1. ช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม อาจจะเป็นช่วงที่เด็กเหนื่อย ล้า ง่วง หรือ หิว จะทำให้เขาอ่อนล้าที่จะให้ความสนใจกับการเขียน หรือทำการบ้าน ลองค่อยๆ หาช่วงเวลาที่เขาพร้อม หรือผ่อนคลาย (แต่ไม่ควรเปิดการ์ตูน หรือ ทีวีให้เขาเพื่อให้ลูกผ่อนคลาย)
2. มีทีวี เกม สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต มาดึงความสนใจ เด็กในช่วงอนุบาลยังไม่ควรดูทีวี ถ้าเป็นไปได้พ่อแม่ควรงดทีวี โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าดูลักษณะว่าลูกไม่สนใจการอ่านหนังสือ หรือการเรียน เพราะภาพจากทีวีหรือจอสมาร์ทโฟนต่างๆ ที่เปลี่ยนไปมาตลอดเวลาจะทำให้เด็กขาดสมาธิ จดจ่อ
3. แบบฝึกหัดที่มีตัวหนังสือมากเกินไป ไม่มีภาพที่มีสีสัน ทำให้เด็กปวดล้าสายตา และเบื่อได้ ควรหาแบบฝึกหัดที่มีสีสันดึงดูด ใช้สีไม้ สีเทียน เพื่อการขีดเขียนแทนดินสอดำ แบบฝึกหัดควรเป็นเรื่องที่ลูกสนใจ หรือตื่นเต้น น่าติดตามทำต่อ พ่อแม่อาจลองหาสื่อการสอนจากอินเตอร์เน็ตแล้วพิมพ์ลองเอามาฝึกให้ลูกทำ
4. ใช้เวลามากเกินไป ถ้าเด็กที่มีปัญหาการอ่าน การเขียน อาจเป็นเพราะเป็นเด็กที่มีสมาธิไม่มากอยู่แล้ว ดังนั้นไม่ควรบังคับหรือใช้เวลาในช่วงการทำการบ้านของลูกมากเกินไป เพราะนานเกินก็ไม่มีประโยชน์ ควรใช้เวลาที่เหมาะสมกับความสนใจของเด็กก่อน
1. ให้ลูกเลือกการบ้านเอง ถ้ามีการบ้านหลายอย่างเปิดโอกาสให้ลูกลองเลือกที่เขาอยากทำก่อน แล้วค่อยๆสลับมาทำการบ้านที่ลูกยังไม่เลือก
2. ทำการบ้านไปกับลูกด้วย นอกจากช่วยสอนแล้ว ถ้าลูกไม่ชอบทำการบ้าน ลองเล่นเป็นเพื่อนกับลูกลองทำไปกับลูกด้วย อาจจะทำเป็นแข่งขันกับเขา แล้วแกล้งทำไม่เป็น ทำช้าๆ หรือลองให้ลูกเป็นครูสอนการบ้านเรา
3. มีคำชมเชยให้เสมอๆ ต้องชมลูกเมื่อลูกทำได้ดี หรือยอมทำ ยอมเขียน เช่น เก่งจังเลย เขียนสวย เขียนเก่งมาก แต่ไม่ควรพูดจาในด้านลบ เช่นไม่ยอมทำเดี๋ยวโง่ โตขึ้นต้องไปเป็นวัวเป็นควาย ฯลฯ ส่วนรางวัลควรมีให้นานๆ ครั้ง ไม่ควรใช้ของรางวัล ของเล่นมาหลอกล่อมากเกินไป เพราะของรางวัลบางครั้งจะทำให้เด็กขาดแรงขับจากตัวเอง แต่อาจจะอยากทำเพียงเพื่อรางวัล พอไม่มีรางวัลก็ไม่อยากทำ
4. อย่าบังคับลูก ถ้าลูกจะเขียนมั่ว เขียนผิด ขีดเขียนอะไรในสมุดแบบฝึกหัดไปบ้าง ก็ควรปล่อยให้ลูกได้ทำ ยิ่งบังคับจะยิ่งทำให้เขาต่อต้าน ไม่อยากทำ เลิกเขียนหนังสือไปเลย