แม่มดในนิทานตามจินตนาการของเด็ก ๆ ก็จะต้องสวมหมวกสีดำ สวมเสื้อคลุมสีดำ รูปร่างพิกล ขี่ไม้กวาดเสมอ และมีนิสัยใจร้าย แต่ในความใจร้ายของแม่มด ก็ยังมีคติสอนใจช่วยสอนเด็กได้นะคะ มาดูกันค่ะ ว่าแม่มดแบบไหน สอนเด็กๆ เรื่องอะไรบ้าง
แม่มดในนิทานมาพร้อมกับการคำสาปแช่งเสมอ สาปเพราะโกรธ สาปเพราะอิจฉา ใช้อำนาจในมือผิดบิดเบี้ยวไปหมด แต่ก็จะสอนให้เด็กๆ รู้จักให้อภัย เพราะสุดท้ายแล้วแม่มดก็จะได้รับผลกรรมในการกระทำของตนเอง
2. แม่มดจอมเจ้าเลห์
แม่มดปลอมตัวเป็นหญิงชรา มอบแอปเปิ้ลสีสวยสด แต่อาบไปด้วยยาพิษ การกระทำของแม่มดบ่อยครั้งแฝงไปด้วยเล่ห์เหลี่ยมกลอุบาย เจ้ามารยา นิสัยร้ายๆ แบบนี้ จะสอนให้เด็กๆ ฉลาดรู้ทันคน ยับยั้งชั่งใจ รู้จักระวังตัวกับคนแปลกหน้า และอย่าหลงเชื่อใจผู้อื่นโดยไม่ไต่ตรองให้ดีก่อน
3. แม่มดจอมหลอกลวง
แม่มดมักหลอกใช้จุดอ่อนของมนุษย์ให้ตัวเองสมหวัง เช่น แม่มดหลอกลวงให้นายพรานไปฆ่าสโนว์ไวท์แทนตัวเอง แม่มดเอาขนมหลอกล่อเด็กที่หิวโหยเพื่อหวังกินเด็ก เมื่อเด็กๆ รู้แบบนี้แล้วจะได้ทันคน มีไหวพริบเอาตัวรอดเป็น และเมื่อเกิดความผิดพลาดก็ต้องเรียนรู้ที่จะแก้ไขด้วย
4. แม่มดเจ้าคิดเจ้าแค้น
ความเป็นแม่มดมักจะโกรธแค้นแบบไร้เหตุผล การที่เป็นคนเจ้าคิดเจ้าแค้น จะทำให้นิทานสนุก มีสีสัน แต่ถ้าเด็กๆ พิจารณาให้ดี จะสังเกตได้ว่าตัวแม่มดเองก็ไม่ได้มีความสุขในชีวิตเลย เด็กๆ จะได้คิดตาม และในท้ายที่สุดจะได้รู้จักการยกโทษให้คนที่ทำผิดด้วย
5. แม่มดขี้อิจฉา
แม่มดในนิทาน พื้นฐานจะเป็นแม่มดที่ขี้อิจฉา คิดร้าย เกลียดชังคนอื่น และหลงในอำนาจ เรื่องราวที่แม่มดกระทำจะสอนให้เด็กๆ จะรู้จักการปกป้องตัวเอง มีเกราะป้องกันจิตใจไม่ให้ตัวเองคิดลบ และไม่อิจฉาผู้อื่น เพราะความสุขคือการได้คิดบวกแบบตัวละครอื่นๆ ในเรื่อง ในนิทานมีตัวละครแม่มด เพื่อให้ตัวร้ายชัดเด็กมองออกง่าย เรื่องมีสีสัน สนุกน่าติดตาม แต่ความใจร้ายก็มีสาระสอนใจแฝงอยู่ด้วย ซึ่งพ่อแม่และผู้ปกครองก็ต้องคอยให้คำแนะนำเด็กๆ ไปด้วยระหว่างดูหรืออ่านนิทานนะคะ