รักลูก The Expert Talk EP.48 (Rerun): เลี้ยงลูกสไตล์หมอเดว "มหัศจรรย์แห่งการฟัง"
เปลี่ยนจาก “พูด” “บ่น” “สอน” มาเป็นการ “ฟัง” ลูก จะช่วยลดความพังในบ้าน ผ่อนคลายความเครียดและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีได้
บางบ้านหาคนฟังไม่เจอ ต่างฝ่ายต่างพูด ปากเปียกปากแฉะลูกก็ยังเป็นเหมือนเดิม ลองใช้มหัศจรรย์แห่งการฟัง แค่เริ่มต้น “ฟัง” แล้วทุกอย่างจะเปลี่ยน โดย รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเด็กและวัยรุ่น ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม
ชวนคุณพ่อคุณแม่ มาสร้างมหัศจรรย์แห่งการฟัง เพราะทุกวันนี้ที่เกิดปัญหา จริงๆ แล้วเกิดจากการที่เราไม่ฟังในปัญหาต่างๆ การสื่อสารสร้างสายสัมพันธ์ในบ้าน
การฟังเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารซึ่งกันและกัน
การสื่อสารมีอยู่ 3 รูปแบบ คือ
1.ภาษาที่เราพูดออกไป 2.การฟัง และอีกอันคือ 3.อวัจนภาษา คือ ไม่พูดออกมาแต่ดูจากท่าทางก็รู้ว่าเป็นมิตรหรือไม่เป็นมิตร สื่อสารออกมาด้วยท่าทาง ฉะนั้นการฟังถือเป็นเรื่องของการสื่อสาร การสื่อสารพลังบวกถือว่ามีความหมายมาก
การสื่อสารที่ดีต่อกันก็จะช่วยให้มิตรภาพหรือสัมพันธภาพยิ่งดี แต่ถ้าการสื่อสารไม่ดีก็จะกลายเป็นปัญหาขึ้นมาได้ด้วย แม้กระทั่งการฟังเองก็มี 3 แบบ
ระดับแรก คือฟังอย่างเดียว แต่ทุกวันนี้คือพูดอย่างเดียว ยิ่งคนเป็นแม่ บ่นมากกว่าฟัง บางบ้านหาคนฟังไม่เจอ มีแต่ต่างฝ่ายต่างพูดกันเต็มไปหมด ปากเปียกปากแฉะ เป็นประโยคที่พ่อแม่ใช้ประจำเลยว่า พูดปากเปียกปากแฉะก็ยังไม่เปลี่ยนพฤติกรรม
ระดับที่สอง คือฟังแล้วสะท้อนความรู้สึกที่ทำให้คนเล่าอยากเล่าต่อ
ระดับที่สาม คือฟังแล้วเหลาความคิด ฟังสองระดับแรกไม่ต้องฝึก ถ้าตั้งใจจริงๆ ทำได้ ไม่ต้องไปเข้าค่ายฝึกการฟัง เพราะฟังอยากเดียวถ้าเราตั้งใจฟังก็ทำได้ แต่หลายบ้านหาคนฟังไม่เจอ คนฟังกลายเป็นเด็กไป หมอจะเปรียบเทียบให้คนที่ฟังเราอยู่ตอนนี้
เคยไหมเวลาเช้าตื่นมา เราจะเปิดทีวีเป็นเพื่อนขณะที่เราทำกิจวัตรของเราไป แล้วเราก็ไม่ได้ฟังว่าทีวีพูดอะไร แล้วเราก็ทำกิจกรรมไปเรื่อยๆ ต่อเมื่อมีข่าวที่กระชากอารมณ์ขึ้นมา เราก็จะหันไปมองทีวีสักทีนึงว่าข่าวอะไร เป็นมั้ย เวลาพ่อแม่พูดมาก พูดเยอะแยะไปหมด แม้แต่ลูกเค้าก็จะทำคล้ายๆ เหมือนที่เราฟังทีวี คือเข้าหูซ้ายทะลุหูขวา พ่อแม่พูดไปเถอะเข้าซ้ายออกขวา จนแม่ถามว่าแกไม่ฟังฉันบ้างเลยหรอ ลูกก็ถามแม่พูดอะไรหรอขออีกที สังเกตเลยว่าหัวใจแห่งการรับฟังมีความหมายมาก
หมอเคยมีเคสนึง นักจิตวิทยาป่วยเป็นภาวะซึมเศร้า เราให้ยาภาวะซึมเศร้า แต่พอผ่านไปประมาณเดือนเศษ เราติดตามผลพบว่าเขามีอาการดีขึ้น หมอก็ถามว่าคุณใช้วิธีการอะไร นักจิตวิทยาเล่าว่า เขามีหน้าที่ไปเยี่ยมบ้าน เพื่อไปให้กำลังใจ แล้วมีอยู่บ้านหนึ่งเป็นผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย นอนเตียง หายใจรวยริน ไม่มีเรี่ยวแรง นักจิตวิทยาก็ทำทุกทางลูบแขน กายสัมผัส แล้วก็พยายามคุย เนื่องจากผู้ป่วยเองก็ไม่มีแรงจะโต้ตอบอะไรทั้งสิ้น
นักจิตวิทยาก็เล่าทุกอย่างจนไม่รู้จะเล่าอะไรแล้ว ก็เลยเริ่มเล่าเรื่องส่วนตัวให้กับผู้ป่วยมะเร็งฟัง แล้วสบายใจในการเล่า เพราะอะไรรู้มั้ย เพราะผู้ป่วยไม่มีแรงโต้ตอบ ฟังอย่างเดียวจริงๆ นักจิตวิทยาสบายใจอีกขั้น คือเค้ามั่นใจว่าผู้ป่วยจะไม่ไปซุบซิบนินทา และจะไม่เอาความลับเค้าไปเปิดเผย ก็เลยเล่า นักจิตวิทยาของผมดีวันดีคืนครับ จนในที่สุดหายป่วยแต่คนไข้ตาย รู้มั้ยใครเป็นคนรักษา ไม่ใช่ยานะครับ มหัศจรรย์แห่งการฟัง เห็นไหมว่าการฟังอย่างเดียวเยี่ยวยานักจิตวิทยาให้หายป่วยจากภาวะซึมเศร้าได้
ฟังให้เป็น
วันนี้กลับไปถามคุณพ่อคุณแม่ที่ฟังเราอยู่ตกลงวันๆ เราฟังเสียงหัวใจลูกไหม และเสียงของเด็กมีความหมายมาก ฟังลูก แค่เปิดใจรับฟังอย่างไม่ต้องติเตียน ฟังอย่างเดียว ฟังอย่างมีสติ ไม่ใช่แม่ทำกับข้าวไป ลูกมาสะกิด หนูทำผลงาน.......เออรู้แล้วแม่ทำกับข้าวอยู่ อย่างนี้ไม่เรียกว่าฟังในระดับแรกอย่างที่คุณหมอบอก เพราะการฟังในระดับแรกคือการฟังอย่างมีสติ ถ้าไม่พร้อมก็บอกลูกเลยว่าแม่กำลังทำกับข้าวอยู่ เดี๋ยวแม่เสร็จแล้วจะไปนั่งฟังลูกเลย ถ้าส่งสัญญาณแบบนี้ปุ๊ป แสดงว่าเรากำลังใช้ประเด็นแรก คือการฟังอย่างมีสติ แล้วฟังในระดับนี้ไม่ต้องพูดเลย ฟังอย่างเดียว
ผมยังมีคนไข้อีกหนึ่งนะ เด็กคนนี้อยู่ชั้น ม.1 แล้วสอบเข้าติดโรงเรียน ด้วยความที่เป็นเด็กผู้ชายอยากเล่นฟุตบอลมาก แล้วเขาก็ไปเตะฟุตบอล แต่เนื่องจากเพื่อนของเขาหายไปไหนไม่รู้ สรุปคือเพื่อนๆ ไปสูบบุหรี่ในห้องน้ำ แต่เด็กคนนี้ไม่ได้สูบนะ แค่อยากรู้ว่าไปไหนกัน
แต่คงเป็นคราวเคราะห์ที่ครูฝ่ายปกครองมาเจอแล้วก็รวบทั้งหมดเรียกผู้ปกครองพบรวมทั้งผู้ปกครองของเด็กคนนี้ด้วย เด็กคนนี้ก็พยายามสะท้อนว่าไม่ได้ยุ่งอะไรกับพวกนี้เลย แต่ผู้ปกครองถูกทำทัณฑ์บน แล้วครูก็ย้ำกับผู้ปกครองว่าทุกครั้งที่เจอลูก ใ้ห้ถามว่ายังคบกับเพื่อนกลุ่มเดิมอยู่ไหม ยังสูบบุหรี่อยู่หรือเปล่าทำนองนี้
ซึ่งคุณพ่อท่านนี้ทำหน้าที่ได้อย่างซื่อสัตย์มาก ก็ถามแบบนี้ทุกครั้งที่เจอหน้า ปรากฏว่าทำไปทำมาเด็กเริ่มจิตตกแล้วก็เป็นเหตุให้มาพบหมอ วันที่มาพบหมอ หมอก็ถามคุณพ่อ ว่าคุณพ่อมีเรื่องอะไรที่ไม่สบายใจ ในครอบครัวเป็นยังไงบ้างสัมพันธภาพระหว่างภรรยาเป็นยังไงบ้างพ่อก็ตอบว่า ดีไม่มีปัญหาเลย ทุกอย่างดีหมด มีเรื่องเดียวผมกลัวลูกจะติดยา แล้วหมอก็ถามว่าพ่อใช้เทคนิคอะไรถึงไม่มีปัญหาอะไรกับภรรยาเลย เขาตอบว่าผมก็ทำหน้าที่เป็นผู้ฟังอย่างเดียว หมอเลยถามว่าฟังยังไง
เขาก็เล่าเวลาภรรยาผมกลับจากที่ทำงานมีเรื่องราวเยอะแยะมากมายเขาก็จะมานั่งข้างๆ ผมก็โอบไหล่ นั่งฟังอย่างเดียว มีบ้างที่บางครั้งผมโอบไหล่และตบไปเบาๆ แล้วบอกเอาน่า เดี๋ยวเวลาผ่านไปมันจะดีเอง แล้วหมอก็ถามต่อว่าผลลัพธ์เป็นยังไง ภรรยาก็เล่าเรื่องต่างๆ เสร็จเรียบร้อย ก็เดินผิวปากสบายใจ แล้วแกก็ไปทำงานต่อ
เห็นอะไรไหมครับ หมอเลยถามคุณพ่อว่า คุณพ่อครับแล้วแบบนี้เคยทำกับลูกบ้างมั้ย คุณพ่อนิ่งเงียบเลย ไม่เคยเลย ในการที่จะนั่งลงแล้วถามว่าลูกมีเรื่องอะไรที่ไม่สบายใจ หรือมีเรื่องอะไรดีๆ มาเล่าสู่กันฟังบ้าง และทำหน้าที่ในการฟังอย่างเดียว แถมถ้าโอบไหล่เบาๆ แล้วอาจจะบอกลูก เอาน่า เดี๋ยวเวลาผ่านไป มันจะดีขึ้นเอง
การฟัง 3ระดับ
เพราะฉะนั้น ฟังในระดับที่หนึ่งคือฟังอย่างมีสติ ฟังอย่างเดียวเลย ไม่ต้องสะท้อนความรู้สึก ฟังอย่างเดียวจริงๆ ถ้าท่านทำอะไรไม่ได้ ฟังอย่างเดียวเยียวยาไปแล้วครึ่งหนึ่งแล้ว ถ้าอยากจะเติมเพิ่มสะท้อนความรู้สึกที่ดี ที่คนเล่าอยากเล่าต่อ
หมอยกตัวอย่าง เช่น ตั้ม สมัยแม่เป็นวัยรุ่นคิดเหมือนตั้มเลย ไหนลองเล่าต่อสิเกิดอะไรขึ้น อันนี้ตั้มอยากเล่ามั้ย? เอาใหม่เปลี่ยนใหม่แทนที่จะสะท้อนความรู้สึกที่ดี สมองมีแค่นี้หรอ คิดได้แค่นี้หรอ หมอไม่คิดว่าคนๆ นั้นจะเล่าต่อ
ฟังในระดับที่สองสะท้อนความรู้สึกจริงๆ พ่อแม่ทุกคนก็ทำได้ แต่โจทย์อยากคือมันสะกดอารมณ์ตัวเองไม่อยู่ คือเราก็จะรู้สึกว่าทำไมลูกไม่ดีดั่งใจอาจจะมีความรู้สึกแบบนั้น เลยทำให้มันปนเปกับความรู้สึกแล้วก็สะท้อนออกความรู้สึก แทนที่จะสะท้อนแบบดีออกมา ดีที่ลูกเล่า ก็กลายเป็นออกมากระบุงโกรธ
แต่ฟังในระดับสามอันนี้ต้องฝึกจริงๆ คือการใช้คำถามปลายเปิด ลูกรู้สึกยังไง ลูกคิดเห็นยังไง ถ้าเป็นลูกจะแก้ปัญหายังไง พวกนี้ต้องฝึก ซึ่งอันนี้เป็นมหัศจรรย์แห่งการฟัง สิ่งที่หมออยากฝากพ่อเลยคือว่า เราจะได้หัวใจของลูกกลับคืนมาทันทีที่เราใช้มหัศจรรย์แห่งการฟัง ฟังอย่างเดียว
วันนี้คุณพ่อคุณแม่ลองเปลี่ยนบุคลิกเลย เปลี่ยนจากวิธีการที่พูดปากเปียกปากแฉะ พูดแบบที่ท่านบอกปากจะฉีกถึงรูหู เปลี่ยนใหม่เป็นวันนี้ฟัง ลองดูถ้าเปลี่ยนทันทีคนแรกที่รู้สึกทันทีเลยคือลูก วันนี้แม่เปลี่ยนไป แม่ไม่เหมือนเดิม แล้วยิ่งถ้าเขาเล่าอะไรออกมา อย่าเพิ่งไปวิพากษ์วิจารณ์ ถ้าอยากจะพูอะไรออกไปก็ใช้เทคนิคเหมือนคุณพ่อคนนี้ที่เค้าโอบไหล่เบาๆ เอาน่าเดี๋ยวเวลาผ่านไปจะดีขึ้นเอง
แต่หากต้องการเหลาความคิด คำถามปลายเปิดแบบที่หมอฝากไว้ ก็คือความรู้สึก เช่น ลูกรู้สึกอย่างไร เหตุการณ์ที่เล่ามาทั้งหมดตอนนี้ แม่รู้ว่าลูกเสียใจ แม่รู้ว่าลูกโกรธ อันนี้เป็นการสะท้อนความรู้สึกเพื่อให้เค้าจับอารมณ์เค้าได้ว่าเรื่องราวที่เล่ามาแบบนี้ แม่จับความได้แล้วละว่าลูกคงรู้สึกโกรธมากใช่มั้ย พอจะบอกได้มั้ยว่าอารมณ์โกรธเกิดจากอะไร แล้วถ้าจะไม่ให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้จะจัดการอย่างไร อันนี้คือวิธีการในการเหลาความคิด
ซึ่งถ้าเราเชฟแบบนี้ไปเรื่อยๆ ต่อไปเค้าจะเป็นเจ้าของความคิด เจ้าของวิธีการจัดการโดยที่พ่อแม่เองจะทำหน้าที่รังสรรค์ค่อยๆ เหลาเค้าไปเรื่อยๆ จนในที่สุดเค้าสามารถไปในทิศทางที่บวกได้
ประสบการณ์สไตล์หมอเดว
เทคนิคในลักษณะแบบนี้หมอเคยใช้บ่อย โดยเฉพาะตัวหมอเองตอนที่ประพฤติปฏิบัติตลอดก็คือ ครั้งหนึ่งที่ลูกสาวเคยเล่าให้ฟัง ตอนเขาเรียนอยู่ชั้นมัธยมปลายคุณครูถามวิธีการจัดการความเครียดของนักเรียนแต่ละคน แต่ละคนก็จะตอบ ไปร้องเพลง ไปดูหนัง ฟังเพลง ไปเที่ยว แต่ลูกสาวตอบว่า หนูเดินเล่นกับพ่อหายเครียด ทำไมกลายเป็นอย่างนั้นละ ก็เมื่อไหร่ก็ตามที่พ่อนั่งอยู่ริมสระเป็นเวลาที่เรียกว่าเรามอบให้แล้วว่าจะเป็นผู้ฟัง แล้วก็ไม่ไปวิพากษ์วิจารณ์เราก็นั่งฟัง
วิธีการก็คือเหลาความคิด ลูกเราจะแก้ปัญหายังไงดี แล้วถ้าเป็นแบบนี้เราจะทำยังไง การโยนคำถามให้ เวลาเราโยนคำถามให้แล้วเห็นความคิดของเค้าออกมา
หมอจะยกตัวอย่างหนึ่ง คือตอนซีรส์ เรื่องฮอร์โมนวัยว้าวุ่นกลายเป็นประเด็น หมอไม่ดูเรื่องเหล่านี้นะ ก็ถามลูกสาวได้ดูไหม เขาก็บอกว่าดูทุกตอน หมอเลยให้เขาช่วยวิเคราะห์ให้พ่อหน่อยว่าดูแต่ละตอนแล้วรู้สึกอย่างไร เค้าก็สะท้อนเลยว่า เจ้าวินเป็นยังไง สไปรท์เป็นยังไง แล้วคนดูจะได้อะไร
เวลาเราฟังลูกของเราเองวิเคราะห์หนังในลักษณะนี้มันทำให้เรารู้ทันนี้ว่าลูกดูหนังอย่างคิดเป็น และเขาสามารถวิเคราะห์ได้ และบทวิเคราะห์ของเค้าก็เป็นส่วนหนึ่งตอนที่หมอเข้าไปดูจริงๆ ปรากฏก็เป็นแบบนั้นจริงๆ แล้วตอนที่มีคนมาขอข้อวิพากษ์วิจารณ์ของหมอในเรื่องนี้ ส่วนที่หมอวิพากษ์วิจารณ์ไป ต้องบอกเลยว่าเคารพความคิดเห็นของลูก ที่หมอเอามาใช้
เราสบายใจอย่างหนึ่งว่าเวลาเขาบริโภคสื่อในลักษณะนี้จะด้วยความบังเอิญหรืออะไรก็แล้วแต่ หรือจะเป็นช่วงวัยของความเป็นวัยรุ่นแล้วมีบางเรื่องที่เขาอยากรู้ หรือพอดูแล้วมันมีเนื้อหาบางเรื่องมันดูแล้วอาจจะไม่เหมาะ แต่ถ้าถูกฝึกให้เหลาความคิดไปด้วย นสื่อที่ไม่เหมาะมันจะกลายเป็นสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเขาเองได้ เป็นจุดหนึ่งที่สบายใจได้มากขึ้น
หมอจึงอยากฝากพ่อแม่ว่าหัวใจสำคัญที่สุดเราต้องรู้จักในการที่จะเป็นผู้ฟัง ช่วยลองเปลี่ยนแปลงตัวเองสักหน่อย เปลี่ยนจากที่เราพูดมาทุกวัน อย่าให้ลูกปฏิบัติกับเราเหมือนเป็นทีวีเครื่องหนึ่งที่กำลังพูดอะไรออกมาเยอะแยะ พอถึงเวลากลายเป็นว่าลูกเข้าหูซ้ายทะลุหูขวา พอถึงเวลาเราถาม แกไม่ได้ยินฉันหรอ แม่พูดอะไรนะขออีกที อย่าให้เป็นลักษณะนั้นเลย
จงใช้มหัศจรรย์แห่งการฟัง มาเป็นตัวเปลี่ยนแล้วมันสามารถเปลี่ยนแปลงได้ อะไรก็ตามที่เราคิดว่าทำยาก เริ่มต้น แล้วเราเริ่มต้นจากการเป็นผู้ฟังก่อน ฟังอย่างเดียว หมอเชื่อว่าไม่ใช่เรื่องยาก แต่ถ้าจะเอาให้เก่งขึ้นไปอีก ฟังแล้วสะท้อนความรู้สึกที่ดี ถ้าให้สุดยอดเลยคือฟังแล้วเหลาความคิดไปด้วย
Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB
Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube: https://bit.ly/3cxn31u
#รักลูกPodcast
#รักลูกTheExpertTalk
#Moms_Issues