RSV ไม่ใช่แค่โรคหวัดแต่อาการรุนแรงมากกว่า เด็กรับเชื้อได้ง่ายกระทบระบบทางเดินหายใจ
มารู้จักและรับมือเจ้าเชื้อไวรัส RSV รับมือก่อนอาการรุนแรง
ฟัง The Expert รศ.นพ.พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์
รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรม
RSV เกิดจากเชื้อ ไวรัส RSV Respiratory Syncytial Virus เหมือนการติดเชื้อไวรัสที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจทั่วไป RSV มักจะเกิดการติดเชื้อในเด็ก และความรุนแรงตั้งแต่เป็นหวัดเล็กน้อย ไปจนถึงรุนแรง เช่น มีอาการลามไปที่แขนงถุงลมของปอดแล้วลงไปถึงเนื้อปอด ซึ่งก็จะทำให้เกิดอาการหอบ เวลาที่เราเห็นเด็กเป็นหวัดแล้วมีอาการไอมาก หายใจมีเสียงหวีดๆ
จริงๆ แล้วบอกได้ยาก สำหรับเด็กอายุน้อยกว่า 1ปี เพราะในครั้งแรกอาจจะเกิดจาก RSV แต่ถ้าเป็นหอบจะมีอาการซ้ำๆ หลายครั้ง ครั้งแรก RSV กระตุ้นให้เกิดอาการ ครั้งต่อไปบริเวณของหลอดลมที่เคยติดเชื้อมาแล้ว ก็อาจจะมีความไวมากเป็นพิเศษ แต่ถ้าเจอเชื้ออื่นๆ หรือมีอาการอื่น เช่น มีฝุ่นละอองกระตุ้นให้เกิดมีอาการภูมิแพ้ ก็อาจจะทำให้เกิดอาการหอบได้
อายุน้อยกว่า 1ปี อาการจะค่อยๆรุนแรง แต่อย่างไรก็ตามอาการรุนแรงก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งจากจำนวนตัวเชื้อที่ติด ร่างกายเด็กไม่ค่อยแข็งแรง สุขภาพไม่ดี การดูแลของพ่อแม่ช่วงที่เป็นโรคดูแลได้ไม่ค่อยดี ก็อาจจะทำให้เกิดความรุนแรงของโรคได้ ซึ่ง RSV เป็นโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ การป้องกันเรื่องที่ดีที่สุดและมีความสำคัญ
1.เด็กอายุน้อยกว่า 1ปี มีโอกาสเป็นมากขึ้น
2.เด็กที่ร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง เป็นโรคเรื้อรัง
3.เด็กที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำเช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคหัวใจ โรคปอดที่มีแผลในปอด ก็มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย เพราะช่วงที่มีการระบาดเชื้อก็ล่องลอยในอากาศ ทำให้ติดเชื้อได้
ดูอายุของเด็กน้อยกว่า 1 ปี อยู่ในช่วงระบาด มีอาการที่หลอดลมฝอย หลอดลมมีอาการตีบ อักเสบ เนื้อปอดอักเสบก็มีอาการ RSVได้เยอะ ซึ่งก็ดูจากอาการ หากติดไม่รุนแรงจะไม่แยกจากการติดเชื้ออาการอื่นๆ เพราะการดูแลรักษาเหมือนกัน
การติดเชื้อไวรัสทุกชนิด ทิศทางการดำเนินของโรคใกล้เคียงกัน เวลาที่มีความรุนแรงนอกจากระบบทางเดินหายใจแล้ว
หากรุนแรงมากขึ้นจะเลือกที่ไปขึ้นส่วนบน อาการแทรกซ้อน เช่น จากที่เป็นหวัดแถวๆ ลำคอ มีน้ำมูกในลำคอ อาจจะทำให้เกิดไซนัส อักเสบ หูอักเสบ สูงไปอีกอาจจะไปถึงสมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ลงส่วนล่างหรือไปที่แขนงปอดและเนื้อปอด ถ้าลงมาแล้วถึงหัวใจก็อาจจะเป็นหัวใจอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ลักษณะการติดเชื้อไวรัสจะมีทิศทางคล้ายๆ กัน
รักษาตามอาการ เพราะเซื้อไวรัสส่วนใหญ่ไม่มียารักษายกเว้นไวรัสบางชนิด รักษาตามอาการคือ มีน้ำมูก เด็กเล็กจะไม่ให้ยาลดน้ำมูก ล้างจมูก หากเป็นมากๆ แล้วเป็นเด็กโตก็อาจจะให้ยาลดน้ำมูก
ได้รับน้ำเพียงพอ การได้รับน้ำเพียงพอจะช่วยลดอาการไข้ ทำให้เสลดไม่เหนียวและขับเสมหะได้ด้วย เช็ดตัวบ่อย ดูแลตามอาการ ถ้ามีอาการหอบหืด เช่น แขนงหลอดลมมีอาการตีบ หมออาจะให้ยาขยายหลอดลมช่วย หรือถ้าปอดอักเสบก็จะรักษาปอดอักเสบด้วย เป็นการรักษาตามอาการ
เด็กที่เป็น RSV มีโอกาสเป็นโรคระยะยาว หากลงไปที่แขนงหลอดลมฝอยหรือว่าลงไปที่เนื้อปอด หายได้แต่ไม่สนิทจะมีรอยแผลที่ปอด เมื่อมีการกระตุ้น เช่น ติดเชื้อครั้งถัดไปหรือว่าอากาศเปลี่ยน มีฝุ่นกระตุ้นทำให้เกิดความไวมากขึ้น เป็นตัวหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการหอบหืด
เพราะบางทีการหายไม่สมบูรณ์ ผนังทางเดินหายใจอาจจะมีแผล เมื่อมีเชื้อโรคก็เกาะง่ายขึ้น โอกาสติดเชื้อง่ายขึ้น มีโอกาสหายขาดเมื่อโตขึ้น แข็งแรงขึ้น ไม่ติดเชื้อซ้ำร่างกายก็จะเยียวยาตัวเอง
โดยทั่วไปเมื่อมีอาการน้อยๆ ดูแลที่บ้านได้ ไม่มีอาการแทรกซ้อน สามารถดูแลที่บ้านได้ แต่เมื่อลูกป่วย การจะออกไปทำงานนอกบ้านก็จะห่วงลูก และเด็กเวลามีไข้การกินยาก็ไม่ค่อยลด ยิ่งช่วงแรกๆ ของการเกิดไข้ ต้องใช้การเช็ดตัวช่วย พอตัวแห้ง ไข้ก็กลับมาอีก
เวลาที่เด็กเป็นไข้ กินยาแล้ว เช็ดตัวแล้ว ทำไมไข้ไม่ลง เพราะได้น้ำไม่เพียงพอ เพราะเวลาที่ลูกไม่สบายก็จะกินอาหารและดื่มน้ำน้อยลง จะเห็นว่าเวลาอยู่บ้านไข้ไม่ลง แต่พอไปรพ.คืนเดียวไข้ลงเลย เพราะการขาดน้ำทำให้ไข้ไม่ลง แต่ถ้าอยูบ้านแล้วกินน้ำมากพอ ก็จะช่วยให้ไข้ลง แต่เวลาที่ป่วยก็ไม่อยากกินอะไร ทำให้เป็นภาระกับพ่อแม่ เป็นมากขึ้นก็ต้องนอนรพ. ใช้เวลาไม่เกินสัปดาห์อาการก็จะหายดี
ถ้ารู้แล้วว่าเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ คือไม่สัมผัสใกล้ชิดกับคนที่ป่วย สำหรับผู้ใหญ่เวลาติดไวรัส อาการไม่ค่อยรุนแรงเพราะเราป่วยกันมาเยอะแล้ว
1.ลดการสัมผัส การพาลูกไปที่อากาศปิด ไปเดินห้าง ดูหนัง คนเยอะ ก็มีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อ
2.ดูแลร่างกายให้แข็งแรง กินอาหารให้ครบถ้วน อาหารตามวัย มีนมเป็นอาหารเสริม ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ
3.ดูแลสุขอนามัย ล้างมือเป็นประจำ
4.ใส่หน้ากากอนามัย สำหรับเด็กที่อายุมากกว่า 2ปี เพราะตั้งแต่ใส่หน้าการเจ็บป่วยจากเชื้อไวรัสลดลง
Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB
Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube: https://bit.ly/3cxn31u