สำหรับคนเป็นพ่อเป็นแม่ ลูกคือแก้วตาดวงใจ เมื่อลูกมีอาการไม่สบายแม้เพียงเล็กน้อยก็ทำให้กังวลใจ คิดไปต่างๆ นานา แต่ถ้าเราทำความรู้จักและเข้าใจโรคให้มากขึ้น รู้อาการ รู้แนวทางป้องกันรักษา ก็น่าจะทำให้คลายความกังวลลงได้
“RSV” ไวรัสตัวร้าย ป้องกันได้ถ้าไม่อยากให้ลูกป่วย
บทความตอนนี้ พญ.สิริรักษ์ กาญจนธีระพงค์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันวิทยา โรงพยาบาลนวเวช จึงได้นำความรู้เกี่ยวกับการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจ ที่มักเกิดกับเด็กเล็กมาให้คุณพ่อคุณแม่ได้รู้จัก ซึ่งหลายคนก็อาจสับสนระหว่าง RSV ไข้หวัดใหญ่ และไข้หวัดธรรมดา คุณหมอก็เลยมีข้อมูลมาให้เปรียบเทียบด้วยว่าแต่ละโรคมีความแตกต่างกันอย่างไร
RSV (Respiratory Syncytial Virus) เชื้อไวรัสระบบทางเดินหายใจในเด็ก เชื้อไวรัส RSV สามารถติดต่อกันผ่านสารคัดหลั่ง น้ำมูก น้ำลาย ผ่านการไอ จาม และสัมผัสกันโดยตรง
อาการ
• อาการเริ่มแรกเหมือนไข้หวัดทั่วไป คือ มีไข้ ไอ จาม น้ำมูกไหล ซึ่งในรายที่มีอาการเล็กน้อย ของทางเดินหายใจส่วนต้น สามารถหายได้เองภายใน 5-7 วัน
• เด็กบางคนมีอาการมากกว่าไข้หวัด คือ อาการไปถึงทางเดินหายใจส่วนล่าง จะมีอาการไอแบบมีเสมหะร่วมด้วย ไอมากจนอาเจียน อาจมีหายใจเร็ว แรง หายใจลำบาก หรือหายใจแบบมีเสียงวี๊ด (wheezing) ได้ในรายที่มีอาการหนัก การรักษา • การรักษาอาการทั่วไป ให้สารน้ำทางเส้นเลือดดำ ให้ออกซิเจน ล้างจมูก ไปจนถึงช่วยดูดระบายเสมหะในกรณีที่น้ำมูกหรือเสมหะอุดตันมาก
• การรักษาแบบเฉพาะที่ พ่นยาขยายหลอดลม พ่นน้ำเกลือเข้มข้นชนิดพิเศษ เพื่อลดภาวะหลอดลมเกร็ง หายใจมีเสียงวี๊ด
• การใช้ยา Montelukast มีส่วนช่วยในการลดความรุนแรงในช่วงแรกของการหายใจหอบเหนื่อยแบบมีเสียงวี๊ด และให้ใช้ยาต่อเนื่องเพื่อลดการกลับเป็นซ้ำของโรค
การป้องกัน
- ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค ดังนั้นจึงเน้นการป้องกันโดยการเพิ่มภูมิต้านทานธรรมชาติ โดยเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
- หลีกเลี่ยงการพาเด็กไปในสถานที่แออัด
- ใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง และล้างมือบ่อย ๆ
ไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดธรรมดา ไข้หวัดใหญ่ต่างกับไข้หวัดธรรมดาอย่างไร?
อาการระยะเริ่มคล้ายกันมาก แต่ไข้หวัดใหญ่นั้นอาการรุนแรงกว่าอย่างเห็นได้ชัด โดยมีไข้สูง(39-40 องศาเซลเซียส) ปวดศีรษะ ไอมาก อ่อนเพลียอย่างรุนแรง ปวดเมื่อยตามร่างกาย ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุ ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่รุนแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ นอกจากนี้ ไข้หวัดใหญ่ยังติดต่อกันได้ง่ายมาก จากการหายใจเอาเชื้อที่กระจายอยู่ในละอองฝอยจากการไอ จาม หรือการอยู่ใกล้ชิด สัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนกับผู้ป่วย และนำเชื้อเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ
การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สำคัญอย่างไร
- ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและการเสียชีวิต สำหรับบุคคลกลุ่มเสี่ยง
- ลดอัตราการลาป่วยและการเข้ารับรักษาตัวในโรงพยาบาล
- ลดอัตราการขาดงาน ขาดโรงเรียน หรือรบกวนแผนการเดินทาง
- ลดการเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรคไข้หวัดใหญ่ต่อสมาชิกในครอบครัว เพื่อน หรือผู้ร่วมงานต่าง ๆ
โรคระบบทางเดินหายใจที่มีอาการใกล้เคียงกัน
โรคระบบทางเดินหายใจ |
อาการ |
ระยะเวลาหาย |
เชื้อไวรัสระบบทางเดินหายใจในเด็ก
(RSV)
|
- มีไข้ไอจามน้ำมูกไหล
- ไอแบบมีเสมหะร่วมด้วย
- ไอมากจนอาเจียน
- อาจมีหายใจเร็ว แรง หายใจลำบาก
- หายใจแบบมีเสียงวี๊ด (wheezing)ในรายที่มีอาการหนัก
|
- มักหายได้เองภายใน 5-7วัน
- ในเด็กเล็กที่อายุน้อยกว่า 3 ปีที่มีการติดเชื้อเข้าสู่ทางเดินหายใจส่วนล่างอาจมีเสมหะได้ถึง 2 สัปดาห์
|
ไข้หวัดธรรมดา
(Common cold)
|
|
- มักหายได้เองภายใน 3-5 วัน
|
ไข้หวัดใหญ่
(Influenza)
|
- มีไข้สูง 39-40 องศาเซลเซียส
- มีไข้ไอจามน้ำมูกไหล
- ปวดศีรษะ ไอมาก อ่อนเพลียอย่างรุนแรง ปวดเมื่อยตามร่างกาย
|
- มักหายได้เองภายใน 5-7 วัน
- จำเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัสในกลุ่มที่มีความเสี่ยง
|
หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรค RSV หรือมีปัญหาสุขภาพอื่นๆ เกี่ยวกับเด็ก สามารถขอรับคำปรึกษาจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่ศูนย์สุขภาพเด็ก โรงพยาบาลนวเวช โทร. 0 2483 9999 www.navavej.com
พญ.สิริรักษ์ กาญจนธีระพงค์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันวิทยา
โรงพยาบาลนวเวช
รักลูก The Expert Talk Ep.103 : ภัยร้าย RSV
RSV ไม่ใช่แค่โรคหวัดแต่อาการรุนแรงมากกว่า เด็กรับเชื้อได้ง่ายกระทบระบบทางเดินหายใจ
มารู้จักและรับมือเจ้าเชื้อไวรัส RSV รับมือก่อนอาการรุนแรง
ฟัง The Expert รศ.นพ.พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์
รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรม
RSV สาเหตุเกิดจากอะไร
RSV เกิดจากเชื้อ ไวรัส RSV Respiratory Syncytial Virus เหมือนการติดเชื้อไวรัสที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจทั่วไป RSV มักจะเกิดการติดเชื้อในเด็ก และความรุนแรงตั้งแต่เป็นหวัดเล็กน้อย ไปจนถึงรุนแรง เช่น มีอาการลามไปที่แขนงถุงลมของปอดแล้วลงไปถึงเนื้อปอด ซึ่งก็จะทำให้เกิดอาการหอบ เวลาที่เราเห็นเด็กเป็นหวัดแล้วมีอาการไอมาก หายใจมีเสียงหวีดๆ
พ่อแม่จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น RSV หรือโรคหอบ
จริงๆ แล้วบอกได้ยาก สำหรับเด็กอายุน้อยกว่า 1ปี เพราะในครั้งแรกอาจจะเกิดจาก RSV แต่ถ้าเป็นหอบจะมีอาการซ้ำๆ หลายครั้ง ครั้งแรก RSV กระตุ้นให้เกิดอาการ ครั้งต่อไปบริเวณของหลอดลมที่เคยติดเชื้อมาแล้ว ก็อาจจะมีความไวมากเป็นพิเศษ แต่ถ้าเจอเชื้ออื่นๆ หรือมีอาการอื่น เช่น มีฝุ่นละอองกระตุ้นให้เกิดมีอาการภูมิแพ้ ก็อาจจะทำให้เกิดอาการหอบได้
ช่วงอายุที่เป็นมากที่สุดและอาการรุนแรง
อายุน้อยกว่า 1ปี อาการจะค่อยๆรุนแรง แต่อย่างไรก็ตามอาการรุนแรงก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งจากจำนวนตัวเชื้อที่ติด ร่างกายเด็กไม่ค่อยแข็งแรง สุขภาพไม่ดี การดูแลของพ่อแม่ช่วงที่เป็นโรคดูแลได้ไม่ค่อยดี ก็อาจจะทำให้เกิดความรุนแรงของโรคได้ ซึ่ง RSV เป็นโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ การป้องกันเรื่องที่ดีที่สุดและมีความสำคัญ
ปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิด RSV
1.เด็กอายุน้อยกว่า 1ปี มีโอกาสเป็นมากขึ้น
2.เด็กที่ร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง เป็นโรคเรื้อรัง
3.เด็กที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำเช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคหัวใจ โรคปอดที่มีแผลในปอด ก็มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย เพราะช่วงที่มีการระบาดเชื้อก็ล่องลอยในอากาศ ทำให้ติดเชื้อได้
สังเกตอาการ RSV
ดูอายุของเด็กน้อยกว่า 1 ปี อยู่ในช่วงระบาด มีอาการที่หลอดลมฝอย หลอดลมมีอาการตีบ อักเสบ เนื้อปอดอักเสบก็มีอาการ RSVได้เยอะ ซึ่งก็ดูจากอาการ หากติดไม่รุนแรงจะไม่แยกจากการติดเชื้ออาการอื่นๆ เพราะการดูแลรักษาเหมือนกัน
อาการรุนแรงของRSV
การติดเชื้อไวรัสทุกชนิด ทิศทางการดำเนินของโรคใกล้เคียงกัน เวลาที่มีความรุนแรงนอกจากระบบทางเดินหายใจแล้ว
หากรุนแรงมากขึ้นจะเลือกที่ไปขึ้นส่วนบน อาการแทรกซ้อน เช่น จากที่เป็นหวัดแถวๆ ลำคอ มีน้ำมูกในลำคอ อาจจะทำให้เกิดไซนัส อักเสบ หูอักเสบ สูงไปอีกอาจจะไปถึงสมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ลงส่วนล่างหรือไปที่แขนงปอดและเนื้อปอด ถ้าลงมาแล้วถึงหัวใจก็อาจจะเป็นหัวใจอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ลักษณะการติดเชื้อไวรัสจะมีทิศทางคล้ายๆ กัน
วิธีการรักษาRSV
รักษาตามอาการ เพราะเซื้อไวรัสส่วนใหญ่ไม่มียารักษายกเว้นไวรัสบางชนิด รักษาตามอาการคือ มีน้ำมูก เด็กเล็กจะไม่ให้ยาลดน้ำมูก ล้างจมูก หากเป็นมากๆ แล้วเป็นเด็กโตก็อาจจะให้ยาลดน้ำมูก
ได้รับน้ำเพียงพอ การได้รับน้ำเพียงพอจะช่วยลดอาการไข้ ทำให้เสลดไม่เหนียวและขับเสมหะได้ด้วย เช็ดตัวบ่อย ดูแลตามอาการ ถ้ามีอาการหอบหืด เช่น แขนงหลอดลมมีอาการตีบ หมออาจะให้ยาขยายหลอดลมช่วย หรือถ้าปอดอักเสบก็จะรักษาปอดอักเสบด้วย เป็นการรักษาตามอาการ
เกิดเป็นโรคระยะยาว
เด็กที่เป็น RSV มีโอกาสเป็นโรคระยะยาว หากลงไปที่แขนงหลอดลมฝอยหรือว่าลงไปที่เนื้อปอด หายได้แต่ไม่สนิทจะมีรอยแผลที่ปอด เมื่อมีการกระตุ้น เช่น ติดเชื้อครั้งถัดไปหรือว่าอากาศเปลี่ยน มีฝุ่นกระตุ้นทำให้เกิดความไวมากขึ้น เป็นตัวหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการหอบหืด
เพราะบางทีการหายไม่สมบูรณ์ ผนังทางเดินหายใจอาจจะมีแผล เมื่อมีเชื้อโรคก็เกาะง่ายขึ้น โอกาสติดเชื้อง่ายขึ้น มีโอกาสหายขาดเมื่อโตขึ้น แข็งแรงขึ้น ไม่ติดเชื้อซ้ำร่างกายก็จะเยียวยาตัวเอง
ค่ารักษาพยาบาลหากต้องนอนรพ.
โดยทั่วไปเมื่อมีอาการน้อยๆ ดูแลที่บ้านได้ ไม่มีอาการแทรกซ้อน สามารถดูแลที่บ้านได้ แต่เมื่อลูกป่วย การจะออกไปทำงานนอกบ้านก็จะห่วงลูก และเด็กเวลามีไข้การกินยาก็ไม่ค่อยลด ยิ่งช่วงแรกๆ ของการเกิดไข้ ต้องใช้การเช็ดตัวช่วย พอตัวแห้ง ไข้ก็กลับมาอีก
เวลาที่เด็กเป็นไข้ กินยาแล้ว เช็ดตัวแล้ว ทำไมไข้ไม่ลง เพราะได้น้ำไม่เพียงพอ เพราะเวลาที่ลูกไม่สบายก็จะกินอาหารและดื่มน้ำน้อยลง จะเห็นว่าเวลาอยู่บ้านไข้ไม่ลง แต่พอไปรพ.คืนเดียวไข้ลงเลย เพราะการขาดน้ำทำให้ไข้ไม่ลง แต่ถ้าอยูบ้านแล้วกินน้ำมากพอ ก็จะช่วยให้ไข้ลง แต่เวลาที่ป่วยก็ไม่อยากกินอะไร ทำให้เป็นภาระกับพ่อแม่ เป็นมากขึ้นก็ต้องนอนรพ. ใช้เวลาไม่เกินสัปดาห์อาการก็จะหายดี
การป้องกัน RSV
ถ้ารู้แล้วว่าเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ คือไม่สัมผัสใกล้ชิดกับคนที่ป่วย สำหรับผู้ใหญ่เวลาติดไวรัส อาการไม่ค่อยรุนแรงเพราะเราป่วยกันมาเยอะแล้ว
1.ลดการสัมผัส การพาลูกไปที่อากาศปิด ไปเดินห้าง ดูหนัง คนเยอะ ก็มีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อ
2.ดูแลร่างกายให้แข็งแรง กินอาหารให้ครบถ้วน อาหารตามวัย มีนมเป็นอาหารเสริม ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ
3.ดูแลสุขอนามัย ล้างมือเป็นประจำ
4.ใส่หน้ากากอนามัย สำหรับเด็กที่อายุมากกว่า 2ปี เพราะตั้งแต่ใส่หน้าการเจ็บป่วยจากเชื้อไวรัสลดลง
Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB
Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube: https://bit.ly/3cxn31u
รักลูก The Expert Talk Ep.52 : ภัยร้าย RSV สนับสนุนโดย ธนชาตประกันภัย
โรค RSV เป็นการติดเชื้อไวรัสที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจมักจะเกิดขึ้นกับเด็ก มีอาการตั้งแต่เป็นหวัดเล็กน้อย จนถึงอาการรุนแรง เด็กมีโอกาสรับเชื้อได้ง่ายเพราะเป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจ
รู้จักเจ้าเชื้อไวรัส RSV พร้อมวิธีการรับมือและรักษาก่อนจะรุนแรง โดย The Expert รศ.นพ.พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรม
RSV สาเหุตเกิดจากอะไร
RSV เกิดจากเชื้อ ไวรัส RSV Respiratory Syncytial Virus เหมือนการติดเชื้อไวรัสที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจทั่วไป RSV มักจะเกิดการติดเชื้อในเด็ก และความรุนแรงตั้งแต่เป็นหวัดเล็กน้อย ไปจนถึงรุนแรง เช่น มีอาการลามไปที่แขนงถุงลมของปอดแล้วลงไปถึงเนื้อปอด ซึ่งก็จะทำให้เกิดอาการหอบ เวลาที่เราเห็นเด็กเป็นหวัดแล้วมีอาการไอมาก หายใจมีเสียงหวีดๆ
พ่อแม่จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น RSV หรือโรคหอบ
จริงๆ แล้วบอกได้ยาก สำหรับเด็กอายุน้อยกว่า 1ปี เพราะในครั้งแรกอาจจะเกิดจาก RSV แต่ถ้าเป็นหอบจะมีอาการซ้ำๆ หลายครั้ง ครั้งแรก RSV กระตุ้นให้เกิดอาการ ครั้งต่อไปบริเวณของหลอดลมที่เคยติดเชื้อมาแล้ว ก็อาจจะมีความไวมากเป็นพิเศษ แต่ถ้าเจอเชื้ออื่นๆ หรือมีอาการอื่น เช่น มีฝุ่นละอองกระตุ้นให้เกิดมีอาการภูมิแพ้ ก็อาจจะทำให้เกิดอาการหอบได้
ช่วงอายุที่เป็นมากที่สุดและอาการรุนแรง
อายุน้อยกว่า 1ปี อาการจะค่อยๆรุนแรง แต่อย่างไรก็ตามอาการรุนแรงก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งจากจำนวนตัวเชื้อที่ติด ร่างกายเด็กไม่ค่อยแข็งแรง สุขภาพไม่ดี การดูแลของพ่อแม่ช่วงที่เป็นโรคดูแลได้ไม่ค่อยดี ก็อาจจะทำให้เกิดความรุนแรงของโรคได้ ซึ่ง RSV เป็นโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ การป้องกันเรื่องที่ดีที่สุดและมีความสำคัญ
ปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิด RSV
1.เด็กอายุน้อยกว่า 1ปี มีโอกาสเป็นมากขึ้น
2.เด็กที่ร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง เป็นโรคเรื้อรัง
3.เด็กที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำเช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคหัวใจ โรคปอดที่มีแผลในปอด ก็มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย เพราะช่วงที่มีการระบาดเชื้อก็ล่องลอยในอากาศ ทำให้ติดเชื้อได้
สังเกตอาการ RSV
ดูอายุของเด็กน้อยกว่า 1 ปี อยู่ในช่วงระบาด มีอาการที่หลอดลมฝอย หลอดลมมีอาการตีบ อักเสบ เนื้อปอดอักเสบก็มีอาการ RSVได้เยอะ ซึ่งก็ดูจากอาการ หากติดไม่รุนแรงจะไม่แยกจากการติดเชื้ออาการอื่นๆ เพราะการดูแลรักษาเหมือนกัน
อาการรุนแรงของRSV
การติดเชื้อไวรัสทุกชนิด ทิศทางการดำเนินของโรคใกล้เคียงกัน เวลาที่มีความรุนแรงนอกจากระบบทางเดินหายใจแล้ว
หากรุนแรงมากขึ้นจะเลือกที่ไปขึ้นส่วนบน อาการแทรกซ้อน เช่น จากที่เป็นหวัดแถวๆ ลำคอ มีน้ำมูกในลำคอ อาจจะทำให้เกิดไซนัส อักเสบ หูอักเสบ สูงไปอีกอาจจะไปถึงสมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ลงส่วนล่างหรือไปที่แขนงปอดและเนื้อปอด ถ้าลงมาแล้วถึงหัวใจก็อาจจะเป็นหัวใจอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ลักษณะการติดเชื้อไวรัสจะมีทิศทางคล้ายๆ กัน
วิธีการรักษาRSV
รักษาตามอาการ เพราะเซื้อไวรัสส่วนใหญ่ไม่มียารักษายกเว้นไวรัสบางชนิด รักษาตามอาการคือ มีน้ำมูก เด็กเล็กจะไม่ให้ยาลดน้ำมูก ล้างจมูก หากเป็นมากๆ แล้วเป็นเด็กโตก็อาจจะให้ยาลดน้ำมูก
ได้รับน้ำเพียงพอ การได้รับน้ำเพียงพอจะช่วยลดอาการไข้ ทำให้เสลดไม่เหนียวและขับเสมหะได้ด้วย เช็ดตัวบ่อย ดูแลตามอาการ ถ้ามีอาการหอบหืด เช่น แขนงหลอดลมมีอาการตีบ หมออาจะให้ยาขยายหลอดลมช่วย หรือถ้าปอดอักเสบก็จะรักษาปอดอักเสบด้วย เป็นการรักษาตามอาการ
เกิดเป็นโรคระยะยาว
มีโอกาส เป็นโรคระยะยาว หากลงไปที่แขนงหลอดลมฝอย หรือว่าลงไปที่เนื้อปอด หายแต่ไม่สนิท มีรอยแผล เมื่อมีการกระตุ้น เช่น ติดเชื้อครั้งถัดไปหรือว่าอากาศเปลี่ยน มีฝุ่นกระตุ้นทำให้เกิดความไวมากขึ้น เป็นตัวหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการหอบหืด
เพราะบางทีการหายไม่สมบูรณ์ ผนังทางเดินหายใจอาจจะมีแผล เมื่อมีเชื้อโรคก็เกาะง่ายขึ้น โอกาสติดเชื้อง่ายขึ้น มีโอกาสหายขาดเมื่อโตขึ้น แข็งแรงขึ้น ไม่ติดเชื้อซ้ำร่างกายก็จะเยียวยาตัวเอง
ค่ารักษาพยาบาลหากต้องนอนรพ.
โดยทั่วไปเมื่อมีอาการน้อยๆ ดูแลที่บ้านได้ ไม่มีอาการแทรกซ้อน สามารถดูแลที่บ้านได้ แต่เมื่อลูกป่วย การจะออกไปทำงานนอกบ้านก็จะห่วงลูก และเด็กเวลามีไข้การกินยาก็ไม่ค่อยลด ยิ่งช่วงแรกๆ ของการเกิดไข้ ต้องใช้การเช็ดตัวช่วย พอตัวแห้ง ไข้ก็กลับมาอีก
เวลาที่เด็กเป็นไข้ กินยาแล้ว เช็ดตัวแล้ว ทำไมไข้ไม่ลง เพราะได้น้ำไม่เพียงพอ เพราะเวลาที่ลูกไม่สบายก็จะกินอาหารและดื่มน้ำน้อยลง จะเห็นว่าเวลาอยู่บ้านไข้ไม่ลง แต่พอไปรพ.คืนเดียวไข้ลงเลย เพราะการขาดน้ำทำให้ไข้ไม่ลง
แต่ถ้าอยูบ้านแล้วกินน้ำมากพอ ก็จะช่วยให้ไข้ลง แต่เวลาที่ป่วยก็ไม่อยากกินอะไร ทำให้เป็นภาระกับพ่อแม่ เป็นมากขึ้นก็ต้องนอนรพ. ใช้เวลาไม่เกินสัปดาห์อาการก็จะหายดี
การป้องกัน RSV
ถ้ารู้แล้วว่าเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ คือไม่สัมผัสใกล้ชิดกับคนที่ป่วย สำหรับผู้ใหญ่เวลาติดไวรัส อาการไม่ค่อยรุนแรงเพราะเราป่วยกันมาเยอะแล้ว
1.ลดการสัมผัส การพาลูกไปที่อากาศปิด ไปเดินห้าง ดูหนัง คนเยอะ ก็มีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อ
2.ดูแลร่างกายให้แข็งแรง กินอาหารให้ครบถ้วน อาหารตามวัย มีนมเป็นอาหารเสริม ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ
3.ดูแลสุขอนามัย ล้างมือเป็นประจำ
4.ใส่หน้ากากอนามัย สำหรับเด็กที่อายุมากกว่า 2ปี เพราะตั้งแต่ใส่หน้าการเจ็บป่วยจากเชื้อไวรัสลดลง
Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB
Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube:https://bit.ly/3cxn31u
#รักลูกPodcast
#รักลูกTheExpertTalk
#Moms_Issues
ไวรัส RSV เป็นไวรัสที่ยังไม่มีทั้งยารักษา มักแพร่ระบาดในช่วงฤดูฝน หรือแม้แต่ช่วงปลายฝนต้นหนาวก็ต้องระวังค่ะ เพราะเจ้าเชื้อนี้ชอบอากาศชื้น
ไวรัส RSV คืออะไร
Respiratory Syncytial virus หรือ RSV เป็นเชื้อไวรัสที่รู้จักกันมานานในวงการแพทย์ ซึ่ง RSV เป็นสาเหตุของอาการหรือโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในเด็กเล็ก
สาเหตุ
ไวรัส RSV จะพบมากและเจริญเติบโตได้ดีในช่วงที่มีอากาศชื้นโดยเฉพาะหน้าฝน หรือปลายฝนต้นหนาว แถมยังติดต่อกันได้ง่ายเพียงการสัมผัสใกล้ชิด หรือสัมผัสสารคัดหลั่งทางตาหรือจมูก และทางลมหายใจ
อาการ
- มีน้ำมูกใส
- มีอาการไอ
- จามมีเสมหะมาก
- หอบเหนื่อย หายใจเร็ว หายใจแรง หายใจครืดคราด มีเสียงหวีดในปอด
- ตัวเขียว
ไวรัส RSV กับโรคหวัดต่างกันอย่างไร
หวัดธรรมดาจะมีอาการไข้ ไอ จาม น้ำมูกไหล กินน้ำ กินนมได้ ซึ่งจะหายได้ใน 5-7 วัน แต่อาการที่เกิดจากไวรัส RSV มีอาการหอบ เหนื่อย บางคนหอบมากจนเป็นโรคปอดบวม หรือหายใจมีเสียงวี้ดแบบหลอดลมฝอยอักเสบ บางรายไอมากจนอาเจียน ซึมลง ตัวเขียว กินข้าว กินน้ำ กินนมไม่ได้
รักษา ไวรัส RSV
- ระวังเรื่องการขาดน้ำ เพราะจะยิ่งทำให้เสมหะเหนียวข้นและเชื้อลงปอด
- อาจต้องใช้ยาพ่นร่วมกับ oxygen เพื่อช่วยขยายหลอดลม
- รับประทานยาลดไข้ตามอาการทุก 4 – 6 ชั่วโมงพร้อมกับเช็ดตัวลดไข้
- นอนพักผ่อนเยอะ ๆ ร่างกายก็จะฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ใช้เวลาประมาณ 7 – 14 วัน จึงจะหาย
วิธีป้องกัน ไวรัส RSV
- ฉีดวัคซีน
- การล้างมือให้เด็กเล็กบ่อย ๆ และพี่เลี้ยงเด็กก็ต้องล้างมือบ่อย ๆ เช่นกัน
- รับประานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ครบ 5 หมู่
- ให้ลูกนอนพักผ่อนให้เพียงพอ
- ออกกำลังกายในที่อากาศถ่ายเท
หลีกเลี่ยงการสัมผัสเด็กที่สงสัยว่าเป็นหวัด และใส่หน้ากากอนามัยป้องกันเอาไว้ เมื่อมีเด็กป่วย หากเป็นไปได้ให้ผู้ปกครองรับกลับบ้าน แต่หากไม่สามารถรับกลับบ้านได้ ให้แยกเด็กและแยกเครื่องใช้ของเด็กป่วยออกจากเด็กปกติ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค หลีกเลี่ยงการจูบและหอมเด็ก เพราะอาจเป็นการแพร่เชื้อโดยไม่รู้ตัว ไม่พาบุตรหลานไปที่ชุมชมสถานที่ที่มีคนเยอะ
ไวรัส RSV ยังไม่มียารักษาโดยเฉพาะ แต่จะเป็นการรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น แถมยังมีอาการคล้ายโรคหวัด เพราะฉะนั้นพ่อแม่ต้องหมั่นสังเกตอาการของลูก ซ้ำร้ายเจ้าโรคนี้มีโอกาสเกิดซ้ำได้อีก ถ้าเด็ก ๆ ร่างกายอ่อนแอ ซึ่งจะกระตุ้นอาการหอบจนทำให้เป็นโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังในที่สุดค่ะ
อาการ RSV ในทารกจะประมาทไม่ได้เลยนะคะ เพราะหากรักษาช้าอาการ RSV อาจลุกลามไปถึงหลอดลมและปอดที่ทำให้อักเสบได้ค่ะ
อาการ RSV ในทารก โรคทางเดินหายใจจากไวรัสร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง
RSV หรือ Respiratory Syncytial Virus เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในเด็กเล็กต่ำกว่า 3 ขวบ มีสองสายพันธุ์ คือ RSV-A และ RSV-B
อาการ RSV ในทารกเป็นอย่างไร
ช่วงแรกอาจคล้ายไข้หวัดธรรมดา มีไข้ ไอ จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล สำหรับเด็กโตหรือเด็กที่สุขภาพแข็งแรงไม่มีโรคประจำตัว มักมีอาการไม่รุนแรงและหายได้เอง แต่สำหรับเด็กเล็กต่ำกว่า 2 ขวบ อาจมีอาการลุกลามไปยังหลอดลม และเนื้อปอดได้ ทำให้เกิดหลอดลมใหญ่อักเสบ หลอดลมฝอยอักเสบและปอดอักเสบ ซึ่งพ่อแม่สามารถสังเกตอาการได้ดังนี้
- มีไข้สูง
- ไอแรง
- หอบเหนื่อย
- หายใจมีเสียงหวีดหรือเสียงครืดคราดในลำคอ
การรักษาอาการ RSV ในทารก
การรักษาอาการ RSV ในทารก หรือเด็กร่างกายที่อ่อนแอมาก ๆ เช่น เด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนด เด็กที่มีโรคหัวใจ โรคปอด และหอบหืดอยู่แล้ว อาจมีอาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว อาจมีอาการหยุดหายใจเป็นช่วง ๆ หรือหายใจล้มเหลว ต้องรีบพาส่งโรงพยาบาลทันที และอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจด้วย
ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคนี้คุณหมอจะรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาแก้ไอละลายเสมหะ ยาขยายหลอดลม ยาลดไข้ หรือพ่นยา สำหรับเด็กป่วยที่มีอาการเหนื่อย หายใจไม่ค่อยดี และเริ่มมีออกซิเจนในเลือดต่ำลง จะเป็นการรักษาแบบประคับประคอง เช่น ให้สารน้ำทางหลอดเลือด ให้ยาพ่นขยายหลอดลม เคาะปอด ดูดเสมหะ รวมถึงให้ออกซิเจน
แต่หากเด็กมีอาการหนักมาก อาจต้องใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจ และต้องให้การดูแลอย่างใกล้ชิดจนกว่าอาการจะดีขึ้น
การรักษาโรค RSV จะใช้เวลาประมาณ 5-7 วัน ซึ่งในช่วง 1-2 วันแรก อาการไม่รุนแรนักง แต่ในช่วงวันที่ 3-5 ของโรคจะมีอาการรุนแรงมากสุด จากนั้นจะค่อยทุเลาลง
การป้องกันโรค RSV ในทารก
- หมั่นล้างมือบ่อย ๆ แล้ว
- บ้านที่มีเด็กป่วยควรแยกเด็กออกจากเด็กปกติเพื่อป้องกันการไอจามแพร่เชื้อให้กับผู้คนที่อยู่รอบข้าง
- ถ้าลูกเริ่มเข้าเนิร์สเซอรีหรือโรงเรียน พ่อแม่ควรให้ลูกหยุดเรียนอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์จนกว่าจะหายเป็นปกติ
- ทำความสะอาดบ้านและของเล่นลูกเป็นประจำ
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เด็กทารกที่สูดดมควันบุหรี่เข้าไปมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัส RSV และพบอาการที่รุนแรงได้มากกว่าเด็กที่ไม่ได้สูดดมควันบุหรี่
RSV เป็นโรคที่มีอาการคล้ายไข้หวัด พ่อแม่อย่าประมาทเด็ดขาด เพราะเด็กป่วยทีนอกจากความไม่สบายตัวแล้ว การรักษายังแพงแสนแพงอีกด้วย
อ้างอิง : สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย
เตรียมพร้อมรับมือ 5 โรคยอดฮิตในโรงเรียน เปิดเทอมมั่นใจ
ใกล้เปิดเทอมทีไร คุณพ่อคุณแม่ใจเต้นแรงทุกที เพราะต้องลุ้นว่าลูกจะสนุกกับการเล่นกับเพื่อนและพร้อมเรียนรู้มากแค่ไหน และยังต้องลุ้นว่าลูกจะไม่สบายจากโรคติดต่อของเด็กที่พบบ่อยในช่วงเปิดเทอมหรือเปล่า แต่คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องเป็นกังวลไปค่ะ เพราะเราสามารถเตรียมความพร้อมให้ลูกแข็งแรง มีภูมิต้านทาน พร้อมลุยทุกสถานการณ์และพร้อมกลับไปสนุกที่โรงเรียนได้ค่ะ
5 โรคยอดฮิตที่มักระบาดในโรงเรียน
- อีสุกอีใส -เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (Varicella-Zoster Virus) ติดต่อโดยการหายใจเอาฝอยละอองจากทางเดินหายใจของผู้ป่วยเข้าไป หรือจากการสัมผัสโดยตรงกับตุ่มน้ำที่ผิวหนังของผู้ป่วยที่อยู่ในระยะแพร่เชื้อ
- ท้องร่วง ท้องเสีย– เกิดจากไวรัสโรต้า ติดต่อจากการได้รับเชื้อเข้าสู่ปากโดยตรง เช่น เชื้อปนเปื้อนมากับมือ สิ่งของ เครื่องใช้ หรือของเล่นต่าง ๆ รวมทั้งอาหารและน้ำ
- ไข้หวัดใหญ่ - เกิดจากการติดเชื้ออินฟลูเอนซาไวรัส(Influenza Virus) ซึ่งอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย และติดต่อผ่านการไอ จาม หรือการหายใจรดกัน
- โรคมือเท้าปาก – เกิดจากเชื้อไวรัส Enterovirus 71 (EV71) ผ่านทางระบบทางเดินอาหารและระบบหายใจ เช่น อาหารปนเปื้อนเชื้อโรค ของเล่นปนเปื้อนเชื้อโรค หรือติดต่อผ่านการไอ จาม เป็นต้น
- โรคRSV – เกิดจากการรับเชื้อไวรัส RSV ผ่านทางสารคัดหลั่งต่าง ๆ เช่น น้ำลาย น้ำมูก ไอ จาม เป็นต้น ทำให้เกิดการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ
สิ่งสำคัญที่สุดที่จะช่วยเตรียมความพร้อมให้ลูกสู้กับ 5 โรคนี้ได้ คือ การเสริมภูมิต้านทานในทุก ๆ ด้าน และพ่อแม่มืออาชีพอย่างเรานี่ล่ะค่ะ ที่จะต้องหาวิธีเสริมภูมิต้านทานให้ลูก โดยเฉพาะการรักษาความสะอาดอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ลูกรู้จักป้องกันตัวเองจากโรคต่าง ๆ พร้อมเสริมภูมิต้านทานให้แข็งแรงเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
5 วิธีเสริมภูมิต้านทานแข็งแรงให้ลูกพร้อมรับเปิดเทอม
- รับวัคซีนที่จำเป็นสำหรับเด็กในแต่ละช่วงวัย - ลูกๆ วัยเรียนยังต้องได้รับวัคซีนตามช่วงวัย ตามคำแนะนำของแพทย์นะคะ การให้ลูกได้รับวัคซีนครบถ้วนเป็นหนึ่งในการเสริมเกราะภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ช่วยลดความรุนแรงของอาการหากเกิดการติดเชื้อ และลดโอกาสการแพร่ระบาดของเชื้อในโรงเรียนอีกด้วย
- สอนเรื่องความสะอาด - เรื่องนี้สำคัญค่ะ เพราะเวลาไปโรงเรียนเด็กๆ มักมีการสัมผัสของเล่น หรือสิ่งของที่ใช้ร่วมกันเป็นจำนวนมาก เป็นการเพิ่มโอกาสการระบาดของเชื้อโรคต่างๆในโรงเรียนได้ง่ายขึ้น เรื่องของการรักษาสุขอนามัยสามารถฝึกได้ตั้งแต่ที่บ้าน เช่น ล้างมือหลังเล่นเสร็จ ล้างมือก่อนทานอาหาร หมั่นนำของเล่น ของใช้มาทำความสะอาด ฝึกสวมใส่หน้ากากอนามัยในที่สาธารณะ คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสอนให้ลูกปฏิบัติเป็นประจำ ลูกจะจดจำและสามารถทำได้เองทั้งในบ้านและในโรงเรียน
- กินอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ปรุงสุก สะอาด หลากหลายครบ5 หมู่ ให้เด็กได้รับสารอาหารและโภชนาการที่เหมาะสมตามช่วงวัย โดยเด็กๆ สามารถเสริมด้วยนมวันละ 2-3 แก้ว ซึ่งปัจจุบันมีนมเสริมสารอาหารเป็นตัวเลือกเพื่อช่วยเพิ่มโภชนาการให้เพียงพอกับความต้องการของเด็ก รวมถึงการเสริมวิตามินซี และใยอาหารพรีไบโอติก เช่น กอสแอลซีฟอส ที่มีส่วนช่วยเสริมภูมิต้านทานอีกด้วย
- จัดเตรียมตัวช่วยต่าง ๆ ใส่กระเป๋า – ไม่ว่าจะเป็นหน้ากากอนามัย หรือผ้าเช็ดหน้า เพื่อให้ลูกหยิบขึ้นมาใช้ได้ทันที เช่น เมื่ออยู่ใกล้เพื่อนเป็นหวัด หรือมีอาการไอ จาม เป็นต้น
- พักผ่อนให้เพียงพอและออกกำลังกายเป็นประจำ - ลูกควรได้นอนหลับสนิทเฉลี่ย 10 ชั่วโมง/วัน และให้เด็กวิ่งเล่น ออกกำลังกายอย่างน้อย 1 ชั่วโมง/วัน จะช่วยให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเติบโตได้อย่างสมวัย
หากทำเป็นประจำทุกวัน ลูก ๆ ก็จะมีภูมิต้านทานที่ดี มีร่างกายแข็งแรงพร้อมออกไปเล่น ไปลุย กับเพื่อน ๆ ได้ไม่กลัวป่วย พร้อมทั้งเสริมระบบประสาทและสมอง พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ๆในโรงเรียน ต่อยอดสู่ความคิดสร้างสรรค์ การคิดวิเคราะห์ รวมถึงทักษะสำคัญต่อการใช้ชีวิตในอนาคตค่ะ
อีกหนึ่งตัวช่วยดีๆ ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถเลือกเสริมภูมิต้านทานให้กับลูกได้ คือนมเสริมสารอาหารไฮคิว ยูเอชที ที่มีสารอาหารเพื่อเสริมภูมิต้านทานให้ลูกรับเปิดเทอมอย่างมั่นใจ และช่วยเสริมสมองพร้อมเรียนรู้
√
🧠 มีDHA, Omega 3,6,9 และวิตามินบี 12 สูง มีส่วนช่วยในการทำงานตามปกติของระบบประสาทและสมอง
√
🛡️ มีใยอาหารพรีไบโอติก GOS/lcFOS วิตามินซีสูง และ วิตามินบี 12 สูง มีส่วนช่วยในการทำหน้าที่ตามปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
√
🦷 มีวิตามินดีสูง แคลเซียมสูง มีส่วนช่วยในกระบวนการสร้างกระดูกและฟันที่แข็งแรง
√
ผลิตจากนมโคแท้ รสชาติอร่อย 😋
√
และควรกินอาหารหลากหลายครบ 5 หมู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมเป็นประจำ
ไวรัส RSV เป็นไวรัสซึ่งทำให้คุณพ่อคุณแม่กลัวมาก เนื่องจากไวรัส RSVยังไม่มีทั้งยารักษาและวัคซีนป้องกัน และไวรัส RSVมักแพร่ระบาดในช่วงฤดูฝน เราเลยขอนำเรื่องไวรัส RSV ไวรัสร้ายตัวนี้มาบอกกล่าวกันอีกครั้งค่ะ
ไวรัส RSV คืออะไร
Respiratory Syncytial virus หรือ RSV เป็นเชื้อไวรัสที่รู้จักกันมานานในวงการแพทย์ ซึ่ง RSV เป็นสาเหตุของอาการหรือโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในเด็กเล็ก
ร่างกายได้รับไวรัส RSV ได้อย่างไร
ไวรัส RSV จะพบมากและเจริญเติบโตได้ดีในช่วงที่มีอากาศชื้นโดยเฉพาะหน้าฝน แถมยังติดต่อกันได้ง่ายเพียงการสัมผัสใกล้ชิด หรือสัมผัสสารคัดหลั่งทางตาหรือจมูก และทางลมหายใจ
ไวรัส RSV ทำให้เกิดอาการอย่างไร RSV ก่อโรคในทางเดินหายใจ แบ่งอาการเป็น 3 กลุ่มคือ
- ทางเดินหายใจส่วนต้นอักเสบ ทำให้มีอาการคล้ายหวัด มีไข้ ไอ น้ำมูกไหล คออักเสบ
- ทางเดินหายใจส่วนล่างอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หลอดลมฝอยอักเสบ ซึ่งมักเป็นในเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี
- ในบางรายมีอาการรุนแรง ไข้สูง หอบเหนื่อย ซึ่งมีสาเหตุมาจาก ไวรัส RSV ตั้งแต่ 40 –90 % รวมไปถึงปอดบวม
ไวรัส RSV ต่างจากหวัดธรรมดาอย่างไร
หวัดธรรมดาจะมีอาการไข้ ไอ จาม น้ำมูกไหล กินน้ำ กินนมได้ ซึ่งจะหายได้ใน 5-7 วัน แต่อาการที่เกิดจากไวรัส RSV มีอาการหอบ เหนื่อย บางคนหอบมากจนเป็นโรคปอดบวม หรือหายใจมีเสียงวี้ดแบบหลอดลมฝอยอักเสบ บางรายไอมากจนอาเจียน ซึมลง ตัวเขียว กินข้าว กินน้ำ กินนมไม่ได้
รักษา ไวรัส RSV อย่างไร
ระวังเรื่องการขาดนน้ำ เพราะจะยิ่งทำให้เสมหะเหนียวข้นและเชื้อลงปอด อาจต้องใช้ยาพ่นร่วมกับ oxygen เพื่อช่วยขยายหลอดลม รับประทานยาลดไข้ตามอาการทุก 4 – 6 ชั่วโมงพร้อมกับเช็ดตัวลดไข้ นอนพักผ่อนเยอะๆ ร่างกายก็จะฟื้นตัวอย่างช้าๆ ใช้เวลาประมาณ 7 – 14 วัน จึงจะหาย
วิธีป้องกัน ไวรัส RSV
- การล้างมือให้เด็กเล็กบ่อยๆ และพี่เลี้ยงเด็กก็ต้องล้างมือบ่อยๆ เช่นกัน หลีกเลี่ยงการสัมผัสเด็กที่สงสัยว่าเป็นหวัด และใส่หน้ากากอนามัยป้องกันเอาไว้
- เมื่อมีเด็กป่วย หากเป็นไปได้ให้ผู้ปกครองรับกลับบ้าน แต่หากไม่สามารถรับกลับบ้านได้ ให้แยกเด็กและแยกเครื่องใช้ของเด็กป่วยออกจากเด็กปกติ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค
- หลีกเลี่ยงการจูบและหอมเด็ก เพราะอาจเป็นการแพร่เชื้อโดยไม่รู้ตัว ไม่พาบุตรหลานไปที่ชุมชมสถานที่ที่มีคนเยอะ
ถ้ามองเผิน ๆ คุณพ่อคุณแม่อาจจะคิดว่าน้องเป็นหวัดธรรมดา แต่ถ้าไม่สังเกตอาการให้ดีและปล่อยไว้นานอาจจะกลายเป็นโรคร้ายที่อันตรายต่อชีวิตเด็ก ๆ ได้ค่ะ ที่น่ากลัวกว่านั้นคือ มีโอกาสที่จะเกิดซ้ำอีกได้ถ้าน้อง ๆ ร่างกายอ่อนแอ ซึ่งจะกระตุ้นอาการหอบจนทำให้เป็นโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังในที่สุดค่ะ
ไวรัสร้ายที่อันตรายต่อระบบทางเดิอนหายใจลูกไม่ได้มีแค่ RSV ค่ะ แต่ยังมี hMPV ที่อันตรายใกล้เคียง RSV มาก และเป็นอีกหนึ่งตัวร้ายที่ทำให้ลูกเล็กปอดอักเสบได้ค่ะ
ไวรัสปอดอักเสบ hMPV อันตรายใกล้เคียง RSV ที่พ่อแม่ต้องรู้จักไว้และป้องกัน
คุณพ่อคุณแม่เคยได้ยินเชื้อไวรัส Human Metapneumovirus(hMPV) (ฮิวแมนเมตานิวโมไวรัส) ไหมคะ อาจจะคุ้น ๆ กันอยู่บ้างเพราะเป็นไวรัสที่หมอเด็กจะพูดถึงบ่อย ๆ เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยทางระบบทางเดินหายใจในเด็ก โดยมีอาการตั้งแต่อาการหวัดเพียงเล็กน้อย จนถึงขั้นรุนแรง เช่น ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ชนิดที่เรียกว่า Bronchiolitis
เชื้อไวรัส "ฮิวแมนเมตานิวโมไวรัส" hMPV คืออะไร
เชื้อไวรัสกลุ่มนี้เป็นสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วยด้วยอาการโรคทางเดินหายใจในเด็กเล็ก อายุน้อยกว่า 1 ปี ได้ถึงร้อยละ 25-50 ช่วงระบาดในแถบยุโรปจะเป็นช่วงฤดูหนาว ส่วนในแถบเขตร้อน เช่น ประเทศไทย ก็จะเป็นช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว
ส่วนใหญ่จะเกิดการติดเชื้อนี้ในช่วงขวบปีแรกของชีวิต และพบว่าภายในช่วงอายุ 5-6 ปี เด็กแทบทุกคน(ร้อยละ 96-100) จะเคยได้รับเชื้อไวรัสนี้และมีภูมิต้านทานขึ้นในกระแสเลือด ซึ่งลักษณะการแพร่ระบาดและอาการนั้นใกล้เคียงกับการติดเชื้อ Respiratory Syncytial Virus (RSV)
และแม้ว่าเชื้อ Human Metapneumovirus (hMPV) นี้จะพบว่าส่วนใหญ่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยในเด็กเล็ก แต่ก็พบว่าในผู้ใหญ่ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคปอด โรคระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคมะเร็ง เป็นต้น ก็มีปัญหาการติดเชื้อนี้และเกิดอาการทางเดินหายใจที่รุนแรงได้เช่นกัน
การติดเชื้อร่วมกันกับไวรัสเชื้ออื่น ๆ
การติดเชื้อ Human Metapneumovirus(hMPV) นี้มักพบร่วมกับการติดเชื้อทางเดินหายใจมากกว่าหนึ่งชนิดในการเจ็บป่วยครั้งนั้น ๆ เช่น ในเด็กที่ป่วยเป็นโรคหลอดลมอักเสบชนิด Bronchiolitis อาจพบว่ามีการติดเชื้อได้ 2 หรือมากกว่า 2 ชนิด ถึงประมาณร้อยละ10-20 ทำให้อาการของเด็กที่ป่วยมีความรุนแรงขึ้นและใช้เวลานานขึ้นกว่าจะหายเป็นปกติ
วัคซีนป้องกัน hMPV
ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ Human Metapneumovirus (hMPV)
การรักษา "ฮิวแมนเมตานิวโมไวรัส" hMPV
เป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการที่ป่วย และปัจจุบันยังไม่มียาเฉพาะที่มีฤทธิ์ต้านไวรัสนี้ ส่วนใหญ่แล้วอาการมักจะเป็นในระดับน้อยถึงปานกลาง ทำการพ่นยาทานยารักษาตามอาการ ก็มักจะเริ่มดีขึ้นเองใน 5-7 วัน
ส่วนในรายที่เป็นมากมีปัญหาปอดบวมหรือหอบรุนแรง ทำให้เกิดการหายใจล้มเหลว ฯลฯ ก็ควรอยู่ดูแลในโรงพยาบาล เพื่อการพ่นยา เคาะปอด ดูดเสมหะ ให้ออกซิเจนช่วยในรายที่จำเป็นก็อาจต้องเข้ารักษาในหอดูแลผู้ป่วยวิกฤต(ไอซียู) จนกว่าอาการต่าง ๆ นี้จะทุเลาลงและเมื่อออกจาก ไอซียูแล้วยังต้องพักรักษาตัวต่อจนกว่าหายเป็นปกติ
การป้องกันไวรัส hMPV
การแยกผู้ป่วย และการหลีกเลี่ยงไม่ไปสัมผัสโรค เช่น หลีกเลี่ยงการอยู่ในคนหมู่มาก การใช้หน้ากากอนามัย การล้างมือ จะช่วยลดการแพร่กระจายของโรคได้ในระดับหนึ่ง
ขอบคุณข้อมูลจาก
นพ.ประสงค์ พฤกษานานนท์