Overfeeding คือ การให้นมมากไปจนเกิดอาการท้องบวมเป่ง ท้องใหญ่ ลูกร้องงอแง บิดตัวไม่สบายตัว และแหวะนม อาการเหล่านี้เกิดได้อย่างไร อันตรายไหม เรามีคำแนะนำค่ะ
Overfeeding ลูกกินนมเยอะไปอันตรายหรือไม่
Overfeeding คืออะไร
Overfeeding คือ การที่ทารกดื่มนมมากเกินไปจนไม่สามารถย่อย ดูดซึม หรือ ขับถ่ายได้ทันกับปริมาณนมที่กิน ทำให้ลูกไม่สบายตัว ไม่สบายท้อง และอาจมีอาการแหวะนม อ้วกนมออกมา ซึ่งสามารถเกิดได้ทั้งกับการเข้าเต้า และการดื่มนมจากขวด
อาการ Overfeeding
- บิดตัว เอี้ยวตัวเหยียดแขนเหยียดขา ส่งเสียงเอี๊ยดอ๊าด
- มีเสียงครืดคราดในคอ คล้ายมีเสมหะในคอ เสียงดังกล่าวเกิดจากนมที่ดื่มเข้าไปล้นขึ้นมาที่คอหอยแล้ว ทำให้ลูกมีท่าทางคล้ายจะอาเจียน แต่ไม่อาเจียนออกมา
- ท้องโป่งตึง ตลอดเวลา ท้องไม่ยุบ
- ร้องกวน ร้องบ่อย ไม่สุขสบาย
- สำรอกนม ทางปาก และจมูก
ป้องกัน Overfeeding อย่างไร
- ให้ลูกกินจนอิ่ม ในปริมาณที่เหมาะสมตามน้ำหนักตัว
- หากลูกร้องมาก ต้องพยายามปลอบให้ลูกหยุดร้อง เพราะหากลูกร้องไห้หนักขึ้น อากาศจะเข้าไปในกระเพาะอาหารทำให้ลูกท้องอืดมากขึ้น แน่นอึดอัดมากขึ้น ทรมานมากขึ้น
- เด็กที่แหวะนม แนะนำให้คุณแม่อุ้มพาดบ่าประมาณ 30 นาที อย่าให้นอนราบทันทีเพราะการอาเจียนบ่อยทำให้กรดจากกระเพาะอาหารย้อนออกมาทำให้หลอดอาหารเป็นแผลได้
- ให้นมเป็นเวลา อย่าให้ทุกครั้งเมื่อลูกร้องไห้
หากปล่อยให้ลูกมีอาการ Overfeeding จะอันตรายไหม
หากคุณแม่ปล่อยให้ลูกมีอาการ Overfeeding โดยไม่รีบแก้ไข หรือ เป็นบ่อย จะส่งผลเสีย เช่น หลอดอาหารระคายเคืองจากการแหวะหรืออ้วกนมบ่อย หายใจไม่สะดวก งอแง หงุดหงิดง่าย เป็นต้น ดังนั้น หากรู้ว่าลูกมีอาการ Overfeeding ต้องรีบแก้ไขค่ะ เพราะบางครั้งลูกร้องงอแงไม่ได้แปลว่าหิวเสมอไป เขาอาจจะอยากให้คุณแม่อุ้ม อยากให้กอด หรือมีความต้องการอื่น ๆ ที่ไม่ใช่หิวนมอย่างเดียวค่ะ
นมเสริมสำหรับเด็กใครว่าไม่สำคัญ แม่เลือกถูก ลูกพัฒนาการสมองดี เรียนรู้ไม่มีสะดุด
นมเสริมสำหรับเด็กตามช่วงวัย เป็นสิ่งจำเป็นที่คุณแม่จะต้องเลือกให้เหมาะสมกับลูกที่มีความต้องการต่างกัน เพื่อให้เขามีพัฒนาการสมวัย เรียนรู้ได้ดี ไม่มีสะดุด จะเลือกนมเสริมอย่างไร เสริมนมสูตรไหนให้เหมาะกับลูก เรามีคำแนะนำค่ะ
ลูกท้องผูก ท้องอืด โคลิก แหวะนม ปัญหาอันดับต้นที่แม่ต้องรู้ก่อนเลือกนมเสริม
รู้ไหมคะว่า เมื่อลูกเริ่มดื่มนมเสริม ปัญหาอันดับหนึ่งที่พบบ่อยคือ อาการท้องผูก ลูกท้องอืด ซึ่งส่งผลทำให้ไม่สบายท้อง ร้องกวนและโคลิกนั่นเอง สาเหตุหลักมักมาจากระบบย่อยของเด็กยังทำงานไม่สมบูรณ์ ยังไม่สามารถย่อยโปรตีนและน้ำตาลแลคโตสในนมได้หมดจนเกิดเป็นแก๊สในท้อง หากปล่อยไว้นาน อาการท้องผูก ท้องอืด จะส่งผลต่อพัฒนาการเด็กในระยะยาว นั่นคือ ลูกไม่สบายตัว อารมณ์ไม่ดี ไม่พร้อมเรียนรู้ ทำให้การพัฒนาการทั้ง EQ และ IQ สะดุดได้เลยค่ะ ดังนั้น นอกจากสารอาหารสำคัญในนมแล้ว การเลือกสูตรนมที่เหมาะสมสำหรับลูก จึงควรช่วยลดและป้องกันอาการท้องผูก ท้องอืดที่เป็นปัญหาสำคัญนี้ด้วยค่ะ
นมเสริมสำหรับเด็ก เสริมนมสูตรไหนถึงจะเหมาะกับพัฒนาการของลูก
เด็กทุกคนมีความต่างกันค่ะ ดังนั้น การเลือกนมเสริมหรือสูตรนมจึงจำเป็นต้องเลือกให้เหมาะกับความต้องการ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการของเขาให้มากที่สุด
นมเสริมสำหรับลูกที่มีอาการท้องผูก ท้องอืด โคลิก แหวะนม
สูตรนมเสริมสำหรับลูกท้องผูก ท้องอืดบ่อย ๆ ควรเป็นนมที่มีโปรตีนนมที่ผ่านการย่อยบางส่วน(PHP) ทำให้ขนาดเล็กลง น้ำตาลแลคโตสต่ำกว่าสูตรปกติ นมสูตรนี้จึงย่อยง่ายและดูดซึมที่ลำไส้ได้ดี ช่วยลดอาการไม่สบายท้อง ท้องอืด ท้องผูก ร้องกวน แหวะนม เหมาะสำหรับลูกที่ต้องการสูตรนมที่อ่อนโยน และควรมีสารอาหารสำคัญที่ส่งเสริมการทำงานของสมองไปพร้อมกัน เช่นDHA MFGM หรือเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันที่พบได้ในนมแม่ เป็นต้น ทำให้เขาได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อพัฒนาการเด็กตามช่วงวัย เรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง ไม่มีสะดุดค่ะ
PHP คือ Partially Hydrolyzed Protein โปรตีนนมที่ผ่านการย่อยบางส่วน จะมีขนาดโมเลกุลบางส่วนเล็กลงเมื่อเทียบกับโปรตีนปกติ ซึ่งคุณแม่มักเรียกนมสูตรที่มี PHP ว่า นมสูตรย่อยง่าย โดยมีผลวิจัยระบุว่า PHP ช่วยลดอาการไม่สบายท้องได้ภายใน 24 ชั่วโมง และช่วยให้อุจจาระอ่อนนุ่มคงตัว ไม่แข็ง ทำให้ถ่ายง่าย* หากลูกมีอาการดื่มนมแล้วท้องผูก ท้องอืด ลองมองหานมเสริมสูตรนี้ค่ะ
*Berseth CL et al, Cline pediatr (Phila). 2009;48:58-65.
นมเสริมพัฒนาการสมองสำหรับลูกวัยพร้อมเรียนรู้
สำหรับเด็ก ๆ ที่ไม่ได้มีอาการไม่สบายท้อง ก็อาจเลือกนมสูตรเสริมพัฒนาการสมองค่ะ เช่น ช่วง 3 ขวบปีแรก เป็นช่วงที่สมองกำลังพัฒนาสูงสุด ลูกกำลังตั้งคำถาม สำรวจสิ่งรอบตัวเพื่อเรียนรู้ ดังนั้น นมเสริมสำหรับลูกวัยนี้จึงควรมีสารอาหารสำคัญที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของสมอง เช่น DHA MFGM รวมทั้งสารอาหารอื่นๆ เช่น 2’-FL (ใยอาหารที่ช่วยส่งเสริมระบบทางเดินอาหารและเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน) เป็นต้น
เมื่อร่างกายลูกพร้อม สมองได้รับการส่งเสริมด้วยสารอาหารสำคัญ เขาก็จะเต็มที่กับการออกไปเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ รอบตัวไปพร้อมกับเพื่อน ซึ่งเป็นก้าวสำคัญที่จะทำให้ลูกได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ การปรับตัวเข้าสังคม การช่วยเหลือและแบ่งปัน รวมไปถึงความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น ทำให้ลูกมีทั้งความฉลาดทางสติปัญญา (IQ) และความฉลาดทางอารมณ์ (EQ)
คุณแม่รู้หลักการการเลือกนมเสริมสำหรับลูกที่มีความต้องการและการดูแลต่างกันแล้วนะคะ สิ่งสำคัญไปมากกว่านั้นคือ ควรเลือกนมเสริมที่มีสารอาหารสำคัญครบถ้วน เหมาะสมตามช่วงวัยและพัฒนาการ บวกกับการเปิดโอกาสให้ลูกออกไปเล่นและเรียนรู้ กินอิ่ม นอนหลับสบาย รับรองเลยว่าพัฒนาการที่ดีจะเป็นพื้นฐานสำคัญให้เขาต่อยอดไปสู่อนาคตที่ดีที่สุดของเขาเช่นกันค่ะ
(พื้นที่เพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์)
ลูกทารกแรกเกิดมักมีอาการผิดปกติบางอย่างที่ทำให้พ่อแม่กังวลใจ นี่คือ 12 อาการที่พบบ่อยในเด็กทารกแรกเกิด พร้อมสาเหตุ วิธีป้องกันและรักษาอย่างถูกต้อง
รวม 12 อาการที่พบบ่อยในเด็กทารก พร้อมวิธีรักษาและการป้องกัน
1. ผื่นผ้าอ้อม ผื่นแพ้ผ้าอ้อม อาการผื่นผ้าอ้อม
ผื่นผ้าอ้อมเกิดขึ้นบ่อยกับเด็กทารกวัย 4 - 12 เดือน แต่ก็นับว่าเป็นเรื่องหนักอกของคุณพ่อคุณแม่ไม่น้อยเลยนะคะ ที่ผิวสวย ๆ ของลูกถูกแทนที่ด้วย ผื่นผ้าอ้อม ผื่นแดง ปื้นแดง ผิวหนังลอกออกเป็นแผ่น ๆ จนทำให้ลูกระคายเคืองเจ็บแสบ แต่อย่าเครียดมากไปนะคะเพราะผื่นผ้าอ้อมจะค่อย ๆ ดีขึ้น และหายไปได้เองหากดูแลอย่างถูกต้อง และเพื่อไม่ให้ผื่นตัวร้ายกลับมาเยือนผิวสวย ๆ ของลูกอีกครั้ง มารู้วิธีปกป้องผิวจากผื่นผ้าอ้อมและยาทาผื่นผ้าอ้อมกันเลยค่ะ อ่านบทความผื่นผ้าอ้อม
2. ลูกพูดช้า
ลูกถึงวัยที่พูดได้แล้ว แต่ลูกยังไม่ยอมพูด ลูกพูดช้า ลูกพูดไม่ได้ ลูกพูดไม่ชัด คุณพ่อคุณแม่คงแอบกังวลใจอยู่ไม่น้อย สาเหตุอะไรที่ลูกพูดไม่ชัด ลูกไม่พูด ลูกพูดช้า แม่แอดมินมีคำแนะนำไว้ดังนี้ค่ะ อ่านบทความวิธีแก้ไขปัญหาพูดช้า
3. กลากน้ำนม เกลื้อนน้ำนม กลากน้ำนม
ถ้าฟังแค่ชื่อก็อาจเข้าใจผิดคิดว่าหมายถึง โรคกลาก ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อรา แต่จริง ๆ แล้ว กลากน้ำนม เป็นคนละโรคกับ โรคกลาก โดยสิ้นเชิง
กลากน้ำนม (Pityriasis Alba) หรือ เกลื้อนน้ำนม คือผิวหนังบางลงโดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้สีผิวบริเวณนั้นจางลงเป็นวงด่าง โดยในช่วงแรกอาจเป็นผื่นชมพูอ่อน ๆ แห้งและตกสะเก็ด คล้ายอาการ ผื่นผิวหนังอักเสบ (Eczema) โรคนี้สามารถพบบ่อยในเด็ก อ่านบทความกลากน้ำนม
4. ลูกแหวะนม ทารกแหวะนม อาการแหวะนม
อาการแหวะนมของทารกช่วงแรกคลอด – 4 เดือน เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ค่ะ สาเหตุของการ แหวะนม เกิดจากเพราะกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารและกระเพาะทำงานยังไม่เต็มที่ หรือลูกกินลมเข้าไปมากจากการดื่มนมผิดวิธี เมื่อกล้ามเนื้อแข็งแรงและปรับตัวได้ การกินของลูกจะดีขึ้น อาการแหวะนมจะหายไปได้เอง หากแหวะนมบ่อยมาก เช่น ทุกครั้งหลังดื่มนมลูกจะแหวะนม และแหวะนมร่วมกับอาเจียนเป็นประจำต่อเนื่อง อาจเกิดความผิดปกติในท้อง เช่น เนื้องอก หากแหวะนมเป็นเวลานาน และน้ำหนักลดลง อาจมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ควรปรึกษากุมารแพทย์โดยด่วน อ่านบทความแหวะนม
5. ลูกแพ้นมวัว อาการแพ้นมวัว แพ้นมวัว
มักเป็นในเด็กเล็กวัยต่ำกว่า 1 ปี สาเหตุของการแพ้นมวัวเกิดจากพันธุกรรม พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ เพราะอาการนี้ถ่ายทอดทางสายเลือดทำให้ลูกแพ้นมวัวได้ รวมถึงการถูกกระตุ้นด้วยสารก่อภูมิแพ้ เช่น ช่วงตั้งครรภ์คุณแม่กินนมวัวมากเกินกว่าปกติ ทำให้ลูกในท้องมีโอกาสที่จะแพ้นมวัวได้ง่ายค่ะ อ่านบทความแพ้นมวัว
6. ลูกเป็นโคลิก อาการโคลิก
โคลิก คือการร้องแบบไม่มีสาเหตุ ปกติแล้วเด็กทารกวัย 1-3 เดือน ลูกร้องไห้แผดเสียง หน้าแดง ร้องเหมือนเจ็บ กำมือแน่น ขางอเข้าหาตัวโดยที่ไม่มีสาเหตุ ร้องมากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน ร้องมากกว่า 3 วันต่ออาทิตย์ และร้องมากกว่า 3 อาทิตย์ ให้สันนิษฐานได้เลยว่าลูกเป็นโคลิกค่ะ สาเหตุของโคลิกเกิดได้จากหลายอย่าง เช่น ทารกท้องอืดท้องเฟ้อ อากาศหนาวหรือร้อนเกินไป ห้องนอนเสียงดังเกินไป เป็นต้น ดังนั้นหากดูอาการแล้วลูกเข้าข่ายอาการโคลิก คุณแม่สามารถปรึกษาคุณหมอเพื่อการดูแลที่ถูกต้องได้ค่ะ อ่านบทความโคลิก
7. ลูกไม่หลับยาว
การที่ลูกนอนหลับยาก ไม่ยอมนอน หรือตื่นมาร้องไห้งอแงตอนกลางคืน เป็นเรื่องปกติที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเจอ เพราะในช่วงแรกหลังคลอด เขายังต้องปรับตัวกับโลกภายนอกท้องแม่ ได้รับแสงสว่าง ได้ยินเสียง หรือสัมผัสอากาศที่ไม่ใช่ในท้องแม่ ซึ่งโดยปกติแล้วเขาจะค่อย ๆ ปรับตัวให้นอนได้ยาวขึ้นทั้งกลางวันและกลางคืนตามพัฒนาการ รวมถึงถ้าจัดสภาพแวดล้อมในการนอน การดูแลก่อนนอนให้ดี เขาจะสามารถปรับตัวและเวลนอนได้ดีขึ้นค่ะ อ่านบทความลูกไม่หลับยาว วิธีทําให้ลูกหลับยาวตอนกลางคืน
8. ทารกตัวเหลืองตาเหลือง ลูกมีภาวะตัวเหลืองหลังคลอด
ภาวะทารกตัวเหลือง คือ ภาวะที่ร่างกายมีสารสีเหลืองที่เรียกว่า บิลิรูบิน (Bilirubin) ในกระแสเลือดมากกว่าปกติ สาเหตุที่เด็กแรกเกิดตัวเหลือง ภาวะตัวเหลืองปกติที่ไม่ใช่โรค พบเป็นส่วนใหญ่ในทารกหลังคลอด เนื่องจากขณะอยู่ในครรภ์มารดา ทารกมีจำนวนเม็ดเลือดแดงมากกว่าทารกหลังคลอด เม็ดเลือดแดงส่วนเกินนี้จะถูกทำลาย สารฮีมภายในถูกเปลี่ยนเป็นบิลิรูบิน แม้ทารกที่มีสุขภาพแข็งแรงดี ประมาณ 50-60% ก็อาจมีภาวะตัวเหลืองได้ตั้งแต่อายุ 2-3 วัน และมักจะหายเหลืองเมื่อมีอายุ 5-7 วัน คำแนะนำเกี่ยวกับภาวะทารกตัวเหลือง อ่านบทความทารกตัวเหลือง
9. ทารกเป็นผื่นร้อน ผดร้อน ผื่นขึ้นหน้าทารก
ผดร้อนทารกมักเกิดขึ้นบ่อยในทารกที่อายุ 1-2 สัปดาห์ เนื่องจากโครงสร้างผิวหนังและต่อมเหงื่อของทารกยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์ จึงทำให้เกิดการอุดตันของท่อระบายเหงื่อ ทำให้เกิดผดร้อน ผื่นร้อน มักเป็นผื่นที่มีลักษณะผื่นลมพิษ ตุ่มนูน หรือตุ่มใส ซึ่งบางรายอาการอาจหายได้เอง แต่หากมีผดร้อน ผื่นร้อนมีอาการรุนแรงก็อาจต้องไปพบแพทย์ อ่านบทความผื่นร้อน ผดร้อน
10. ลูกท้องผูก ทารกท้องผูก
อาการท้องผูกคือ ถ่ายลำบาก มีก้อนอุจจาระแข็ง ต้องใช้แรงเบ่งมาก หรือปวดเวลาอุจจาระผ่านออกมา ไม่มีการเคลื่อนไหวของลำไส้ และถ้าหากท้องผูกเกิดในเด็กแล้ว เจ้าหนูก็จะกลัวการถ่ายอุจจาระ เพราะว่าก้อนอุจจาระแข็ง ตอนเบ่งอาจทำให้รูทวารฉีกขาดได้ โดยปกติแล้วลำไส้ใหญ่ จะมีหน้าที่ดูดน้ำกลับเข้าสู่ร่างกาย หากอุจจาระค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่นาน อุจจาระจะถูกดูดน้ำจนแข็งและแห้ง เวลาถ่ายยิ่งจะเจ็บมากขึ้นตามลำดับ เวลาปวดท้องเด็กก็จะอั้นไว้ก่อน เพราะกลัวว่าอึแล้วจะเจ็บ ก็เป็นวงจรวนไปทำให้เกิดท้องผูกได้ อ่านบทความท้องผูก
11. ลูกท้องอืด ทารกท้องเฟ้อ
ท้องอืดเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ทารกรู้สึกไม่สบายตัว เกิดขึ้นได้เป็นปกติและมักไม่เป็นอันตราย พ่อแม่ควรเรียนรู้วิธีป้องกันท้องอืด ท้องเฟ้อ และบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อในเบื้องต้นเพื่อช่วยคลายความอึดอัดให้ลูกน้อย รวมทั้งหมั่นสังเกตอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณของปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารที่รุนแรงได้
สาเหตุของอาการท้องอืด อึดอัด หรือไม่สบายท้องของลูกน้อยเกิดจากการมีแก๊สสะสมในกระเพาะอาหารมากเกินไป ซึ่งอาจเป็นผลมาจากหลายปัจจัย อาการท้องอืดเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ทารกมีอายุ 2-3 สัปดาห์ แม้ทารกไม่สามารถสื่อสารให้รู้ได้ด้วยคำพูด ทว่าพ่อแม่อาจสังเกตความผิดปกติได้เมื่อลูกน้อยแสดงอาการ อ่านบทความท้องอืด ท้องเฟ้อ
12. ทารกมีสีอึผิดปกติ ลักษณะอึผิดปกติ
อึของลูกนั้นเป็นตัวชี้วัดสุขภาพ เช่น อึสีเหลือง นุ่ม เหมือนสีฟักทองบด อึสีเขียว เป็นต้น คุณแม่จึงต้องหมั่นสังเกตสีอึและลักษณะของอึลูก เพราะหากอึลูกมีความผิดปกติ เช่น มีเหมือกปนออกมา มีกลิ่นเหม็นเน่า หรือ มีรเลือดปนออกมา นั่นอาจเป็นสัญญาณอันตรายที่บ่งบอกว่าเด็ก ๆ กำลังป่วยอยู่ อ่านบทความสีอึ ลักษณะอึทารก
ลูกสำลักนมเกิดจากอะไรกันแน่ แม่มือใหม่จะป้องกันลูกสำลักนมได้อย่างไร เรามีคำแนะนำค่ะ
ลูกสำลักผิดปกติไหม ป้องกันลูกสำลักนมได้อย่างไร
ลูกสำลักนมเกิดจากอะไร
การสำลักนมมักเกิดกับเด็กทารกเล็ก ๆ ส่วนใหญ่จะเกิดจากนมแม่พุ่งแรง ลูกดูดไม่ทัน ปริมาณน้ำนมมีมากกว่าความสามารถในการกลืนของเด็ก ส่วนใหญ่แล้วมักจะพบกับการดื่มนมจากขวด เพราะน้ำนมที่ไหลจากการเข้าเต้าจะออกมาพร้อมกับแรงดูดของเด็กพอดี แต่ถ้าเป็นนมจสกขวด แม้ว่าจะไม่ดูดก็ยังสามารถไหลออกมาได้ หรือดูดแล้วไหลออกมาเยอะกว่าที่เด็กจะกลืนได้หมด
อาการสำลักนม
- หากสำลักไม่มาก เด็กจะมีอาการไอเล็กน้อยเหมือนจะขย่อนนมออกมา แล้วจะหายได้เอง
- หากสำลักมากจะมีอาการไอหนัก เสียงหายใจครืดคราดผิดปกติ ไอจนหน้าเขียว ซึ่งควรรีบพาไปพบหมอโดยด่วน
ป้องกันการสำลักนมอย่างไร
- ควรเลือกจุกนมที่พอดีกับขนาดปากของลูก และทดสอบปริมาณน้ำนมที่จะไหลเมื่อลูกดูดไม่ให้พุ่งแรง หรือ มากเกินไป
- ควรให้นมลูกในท่าเอน 45 องศา เพื่อทำให้น้ำนมไหลลงหลอดอาหารได้สะดวก ไม่ควรให้ลูกนอนราบแล้วป้อนนม
- หลังป้อนนมอิ่มแล้วให้อุ้มพาดบ่า 20-30 นาทีเพื่อให้ลูกเรอนม
ไม่อยากให้ลูกสำลักนม แหวะนม คุณแม่ต้องรู้สาเหตุและวิธีป้องกันต่อไปนี้ เพื่อให้ลูกกินนมแม่ได้อิ่มพอดีและหลับสบาย
ลูกสำลักนมแม่ อันตรายแค่ไหนคุณแม่มือใหม่ต้องรู้วิธีป้องกัน
จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกสำลักนมแม่
แรกๆ เด็กจะไอ และเหมือนจะขย้อนนมหรืออาหารออกมา หากสำลักไม่มาก ก็อาจไอเล็กน้อย 2-3 ครั้งแล้วก็หายไป แต่ถ้าหากไอแรงจนถึงขนาดหน้าเขียว หรือมีเสียงหายใจผิดปกติ ดังครืดคราด คุณแม่ต้องรีบพาลูกไปพบแพทย์โดยด่วน
สาเหตุที่ทำให้ลูกสำลักนม
- จากตัวเด็กเอง - เด็กแรกเกิดที่มีปัญหาเรื่องของโรคหัวใจหรือโรคปอดนั้นจะหายใจเร็วขึ้น จึงมีโอกาสสำลักนมได้มากกว่าเด็กปกติทั่วไป ทั้งนี้ รวมถึงเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า หรือมีประวัติการชักด้วย
- ปัจจัยภายนอก - การให้ลูกดูดนมแม่นั้นมีโอกาสที่จะเกิดการสำลักนมน้อยมาก เว้นแต่แม่อุ้มลูกให้นมไม่ถูกวิธี รวมถึงลูกกินนมล้นกระเพาะ ก็ทำให้สำลักนมได้เช่นกัน
วิธีป้องกันลูกสำลักนม
- ในช่วง 6 เดือนแรกควรให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียว ก่อนเริ่มต้นให้อาหารเสริมตามวัยที่เหมาะสม เพื่อรอให้ทักษะการดูดกลืนของลูกทำงานได้ดีมากขึ้นกว่าช่วงแรกเกิด และสามารถชันคอตั้งตรงได้ดี โอกาสที่จะเกิดการสำลักก็มีน้อยลง
- เลือกประเภทอาหารที่เหมาะกับวัย เช่น โดยทั่วไปเด็กที่อายุน้อยกว่า 3 ปี ไม่แนะนำให้กินถั่วเม็ดเล็ก ข้าวโพด เม็ดทานตะวัน เพราะมีโอกาสที่เด็กจะเกิดการสำลักได้ง่าย แต่หากจะนำมาปรุงให้กับเด็กเล็กๆ ก็ควรบดหรือตัดให้ขนาดเล็กพอควร
- จับลูกเรอทุกครั้งหลังที่กินนมเสร็จ
วิธีช่วยเหลือเบื้องต้นเมื่อลูกสำลักนม
หากลูกสำลักนม ให้จับลูกนอนตะแคง ให้ศีรษะลูกต่ำลง เพื่อป้องกันไม่ให้นมหรืออาหารที่อาจมีอยู่ในปาก ไหลย้อนกลับไปที่ปอด ที่สำคัญไม่ควรจับลูกอุ้มขึ้นทันทีเมื่อเกิดการสำลัก
แหวะนมเป็นอาการที่พบได้บ่อยในเด็กทารกเกิด การอ้วกนม แหวะนมอันตรายไหม มีสาเหตุจากอะไร และจะแก้อาการลูกแหวะนมอย่างไร เรามีคำแนะนำค่ะ
ลูกแหวะนม แหวะนมบ่อยอันตรายไหม พร้อมวิธีแก้อาการลูกแหวะนม
เวลาลูกน้อยดูดนมได้เก่ง กินได้เยอะ แม่ทุกคนก็ตื่นเต้น ดีใจและมีความสุขไปด้วย แต่เวลาที่กินมากไปจนแหวะออกมาน่ะสิ ตอนนั้นความดีใจก็หายไปหมด ความกังวลมาแทนที่ว่าลูกน้อยจะเป็นอะไรไปหรือเปล่า เมื่อลูกแหวะนมก็ทำเอาใจหายใจคว่ำไปตามๆ กัน ยิ่งถ้าลูกแหวะนมเป็นครั้งแรก แม่ยิ่งตกใจเป็นธรรมดา
อาการแหวะนมคืออะไร มีสาเหตุจากอะไร
ทารกแหวะนั้นเป็นเรื่องธรรมดาค่ะ เกิดจากกล้ามเนื้อของเด็กยังทำงานได้ไม่เต็มที่ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหูรูดตรงรอยต่อของหลอดอาหารและกระเพาะ โดยปกติกล้ามเนื้อส่วนนี้ต้องขยายเพื่อให้อาหารผ่านไปหากระเพาะได้ เด็กทารกทุกคนที่กล้ามเนื้อยังไม่แข็งแรง เมื่อนมผ่านลงไปแล้ว กล้ามเนื้อที่ต้องหดตัวปิดไม่ให้อาหารไหลกลับคงยังไม่ทำงาน พอกินอิ่มใหม่ ๆ แล้วแม่เผลอวางลูกให้นอนหงายโดยไม่ได้อุ้มเรอนมก่อน
การแหวะนมเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การกินมากไป การเป็นโรคกล้ามเนื้อหูรูดกระเพาะหย่อน หรือร้ายแรงกว่านั้นคือการมีเนื้องอกในบริเวณท้องของลูก ซึ่งลักษณะอาการของเด็กหลังจากแหวะนมบ่อยแล้วอาจจะมีอาการอาเจียนร่วมด้วย แม้ก้อนเนื้อในท้องจะไม่ใช่มะเร็งแต่ก็ควรต้องได้รับการรักษาให้เร็วที่สุด ไม่อย่างนั้นเมื่อกล้ามเนื้อบีบตัวจะก่อให้เกิดความเจ็บปวดได้
นอกจากนี้ยังมีอาการที่อาจร้ายแรงกว่านั้น เช่น การแหวะนมหรืออาเจียนบ่อย กระทั่งน้ำหนักของลูกน้อยลดลงเรื่อย ๆ แทนที่เด็กจะอ้วนขึ้นตามวัย กรณีนี้ถือว่าต้องพบแพทย์เท่านั้น ถึงจะแก้ไขได้ถูกจุด เพราะนั่นอาจเป็นปัญหาที่ระบบทางเดินอาหารของลูกน้อยก็เป็นได้
เทคนิคที่ช่วยให้ลูกหายจากการแหวะนม แนะนำให้ ‘กินตามเวลา ดื่มให้พอดี อุ้มเรอ และออกกำลังกาย’ ไม่นานกล้ามเนื้อหูรูดของลูกจะแข็งแรงขึ้น อาการแหวะนมจะค่อยๆ หายไปเองค่ะ
รับมือลูกแหวะนม
แม่ควรสังเกตวิธีดูดนมของลูก ไม่ว่าจะดูดจากเต้านมโดยตรงหรือดูดจากขวด หากการดูดนั้นเป็นไปอย่างไม่เหมาะสม เช่น ในกรณีที่กินนมแม่ ลูกนอนในท่าไม่สบาย หรือดูดหัวนมเข้าไปได้ไม่ลึกพอ ทำให้น้ำนมไหลน้อย และลูกก็ตั้งหน้าตั้งตาดูดเอาลมเข้าไปจนเต็มท้อง นั่นแหละค่ะสาเหตุที่ลูกมีลมในท้องจนดันเอาอาหารออกมา
สำหรับเวลาที่ลูกน้อยกินนมจากขวดก็เช่นกัน แค่การหมุนปิดฝาจุกนมแน่นเกินไป หลวมเกินไป จนมีฟองอากาศไหลเข้าขวดนมไปมาก ก็เป็นสาเหตุทำให้ลูกแหวะนมได้ ก็ลูกน้อยจะดูดเอาแต่ลมเข้าไปจนเต็มกระเพาะนั่นเอง
นอกจากระวังเรื่องการให้นมแล้ว วิธีง่ายๆ เพื่อให้แน่ใจว่าลูกไม่มีลมในท้องก็คือการอุ้มเรอ โดยยกตัวลูกขึ้นคว่ำพาดไหล่ ลูบหลังเบาๆ กระทั่งลูกเรอออกมา ก็จะช่วยให้สบายท้อง ซึ่งตอนอุ้มเรอนี้เจ้าตัวเล็กอาจมีแหวะนมออกมาบ้าง ก็แค่ใช้ผ้ารองบนบ่าไว้ก่อนเท่านั้นจะได้ไม่เลอะ ไม่นานนักลูกน้อยก็จะสบายตัวและอิ่มสบายท้องค่ะ
สังเกตรูปแบบการแหวะนม
พอรับรู้ว่าการแหวะนมเป็นเรื่องธรรมดา ให้สังเกตว่าลูกแหวะนมบ่อยแค่ไหนหลังดื่มนม แม้จะจับลูกอุ้มเรอหลังมื้อนมแล้ว แต่ถ้ายังแหวะนมออกมาเป็นระยะในระหว่างมื้อ แถมงอแงจนผิดสังเกตต้องรีบพาลูกน้อยไปพบกุมารแพทย์ทันที
2 อาการที่แม่ต้องเฝ้าระวังเกี่ยวกับการแหวะนม
- ลูกดื่มนมในปริมาณมากเกินไปในแต่ละมื้อ และอาจเรอออกมาได้ไม่หมด ซึ่งโดยปกติทารกจะผายลมออกมาด้วย แต่ด้วยความที่ลูกน้อยยังไม่รู้จักการเบ่ง จึงผายลมไม่เก่งนัก อาจต้องให้คุณแม่ช่วยด้วยการนวดเบาๆ ที่บริเวณท้อง หรือพลิกตัวลูกน้อยไปมา บริหารให้ลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น
- หากลูกแหวะทุกมื้อและไม่มีท่าทีดีขึ้น นั่นอาจเกิดจากกล้ามเนื้อหูรูดกระเพาะหย่อน ซึ่งหากเป็นแบบนี้ต้องรักษาด้วยยาเพื่อช่วยให้อาหารเคลื่อนสู่ลำไส้ได้ดีขึ้น
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการแหวะนม
-
การแหวะนมของทารกช่วงแรกคลอด – 4 เดือน เป็นเรื่องธรรมดา เพราะกล้ามเนื้อหูรหลอดอาหารและกระเพาะทำงานยังไม่เต็มที่ หรือลูกกินลมเข้าไปมากจากการดื่มนมผิดวิธี
-
เมื่อกล้ามเนื้อแข็งแรงและปรับตัวได้ การกินของลูกจะดีขึ้น โดยอาการแหวะนมจะหายไปได้เอง
-
หากแหวะนมบ่อยมาก เช่น ทุกครั้งหลังดื่มนม อาจมีปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อหูรูดหย่อน ควรปรึกษากุมารแพทย์
-
หากแหวะนมร่วมกับอาเจียนเป็นประจำต่อเนื่อง อาจเกิดความผิดปกติในท้อง เช่น เนื้องอก
-
หากแหวะนมเป็นเวลานาน และน้ำหนักลดลงเรื่อยๆ อาจมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ควรปรึกษาแพทย์โดยด่วน