จากงานวิจัยของยูนิเซฟล่าสุด พบว่าความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ของเด็กไทย มีแนวโน้มลดลงกว่า 30%
แล้วถ้าเด็กไทยอ่านไม่ออก กระทบอะไรบ้าง สะท้อนภาพการศึกษาไทยอย่างไร
พ่อแม่จะรับมือกับสถานการณ์นี้ได้อย่างไร ฟัง ผศ.ดร.ยศวีร์ สายฟ้ารองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เป็นผลกระทบจากโควิด รร.หลายๆ พื้นที่กระทบ ซึ่งก็เกิดการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ เด็กที่มีควาพร้อม รร.สามารถ onsite ได้ แต่ที่ไปรร.ไม่ได้แต่ online ได้ก็ยังดี แต่ที่น่าเป็นห่วงคือเด็กที่ไปรร.ไม่ได้ เรียนออนไลน์ไม่ได้ เพราะไม่เข้าถึง แม้จะมีการเรียนแบบ onhand และเรียนรู้ด้วยตัวเอง ก็จะประสบความสำเร็จยาก ทำให้เป็นการเสียโอกาสการเรียน
ปี2564 ทั้งเทอมที่ไม่ได้ไปรร. พอมาเทอมที่2 เดือนพย. ก็เปิดๆปิดๆ ซึ่งก็เป็นโจทย์ยากของรร. ซึ่งครูจะมีเป้าหมายว่าจะสอนให้เด็กเรียนรู้เรื่องและเข้าใจเรื่องอะไรบ้าง รร.ก็จะมีตัววัดมาตฐานในเนื้อหากำหนดว่าเรื่องไหนต้องได้ ปี 2563 ก็มีการคุยกันว่า ลดบางตัวที่ไม่จำเป็นลงได้ เอาเฉพาะที่จำเป็นจริงๆ ขนาดว่าจัดแล้วก็ยังไปตามเป้าหมายได้ยาก และกังวลว่าถ้าสถานการณ์แบบนี้ไปเรื่อย แต่เด็กต้องเลื่อนชั้นไปเรื่อยๆ แต่ฐานที่ควรจะแน่นมันไม่แน่น พอไปชั้นสูงขึ้นเนื้อหายากขึ้น ซับซ้อนขึ้น ขณะที่รากฐานไม่แน่นโอกาสที่จะประสบความสำเร็จการเรียนรู้ก็จะยาก นี่ละเป็นสิ่งที่กังวล ก็ขอให้ปี 2565 ให้ดีขึ้น นั่งโต๊ะห่างๆ
เพราะเราเสียดายโอกาสกับเด็ก ยิ่งเป็นเด็กประถมต้น ส่วนเด็กอนุบาลก็มีข้อกังวลใจว่าด้วยความที่ไม่ได้ไปรร. การเรียนรู้เนื้อหาวิชาการไม่ค่อยห่วง เพราะเนื้อหาไม่ได้เน้น แต่ที่กังวลคือพัฒนาการด้านภาษา ทักษะทางสังคม เพราะเป็นช่วงที่เวลาที่ถ้าไม่รับการเติมเต็ม ในช่วงเวลาที่ควรจะได้ ช่องทางหรือหน้าต่างที่จะพัฒนาเรื่องนี้ก็จะค่อยๆ ถูกปิดลง ทำให้ตัวตน บุคลิกลักษณะของเขาก็จะฟอร์มเป็นแบบนั้นเลย ซึ่งเรากังวล
เวลาที่เราพูดถึงผลกระทบการเรียนรู้ในช่วงโควิด เราไม่ได้โฟกัสเรื่องวิชาการ แต่เราห้วงมิติอื่นๆอย่างทักษะทางสังคม ถ้าไม่ได้มารร.ไม่ได้เล่นกับเพื่อน ก็จะเกิดไม่ได้ ยิ่งเด็กเกิดน้อย หรืออยู่คอนโด และไม่ได้เล่นกับใคร ทำให้เกิดข้อจำกัด และเกิดผลกระทบเกิดขึ้นตามมา
ว่าตามหลักการคือ ครูต้องรู้ว่าเนื้อหาที่สอนไปมีเด็กกี่% ที่บรรลุได้ และมีเด็กกี่% ที่เป็นพื้นที่สีแดง ต้องยื่นมือเข้าไปช่วย ในแง่หลักการส่วนไหนที่เด็กขาดในระบบที่วิกฤต ครูต้องช่วยก่อน หาวิธีการช่วย เช่น ไปเยี่ยมที่บ้านคืออาจจะต้องสอนตัวต่อ เช่น ถ้าครูเห็นว่ามีเด็กโซนที่น่ากังวล 7 คน หาวิธีสอนตัวต่อตัว อาจจะโทรศัพท์ วันละ 5-10 นาที เป็นกลไกที่ครูช่วยเหลือเด็ก ให้เด็กอยู่ในสายตาครู ที่น่าจะช่วยเหลือได้ในช่วงนี้ 8.26 คือเด็กขาดตรงไหนรีบเติม ขึ้นอยู่กับระดับวิกฤตว่าขาดตรงไหนมากตรงไหนน้อย ท้ายที่สุดเป็นหน้าที่ครูที่จะต้องเติมให้เต็ม เพราะเป็นฐานในระดับชั้นที่สูงขึ้นต่อไป
เพราะธรรมชาติของการเรียนรู้ในสองระดับจะมีความแตกต่างกัน พอมันแตกต่างกันเด็กต้องใช้พลังในการปรับตัวเยอะ แต่ถ้าช่วงการปรับตัวเด็กไม่เคยกับสภาพแวดล้อมจริงเลย อย่างเด็กที่มาจากอ.3 ไป ป. 1 ยังไม่เคยเจอห้องเรียนเลย ทำให้การรับรู้เข้าคือห้องเรียนคือผ่านจอ ไม่รู้จักเพื่อน เป็นการรับรู้ของเด็กว่าชั้นเรียนป.1 เป็นแบบนั้น ซึ่งไม่ใช่ของจริง ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือจากครูหรือไม่ได้การดูแลใกล้ชิด ทำให้คอนเซ้ปต์ของรร.ที่มีต่อรร.มันหายไป
ระบบของการเรียนนานาชาติ
หลายรร. จัดทีมสนับสนุนการเรียนรู้ Learning Support โดยสำรวจแล้วรู้ว่าเด็กขาดเรื่องอะไรบ้าง มีบทเรียน หรือskill อะไรหายไปบ้าง และใช้ระบบการสนับสนุนนี้เข้าไปช่วยเหลือเด็ก เเพราะเชื่อว่าระบบการช่วยเหลือเด็กที่ดีและมีประสิทธิภาพจะช่วยเติมฐานที่เด็กหายไปได้
ตามหลักการต้องมองว่าเด็กจะช่วยเหลือยังไง และครูอาจจะต้องทำงานหนัก หรือพ่อแม่สังเกตและดูว่าลูกยังทำเรื่องไหนไม่ได้ ก็ปรึกษาครูเพิ่มเติม ซึ่งสิ่งที่พ่อแม่กังวลอาจจะเป็นมาตรฐานจากคนข้างนอก ซึ่งครูอาจจะมีวิธีคิดมุมมองอีกแบบ ทำให้มีทิศทางในการดูแลลูกที่ชัดเจน ดีกับครู เพราะว่าครูมีโอกาสน้อยที่เจอเด็ก การแชร์จากพ่อแม่ทำให้ครูรู้ว่าจะเติมลูกยังไงบ้าง
เหมือนการเรียนเก็บหน่วยกิต ระบบนี้เป็นลักษณะเรียนที่เราสะดวก เรียนที่ไหน เรียนอะไรก็ได้ เรียนแล้วก็ประเมิน ก็เก็บคะแนนไว้ เมื่อถึงจุดหนึ่งอาจจะไปเทียบโอนว่าเรียนจบแล้ว ปัจจุบันการศึกษาบ้านเราเป็นแบบไหน การศึกษา มี 3 ลักษณะ
1.ในระบบโรงเรียนมีระยะเวลาการเรียนเปิดปิดภาคเรียน มีช่วงอายุกำหนด มีการใช้หลักสูตรที่มีโครงสร้างหลักสูตร มีการวัดประเมินผลเพื่อเลื่อนชั้น มีเกณฑ์การจบการศึกษา
2.การศึกษานอกระบบ คล้ายๆ ในระบบโรงเรียน เแต่วิธีการเรียนรู้คล่องตัว ยืดหยุ่น เช่น ไม่ได้กำหนดอายุคนเรียน เรียนวันเสาร์ อาทิตย์ เช่น การเรียนกสน. ยืดหยุ่นการสอบวัดประเมินผล การเลื่อนชั้น ช่วงเวลายืดหยุ่น เรียนวันเสาร์ อาทิตย์
3.การศึกษาตามอัธยาศัย ขึ้นอยู่กับความสนใจและความต้องการของคนเรียน เช่น อยากเรียนคอรส์เทควันโด สอบไล่ระดับ
ตามแนวนี้นั้นต้องบอกว่า การศึกษาในระบบได้รับผลกระทบโดยตรงจากโควิด ทำให้เกิด Learning Loss ในหลายมิติ หากมีการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ที่เด็กมีโอกาสในการเข้าถึงระบบการศึกษา มีความคล่องตัว ยืดหยุ่น เรียนเวลาไหน สถานที่ไหนก็ได้ และค่อยๆ เก็บเครดิตไปเรื่อยๆ ทำให้เวลาที่เด็กไม่ได้ไปรร. ได้อะไรกลับมาบ้าง นี่คือตามหลักการ
หากมองในความเป็นไปได้ ก็จะต้องมีการวางแผนภาพใหญ่เยอะ เพราะเมื่อเรามองในระบบการศึกษารร. คือจะมีเรื่องวุฒิการศึกษา ซึ่งวุฒินี้จำเป็นในการรับรองการศึกษาที่สูงต่อไป เช่น จบม.6 ถึงจะเข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งหากจะทำระบบนี้ในระบบการศึกษาในรร. ก็ต้องทำระบบการเทียบโอนวุฒิ เปรียบเหมือน Homeschool ที่มีหลักเกณฑ์ เทียบเคียงกับเด็กที่เรียนในรร.ปกติ
ซึ่งก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ เพราะการเรียนรู้ของมนุษย์ในอนาคต ไม่ได้รูปแบบรร. อาจจะเกิดขึ้นได้ แต่ยังคงไม่ใช่เร็วๆ นี้ ต้องคิดทั้งระบบและกระบวน ถึงจะเกิดประโยชน์กับผู้เรียนจริงๆ ซึ่งต้องชัดเจน มีการศึกษาวิจัยก่อน ถึงจะนำมาใช้ได้จริง
แนวโน้มการศึกษาในอนาคตจะมีพิธีรีตองน้อยลง อาจจะไม่ต้องไปรร. อาจจะไปบางวัน บางช่วง ที่เหลือ work กับครูนอกรอบ เรียนแบบยืดหยุ่น เทอมที่เปิดปิดไม่เหมือนกัน เป็นเทรนด์อนาคตที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่ง covid ทำให้สิ่งที่เกิดเร็วขึ้น และรู้ว่าการเรียนรู้เด็กหยุดนิ่งไมไ่ด้ เพราะฉะนั้นมีหนทางอะไรที่ทำให้การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดนิ่ง ต้องเลือก option นี้
มีเครื่องมือการเรียนรู้ที่ดี อ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น logic พื้นฐาน ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน อยากรู้อยากเรียน รู้จักสังเกต ตั้งคำถาม inquiry อยากรู้อะไรก็หาคำตอบของเขาเอง รู้แหล่งข้อมูลที่จะหาคำตอบได้ นี่คือสิ่งที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ทั่วๆไป ซึ่งพ่อแม่เตรียมทักษะเหล่านี้ให้ลูกได้ ไม่ตกเทรนด์
ครูยังต้องปรับตัวเลย เป็นเรื่องใหม่ หลักคิดคือ เป้าหมายคือการเรียนรู้ของเด็กต้องเกิดขึ้นเต็มตามศักยภาพของเด็กที่ควรจะได้ เพื่อลด Learning Loss
1.ครูจะไม่คาดหวังสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะไม่ยุติธรรมกับเด็ก
2.เทรนด์การศึกษาเปลี่ยน ไม่ได้มองว่าแค่เก่ง แต่เริ่มมองการพัฒนาทักษะกระบวนการที่จำเป็นสำหรับเด็ก โลกในการเรียนรู้ยุคนี้ ต่างจากสมัยเรามาก เราจะใช้ความคาดหวังเดิมมาคาดหวังกับลูกไม่ได้
3.พยายามเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับลูก
การเรียนรู้ของเด็กต้องเกิดขึ้นตลอดเวลา
รักลูก Podcast ได้ที่...
Apple Podcast : https://apple.co/3m15ytB
Spotify : https://spoti.fi/3cvAVcX
YouTube Channel : https://bit.ly/3cxn31u