ปั๊มนมแม่ในที่ทำงานอย่างไรให้ได้นมสต๊อกสะอาด ปลอดภัย และเป็นการปั๊มนมในที่ทำงานแบบง่าย ๆ เป็นส่วนตัว เรามี 3 เคล็ดลับมาแนะนำ
3 เคล็ดลับ ปั๊มนมเเม่ในที่ทำงาน ง่าย สะอาด และเป็นส่วนตัว
อุปกรณ์ เครื่องปั๊มนมแม่ในที่ทำงาน
- เครื่องปั๊มนม
- ถุงซิปล็อคเก็บนมแม่ หรือขวดเก็บน้ำนมแม่
- ผ้าคลุมให้ห้นม
- กล่องเก็บความเย็น หรือกระติกน้ำ
- เจลน้ำแข็ง (Ice pack) หรือน้ำแข็งทั่วไป
- กล่องซุปเปอร์แวร์ (Super ware) หรือถุงพลาสติกสำหรับเก็บชุดปั๊มนมแม่
3 เคล็ดลับการปั๊มนมในที่ทำงาน
- ปั๊มนมในที่ทำงานในพื้นที่ที่เหมาะสม - หากในสถานที่ทำงานไม่มีห้องให้นมแม่หรือมุมปั๊มนมที่สะดวก คุณแม่อาจนำผ้าคลุมให้นมมาคลุมระหว่างคุณแม่ปั๊มนมได้ โดยปั๊มนมตามตารางเวลาปกติค่ะ
- ควรปั๊มนมแม่ช่วง ตี5 – 6 โมงเช้า ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายคุณแม่ผลิตน้ำนมได้มากที่สุด
- คุณแม่ควรใช้เวลาปั๊มนมแม่อย่างน้อย 10 – 15 นาที / ข้าง
- หากน้ำนมคุณแม่ออกมาได้ดีให้ปั๊มต่ออีก อย่างน้อย 20 – 30 นาที / ข้าง เพื่อลดอาการคัดเต้าระหว่างวัน
- วิธีเก็บรักษานมแม่หลังปั๊มนมในที่ทำงานเรียบร้อยแล้ว
- เก็บนมแม่ในตู้เย็นช่องธรรมดา อุณหภูมิประมาณ 0-4 ๐C สามารถเก็บได้นาน 3 – 8 วัน
- เก็บนมแม่ในตู้เย็นช่องฟรีซ อุณหภูมิประมาณ -19 ๐C สามารถเก็บได้นาน6 – 12 เดือน
- เก็บนมแม่ในกระติกน้ำ นำเจลน้ำแข็ง (Ice pack)ใส่กระติก สามารถเก็บได้นาน 24 ชั่วโมง
- วิธีการเก็บรักษาอุปกรณ์ เครื่องปั๊มนม
- สำหรับคุณแม่ที่สามารถปั๊มนมแม่ระหว่างวันได้ ควรเก็บอุปกรณ์ปั๊มนมโดยครอบอุปกรณ์ด้วยถุงพลาสติกและเก็บในกล่องเก็บอุณหภูมิ เพื่อเก็บระดับอุณหภูมิให้คงที่เสมอ (ช่วยลดขั้นตอนการล้างและนึ่งอุปกรณ์ระหว่างวัน)
- หลังเลิกงานแต่ละวัน คุณแม่ควรนำอุปกรณ์ปั๊มนมแม่ไปนึ่ง เพื่อทำการฆ่าเชื้อโรคที่อาจหลงเหลือกับอุปกรณ์ปั๊มนม
เครื่องปั๊มนม ถุงเก็บน้ำนม และ ผ้าคลุมให้นมเป็นอุปกรณ์สำคัญในการปั๊มนมสำหรับคุณแม่ที่ต้องทำงานนะคะ ปัจจุบันราคาไม่แพง มีให้เลือกหลายยี่ห้อหลายรุ่น ลงทุนซื้อครั้งเดียวแต่ใช้ได้ยาว ที่สำคัญทำให้เรามีนมแม่เลี้ยงลูกได้ยาว ๆ เลยค่ะ