facebook  youtube  line

ลูกวัย 1-3 ปี ต้องเล่นอะไรถึงจะดีต่อพัฒนาการ

ของเล่น-ของเล่นเด็ก1-3ปี-พัฒนาการ-เสริมพัฒนาการ-ของเล่นตามวัย-ของเล่นเสริมพัฒนาการ-ร้านของเล่น-ขายของเล่นเด็ก

ลูกวัย 1-3 ปี ต้องเล่นอะไรถึงจะดีต่อพัฒนาการ

พัฒนาการทุกด้านของเด็กนั้นเป็นสิ่งที่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการที่จะพัฒนาให้ครบรอบด้านมีปัจจัยสำคัญหลายอย่าง และหนึ่งในนั้นก็คือการเล่นที่เหมาะสมกับวัย

วัย 1-2 ปี

เด็กวัยนี้เริ่มเดินได้เองแม้จะไม่มั่นคงนัก แต่ก็ชอบเกาะเกี่ยวเฟอร์นิเจอร์เครื่องเรือนเดินจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง เป็นการเรียนรู้เรื่องระยะทางและฝึกการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อต่างๆ ลูกจะสนุกกับสิ่งใหม่ๆ ที่ได้พบเห็น ชอบปีนป่ายขึ้นบันได มุดโต๊ะ พ่อแม่จึงต้องใส่ใจเรื่องความปลอดภัยให้มาก และวัยนี้ชอบขีดๆ เขียนๆ เข้าใจคำพูดรวดเร็วมาก ใครพูดอะไรจะพูดตามทันที

เล่นเสริม :

  • พัฒนาการร่างกาย ของเล่นควรเป็นประเภทลากจูงไปมาได้ เช่น รถไฟ หรือรถลากต่อกันเป็นขบวน หรือกล่องกระดาษมีเชือกร้อยต่อกัน
  • พัฒนาการสมอง การเล่นสำรวจที่ใช้ประสาทสัมผัสและการเคลื่อน ไหวอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น การให้เด็กบริหารแขนขา การเล่นดิน-ทราย-น้ำ การหยิบของตามคำบอก เป็นต้น
  • พัฒนาการทางภาษา หาเพลงง่ายๆ ประเภท Music for Movement สนุกๆ มาให้ลูกฟัง ร้องและเต้นตามจังหวะ หรือจะเล่นเกมร่างกายของหนูสอนให้ลูกรู้จักชื่ออวัยวะต่างๆ ก็ได้เช่นกัน

Concern : ของเล่นที่มีขนาดเล็ก ของเล่นแหลมคมและมีน้ำหนักเกิน อาจเกิดอุบัติเหตุได้จากการขว้างปา ขนาดของรูหรือช่องต่างๆ ในของเล่นควรมีขนาดเล็กหรือใหญ่กว่านิ้วมือทุกนิ้ว เพื่อป้องกันการติดของนิ้วมือ

 

วัย 2-4 ปี

เด็กวัยนี้อยากรู้อยากเห็นทุกอย่าง เคลื่อนไหวได้คล่องขึ้นและทรงตัวได้ดีเพราะกล้ามเนื้อแขนขาแข็งแรงขึ้นมาก ทำให้ชอบเล่นออกแรงมากๆ ทั้งวิ่งเล่น กระโดด ปีนป่ายม้วนกลิ้งตัว เตะขว้างลูกบอล และขี่จักรยานสามล้อซึ่งช่วยฝึกกล้ามเนื้อใหญ่ให้แข็งแรงและเคลื่อนไหวได้คล่องขึ้น ควบคุมกล้ามเนื้อเล็กได้ดีขึ้น สามารถเล่นใช้นิ้วมือหยิบจับหรือหมุนได้

เล่นเสริม :

  • พัฒนาการร่างกาย กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น กระโดด ปีนป่ายม้วนกลิ้งตัว เตะขว้างลูกบอล และขี่จักรยานสามล้อ และกล้ามเนื้อมัดเล็ก เช่น บล็อกหยอดกล่องรูปทรง ภาพตัดต่อ เป็นต้น
  • พัฒนาการทางสมอง ชอบเล่นอิสระและเลียนแบบท่าทางของคนและสัตว์จำลองบทบาทสมมติด้วยของเล่นเหมือนจริงจะช่วยเสริมจินตนาการให้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ อีกทั้งยังสนใจฟังนิทาน เรื่องเล่าและหนังสือภาพ ชอบแสดงท่าทางประกอบและเคลื่อนไหวตามจังหวะเพลง
  • พัฒนาการทางสังคมและภาษา เริ่มเล่นกับเด็กอื่นมากขึ้นและทำงานเป็นกลุ่มได้ เช่น แสดงบทบาทสมมติ และเล่นขายของ ซึ่งเด็กวัยนี้จะมีการพูดจาสื่อสารกันระหว่างที่เล่นมากขึ้น

Concern : ด้วยวัยที่มีจินตนาการสูง พ่อแม่จึงควรการตักเตือนและแนะนำการเล่นด้วยเหตุผล เพื่อให้ลูกไม่นำเอาจินตนาการไปเล่นแบบเสี่ยงๆ หรือเป็นพื้นฐานความรุนแรง เช่น เลี่ยงเล่นต่อสู้ ไม่ซื้อของเล่นที่เลียนแบบอาวุธ ฯลฯ

 

ประโยชน์จากของเล่นเสริมพัฒนาการ

1.ฝึกแก้ไขปัญหา

ของเล่นเสริมพัฒนาการ เช่น การต่อบล็อกไม้ การต่อจิ๊กซอว์ หรือกล่องหยอดรูปทรง จะช่วยให้ลูกรู้จักการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นว่าจะต้องทำอย่างไร เพื่อให้เล่นได้สำเร็จ

2.เสริมสร้างจินตนาการ

ลองนึกถึงภาพเด็กกำลังเล่นรถถัง รถบังคับ อุลตร้าแมน หรือตัวการ์ตูนยอดฮิต อย่าง Ben 10 สิคะ เขาจะใช้ปากทำเสียงต่าง ๆ อย่างสนุกสนาน นั่นเพราะเด็กได้นำตัวเองเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของความคิดและจินตนาการที่สร้างขึ้น ซึ่งถือเป็นแรงบันดาลใจให้เด็กสนใจในสิ่งต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น

3.ร่างกายแข็งแรง

เพราะลูกน้อยได้ใช้ทั้งกล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ แขนและขาจึงได้ขยับ ซึ่งถือเป็นการออกกำลังกายที่ดี ที่จะช่วยให้เขามีศักยภาพในการเรียนรู้โลกกว้างในอนาคต

ของเล่นเป็นอีกตัวช่วยสำคัญในการสร้างพัฒนาการที่ดีของลูกน้อยได้ค่ะ คุณพ่อคุณแม่หาเวลาว่างทำกิจกรรมกับเด็ก ๆ ที่บ้านกันด้วยนะคะ 

 

 

ลูกไม่สูง ลูกตัวเตี้ยกว่าเด็กคนอื่น เพราะอาจขาดโกรท ฮอร์โมน

 ลูกไม่สูง-ลูกตัวเตี้ย-ลูกเตี้ย-โกรทฮอร์โมน-เด็กตัวเตี้ย-พัฒนาการส่วนสูง-โรคขาดฮอร์โมนเจริญเติบโต-ฮอร์โมนเจริญเติบโต-ต่อมใต้สมอง-ลูกเตี้ยกว่าเด็กวัยเดียวกัน-เด็กมีภาวะตัวเตี้ย

เด็กที่ฮอร์โมนปกติ จะมีพัฒนาการ ส่วนสูง และน้ำหนักที่สมวัย แต่ถ้าพ่อแม่เห็นว่าลูกตัวเตี้ยผิกปกติ ลูกเตี้ยกว่าเด็กวัยเดียวกัน ลูกอาจจะเป็นโรคขาดฮอร์โมนเจริญเติบโตก็เป็นได้

ลูกไม่สูง ลูกเตี้ยกว่าเด็กคนอื่น เพราะอาจขาดโกรทฮอร์โมน

ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ หน่วยต่อมไร้ท่อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกไว้ว่า ฮอร์โมนเจริญเติบโต หรือ โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) จะถูกผลิตและสร้างออกมาจากต่อมใต้สมอง ซึ่งอยู่บริเวณกลางของศีรษะ ต่อมใต้สมองขนาดเล็กนิดเดียวแต่สร้างฮอร์โมนออกมาหลายชนิด หนึ่งในนั้นก็คือฮอร์โมนเจริญเติบโต ในเด็กที่มีปัญหาขาดฮอร์โมนเจริญเติบโตหมายความว่าอาจจะมีความผิดปกติของต่อมใต้สมอง 

ความผิดปกติของต่อมใต้สมองมี 2 ลักษณะ

1. เป็นมาตั้งแต่กำเนิด

ต่อมใต้สมองอาจจะมีขนาดเล็ก มีรูปร่างผิดปกติไป หรือว่าอาจมีพันธุกรรมบางอย่างทำให้การสร้างฮอร์โมนผิดปกติ

2. เกิดขึ้นมาภายหลัง

อาจจะมีก้อนเนื้อไปกดต่อมบริเวณนี้ เด็กอาจจะได้รับอุบัติเหตุ มีการบาดเจ็บในศีรษะชนิดรุนแรง มีการผ่าตัด หรือมีการเอกซเรย์ในศีรษะเพื่อรักษาโรคบางอย่างแล้วไปทำลายหรือรบกวนต่อมใต้สมอง ทำให้ต่อมสร้างหรือผลิตฮอร์โมนเจริญเติบโตไม่ได้

เด็กกลุ่มนี้ตัวเตี้ย แต่รูปร่างของเด็กจะดูค่อนข้างจ้ำม่ำ ไม่ได้เตี้ยผอม ลักษณะเหมือนกับมีพุงนิด ๆ เพราะมีไขมันไปพอกตามที่ต่าง ๆ เสียงพูดจะเล็กและแหลม ใบหน้าจะดูอ่อนกว่าวัยเดียวกัน รูปร่างใบหน้าเหมือนตุ๊กตา ช่วงกลางของ ใบหน้าจะหวำลึกลงไป


ลูกไม่สูง-ลูกตัวเตี้ย-ลูกเตี้ย-โกรทฮอร์โมน-เด็กตัวเตี้ย-พัฒนาการส่วนสูง-โรคขาดฮอร์โมนเจริญเติบโต-ฮอร์โมนเจริญเติบโต-ต่อมใต้สมอง-ลูกเตี้ยกว่าเด็กวัยเดียวกัน-เด็กมีภาวะตัวเตี้ย

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกขาดฮอร์โมนเจริญเติบโต

  1. ถ้ารู้สึกว่าลูกโตไม่เท่าเพื่อน ๆ หรือพี่น้องคนอื่น ๆ โดยเฉพาะพี่น้องท้องเดียวกัน คนพี่ดูตัวเล็กกว่าคนน้อง

  2. วัดความสูงเด็กแล้วความสูงไม่เพิ่มขึ้น โดยมีตัวเลขคร่าว ๆ ว่า ถ้าเด็กอายุ 4-10 ขวบ ปีหนึ่งโตไม่ถึง 5 เซนติเมตร ถือว่าค่อนข้างตัวเล็กกว่าที่ควรจะเป็น

  3. ถ้าพ่อแม่เห็นกราฟการเจริญเติบโตของลูก ซึ่งมักจะมีอยู่ในสมุดคู่มือตรวจสุขภาพ พบว่าความสูงของลูกเบี่ยงจากเกณฑ์มาตรฐานที่ควรจะเป็น 

  4. เด็กตัวเตี้ยร่วมกับมีอาการอื่น ๆ เช่น ปัสสาวะบ่อย ๆ  มีปัญหาทางสายตา ปวดศีรษะบ่อย ๆ คลื่นไส้อาเจียน ควรปรึกษาแพทย์

 

เด็กขาดฮอร์โมนเจริญเติบโตต้องพาไปพบแพทย์ 

  • เพื่อประเมินการเจริญเติบโตเปรียบเทียบกับกราฟการเจริญเติบโต
  • แพทย์จะซักประวัติของเด็กและครอบครัว  
  • แพทย์จะชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความยาวรอบศีรษะ วัดความยาวของแขนขา เพื่อบันทึกผลในกราฟการเจริญเติบโตของเด็ก
  • อาจมีการเอ็กซเรย์เพื่อประเมินการเจริญเติบโตของกระดูก
  • มีการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาความผิดปกติ เช่น การตรวจวัดระดับของฮอร์โมนต่าง ๆ

 

เมื่อพบว่าเด็กมีภาวะตัวเตี้ยแพทย์จะรักษาตามสาเหตุของเด็กแต่ละคน เช่น ฉีดฮอร์โมนการเจริญเติบโต (growth hormone) ให้ยาชะลอความเป็นหนุ่มเป็นสาว (GnRH-analogue) ให้ไทรอยด์ฮอร์โมน ให้วิตามินดี เป็นต้น

 

การดูแลเมื่อลูกตัวเตี้ย 

1. กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม 

2. ดื่มนมรสจืด อย่างน้อยวันละ 2-3 แก้ว

3. ให้ลูกออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและมวลกระดูก โดยให้พิจารณาความเหมาะสมตามวัยของลูกด้วย เช่น การกระโดดโลดเต้น ปีนป่าย ว่ายน้ำ บาสเกตบอล แบดมินตัน ฟุตบอล ฯลฯ ครั้งละ 30 นาที ประมาณ 3-5 ครั้ง ต่อสัปดาห์ 

4. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 8-10 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อให้ฮอร์โมนเติบโตทำงานได้เต็มที่ และไม่ควรนอนดึกเนื่องจากฮอร์โมนเจริญเติบโตจะหลั่งออกมาช่วงกลางดึก ประมาณ 22.00 -02.00 น. ดังนั้นเด็กจึงควรเข้านอนก่อนช่วงเวลาดังกล่าว เพื่อให้ฮอร์โมนเติบโตทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ, โรงพยาบาลสินแพทย์


 

วิธีสังเกต ลูกเป็นออทิสติกหรือไม่

 
ออทิสติก-ออ ทิ สติ ก คือ-วิธีสังเกตลูกเป็นออทิสติก-อาการออทิสติก-รักษาออทิสติก-วิธีตรวจออทิสติก-ออทิสติกรักษาหายไหม-ลูกเป็นออทิสติก-เด็กออทิสติก-เด็กพิเศษออทิสติก-ออทิซึม-ออทิสติก พัฒนาการ-ออทิสติก ก้าวร้าว-ออทิสติก เล่นซ้ำๆ-ออทิสติกกลัวคนแปลกหน้า-ออทิสติกเข้าสังคมยาก-ช่วยลูกออทิสติกเข้าสังคม

ออทิสติก เป็นอีกหนึ่งกลุ่มอาการที่พบมาในเด็ก พ่อแม่รุ่นใหม่จำเป็นต้องเข้าใจเรื่องออทิสติก เพื่อสังเกตอาการและรักษาอย่างถูกต้อง พญ.เบญจพร อนุสนธิ์พรเพิ่ม จิตแพทย์เด็กวัยรุ่นและผู้ใหญ่ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ มีคำแนะนำค่ะ
ออทิสติกคืออะไร

โรคออทิสติก (Autistic Disorder) ออทิสซึม (Autism) หรือ ออทิสติกสเปกตรัม (Autistic Spectrum Disorder) เกิดจากพัฒนาการที่ผิดปกติของสมองที่มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรม ไม่ได้เกิดจากการเลี้ยงดูของผู้ปกครอง ทำให้เกิดความบกพร่องด้านการพูดสื่อสาร และปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ร่วมกับมีพฤติกรรมและความสนใจแบบแคบ จำกัด และเป็นแบบแผนซ้ำ ๆ

ความบกพร่องเหล่านี้จะเริ่มแสดงให้เห็นในวัยเด็กเล็ก และมีอาการต่อเนื่องไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ ออทิสติกเป็นโรคที่ยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถช่วยเหลือให้ดีขึ้นได้ โดยเฉพาะหากได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมตั้งแต่เริ่มแรก

  • ลักษณะอาการของโรคออทิสติก ความบกพร่องด้านการพูดและสื่อสาร
    ผู้ปกครองมักเริ่มสังเกตเห็นความผิดปกติในขวบปีที่ 2 เมื่อเด็กยังไม่เริ่มพูดเป็นคำที่มีความหมาย ไม่ตอบสนองเมื่อเรียกชื่อ ไม่ทำตามคำสั่ง ไม่ค่อยสบตาเหมือนเด็กทั่วไป โดยเด็กอาจไม่พูดเลย พูดเป็นคำที่ไม่มีความหมาย หรือมีภาษาเฉพาะตัว (ภาษาต่างดาว) หรือสื่อสารโดยการดึงมือผู้ปกครองให้ทำในสิ่งที่ต้องการ เด็กบางคนอาจเคยพูดเป็นคำได้แล้วแต่พัฒนาการด้านการพูดมาหยุดชะงัก หรือถดถอยในช่วงอายุ 1.6 - 2 ปี

    เด็กบางคนอาจจะเริ่มพูดสื่อสารได้ดีเมื่อโตขึ้น หรือบางคนอาจไม่มีความล่าช้าของพัฒนาการด้านการสื่อสารที่ชัดเจน แต่จะมีลักษณะการพูดที่ผิดปกติ เช่น พูดทวนคำพูดของผู้อื่น พูดโดยใช้คำศัพท์ไม่ถูกต้องเหมาะสมกับบริบท พูดซ้ำๆแต่เรื่องที่ตนสนใจ หรือไม่พูดคุยแบบตอบโต้กับผู้อื่น นอกจากนี้เด็กออทิสติกยังมักมีความผิดปกติของการใช้ภาษาท่าทาง (หรือภาษากาย) (Non-verbal language) ในการสื่อสาร เช่น มีการแสดงมีหน้า ท่าทางที่ไม่เหมาะสม หรือไม่เข้าใจการใช้ภาษาท่าทางของผู้อื่น

  • ลักษณะอาการของโรคออทิสติก ความบกพร่องในด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
    ความบกพร่องนี้อาจแสดงให้เห็นตั้งแต่ขวบปีที่ 2  โดยเด็กอาจจะแสดงอาการติดผู้ปกครอง หรือไม่กลัวคนแปลกหน้าเหมือนเด็กทั่วไป เมื่อโตขึ้นมักมีการแสดงออกของพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ทางสังคม ชอบเล่นคนเดียว ไม่แสดงความสนใจหรือความสนุกร่วมกับผู้อื่น ไม่เล่นแบบมีจินตนาการหรือบทบาทสมมติกับเพื่อน ไม่มีความสัมพันธ์แบบเพื่อนสนิท หรืออาจไม่สนใจที่จะมีเพื่อนเลย
ลักษณะอาการที่มักพบร่วมมในเด็กออทิสติก
  • เด็กมักมีการเล่นหรือแสดงออกของพฤติกรรมที่เป็นแบบแผนซ้ำ ๆ เด็กชอบนำของเล่นมาเรียงต่อกัน หมุนเล่นไปมา ไม่เล่นตามฟังก์ชั่นของของเล่นชิ้นนั้น ๆ (เช่นจับรถของเล่นหงายเพื่อหมุนล้อ) ชอบเล่นแบบเดิมซ้ำ ๆ ชอบไปสถานที่เดิมๆ หรือมีกิจวัตรที่เป็นแบบแผนเปลี่ยนแปลงได้ยาก

  • เด็กบางคนมีความหมกมุ่นสนใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินไป หรือมีความสนใจแปลกกว่าเด็กทั่วไป นอกจากนี้ยังอาจมีประสาทสัมผัสที่ไวมากหรือน้อยเกินไป เช่น การรับสัมผัสด้านความเจ็บปวด อุณหภูมิ เสียง แสง หรือการเคลื่อนไหวของวัตถุ หรือแม้แต่เนื้อสัมผัสของอาหารบางชนิด ผิวสัมผัสของเนื้อผ้าบางประเภท เป็นต้น

  • เด็กออทิสติกอาจพบมีภาวะความบกพร่องของสติปัญญาและการเรียนในด้านต่างๆ อาการขาดสมาธิ ซนและอยู่ไม่นิ่ง พฤติกรรมก้าวร้าว พฤติกรรมทำร้ายตัวเอง หรือพฤติกรรมกระตุ้นตนเองซ้ำๆ เช่น สะบัดมือ เคาะวัตถุ โยกตัว หรือกระโดด เป็นต้น
แนวทางการวินิจฉัยโรคออทิสติก

ออทิสติกสามารถวินิจฉัยได้โดยอาศัยประวัติพัฒนาการ การประเมินทางร่างกายและพฤติกรรมของเด็ก เนื่องจากไม่มีการตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือการทดสอบจำเพาะใดๆ สำหรับโรคนี้ แต่ทั้งนี้ แพทย์อาจส่งตรวจเพิ่มเติม เพื่อวินิจฉัยแยกโรคบางอย่าง เช่น ส่งตรวจการได้ยินเพื่อแยกจากภาวะการได้ยินบกพร่อง เป็นต้น

พ่อแม่ควรทำอย่างไร ถ้าสงสัยว่าลูกป็นออทิสติก

เมื่อสังเกตเด็กตามข้อมูลที่ได้กล่าวไปในเบื้องต้นแล้ว สงสัยว่าเด็กเป็นออทิสติก ควรนำเด็กมารับการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กหรือจิตแพทย์เด็ก เพื่อให้การวินิจฉัยและช่วยเหลือโดยเร็วที่สุด และระหว่างนี้ผู้ปกครองควรกระตุ้นพัฒนาการเด็กด้วยการเล่นกับเด็กมากขึ้น ฝึกให้เด็กพูดตาม สบตา หรือให้ทำตามคำสั่งง่ายๆ

แนวทางการรักษาออทิสติก

แนวทางการรักษา การช่วยเหลือเด็กและครอบครัว ขึ้นกับผลการตรวจประเมินเป็นหลัก โดยเป้าหมายคือเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการแต่ละด้านอย่างสมวัย หรือใกล้เคียงพัฒนาการปกติมากที่สุด โดยมีทีมสหวิชาชีพทำงานร่วมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยเหลือผู้ปกครองในการช่วยเหลือเด็กในด้านต่างๆ ดังนี้

การกระตุ้นพัฒนาการด้านต่าง ๆ สำหรับเด็กออทิสติก

การฝึกทักษะและแก้ไขพฤติกรรมที่เป็นปัญหา เช่น การฝึกให้เด็กมีทักษะการช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวัน ฝึกทักษะการเล่นและการเข้าสังคม แก้ไขปัญหาพฤติกรรมต่าง ๆ รวมทั้งปรับการเลี้ยงดู และสิ่งแวดล้อมตามความเหมาะสม การช่วยเหลือด้านการเรียนที่เหมาะกับศักยภาพของเด็ก ซึ่งอาจเป็นชั้นเรียนพิเศษ หรือชั้นเรียนร่วมกับเด็กปกติโดยมีการช่วยเหลือเพิ่มเติมรายบุคคล

การใช้ยารักษาอาจมีความจำเป็นในการรักษาบางอย่างที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้และการใช้ชีวิตประจำวันของเด็ก เช่น อาการขาดสมาธิ อยู่ไม่นิ่ง หงุดหงิด ก้าวร้าว หรือกระตุ้นตนเอง ทั้งนี้การใช้ยารักษาจะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และควบคู่ไปกับการฝึกกระตุ้นพัฒนาการและพฤติกรรมดังกล่าวข้างต้น

รักลูก Community of The Experts

พญ.เบญจพร อนุสนธิ์พรเพิ่ม
จิตแพทย์เด็กวัยรุ่นและผู้ใหญ่ 
โรงพยาบาลวิชัยยุทธ

สังเกตให้ดี! ลูกเราเป็น ADHD โรคสมาธิสั้นหรือไม่ พ่อแม่รู้ไวแก้ไขทัน

สมาธิสั้น-เด็กสมาธิสั้น-โรคสมาธิสั้น-การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-พัฒนาการผิดปกติ-ลูกพูดไม่หยุด-ลูกไม่ชอบอยู่นิ่ง-ลูกขยับตัวตลอดเวลา-อาการสมาธิสั้น สังเกตให้ดี! ลูกเราเป็น ADHD โรคสมาธิสั้นหรือไม่

ปัญหาใหญ่ของเด็กไทยกับการป่วยโรคสมาธิสั้น โดยกระทรวงสาธารณสุขพบว่า เด็กไทยป่วยสมาธิสั้นกว่า 1 ล้านคน และกว่าครึ่งจะมีปัญหาสุขภาพจิตตามมาค่ะ

โรคสมาธิสั้น (ADHD , Attention Deficit Hyperactivity Disorder)

โรคสมาธิสั้น เป็นปัญหาทางพฤติกรรมที่พบได้บ่อยในเด็กวัยเรียนและเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่ทำให้เด็กมีปัญหาการเรียน เกิดจากความบกพร่องในการทำหน้าที่ของสมอง มีอาการหลักเป็นความผิดปกติทางด้านพฤติกรรมได้แก่ ขาดสมาธิ ซนอยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่น ขาดการยับยั้งชั่งใจ ที่เป็นมากกว่าพฤติกรรมตามปกติของ เด็กในระดับพัฒนาการเดียวกัน

 

วิธีสังเกตอาการของโรคสมาธิสั้น

1.ซน อยู่ไม่นิ่ง

เด็กจะมีอาการซน ยุกยิก นั่งนิ่งไม่ค่อยได้ เคลื่อนไหวตลอดเวลา เล่นโลดโผน

2.ขาดสมาธิ

เด็กไม่สามารถจดจ่ออยู่กับการเรียน ไม่สามารถตั้งใจฟังครูสอนได้อย่างต่อเนื่อง มีอาการเหม่อลอย วอกแวกง่าย ทำงานไม่เสร็จ เบื่อง่าย ผลงานที่ออกมาไม่เรียบร้อย ซึ่งเป็นสาเหตุให้เด็กเรียนรู้ไม่เต็มศักยภาพ หลงลืมกิจวัตรที่ควรทำเป็นประจำ หรือทำของหายบ่อย ขาดการยับยั้งใจตนเอง หุนหันพลันแล่น

3.ขาดการยั้งคิด

ทำโดยไม่ไตร่ตรองถึงผลกระทบที่ตามมา อดทนรอคอยไม่ค่อยได้ ไม่สามารถควบคุมตนเองให้ทำในสิ่งที่ควรทำให้จนเสร็จ

 

8 วิธีดูแลเด็กสมาธิสั้น เพื่อช่วยเด็กรับมือกับโรคได้ดีขึ้น 

  1. จัดมุมที่เงียบสงบไว้ให้เด็กได้ทำงาน หรือทำการบ้าน ห่างจากโทรทัศน์ไม่ให้มีเสียงเข้ามารบกวนสมาธิ และจัดของใช้ที่จำเป็นเท่านั้น เพื่อลดสิ่งเร้าที่ดึงความสนใจของเด็ก
  2. ใช้การสื่อสารที่สั้น กระชับ ชัดเจน ให้เด็กทวนคำสั่งว่ามีอะไรบ้าง เนื่องจากเด็กสมาธิสั้นมักมีความอดทนในการฟังต่ำ
  3. ฝึกฝนวินัยในเด็ก สร้างกรอบกฎเกณฑ์ มีตารางเวลาชัดเจน ไม่ปล่อยปละละเลยหรือตามใจจนเคยตัว
  4. เบี่ยงเบนความสนใจ เมื่อเด็กดื้อหรือซนมากให้หากิจกรรมอื่นมาแทน
  5. ให้เด็กออกกำลังกายและทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหว เพื่อช่วยลดพลังงานส่วนเกิน ช่วยให้มีสมาธิและลดความเครียด
  6. การนอนหลับให้เพียงพอก็เป็นอีกทางหนึ่งที่ทำให้เด็กมีสมาธิและมีสุขภาพที่ดี
  7. ลดระยะเวลาในการทำกิจกรรมให้สั้นลง แต่ทำบ่อยขึ้น เน้นเรื่องความรับผิดชอบและอดทน ตั้งเป้าหมายของกิจกรรมให้ง่ายๆ สั้นๆ อย่างชัดเจนและเสร็จเป็นชิ้นๆ ไป
  8. ควรให้คำชมหรือรางวัลเมื่อเด็กทำพฤติกรรมที่พึงประสงค์ เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เด็กทำพฤติกรรมที่ดีต่อไป

ทั้งนี้ การเรียนรู้ เข้าใจ และยอมรับกับโรคสมาธิสั้นที่เกิดในเด็กของพ่อแม่ผู้ปกครองมีส่วนช่วยลดความเครียดในครอบครัว และป้องกันโรคทางจิตเวชอื่น ๆ เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล ที่อาจตามมาในเด็ก ช่วยให้เด็กมีความสุขกับการเรียน การใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างสมวัย และทำได้เต็มความสามารถมากขึ้น

 

 

อ้างอิงข้อมูลโดย : 

เกณฑ์ตารางน้ำหนักส่วนสูงใหม่ ของเด็กแรกเกิด-5 ปี จากสำนักโภชนาการ

ลูกเราอ้วนไปไหม เตี้ยไปหรือเปล่า ตารางน้ำหนักส่วนสูงจะเป็นเครื่องมือให้พ่อแม่ติดตามพัฒนาการทางร่างกาย เมื่อพบความผิดปกตินี้จะได้รีบแก้ไข

พัฒนาการเด็ก-ตารางน้ำหนักส่วนสูง-เกณฑ์น้ำหนักส่วนสูง-ตารางน้ำหนักส่วนสูงใหม่-ตารางน้ำหนักส่วนสูงเด็กทารก-ตารางน้ำหนักส่วนสูงเด็กอนุบาล-Growth chart-ตารางส่วนสูง

เกณฑ์ตารางน้ำหนักส่วนสูงใหม่ ของเด็กแรกเกิด-5 ปี จากสำนักโภชนาการ

ตารางน้ำหนักส่วนสูงของลูกเป็นเรื่องที่พ่อแม่ต้องรู้เพื่อติดตามพัฒนาการด้านร่างกายและการเจริญเติบโตของลูก สำนักโภชนาการโดยกรมอนามัยได้เผยแพร่เกณฑ์น้ำหนักส่วนสูงใหม่ ที่สอดคล้องกับตารางน้ำหนักส่วนสูงของ WHO

ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าในประเทศไทย ทำให้เกณฑ์อ้างอิงน้ำหนัก ส่วนสูงที่เก็บข้อมูลมาตั้งแต่ปี 2538 ไม่ตรงกับสภาวะในปัจจุบัน เนื่องจากตารางที่ใช้อยู่วิเคราะห์ปัญหาต่ำกว่าความจริง กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ปรับเกณฑ์เติบโตเด็กขึ้นใหม่ เพื่อให้ภาวะโภชนาการของเด็กไทยสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

ตารางน้ำหนักส่วนสูง เด็กแรกเกิด-5 ปี

 

พัฒนาการเด็ก-ตารางน้ำหนักส่วนสูง-เกณฑ์น้ำหนักส่วนสูง-ตารางน้ำหนักส่วนสูงใหม่-ตารางน้ำหนักส่วนสูงเด็กทารก-ตารางน้ำหนักส่วนสูงเด็กอนุบาล-Growth chart-ตารางส่วนสูง

 

ดาวน์โหลด คลิก

 

โดยน้ำหนักตามเกณฑ์ของเด็กชายควรอยู่ที่ 

อายุ 1 ขวบ หนัก 8.2 - 11.4 กิโลกรัม

อายุ 2 ขวบ หนัก 10.3 - 14.4 กิโลกรัม

อายุ 3 ขวบ หนัก 12.00 - 17.2 กิโลกรัม

อายุ 4 ขวบ หนัก 13.5 - 19.8 กิโลกรัม

อายุ 5 ขวบ หนัก 15.00 - 22.5 กิโลกรัม

 

 

พัฒนาการเด็ก-ตารางน้ำหนักส่วนสูง-เกณฑ์น้ำหนักส่วนสูง-ตารางน้ำหนักส่วนสูงใหม่-ตารางน้ำหนักส่วนสูงเด็กทารก-ตารางน้ำหนักส่วนสูงเด็กอนุบาล-Growth chart-ตารางส่วนสูง

ดาวน์โหลด คลิก

 

 

โดยส่วนสูงตามเกณฑ์ของเด็กชายควรอยู่ที่ 

อายุ 1 ขวบ สูง 71 - 79.2 เซ็นติเมตร

อายุ 2 ขวบ สูง 83 - 92.2 เซ็นติเมตร

อายุ 3 ขวบ สูง 90.5 - 101.5 เซ็นติเมตร

อายุ 4 ขวบ สูง 97 - 109.5 เซ็นติเมตร

อายุ 5 ขวบ สูง 103 - 117 เซ็นติเมตร

 

พัฒนาการเด็ก-ตารางน้ำหนักส่วนสูง-เกณฑ์น้ำหนักส่วนสูง-ตารางน้ำหนักส่วนสูงใหม่-ตารางน้ำหนักส่วนสูงเด็กทารก-ตารางน้ำหนักส่วนสูงเด็กอนุบาล-Growth chart-ตารางส่วนสูง

 

ดาวน์โหลด คลิก

 

โดยน้ำหนักตามเกณฑ์ของเด็กหญิงควรอยู่ที่ 

อายุ 1 ขวบ หนัก 7.5 - 10.7 กิโลกรัม

อายุ 2 ขวบ หนัก 9.15 - 13.8 กิโลกรัม

อายุ 3 ขวบ หนัก 11.5 - 16.9 กิโลกรัม

อายุ 4 ขวบ หนัก 13.15 - 20.00 กิโลกรัม

อายุ 5 ขวบ หนัก 14.7 - 23.00 กิโลกรัม

พัฒนาการเด็ก-ตารางน้ำหนักส่วนสูง-เกณฑ์น้ำหนักส่วนสูง-ตารางน้ำหนักส่วนสูงใหม่-ตารางน้ำหนักส่วนสูงเด็กทารก-ตารางน้ำหนักส่วนสูงเด็กอนุบาล-Growth chart-ตารางส่วนสูง

 

ดาวน์โหลด คลิก

 

โดยส่วนสูงตามเกณฑ์ของเด็กหญิงควรอยู่ที่ 

อายุ 1 ขวบ สูง 70 - 78 เซ็นติเมตร

อายุ 2 ขวบ สูง 81.5 - 91.2 เซ็นติเมตร

อายุ 3 ขวบ สูง 89.3 - 100.4 เซ็นติเมตร

อายุ 4 ขวบ สูง 96.2 - 110เซ็นติเมตร

อายุ 5 ขวบ สูง 102.2 - 116.5 เซ็นติเมตร

 

การประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กทารก ไม่ได้ขึ้นอยู่กับน้ำหนักหรือส่วนสูงเพียงอย่างเดียวนะคะ แต่ยังขึ้นอยู่กับโภชนาการ การนอนนอนหลับพักผ่อน การขับถ่าย การเล่น รวมถึงพัฒนาการด้านอารมณ์และสังคมด้วย 

เด็กบางคนอาจมีน้ำหนักและความสูงไม่ตรงตามเกณฑ์ อาจต้องพิจารณาจากพันธุรรมและปัจจัยอื่นประกอบด้วย ถ้าหากลูกอ้วน ผอม หรือเตี้ยเกินเกณฑ์ พ่อแม่ต้องปรึกษากุมารแพทย์ หรือพาลูกไปเช็กกับกุมารแพทย์ด้านพัฒนาการอีกทีค่ะ 

 

ที่มา : สำนักโภชนาการ กรมอนามัย 

เช็ก Reflex พัฒนาการลูกทารกแรกเกิด Reflex ทารกคืออะไร

Reflex ทารกแรกเกิด, Reflex ลูกแรกเกิด, Reflex ทารก คืออะไร, ปฎิกิริยารีเฟล็กซ์, เช็กพัฒนาการลูกแรกเกิด, พัฒนาการทารกแรกเกิด, สุขภาพเด็กแรกเกิด, เช็กพัฒนาการ ทารกหลังคลอด, พัฒนาการเด็ก 0-1 ขวบ, ปฏิกิริยาสะท้อนกลับ

ร่างกายของทารกหลังคลอดจะมีพัฒนาการที่สมบูรณ์ครบถ้วนหรือไม่ เช็กได้จากการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่เกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนกลับ หรือ Reflex ของเด็กทารกค่ะ

เช็ก Reflex พัฒนาการลูกทารกแรกเกิด Reflex ทารกคืออะไร

Reflex..ปฏิกิริยาสะท้อนกลับ คือการตอบสนองของกล้ามเนื้อตามธรรมชาติที่มีผลมาจากการถูกกระตุ้น โดยมีปัจจัยจากสิ่งเร้าที่แน่นอน และเป็นผลมาจากพัฒนาการด้านระบบประสาทในเด็ก ถือเป็นการแสดงหน้าที่อย่างหนึ่งของระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งมีความจำเป็นในเด็กทารกแรกเกิด เพราะนั่นหมายถึงการมีพัฒนาการที่ปกติ และนำไปสู่การอยู่รอดของเด็กนั่นเอง

ปฏิกิริยาสะท้อนกลับ หรือ Reflex พื้นฐานของลูกทารกแรกเกิด

1. ปฏิกิริยาสะท้อนทางปาก (Oral Reflex)

พัฒนาการ-พัฒนาการเด็ก-พัฒนาการเด็กทารก-พฤติกรรมเด็ก-เด็กแรกเกิด-Reflex-ปฎิกิริยารีเฟล็กซ์-พัฒนาการ-พัฒนาการเด็ก 0-1 ขวบ-ปฏิกิริยาสะท้อนกลับ

  • ปฏิกิริยาการค้นหา (Rooting Reflex) หากมีบางสิ่งมาสัมผัสที่ข้างแก้มของลูก ลูกจะค่อยๆ หันหน้าและขยับปากไปหาสิ่งที่มาสัมผัส เช่น เมื่อคุณแม่จะป้อนนม แล้วใช้หัวนมเขี่ยข้างแก้ม ลูกก็จะค่อยๆ หันหน้าไปหาหัวนม และงับหัวนมได้

  • ปฏิกิริยาการดูด (Sucking Reflex) จะช่วยให้ลูกน้อยสามารถดูดนมได้ การที่มีอะไรสักอย่างไปกระตุ้นริมฝีปาก เมื่อลูกงับหัวนมได้ก็จะมีปฏิกิริยาตอบสนองด้วยการใช้ลิ้นกับเพดานดุนเข้าหากัน จากลานนมไปหาหัวนมทำให้มีน้ำนมไหลออกมา

  • ปฏิกิริยาการกลืน (Swollowing Reflex) เมื่อลูกดูดนมได้แล้ว ต่อไปก็จะกลืน ซึ่งปฏิกิริยานี้จะทำให้ลูกกลืนได้เองโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องอาศัยการเรียนรู้ใดๆ

อาการนี้จะหายไปเมื่อไหร่

ปกติแล้วปฏิกิริยาชนิดนี้จะเกิดขึ้นตั้งแต่แรกคลอดจนถึง 2-3 เดือนแรก แล้วจะค่อยๆ หายไป หลังจากนั้นลูกน้อยจะกินได้ด้วยการเรียนรู้ ว่าควรหันไปหาหัวนมแม่อย่างไร และต้องดูดนมอย่างนี้ถึงจะไหลออกมา สามารถบังคับ และกำหนดการดูดได้ด้วยตัวเอง

 

2. ปฏิกิริยาทางตา (Eye Reflex)

พัฒนาการ-พัฒนาการเด็ก-พัฒนาการเด็กทารก-พฤติกรรมเด็ก-เด็กแรกเกิด-Reflex-ปฎิกิริยารีเฟล็กซ์-พัฒนาการ-พัฒนาการเด็ก 0-1 ขวบ-ปฏิกิริยาสะท้อนกลับ

  • ปฏิกิริยาการกะพริบตา (Blink Reflex) เมื่อมีอะไรมาโดนตา หรือเข้ามาใกล้ตา ก็จะกะพริบตาทันที

  • ปฏิกิริยาของแก้วตา (Pupil Reflex) เมื่อมีแสงมากระทบที่ม่านตา หรือเวลาที่ลูกจ้องมองแสงไฟ ม่านตาของลูกจะค่อยๆ หดลง เหมือนเป็นการป้องกันไม่ให้แสงเข้านัยน์ตามากเกินไป

  • ปฏิกิริยาการกลอกตา (the dolls eye response) ลูกสามารถกลอกตาไปมา เพื่อมองหา หรือมองตามสิ่งที่เคลื่อนไหวได้ตั้งแต่ 2-3 วันแรก

อาการนี้จะหายไปเมื่อไหร่

ปกติปฏิกิริยาชนิดนี้ เกิดขึ้นตั้งแต่แรกคลอด และจะไม่หายไปไหน จะอยู่กับเราไปตลอดชีวิตเลย

 

3. ปฏิกิริยาโมโร (Moro Reflex)

พัฒนาการ-พัฒนาการเด็ก-พัฒนาการเด็กทารก-พฤติกรรมเด็ก-เด็กแรกเกิด-Reflex-ปฎิกิริยารีเฟล็กซ์-พัฒนาการ-พัฒนาการเด็ก 0-1 ขวบ-ปฏิกิริยาสะท้อนกลับ

เวลาที่อุ้มลูกแล้วประคองบริเวณต้นคอลูก ถ้ามือเลื่อนลงมาบริเวณหลัง ลูกจะมีปฏิกิริยาตอบสนองทันที คือแขนขาจะเหยียดและกางออกหลังจากนั้นจะโผเข้าหาเหมือนจะโอบกอด หรือการที่ลูกได้ยินเสียงดังๆ หรือการวางลูกนอนลงอย่างกะทันหัน ลูกจะตกใจ และแสดงอาการสะดุ้ง หรือผวาออกมา Moro Reflex ทารกหลังคลอดทุกคนจะมีให้เห็น เพื่อเป็นการบ่งบอกให้รู้ว่าลูกมีพัฒนาการสมบูรณ์ ฉะนั้นเวลาที่ลูกสะดุ้งตกใจ ให้คุณพ่อคุณแม่รู้ไว้ว่าลูกมีปฏิกิริยาสะท้อนกลับ ไม่ใช่เรื่องผิดปกติค่ะ

อาการนี้จะหายไปเมื่อไหร่

ปกติแล้วปฏิกิริยานี้จะเริ่มมีตั้งแต่แรกเกิด จะค่อยๆ ลดลงเมื่ออายุ 3 เดือน และหายไปเมื่ออายุ 5-6 เดือนค่ะ

 

เช็กพัฒนาการทางร่างกายที่สำคัญของลูกทารกวัย 6-12 เดือน

พัฒนาการทารก 6 เดือน, พัฒนาการทารก 7 เดือน, พัฒนาการทารก 8 เดือน, พัฒนาการทารก 9 เดือน, พัฒนาการทารก 10 เดือน, พัฒนาการทารก 11 เดือน, พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ, เช็กพัฒนาการทารก, ประเมินพัฒนาการทารก, เลี้ยงลูกอายุ 6 เดือน, ของเล่น ทารก 6 เดือน, ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 1 ขวบ 
ลูกทารกวัย 6-12 เดือนมีพัฒนาการอย่างไรบ้าง และพ่อแม่จะส่งเสริมพัฒนาการได้อย่างไรให้ลูก เช็กกันได้ที่บทความนี้

เช็กพัฒนาการทางร่างกายที่สำคัญของลูกทารกวัย 6-12 เดือน

พัฒนาการเด็กทารกอายุ 6 เดือน

  • พลิกคว่ำเองได้คล่อง 
  • ชันตัวได้ในท่านอนคว่ำเหมือนพยายามโหย่งตัว
  • ทรงตัวในการนั่งได้ดีแต่ต้องมีหมอนพิง
  • จับถือขวดนมหรือของเล่นได้อยู่มือ

การส่งเสริมพัฒนาการเด็กทารกอายุ 6 เดือน

  • เตรียมพื้นที่คลานให้ลูกด้วยแผ่นรองคลานหรือผ้านุ่มๆ
  • วางหมอนป้องกันไว้รอบๆ พื้นที่เพื่อไม่ให้ลูกพลิกแล้วตกที่นอนหรือแผ่นรอง
  • หมั่นตรวจดูผ้าอ้อมลูกไม่ให้ตุง เพราะถ้าผ้าอ้อมตุง หนัก บวม จะทำให้ลูกพลิกตัวยาก

---------------------------------------------------------

พัฒนาการเด็กทารกอายุ 7 เดือน

  • ยันตัวในท่าคลานหรือเริ่มคืบไปข้างหน้าได้ทีละนิด
  • จับของเพื่อดึงตัวเองขึ้นยืนได้
  • อาจยกตัวขึ้นนั่งได้จากท่านอน
  • ถ้ามีคนพยุงจะยืนทรงตัวและก้าวขาสั้นๆ ได้

การส่งเสริมพัฒนาการเด็กทารกอายุ 7 เดือน

  • จัดการกับเหลี่ยมมุมในบ้าน โต๊ะ เก้าอี้ ปลั๊กไฟเพื่อให้ลูกไม่ให้ลูกคืบหรือเกาะไต่ไปโดน
  • ควรลองพาลูกไปหัดคลานหรือเดินนอกบ้าน เช่น ในสวน เพื่อให้เขาได้สัมผัสธรรมชาติและสนุกกับการคลานมากขึ้น
  • เลือกเสื้อผ้าที่ไม่รุงรัง ไม่รัดจนทำให้ลูกคลานหรือยืนไม่คล่องตัว

---------------------------------------------------------

พัฒนาการเด็กทารกอายุ 8 เดือน

  • คลานได้
  • ยืนเกาะไต่และก้าวขาไปได้เรื่อยๆ ทีละก้าวสั้นๆ
  • นั่งได้มั่นคง ไม่ล้มหงายหลัง ไม่ต้องมีหมอนพิง
  • สามารถเปลี่ยนจากการคลานไปนั่งเองได้ด้วยการยันแขนขึ้น

การส่งเสริมพัฒนาการเด็กทารกอายุ 8 เดือน

  • ควรจัดพื้นที่คลานในบ้านให้กว้างขึ้น เช่น ย้ายเฟอนิเจอร์ ปูพื้นที่คลาน หรือส่วนไหนที่คลานไปไม่ได้ก็ให้หาฉากหรือคอกกั้น
  • จับมือพยุงให้ลูกยืนและก้าวเดินบ่อยๆ เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่จะช่วยให้ขาลูกแข็งแรงและพัฒนาการเดินได้ไวขึ้น
  • เลือกผ้าอ้อมที่กระชับกับตัวลูก เพื่อให้ลูกคลานได้คล่องตัว ไม่เกิดการเสียดสี

---------------------------------------------------------

พัฒนาการเด็กทารกอายุ 9 เดือน

  • คลานคล่องแคล่ว คลานไว หรืออาจคลานขึ้นบันไดได้
  • จับของยืนเองได้และยืนได้นานโดยไม่มีคนพยุง
  • บางคนลุกยืนเองได้โดยไม่ต้องจับเครื่องเรือน
  • นั่งลงได้จากท่ายืนโดยไม่ล้ม

การส่งเสริมพัฒนาการเด็กทารกอายุ 9 เดือน

  • ช่วงนี้ควรเลือกผ้าอ้อมแบบกางเกงที่บางกระชับ เพื่อให้ลูกเคลื่อนไหวได้แบบไม่ติดขัด
  • จับให้ลูกได้เกาะโซฟาแล้วไต่เดินเองเพื่อเพิ่มพลังขา
  • ช่วงที่จะใส่กางเกงให้ลูกถือเป็นจังหวะฝึกยืน โดยให้ลูกยืนเกาะไหล่แม่พยุงตัวไว้และใส่กางเกงแทนการนั่งใส่เหมือนเดิม
---------------------------------------------------------

พัฒนาการเด็กทารกอายุ 10 เดือน

  • ลุกขึ้นยืนจากท่านั่งได้โดยไม่ต้องจับเครื่องเรือน
  • ยืนได้โดยไม่ต้องจับอะไร
  • เดินได้หลายก้าวขึ้นแต่ยังต้องจับเครื่องเรือนไต่เดินไปรอบๆ
  • ปีนขึ้นลงเก้าอี้เองได้

การส่งเสริมพัฒนาการเด็กทารกอายุ 10 เดือน

  • ร้องเรียกหรือปรบมือให้ลูกเดินเข้ามาหาเพื่อฝึกการเดินให้มั่นคง
  • บอกให้ลูกลองลุกนั่งบ่อยๆ เพื่อฝึกการทรงตัวจากการยืนนั่งและนั่งยืน
  • ลองนำของเล่นที่เขาชอบไปวางไวในมุมปลอดภัยต่างๆ หรือในสวน แล้วให้เขาเดินไปหยิบเพื่อฝึกการมอง การเดิน การทรงตัว
---------------------------------------------------------

พัฒนาการเด็กทารกอายุ 11 เดือน

  • เดินได้เองโดยจับมือคนอื่นหนึ่งหรือสองมือ
  • ลุกขึ้นยืนจากท่านั่งยองๆ ได้
  • ลุกขึ้นยืนได้โดยใช้มือยันพื้นแล้วดันตัวขึ้นยืนตรง
  • จับของเล่นส่งต่อมือหนึ่งไปอีกมือหนึ่งได้โดยของไม่ตก

การส่งเสริมพัฒนาการเด็กทารกอายุ 11 เดือน

  • เดินจูงมือลูกให้ก้าวเดินไปพร้อมกับแม่เพื่อกระตุ้นความสนุกและอยากเคลื่อนไหว
  • หาของเล่นที่มีพื้นผิวและขนาดที่หลากหลายเพื่อให้ลูกได้จับและส่งจากมือหนึ่งไปมือหนึ่งได้คล่องมากขึ้น
---------------------------------------------------------

พัฒนาการเด็กทารกอายุ 12 เดือน (1 ขวบ)

  • ลุกนั่งได้คล่องแคล่ว
  • คลานขึ้นลงบันไดได้
  • ใช้มือขณะเดินได้ เช่น โบกมือ ถือของ
  • เริ่มก้าวได้ก้าวขึ้น เร็วขึ้นจนเกือบเหมือนวิ่งเพราะสนุกที่จะเดินไปหาของที่อยากไปเล่น

การส่งเสริมพัฒนาการเด็กทารกอายุ 12 เดือน (1 ขวบ)

  • ช่วงนี้ลูกจะสนุกกับการคลาน แม่ควรเลือกเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดีเพื่อระบายความร้อนจากร่างกาย
  • ควร เลือกผ้าอ้อมที่ซึมซับได้ดีเพื่อให้ลูกคลานได้นานขึ้นและไม่รั่วซึม รวมถึงควรเป็นผ้าอ้อมที่ไม่ตุงเทอะทะ เพราะน้ำหนักของผ้าอ้อมอาจจะถ่วงให้ลูกคลานได้ช้าลง ไม่สบายตัว

 

เช็กพัฒนาการเด็ก ลูกวัย 0-1 ปี ได้ง่าย ๆ ทุกวันด้วยตัวพ่อแม่เอง

พัฒนาการทารก, พัฒนาการทารก 1 เดือน 2 เดือน 3 เดือน 4 เดือน 5 เดือน 6 เดือน 7 เดือน 8 เดือน 9 เดือน 10 เดือน 11 เดือน 12 เดือน, พัฒนาการทารกแต่ละเดือน, พัฒนาการทารกแรกเกิดเป็นยังไง, เช็กพัฒนาการทารก, เช็กพัฒนาการเด็ก
 
อยากรู้ว่าพัฒนาการเด็กแต่ละเดือนเป็นอย่างไร ต้องทำอะไรได้ เรามีวิธีสังเกตพัฒนาการทารกวัย 0-1 ปี มาแนะนำให้พ่อแม่เช็กกันได้ตรงนี้ค่ะ 

 

เช็กพัฒนาการเด็ก ลูกวัย 0-1 ปี ได้ง่าย ๆ ทุกวันด้วยตัวพ่อแม่เอง

พัฒนาการทารกแรกเกิด - 1 เดือน

  • กล้ามเนื้อมัดใหญ่
    • งอแขนขาทั้งในท่านอนคว่ำและนอนหงาย
    • ชันคอได้ชั่วขณะในท่านอนคว่ำ
  • กล้ามเนื้อตาและมือ
    • มองเหม่อ อาจจ้องมองในระยะ 8-12 นิ้ว
    • กำมือเมื่อถูกกระตุ้นที่ฝ่ามือ
  • การรับรู้ภาษา
    • สะดุ้งหรือ เปิดตากว้างเมื่อได้ยินเสียง
  • การสื่อภาษา
    • ส่งเสียงร้อง
  • สติปัญญา
    • ไม่สนใจเมื่อสิ่งที่มองเห็นหายไป
  • อารมณ์และสังคม
    • มองหน้าคนช่วงสั้นๆ

พัฒนาการทารก 2-3 เดือน

  • กล้ามเนื้อมัดใหญ่ชันคอได้เองเมื่ออยู่ในท่านอนคว่ำ
  • กล้ามเนื้อตาและมือ - มือกำหลวม ๆ และ มองตามสิ่งของได้ข้ามกึ่งกลางลำตัว
  • การรับรู้ภาษา - หยุดเคลื่อนไหว หรือกะพริบตาตอบสนองต่อเสียง
  • การสื่อภาษา - ส่งเสียงอ้อแอ้
  • สติปัญญา - จ้องมองในจุดที่เห็นสิ่งของหายไปชั่วขณะ
  • อารมณ์และสังคม - สบตาและยิ้มโต้ตอบเวลามีคนเล่นด้วย

พัฒนาการทารก 3-6 เดือน

  • กล้ามเนื้อมัดใหญ่
    • คว่ำหรือหงายได้เอง
    • นั่งได้เองชั่วครู่
  • กล้ามเนื้อตาและมือ
    • เอื้อมมือคว้าของ
    • ประคองขวดนม
  • การรับรู้ภาษา
    • หันหาเสียง
  • การสื่อภาษา
    • เลียนเสียงพยัญชนะหรือสระเช่น “อา” “บอ”
  • สติปัญญา
    • จ้องมองมือของพ่อแม่ที่ถือของเล่นไว้แล้วปล่อยให้ตกไปชั่วครู่
  • อารมณ์และสังคม
    • ดีใจเวลาเห็นผู้เลี้ยงดูที่คุ้นเคย

พัฒนาการทารก 6-9 เดือน

  • กล้ามเนื้อมัดใหญ่ - นั่งบนพื้นเองได้นานขึ้น
  • กล้ามเนื้อตาและมือ - หยิบของด้วยมือทั้งมือ และประคองขวดนม
  • การรับรู้ภาษา - รู้จักชื่อตัวเอง
  • การสื่อภาษา - เล่นเสียงพยัญชนะหรือสระติดต่อกันเช่น “ปาปา มามา”
  • สติปัญญา - มองตามของที่ตก
  • อารมณ์และสังคม - แยกแยะคนแปลกหน้าและคนใกล้ชิดได้ และร้องตามแม่


พัฒนาการทารก 9-12 เดือน

  • กล้ามเนื้อมัดใหญ่ - เกาะยืน
  • กล้ามเนื้อตาและมือ - หยิบของโดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้
  • การรับรู้ภาษา - ทำตามคำสั่งง่ายๆได้เช่น “บ๊ายบาย” “ขอ” เข้าใจคำสั่งเช่น “หยุด” “อย่า”
  • ารสื่อภาษา - สื่อสารภาษากาย เช่น ชี้ แบมือขอของ อวดของเล่น ฯลฯ
  • สติปัญญา - เปิดหาของที่ซ่อนไว้
  • อารมณ์และสังคม - เลียนแบบท่าทาง เช่น โบกมือ สาธุ ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม พัฒนาการตามวัยที่ระบุในที่นี้เป็นพัฒนาการขั้นต่ำที่เด็กในแต่ละวัยสามารถทำได้ครับ หากลูกยังไม่สามารถทำได้และคุณแม่มีข้อสงสัยควรปรึกษากุมารแพทย์ แต่ขณะเดียวกันเด็กบางคนอาจพัฒนาได้เร็วกว่าเกณฑ์นี้ได้เช่นกันค่ะ 


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

รศ.นพ. พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์
กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรม 
คณะแพทยศา
สตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

เรื่องของเด็กซีพี...ที่ไม่ใช่ร้านสะดวกซื้อ

เด็กซีพี-โรค CP-โรคซีพี-เด็กพิเศษ

โรคซีพี (CP) เป็นตัวย่อภาษาอังกฤษมาจากคำว่า cerebral palsy อันเป็นโรคหรือภาวะทางสมองในลักษณะหนึ่งโดยซีพีมักจะถูกแปลเป็นชื่อภาษาไทยว่า โรคสมองพิการ ทำให้คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่าคนที่เป็นโรคนี้จะมีภาวะปัญญาอ่อน หรือพิการรุนแรงจนไม่สามารถทำอะไรได้

อย่างไรก็ดี โรคซีพีก็เหมือนกับหลายๆ โรคที่มีความรุนแรงแตกต่างกันในแต่ละบุคคล เด็กที่เป็นโรคซีพีบางคนอาจจะมีอาการรุนแรงและไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แต่ก็มีเด็กซีพีหลายคนที่สามารถเรียนหนังสือได้ดี หรือสามารถทำงานได้ พูดคุยได้ปกติ เพียงแต่ต้องมีอุปกรณ์ช่วยเหลือในการเคลื่อนไหวเท่านั้น ดังนั้นในวันนี้เราจะมาทำความรู้โรคซีพีกัน เพื่อที่จะได้เข้าใจโรคนี้กันอย่างถูกต้องนะครับ
 
โรคซีพี เกิดจากอันตรายใดๆ ก็ได้ที่เกิดขึ้นกับสมองในช่วงแรกของชีวิต คือเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงที่ยังอยู่ในท้องแม่ เช่น การติดเชื้อโรคในแม่ แล้วเชื้อโรคเข้าไปทำลายสมองที่กำลังสร้างของลูก หรือการที่เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ทำให้เซลล์สมองบางส่วนตายไป หรือเกิดขึ้นในช่วงระหว่างการคลอด โดยเฉพาะภาวะขาดออกซิเจนระหว่างการคลอด หรือเกิดขึ้นในช่วงเวลาไม่นานหลังจากเกิด โดยเฉพาะเด็กที่คลอดก่อนกำหนด จนส่งผลให้วงจรประสาทที่มีการพัฒนาในช่วงเวลานั้นของเด็กถูกทำลาย

ในช่วงแรกๆ ของชีวิต วงจรประสาทที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว (motor system) จะมีการพัฒนามาก ทำให้ปัญหาหลักของเด็กซีพีจะเกิดกับการควบคุมกล้ามเนื้อในการเคลื่อนไหว ซึ่งโดยมากจะทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง (spasticity) อันจะส่งผลต่อการเคลื่อนไหวที่กระทำได้ยากขึ้น
 
เด็กซีพีจึงมักมีปัญหาในการชันคอ การทรงตัว การคว้าของ หรือการเปลี่ยนจากท่านอนมาเป็นท่านั่ง แต่ในเด็กซีพีบางรายอาจจะเป็นแบบกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก หรือมีการเคลื่อนไหวผิดปกติที่ควบคุมไม่ได้ ก็ได้เช่นกัน นอกจากนี้ เนื่องจากปัญหาของซีพีเกิดจากรอยโรคในตัวเนื้อสมอง เด็กซีพีจึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะทางสมองอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น โรคลมชัก ซึ่งพบได้บ่อยในเด็กกลุ่มนี้ หรือมีภาวะบกพร่องในการเรียนรู้ เป็นต้น
 
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าอาการของโรคซีพีจะเกี่ยวข้องกับปัญหาด้านการเคลื่อนไหวเป็นหลัก โดยเฉพาะในส่วนของแขนขา เช่น การชันคอ การคว่ำหงาย การนั่ง หรือการหยิบจับสิ่งของ เป็นต้น แต่นอกจากกล้ามเนื้อแขนขาที่มีอาการเกร็งแล้ว ผู้ป่วยซีพีมักจะมีปัญหาของกล้ามเนื้อเล็กๆ ที่ช่วยในการกลืนด้วย จึงมักมีปัญหาสำลักได้บ่อย โดยเฉพาะกับอาหารเหลว รวมถึงจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะปอดอักเสบจากการสำลักอาหารด้วย
 
ดังนั้น หากเด็กซีพีคนใดที่มีปัญหาสำลักบ่อยๆ หรือมีปัญหาในการจัดการเสมหะ จะต้องได้รับการประเมินเรื่องความสามารถในการกลืนด้วยโดยในรายที่มีปัญหาในการกลืน แพทย์จะแนะนำให้กินอาหารทางสายยางแทน เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อภาวะสำลักอาหารเข้าปอดครับ
 
โรคซีพีไม่ใช่ภาวะปัญญาอ่อนหรือมีความบกพร่องในการเรียนรู้ ตัวโรคซีพีเกิดจากปัญหาที่เกิดขึ้นในวงจรประสาทของการเคลื่อนไหว ซึ่งไม่เกี่ยวกับการเรียนรู้หรือสติปัญญา เพียงแต่ในรายที่สมองได้รับอันตรายรุนแรง อาจจะทำให้เนื้อสมองเสียหายในวงกว้าง ซึ่งอาจจะไปโดนสมองส่วนการเรียนรู้และสติปัญญาได้ ดังนั้น หากรอยโรคในสมองเกิดเฉพาะวงจรประสาทของการเคลื่อนไหว เด็กซีพีคนนั้นก็จะมีการเรียนรู้และสติปัญญาเป็นปกติ แต่หากสมองได้รับความเสียหายมาก ก็จะทำให้เกิดภาวะบกพร่องด้านการเรียนรู้ร่วมด้วยได้ แต่ทั้งสองภาวะนี้ไม่ใช่ภาวะเดียวกัน
 
การดูแลเด็กซีพี จะเน้นที่การช่วยเหลือด้านการเคลื่อนไหว เพราะเนื่องจากวิทยาการในปัจจุบันยังไม่สามารถไปซ่อมแซมเนื้อสมองและวงจรประสาทส่วนที่ได้รับความเสียหายให้กลับมาเป็นปกติได้ การรักษาจึงเป็นการกระตุ้นให้เซลล์ประสาทที่ยังทำงานได้ มาช่วยทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวแทนส่วนที่เสียหายไป
 
ดังนั้นการทำกายภาพบำบัดและการทำกิจกรรมบำบัดจึงมีความสำคัญในการดูแลเด็กกลุ่มนี้เป็นอย่างมาก เพราะทุกๆ ครั้งของการเคลื่อนไหวแขนขาจะมีการส่งสัญญาณป้อนกลับไปกระตุ้นให้เซลล์ในสมองมีการเจริญเติบโตเสมอเด็กซีพีจึงควรได้รับการฝึกทั้งด้านกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัดอย่างต่อเนื่อง
 
สำหรับการรักษาด้วยยาจะมีส่วนช่วยในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อเป็นอย่างมากจนไม่สามารถฝึกได้ หรือเด็กที่มีการเคลื่อนไหวผิดปกติที่ไม่สามารถควบคุมได้ อย่างไรก็ดี ยาที่ช่วยลดอาการกล้ามเนื้อเกร็งมักจะมีผลข้างเคียงเรื่องง่วง และทำให้เสมหะมากขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลเสียหากผู้ป่วยมีปัญหาในการกลืนและการจัดการเสมหะ การให้ยาจึงควรต้องระวังในประเด็นนี้ส่วนในรายที่พอจะเคลื่อนไหวได้บ้าง การช่วยเหลือโดยการใช้กายอุปกรณ์ต่างๆ จะมีส่วนสำคัญในการทำให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวได้ด้วยตนเอง เพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้น
 
การป้องกันภาวะซีพี คือการดูแลระหว่างการตั้งครรภ์อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การไปฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอ การนับจำนวนครั้งการดิ้นของลูก การหลีกเลี่ยงการไปในแหล่งชุมชนเพื่อลดความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อโรค รวมถึงการป้องกันภาวะการคลอดก่อนกำหนด และควรจะรีบไปโรงพยาบาลหากมีอาการเจ็บท้องคลอดหรือมีน้ำเดิน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด

สำหรับในรายที่มีอาการของซีพีแล้ว การรักษาเร็วตั้งแต่ช่วงวัยทารกหรือเด็กเล็กจะช่วยให้การฟื้นฟูสมองเกิดขึ้นได้ดีกว่าการรักษาที่เริ่มเมื่อตอนโต นอกจากนี้ ในปัจจุบันยังมีวิทยาการใหม่ๆ ในการช่วยเหลือด้านการเคลื่อนไหวให้ผู้ป่วยเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ที่ช่วยในการเคลื่อนไหว หรือเทคนิคการผ่าตัดต่างๆ เพื่อช่วยในการกระตุ้นสมองโดยตรง ซึ่งวิทยาการเหล่านี้โดยส่วนใหญ่แม้จะยังอยู่ในระดับการวิจัย แต่มีแนวโน้มที่ดีในการนำมาประยุกต์ใช้ในผู้ป่วยซีพีในอนาคตอันใกล้นี้ครับ


ผศ.นพ.วรสิทธิ์ ศิริพรพาณิชย์
กุมารแพทย์ด้านโรคสมอง 


 

เล่นสนุก..สอนลูกรู้ ‘‘ทิศทาง’’

876 1

เล่นสนุก..สอนลูกรู้ ‘‘ทิศทาง’’

บน ล่าง ซ้าย ขวา ลูกไม่งง แค่เล่นเรียนรู้ "มิติสัมพันธ์"

ใครเคยหลงทางบ้าง ยกมือขึ้น เสียง.พรึบ.พร้อมมือเห็นอยู่ประปราย อย่างนี้ปกติค่ะ แต่ถ้าหลงทางอยู่บ่อยๆ หรือขึ้นลิฟต์ในตึกสูงๆ แล้งหลงทิศจนจำไม่ได้ว่าทางออกอยู่ตรงไหนอยู่เป็นประจำ อย่างนี้ชักไม่ได้การแล้วค่ะ

เรื่องนี้ เราสามารถสอนและส่งเสริมให้เจ้าตัวน้อยให้รู้จัก “ทิศทาง” ได้อย่างดี ด้วยวิธีง่ายๆ จากการเล่นค่ะ

การจดจำทิศทางหรืออ่านแผนที่ได้นั้น ไม่ใช่แค่รู้เรื่องทิศเหนือ ใต้ ออก ตกเท่านั้นนะคะ แต่ยังเกี่ยวข้องกับเรื่องซ้าย ขวา หน้า หลัง บน ล่าง ใกล้ ไกล และอีกหลายๆ อย่างเลยล่ะค่ะ ยิ่งถ้าต้องอ่านแผนที่ สมองก็ต้องแปรให้เป็นภาพ 3 มิติเสียก่อนเพื่อให้นึกเห็นเป็นภาพจริงในความคิด ซึ่งเราเรียกทักษะนี้ว่า มิติสัมพันธ์

มิติสัมพันธ์เป็นความฉลาดด้านหนึ่งในทฤษฎีพหุปัญญาของโฮวาร์ด การ์ดเนอร์ คือ การมีความสามารถสูงในการมองพื้นที่ ขนาด ระยะทาง ทิศทาง สามารถรับรู้สิ่งที่มองเห็นภายนอกแล้วแปลงมาเป็นการรับรู้ภายในได้ เป็นพื้นฐานสำคัญของการคิดอย่างมีเหตุผล ความสามารถในเชิงคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ที่มีอยู่ในทุกคน แต่จะแตกต่างกันไปตามการฝึกฝน ประสบการณ์การรับรู้และระดับความสามารถของสติปัญญาแต่ละคน


ทิศทางของหนู

เจ้าตัวเล็กวัยตั้งแต่ 1 ขวบครึ่งไปจนถึงช่วงวัยก่อนอนุบาล จะเริ่มเข้าใจเรื่องของพื้นที่และขนาด รวมทั้งความแตกต่างระหว่างของที่เป็น 3 เหลี่ยมและ 4 เหลี่ยมได้แล้ว แต่ความสามารถในเรื่องมิติสัมพันธ์ยังจำกัดอยู่ เนื่องจากคิดเชื่อมโยงหาเหตุผลเฉพาะสิ่งที่มองเห็นและสัมผัสได้เท่านั้น เช่น เข้าใจว่าสิ่งของที่อยู่ใกล้ตัวมีขนาดใหญ่กว่าชิ้นที่อยู่ไกลออกไป ทำให้อาจเชื่อมโยงว่าเป็นของคนละชิ้นกันก็ได้ หรือ น้ำที่มีปริมาตรเท่ากันแค่อยู่ในภาชนะต่างกัน เด็กก็จะคิดว่าน้ำในแก้วที่มีระดับสูงกว่าย่อมมีปริมาตรมากกว่า เป็นต้นค่ะ

876 2

สนุกเล่น...ส่งเสริมมิติสัมพันธ์

เรื่องนี้อย่าว่าแต่เด็กๆ เลยนะคะ ผู้ใหญ่อย่างเราๆ ก็หลงทิศ และจำทางกันไม่ได้อยู่บ่อยๆ แต่ก็เป็นทักษะที่จำเป็นและควรส่งเสริม เพราะนอกจากจะมีประโยชน์ในชีวิตประจำวันแล้ว ยังจำเป็นกับทุกอาชีพด้วยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นแม่ค้าที่ต้องจัดเรียงของในพื้นที่จำกัด สถาปนิก มัณฑนากร ศิลปิน นักประดิษฐ์ ที่ต้องถ่ายทอดความคิดลงบนกระดาษ และอ่านแผนที่ความคิดบนกระดาษให้เป็นภาพจริงในหัว คนขับรถ นักบิน นักเดินเรือ ที่ต้องใช้เรื่องทิศทางเป็นหลัก ยิ่งถ้าได้เริ่มฝึกกันไปพร้อมกับการเล่นตั้งแต่วันนี้ รับรองได้ว่า ทิศทางจะไม่ใช่เรื่องยากเกินพัฒนาการของน้องหนูหรอกค่ะ

1. เรียนรู้ได้จากของจริง เริ่มต้นจากการรับรู้และเข้าใจธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว ไม่ว่าจะเป็นลักษณะ รูปทรงของสิ่งของ ระยะทาง จำนวน ทิศทาง ฯลฯ ด้วยการเปิดโอกาสให้ลูกได้สัมผัสของจริงและพูดคุยไปพร้อมกัน

2.ใหญ่-เล็ก ใกล้-ไกล บน-ล่าง สูง-ต่ำ ยาว-สั้น เมื่อรู้จักและเข้าใจสิ่งแวดล้อมรอบตัวอย่างรอบด้านแล้ว ขั้นต่อไปคือการฝึกจำแนกแยกแยะความแตกต่างของสิ่งที่รับรู้ได้ด้วย ลองตั้งคำถามให้ลูกได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ ลองเปรียบเทียบดูนะคะ จะผิดบ้างถูกบ้างก็ไม่เป็นไร เวลาเฉลยก็จับมาเทียบให้เห็นชัดๆ กันไปเลยค่ะ

3. แผนที่ฝีมือหนู แม้เด็กวัยนี้จะยังวาดรูปหรือเขียนหนังสือไม่ได้ แต่คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถฝึกให้ลูกคิดเชื่อมโยง และหาความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้ด้วยการให้ลูกถ่ายทอดภาพที่เห็น รอบตัวเป็นภาพความคิดหรือแผนที่ โดยคุณอาจจะช่วยวาด หรือใช้สติ๊กเกอร์ ผ้าสักหลาดทำเป็นสัญลักษณ์ก็ได้ ทั้งหมดนี้เราเรียกว่าความคิดรวบยอดค่ะ

4. ฝึกดูป้ายสัญลักษณ์ทิศทาง เช่น ตรงไป เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา วนกลับ เป็นต้น แล้วนำมาเล่นเป็นเกม Walk Rally หาสมบัติ หรือของที่ซ่อนไว้ในบ้าน โดยให้สังเกตจากป้ายสัญลักษณ์ที่ติดเอาไว้ ถ้าโตขึ้นมาหน่อยค่อยฝึกอ่านแผนที่หาลายแทงสมบัติกันค่ะ

5. บล็อกไม้ ชวนรู้ เจ้าบล็อกรูปทรงและขนาดต่างๆ นี่แหละจะช่วยให้หนูรู้เรื่องทิศทางและมิติสัมพันธ์เป็นอย่างดี โดยเด็กวัย 2-3 ปี จะเรียนรู้เรื่องบล็อก ผ่านการจับ สัมผัส เคลื่อนย้าย เช่น รถบรรทุกจูงลาก หรือเรียงบล็อกลงตะกร้า
ส่วนช่วงวัย 3-4 ปี จะเป็นเรียนรู้โดยการซ้อนและเรียงแถวทั้งแนวตั้งและแนวนอน ลองหาบัตรภาพหรือป้ายจราจรแปะติดบนบล็อกไม้ให้ลูกคุ้นตาและฝึกเรียงดูนะคะ

6. นวดปั้นเปลี่ยนรูปทรง แป้งโดว์ ดินเหนียว จะช่วยให้ลูกเรียนรู้การเปลี่ยนรูปทรง และสังเกตเห็นความแตกต่างและเปรียบเทียบ เช่น แบ่งแป้งโดว์เป็น 2 ก้อนเท่าๆ กัน ถ้าปั้นงูตัวใหญ่ก็จะได้งูตัวสั้น แต่ถ้าอยากได้งูตัวยาวๆ ก็ต้องคลึงให้เป็นเส้นเล็กๆ

7. จิ๊กซอว์ต่อภาพ วัยขนาดนี้ควรเริ่มที่จิ๊กซอว์ 4 ชิ้นก็พอค่ะ จากนั้นจึงค่อยๆ เพิ่มตามวัยและความสามารถของลูก ช่องเว้าแหว่งกับสีสัน บวกกับภาพตัวอย่างที่วางอยู่ตรงหน้า จะช่วยให้ลูกมองหาความสัมพันธ์ระหว่างช่องว่างและสีของแต่ละชิ้น แต่ถ้าลูกยังทำไม่ได้ก็ไม่ต้องเร่งรัดนะคะ ถือว่าฝึกเตรียมความพร้อมไปก่อน

เล่นสนุกด้วยวิธีง่ายๆ แบบนี้ ช่วยฝึกเรื่องทิศทางและมิติสัมพันธ์ให้ลูกได้ แต่คุณต้องสนุกไปพร้อมกับลูกด้วยนะคะ

 

เลี้ยงลูกอย่างไร ไม่ให้เอาแต่ใจและรักสบาย

3188

ก่อนอื่น เอาแต่ใจตัวเองแปลว่าอะไรได้บ้าง เช่น เห็นตนเองเป็นศูนย์กลางไม่ยอมเลิกเสียที เวลาถูกขัดใจไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ อธิบายเหตุผลมากเพียงไรก็ไม่รับฟัง

เราจะเรียกว่านิสัยไม่ดีก็ได้ แต่อาจจะดีกว่าหากเรามองทะลุไปที่ต้นเหตุของอาการเหล่านี้ แล้วคิดเสียว่าเขาไม่มีความสามารถที่จะทำให้ดีได้ ความสามารถเหล่านี้ไม่เคยถูกฝึก

เห็นตนเองเป็นศูนย์กลาง เรียกว่า self-centered เป็นลักษณะของเด็กเล็กตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุประมาณ 7 ขวบอยู่แล้ว  หากเรามีทัศนคติที่ดีเราควรรู้ว่าเรื่องนี้เป็นธรรมดาและเป็นปกติ ทัศนคติที่ดีเป็นเรื่องสำคัญเพราะช่วยให้เราอารมณ์ดี

อย่างไรก็ตาม เราสามารถบอกกล่าวและเปิดพื้นที่ให้ฝึกได้ เช่น ให้โอกาสเด็กเล็กได้เล่นในสนามอย่างเป็นอิสระ โดยมีพื้นที่รอบตัวเขาพอสมควรเท่าที่เขาจะรับได้ เราสามารถบอกความคาดหวังได้ว่าถ้าหนูอยากเล่นกับคนอื่นก็ได้นะ แต่ไม่กดดันบังคับด้วยข้อเท็จจริงที่ว่าเด็กแต่ละคนจะลดความเป็นศูนย์กลางของตนเองลงด้วยความเร็วช้าต่างๆ กันไป

ในทางตรงข้ามถ้าเราจับเด็กเล็กตั้งแต่ 3-7 ขวบไปนั่งในห้องเรียนที่มีระเบียบเคร่งครัด มองกระดานดำ ห้ามเล่นห้ามยุกยิก ฟังครูเท่านั้น และเขียนหนังสือ เท่ากับตัดโอกาสให้เด็กได้พัฒนาตนเองผ่านการเห็นตนเองเป็นศูนย์กลางให้อิ่มใจแล้วค่อยๆ ลดลงตามเวลาที่ผ่านไป 

เราจึงได้เด็กอายุ 7-8 ขวบที่ยังเห็นตนเองเป็นศูนย์กลางไม่ยอมเลิกมากมายเต็มไปหมด ทั้งนี้ยังไม่นับว่าพวกเขาไม่สามารถไปถึงระดับไม่หวง รู้จักแบ่งปัน หรือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

พฤติกรรมเอาแต่ใจตัวจึงมิใช่นิสัยไม่ดีแต่เพราะยังเอาแต่ใจตัวไม่อิ่มเสียให้เรียบร้อยตั้งแต่ยังเล็กก่อนที่จะออกมาเผชิญสังคมที่กว้างกว่าตัวเองการเล่นกับเพื่อนเป็นวิธีลดพฤติกรรมเอาแต่ใจตัวเองได้มาก เพราะเขาอยากเล่นเป็นทุนเดิม

และเมื่ออายุเกิน 7 ขวบไปแล้วเขาไม่อยากเล่นคนเดียวโดยธรรมชาติ เขาอยากมีเพื่อนและเล่นกับเพื่อน คือจิตวิทยาพัฒนาการของเด็กวัยประถม เรียกว่า industry แปลตามตัวว่าสร้างผลผลิต ผลผลิตที่เขาอยากสร้างคือการเล่นด้วยกัน

การเล่นด้วยกันเป็นทักษะ ขึ้นชื่อว่าทักษะหรือ skills ต้องการการฝึกฝนเสมอ ดังนั้นหากต้องการลดความเอาแต่ใจก็ควรโยนเด็กเอาแต่ใจเข้าไปในกลุ่มเพื่อน เขาจะได้ฝึก

หากไม่ยอมฝึก เขาก็จะถูกเพื่อนๆ บีบให้ฝึก เพราะกลไกของทุกคนคือต้องการผลผลิตจากการเล่นด้วยกันอยู่แล้ว ดังนั้นทุกคนจะได้ฝึกพร้อมกันด้วยปฏิสัมพันธ์ มีการทะเลาะเบาะแว้ง แก่งแย่งชิงดี แต่ก็จะยินดีรอมชอม ประนีประนอม เพื่อที่จะได้เล่นด้วยกันตามที่จิตใจทุกคนต้องการจนได้ การเล่นเป็นคำตอบ จึงต้องลดเวลาเรียนลงบ้างเพื่อมีเวลาเล่น
 

นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

จิตแพทย์และนักเขียน ขวัญใจพ่อแม่ชาวโซเชียล

 

แบบประเมินพัฒนาการลูกทารกแรกเกิด – พัฒนาการเด็กอายุ 5 ปี

แบบประเมินพัฒนาการทารกแรกเกิด, แบบประเมินพัฒนาการเด็ก 1 ขวบ, แบบประเมินพัฒนาการเด็ก 2 ขวบ, แบบประเมินพัฒนาการเด็ก 3 ขวบ, แบบประเมินพัฒนาการเด็ก 4 ขวบ, แบบประเมินพัฒนาการเด็ก 5 ขวบ, เช็กพัฒนาการเด็ก, พัฒนาการเด็กทารก

พ่อแม่สามารถเช็กพัฒนาการลูกตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงลูกอายุ 5 ปี ได้ง่าย ๆ จากตารางพัฒนาการตามนี้ได้เลยค่ะ 

แบบประเมินพัฒนาการลูกทารกแรกเกิด – พัฒนาการเด็กอายุ 5 ปี

อายุ

พัฒนาการตามวัย

ทำได้

ทำไม่ได้

ต่ำกว่า 1 เดือน

- มองหน้าสบตา
- ตอบสนองต่อเสียงพูด, ทำเสียงในลำคอ

   

1 - 2 เดือน

- สนใจฟังและมองหาเสียงทำเสียงอูอาโต้ตอบ
- มองตามสิ่งที่เคลื่อนไหว
- ชันคอในท่าคว่ำ

   

3 – 4 เดือน

- หันหาเสียง
- หัวเราะได้
- ส่งเสียงอ้อแอ้โต้ตอบ
- มองตามจากด้านหนึ่งจนสุดอีกด้านหนึ่ง
- ในท่าคว่ำใช้แขนยันชูคอตั้ง 90 องศา

   

5 – 6 เดือน

- แสดงอารมณ์ และท่าทาง เช่น ดีใจ ขัดใจ
- หันตามเสียงเรียกชื่อ
- ส่งเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ
- คว้าของมือเดียวและเปลี่ยนมือถือของได้

   

7 – 8 เดือน

- ทำเสียงพยางค์เดียว เช่น จ๊ะ หม่ำ
- มองตามของตก
- นั่งทรงตัวได้เอง โดยไม่ต้องใช้มือยัน

   

9 – 10 เดือน

- เล่นจ๊ะเอ๋
- ใช้ท่าทางหรือการชี้บอกความต้องการ
- ใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือหยิบของ
- เกาะยืนและเหนี่ยวตัวลุกขึ้นยืนจากท่านั่ง

   

11 – 12 เดือน

- เลียนแบบท่าทาง
- เข้าใจเสียงห้าม และหยุดทำ
- ยืนเองได้ชั่วครู่หรือตั้งไข่

   

13 -15 เดือน

- ทำตามคำบอกง่าย ๆ
- พูดคำที่มีความหมายได้ 1 – 3 คำ
- เดินได้เอง

   

16 -18 เดือน
(1 ปี – 1 1/2 ปี)

- รู้จักปฏิเสธ
- ทำตามคำสั่งง่าย ๆ โดยการชี้อวัยวะ 1 – 2 ส่วน
- วางของซ้อนกัน 2 – 3 ชิ้น

   

19 – 24 เดือน
( 1 1/2 ปี - 2 ปี)

- พูดคำ 2 คำต่อกันอย่างมีความหมาย
- เปิดหน้าหนังสือได้ทีละหน้า

   

25 – 30 เดือน
(2 ปี – 2 1/2 ปี)

- พูดคุยโต้ตอบเป็นประโยคสั้น ๆ
- ชี้หรือทำตามคำบอกเช่น ชี้อวัยวะอย่างน้อย 6 ส่วน
- ขีดเขียนเป็นเส้นวน ๆ

   

31 – 36 เดือน
(2 1/2 ปี – 3 ปี)

- รู้จักรอคอย
- บอกชื่อตนเองได้
- เข้าใจเพศ ชาย - หญิง

   

37 – 48 เดือน
(3 ปี – 4 ปี)

- บอกได้อย่างน้อย 1 สี
- เขียนวงกลมตามแบบได้
- พูดเล่าเรื่องให้คนอื่นเข้าใจเกือบทั้งหมด

   

49 – 60 เดือน
(4 ปี – 5 ปี)

- เข้าใจและอธิบายเหตุผลง่าย ๆ
- นับและรู้จำนวน 1 – 5
- บอกสีได้ 4 สี
- วาดรูปคนอย่างง่ายๆ

   

61 – 72 เดือน
(5 ปี -6 ปี)

- รู้จักซ้าย ขวา ข้างบน ข้างใต้ ข้างหน้า ข้างหลัง
- รู้จำนวน 1 – 10 ชิ้น
- วาดรูปสามเหลี่ยม

   

ที่มา ศูนย์เทคโนโลยีและการสื่อสาร โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่

แบบประเมินพัฒนาการเด็กวัย 1 ขวบ ลูกอายุ 1 ขวบมีพัฒนาการอย่างไร

พัฒนาการ 1 ขวบ, เสริม พัฒนาการ 1 ขวบเสริม, พัฒนาการ 1 ขวบ ครึ่ง, ของเล่น เสริม พัฒนาการ 1 ขวบ, เช็กพัฒนาการลูก  1 ขวบ, แบบประเมินพัฒนาการลูก 1 ขวบ, ลูก 1 ขวบ มีพัฒนาการยังไง, ประเมินพัฒนาการเด็ก, เด็ก 1 ขวบ ทำอะไรได้บ้าง

พัฒนาการลูก 1 ขวบ เติบโตแค่ไหน และพ่อแม่ช่วยกระตั้น ส่งเสริมพัฒนาการลูกวัย 1 ขวบได้อย่างไรบ้าง เช็กกันเลยค่ะ 

แบบประเมินพัฒนาการเด็กวัย 1 ขวบ ลูกอายุ 1 ขวบมีพัฒนาการอย่างไร

  1. เด็กทารกวัย 1 ขวบ ยืนได้อย่างน้อย 2 วินาที : ทำได้ หรือ ทำไม่ได้
    แนวทางกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการ
    • จับลูกยืนและจับมือ 2 ข้างของให้เหยียดขึ้นสูงระดับไหล่ เมื่อทรงตัวได้ค่อยปล่อยมือ

  2. เด็กทารกวัย 1 ขวบ หยิบของชิ้นเล็กเท่าเมล็ดถั่ว โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ : ทำได้ หรือ ทำไม่ได้
    แนวทางกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการ
    • วางวัตถุชิ้นเล็ก เช่น ลูกเกด บนโต๊ะหน้าลูกให้เห็นวัตถุนั้นชัดเจนแล้งหยิบให้ดูและให้ลูกทำตาม
    • ช่วยโดยจับรวบนิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อยเข้าหาฝ่ามือเพื่อให้ใช้หัวแม่มือและนิ้วชี้หยิบวัตถุ
    • เล่นเกม หรือร้องเพลงที่ลูกต้องใช้หัวแม่มือ และนิ้วชี้แตะกันเป็นจังหวะ

  3. เด็กทารกวัย 1 ขวบ หันมองคนในบ้านเมื่อถาม : ทำได้ หรือ ทำไม่ได้
    แนวทางกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการ
    • ขณะมีเหตุการณ์หรือกิจกรรมกับคนในบ้าน ให้เอ่ยชื่อบุคคลนั้นเช่น “พ่อมาแล้ว” ,”พี่อาบน้ำ”
    • ขณะเล่นกับลูกให้ระบุชื่อผู้ที่เล่นด้วย เช่น “จ๊ะเอ๋ พี่…” “โยนบอลให้พ่อ”
    • ขณะลูกอยู่กับสมาชิกในครอบครัว 2 คน หรือมากกว่า 2 คนให้เล่นเกม “อยู่ไหน” เช่น “ยายอยู่ไหน” ถ้าลูกไม่หันมอง หรือไม่ชี้ ให้ยายพูดแนะว่า “ยายอยู่นี่” หรือชี้ไปที่ยาย และพูดว่า “ยายอยู่นั่น” และให้โอกาสลูกลองทำเอง

  4. เด็กทารกวัย 1 ขวบ หันมองคนในบ้านเมื่อถาม : ทำได้ หรือ ทำไม่ได้
    แนวทางกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการ
    • สอนให้เลียนแบบคำพูดง่าย ๆ ในขณะเล่น เช่น ขณะเล่นตุ๊กตาพูดว่า “ป้อนข้าวน้อง” “ป้อนน้ำน้อง” ให้ลูกเลียนเสียง “น้อง”
    • สอนเรียกคนในบ้าน เช่น พ่อ แม่ ตา ยายา ป้า อา
    • สอนเรียกชื่อสัตว์ เช่น หมา ปลา ปู
    • สอนพูดคำกริยา เช่น มา ไป เอา

  5. เด็กทารกวัย 1 ขวบ บอกความต้องการโดยใช้ท่าทางหรือเสียง : ทำได้ หรือ ทำไม่ได้
    แนวทางกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการ
    • สอนให้รู้จักปฏิเสธด้วยการใช้มือผลักของออก หรือสั่นศีรษะพร้อมพูด “ไม่”
    • ให้ลูกเลือกอาหารหรือของเล่นจาก 2 อย่าง โดยถามว่า “เอาอย่างไหน” สอนให้ชี้อันที่ต้องการ พร้อมออกเสียง “เอา” ถ้าลูกไม่ต้องการสอนให้สั่นศีรษะพร้อมออกเสียง “ไม่”
    • เมื่อลูกอิ่มถามว่า “เอานมไหม” สอนให้สั่นศีรษะและพูดว่า “ไม่”


สรุปผลการประเมินพัฒนาการเบี้องต้น
(1 ข้อเท่ากับ 1 คะแนน) ** กรณีทำได้มากกว่า 3 ข้อ ถือว่าปกติ **

 

ใช้เวลาก่อนนอนกับลูก สำคัญอย่างไร

3030

ปู่ย่าชอบมาขอเอาลูกไปนอนด้วยทุกคืน ลำบากใจมากเลย?

ประเด็นที่หนึ่ง เวลาในรอบหนึ่งวันของเรามีไม่มาก พ่อแม่สมัยใหม่ไปทำงาน กลับบ้านก็ค่ำแล้ว เวลาที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับลูกเล็ก ใช้ชีวิตร่วมกัน เล่นด้วยกัน มีน้อยมาก เราไม่ควรเสียเวลานี้ไปให้กับคนอื่น ด้วยข้อเท็จจริงที่ว่าภารกิจของเราสอง (แม่-ลูก พ่อ-ลูก) คือสร้างพ่อแม่ที่มีอยู่จริงและสายสัมพันธ์

ประเด็นที่สอง การอ่านนิทานก่อนนอนเป็นโมเมนต์ (ช่วงเวลา) สำคัญ เราอยากให้ใช้ 30 นาทีสุดท้ายของวันในการใช้ชีวิตร่วมกันด้วยความผ่อนคลาย พ่อแม่อาบน้ำสะอาด วางงาน วางมือถือมาอ่านนิทานให้ลูกฟังทุกๆคืน นี่เป็นกระบวนการสร้างพ่อแม่ที่มีอยู่จริงและสายสัมพันธ์อันทรงพลัง ไม่อยากให้สูญเสียเวลานี้ไปที่คนอื่น

ประเด็นที่สาม เรื่องวินัยการนอน รวมไปถึงกิจกรรมอื่นๆก่อนนอน บ้านที่พ่อแม่เป็นผู้กำหนดวินัยได้เองโดยไม่มีใครมาทำให้เฉไฉออกไปจะพบว่าการเลี้ยงดู อบรม สั่งสอนเด็กๆ เป็นเรื่องง่ายมาก หากพ่อแม่พูดตรงกันก็จะยิ่งง่ายมากขึ้นไปอีก การปล่อยให้ลูกไปนอนกับคนอื่นเป็นความเสี่ยงต่อการที่เด็กจะได้วินัยที่แตกต่าง  ข้อกำหนดที่แตกต่างทำให้เด็กพัฒนายาก และหากเด็กได้รับการตามใจเกินพอดี เราพบว่าพ่อแม่จะยิ่งอบรมยากมากขึ้นไปอีก

ประเด็นที่สี่ เราพบบ่อยครั้งว่าปู่ย่าตายายมักจะใจดีกว่าพ่อแม่ แน่นอนว่าด้วยความรัก บางท่านอาจจะไม่เคร่งครัดกับการดูทีวีก่อนนอน ไม่เคร่งครัดกับการกินขนมหรือแปรงฟันก่อนนอน ไม่เคร่งครัดกับการล้างเท้าก่อนนอน (ผีพนันจะเข้าสิง) ไปจนถึงไม่เคร่งครัดกับเวลานอน การตามใจในเรื่องเหล่านี้จะทำให้วินัยด้านอื่นแปรปรวนด้วยเด็กล่วงรู้ว่าอำนาจของพ่อแม่เป็นเรื่องขัดขืนได้ มิใช่ว่าจะขัดขืนมิได้ดังที่เคยรู้สึก

ประเด็นที่ห้า คือเหตุการณ์ในตอนกลางดึกที่เราทำนายได้ยากว่าจะเกิดอะไรขึ้น เพราะคลื่นสมองช่วงหลังอาทิตย์ตกดินของเด็กๆแต่ละคนยังคงมีความแปรปรวนต่างๆกันเป็นเรื่องปกติ เด็กอาจจะมีการละเมอพูด ลุกนั่งร้องไห้ ลุกยืนพึมพำ ไปจนถึงเตะถีบอย่างรุนแรง เหล่านี้แก้ไขได้ด้วยความสงบอย่างสม่ำเสมอของคนเป็นพ่อแม่ หากต่างคนต่างพยายามแก้ไขไปคนละทางสองทางมักทำให้คลื่นสมองแปรปรวนไปได้อีกพักใหญ่

ประเด็นที่หก คือเราพบว่าเด็กส่วนใหญ่จะติดใจไม่ยอมกลับมานอนกับพ่อแม่อีกเลย  รวมทั้งเป็นการส่งสัญญาณว่าเขาจะนอนที่ไหนก็ได้ในอนาคต เช่น ขอไปนอนกับเพื่อน เป็นต้น  ที่จริงแล้วเราไม่ควรให้ลูกไปนอนที่ใดทั้งนั้นจนกว่าจะมีข้อพิสูจน์ได้ว่าเขาสามารถดูแลตนเองได้อย่างดีที่สุดทั้งกลางวันและกลางคืน มีความสามารถควบคุมตนเองให้อยู่ในกฎ กติกา มารยาทที่ดีอย่างสม่ำเสมอ

ประเด็นที่เจ็ด แม้ว่าจะพบน้อยถึงน้อยมาก (ตามที่มีรายงาน) แต่เราไม่สามารถวางใจได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับลูกแม้ว่าจะอยู่ในวงศ์ญาติก็ตาม (ซึ่งเชื่อว่ามีมากกว่าที่รายงาน) รวมถึงเราไม่ควรแยกพี่หรือน้องออกไปนอนบ้านอื่นด้วย เรื่องยุ่งยากจะติดตามมา

นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
จิตแพทย์และนักเขียน ขวัญใจพ่อแม่ชาวโซเชียล

 

ได้เวลาแม่เตรียมลูกสมองไว ให้พร้อมรับมือ โลกแห่งการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

5914 1

ได้เวลาแม่เตรียมลูกสมองไว ให้พร้อมรับมือ โลกแห่งการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

พ่อแม่ทุกคนต่างอยากให้ลูกสมองไว พัฒนาการดี เติบโตมั่นคงแข็งแรง แต่ทราบมั้ยคะ สิ่งเหล่านี้เราสามารถสร้างให้ลูกได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เลยค่ะ

 

สมองลูกไวตั้งแต่แรกคลอด

ขวบปีแรกของลูกเป็นช่วงเวลาสำคัญมาก ช่วงนี้สมองของลูกจะเติบโตและพัฒนาสูงสุด โดยหลังคลอดเด็กทารกจะมีเซลล์สมองอยู่ประมาณ 1 แสนล้านเซลล์ และในทุก ๆ วินาทีเซลล์ประสาทเหล่านี้จะทำงานเชื่อมโยงติดต่อสื่อสารกันอย่างรวดเร็ว ซึ่งเซลล์สมอง 1 แสนล้านเซลล์นี้จะไม่เพิ่มขึ้นหลังคลอด แต่จะมีแขนงรับ-ส่งข้อมูลและจุดเชื่อมประสาทเพิ่มขึ้น ในช่วงอายุ 2 – 3 ขวบ ซึ่งจะมากกว่าสมองของผู้ใหญ่ประมาณ 2 เท่า1

และปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้สมองของเด็กทารกทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นคือกระบวนการสร้างไมอีลิน (Myelination) ยิ่งเซลล์ประสาทมีปลอกไมอีลินมากเท่าไหร่ การเชื่อมโยงข้อมูลในสมองยิ่งรวดมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งกระบวนการนี้เป็นกลไกที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการการพัฒนาทักษะและการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ ของลูก ยิ่งพ่อแม่เริ่มให้ลูกเร็วเท่าไหร่ยิ่งดีเท่านั้น เพราะพัฒนาการสมองที่ดีในวัยเด็ก ถือเป็นรากฐานสำคัญในวัยอื่น ๆ

 5914 2

นมแม่กับโภชนาการสร้างลูกสมองไว

การจะสร้างสมองลูกให้ไว พ่อแม่สามารถเริ่มได้ตั้งแต่ให้ลูกได้รับโภชนาการที่เหมาะสม และนมแม่คืออาหารที่ดีที่สุดของลูก องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำคุณแม่ควรให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวถึง 6 เดือน และควรกินต่อเนื่องไปจนลูกอายุ 2 ปี หรือนานกว่านั้น เพราะในนมแม่มีสารอาหารสำคัญมากกว่า 200 ชนิดที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารก โดยเฉพาะสฟิงโกไมอีลินที่พบในนมแม่ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในกระบวนการสร้างปลอกไมอิลีน ทำให้สมองของทารกสามารถสื่อสารเชื่อมโยงกันได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้ลูกเกิดการจดจำและเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ไว และยิ่งสมองสามารถเชื่อมโยงผ่านกันด้วยความเร็วสูงเท่าไหร่ ยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพในการกระบวนการเรียนรู้ของลูกสูงมากเท่านั้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อทักษะการเรียนรู้ (Cognitive Abilities) ของลูกตลอดชีวิต

 

 5914 3

สฟิงโกไมอิลีนเสริมการทำงานของสมองเด็กได้อย่างไร

สฟิงโกไมอีลิน (sphingomyelin) คือไขมันกลุ่มฟอสโฟไลปิด เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างปลอกไมอิลีน พบที่เยื่อหุ้มเซลล์ประสาทในสมองและพบมากในนมแม่ มีการวิจัยพบว่าปลอกไมอิลีนนั้นมีส่วนช่วยให้สมองสามารถเชื่อมโยงติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด สมองจึงสามารถประมวลผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ2 ทำให้ลูกเกิดการเรียนรู้และจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ไว

ดังนั้นการที่เด็กทารกดื่มนมแม่ที่อุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญอย่าง สฟิงโกไมอีลินและดีเอชเอ มีปริมาณไมอีลินที่สูงกว่าเด็กที่ไม่ได้กินนมแม่อย่างมีนัยสำคัญ4 โดยสฟิงโกไมอีลินพบมากใน นมแม่และผลิตภัณฑ์จากนม ไข่ ครีม ชีส เป็นต้น

นอกจากโภชนาการที่เหมาะสมตามวัย การให้ลูกดื่มนมแม่ตั้งแต่แรกคลอดและโภชนาการเมื่อลูกเริ่มทานอาหารมื้อหลัก แล้ว การชวนลูกเล่นและทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ฝึกความจำและทักษะการแก้ปัญหาต่างๆ ตามวัย จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านสมอง การเรียนรู้และการจดจำของลูกได้

เพราะอนาคตไม่แน่ไม่นอน โลกเปลี่ยนแปลงไวกว่าที่คิด การเตรียมพร้อมลูกตั้งแต่เนิ่น ๆ เลี้ยงดูด้วยความรักและเอาใจใส่จะช่วยสร้างรากฐานของลูกให้แข็งแรงมั้นคง สามารถปรับตัวพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสามารถรับมือกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้ แม้ว่าโลกจะเปลี่ยนไปแค่ไหน ลูกเราจะเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพแน่นอน

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยเรียนรู้อยากให้ลูกมีพัฒนาการเด็ก สมองไวและพร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสฟิงโกไมอีลิน และสารอาหารที่จำเป็นต่อการพัฒนาสมองของลูกน้อย เข้าชมได้ที่ S-Mom Club ที่เว็บไซต์ https://www.s-momclub.com/และสามารถสมัครสมาชิกเพื่อปรึกษาทีมพยาบาลผู้เชี่ยวชาญได้ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง

อ้างอิง

1. https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=685

2. Bethesda (MD): National Institutes of Health (US); 2007.

3. Deoni S, 2012.

4. Kar P, et al. Neuroimage. 2021 Aug 1:236:118084.

 

ไฮเปอร์ กับ สมาธิสั้น พ่อแม่ต้องรู้ความต่างและรับมือให้ถูกต้อง

 ลูกสมาธิสั้น-เด็กสมาธิสั้น-โรคสมาธิสั้น-อาการ สมาธิสั้น-รักษา สมาธิสั้น- สาเหตุ สมาธิสั้น-โรค สมาธิ สั้น รักษา หาย ไหม-สมาธิ สั้น คือ-วิธี แก้ เด็ก สมาธิ สั้น-สาเหตุ เด็ก สมาธิ สั้น-เล่นมือถือ สมาธิสั้น-เด็กไฮเปอร์-ลูกเป็นไฮเปอร์-ไฮเปอร์ ต่าง จาก สมาธิสั้น

ลูกสมาธิสั้น กับ ลูกเป็นไฮเปอร์ ต่างกันอย่างไร พ่อแม่ต้องรู้ สังเกตอาการ และรับมือเพื่อช่วยลูกได้อย่างถูกต้องนะคะ นพ.ชลภัฏ จาตุรงคกุล จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ศูนย์พัฒนาการเด็ก โรงพยาบาลกรุงเทพ มีคำแนะนำค่ะ

รู้จักโรคสมาธิสั้น

โรคสมาธิสั้น คือ ภาวะผิดปกติทางจิตเวชที่ส่งผลให้มีสมาธิสั้นกว่าปกติ ขาดการควบคุมการเคลื่อนไหว ทำให้มีลักษณะอาการซุกซน วอกแวกง่าย ไม่เคยอยู่นิ่ง เวลาที่พูดด้วยจะไม่ตั้งใจฟังและเก็บรายละเอียดไม่ค่อยได้ ขาดความรับผิดชอบ พบได้ค่อนข้างบ่อยในเด็กที่มีช่วงอายุระหว่าง 3 - 7 ปี  แต่ในรายที่เป็นไม่มาก

อาการโรคสมาธิสั้นจะแสดงออกชัดเจนกว่าในช่วงหลัง 7 ขวบขึ้นไป เพราะเป็นช่วงที่ต้องเข้าโรงเรียนมีงานและการบ้านต้องรับผิดชอบหลาย ๆ ชิ้นในเวลาเดียวกัน มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและคุณครู รวมไปถึงการที่จะต้องรู้จักปรับตัวในการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นและการเข้าสังคม โดยสาเหตุแท้จริงนั้นไม่สามารถทราบได้ชัดเจน แต่หนึ่งในนั้นคือการที่สมองส่วนหน้า ซึ่งเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการควบคุมสมาธิและการยับยั้งชั่งใจทำงานน้อยกว่าปกติ

อาการเด็กสมาธิสั้น

ลูกเป็นโรคสมาธิสั้นหรือไม่ นอกจากต้องสังเกตจากลักษณะอาการที่ปรากฏแล้ว ยังจำเป็นจะต้องพิจารณาจากระยะเวลาที่เป็น และสถานที่ที่เด็กมีอาการ กล่าวคือ อาจมี (A) หรือ (B)

  1. (A) หากเด็กมีอาการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ต้องมี 6 ข้อ (หรือมากกว่า) ของอาการขาดสมาธิ ติดต่อกันเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน โดยที่อาการต้องถึงระดับที่ผิดปกติและไม่เป็นไปตามพัฒนาการตามวัยของเด็ก ได้แก่ อาการขาดสมาธิ (Inattention) คือ
  • มักไม่สามารถจดจ่อกับรายละเอียดหรือไม่รอบคอบเวลาทำงานที่โรงเรียนหรือทำกิจกรรมอื่น
  • มักไม่มีสมาธิในการทำงานหรือการเล่น
  • มักดูเหมือนไม่ได้ฟังสิ่งที่คนอื่นพูดกับตนอยู่
  • มักทำตามคำสั่งได้ไม่ครบ ทำให้ทำงานในห้องเรียน งานบ้าน หรืองานในที่ทำงานไม่เสร็จ (โดยไม่ใช่เพราะต่อต้าน หรือไม่เข้าใจ)
  • มักมีปัญหาในการจัดระบบงานหรือกิจกรรม ทำงานไม่เป็นระเบียบ
  • มักเลี่ยงไม่ชอบหรือไม่เต็มใจในการทำงานที่ต้องใช้ความคิด (เช่น การทำการบ้านหรือทำงานที่โรงเรียน)
  • มักทำของที่จำเป็นในการเรียนหรือการทำกิจกรรมหายบ่อย ๆ (เช่น อุปกรณ์การเรียน)
  • มักวอกแวกไปสนใจสิ่งเร้าภายนอกได้ง่าย มักหลงลืมทำกิจวัตรที่ต้องทำเป็นประจำ

ลูกสมาธิสั้น-เด็กสมาธิสั้น-โรคสมาธิสั้น-อาการ สมาธิสั้น-รักษา สมาธิสั้น- สาเหตุ สมาธิสั้น-โรค สมาธิ สั้น รักษา หาย ไหม-สมาธิ สั้น คือ-วิธี แก้ เด็ก สมาธิ สั้น-สาเหตุ เด็ก สมาธิ สั้น-เล่นมือถือ สมาธิสั้น-เด็กไฮเปอร์-ลูกเป็นไฮเปอร์-ไฮเปอร์ ต่าง จาก สมาธิสั้น

  1. (B) ต้องมี 6 ข้อ (หรือมากกว่า) ของอาการอยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่นนานติดต่อกันอย่างน้อย 6 เดือน โดยที่อาการต้องถึงระดับที่ผิดปกติและไม่เป็นไปตามพัฒนาการตามวัยของเด็ก ได้แก่
  • อาการอยู่ไม่นิ่ง (Hyperactivity) หยุกหยิก อยู่ไม่สุข ชอบขยับมือและเท้าไปมา หรือนั่งนิ่ง ๆ ไม่ได้ มักลุกจากที่นั่งในห้องเรียนหรือในสถานการณ์อื่นที่เด็กจำเป็นต้องนั่งอยู่กับที่ มักวิ่งไปมาหรือปีนป่ายสิ่งต่าง ๆ ในที่ ๆ ไม่สมควรกระทำ ไม่สามารถเล่นหรือทำกิจกรรมอย่างเงียบ ๆ ได้ มัก “พร้อมที่จะวิ่งไป” หรือทำเหมือนเครื่องยนต์ที่เดินเครื่องอยู่ตลอดเวลา มักพูดมาก พูดไม่หยุด

  • อาการหุนหันพลันแล่น (Impulsivity) มักโพล่งคำตอบโดยที่ฟังคำถามไม่จบ มักไม่ชอบการเข้าคิวหรือการรอคอย มักขัดจังหวะหรือสอดแทรกผู้อื่น (ระหว่างการสนทนาหรือการเล่น) เริ่มพบอาการเหล่านี้ตั้งแต่ก่อนอายุ 7 ขวบ พบความบกพร่องที่เกิดจากอาการเหล่านี้ในสถานการณ์อย่างน้อย 2 แห่ง เช่น ที่บ้านหรือที่โรงเรียน อาการต้องมีความรุนแรงจนกระทั่งรบกวนการเรียน การเข้าสังคม หรือการทำงานอย่างชัดเจน อาการไม่ได้เกิดขึ้นระหว่างที่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยเป็น Pervasive Developmental Disorder, Schizophrenia, Psychotic Disorder และอาการต้องไม่เข้าได้กับอาการของโรคทางจิตเวชอื่น ๆ (เช่น Mood Disorder, Anxiety Disorder, Dissociative Disorder หรือ Personality Disorder)   สัญญาณเตือนรีบรักษา

หากเด็กเป็นโรคสมาธิสั้น มีเพียง 15 - 20% เท่านั้นที่สามารถหายได้เองเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ แต่อีกประมาณ 60% นั้นไม่หายขาดและจะเป็นโรคนี้ไปจนเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ เพราะฉะนั้นการสังเกตและรู้เท่าทันสัญญาณเตือนว่าถึงเวลาที่ต้องเข้ารับการรักษาคือสิ่งสำคัญ ได้แก่

  1. ผลการเรียนตกต่ำลง ถ้ามีอาการมากมักพบได้ตั้งแต่ในช่วงที่เด็กเรียน ป.1-ป.2 และผลการเรียนจะยิ่งตกมากขึ้นในช่วง ป.4 แต่ในกรณีที่เด็กมีไอคิว (IQ - Intelligence Quotient) ความสามารถทางเชาวน์ปัญญาสูง อาจไม่ส่งผลกระทบต่อผลการเรียนมากเท่าไรนักและอาจเริ่มสังเกตเห็นอาการในช่วงมัธยม แต่ในเด็กที่เป็นทั้งโรคสมาธิสั้นและโรคบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD - Learning Disorder) ควบคู่กัน จะส่งผลต่อผลการเรียนค่อนข้างมากคือ คะแนนคาบเส้นหรือหวุดหวิดเกือบสอบตก

  2. คุณครูมีการรายงานพฤติกรรมความผิดปกติของเด็กกับพ่อแม่ผู้ปกครองพ่อแม่ผู้ปกครองเริ่มสงสัยและเห็นความผิดปกติของเด็กชัดเจนมากขึ้น

  3. เด็กหรือเพื่อนที่เด็กเล่นด้วยมีอาการบาดเจ็บ เนื่องจากเล่นรุนแรงและผาดโผนมากเกินไป

  4. เด็กเริ่มแยกตัวออกจากกลุ่ม อยู่โดดเดี่ยวคนเดียว ไม่ชอบสื่อสารและเข้าสังคม (ถูกเพื่อนปฏิเสธหรือรังแก)

รักษาแก้โรคสมาธิสั้น

ปัจจุบันวิธีรักษาโรคสมาธิสั้น (ADHD - Attention Deficit Hyperactive Disorder) มี 4 วิธี ได้แก่  

  1. ปรับพฤติกรรมและกระตุ้นพัฒนาการเด็ก ซึ่งจะได้ผลดีมากในเด็กที่ยังเป็นไม่มากและยอมเต็มใจที่จะเข้ารับการฝึกเพื่อให้อยู่นิ่ง

  2. รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง โดยแพทย์จะเลือกชนิดยาที่เหมาะกับอาการและวัยของเด็ก เช่น Methylphenidate ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองให้หลั่งสารสื่อประสาทเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการรับประทานทานยานั้นให้ผลในการรักษาที่ดีได้ถึง 70 - 80% โดยประมาณ และเด็กจะมีอาการดีขึ้นหลังจากรับประทานยาไปแล้วภายใน 1 - 4 สัปดาห์

  3. เรียนแบบตัวต่อตัว เพื่อช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะในเด็กที่เป็นโรคบกพร่องทางการเรียนรู้ร่วมด้วยนั้นจะเรียนไม่ทันเพื่อน พ่อแม่ผู้ปกครองควรหาวิธีพัฒนาการเรียนของเด็กอย่างเหมาะสม

  4. ปรึกษาแพทย์ต่อเนื่อง เพื่อทำความเข้าใจและขอคำแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคการเลี้ยงดูที่ถูกต้อง การสื่อสารกันระหว่างแพทย์ ครู และผู้ปกครอง เพื่อลดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กที่อาจเกิดขึ้นได้ 

 

ลูกสมาธิสั้น-เด็กสมาธิสั้น-โรคสมาธิสั้น-อาการ สมาธิสั้น-รักษา สมาธิสั้น- สาเหตุ สมาธิสั้น-โรค สมาธิ สั้น รักษา หาย ไหม-สมาธิ สั้น คือ-วิธี แก้ เด็ก สมาธิ สั้น-สาเหตุ เด็ก สมาธิ สั้น-เล่นมือถือ สมาธิสั้น-เด็กไฮเปอร์-ลูกเป็นไฮเปอร์-ไฮเปอร์ ต่าง จาก สมาธิสั้น

ไฮเปอร์กับสมาธิสั้นต่างกัน

เด็กที่เป็นไฮเปอร์ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นโรคสมาธิสั้นเสมอไป เพราะไฮเปอร์คืออาการที่ไม่อยู่นิ่ง ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ โรคสมาธิสั้น เป็นเพียงสาเหตุอันหนึ่ง ยังไม่รวมถึงเด็กมีไอคิวสูงปัญญาเลิศ (Gifted Child ) เด็กที่มีความวิตกกังวัล (Anxiety) เด็กที่มีพัฒนาการทางระบบประสาทล่าช้า (Motor - Sensory) เด็กที่เคยได้รับความกระทบกระเทือนหรือติดเชื้อที่สมอง และเด็กที่ไฮเปอร์โดยธรรมชาติ

เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด มักเกิดจากความผิดปกติของสมอง และสิ่งที่น่าสนใจคือ โรคสมาธิสั้นสามารถเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมได้ หากพ่อหรือแม่เป็นโรคนี้ลูกก็มีโอกาสเป็นได้ถึง 50% และอาจเกิดขึ้นได้ขณะที่มารดาตั้งครรภ์

เลี่ยงเล่นสมาร์ทโฟนแท็บเล็ต ลดความเสี่ยงสมาธิสั้นในเด็ก

ในปัจจุบันต้องยอมรับว่าเจ้าตัวเล็กเติบโตท่ามกลางเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง โดยเฉพาะสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่เรียกได้ว่าพ่อแม่ผู้ปกครองมีไว้ให้เจ้าตัวเล็กได้เล่น เนื่องจากทำงานหนักและไม่ค่อยมีเวลาในการเลี้ยงดู ซึ่งความจริงแล้วหากไม่เล่นได้จะดีที่สุด เพราะสมาร์ทโฟนมีส่วนกระตุ้นให้เด็กที่เป็นเป็นสมาธิสั้นมากมีอาการขึ้น เนื่องจากเมื่อเล่นไปนาน ๆ อาจส่งผลให้เด็กขาดสมาธิและการควบคุมตนเอง อยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่น และหากเด็กเป็นโรคสมาธิสั้นอยู่ก่อนแล้วอาการจะยิ่งมีความรุนแรงมากขึ้น อาทิ ใจร้อน วู่วาม อารมณ์ฉุนเฉียว ขาดการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ไม่รู้จักการรอคอย เป็นต้น   

นอกจากนี้การเล่นสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตเป็นเวลานาน ยังส่งผลให้เด็กเกิดความผิดปกติทางสายตา พูดช้า บุคลิกภาพไม่ดี ซึ่งพ่อแม่ผู้ปกครองควรมองหากิจกรรมที่เหมาะสมเพื่อช่วยเสริมสร้างพัฒนาการเด็กและสร้างความอบอุ่นภายในครอบครัว ได้แก่ การเล่นกีฬา เช่น กอล์ฟ ฟุตบอล ว่ายน้ำ เป็นต้น หรือการเล่นดนตรี เช่น เปียโน เป็นต้น สำหรับช่วงอายุที่เด็กสามารถใช้งานสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตได้นั้น ดีที่สุดคือที่ช่วงอายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป แต่ต้องควบคุมระยะเวลาในการใช้งานคือ ครั้งละไม่เกิน 1 ชั่วโมง เพื่อจะได้ไม่ส่งผลเสียต่อพัฒนาการการเรียนรู้และการเข้าสังคม  

หากเกิดความสงสัยว่าเด็กมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคสมาธิสั้น พ่อแม่ผู้ปกครองควรรีบพาเด็กไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที เพราะการรักษาโรคนี้ต้องใช้เวลาและอาศัยความร่วมมือทั้งจากตัวเด็ก พ่อแม่ผู้ปกครอง และคุณครูผู้สอน ซึ่งต้องใช้หลายศาสตร์ร่วมกันเพื่อผลการรักษาที่ดี ที่สำคัญหากเด็กเข้ารับการรักษาจนหายขาดจากโรค นอกจากจะสมาธิดีขึ้น ผลการเรียนดีขึ้น เด็กยังเกิดความภาคภูมิใจในตนเองและเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพได้ในอนาคต

รักลูก Community of The Experts 

นพ.ชลภัฏ จาตุรงคกุล
จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ศูนย์พัฒนาการเด็ก
โรงพยาบาลกรุงเทพ