จากงานวิจัยของยูนิเซฟล่าสุด พบว่าความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ของเด็กไทย มีแนวโน้มลดลงกว่า 30%
แล้วถ้าเด็กไทยอ่านไม่ออก กระทบอะไรบ้าง สะท้อนภาพการศึกษาไทยอย่างไร พ่อแม่จะรับมือกับสถานการณ์นี้ได้อย่างไร
ฟัง ผศ.ดร.ยศวีร์ สายฟ้า
รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แบ่งเป็น 2 ช่วงใหญ่ ช่วงแรก เด็กปฐมวัย และประถมศึกษาตอนต้นอายุ 6-8ปี เป้าหมายเพื่อ Learn to Read เรียนรู้เพื่ออ่านให้ออกเขียนให้ได้ เด็กปฐมวัยรู้ความหมายการอ่าน ไม่ใช่อ่านตัวหนังสือ แต่คือความสามารถของการประมวลการรับสาร ซึ่งสารที่เห็นอาจจะรูปภาพ สัญลักษณ์ สิ่งเหล่านี้ใช้ทักษะของการอ่านหมดเลย
การอ่านวัยนี้หมายถึงการ การรู้ภาพ รู้สัญลักษณ์และบอกความหมายของภาพนั้นได้ ก็เป็นพื้นฐานของการอ่านแล้ว
ประถมศึกษาตอนต้น 6-8ปี สามารถอ่านแบบอ้างอิงตามหลักการทางภาษามากยิ่งขึ้น มีการประสมคำ การแจกลูก การอ่านเพื่อเดาความหมายหรือตีความในลักษณะต่างๆ ในช่วงแรกจะเป็นการ Learn to Read เรียนรู้เพื่ออ่านให้ออกเขียนให้ได้ พอช่วงประถมปลาย ป.4 ขึ้นไปจนถึงมัธยม เป้าหมายเพื่อ Read to Learn ใช้การอ่านเป็นเครื่องมือเรียนรู้ ในชีวิตจริง ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สองของการอ่าน
สำหรับเด็กเล็ก ไม่ได้คาดหวังให้อ่านออกตามตัวหนังสือ เพราะตามธรรมชาติการรับรู้ยังเป็นการรับรู้เชิงสัญลักษณ์ ดังนั้นการตีความที่เป็นนามธรรม ตัวหนังสือ ข้อความ เป็นเรื่องที่ท้าทายมากเกินไป ถ้าอนุบาลอ่านไม่ออกไม่เป็นไร แต่เรื่องความรู้รอบตัวต้องรู้ ดูสัญลักษณ์รอบตัวได้
ชั้นประถมต้น ต้องอ่านให้ออก เจอคำใหม่ต้องรู้จักการประสมคำ เพราะเป็นพื้นฐานของการ Learn to Read เมื่อจบ ป.1 เด็กต้องอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น รู้พยัญชนะ ก-ฮ การแจกลูก สะกดคำ ต้องทำได้ในป.1 พอป.2 ต้องทำได้คล่องแคล่ว แต่ถ้าป.2 เจอคำใหม่ แจกลูก และประสมคำไมไ่ด้ ต้องกังวลแล้ว แต่สำหรับเด็กอนุบาล3 ยังไม่ต้องกังวล
ระดับการอ่านของเด็ก การอ่านมีหลายระดับ ระดับแรกๆ คือ อ่านแล้วรู้ความหมายเลย ระดับที่สอง อ่านแล้วตีความเชื่อมโยงเหตุและผล ว่าสื่ออะไร สะท้อนถึงเรื่องอะไร และคาดเดาไปถึงเรื่องอะไร ระดับที่สาม อ่านแล้ววิจารณ์ได้ สามารถประเมินและแสดงความคิดเห็น ใครทำอะไรที่ไหน ใคร ทำอะไรที่ไหน ระดับสูง อ่านสร้างสรรค์ คิด ต่อยอด จินตนาการ ไปด้วยตัวเองได้
ปัญหาการอ่านที่ต้องกังวล การอ่านไม่ออก มีหลายระดับ ซึ่งภาษาไทยเรามีพยัญชระ สระ วรรณยุกต์ การอ่านไม่ออกคือ แจกลูกสะกดคำไม่ได้ จับคู่รูปกับเสียงไมไ่ด้ จำพยัญชนะไม่ได้ เป็นปัญหาพื้นฐาน ถ้าเจอตรงนี้ต้องแก้ก่อน เพราะเมื่อไประดับการอ่านที่มากไปกว่านี้ก็ไปต่อไม่ได้
การอ่านที่มาจากการจดจำ เช่น เห็นคำว่าห้องน้ำจะมีภาพผู้ชายกับผู้หญิง เด็กจะจำเป็นภาพ แต่เมื่อถามว่าสะกดยังไง ก็จะตอบไม่ได้ คือเข้ายังแจกลูก ผสมคำไม่ได้ ซึ่งต้องกังวลตรงนี้
ส่วนของการประเมินของยูนิเซฟหรือหน่วยงานต่างๆ เขาจะไม่วัดแค่การอ่านออก แค่การแจกลูกผสมคำอย่างเดียว แต่จะดูว่าอ่านแล้ววิจารณ์ได้ไหม มีความคิดเห็นยังไง เพราะในประถมต้น เด็กควรจะอ่านแล้วบอกได้ว่านี่คืออะไร คือ Litteral Reading แต่หากเด็กยังแจกลูก ผสมคำไม่ได้ ก็จะไปไม่ถึงขั้น Litteral Reading ได้
ในชั้นประถมปลาย ตามตำราสามารถไปขึ้น critical reading ได้ คือสามารถวิจารณ์ แสดงความเห็นว่ารู้สึกยังไง แต่ถ้าแจกลูก สะกดคำไม่ได้ก็มาถึงตรงนี้ไม่ได้
ในห้องจะมีเด็กที่อ่านไม่ออกอยู่แล้วประมาณ 5-10% ซึ่งหน้าที่ของครูก็จะมีการซ่อมเสริมในช่วงเย็นๆ ในสถานการณ์ปกติก็จะมีแบบนี้ เมื่อจบปีการศึกษา เด็กทุกคนจะอ่านได้หมด ยกเว้นเด็กที่มีปัญหา LD แต่จำนวนไม่เยอะ ไม่ได้ถึงขั้นวิกฤต คือมีปัญหาเรื่องนี้อยู่แล้ว เพราะเด็กบางคนไม่ชอบการอ่านจริง แต่ชอบการเคลื่อนไหวร่างกาย ชอบวิทยาศาสตร์ ชอบการคำนวณมากกว่า เมื่อต้องอ่านก็อาจจะต้องใช้เวลานานกว่าคนอื่น พ่อแม่ต้องเข้าใจและให้เวลา
แต่ในสถานการณ์โควิดลักษณะการอ่านแจกลูก สะกดคำ ต้องอาศัยการสอนอย่างใกล้ชิดกับครู คือ ครูนำ เด็กตาม ซึ่งการสอนอ่านก็มีหลายแบบ เช่น คำว่า ต า = ตา เด็กก็จะรู้ว่า ต. คือเสียงเตอะ รวมกับ สระ า ออกเสียงรวมกันเป็นตา เป็นการสอนแบบแจกลูก คือแจกแล้วมาผสมกัน ซึ่งดูจากคลิปมันแจกลูกไม่ได้
เด็กที่เรียนออนไลน์ก็อาจจะพอได้ พูดตามได้บ้าง แต่เด็กที่ไม่มีโอกาสออนไลน์เลย น่ากังวลมากกว่า แล้วการเรียนแบบ On hand เด็กเรียนรู้ด้วยตัวเองไม่ได้
ส่วนการอ่านของเด็กป.โตขึ้นไป การอ่านขั้นสูงก็ต้องอาศัยการชี้นำ ตั้งคำถาม เพื่อกระตุ้นความคิดของเด็กให้พัฒนา ซึ่ง On hand มันยากและท้าทายกับพ่อแม่มาก ครูก็ไม่ไ่ด้คาดหวังให้พ่อแม่สอนแจกลูก สะกดคำได้ ก็จึงเป็นปัญหาที่เพิ่มเข้ามาในช่วงที่มีสถานการณ์โควิด
การแจกลูกสะกดคำ ถ้าเด็กรู้พื้นฐานแล้ว เขาจะพยายามทำให้ได้ ซึ่งก็สัมพันธ์กับภาษาการฟัง พูด ปกติคนเราจะฟังพูด แล้วเราได้คำศัพท์ แล้วคำศัพท์ที่มาจากการอ่าน เขียนมาทีหลัง
มีงานวิจัยรายงานว่าเด็กที่มีทักษะการพูด การฟังที่ดี จะมีคลังคำศัพท์เยอะ พอได้หลักการอ่านไป ประกอบกับคลังคำที่มีเยอะ เขาจะไปไวมาก ย้อนมาที่สถานการณ์ตอนนี้ เด็กก็ไม่รู้จะคุยกับใคร คลังคำมาจากไหน และด้วยสภาพแวดล้อมที่อยู่กับพ่อแม่ คำพูดก็จะวนๆ ไปมา ไม่ได้เติมคำศัพท์ใหม่ ในมุมนักวิชาการ กังวลเรื่องการแจกลูก สะกดคำ เป็นพื้นฐานที่สำคัญ เพราะถ้าตรงนี้ไม่ได้ ก็จะไม่ได้อะไร
1.สญเสียเครื่องมือในการเรียนรู้ 2.ส่งผลกับการดำเนินชีวิต เช่น เวลาทำธุรกรรมการเงิน และอาจจะถูกหลอก 3.ขาดโอกาสในการทำงานที่ดี
พ่อแม่สามารถช่วยลูกได้ เติมคลังคำศัพท์ให้ลูก ได้เรียนรู้คำใหม่ๆ เช่น อ่านนิทาน ให้ดูคลิป และดูกับลูก คุยกับลูกเยอะ ให้ได้คำศัพท์อื่นๆ ที่อยู่นอกบริบทเราได้ ปกติเด็กจะตั้งคำถามอยู่แล้วก็จะเป็นต้นทุนที่ดี เมื่อคลังคำเยอะ พอได้เรียนรู้การสะกดคำ ก็จะทำให้ลูกทำได้ดี
คุยกับลูกบ่อยๆ เยอะๆ
ก่อนจบอ.3 อายุประมาณ 5 ปี ก็ให้ลูกคุ้นเคยกับพยัญชนะ ตัวอักษร ให้เรียนจากสิ่งรอบตัว สนุกและไม่ต้องเป็นทางการ ระหว่างที่ขับรถหรือเจออะไรก็สอนเรื่องพยัญชนะลูกได้ ซึ่งภาษาคือการใช้ ก็ต้องเปิดโอกาสให้ลูกได้ใช้บ่อยๆ
ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่...
Apple Podcast : https://apple.co/3m15ytB
Spotify : https://spoti.fi/3cvAVcX
YouTube Channel : https://bit.ly/3cxn31u