น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น = จำนวนโรคที่เพิ่มขึ้น
ควบคุมน้ำหนักก่อนลูกอ้วน เพราะผลกระทบไม่ใช่แค่น้ำหนัก แต่กระทบถึงสุขภาพกายใจและพัฒนาการระยะยาว
ฟังวิธีการดูแลเมื่อลูกอ้วน โดย The Expert พญ. สิริรักษ์ กาญจนธีระพงศ์ กุมารเวชศาสตร์ โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน โรงพยาบาลนวเวช
เราพูดถึงนิยามของ โรคอ้วน ปัจจุบันเราใช้คำจำกัดความ 2 อย่าง 1. ดูน้ำหนักต่อส่วนสูงเกณฑ์มาตรฐาน หรือ Weight for Height ถ้า Weight for Height Percentile มากกว่า 95 เราถือว่าเริ่มอ้วนหรืออวบ ถ้าเกิน Percentile ที่ 99 เมื่อไหร่โรคอ้วนแล้ว แต่วิธีที่ง่ายขึ้นคือการดูดัชนีมวลกายหรือ BMI Body Mass Index ที่เราคุ้นเคยคือการดูน้ำหนักต่อความสูงยกกำลังสองที่เป็นเมตรถ้าอยู่ที่ Percentile 86-95 เรียกว่าอวบ ถ้าเกิน Percentile ที่ 95 เรียกโรคอ้วนเหมือนกัน
ซึ่งสาเหตุโรคอ้วนไม่ได้มาจากสิ่งแวดล้อมอย่างเดียวมีเรื่องของพันธุกรรม กรรมพันธุ์ด้วยบางคนอ้วนตั้งแต่เกิดแล้วก็เป็นโรคกรรมพันธ์อย่างหนึ่ง หรือบางกลุ่มก็อาจจะเกี่ยวกับเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อการหลั่งฮอร์โมนที่ผิดปกติ แต่ในหัวข้อที่เราคุยกันวันนี้น่าจะเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอย่างเดียว สิ่งแวดล้อมที่พูดถึงคือไลฟ์สไตล์ทั่วไป หรือที่เราสงสัยว่าไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง ในยุคโควิดเด็กเรียนออนไลน์ที่บ้านการออกกำลังกายลดลง
เพราะคุณพ่อคุณแม่จะกังวลการออกนอกบ้านของเด็กๆ รวมถึงเด็กเรียนออนไลน์นั่งอยู่เฉยๆ การขยับเขยื่อนเคลื่อนไหวรางกายลดลง พวกเมตาบอลอซึมก็ลดลง เดี๋ยวนี้มีเดลิเวอร์รี่เด็กก็หาอาหารทานกันสะดวกขึ้นการควบคุมอาหารก็จะลดลงก็เป็นความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคอ้วนได้ในปัจจุบัน
จริงๆ ในเด็กเราต้องพูดถึงพัฒนาการก่อนเรื่องของการกระทบ เราแบ่งพัฒนาการออกเป็น 2 ส่วน คือร่างกายกับเรื่องของจิตใจและอารมณ์
ด้านร่างกายหลักๆ อ้วนก็คือรูปร่างก็จะดูอ้วน ส่วนทางด้านร่างกายตรงๆ เลยพัฒนาการก็จะเกี่ยวกับเรื่องกล้ามเนื้อกระดูกและข้อ เด็กที่มีน้ำหนักตัวเยอะน้ำหนักจะกดที่กระดูกข้อเข่ากับข้อเท้าก็จะเกิดภาวะขาโก่ง Blount Disease ก็จะเห็นว่าเด็กที่น้ำหนักตัวเยอะก็จะดูขาโก่ง อีกกลุ่มหนึ่งจะเห็นไขมันสะสมบริเวณต้นขาเยอะ กลุ่มนี้จะข้อสะโพกหลุดค่อนข้างง่ายพอข้อสะโพกหลุดเด็กก็จะมีลักษณะเป็นขาฉิ่งตรงข้ามกับขาโก่งเราเรียก Knock knee กลุ่มนี้พอเดินบ่อยๆ จะสะดุดล้มค่อนข้างง่ายกระดูกก็หักง่ายเช่นกัน นี่คือผลกระทบโดยตรงของลักษณะพัฒนาการด้านร่างกาย
ส่วนเรื่องของจิตใจและอารมณ์เป็นอะไรที่เลี่ยงไม่ได้ เด็กที่เป็นโรคอ้วนเขาจะมีปัญหาเรื่องการหายใจอยู่แล้วเรารู้จักกันบ่อยๆ OSA Obstructive Sleep Apnea กลุ่มนี้เขาจะหลับไม่ค่อยสนิทตอนกลางคืนหรือมีภาวะหายใจลำบากนอนกรน การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอของเขาพอมาเรียนออนไลน์หรือมาเรียนหนังสือในตอนกลางวันเขาก็จะง่วง พอง่วงเขาก็จะขาดสมาธิเด็กบางคนผลการเรียนตกลงค่อนข้างชัดเจน อีกกลุ่มคือหงุดหงิดง่ายพอเราพักผ่อนไม่พอก็จะควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้ก็จะอารมณ์เสียง่าย สุดท้ายที่เลี่ยงไม่ได้เด็กจะสูญเสียความมั่นใจจากรูปร่างของตัวเองเกิดเป็นปัญหาระยะยาวเรื่องของ Self Confident ของเขาเอง
การดูแลเริ่มจาก การควบคุมอาหาร
1.เนื่องจากคนไทยกินข้าวเป็นหลักอยู่แล้วก็เน้นการกินข้าวกล้องมีโปรตีนและใยอาหารสูงทำให้อยู่ท้อง
2.อาหารประเภทผักผลไม้ที่หลากหลายสีสันได้พวกใยอาหารจะทำให้อยู่ท้องมากขึ้น
3.สุดท้ายลดแป้งไม่ต้องงดก็ได้ และลดอาหารที่มีน้ำตาลสูงๆ ลดอาหารประเภทของทอดที่มีไขมันสูงๆ เราอาจจะหา Snack ที่เป็นกลุ่มผลไม้ให้กินก่อนก็ได้จะได้อยู่ท้อง
การดูแลต้องเน้นการออกกำลังกายเพราะสาเหตุมาจากการเคลื่อนไหวของเราที่ลดลง เพราะฉะนั้นเด็กคนหนึ่งควรมีการออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง ซึ่งจริงๆ แล้วถามว่าครอบครัวช่วยอะไรได้ คือไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการงดอาหารหรือการออกกำลังกายทำคนเดียวไม่ค่อยมีกำลังใจ ถ้าอยากให้ลูกลดน้ำหนักอย่างน้อยคุณพ่อคุณแม่ก็งดอาหารหรืออกกำลังกายไปพร้อมกับเขา ความร่วมมือภายในบ้านสำคัญมากคือถ้าทุกคนช่วยกันในบ้านแต่มีใครสักคนเผลอเอาขนมมาเก็บไว้ก็อาจจะล่อหน้าล่อตาได้อยากจะให้ทุกคนในบ้านร่วมมือไปพร้อมๆ กัน
อีกเรื่องคือการพักผ่อนให้เพียงพอ นอนดึกเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอ้วน และการนอนดึกทำให้เราหิวและถามหาตู้เย็นกันบ่อย
สุดท้ายเรื่องของการใช้อุปกรณ์อิเลคทรอนิคในปัจจุบันถ้าเราใช้นานๆ เหมือนเราไม่ได้ขยับเขยื่อน ร่างกายใช้ไปใช้มาเราก็จะหิวไปด้วย อยากให้ที่บ้านจำกัดเวลาการใช้อุปกรณ์อิเลคทรอนิคของบุตรหลานด้วย
ระยะยาวเรื่องของโรคเรื้อรังเป็นอะไรที่ควบคุมได้ยากมากถ้าเราปล่อยให้มีอาการของโรคเรื้อรัง
1.ระบบหัวใจและหลอดเลือด เด็กอ้วนจะมีเรื่องของความดันโลหิตสูงอยู่แล้วซึ่งจะทำให้หลอดเลือดมีปัญหา ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ นอกจากต้องเป็นตั้งแต่เด็กแล้วก็ยาวไปจนถึงผู้ใหญ่เลยทีเดียว ถ้ามีความดันสูงเรื่อยๆ ก็อาจทำให้ความดันในปอดสูงจะทำให้ระบบหายใจและระบบหมุนเวียนโลหิตล้มเหลวได้เฉียบพลันเลย
2.ระบบทางเดินหายใจจะเห็นว่าเด็กที่เป็นโรคอ้วนจะมีไขมันสะสมค่อนข้างเยอะเขาขยับเขยื่อนร่างกายนิดเดียวเขาก็จะเหนื่อยง่ายเพราะระบบเผาพลาญพลังงานเขามีปัญหา รวมถึงการพักผ่อนการหายใจเด็กที่เป็นโรคอ้วนมักจะหายใจค่อนข้างเสียงดังเพราะมีการอุดกั้นทางเดินหายใจ อย่างที่กล่าวไปตอนต้นอย่างโรค OSA (Obstructive Sleep Apnea) เมื่อเวลาเขานอนหรือเปลี่ยนท่านอนเขาจะหายใจลำบาก หายใจมีเสียงกรน มีเสียงวีด ซึ่งตรงนี้จะรบกวนเวลาพักผ่อนของเขา ระยะยาวทำให้เป็นโรคถุงลมโป่งตามมาได้ด้วย
3.ระบบทางเดินอาหารก็เป็นอีกระบบที่ค่อนข้างสร้างความรำคาญให้เด็กๆ เพราะคนที่เป็นโรคอ้วนเขาจะมีปัญหาเรื่องกรดไหลย้อน พอเขากินอาหารมากหน่อยหรือเปลี่ยนท่าทางเร็วหน่อย เขาจะมีลักษณะกรดไหลย้อนมีอาการแสบร้อนกลางอกอาหารย่อยยากทำให้เกิดความไม่สบายตัวขึ้นมาได้ บางคนก็จะมีนิ่วในถุงน้ำดี มีไขมันพอกในตับซึ่งพวกนี้รบกวนระบบเมตาบอลิซึมทั้งนั้นเลย เป็นความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งตับต่อเนื่องไปด้วย
4.ระบบของต่อมไร้ท่อเรารู้อยู่แล้วว่าถ้าเป็นโรคอ้วนจะมีภาวะต้านอินซูลินก็หมายความว่าเด็กจะมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จะต้องใช้ยาในการควบคุมทำให้ลักษณะคุณภาพชีวิตเปลี่ยนไปแล้วก็จะมีไขมันในเลือดสูงเหมือนผู้ใหญ่
5.กลุ่มวัยรุ่นเด็กผู้หญิงเราจะพบว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคถุงน้ำในรังไข่ ซึ่งถุงน้ำในรังไข่จะทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติ เด็กผู้หญิงบางคนจะมีสิวขึ้น ขนดก และเสียงห้าว
ทั้งหมดนี้เป็นโรคเรื้อรังที่ค่อนข้างอันตรายในเด็กที่เป็นโรคอ้วน
ในช่วง 5 ขวบปีแรกยังถือว่าเขายังเป็นเด็กอยู่เขายังสูงได้อีกเยอะเราจะเน้นในเรื่องการคุมอาหารและเน้นให้เขาสูงมาทันน้ำหนักเขาเพราะใช้เกณฑ์น้ำหนักต่อส่วนสูงเป็นตัวตัด เพราะฉะนั้นถ้าเด็กสูงได้น้ำหนักส่วนสูงก็จะบาลานซ์กัน
โตขึ้นมาอีกหน่อย 5-9 ปี เรียกว่าจะเข้าใกล้วัยรุ่นก็เน้นเรื่องการคุมอาหารให้มากขึ้นก็จะเน้นงดแป้ง งดน้ำตาล งดไขมัน และให้ออกกำลังกายมากขึ้นการกินนมก็จะมีการบังคับมากขึ้นว่าอย่างน้อยต้องเป็นนมไขมันต่ำ พร่องมันเนย
อายุมากกว่า 9 ปีขึ้นไปเราเรียกว่าเข้าวัยรุ่นแล้วจะมีเรื่องของฮอร์โมนเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องอาการแทรกซ้อนหรือระบบเรื้อรังจะเป็นได้ค่อนข้างเยอะ เราก็จะเน้นเป็นพิเศษเรื่องการคุมอาหารมีการคำนวณแคลอรี่ที่มากขึ้น คำนวณแคลอรี่ก็คือจะมีการจำกัดกลุ่มอาหารคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมันที่ชัดเจนขึ้นอีกอย่างเด็กโตแล้วเราสามารถควบคุมสิ่งเหล่านี้ได้มากขึ้น
เรารักษาเด็กที่เป็นโรคอ้วนโดยเฉพาะกลุ่มโรคอ้วนที่มีโรคเมตาบอลิซึมด้วยเราจะมี Table Time สำหรับการออกกำลังกายของแต่ละวันที่เหมาะสมด้วย ถ้ามีอาการแทรกซ้อนให้เห็นส่วนใหญ่จะรักษาควบคู่กับการใช้ยาบางคนอาจจะจำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนควบคู่กันไป อีกอย่างในเรื่องของการรักษาผ่าตัดแบบผู้ใหญ่เรายังไม่ค่อยแนะนำเท่าไหร่
เป็นกลุ่มโรคทางกรรมพันธุ์Hypothyroid Disease โรคพร่องไทรอยด์ เมื่อไหร่ที่เด็กมีภาวะของโรคอ้วนคือเกิน Percentile ที่ได้บอกไว้ตามคำจำกัดความโดยต้องมีการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม ซึ่งการตรวจระดับเมตาบอลิซึ่มในร่างกายและการตรวจฮอร์โมนเป็นสิ่งหนึ่งที่ต้องตรวจเสมอเพื่อดูว่าเขาอ้วนมาจากพันธุ์กรรมหรือโรคเดิมของเขาหรือจากไลฟ์สไตล์ของเขา
ฝากดูแลเด็กๆ ในช่วงนี้เรื่องของอาหารการกินอาหารที่มีประโยชน์ คุมแป้ง คุมน้ำตาล คุมไขมัน ดื่มนมให้เพียงพอ พักผ่อนให้เพียงพอ แล้วก็ออกกำลังกายเป็นเพื่อนลูกๆ ด้วย
หมอใช้คำว่าปริมาณแคลเซียมต่อวัน ก็คือเด็กคนหนึ่งต้องการปริมาณแคลเซียมต่อวันอยู่ที่ 600-1000 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งนมเป็นอาหารที่มีแคลเซียมค่อนข้างสูงเราเลยนิยมให้เด็กกินนม ก็จะมีเด็กที่กินนมยากหรือกินนมไม่ได้อย่างกลุ่มที่แพ้โปรตีนนมวัวหรือมีปัญหาเรื่องย่อยน้ำตาลแลคเตส หมอก็แนะนำให้กินเป็นอาหารเสริมประเภทแคลเซียมได้เลย แต่ถ้าเป็นเด็กที่ชอบกินนมเราก็เน้นเรื่องของนมไขมันต่ำ นมพร่องมันเนย เพราะไขมันต่ำแคลเซียมสูงก็จะทำให้เด็กน้ำหนักดีคุมได้ดีแล้วก็มีความสูงที่เพิ่มมากขึ้น
สำหรับเด็กที่น้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนเราให้อาหารแบบที่เรียกว่าธงโภชนาการ ธงก็จะมีลักษณะของสามเหลี่ยมหัวคว่ำปลายแหลมฐานกว้างอยู่ข้างบน มีอะไรบ้าง กลุ่มของเครื่องปรุง นม เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ แป้ง โดยที่เครื่องปรุงอยู่ล่างสุดคือใส่แค่นิดเดียว น้ำตาล เกลือ น้ำปลา ซีอิ้ว ต้องใส่ให้น้อยเราใช้วาใส่ปริมาณเพียงเล็กน้อย นม อัตราส่วนอยู่ที่ประมาณ 1-2 แก้ว หรือ 1-2 กล่อง ต่อวันเป็นอย่างต่ำ
เนื้อสัตว์เป็นอัตราส่วนเพียงเล็กน้อยก็คือ 2-4 ส่วน ผลไม้ผัก และแป้ง แป้งเรานับเป็นทัพพีอยู่ที่ 8-12 ทัพพีต่อวัน นี่คือธงโภชนาการแนะนำให้กินแบบนี้ต่อวัน ผักผลไม้เป็นตัวไฟเบอร์ทำให้อยู่ท้อง การขับถ่ายดีก็จะทำให้การเผาผลาญพลังงานดีเช่นกัน ถ้าผลไม้อยากให้กินผลไม้ที่มีรสหวานน้อยเป็นกลุ่มมันแกว ฝรั่ง ชมพู่ แก้วมังกร จะค่อนข้างอยู่ท้องดี ทริคก็คือเรากินเป็นสแนคบ่ายเหมือนกินก่อนกินอาหารพอน้องๆ อยู่ท้องก็จะไม่กินส่วนที่เป็นแป้งเยอะเกินไปเมื่อเป็นมื้อหลัก ถ้าเราปล่อยให้เขาหิวเขาจะกินเยอะขึ้น ใช่ค่ะ ทำให้กินไวด้วยและวเขาไม่รู้สึกตัวว่าเขาอิ่ม
ทริคของการกินอาหารก็คือเวลากินอาหารเราอยากให้เด็กกินช้าๆ ฉะนั้น 1 คำหมอต้องขอว่าเคี้ยวนานๆ หน่อยขอเคี้ยว 5 10 ครั้ง จะได้รู้ตัวว่าอิ่ม บางทีกินเร็วๆ ไม่รู้ตัวว่าอิ่มก็จะกินต่อได้เรื่อยๆ กินไปนับไป จะเป็นว่ากลุ่มเด็กที่เป็นโรคอ้วนจะเคี้ยงอาหารเร็วมาก เคี้ยว 2 ครั้งกลืนเลย ถ้าเคี้ยวสัก 5 ครั้ง 10 ครั้ง ก็จะ Taketime มากขึ้น
ฝากเรื่องการสังเกตเด็กๆ ของเราว่าเขาดูน้ำหนักขึ้นเร็วหรือเปล่าช่วงนี้ แล้วเขาเริ่มมีภาวะทางด้านจิตใจหรือยังว่าเขา Concern กับรูปร่างของตัวเองเมื่อไหร่ที่เขามีเป็นปัญหาแล้วเพราะว่าเขามาบอกเรา นอกนั้นเราก็ต้องสังเกตด้วยตัวของเราเองด้วยเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในระยะยาว ทั้งนี้การป้องกันที่ดีที่สุดคือการดูแลเรื่องของอาหารของครอบครัวเราและชวนกันไปออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดี
ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่...
Apple Podcast : https://apple.co/3m15ytB
Spotify : https://spoti.fi/3cvAVcX
YouTube Channel : https://bit.ly/3cxn31u