ล่าสุด WorkPoint News ระบุ พบค่า UV เมืองไทยอยู่ในระดับรุนแรงสุดขีด แม้อยู่ในบ้านก็ต้องทาครีมกันแดด และหลีกเลี่ยงการออกแดดเป็นเวลานาน ด้านเว็บไซต์ OZONE.tmd.go.th รายงาน ดันชียูวี กรณีท้องฟ้าโปร่ง เวลา 12.00 น. ช่วงวันที่ 20-24 เมษายน 2562 พบ 15 จังหวัดที่มีค่ายูวี “สูงจัด” ได้แก่ เชียงราย, เชียงใหม่, น่าน, ขอนแก่น อุบลราชธานี,บุรีรัมย์, นครราชสีมา, กาญจนบุรี, กรุงเทพฯ, ชลบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, ตราด, สุราษฎร์ธานี, ภูเก็ตและสงขลา
นอกจากนี้ OZONE.tmd.go.th ยังได้แนะนำให้อยู่ในที่พักอาศัย อาคาร หรือในร่ม โดยเฉพาะเด็กอ่อนและผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพผิวหนังอ่อนไหวหรือภูมิแพ้ ควรหลีกเลี่ยงแสงแดดระหว่างเวลา 9.00-15.00 น. และหากจำเป็นต้องออกกล้างแจ้ง แดดจัดๆ ควรสวมหมวก สวมแว่นกันยูวี สวมเสื้อผ้าปกคลุมร่างกาย กางร่ม และใช้โลชั่นกันแดด เพราะหากผิวหนังได้รับแสงแดดติดต่อกันนานกว่า 10 นาที นอกจากจะทำให้ผิวไหม้เกรียมแล้ว ในระยะยาวอาจมีผลกระทบต่อดวงตาและทำลาย DNA ของเราได้
โดยค่า UV Index มีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน หากท้องฟ้ามีเมฆ หมอก ควัน ปกคลุมระดับความรุนแรงของ UV Index ก็จะลดลง
0–2.9 ความรุนแรงต่ำ
3–5.9 ความรุนแรงปานกลาง
6–7.9 ความรุนแรงสูง
8–10.9 ความรุนแรงสูงมาก
11+ ความรุนแรงสูงจัด
ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่ UV Index ช่วงหน้าร้อนจะอยู่ในระดับสูงจัด คือ 11-12 วิธีป้องกันคือใช้ครีมกันแดด SPF มากกว่า 30 และ PA มากกว่า 3+ รวมถึงหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งนานเกิน 3 ชั่วโมง ก็ช่วยได้ค่ะ
เช็ก UV ก่อนออกจากบ้าน ช่วยปกป้องผิวได้
เราสามารถเช็กค่า UV ง่ายๆ ได้จาก Application พยากรณ์อากาศ เช่น
ที่เชียงใหม่อุณหภูมิ 34 องศาเซลเซียล มีค่าความชื้นสัมพัทธ์ (Humidity) 44% ค่า UV สูงจัด แม้จะมีค่า UV สูง แต่สภาพอากาศยังถือว่าเหมาะสมเนื่องจากไม่แห้งหรืออบอ้าวจนเกินไป
ห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ความชื้นสัมพัทธ์อยูทที่ 55% ค่า UV สูงจัด อุณหภูมิ 36 องศาเซลเซียส หากอยู่กลางแดดนานๆ มีโอกาสเป็นโรคลมแดดได้
อากาศที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ มีความชื้นสูงถึง 77% แต่ค่า UV ต่ำมาก แน่นอนว่าเป็นสภาพอากาศปกติของที่นั่น
โตเกียวอากาศดีมากค่ะ ความชื้น 53% UV 5 ถือว่าเหมาะสม
ในเบื้องต้นการเช็กอุณหภูมิ ความชื้น และ UV Index นอกจากจะรู้สภาพภูมิอากาศคร่าวๆ แล้ว ยังช่วยให้เราเตรียมตัวเตรียมอุปกรณ์ก่อนออกจากบ้านได้อย่างพร้อมเพรียง เช่น ในวันที่ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ อากาศแห้ง อาจจะต้องทาครีมบำรุงผิวและพกน้ำดื่มติดตัว สวมเสื้อผ้าแขนยาว เนื้อผ้าบางเบาและระบายอากาศได้ พร้อมกับพกร่ม หมวก และแว่นตากันแดดร่วมด้วย
ด้านพญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล หรือ คุณหมอผิง ได้ให้คำแนะนำผ่านทวิตเตอร์แอคเค้าท์ @thidakarn ว่า นอกจากการทาครีมกันแดดไม่เว้นว่าจะอยู่กลางแจ้ง ในที่ร่ม ในบ้าน หรือที่ทำงานแล้วก็ตาม การกินอาหารก็ช่วยปกป้องผิวเราจากรังสี UV ได้เช่นกัน
โดยคุณหมอผิงแนะนำว่า
"รังสียูวีและอินฟราเรดจากแดดทำร้ายผิว โดยกลไกการก่ออนุมูลอิสระและการอักเสบ สารอาหารเหล่านี้มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและการอักเสบ จึงมีส่วนช่วยปกป้องผิวให้สู้แดดได้ดีขึ้น แต่ไม่สามารถทดแทนการทาครีมกันแดดได้นะคะ" โดยสารอาหารที่ว่าได้แก่
แคโรทีนอยด์ พบในแคร์รอต มันหวาน พริกหยวก แคนตาลูป โกจิเบอรี่หรือเก๋ากี้ เป็น้น
วิตามินซี รับประานได้จาก มะนาว ส้ม ฝรั่ง และผลไม้กลุ่มเบอรี่
โพลีฟีนอลล จากชาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นชาอู่หลง ชาเขียวหรือชาฝรั่ง
ไลโคปีน จากมะเขือเทศ พริกหยวก และแตงโม เป็นต้น