เข้าใจเด็กปฐมวัย
รากฐานของมนุษย์ต้องเริ่มตั้งแต่ช่วงปฐมวัยนั่นคือหน้าต่างแห่งโอกาส (window of opportunity) ซึ่งเด็กต้องการแนวทางปฏิบัติของผู้ใหญ่ที่สุดในช่วงเวลานี้ สมองกำลังเรียนรู้และจดจำสิ่งต่างๆ เพื่อสร้างรากฐานของชีวิต พ่อแม่จำเป็นต้องเห็นคุณค่าของการเล่นมากกว่าการเรียน ห้ามพลาดช่วงเวลาทองนี้ด้วยประการทั้งปวงทั้งนี้สาระสำคัญของร่างพรบ. ฉบับที่เข้าสู่ครม. ได้สร้างหลักประกันว่าการพัฒนาของเด็กปฐมวัยของไทยจะเป็นไปตามหลักวิชาการ และเป็นไปเพื่อประโยชน์ของเด็กปฐมวัยอย่างแท้จริง ตั้งแต่การนิยามของเด็กปฐมวัยคือ 0-8 ปีซึ่งเป็นไปตามหลักการที่องค์การสากล เช่น UNICEF, UNESCO จัดให้มีการพัฒนาเด็กปฐมวัยในช่วงรอยต่อระหว่างระดับอนุบาลกับประดับประถมศึกษาอย่างต่อเนื่องและราบรื่น และอื่นๆ ที่จะมีผลต่อการทำงานครบทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย
สอบแล้วเกิดผลเสีย
มาถึงประเด็นที่ถกเถียงกันขึ้นสอบแล้วเกิดผลอย่างไรกับเด็ก
- เกิด Toxic Stress คือความเครียดที่เป็นพิษ ซึ่งเป็นผลมาจากประสบการณ์เชิงลบที่เรื้อรัง เช่น การละเลยเด็กและการทารุณกรรมเด็ก ซึ่ง รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี (ผอ.ศูนย์คุณธรรม) กล่าวว่าระบบแพ้คัดออก = การทารุณกรรมเด็ก ซึ่งเมื่อเด็กเกิดความเครียดก็ส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมอง จิตใจ ส่งผลให้พฤติกรรมเปลี่ยนไป
- ทักษะสมอง EF หายในช่วงปฐมวัยเป็นช่วงเวลาทองของการสร้าง EF แต่ถูกทำลายด้วยความเครียด ความกดดัน และกิจกรรมที่ไม่สอดคล้องกับพัฒนาการ โดยธรรมชาติของมนุษย์จะมีระบบการจัดการความเครียดได้ตามวัย แต่หากถูกทำให้เครียดก่อน จะเกิดผลเสียต่อพัฒนาการทางสมอง การเรียนรู้และอารมณ์ของเด็ก
- ระบบการสอบทำลาย จินตนาการ คุณธรรม จริยธรรม จิตใต้สำนึก แรงบันดาลใจ ศรัทธา สายใยแห่งความผูกพันในครอบครัวและตัวตนที่แท้จริงของเด็ก ชอบไม่ชอบ ไม่มีสิทธิ์เรียกร้อง ชีวิตวัยเด็กหาย
- สิทธิขั้นพื้นฐานของเด็กหายไปทั่วโลกเข้าใจตรงกันว่าระบบแพ้คัดออกในเด็กปฐมวัยเป็นการละเมิดสิทธิเด็ก และเป็นการเลือกปฏิบัติ ซึ่งหลายประเทศทั้ง ฟินแลนด์ จีน สิงค์โปร์ และมาเลเซียประกาศยกเลิกการสอบตั้งแต่ระดับประถมศึกษา เพื่อไม่สร้างแรงกดดันที่ทำลายสมองและพัฒนาการของเด็ก
- สอบไม่ได้ส่งผลต่อต่อการเห็นคุณค่าในตัวเองต่ำลง เกิดภาวะไม่รักเรียนในระยะยาว
- ค่านิยมที่ผิดในการเลี้ยงเด็กปฐมวัย ว่าต้องเร่งรัดให้อ่านออก เขียนได้ เพื่อสอบเข้าป.1 จนครูอนุบาลไม่สามารถพัฒนาเด็กได้ตามหลักการปฐมวัย
ไม่สอบ...แต่ต้องมีทางออก
จากวงเสวนามีข้อเสนอหลากหลายด้วยกัน...แนวทางแรก จับฉลาก วิธีนี้ต้องลงรายละเอียดถึงเกณฑ์การจับฉลากของแต่ละโรงเรียน เพราะน่าจะมีข้อโต้แย้งหรือประเด็นอื่นๆ ตามมาพอสมควร แนวทางที่สอง จากสอบบนกระดาษมาเป็นประเมินพัฒนาการของเด็กที่ต้องทำได้ตามวัย และหากแต่ละโรงเรียนมีเด็กที่ผ่านเกณฑ์ประเมินเกินกว่าที่จะรับก็อาจจะใช้การจับฉลากเพื่อคัดเลือกต่อไปแนวทางที่สาม สอบพ่อแม่ เพื่อวัดทั้งเรื่องของพัฒนาการหรือการเลี้ยงลูกในช่วงปฐมวัยโดยอาจจะใช้คู่มือ DSPM เป็นข้อสอบ ซึ่งผลพลอยได้คือพ่อแม่จะรู้วิธีการเลี้ยงลูก ซึ่งไม่แน่ว่าต่อไปจากโรงเรียนติวเด็กก็จะเป็นโรงเรียนติวพ่อแม่แทน
สอบ ไม่สอบ สาระสำคัญคือทำหน้าที่แล้วหรือยัง? ไม่ว่าจะสอบหรือไม่สอบพ่อแม่ต้องทำหน้าที่....
- พ่อแม่ต้องสร้างประสบการณ์ที่มีคุณภาพเพื่อให้สมองส่วนหน้านำไปใช้งาน มีทัศนคติที่ดีในการเลี้ยงลูก ปรับกระบวนทัศน์ เปิดโลกทัศน์ เติมความถนัดของลูก คุณสุภาวดี หาญเมธี ประธานสถาบัน RLG (รักลูก เลิรน์นิ่ง กรุ๊ป) กล่าวว่า ทำยังไงให้ทุกคนเข้าใจว่าโลกข้างหน้าไม่เหมือนเดิม พ่อแม่ต้องดูแลเด็กไม่เหมือนเดิม สาระสำคัญคือห้ามสอบเด็ดขาด เพราะเป็นการทำร้ายเด็กและสร้างความเหลื่อมล้ำในสังคม ให้ใช้วิธีการที่เด็กต้องไม่ได้รับผลร้าย
- ต้องเข้าใจพัฒนาการของเด็กโดยเฉพาะช่วงปฐมวัย เพื่อการปฏิบัติและเลี้ยงดูที่ถูกต้อง ซึ่งเรียนรู้ได้จากคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยDSPM (Developmental Surveillance and Promotion Manual) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเลี้ยงดูเด็กและติดตามพัฒนาการการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัย
ขณะที่โรงเรียนผศ.ดร.วรวรรณ เหมชะญาติ (สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) กล่าวว่า โรงเรียนมีหน้าที่เตรียมพื้นที่ให้เหมาะสมกับเด็กและการเรียนรู้ พัฒนาเด็กทุกคนไปตามความแตกต่าง ดูแลเด็กที่ไม่พร้อมและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ
สาระสำคัญของพรบ.ปฐมวัย
มาดูที่ความดีงามของพรบ.ที่เราต้องเอาใจช่วยหรือร่วมลงแรงแข่งขันให้ผ่านให้ได้เพราะประโยชน์ที่ได้จะเกิดขึ้นลูกๆ เราคือ...
สุดท้ายและยังไม่ท้ายสุดจากวงเสวนาก็ได้ชวนเราคิดว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ สังคมรู้ไหม? เข้าใจไหม? เปลี่ยนไหม? รับผิดชอบไหม?... ซึ่งขณะที่เรากำลังอ่านอยู่ คณะทำงานพัฒนาเด็กปฐมวัย ก็กำลังรวบรวมข้อมูลและข้อคิดเห็นทางด้านวิชาการอื่นๆ และข้อสรุปจากวงประชุมนี้เพื่อยื่นต่อสนช. และเชื่อว่าอีกไม่นานเกินรอเราจะทราบผลว่า อนาคตของเด็กไทยจะเป็นอย่างไร จะถูกให้ล่องลอยอยู่ในอากาศแบบนี้ต่อไป หรือถูกจัดวางให้เป็นที่เป็นทางอย่างเหมาะสม รอติดตามตอนต่อไปค่ะ