให้ดังขึ้นแล้วดูการตอบสนองของเด็กว่าได้ยินไหม ควรทำให้เร็วที่สุด เพราะสมองต้องได้รับการกระตุ้นจึงจะได้รับการพัฒนาของศูนย์การได้ยินหรือศูนย์ภาษาของสมอง ถ้าเครื่องช่วยฟังไม่ได้ เป็นขั้นรุนแรงหรือหูหนวก ก็จะพิจารณาขั้นตอนการรักษาคือ ฝังประสาทหูเทียม
เครื่องช่วยฟังทำหน้าที่ขยายเสียง แต่ประสาทหูเทียมทำงานแตกต่าง ประกอบไปด้วยสองส่วน คือส่วนแรกที่เราผ่าตัด ฝังไปที่บริเวณใต้หนังศีรษะ โดยมีส่วนสายขดลวดนำไฟฟ้าใส่ไปบริเวณหูชั้นในเพื่อกระตุ้นเส้นประสาทของสมองส่วนที่รับการได้ยินโดยตรง อีกส่วนเป็นอุปกรณ์ที่จะอยู่ภายนอก ทำหน้าที่รับสัญญาณ มีไมโครโฟนรับเสียง แล้วแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอล สัญญาณดิจิตอลนี้จะส่งเข้าไปในเครื่องที่อยู่ด้านใน แล้วกระตุ้นเส้นประสาท และกระตุ้นสมองโดยตรง ในรายที่ไม่มีการทำงานของหูชั้นในแล้วก็เป็นวิธีที่เวิรค์อยู่ เพราะมันคือการกระตุ้นเส้นประสาทโดยตรง
สมองของคนเราพัฒนาสูงสุดเมื่ออายุ 3ขวบหรือไม่เกิน 5ปี และถ้าเลยช่วงเวลานี้ไปแล้ว สมองจะพัฒนาได้น้อย ถ้ามากระตุ้นโดยเฉพาะเสียงเมื่อ 4-5ขวบไปแล้ว สมองส่วนนั้นจะไม่พัฒนาเท่าที่ควร เพราะฉะนั้นผลการรักษาจะดีหรือไม่ดี เราต้องกระตุ้นให้เร็วที่สุด เด็กได้ยินเสียงตั้งแต่ในท้องแล้ว คลอดออกมาก็ได้ยินเสียงแล้ว กว่าที่จะพูดได้หนึ่งคำที่มีความหมาย ใช้เวลาตั้ง1ปี เพราะฉะนั้นสมองต้องพัฒนา ต้องถูกกระตุ้น คนที่ไม่ได้ยินก็จะไม่ได้พัฒนา ก็จะล่าช้าไปมาก ยิ่งรอนานผลการรักษาก็จะยิ่งแย่ลง
แนะนำพ่อแม่ในการดูแลเรื่องการได้ยินของลูก ปัญหาที่หมอเจอบ่อย คือกว่าที่พ่อแม่จะพามาคือลูกโตแล้ว ทั้งอาจจะคิดว่าไม่เป็นอะไร อาจจะแค่พูดช้าและไม่ทราบข้อมูลว่าการได้ยินรักษาได้แล้ว แล้วสามารถเปลี่ยนชีวิตเด็กได้เลย จากที่อาจจะต้องใช้ภาษามือก็เป็นเด็กที่สื่อสารและพูดกับคนอื่นได้เลย หมอแนะนำว่ามีปัญหาหรือสงสัย ก็แนะนำมาปรึกษาผู้เชี่ยวชาญได้เลย
เบื้องต้น 2564 บอร์ดสปสช. อนุมัติเด็กที่สงสัยว่าจะมีปัญหาการได้ยิน เรียกว่ากลุ่มเสี่ยง ซึ่งจะพบประมาณ 10% ของเด็กแรกเกิดที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ซึ่งต้องนำมาคัดกรองว่าจะมีปัญหาการได้ยินหรือไม่ สิทธิประโยชน์นี้ได้ตั้งแต่แรกเกิด ตรวจตั้งแรกเกิด มีอุปกรณ์ตรวจการได้ยินเบื้องต้น โดยตรวจว่าเด็กได้ยินปกติหรือเปล่า มีเครื่องมือเรียกว่า OAE ตรวจการได้ยิน ใส่เข้าไปที่หูเด็ก โดยเทสว่าผ่านไม่ผ่าน ผ่านก็กลับบ้าน แต่หากไม่ผ่าน ไม่ได้หมายความว่าจะมีปัญหา ก็จะนัดการมาตรวจติดตามอีก 2-4 สัปดาห์ เรียกว่าเป็นการคัดกรองเบื้องต้น
คำแนะนำให้ผู้ปกครองสังเกตว่าหลังจากคลอดแล้ว พัฒนาการได้ยินไปตามแนวทางการได้ยิน หากมีปัญหาสามารถพบแพทย์ เบื้องต้นแพทย์ทั่วไปประเมินได้ แต่ดีที่สุดคือพบแพยท์ หู คอ จมูก ซึ่งมีอยู่ทั่วประเทศ แต่การคัดกรองเด็กแรกเกิด จะระบุว่ามีรพ.ไหนที่เข้าร่วมโครงการคัดกรองกับสปสช.
แม้ไม่ผ่านแต่ไม่ใช่ว่าหูหนวก แต่จะตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษ ABR หรือ ASSR ซึ่งจะวินิจฉัยว่าเด็กคนนั้นมีปัญหาทางการได้ยินหรือไม่ ระดับไหน ระดับตั้งแต่เล็กน้อย ปานกลาง หรือว่ารุนแรง หรือเข้าขั้นที่เรียกว่าหูหนวก ก็จะมีการดูแลรักษาแตกต่างกันไปตามระดับ ที่สปสช.เน้นการคัดกรองการได้ยินโดยเฉพาะเด็กแรกเกิด เพราะว่าถ้าเราสามารถตรวจได้เร็ว เด็กจะเข้าสู่กระบวนการรักษารวดเร็ว เพราะเด็กหูหนวก เมื่อปล่อยไว้ระยะหนึ่งจะเป็นใบ้ ถ้าเด็กที่เป็นใบ้จะมีปัญหาทางสติปัญญา เพราะไม่สามารถได้รับเสียงไปกระตุ้นพัฒนาการ
เด็กไทยตั้งแต่แรกเกิด คัดกรองได้ฟรีเป็นสิทธิประโยชน์ ไม่ร่วมจ่าย แต่เมื่อคัดกรองแล้วมีปัญหาต้องเข้าสู่การรักษา สิทธิประโยชน์ครอบคลุมเฉพาะคนที่มีบัตรทอง แต่สิทธิราชการ ประกันสังคมก็ให้สิทธิเหมือนกัน แต่เมื่อคัดกรองแล้วจำเป็นต้องวินิจฉัยหรือรักษา ก็มีหน่วยตามสไลด์ มีทุกแห่งในแต่ละภาค ประมาณ 20-30 หน่วย การวินิจฉัยต้องใช้หมอหู คอ จมูก และนักโสตสัมผัสวิทยาในการใช้อุปกรณ์ที่ซับซ้อน อายุการใช้งานประสาทหูเทียมประมาณ 10ปี ก็จะมีอุปกรณ์เปลี่ยนตามอายุการใช้งาน ถ้ายังอยู่สิทธิก็จะดูแลไปตลอดชีวิต
สปสช.มีสิทธิประโยชน์เรื่องการฝังประสาทหูเทียม ถ้าเป็นหูหนวกเกิดจากประสาทหูไม่ทำงาน ทำงานไม่ได้ ใส่เครื่องช่วยฟังไม่ได้ แทนที่จะใช้ประสาทหูเดิมก็จะใช้อุปกรณ์ขนาดเล็กฝังบริเวณฐานกะโหลกและมีไมโครโฟนเล็กๆ และมีอุปกรณ์ภายนอกที่รับสัญญาณ เมื่อมีเสียงแทนที่จะได้ยินทางหู ก็จะได้ยินทางอุปกรณ์รับสัญญาณแปลงเป็นภาษาให้เด็กเข้าใจ
แต่ภาษาที่ผ่านประสาทหูเทียม จะไม่เป็นภาษา ก ข ค จะได้ยินเป็นเสียงสัญญาณ เด็กจะต้องถูกฝึกสอน ซึ่งช่วงที่เป็นช่วงสำคัญ คือการฝังไปอย่างเเดียว เด็กจะไม่ได้ยินทันที ต้องมีการสอนหรือการทำ mapping ซึ่งต้องเดินทางมาฝึกสอนโดยหมอกับเจ้าหน้าที่วันละ 1-2 ชม. แต่หลังจากนี้พ่อแม่ ครู จะต้องช่วยทำให้เด็กคุ้นเคยกับเครื่อง ใช้เวลาประมาณ1-2 ปี เหมือนฝึกลูกพูด ซึ่งสปสช.ร่วมกับสภากาชาด โดยสปสช.ชดเชยเรื่องอุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ ค่าผ่าตัด แต่ภาระการเดินทางทุก 2อาทิตย์ ทุกเดือน เนื่องจากรพ.ที่ทำได้เป็นรพ.ขนาดใหญ่ เช่น รพ.ประจำจังหวัดประมาณ 11 แห่ง สภากาชาดจึงร่วมกับสปสช.ให้ผู้ปกครองเบิกค่าใช้ในการเดินทางได้ บัตรทอง ดูแลครอบคลุม เมื่อเครื่องมีปัญหาในช่วง 1-2ปี สปสช.จะมีช่วยเหลือชดเชย เช่น เปลี่ยนสาย หรือไมโครโฟน ก็จะช่วยดูแลให้ คือดูแลตั้งแต่แรกเกิดไปจนตลอดชีวิต
หลังจากที่สิทธิหมดแล้วมีกระบวนการอย่างไร เรื่องการได้ยิน พ่อแม่ต้องเข้าระบบคัดกรองการได้ยิน เมื่อคัดกรองแล้ว หมอบอกว่ามีปัญหาต้องมา follow up และการ Early Detection จะสามารถทำให้เกิดการ Early Treatment กลุ่มเหล่านี้หากดูแลรักษาแต่แรก เด็กจะไม่ต้องไปอยู่รร.หูหนวก ไม่ต้องเข้าคลาสการศึกษาพิเศษ สามารถใช้ชีวิตปกติได้ ในรพ.ที่มีหมอหู คอ จมูก นักโสตสัมผัสวิทยา รพ.ก็ตื่นตัวเพราะรู้ว่าถ้าสามารถตรวจวินิฉัยแต่แรก ก็จะทำให้การรักษาเป็นไปอย่างรวดเร็ว แต่ข้อเสียคือจะต้องมีระบบการติดตามเยอะ follow up ซึ่งพ่อแม่ต้องสนใจ ทุ่มเทช่วงต้น เพราะจะกระทบกับพัฒนาการระยะยาว ในเรื่องสุขภาพของเด็ก 1. พาเด็กฉีดวัคซีน 2. ใส่หน้ากาก และเรื่องอาหาร ระวังเรื่องโรคอ้วน ให่กินอาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็ก
Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB
Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube: https://bit.ly/3cxn31u