หนึ่งในปัญหาที่พ่อแม่กังวลเรื่องการเจริญเติบโตของลูก คือเรื่องของความสูง กลัวสูงไม่ถึงเกณฑ์ กังวลว่าจะสูงน้อยกว่าเพื่อนรุ่นเดียวกัน และก็มองหาวิธีการทำให้ลูกสูงขึ้น ซึ่งบางครั้งวิธีการก็ไม่ได้ผล และอาจจะกระทบกับการเจริญเติบโตของลูก รักลูก The Expert Talk จึงเชิญ พญ.นลินี เชื้อวณิชชากร กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและพฤติกรรม โรงพยาบาล พญาไท 1 มาพูดคุยเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจพัฒนาการความสูงของเด็ก พร้อมวิธีการกระตุ้นให้ลูกสูงอย่างถูกต้อง
หนึ่งในปัญหาที่พ่อแม่มักกังวลกันมากโดยเฉพาะในเรื่องการเจริญเติบโตของลูกก็คือเรื่องของความสูง กังวลกันตั้งแต่เรื่องความสูงไม่ถึงเกณฑ์ สูงน้อยกว่าเพื่อนรุ่นเดียวกัน เชื่อว่าพ่อแม่จะหาวิธีการต่างๆ ที่จะทำให้ลูกสูงขึ้น วันนี้เราเชิญ The Expert เพื่อมาพูดคุยกันเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่รู้เรื่องของการกระตุ้นความสูงได้อย่างถูกต้อง
ในเด็กเล็กจะไม่เรียกว่าสูงเราจะเรียกว่ายาว ก็คือเด็กจะยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ที่เป็นเกณฑ์เฉลี่ยหลังจากนั้นช่วง 1 ปีแรกเด็กจะยาวโดยประมาณ 75 เซนติเมตร หลังจากนั้นเราจะเริ่มเรียกเป็นความสูงหลัง 2 ขวบ อยู่ที่ประมาณ 87 เซนติเมตร คือเด็กจาก 1 ขวบ มา 2 ขวบ ความสูงของเด็กจะเพิ่มปีหนึ่งประมาณ 12 เซนติเมตร
แต่เด็กบางคนอาจจะสูงกว่านี้หรือเตี้ยกว่านี้หน่อย ก็ต้องไปดูที่ Growth Chart ที่เป็นตารางบอกเรื่องของการเติบโต แต่ถ้าเป็นเฉลี่ยเราก็จำตัวเลขนี้เอาไว้ สำหรับเด็ก 3 ขวบ เราก็จำไว้ที่ประมาณ 95 เซนติเมตร 4 ขวบ 1 เมตร (100 เซนติเมตร) และหลังจากนั้นก็จำไว้ว่าเด็กจะสูงขึ้นเฉลี่ยปีละ 5 เซนติเมตร จนกว่าเขาจะเข้าสู่วัยรุ่นซึ่งวันรุ่นของแต่ละคนก็อาจจะมาไม่เท่ากันบางคนเร็วหน่อยก็ประมาณ 9 ขวบ บางคนอาจจะ 12-13 ขวบ
แต่เมื่อไหร่ที่เขาเข้าสู่วัยรุ่นความสูงเขาจะสูงขึ้นเร็วถ้าเราจำตอนที่เรายังวัยรุ่นได้เด็กผู้หญิงก็จะสูงเร็วปีหนึ่งก็อาจจะ 10 เซนติเมตรได้เลย เด็กผู้ชายก็อาจจะขึ้นได้ 12-15 เซนติเมตรได้ อันนี้เป็นตัวเลขที่ให้คุณพ่อคุณแม่จำได้ง่ายๆ เลยเบื้องต้น
โดยส่วนตัวของลูกเราเองจะมีสมุดสุขภาพของลูกที่จะมีบันทึกการฉีดวัคซีน มีการบันทึกความสูงของเด็ก แนะนำให้คอยพล็อทกราฟไว้อย่างสม่ำเสมอ เพราะว่าความสูงที่คุณหมอบอกไว้แค่จำง่ายๆ แต่เด็กแต่ละคนเขามีความสูงเป็นของตัวเองและต้องพยายาม Keep Track ของตัวเองไม่ให้ตกจากกราฟจนดูแล้วผิดปกติเวลาไปหาคุณหมอ คุณหมอจะดูกราฟอันนี้ถ้ากราฟเบ้ไป หรือตกมาเร็วกว่า Percent time ที่ควรเป็นคุณหมอก็จะเริ่มสงสัยว่ามีอะไรหรือเปล่า
โดยปกติในเชิงการแพทย์ความสูงเราถือว่าสิ่งที่มีปัจจัยต่อความสูงของเด็กหลักๆ เลยพันธุกรรม 80% อีก 20% เป็นเรื่องของโภชนาการหรือเป็นเรื่องฮอร์โมน หรือเรื่องการขยับ เคลื่อนไหว หรือบางคนก็เป็นเรื่องของการเล่นกีฬาร่วมด้วย หรืออีกอันที่สำคัญเรียกว่าภาวะทางการแพทย์ เช่น เด็กบางคนอาจจะมีโรคอะไรบางอย่างที่ทำให้ความสูงมีการชะงักงัน หรืออาจจะไม่ใช่โรคแต่เขาขาดอาหารมากจนไม่ได้กระทบแค่น้ำหนักตัวแต่กระทบถึงความสูงด้วย
ส่วนใหญ่แล้วถ้าเวลาที่เราดูเด็กเราจะไม่ได้ดูแค่จุดเดียวเราจะดูต่อเนื่องเป็นการเฝ้าระวังต่อเนื่องเป็นระยะยาว เพราะฉะนั้นการที่เราได้มีโอกาสพบคุณหมอหรือพบสถานพยาบาลอย่างต่อเนื่องหรืออย่างน้อยช่วงนี้เราอาจจะต้องย้าย เช่น พ่อแม่อาจจะไม่อยากอยู่กรุงเทพอยากย้ายไปอยู่ที่คนไม่พลุกพล่านโรคไม่เยอะสิ่งที่จะช่วยให้โรคพยาบาลปลายทางทราบคือสมุดสีชมพูแล้วก็ต้องขยันพล็อทกราฟ ทุกครั้งที่ไปแนะนำให้ Plot Graph เอาไว้ เราก็ดูตามอายุตามนั้น แล้วความสูงเราก็ พล็อทไว้ ก็จะช่วยให้เราคอยเฝ้าระวัง ซึ่งทำได้ปีละครั้งไปจนถึงลูกเข้าสู่วัยรุ่นเขาจะโตจนถึงอายุ 18
โดยประมาณ 18 ปี แต่จะมีเรื่องของการมีประจำเดือนการที่เข้าสู่วัยรุ่นเร็วก็อาจจะทำให้เขาหยุดสูงได้เร็วเหมือนกัน หรือความเจ็บป่วยบางอย่างก็ทำให้หยุดสูงได้เร็วเพราะฉะนั้นเราจำเป็นต้องคอยติดตามดูว่าความสูงปีนี้เป็นอย่างไรโดยส่วนใหญ่เท่าที่คุณหมอเห็นพอลูกเข้าสู่โรงเรียนคุณครูเขาก็จะมีการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงเราก็ใช้ตรงนั้นมา Plot Graph กับอีกเทคนิคหนึ่งที่คุณหมอมักจะแนะนำพ่อแม่ก็เห็นหลายบ้านทำก็คือที่กำแพงบ้านขีดเลยว่าส่วนสูงเท่าไหร่ วัดลูกในวันที่เท่าไหร่
เขาเรียกว่าโรคที่เข้าสู่ภาวะวัยหนุ่มสาวเร็ว ก็คือลักษณะที่เด็กมีภาวะมีเตานมเร็วกว่าปกติบางคนก็อาจจะมาปรึกษากุมารแพทย์ต่อมไร้ท่อด้วยปัญหาลูกอายุเท่านี้เองเริ่มมีเต้า นมเริ่มตั้งเต้าแล้ว หรือภาวะเด็กประสบอุบัติเหตุกระทบกระเทือนกับขาหรืออะไรเหล่านี้เราก็ต้องระมัดระวังว่าจะกระทบต่อการเจริญเติบโตไหม
ที่คุณหมอเคยเจอเด็กคนหนึ่งที่เขามีการกระทบกระเทือนที่กระดูกต้นขามีการรักษาพยาบาล มีการดามเหล็ก โชคร้ายที่เขาไม่ได้อยู่กับคุณพ่อคุณแม่เลยทำให้เขาขาดช่วงเหล็กอยู่กับขาเขาตั้งนานแล้วไม่ได้เอาออก แล้วคุณหมอไปพบว่าเขามีภาวะขาสั้นยาวไม่เท่ากัน แบบนี้เราต้องคอยระวังถ้าลูกเกิดอุบัติเหตุมีความจำเป็นต้องผ่าตัด เราต้องปรึกษาคุณหมอว่าเหล็กดามเราต้องเอาออกไหม
หรือเวลาที่ลูกเขาวัยหนุ่มสาวเร็วก็ต้องรีบไปดู ไปหาสาเหตุด้วยว่าทำไมลูกถึงเป็นหนุ่มเป็นสาวเร็วเกินไป ฮอร์โมนเพศทำไมออกมาไว นอกจากหาสาเหตุแล้วเป้าหมายที่สำคัญคือความสูงของเด็ก เด็กที่เป็นวัยหนุ่มสาวเร็วมักจะพบว่าช่วงเล็กๆ เขาจะดูสูงกว่าเพื่อนแต่ตอนหลังกลายเป็นว่าความสูงเขาจะชะลอเร็ว ก็จะถูกเพื่อนแซงแล้วเขาก็จะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่ตัวเตี้ย
ความสูงของเด็กเวลาที่เราคำนวณโดยอ้างอิงความสูงของคุณพ่อคุณแม่ เพศมีปัจจัยถ้าเรามีลูกสาวเอาความสูงคุณพ่อบวกความสูงคุณแม่แล้วลบ 13 แล้วหาร 2 จะได้ความสูงแต่เราจะ บวก ลบ อีก 5 เซนติเมตร
เราลองเอาความสูงของสามีและภรรยามารวมกัน
ความสูง พ่อ+แม่ – 13/2 = เด็กหญิง บวก ลบ 5 เซนติเมตร
ความสูง พ่อ+แม่ +13/2 = เด็กชาย บวก ลบ 5 เซนติเมตร
เช่น ได้ลูกสาวคำนวณแล้วได้ 160 เซนติเมตร เพราะฉะนั้นเขามีโอกาสสูงได้ 155 – 165 เซนติเมตร หมอก็มักจะบอกเด็กๆ ว่าหนูก็มีทางเลือกพ่อแม่ให้มาประมาณนี้หนูอาจจะสูง 155 เซนติเมตร หรืออาจจะสูง 165 เซนติเมตรก็ได้แต่ขึ้นอยู่กับหนูพอสมควร แต่จริงๆ ในทางทฤษฎีเขาบอกว่าโภชนาการตั้งแต่ในท้องแม่สำคัญ เพราะมนุษย์เราสูงเร็วที่สุดตอนอยู่ในท้องแม่
ก็ต้องบาลานซ์ จริงๆ แล้วเขาจะบอกว่าต้องเป็นบาลานซ์ไดเอท คำว่า บาลานซ์ ก็คือต้องรอบด้านและสมดุล บาลานซ์ไดเอทกินผักผลไม้ตามเหมาะสม แต่ถ้าเป็นอาหารที่เฉพาะเจาะจงกับการเจริญเติบโตเลยเราก็จะพูดถึงโปรตีนและแคลเซียมแต่ก็ต้องบาลานซ์ ไม่ใช่รู้ว่าแคลเซียมทำให้ลูกสูงเลยอัดแคลเซียมเม็ดฟู่ 10 เม็ดต่อวันก็ไม่ใช่ก็ต้องอย่างเหมาะสมด้วย
สำหรับบางบ้าน ก็มีความเป็นไปได้เพราะว่าถ้าเป็นลูกชายอย่างที่เราบอกว่าเราให้บวกเข้าไปได้อีกแล้วก็ภาวะโภชนาการ พยายามให้ลูกมีการนอนที่เพียงพอ เพื่อกระตุ้นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต และเรื่องของการออกกำลังกายที่ต้องมีการกระแทกข้อนิดๆ เช่น เล่นบาส หรือกระโดดหนังยาง กระโดดเชือก เพราะช่วงปลายกระดูกเป็นจุดที่สามารถยืดออก
ในช่วงของวัยเด็กกระดูกตรงนี้ยังไม่ปิดและจะถูกกระตุ้นให้เจริญเติบโตได้ต้องมีแรงกระแทกนิดๆ แต่ไม่กระแทกจนรุนแรง เพราะหากออกกำลังกายหนักเกินไปก็มีปัญหาเรื่องเตี้ยได้เหมือนกัน
ออกกำลังกายที่กระดูกมีการกระทบกันนิดๆ ช่วง 1-12 ปี สามารถทำได้ เช่น เล่นกระโดดหนังยาง เล่นสนาม ปีนป่าย ส่วน แทมโพลีน ถ้าในมิติด้านพัฒนาการเราจะรู้ว่าเด็กมีความตื่นตัว พบว่าเด็กบางคนมีความตื่นตัวสูงมาก พบว่าไปกระโดดแทมโพลีนวันละ 200 ครั้ง ซึ่งมันเร้ามากเกินไปหมอก็จะบอกว่าเยอะไปให้ทำอย่างอื่นบ้างเราไม่จำเป็นต้องเล่นแบบเดียว การเล่นมีหลายรูปแบบ
มันเกี่ยวข้องกับบริเวณที่เป็นกระดูกยาว กระดูกยาวก็คือ กระดูกท่อนขา ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับกระดูกสันหลัง แต่กระดูกสันหลังไม่ค่อยมีใครพูดถึง เน้นการออกกำลังกายที่เน้นกระดูกช่วงยาวให้มีการกระทบกันนิดหน่อยต้องไม่หักโหมมาก หักโหมมากจะกลายเป็นบาดเจ็บกลายเป็นว่ากระดูกที่จะต้องยืดออกก็ไม่ยืด
นม แคลเซียม ฮอร์โมน กระตุ้นความสูงได้
นมเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง แคลเซียมสูง สามารถใช้ได้ ใช้คำง่ายๆ เนื้อ นม ไข่ เวลาที่เราแนะนำพ่อแม่กินเนื้อ นม ไข่ ควบคู่กับการนอนให้พอและการออกกำลังกาย อาหารก็ต้องบาลานส์สมดุล ถ้ากินมากเกินไปก็อาจเป็นปัญหาได้ เช่น เด็กอ้วนเพราะนม เพราะในนมเองมีโปรตีน มีแคลเซียมแต่ก็มีไขมัน
วิตามินเร่งความสูง มันสูงได้จริงไหม มีผลกระทบอย่างไรบ้าง
หมอไม่แน่ใจว่าวิตามินที่ใช้เพิ่มความสูงหมายถึงวิตามินตัวไหน แต่หมอมักได้ยินพ่อแม่มาถามก็จะแนะนำแคลเซียมให้ทานพอสมควรเอาจากอาหารก็ได้ แต่ถ้าเป็นฮอร์โมนที่มีคนพูดถึงในทางการแพทย์เขามีการใช้ในรายที่จำเป็นต้องใช้
วิตามินบางอย่างกินมากไปก็ไม่ดี ในเชิงโภชนาการ การกินเยอะไม่ใช่ร่างกายจะนำไปใช้ได้เยอะ ร่างกายจะดูดซึมสารอาหารไปใช้ได้ตามความเหมาะสม บางอย่างกินมากเกินไปก็อาจจะกระทบ เช่น บางคนเสริมแคลเซียม บางคนอัดโปรตีน กินโปรตีนเยอะบางทีอาจจะมีผลต่อการขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะก็ต้องมาเสริมแคลเซียม เพราะฉะนั้นเวลากินเราเลยต้องบาลานซ์ไดเอท โดยที่เราจะดูว่าบาลานซ์ได้อย่างไรให้ไปดูธงโภชนาการของกระทรวงสาธารณสุขแล้วเราก็ดูว่าลูกควรจะกินแบบไหน
เราต้องทราบก่อนว่าฮอร์โมนที่มีผลกับความสูงของเด็กมี 3 ชนิด
1.Growth Hormone
ฮอร์โมนการเจริญเติบโต เด็กจะมาด้วยตัวเตี้ยสมส่วน หน้าตาน่ารักเหมือนตุ๊กตา อันนั้นขาด Growth Hormone ที่เป็นโรค ไทรอยด์ฮอร์โมน จะมีผลต่อการเรียนรู้เรื่องสติปัญญา ในเมื่อก่อนจะใช้คำว่าเด็กเอ๋อ ในยุคก่อนเรายังไม่มีการรณรงค์ให้ตรวจไทรอยด์ฮอร์โมนตั้งแต่แรกเกิด หรือแม้แต่ยุคก่อนที่เราจะมีการเสริมไอโอดีนในอาหารทั่วประเทศ เราเคยมีเด็กที่ขาดไทรอยด์ฮอร์โมน แล้วก็มีเด็กที่น้องจากเตี้ยแล้วก็ยังมีปัญหาเรื่อง สมองทึบด้วย ในปัจจุบันน่าจะน้อยลงมาก
2.ฮอร์โมนเพศ
เอสโตรเจน คือ ฮอร์โมนเพศหญิง เทสโทสเตอร์โรน คือ เพศชาย เด็กที่มาด้วยเป็นหนุ่มเป็นสาวเร็วกระตุ้นให้สูงเร็วแต่ก็กระตุ้นให้ปลายกระดูกปิดเร็ว อย่างที่หมอบอกไปตอนต้นถ้าเขามาด้วยเป็นหนุ่มเป็นสาวเร็วเราต้องหาสาเหตุเพื่อหาสาเหตุและป้องกันไม่ให้เขาเป็นผู้ใหญ่ตัวเตี้ย
ต้องออกตัวก่อนว่าหมอไม่ใช่หมอต่อมไร้ท่อก็อาจจะเจอเด็กที่ตัวเตี้ยเยอะหน่อย แต่หมอเป็นมิติของหมอพัฒนาการ งานของหมอมี 2 มิติ หมอก็จะทำทั้งในมิติ Practice ในโรงพยาบาล แต่หมอก็มีมิติที่ลงไปดูเคสที่สืบเนื่องมาจากเคสเมื่อ 2-3 ปีก่อนที่มีเด็กเสียชีวิตจากด้วยโรคหัดเยอะมากใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้แล้วเราพบว่าเด็กที่นั่นไม่ได้ฉีดวัคซีนด้วยความเชื่อต่างๆ รวมถึงมีภาวะทุพโภชนาการ ใน Practice ส่วนตัวที่โรงพยาบาลพญาไท ด้วยเคสคนไข้มักอยู่ในกลุ่มเศรษฐานะดีพ่อแม่มีความรู้ เพราะฉะนั้นส่วนใหญ่เคสที่เจอแล้วตัวเตี้ยมีไม่ค่อยเยอะ มีบ้าง หมอพยายามให้เขาออกกำลังกายเพิ่มเสริมฮอร์โมนแต่ดูแล้วอาจจะเป็นพันธุกรรมเพราะคุณแม่ตัวไม่สูงมาก
แต่ถ้าเป็นเคสที่คุณหมออยู่ในพื้นที่พบว่าภาวะทุพโภชนาการเป็นสาเหตุที่แรกที่ทำให้เด็กน้ำหนักน้อยและตัวเตี้ยด้วย เรื่องของการเข้าถึงของอาหารไม่ได้เป็นปัญหามากถึงแม้ว่าจะเป็น 3 จังหวัดชายแดนแต่ความเข้าใจเรื่องของการกินอาหารจะมีปัญหาเราต้องปรับวิธีการใช้ชีวิตในระดับหนึ่งคือเราพยายามไม่รบกวนวิถีชีวิตของเขามากแต่ก็ต้องปรับบางอย่าง
สรุปจากที่คุณหมอพูดเรื่องของความสูงมากจากพันธุกรรมและปัจจัยอื่นๆ ไม่ว่าจะโภชนาการ เป็นฮอร์โมน การออกกำลังกาย ทุกอย่างกลับไปที่บาลานซ์ กินก็ต้องบาลานซ์ ออกกำลังกายก็ต้องบาลานซ์ บาลานซ์กับมอนิเตอร์ความสูงและน้ำหนักของลูกให้สมดุลกัน
อย่างน้อยเด็กในช่วงวัยรุ่นก็ควรสัก 8 ชั่วโมง และนอนก่อน 4 ทุ่ม เพื่อให้เขาได้หลับยาวเพื่อให้มีช่วงของการหลับลึก การหลับลึกจะทำให้ Growth Hormone หลั่งออกมา ถ้าเขาหลับไม่ลึกอาจจะด้วยอะไรก็ตาม เช่น ก่อนนอนอาจจะเล่นเหนื่อยมากเกินไป หรือเล่นหน้าจอมากเกินไป ตอนนี้ที่คุณหมอห่วงเด็กที่เรียนออนไลน์ก็คือเรื่องนี้การดูหน้าจอก็อาจจะกระทบเรื่องของการนอนอาจทำให้เด็กหลับไม่ลึก หลับไม่สนิทก็อาจจะส่งผลได้ในอนาคต
ถ้าคุณพ่อคุณแม่กังวลเรื่องความสูงลูก คุณหมออยากจะเน้นย้ำคือ
1.เด็กจำเป็นต้องมีการเล่น
หมอพบว่าเด็กขาดการเล่นค่อนข้างเยอะ ควรเล่นเยอะขนาดไหน วันละ 3 ชั่วโมงต่อวัน ในยุคนี้เด็กเรียนหนักเกินไปหรือเปล่า ที่เรียนหนักก็ควรเรียนแล้วได้ประโยชน์ เช่น ในวัย 10 ขวบ เขาควรต้องได้เล่นและเรียนรู้
2.การนอน
โดยเฉพาะบางที่เด็กขาดการนอนกลางวัน ไม่ใช่แค่กลางคืนอย่างเดียวเด็กบางคนขาดการนอนกลางวัน นอนกลางวันก็สำคัญ และดูหน้าจอเยอะ เป็นไปได้พยายามให้ลูกอยู่ในที่มืดบ้าง
เพราะการที่อยู่หน้าจอเพราะเด็กต้องเรียนออนไลน์ มันจะไปกระตุ้นทำให้เมลาโทนินที่อยู่ในสมองเราหลั่งน้อยลงก็จะกระทบการนอนของเด็กได้อีก เป็นเรื่องที่ห่วงอยู่แต่หมอก็ไม่แน่ใจว่าจะมีการทำวิจัยหรือตามดูการเจริญเติบโตของเด็กอนาคตหรือเปล่าแต่คิดว่ามีอาจจะเห็นอะไรบางอย่างออกมาว่าเด็กที่อยู่หน้าจอตัวเตี้ยลงหรือเปล่า
ติดตามฟังได้ที่รายการรักลูก The Expert Talk
Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB
Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube: https://bit.ly/3cxn31u