facebook  youtube  line

6 ท่าอุ้มเด็กทารก ที่ห้ามทำเด็ดขาดเพราะอันตรายต่อลูกทารก

ท่าอุ้มเด็กทารก, ท่า อุ้ม เด็ก, ท่า อุ้ม เรอ,ท่า อุ้ม ทารก ให้ คอแข็ง, ท่า อุ้ม ทารก ให้ หยุด ร้อง, ท่า อุ้ม เรอ ทารก, ท่า อุ้ม ลูก, ท่า อุ้ม ต่างๆ, ท่า อุ้ม ทารก ที่ถูกต้อง, ท่า ห้าม อุ้มทารก, ท่าอุ้ม อันตราย ทารก, ห้ามอุ้ม ทารก ท่าไหน

การอุ้มลูกวัยทารกดูดนม อุ้มไล่ลม อุ้มกล่อม อุ้มเดินเล่น เป็นเรื่องที่ควรทำอย่างยิ่งค่ะ แต่หากพ่อแม่อุ้มไม่ถูกต้อง ข้อเสียที่เกิดขึ้นกับลูกมีหลายอย่างเลยนะคะ

6 ท่าอุ้มเด็กทารก ที่ห้ามทำเด็ดขาดเพราะอันตรายต่อลูกทารก

  1. วัย0-3 เดือน อุ้มไม่ได้ประคองคอและหลัง เด็กวัยนี้กล้ามเนื้อคอและหลังยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ หากคุณพ่อคุณแม่อุ้มลูกโดยไม่ประคองคอและหลัง จะทำให้กล้ามเนื้อของลูกอักเสบได้

  2. วัย3-6 เดือน ไม่ได้ประคองหลัง เด็กวัยนี้แม้กล้ามเนื้อคอจะพัฒนาจนชันคอได้แล้ว แต่กล้ามเนื้อหลังยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ จึงทำให้กล้ามเนื้อหลังของลูกอักเสบได้

  3. อุ้มเขย่าหรืออุ้มโยน ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เนื่องจากทำให้เลือดออกในสมองของลูกได้

  4. อุ้มลูกในท่าที่คอพับหรือหงายเกินไป ทำให้ลูกหายใจได้ไม่สะดวก ควรสังเกตลูกตลอดว่าคอลูกพับลงมาจนทำให้คางติดหน้าอกหรือเปล่า หรือว่าอุ้มแล้วลูกแหงนหน้าจนเกินไปหรือไม่

  5. อุ้มเข้าเอวเป็นเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้อลูกและกล้ามเนื้อของพ่อแม่อักเสบได้ และลูกจะเห็นมุมมองที่ซ้ำๆ เดิมๆ ไม่เห็นมุมมองใหม่ๆ ทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้ส่งผลต่อพัฒนาการของลูกด้วย

  6. อุ้มลูกนอน คุณพ่อคุณแม่บางคนอุ้มลูกจนหลับไป แต่ลืมระมัดระวังศีรษะของลูก หากอุ้มพาดบ่าลูกอาจจะหลับคอพับคออ่อน นอกจากจะเป็นอันตรายต่อกล้ามเนื้อของลูกแล้ว ยังอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

อุ้มแบบนี้ลูกแฮปปี้

  • วัย 0-3 เดือน ต้องอุ้มประคองคอและหลังตลอดเวลา

  • วัย 3-6 เดือน ต้องอุ้มประคองหลังตลอดเวลา

  • วัย 6 เดือนขึ้นไป ไม่ควรอุ้มตลอดเวลา พัฒนาการตามวัยของลูกคือการนั่ง จึงควรให้ลูกได้นั่งบ่อยๆ

  • ไม่ควรอุ้มลูกทั้งวัน ควรให้ลูกมีเวลานอนยืดเหยียดแขนขา บนเบาะนอนที่อยู่ในสายตาคุณพ่อคุณแม่

  • ควรอุ้มอย่างมีจุดประสงค์ เช่น อุ้มดูดนม อุ้มไล่ลม อุ้มไปดูสิ่งต่างๆ อุ้มเพื่อเปลี่ยนสถานที่

 
 

ลูกแหวะนม แหวะนมบ่อยอันตรายไหม พร้อมวิธีแก้อาการลูกแหวะนม

ทารก แหวะนม, เด็ก แหวะนม, ลูกแหวะนม, แหวะนม สาเหตุ, อ้วกนม, แก้อาการแหวะนม, แหวะนมอันตรายไหม, แหวะนมออกปาก, แหวะนมออกจมูก, อาการแหวะนมทารก, แหวะนมบ่อย, เด็กทารก สำรอกนม

แหวะนมเป็นอาการที่พบได้บ่อยในเด็กทารกเกิด การอ้วกนม แหวะนมอันตรายไหม มีสาเหตุจากอะไร และจะแก้อาการลูกแหวะนมอย่างไร เรามีคำแนะนำค่ะ

ลูกแหวะนม แหวะนมบ่อยอันตรายไหม พร้อมวิธีแก้อาการลูกแหวะนม

เวลาลูกน้อยดูดนมได้เก่ง กินได้เยอะ แม่ทุกคนก็ตื่นเต้น ดีใจและมีความสุขไปด้วย แต่เวลาที่กินมากไปจนแหวะออกมาน่ะสิ ตอนนั้นความดีใจก็หายไปหมด ความกังวลมาแทนที่ว่าลูกน้อยจะเป็นอะไรไปหรือเปล่า เมื่อลูกแหวะนมก็ทำเอาใจหายใจคว่ำไปตามๆ กัน ยิ่งถ้าลูกแหวะนมเป็นครั้งแรก แม่ยิ่งตกใจเป็นธรรมดา 

อาการแหวะนมคืออะไร มีสาเหตุจากอะไร

ทารกแหวะนั้นเป็นเรื่องธรรมดาค่ะ เกิดจากกล้ามเนื้อของเด็กยังทำงานได้ไม่เต็มที่ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหูรูดตรงรอยต่อของหลอดอาหารและกระเพาะ โดยปกติกล้ามเนื้อส่วนนี้ต้องขยายเพื่อให้อาหารผ่านไปหากระเพาะได้ เด็กทารกทุกคนที่กล้ามเนื้อยังไม่แข็งแรง เมื่อนมผ่านลงไปแล้ว กล้ามเนื้อที่ต้องหดตัวปิดไม่ให้อาหารไหลกลับคงยังไม่ทำงาน พอกินอิ่มใหม่ ๆ แล้วแม่เผลอวางลูกให้นอนหงายโดยไม่ได้อุ้มเรอนมก่อน

การแหวะนมเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การกินมากไป การเป็นโรคกล้ามเนื้อหูรูดกระเพาะหย่อน หรือร้ายแรงกว่านั้นคือการมีเนื้องอกในบริเวณท้องของลูก ซึ่งลักษณะอาการของเด็กหลังจากแหวะนมบ่อยแล้วอาจจะมีอาการอาเจียนร่วมด้วย แม้ก้อนเนื้อในท้องจะไม่ใช่มะเร็งแต่ก็ควรต้องได้รับการรักษาให้เร็วที่สุด ไม่อย่างนั้นเมื่อกล้ามเนื้อบีบตัวจะก่อให้เกิดความเจ็บปวดได้

นอกจากนี้ยังมีอาการที่อาจร้ายแรงกว่านั้น เช่น การแหวะนมหรืออาเจียนบ่อย กระทั่งน้ำหนักของลูกน้อยลดลงเรื่อย ๆ แทนที่เด็กจะอ้วนขึ้นตามวัย กรณีนี้ถือว่าต้องพบแพทย์เท่านั้น ถึงจะแก้ไขได้ถูกจุด เพราะนั่นอาจเป็นปัญหาที่ระบบทางเดินอาหารของลูกน้อยก็เป็นได้

เทคนิคที่ช่วยให้ลูกหายจากการแหวะนม แนะนำให้ ‘กินตามเวลา ดื่มให้พอดี อุ้มเรอ และออกกำลังกาย’ ไม่นานกล้ามเนื้อหูรูดของลูกจะแข็งแรงขึ้น อาการแหวะนมจะค่อยๆ หายไปเองค่ะ

รับมือลูกแหวะนม

แม่ควรสังเกตวิธีดูดนมของลูก ไม่ว่าจะดูดจากเต้านมโดยตรงหรือดูดจากขวด หากการดูดนั้นเป็นไปอย่างไม่เหมาะสม เช่น ในกรณีที่กินนมแม่ ลูกนอนในท่าไม่สบาย หรือดูดหัวนมเข้าไปได้ไม่ลึกพอ ทำให้น้ำนมไหลน้อย และลูกก็ตั้งหน้าตั้งตาดูดเอาลมเข้าไปจนเต็มท้อง นั่นแหละค่ะสาเหตุที่ลูกมีลมในท้องจนดันเอาอาหารออกมา

สำหรับเวลาที่ลูกน้อยกินนมจากขวดก็เช่นกัน แค่การหมุนปิดฝาจุกนมแน่นเกินไป หลวมเกินไป จนมีฟองอากาศไหลเข้าขวดนมไปมาก ก็เป็นสาเหตุทำให้ลูกแหวะนมได้ ก็ลูกน้อยจะดูดเอาแต่ลมเข้าไปจนเต็มกระเพาะนั่นเอง

นอกจากระวังเรื่องการให้นมแล้ว วิธีง่ายๆ เพื่อให้แน่ใจว่าลูกไม่มีลมในท้องก็คือการอุ้มเรอ โดยยกตัวลูกขึ้นคว่ำพาดไหล่ ลูบหลังเบาๆ กระทั่งลูกเรอออกมา ก็จะช่วยให้สบายท้อง ซึ่งตอนอุ้มเรอนี้เจ้าตัวเล็กอาจมีแหวะนมออกมาบ้าง ก็แค่ใช้ผ้ารองบนบ่าไว้ก่อนเท่านั้นจะได้ไม่เลอะ ไม่นานนักลูกน้อยก็จะสบายตัวและอิ่มสบายท้องค่ะ

สังเกตรูปแบบการแหวะนม

พอรับรู้ว่าการแหวะนมเป็นเรื่องธรรมดา ให้สังเกตว่าลูกแหวะนมบ่อยแค่ไหนหลังดื่มนม แม้จะจับลูกอุ้มเรอหลังมื้อนมแล้ว แต่ถ้ายังแหวะนมออกมาเป็นระยะในระหว่างมื้อ แถมงอแงจนผิดสังเกตต้องรีบพาลูกน้อยไปพบกุมารแพทย์ทันที 

2 อาการที่แม่ต้องเฝ้าระวังเกี่ยวกับการแหวะนม

  • ลูกดื่มนมในปริมาณมากเกินไปในแต่ละมื้อ และอาจเรอออกมาได้ไม่หมด ซึ่งโดยปกติทารกจะผายลมออกมาด้วย แต่ด้วยความที่ลูกน้อยยังไม่รู้จักการเบ่ง จึงผายลมไม่เก่งนัก อาจต้องให้คุณแม่ช่วยด้วยการนวดเบาๆ ที่บริเวณท้อง หรือพลิกตัวลูกน้อยไปมา บริหารให้ลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น

  • หากลูกแหวะทุกมื้อและไม่มีท่าทีดีขึ้น นั่นอาจเกิดจากกล้ามเนื้อหูรูดกระเพาะหย่อน ซึ่งหากเป็นแบบนี้ต้องรักษาด้วยยาเพื่อช่วยให้อาหารเคลื่อนสู่ลำไส้ได้ดีขึ้น

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการแหวะนม

  1. การแหวะนมของทารกช่วงแรกคลอด – 4 เดือน เป็นเรื่องธรรมดา เพราะกล้ามเนื้อหูรหลอดอาหารและกระเพาะทำงานยังไม่เต็มที่ หรือลูกกินลมเข้าไปมากจากการดื่มนมผิดวิธี

  2. เมื่อกล้ามเนื้อแข็งแรงและปรับตัวได้ การกินของลูกจะดีขึ้น โดยอาการแหวะนมจะหายไปได้เอง

  3. หากแหวะนมบ่อยมาก เช่น ทุกครั้งหลังดื่มนม อาจมีปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อหูรูดหย่อน ควรปรึกษากุมารแพทย์

  4. หากแหวะนมร่วมกับอาเจียนเป็นประจำต่อเนื่อง อาจเกิดความผิดปกติในท้อง เช่น เนื้องอก

  5. หากแหวะนมเป็นเวลานาน และน้ำหนักลดลงเรื่อยๆ อาจมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ควรปรึกษาแพทย์โดยด่วน

 

อย่าปล่อยเด็กร้องไห้นานๆ เพราะจะส่งผลต่อพัฒนาการ และเครียดรุนแรง

 
ปล่อย ลูก ทารกร้องไห้นาน ๆ ได้ไหม, ปล่อย ลูกทารกร้องไห้นาน ๆ จะเป็นไรไหม, ลูกทารกร้องไห้ ต้องรีบอุ้มไหม, อุ้มลูกทารกบ่อย ๆ จะติดมือไหม, ลูกทารก ร้องไห้นานๆ อันตรายไหม, ลูกทารก ร้องไห้นานๆ ผิดปกติไหม, ปล่อย ทารก ร้องไห้ ไม่อุ้ม ได้ไหม, อุ้ม ปลอบ ทารก ร้องไห้, โอ๋ ทารก ร้องไห้, อุ้ม ทารก ทุกครั้งที่ร้องไห้ ติดมือ, ปล่อย ทารก ร้องไห้ พัฒนาการทารก
 

เวลาลูกทารกร้องไห้นาน ๆ แล้วพ่อแม่ไม่รีบอุ้มปลอบเพราะกลัวติดมือ ระวังไว้นะคะเพราะนั่นอาจเป็นต้นเหตุของพัฒนาการทารกล่าช้า และสร้างความเครียดให้ลูกทารกได้

อย่าปล่อยเด็กร้องไห้นานๆ เพราะจะส่งผลต่อพัฒนาการ และเครียดรุนแรง

เมื่อเด็กร้องแล้วคนเฒ่าคนแก่บอกว่า "อย่าไปอุ้ม เดี๋ยวลูกจะติดมือนะ ปล่อยให้มันร้องไปเลย เดี๋ยวเหนื่อยก็หยุดเอง" ขอบอกว่าเด็กติดมือไม่มีจริงนะคะ และการปล่อยลูกร้องไห้ไปอย่างนั้นเรื่อย ๆ จะส่งผลร้ายต่อพัฒนาการของลูกอย่างคาดไม่ถึงเลยค่ะ มาดูกันเลยว่าทำไม  

เด็กทารกร้องไห้ มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง

ในเด็กวัยแรกเกิดไปจนถึง 1 ปีแรกนั้น เด็กจะยังสื่อสารกับพ่อแม่ไม่ได้ จึงต้องใช้วิธีการร้องไห้เพียงอย่างเดียว การร้องไห้ของเด็กวัยนี้ เกิดจากสาเหตุหลักๆ คือ รู้สึกหิว รู้สึกเหนื่อยและไม่สบายตัว และเกิดอาการกลัว จากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่รวดเร็วจนเกินไป เป็นต้น เมื่อพ้นช่วงระยะ 3 เดือนไปแล้ว เด็กจะค่อยๆ ปรับตัวได้ และจะร้องไห้น้อยลง เพราะส่วนมากจะร้องไห้เพื่อบอกความต้องการมากกว่าค่ะ

ทารกร้องไห้ เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของเด็กไหม

การร้องไห้ของเด็กไม่ได้เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางสมองโดยตรง แต่จะเกิดกับพัฒนาการทางอารมณ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของสมองมากกว่าค่ะ เมื่อเด็กร้องไห้ ร้องจนเหนื่อยสะอื้น แล้วยังไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ปลอบโยน ก็จะทำให้เด็กมีอาการเครียดอย่างรุนแรง

และเมื่อเครียด ร่างกายก็จะหลั่งสารเคมีต่างๆ โดยเฉพาะฮอร์โมน "คอร์ติซอล" ที่จะหลั่งอะดรีนาลีนต่อเนื่องมาอีกในปริมาณมาก ซึ่งจะส่งผลกับพัฒนาการของเด็ก และสภาพจิตใจ ถ้าหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้บ่อยครั้ง ก็มีแนวโน้มที่เด็กจะมีอาการของโรคซึมเศร้าตั้งแต่วัยเด็ก และอาจมีพัฒนาการที่ช้าลงกว่าเดิม เพราะสารเคมี เข้าไปขัดขวางการทำงานของเซลล์สมองนั่นเองค่ะ

รู้แบบนี้แล้ว อย่าปล่อยให้ลูกร้องไห้นาน ๆ นะคะ เพื่อความสุขและพัฒนาการที่ดีของลูก ใช้เวลาไม่นานในการปลอบโยนเขาก็หยุดร้องแล้วค่ะ

 

อันตรายใกล้ตัว! ห้ามเขย่าเด็กทารกไม่ว่าจะเล่นหรือร้องไห้ เสี่ยงพิการ เสียชีวิต

 
อันตรายจากการเขย่าตัวเด็ก ทารก, ห้ามเขย่าตัวเด็ก ทารก, ห้ามเขย่าตัวทารก, Shaken Baby Syndrome, ทำไมห้ามเขย่าตัวเด็ก ทารก, เขย่าตัวเด็กเสี่ยงพิการ, เขย่าตัวเด็กเสี่ยงเสียชีวิต, เขย่าตัวเด็กทารก สมองพิการ, เขย่าตัวเด็ก ทารก สมองบวม, รักลูก Community of The Experts, คลินิกเบบี้

การเขย่าตัวทารกแรกเกิด หรือ เด็กเล็กอันตรายถึงชีวิตนะคะ ไม่ว่าจะเป็นการเขย่าเพราะเล่น อยากให้หยุดร้อง หรือ เพราะโมโหก็ไม่ควรทำเด็ดขาด กุมารแพทย์จะมาบอกให้รู้ว่า การเขยา่ตัวเด็กแม้เพียงเบาๆ ไม่กี่วินาทีอันตรายแค่ไหน พร้อมแนะนำวิธีปลอบให้ลูกหยุดร้องได้อย่างใจเย็น และ ได้ผลค่ะ

อันตรายใกล้ตัว! ห้ามเขย่าเด็กทารกไม่ว่าจะเล่นหรือร้องไห้ เสี่ยงพิการ เสียชีวิต

Shaken Baby Syndrome ภาวะที่เกิดจากการเขย่าตัวทารก

ภาวะที่มักพบในเด็กที่อายุน้อยกว่า 1 ปี ซึ่งเกิดจากการที่พ่อแม่จับลูกเขย่าแรง ๆ อาจจะด้วยความตั้งใจ หรือไม่ได้ตั้งใจก็ตาม แรงเขย่านั้นจะทำให้เนื้อสมองกระแทกกับกะโหลกศีรษะ เส้นเลือดรอบเนื้อสมองฉีกขาด เกิดเลือดออกในสมองและอาจลุกลามไปจนทำให้เส้นเลือดในจอตาขาดได้ด้วย เพราะเส้นเลือดในสมองของเด็กเล็กยังไม่แข็งแรง โอกาสที่มีการฉีกขาดจึงมีมากกว่าผู้ใหญ่

เด็กที่ตกอยู่ในภาวะสมองกระทบกระเทือนจากการถูกเขย่าตัวมีโอกาสเสียชีวิต ถึง 1 ใน 3 หรือหากรอดชีวิตอีกร้อยละ 30-40 ก็ไม่สามารถกลับมาเป็นปกติได้ โดยเฉพาะเด็กเล็กที่ยังมีกล้ามเนื้อคอไม่แข็งแรง ยังไม่สามารถพยุงศีรษะตัวเองได้ หากถูกเขย่าอย่างรุนแรง จะทำให้เกิดกลุ่มอาการเด็กถูกเขย่า หรือภาษาอังกฤษ เรียกว่า Shaken Baby Syndrome เรามาทำความรู้จัก และเรียนรู้วิธีป้องกันภาวะนี้กันค่ะ

วิธีสังเกตอาการของภาวะ Shaken Baby Syndrome หลังจากเด็กถูกเขย่า

  1. อาเจียน
  2. หายใจลำบาก
  3. กลืนน้ำลายไม่ได้
  4. หน้าผากบวมโนปูดออกมาชัดเจน  

หากมีอาการเหล่านี้ ควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์ และควรแจ้งด้วยว่าเด็กได้รับการเขย่าตัวอย่างรุนแรง เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยและรักษาทันเวลา ผลที่อาจตามมาในระยะยาวหากไม่ได้รับการรักษาทันที คือ ตาบอด พัฒนาการช้าลง ชัก เป็นอัมพาต หรือเสียชีวิตได้

สรุปแล้ว Shaken baby syndrome หรือกลุ่มอาการเด็กถูกเขย่า ทำให้เด็กได้รับบาดเจ็บ และเป็นภาวะใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้ทุกบ้านค่ะ โดยเฉพาะครอบครัวที่มีเด็กวัยต่ำกว่า 1 ปี หากพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดู รู้เท่าไม่ถึงการณ์เขย่าตัวลูก ไม่ว่าจะเพราะเล่น หรือโมโหที่ลูกร้องไห้ ก็อาจทำให้เด็กได้รับบาดเจ็บจนถึงแก่ชีวิตได้นะคะ

คำแนะนำหากลูกร้องไห้ไม่หยุด โดยไม่ต้องเขย่าตัวให้เกิดอันตราย

  1. หาสาเหตุที่ทำให้เด็กร้องก่อน เพราะส่วนใหญ่เด็กมักจะร้องเมื่อหิว ง่วง หรือไม่สบายตัว
  2. หากไม่พบสาเหตุ ให้ลองอุ้ม ปลอบ หรือ เบี่ยงเบน ชวนให้เด็กสนใจสิ่งอื่น

  3. พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู ต้องมีจิตใจที่เข้มแข็ง หนักแน่น พยายามเข้าใจว่าเด็กยังสื่อสารด้วยคำพูดไม่ได้จึงต้องใช้วิธีการร้อง แต่หากคิดว่าควบคุมอารมณ์ตนเองไม่ไหวหรือหงุดหงิดมาก ควรเรียกหาคนใกล้ชิดที่ไว้ใจได้มาดูแลเด็กแทนในช่วงนั้น

  4. ต้องจำไว้เสมอว่าไม่ควรเขย่าหรือทุบตีเด็ก เพราะนอกจากจะไม่ทำให้เด็กหยุดร้องแล้ว ยังจะเกิดอันตรายอย่างรุนแรงกับเด็กได้

การดูแลเด็กไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ยากจนเกินไป เพราะลักษณะของเด็กมีหลากหลายตามพื้นอารมณ์ของแต่ละคน พ่อแม่หรือคนเลี้ยงดูจึงต้องปรับตัวตามลักษณะของเด็กด้วย พยายามไม่เปรียบเทียบกับครอบครัวอื่น ๆ หรือไปรับข้อมูลมากมายที่จะทำให้ตัวเองเครียด จำไว้เสมอว่า “เด็กแต่ละคน ไม่เหมือนกัน”

ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงต้องดูแล สังเกต เอาใจใส่ลูกของเรา เพื่อจะได้รู้จังหวะและลักษณะของเขา เราจะได้ไม่เครียดและสนุกกับการเลี้ยงลูก คอยติดตามพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกในแต่ละวันอย่างมีความสุขค่ะ เหนื่อยแต่ก็คุ้มค่าค่ะ


รักลูก Community of The Experts 

พญ.สินดี จำเริญนุสิต
กุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม

เข้าใจภาวะลูกทารกร้องกลั้น ไม่อันตรายอย่างที่คิด ถ้าพ่อแม่พร้อมรับมือ

 
ทารก ร้องกลั้น, ลูกร้องกลั้น, อาการลูกร้องกลั้น, สาเหตุร้องกลั้น, ทำไม ทารกร้องกลั้น, ป้องกันลูกร้องกลั้น, ทำไมลูกร้องกลั้น, รักษาอาการร้องกลั้น, ป้องกัน ทารก ร้องกลั้น, ร้องกลั้น เป็นยังไง,  แบบไหนที่เรียกว่าร้องกลั้น, อาการร้องกลั้นเป็นยังไง, เด็กร้องกลั้นทุกคนไหม, รักลูก Community of The Experts, คลินิกเบบี้, ทารกแรกเกิด, เด็กอ่อน

ภาวะร้องกลั้นเป็นอีกหนึ่งอาการที่มักพบบ่อยในเด็กทารกแรกเกิด ร้องกลั้นเป็นอย่างไร สามารถป้องกันหรือรักษาภาวะร้องกลั้นได้ไหม คุณหมอมีคำแนะนำมาให้คุณพ่อคุณแม่ได้สังเกตอาการร้องกลั้น พร้อมวิธีรับมือแบบอย่างถูกต้องค่ะ 

เข้าใจภาวะลูกทารกร้องกลั้น ไม่อันตรายอย่างที่คิด ถ้าพ่อแม่พร้อมรับมือ

การร้องกลั้นคืออะไร 

การร้องกลั้น (breath-holding spell) คือ การร้องไห้อย่างรุนแรง ตามด้วยการกลั้นหายใจโดยไม่ตั้งใจในช่วงสิ้นสุดการหายใจออก ทำให้เด็กมีอาการเขียวหรือซีดได้ มักเกิดขึ้นหลังจากมีสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดความกลัว โกรธหรือเจ็บ หากมีอาการเป็นระยะเวลานานอาจหมดสติหรือชักช่วงสั้น ๆ ร่วมด้วยได้ พบได้ในช่วงอายุ 6 เดือนถึง 5 ปี แต่อาการจะค่อยๆลดลง เมื่ออายุมากขึ้น พบบ่อยช่วงอายุ 16-18 เดือน

ภาวะร้องกลั้นมี 3 ประเภท 

  1. มีอาการเขียว (Blue/ Cyanotic spells) พบบ่อยที่สุด
  2. มีอาการซีด (Pale/ Pallid spells)
  3. แบบผสม (Mixed spells)

วิธีสังเกตอาการร้องกลั้น

  1. ลูกร้องไห้ไม่มีเสียง
  2. อ้าปากค้าง
  3. ตัวเกร็ง
  4. ปากเขียวม่วงหรือซีด

อาการร้องกลั้นแบบไหนถึงอันตราย

หากมีอาการ คุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษากุมารแพทย์ที่ดูแลเพื่อหาสาเหตุที่อาจหลบซ่อนอยู่ เช่น ภาวะชัก (ถ้าลูกมีอาการชักเกร็งนานกว่า 1 นาที ยิ่งน่าสงสัย) หรือภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก หรืออาการของโรคหัวใจ หากตรวจร่างกายปกติ และอาการเข้าได้กับภาวะร้องกลั้นในเด็ก คุณพ่อคุณแม่จะได้สบายใจค่ะ

คำแนะนำหากลูกร้องกลั้น

  1. ทำความเข้าใจก่อนว่า ภาวะนี้ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อเด็ก แม้ว่าเด็กจะหมดสติ เด็กก็จะเริ่มหายใจได้เอง และเมื่อเด็กตื่นพ่อแม่ไม่ควรแสดงความกังวลมากนัก
  2. เอาผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดหน้าลูก ภายใน 15 วินาทีแรกของการหยุดหายใจ อาจทำให้อาการดีขึ้นได้

การป้องกันภาวะร้องกลั้น

  1. หาสาเหตุที่ทำให้ลูกร้องก่อน เพราะส่วนใหญ่ลูกมักจะร้องเมื่อหิว ง่วง หรือไม่สบายตัว

  2. ถ้าเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่ทำให้เด็กรู้สึกเจ็บ กลัว หรือโกรธมาก ๆ และกำหนดขอบเขตสิ่งที่เด็กควรจะได้รับหรือทำให้ชัดเจน แต่ไม่ใช่การตามใจที่จะทำให้เด็กมีอาการมากขึ้น เพื่อเรียกร้องความสนใจ

  3. หากไม่พบสาเหตุ และลูกยังร้องไห้ไม่รุนแรงมาก ให้ลองอุ้ม ปลอบ หรือ เบี่ยงเบน ชวนให้ลูกสนใจสิ่งอื่น การพาลูกออกไปเดินเล่น เปลี่ยนบรรยากาศ หรือทำกิจกรรมอะไรใหม่ ๆ อาจช่วยเปลี่ยนอารมณ์ลูกให้ดีขึ้นได้

สิ่งที่พ่อแม่ห้ามทำเด็ดขาดเมื่อลูกมีอาการร้องกลั้น

  1. ห้ามเขย่าเด็กแรง ๆ หรือตีเด็ก

  2. การเขย่าลูกอย่างรุนแรง จากอารมณ์โกรธหรือโมโหหรือเพื่อให้ลูกหยุดร้อง การกระทำแบบนี้นอกจากลูกจะไม่หยุดร้องหรืออาจจะยิ่งร้องหนักกว่าเดิม คืออาจส่งผลเสียต่อลูกถึงขั้นพิการได้

  3. ห้ามตะโกนใส่เด็กเล็ก พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูต้องใจเย็น เมตตาเด็ก พยายามเข้าใจว่าเขายังสื่อสารด้วยคำพูดไม่ได้จึงต้องใช้วิธีการร้องไห้ แต่หากคิดว่าไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองในขณะนั้นได้ หรือหงุดหงิดมาก ควรเรียกหาคนใกล้ชิดที่ไว้ใจได้มาดูแลเด็กแทนในช่วงนั้น

การร้องไห้ของทารก เป็นเรื่องน่ากังวลใจของคุณพ่อคุณเเม่อยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะพ่อแม่มือใหม่ แต่หมออยากให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจว่า การร้องไห้คือการสื่อสารของลูก เพื่อบอกสิ่งที่ตัวเองต้องการ และเป็นการเรียนรู้หรือมองหาว่า เขามีคนที่คอยปกป้องอยู่หรือไม่ ดังนั้นหากเด็กได้รับการตอบสนองอย่างเหมาะสม เขาจะเชื่อใจ และสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีกับคุณพ่อคุณแม่ได้ ภาวะการร้องกลั้นหรือร้องไห้อย่างรุนแรงก็จะค่อยๆลดลงอย่างแน่นอน


รักลูก Community of The Experts

พญ.สินดี จำเริญนุสิต 
กุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม
 

ไขข้อข้องใจ ทำไมต้องใช้เสียงสอง พูดเสียงสองเสียงเล็กน่ารักคุยกับลูกทารก

พูดเสียงสองกับเด็กทารก, พูดเสียงสองกับลูก, ทำไม ต้องพูดเสียง สอง กับเด็กทารก, พูด เสียงเล็ก เสียงน้อย กับทารก, พูดเสียงสูงต่ำ กับทารก, ลูก ทารก ชอบ ให้พ่อแม่พูดเสียงสูงต่ำ, พ่อแม่ พูดเสียงเล็ก เสียงน้อย กับลูก, พ่อแม่ พูดเสียงสองกับลูก, พูดคุยกับลูกทารก, ทำไมต้องพูดคุยกับลูกทารก, วิธีพูดคุยกับลูกทารก, ทักษะ ทางภาษา ทารก

ตอนพูดคุยกับลูกทารก พ่อแม่จะเผลอใช้เสียงสอง เสียงเล็กเสียงน้อยน่ารักโดยอัตโนมัติและลูกก็ชอบด้วย เพราะลูกทารกกำลังให้ความสนใจกับเสียงสูงต่ำของพ่อแม่อยู่ค่ะ

ไขข้อข้องใจ ทำไมต้องใช้เสียงสอง พูดเสียงสองเสียงเล็กน่ารักคุยกับลูกทารก

เรื่องนี้มีที่มาที่ไปอยู่ค่ะ ตั้งแต่สมัยที่เจ้าตัวเล็กอยู่ในท้องเริ่มตั้งแต่เซลล์พัฒนาใบหน้า สมอง หู ตา จมูก ปาก ลูกก็เริ่มได้ยินเสียงแล้วค่ะ นั่นก็คือช่วง 4 สัปดาห์แรกหลังตั้งครรภ์ และก็จะค่อย ๆ ได้ยินเสียงชัดขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งช่วงที่คุณหมอคุณพยาบาลแนะนำให้พ่อแม่อ่านหนังสือให้ลูกฟังมักจะอยู่ตั้งแต่ช่วงเดือนที่ 4 ที่ 5 นี่ละ

ด้วยความที่คุณแม่เป็นคนอุ้มท้องลูก เป็นเรื่องปกติที่ลูกจะคุ้นเคยเสียงแม่มากกว่า ซึ่งเสียงผู้หญิงเราจะเป็นเสียงแหลมสูงไม่ใช่เสียงทุ้มต่ำแบบผู้ชาย ยิ่งเวลาพูดกับลูกในท้องแม่มักจะมีความนุ่มนวล อ่อนโยน ละมุนละไม  เข้าไปด้วย เมื่อลูกคลอดออกมาเขาจึงคุ้นกับเสียงแม่และชอบโทนเสียงสูงมากกว่า

เรื่องนี้มีนักจิตวิทยาเคยให้คำตอบเอาไว้เช่นกัน คุณ Courtney Glashow นักจิตวิทยาและเจ้าของสถาบัน Anchor Therapy ในรัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐอเมริกาบอกว่า การพูดเสียงสองกับเด็กทารกเป็นสัญชาตญาณในการสื่อสารของมนุษย์ เพราะเราทราบดีอยู่แล้วว่าเด็กยังไม่เข้าใจภาษา ไม่สามารถพูดได้ แต่เด็กสามารถแสดงปฏิกิริยาตอบโต้ได้ ดังนั้นเวลาคุยกับทารกเราจึงใช้โทนเสียงที่สูง มักจะพูดช้าลง ใช้คำง่าย ๆ และพูดซ้ำ ๆ กับเขาค่ะ เพื่อแสดงออกว่าเราเป็นมิตร แม่กำลังแสดงความรักกับหนูอยู่นะ

พูดเสียงสองกับเด็กทารก, พูดเสียงสองกับลูก, ทำไม ต้องพูดเสียง สอง กับเด็กทารก, พูด เสียงเล็ก เสียงน้อย กับทารก, พูดเสียงสูงต่ำ กับทารก, ลูก ทารก ชอบ ให้พ่อแม่พูดเสียงสูงต่ำ, พ่อแม่ พูดเสียงเล็ก เสียงน้อย กับลูก, พ่อแม่ พูดเสียงสองกับลูก, พูดคุยกับลูกทารก, ทำไมต้องพูดคุยกับลูกทารก, วิธีพูดคุยกับลูกทารก, ทักษะ ทางภาษา ทารก
 
การพูดเสียงสองกับลูก พูดช้า ๆ พูดซ้ำ ๆ ช่วยกระตุ้นความสนใจของลูก แถมยังช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางภาษาและการพูดของเด็ก ๆ ด้วยค่ะ โดยช่วงที่พ่อแม่ใช้เสียงสองคุยกับลูกควรอยู่ในวัย 0 – 6 เดือนค่ะ เขาจะรู้สึกตื่นเต้น ตั้งใจฟัง เมื่อเข้าวัย 5 เดือนลูกจะเริ่มเลียนเสียงต่าง ๆ ที่ได้ฟังมากขึ้น พออายุ 8 เดือน พ่อแม่ต้องระวังเรื่องการออกเสียงแล้วค่ะ เพราะช่วงนี้ลูกจะเริ่มพูดได้เป็นคำมากขึ้น ทักษะภาษาและการสื่อสารดีขึ้น ถึงเวลาแล้วที่ต้องเปลี่ยนจากเสียงสองเป็นเสียงปกติ เพราะเราต้องออกเสียงเป็นคำที่ชัดเจน พูดประโยคสั้น ๆ และเข้าใจง่าย

ไม่ใช่ว่าพ่อแม่คุยกับลูกแล้วต้องใช้เสียงสองเท่านั้นลูกถึงจะมีพัฒนาการทางภาษาและการสื่อสารดี เราต้องอาศัยองค์ประกอบอื่นด้วยค่ะ

  • ภาษาท่าทางและน้ำเสียงต้องนุ่มนวลอ่อนโยน เพื่อให้ลูกรู้สึกอบอุ่น ไว้วางใจ ห้ามอารมณ์เสียใส่ลูก เพราะลูกยังเล็กเกินกว่าจะรู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควรทำ  
  • ใช้คำซ้ำและเน้นคำที่สำคัญ โดยเฉพาะช่วงเวลาที่กำลังพยายามจะสอนลูก เช่น การเรียกชื่อลูกบ่อย ๆ เพื่อให้เขารู้จักชื่อตัวเอง  
  • เรียกชื่อสิ่งที่เห็น แม้ลูกจะยังพูดตามไม่ได้ แต่ลูกก็สามารถจดจำและเข้าใจสิ่งที่พ่อแม่พูดได้ 
  • มีเสียงประกอบสิ่งที่พูดถึง เช่น พูดถึงแมว ก็ออกเสียง “เมี๊ยว” และทำท่าเลียนแบบแมวไปด้วย 
  • พูดชมลูก ทุกครั้งที่ลูกพยายามพูดหรือสื่อสารได้ถูกต้อง อย่าลืมกล่าวชมเป็นกำลังใจให้ลูกด้วยนะคะ
  • สบตากับลูกเสมอ ทุกครั้งที่พูดคุยกับลูก เพื่อให้ลูกรู้ว่าพ่อแม่ตั้งใจคุยกับเขา

พูดเสียงสองกับเด็กทารก, พูดเสียงสองกับลูก, ทำไม ต้องพูดเสียง สอง กับเด็กทารก, พูด เสียงเล็ก เสียงน้อย กับทารก, พูดเสียงสูงต่ำ กับทารก, ลูก ทารก ชอบ ให้พ่อแม่พูดเสียงสูงต่ำ, พ่อแม่ พูดเสียงเล็ก เสียงน้อย กับลูก, พ่อแม่ พูดเสียงสองกับลูก, พูดคุยกับลูกทารก, ทำไมต้องพูดคุยกับลูกทารก, วิธีพูดคุยกับลูกทารก, ทักษะ ทางภาษา ทารก

ข้อดีของการพูดคุยกับลูกทารก 

เมื่อลูกได้เห็นสีหน้า ได้ยินเสียง ได้ออกเสียงแล้วมีการตอบสนองกลับมา จะส่งผลให้ลูกอยากพูด อยากโต้ตอบ อยากมีปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่มากขึ้น ซึ่งเสียงเล็กๆ ของลูกนี่แหละค่ะ จะเป็นพื้นฐานที่ดีที่จะช่วยพัฒนาทักษะด้านต่างๆ ให้ลูกได้   

  1. เป็นทักษะการสื่อสาร การออกเสียงเป็นการสื่อสารของลูกตั้งแต่ช่วงแรกเกิด ลูกสื่อสารด้วยเสียงร้อง ไม่ว่าจะหิว เจ็บ ร้อน ไม่สบายตัวก็จะบอกออกมาเป็นเสียงร้องเพื่อให้ได้รับการตอบสนองจากพ่อแม่

  2. สร้างความผูกพัน การส่งเสียงยังเป็นการสร้างความผูกพันและความเชื่อมั่นที่ลูกมีต่อพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงด้วย เพราะฉะนั้นเมื่อลูกร้องต้องได้รับการตอบสนองจากพ่อแม่ทันที ซึ่งการตอบสนองทันที หรือเรียกว่า Basic Trust จะทำให้ลูกรู้สึกอุ่นใจ เมื่อโตขึ้นจะเป็นเด็กที่อารมณ์ดี มีความมั่นคงทางอารมณ์

  3. พัฒนาภาษา เวลาลูกยิ้ม หัวเราะ พ่อแม่มาคุยเล่นกับลูกด้วย จะทำให้ลูกเรียนรู้เสียงที่หลากหลายขึ้น และอยากทำเสียงหรือพูดตามเสียงนั้น ซึ่งการเล่นเสียงจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของลูกให้ดีขึ้น   
  4. ส่งเสริมการอ่าน การเขียน พ่อแม่ที่ใช้เสียงพูดคุยกับลูก ส่งเสียงต่างๆ กับลูก จะช่วยกระตุ้นการพูดคุยของลูก หรือการให้ลูกได้เลียนเสียงต่างๆ จะส่งผลดีต่อระบบประสาทด้านการรับฟัง ทำให้ลูกมีสมาธิ และช่วยเรื่องการแยกแยะเสียงได้ดี ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการสะกดคำ การเชื่อมโยงพยัญชนะกับสระต่างๆ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานของการเรียน การอ่าน และการเขียนที่ดีต่อไป 

ทุกวันนี้ถึงแม้ว่าลูกจะโตแล้ว พูดคุยเสียงดังฟังชัดแล้วแต่พ่อแม่จะกลับไปใช้เสียงสองกับลูกก็ได้นะคะ ถือเป็นการสร้างสีสันในครอบครัวและเป็นการเสริมสร้างสายสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

 

อ้างอิง :