facebook  youtube  line

รักลูก The Expert Talk EP.106 (Rerun) : พ่อแม่ที่มีอยู่จริง ทางออก Toxic Stress

 

รักลูก The Expert Talk Ep.106 (Rerun) : เป็นพ่อแม่ที่มีอยู่จริง ทางออก Toxic Stress

ท่ามกลางสถานการณ์ที่ตึงเครียดทุกด้าน รับมือ แก้ไข ด้วยการเป็นพ่อแม่ที่มีอยู่จริง

เมื่อลูกเครียดพ่อแม่ต้องรู้ เพื่อรับมือและคลี่คลายความเครียดเป็นพิษ Toxic Stress ก่อนเกิดสถานการณ์ความเครียดที่ไม่คาดคิด

 

ฟังวิธีการจาก The Expert ผศ. ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร

อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รักลูก The Expert Talk EP.110 (Rerun) : รักลูกเชิงบวก “สร้าง Self ให้ลูก ปลูกฝังตัวตนที่แข็งแกร่ง"

รักลูก The Expert Talk Ep.110 :  รักลูกเชิงบวก "สร้าง Self ให้ลูก ปลูกฝังตัวตนที่แข็งแกร่ง" 

เลี้ยงลูกให้ได้ดี ลูกต้องมี “SELF” เพราะตัวตนที่แข็งแกร่ง จะทำให้ลูกเติบโตและอยู่ในสังคมได้อย่างปลอดภัย มั่นคงและอยู่รอด

 

ชวนสร้าง SELF กับครูหม่อม ผศ. ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร

อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

 

  

ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รักลูก The Expert Talk EP.118 : Dysfunctional Family ครอบครัวบกพร่องหน้าที่ เลี้ยงลูกแบบขาดๆ เกินๆ

 

รักลูก The Expert Talk Ep.118 : Family Out จอ Gen กับอาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ ตอนที่ 1 Dysfunctional Family ครอบครัวบกพร่องหน้าที่ เลี้ยงลูกแบบขาด ๆ เกิน ๆ

เลี้ยงลูกแบบไหนให้รอด? พ่อแม่ต้องทำอย่างไร

“Dysfunctional Family” ครอบครัวบกพร่องหน้าที่ เลี้ยงลูกแบบขาดๆ เกินๆ

Dysfunctional Family คืออะไร ? เลี้ยงลูกแบบไหนเลี้ยงแบบขาดๆ เกินๆ ?

 

ชวนฟัง รักลูก Podcast กับอาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ

 

ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่https://linktr.ee/rakluke  

รักลูก The Expert Talk EP.120 : สมองลูกไว พร้อมสำหรับอนาคต

 

รักลูก The Expert Talk Ep.120 : สมองลูกไว พร้อมสำหรับอนาคต

 

AI แย่งงานคน มหาวิทยาลัยยกเลิกการสอนวิชา… เพราะโลกเปลี่ยนทุกวัน เราไม่สามารถคาดเดาถึงการเปลี่ยนแปลงนั้นได้ การเตรียมลูกให้พร้อมสำหรับอนาคตจึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญ

ฟัง The Expert อาจารย์ พญ.ลลิต ลีลาทิพย์กุล กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์วัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บอกวิธีการเตรียมลูกให้พร้อมสำหรับอนาคตในทุกด้าน

พ่อแม่ต้องทำอย่างไรเพื่อให้ลูกสมองไวพร้อมได้ตั้งแต่วันนี้

 

รายการรักลูก The Expert Talk อาจารย์ พญ.ลลิต ลีลาทิพย์กุล

 

ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่https://linktr.ee/rakluke  

รักลูก The Expert Talk EP.124 : “พ่อแม่ขาดทักษะการใช้สื่อ กระทบสมองลูก”

 

รักลูก The Expert Talk Ep.124 : Family Out จอ Gen กับอาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ ตอนที่ 5 พ่อแม่ขาดทักษะการใช้สื่อกระทบสมองลูก

 

งานวิจัยพบว่าเด็กที่ใช้สื่อเย็นเซลล์สมองจะเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ได้มากกว่า

ขณะที่สื่อร้อนการเชื่อมต่อของเซลล์ที่ชั้นเปลือกสมองจะทําได้น้อย กระทบกับพัฒนาการของสมอง โดยเฉพาะทักษะสมอง EF

 

ไม่อยากให้ลูกติดจอ พ่อแม่ทำได้

ฟัง อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริบอกแนวทางการฝึกทักษะให้พ่อแม่มี Digital Literacy เพื่อรับมือและรู้เท่าทันก่อนสื่อหน้าจอจะทำลายสมองลูก

 

ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่https://linktr.ee/rakluke 

รักลูก The Expert Talk EP.125 : Cybercrime คืออะไร? รู้ไว้ก่อนลูกถูกลวง

 

รักลูก The Expert Talk Ep.125 : Family Out จอ Gen กับอาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ ตอนที่ 6 Cybercrime คืออะไร? รู้ไว้ก่อนลูกถูกลวง

เมื่อพ่อแม่ให้โทรศัพท์ แท็บแล็ตหรือสร้างแอคเคาท์บนโซเชียลมีเดียให้ลูก เราอาจจะคิดว่าอินเทอร์เน็ตมันเป็นโลกของข้อมูลความรู้

แต่ถ้าลองคิดในมุมกลับกัน เมื่อให้ลูกเข้าถึงโลกทั้งใบ โลกทั้งใบก็เข้าถึงลูกของเราได้เหมือนกัน…การเกิดอาชญากรรมออนไลน์จึงเกิดขึ้นได้ง่าย

 

รู้กลลวงของเหล่ามิจฉาชีพบนโลกออนไลน์เพื่อรับมืออย่างเท่าทัน ฟัง อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ

 

ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่https://linktr.ee/rakluke 

รักลูก The Expert Talk EP.126 : Cybercrime รับมือได้ พ่อแม่ต้องเท่าทัน

 

รักลูก The Expert Talk Ep.126 : Family Out จอ Gen กับอาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ ตอนที่ 7 Cybercrime รับมือได้ พ่อแม่ต้องเท่าทัน

 

เมื่อลูกถูมิจฉาชีพหลอกลวง พ่อแม่จะช่วยลูกและรับมือกับสถานการณ์นี้อย่างไร ฟัง อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ

 

 

ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่https://linktr.ee/rakluke 

รักลูก The Expert Talk EP.127 : ลูกปวดท้อง ต้องระวังโรคเกี่ยวกับลำไส้

 

รักลูก The Expert Talk Ep.127 : ลูกปวดท้อง ต้องระวังโรคเกี่ยวกับลำไส้

 

โรคลำไส้กลืนกัน ไม่ใช่แค่ลูกปวดท้องหากปล่อยให้รุนแรงอาจจะต้องตัดลำไส้

 

พ่อแม่รับมือและสังเกตก่อนอาการจะรุนแรงได้ รวมถึงฟังโรคและอาการที่ทำให้ลูกปวดท้องได้ จาก The Expert

พญ. สีวลี สีดาฟอง

แพทย์ผู้ชำนาญการโรคระบบทางเดินอาหารและตับในเด็ก โรงพยาบาลวิมุต

 

ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่https://linktr.ee/rakluke 

รักลูก The Expert Talk EP.128 : โพรไบโอติกและพรีไบโอติก เลือกอย่างไรเหมาะกับเด็ก

 

รักลูก The Expert Talk Ep.128 : โพรไบโอติกและพรีไบโอติก เลือกอย่างไรเหมาะกับเด็ก


โพรไบโอติกและพรีไบโอติก เลือกแบบไหนเหมาะสำหรับเด็ก สายพันธุ์ไหนดี กินปริมาณเท่าไหร่เพียงพอ

ฟัง The Expert พญ. สีวลี สีดาฟอง

แพทย์ผู้ชำนาญการโรคระบบทางเดินอาหารและตับในเด็ก โรงพยาบาลวิมุต 

 

ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่https://linktr.ee/rakluke 

รักลูก The Expert Talk Ep.39 (Rerun) : จอเรียน จอเล่น ไม่มีพัก วิกฤตตาเสื่อมช่วงเรียนออนไลน์

 

รักลูก The Expert Talk EP.39 (Rerun) : จอเรียน จอเล่น ไม่มีพัก วิกฤตตาเสื่อมข่วงเรียนออนไลน์

จากจอเรียนมาจอเล่น ใช้สายตาไม่พักทั้งวัน ผลกระทบมีอะไรบ้าง พ่อแม่ต้องรู้เพื่อป้องกันและรับมืออย่างไร

ฟังคำแนะนำจากจักษุแพทย์เด็ก นพ.จรินทร์ ศักดิ์ธนะเศรษฐ

จักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาโรคตาเด็กตาเหล่ โรงพยาบาล BNH

 

เพราะช่วงนี้เด็กยังเรียนออนไลน์ วันนี้เราคุยกันเรื่องการใช้สายตาที่เด็กต้องจ้องจอตลอดทั้งวันยังไม่นับเวลารวมที่ลูกเล่นเกมหรือดูทีวีมันส่งผลกระทบอย่างไรต่อสายตาลูกบ้าง

อันตรายจากการใช้จอของเด็ก

ในฐานะของจักษุแพทย์ต้องบอกก่อนว่าจริงๆ แล้วแสงจากจอคอมพิวเตอร์ไม่ได้เป็นอันตรายต่อตาเด็กมากนักเพราะความเข้มของแสงที่ออกจากจอคอมพิวเตอร์ไม่ได้สว่างถ้าเทียบกับแสงแดดหรือแสงอาทิตย์จากภายนอก เดี๋ยวนี้เทคโนโลยีจอในปัจจุบันปริมาณของรังสียูวีออกมาน้อยมากๆ

แต่ปัญหาที่เกิดจากการที่เด็กคนหนึ่งได้ดูจอที่เกิดกับตาคือการที่เขาสามารถใช้เวลากับจอได้เป็นระยะเวลานานเพราะว่าเขาต้องเรียนออนไลน์ด้วย อาจมีเกมหรือการ์ตูนที่เด็กสนใจ

ตาของเด็กที่เวลามองจอหรืออุปกรณ์พวกนี้สังเกตดูว่าจะไม่เหมือนเวลาที่เขาอ่านหนังสือ การที่เด็กอ่านหนังสือตาจะไล่ไปตามตัวหนังสือไล่ไปตามบรรทัดแล้วขึ้นบรรทัดใหม่ตาจะมีการขยับตลอดเวลามีเหลือบมองนอกหนังสือบ้าง แต่เวลาตาของเด็กเวลาจ้องอยู่กับจอคอมพิวเตอร์ตาเขาจะจ้องนิ่งอยู่กลางจอเพราะสิ่งที่เขาสนใจอยู่ตรงนั้น

ระยะของอุปกรณ์พวกนี้ในปัจจุบันเวลาเด็กดูจอคอมพิวเตอร์หรือแทปเล็ตหรือมือถือหรือ I-pad ระยะก็จะอยู่ประมาณ 30-50 เซนติเมตร ซึ่งถือว่าเป็นระยะค่อนข้างใกล้ การที่เด็กดูจอในระยะใกล้ขนาดนี้โดยธรรมชาติของตาเด็กๆ ก็จะมีสายตายาวอยู่แล้วอันนี้เป็นธรรมชาติของเด็กทุกคน

พอเด็กมองใกล้ก็จะเกิดการเพ่งเพื่อให้เกิดความคมชัดของภาพ การเพ่งต่อเนื่องระยะเวลานานๆ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในลูกตาที่เกิดขึ้นได้คือเกิดการยืดออกตัวของตาขาวของลูกตาซึ่งเป็นกลไกให้เกิดสายตาสั้นได้

ส่วนเรื่องอื่นๆ การที่เด็กจ้องจอเป็นเวลานานสังเกตดูถ้าลูกจ้องจอเป็นเวลานานๆ โดยเฉพาะ Content ที่มีความน่าสนใจแล้วเขาสนใจตาของเขาในช่วงแรกที่จ้องจออัตราการกระพริบตาของเด็กจะลดลง บางครั้งก็อาจจะเกิดการระคายเคืองตาหรือตาแห้งตามมาได้ เราจะพบเห็นกันได้บ่อยๆ ว่าลูกหลานเราบางคนพอจ้องจอนานๆ สักพักจะมีการกระพริบตาถี่ขึ้น เกิดจากการที่เด็กก่อนหน้านั้นมีการเพ่งนาน

อาการระคายเคืองตา

การระคายเคืองตา การกระพริบตาเป็นการปั้มน้ำตาเพื่อมาช่วงหล่อเลี้ยงผิวหน้าดวงตาทำให้ตาชุ่มชื้นขึ้นทำให้เขาสบายตา ถ้าเราปล่อยให้ถึงขั้นกระพริบตาถี่ขึ้นแปลว่าแห้งไปแล้ว เพราะฉะนั้นก็จะมีวิธีที่จะจัดการหรือว่าจัดการเวลาให้เขาดูน้อยลง มีแบ่งช่วงเวลาให้เขาดูสั้นลง หรือว่าให้เขาดูห่างขึ้นก็อาจจะช่วยให้เขาสบายตาขึ้นได้

ผลกระทบจากแสงสีฟ้า

แว่นกรองแสงสีฟ้าแรกเริ่มเดิมทีมีจุดกำเนิดมาอย่างไร ในสมัยก่อนที่มนุษย์เรายังไม่มีการผลิตไฟฟ้าใช้เป็นมนุษย์ถ้ำมนุษย์ป่า สมองของคนเราเวลามองออกไปข้างนอกถ้าเห็นแสงสว่าง มองท้องฟ้าเห็นเป็นแสงสีฟ้าสมองเราจะรับรู้ว่าอันนี้เป็นเวลากลางวัน แล้วก็สมองของเราจะใช้แสงสีฟ้าเป็นตัวบอกว่านี่เป็นเวลากลางวันเราต้องออกไปทำมาหากิน เราต้องออกไปใช้ชีวิต หรือออกไปล่าสัตว์

แต่ถ้าเราออกไปมองท้องฟ้าไม่แล้วเห็นสีฟ้าเห็นเป็นสีดำกลางคืนอันนั้นเป็นเวลานอน จริงแล้วแสงสีฟ้าความสำคัญคือเป็นแสงที่เอาไว้คุมกลไกการหลับการตื่นของคนเรา ถ้ามีแสงสีฟ้ามันจะไม่บล็อคสารสื่อประสาทในฮอร์โมนชื่อว่าเมลาโทนิน พอมีแสงสีฟ้าเมลาโทนินจะไม่หลั่งแล้วก็ตื่น แต่ถ้าไม่มีแสงฟ้าเมลาโทนินก็จะออกมาเราก็จะง่วงนอนแล้วก็หลับได้

ในยุคต่อมาเราผลิตหลอดไฟได้เรามีอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์หลายคนที่ต้องทำงานหน้าจอเวลากลางคืนทำเสร็จแล้วนอนไม่หลับเพราะว่าแสงเข้าตาเยอะก็เลยมีการผลิตแว่นกรองแสงสีฟ้าขึ้นมา หลักๆ เดิมทีวัตถุประสงค์เพื่อให้เราใส่เวลาทำงานกลางคืนเวลาปิดจอแล้วสามารถนอนหลับได้

หลายๆ คนอาจจะติดซีรีย์กลางคืนดูหนังดูเสร็จแล้วนอนไม่หลับเพราะแสงจากจอทีวีหรือในมือถือบางคนต้องปิดไฟดูมืดๆ แสงยิ่งเข้าเยอะ แสงพวกนี้อาจทำให้ไปบล็อคเมลาโทนินทำให้เราตื่นอันนี้เป็นที่มาของการผลิตแว่นกรองแสงสีฟ้าครั้งแรก

จริงๆ แสงสีฟ้าเป็นแสงในสเปคตรัมที่ตาเรามองเห็นได้เรียกว่า Visible light แสงถ้าเราแบ่งเป็น 2 กลุ่มง่ายๆ คือ แสงที่ตามองเห็นได้ กับแสงที่ตามองเห็นไม่ได้ แสงในกลุ่มที่ตาเรามองเห็นได้แบ่งเป็น 7 สี ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง (สีรุ้ง) แสงที่อยู่ใต้แดงเรียกแสงอินฟาเรดที่นอกเขตสีแดงฝั่งซ้ายสุดอินฟาเรดเป็นแสงกลุ่มพลังงานต่ำอันนี้ก็จะปลอดภัยเราเอามาประดิษฐ์รีโมทคอนโทรงใช้ในบ้าน

ส่วนแสงกลุ่มพลังงานสูงคือแสงที่อยู่เหนือม่วงขึ้นไปเรียกว่าอุลตร้าไวโอเลต แบ่งเป็น ยูวีเอ ยูวีบี แสงกลุ่มนี้เป็นแสงพลังงานสูงเราเอาไว้ฆ่าเชื้อโรคอบฆ่าเชื้อโควิด หรือถ้าโดนผิดเราอย่างเวลาเราไปทะเลโดนแสงยูวีเยอะ จะให้ผิวเราร้อนไหม้บางคนลอกหรือว่าดำขึ้น

แสงที่เป็นอันตรายต่อตาเราคือแสงยูวี กลุ่มยูวีทั้งหมดแสงตั้งแต่สีม่วงลงมาเป็นแสงที่ตามองเห็นได้กับอินฟาเรดเป็นแสงที่ค่อนข้างปลอดภัยกับตา แสงกลุ่มสีฟ้า สีคราม สีม่วง

ถ้าสังเกตดูมันจะอยู่ติดกับกลุ่มยูวีซึ่งจัดเป็นแสงที่มองเห็นได้ในกลุ่มที่มีพลังงานสูงถ้าเทียบกันในกลุ่มของแสงที่ตามองเห็นได้แสงสีฟ้า สีคราม สีม่วงก็จัดว่าเป็นแสงที่เวลาที่เรามองเข้าไปมันคลายพลังงานความร้อนในจอประสาทตามากกว่าสีเหลือง สีแดง สีเขียว

เพราะฉะนั้นถ้าเอาแสงสีฟ้าออกไปด้วยนอกจากยูวี ก็น่าจะปลอดภัยกับจอตามากขึ้น มีการทดลองงานวิจัยระดับโลกว่าถ้าเทียบกันในแสงที่มองเห็นด้วยกัน ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง แสงสีน้ำเงิน สี ฟ้า สีม่วง เป็นแสงที่ส่งผลต่อจอประสาทตามากกว่าสีเหลือง สีแดง สีเขียว เพราะฉะนั้นการที่เราใส่แวนกรองแสงสีฟ้าเขาก็เชื่อว่ามันทำให้ถนอมจอประสาทตา ช่วยเรื่องของการนอนหลับที่พูดถึงไปก่อนหน้านี้

ผลกระทบจากการจ้องจอนาน

ปริมาณแสงจากจอคอมพิวเตอร์ไม่ได้เข้ม และไม่ได้อันตรายมาก หลักการง่ายๆ เลยถ้าแสงจากจอคอมพิวเตอร์เป็นแสงที่อันตรายและทำลายดวงตาเราโอกาสที่มันจะขายให้เราซื้อมาใช้ตามบ้านจะน้อย มันไม่ได้เป็นอันตรายที่เราส่องเข้าไปแล้วเป็นต้อหิน ต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อม แสงที่ทำให้จอประสาทตาเสื่อมต้องเป็นแสงที่ค่อนข้างเข้มมีรังสียูวี เช่น แสงที่เกิดจากการอ๊อกเหล็กแสงจ้า แสงจากดวงอาทิตย์ แสงไฟสปอทไลท์ที่มีความสว่างมากๆ พอเราไปจ้องมากๆ ปริมาณแสงเข้มๆ จะไปทำลายจอประสาทตา แต่

แสงจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นแสงที่ค่อนข้างไม่มีความอันตรายอย่างที่กลัวกัน ที่มีปัญหาคือเด็กจ้องใกล้และจ้องนาน อันนี้เป็นตัวปัญหาทำให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของลูกตาเด็กทำให้เกิดสายตาสั้นได้

การใส่แว่นกรองแสงสีฟ้า หลายคนคิดว่าแว่นกรองแสงสีฟ้าพอให้ลูกเราใส่มันจะกันได้ทุกอย่างกันสายตาสั้นก็ได้ กันตาแห้งก็ได้ จริงๆ แล้วแว่นกรองแสงสีฟ้าไม่ได้ช่วยเรื่องสายตาสั้นเลย เพราะว่าสายตาสั้นเกิดจากการที่เด็กมองที่ใกล้เป็นระยะเวลานานๆ เกิดการเพ่ง เราจะใส่แว่นหรือไม่ใส่แว่นระยะมันเท่าเดิม เด็กจ้องใกล้

ต้องทำความเข้าใจนิดหนึ่งเพราะว่าพ่อแม่หลายคนบอกลูกใส่แว่นเราซื้อแว่นมาให้ลูกเราแล้วเราจะอนุญาตให้ลูกดูนานกว่าเดิมอันนี้เป็นความเข้าใจที่ผิด เราใส่ให้ปลอดภัยขึ้นแต่ไม่ได้ใส่แล้วอนุญาตให้ลูกดูได้นานขึ้น เพราะการที่ดูใกล้ดูนานทำให้เป็นสายตาสั้น ใส่แว่นแต่ยังดูใกล้อยู่ดูนานอยู่หรือนานกว่าเดิมอันนั้นเพิ่มโอกาสสายตาสั้นมากกว่าเดิม

แว่นกรองแสงสีฟ้าส่วนมากจะกรองแสงยูวีด้วย การที่เรากรองแสงยูวีออกกรองแสงสีฟ้าออกใส่แล้วจะทำให้สบายตาขึ้น จริงๆ แสงพอเวลาที่เข้ามาปริมาณมันก็จะมีพลังงานที่คลายให้กับลูกตาเราด้วยถ้าแสงเข้มมากก็จะมีอาการล้าตามมาได้ แต่แสงที่โดนตัดพลังงานออกไปบ้างจากแว่นกรองแสงสีฟ้าส่วนใหญ่ก็กรองแสงยูวีได้ด้วยก็จะทำให้อาการสบายตามีมากขึ้น เพราะฉะนั้นประโยชน์หลักๆ ของแว่นกรองแสงสีฟ้าคือ 1.ใส่แล้วสบายตา ลดพลังงานเข้าตา 2.ช่วยเรื่องนอนหลับ

ให้ลูกห่างจอบ้าง

จริงๆ อยากให้คุยกับลูกเลยว่าเวลาใช้งานคอมพิวเตอร์ สมมติถ้าไม่ใช่เรื่องเรียน ถ้าเขาใช้เรียนออนไลน์อยู่ก็คงต้องเรียนไปตามคาบตามชั่วโมงที่ครูสอน แต่ถ้าเป็นเรื่องอื่น เช่น ดูการ์ตูน หรือสื่อบันเทิงอาจจะต้องคุยกันว่าเราต้องพักทุก 15 หรือทุก 20 นาทีไหม

การที่เราวางจอห่างจากตาเด็กเท่าไหร่เราก็ได้ประโยชน์มากเท่านั้นการที่เด็กยิ่งดูใกล้และยิ่งดูนานเพิ่มความเสี่ยงสายตาสั้น ถ้ายิ่งดูไกลมากขึ้นแบ่งเวลาพักบ่อยๆ มีการใช้สายตาในที่ไกลบ้างอันนี้จะลดโอกาสสายตาสั้น การที่เด็กได้พักเด็กก็จะมีเวลากระพริบตามากขึ้นเรื่องตาแห้งก็จะลดลง เช่น 15 นาทีแล้วเดี๋ยวเรามองอย่างอื่นบ้างพ่อแม่อาจจะต้องเบรกให้มองนอกหน้าต่าง การมองนอกหน้าต่างไกลๆ ทำให้กล้ามเนื้อตาคลายตัว เด็กได้มีการกระพริบตาปั้มน้ำตาออกมาช่วยเรื่องตาแห้งได้ด้วย

ระยะห่างจอ

ยิ่งห่างยิ่งดี ยิ่งห่างยิ่งเพ่งน้อยลง ที่นี้ขนาดจอก็จะเริ่มมีผลแล้วเพราะว่าบางคนถ้าเรียนจอเล็กก็ต้องดูใกล้ เพราะดูไกลก็ไม่เห็น แต่ถ้าขนาดจอใหญ่หน่อยเด็กก็ถอยห่างได้ การเรียนบางที่บางโรงเรียนต้องมีการ Interactive หน้าจอด้วยอาจจะต้องใช้ Touch Screen ด้วยถ้าไกลมากเด็กจิ้มก็ไม่ถึง

ส่วนใหญ่หมอแนะนำว่าให้เด็กลองยกมือขึ้นมาแล้วยื่นออกไปสุดถ้าแต่จอได้คือใกล้ไปก็จะแนะนำให้ถอยออกมา เด็กส่วนใหญ่ถ้ามีจอเด็กก็จะค่อยๆ ยื่นหน้าเข้าไปใกล้ยิ่งดูก็ยิ่งใกล้เข้าไปเรื่อยๆ เวลาเด็กเขาสนใจอะไรเขาก็อยากเข้าไปดูใกล้ๆ ดูชัด ไม่เหมือนผู้ใหญ่ถ้าเรายิ่งดูใกล้ยิ่งไม่ชัดอยากดูชัดเราต้องถอย

แต่เด็กจะมีความสามารถในการเพ่งสูงมากเลนส์ตาเขานิ่มมากเขามองระยะใกล้ 5 – 10 เซนติเมตร ชัดมาก เพราะฉะนั้นสบายเขาไม่ต้องออกแรงเยอะเวลาเขาดูหน้าก็จะใกล้เข้าไปเรื่อยๆ เวลาเราจะเตือนเขาอาจจะสอนเขาว่า หนูลองยื่นมือออกไปสิแตะจอได้คือใกล้ไปแล้วหนูต้องถอยออกมาแล้วเป็นข้อปฏิบัติง่ายๆ จริงๆ ถ้าให้ตอบเป็นเซนติเมตรก็อยากให้ห่างมากกว่า 40 เซนติเมตรขึ้นไป

หรือบางบ้านเขาเอาไม้บรรทัดมาวางไว้ถ้าหนูเข้าใกล้กว่านี้อันนี้คือใกล้ไปแล้วหนูต้องถอยออกมาเกินไม้บรรทัดนะคะ ถ้าเรียนออนไลน์เรียนผ่านจอทีวี สมาร์ททีวี ได้ก็จะยิ่งดี ยิ่งไกลยิ่งดี ถ้าเราต่อเม้าส์ที่เป็นไวเลสไกลๆ ได้จะยิ่งดีมาก

ภายในห้องมีแสงสว่างที่เพียงพอ เพราะถ้าแสงไม่สว่างม่านตาจะขยายแสงจะเข้าได้ในปริมาณมากมันมีแสงบางประเภทที่ไม่ได้เข้าแล้วโฟกัสบนจอตามันเข้าไปแล้วมันจะโฟกัสบริเวณขอบตาแสงประเภทนี้มันจะกระตุ้นให้เกิดสายตาสั้นได้

การจัดห้องเรียนออนไลน์ สภาพแวดล้อมแบบไหนเหมาะกับตาของเด็ก

อาจจะเป็นเรื่องโต๊ะกับเก้าอี้ เลือกโต๊ะเก้าอี้ที่มีความสูงพอเหมาะกับเด็กเวลาวางอุปกรณ์แล้วมันไม่สูงเกินตัวเขาไม่ทำให้หน้าเขาใกล้กับจอมากเกินไป แสงสว่างก็ควรมีแสงสว่างที่พอเพียงเด็กไม่ต้องจ้อง

ถ้ามีสิ่งที่เด็กพักสายตา อย่างเช่น มีหน้าต่างให้เขามองออกไปข้างนอกได้บ้างก็จะได้ประโยชน์ดีกว่าอยู่ในห้องที่แคบและมืด ก็แล้วแต่บ้านบางคนอยู่คอนโดก็ลำบากเรื่องของสถานที่ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องโต๊ะ เรื่องของแสงสว่างที่ต้องเพียงพอและระยะถ้าไกลได้ยิ่งดีอย่าใกล้มาก แบ่งเวลาพักบ่อยๆ สัก 15-20 นาทีก็พักสายตาสักครั้ง

เด็กมีปัญหาสายตามากขึ้น

จากการที่เรียนออนไลน์ เด็กมีปัญหาเรื่องสายตาเพิ่มขึ้น คือเด็กที่ก่อนหน้านี้เคยไปโรงเรียน การไปโรงเรียนเด็กก็นั่งอยู่และมองกระดานซึ่งค่อนข้างไกล ระยะเด็กถึงกระดานส่วนมากก็ 3-4 เมตรขึ้นไป แล้วแต่ว่าเด็กนั่งหน้า กลาง หรือหลังห้อง พอเรียนออนไลน์แทบจะทั้งวันเลยเด็กอยู่หน้าจอในระยะ 30-50 เซนติเมตร

การมองเพ่งใกล้ระยะไกลอย่างที่บอกแต่ต้นเพิ่มความเสี่ยงสายตาสั้น โดยปกติเด็กคนหนึ่งเวลาสายตาสั้นแล้วจะสั้นเพิ่มประมาณปีละ 50 – 100 สมมุติเด็กคนหนึ่งปีนี้สั้น 200 ปีหน้าเราคำนวณได้เลยเขาจะสั้นอยู่ประมาณ 250-300 แต่หลังๆ เราพบว่าสั้นเกินปีละ 100 เช่น ปีนี้ 200 ปีหน้า 350 แล้ว ซึ่งสั้นขึ้นค่อนข้างเร็ว อัตราเร่งจะสูงมากในเด็กอายุ 4-13 ขวบ แต่หลังจาก 13 ปี ยิ่งบ้านไหนมีกรรมพันธุ์พ่อแม่สายตาสั้นมาก เด็กใช้เวลาอยู่กับหน้าจอมือถือมากอันนี้จะขึ้นเกียร์สูงไปเร็วมาก ตัวการที่จะช่วยลด คือกรรมพันธุ์เราเปลี่ยนไม่ได้เราไม่พูดถึง

ถ้ามีความเสี่ยงแบบนั้นหมอก็จะแนะนำว่าหากิจกรรมในหนึ่งวันให้เด็กทำ เด็กเลิกเรียนออนไลน์เสร็จแล้วตอนเย็นหรือตอนเช้าอาจจะต้องมีการใช้สายตาในที่ๆ ไกล เช่น ไปวิ่งนอกบ้าน ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ ไปใช้สายตาข้างนอก ไปช่วยลด Progression ความชัดให้เพิ่มขึ้นให้มันช้าลง เจอขึ้นเยอะเด็กบางคนไม่เคยสั้นเลยพอมาเข้าช่วงเรียนออนไลน์ก็เริ่มสั้นแล้ว 50-100 คนไหนสั้นขึ้นเร็วเราก็ต้องมีมาตรการนอกจากให้ปรับพฤติกรรมแล้วก็ต้องให้เขาใช้ยาบางตัวหรือยาหยอดช่วยชะลอสายตาสั้นร่วมด้วย

ดูแลเมื่อลูกสายตาสั้น

เริ่มต้นถ้าเราสงสัยว่าลูกเราสายตาสั้นหรือต้องการจะเทสสงสัยว่าจะสั้นหรือยังไม่สั้นหมอแนะนำให้เทสจากที่ไกล ถ้าเรารอให้ลูกเราเอาหน้าเข้าไปจ่อทีวีอันนั้นคือสั้นแล้ว ถ้าจะเทส เช่น เวลาเราอยู่หน้าบ้านอาจจะมองไปที่ท้ายซอยหรือมองไปนอกหน้าต่างเห็นป้ายไหม ป้ายที่เรายังอ่านได้ถ้าเด็กอ่านไม่ได้หรือว่าเห็นเครื่องบิน นกบิน เห็นต้นไม้ไกล

หรือว่าขับรถออกไปนอกบ้านดูป้ายว่าอ่านได้ไหมในที่ไกลคนที่สายตาสั้นจะมองที่ไกลไม่ชัดก่อนแล้วระยะที่เขามองชัดจะถบสั้นมาเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นถ้ารอว่าดูทีวีที่บ้านแล้วไม่ชัดส่วนใหญ่จะมากแล้ว

ถ้าเราสงสัยเด็กคนหนึ่งสายตาสั้นไหมตอนนี้แนะนำให้พาไปตรวจกับหมอจักษุแพทย์ เพราะในเด็กไม่สามารถที่จะพาไปร้านแว่นแล้วเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพราะส่วนใหญ่อาจจะโดนเด็กหลอกได้

เขาจะมีความสามารถหนึ่งในการเพ่งมากๆ สมมุติเข้าอยู่หน้าเครื่องวัดสายตาด้วยคอมพิวเตอร์ในเครื่องวัดสายตาด้วยคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่เป็นลูกบอลลูนให้เด็กมอง ถ้าเด็กสามารถเพ่งได้มากอาจจะโดนเด็กหลอกจริงๆ เด็กอาจจะไม่สั้นแต่การที่เด็กเพ่งหน้าเครื่องพวกนี้ทำให้เครื่องอ่านออกมาว่าเด็กคนนี้สั้น 200 -300 ได้

หมอเคยมีเคสหนึ่ง เป็นลูกของร้านขายมือถือ พ่อแม่พาไปนั่งในร้านทั้งวันเด็กก็ดูมือถือทั้งวัน อย่างที่บอกว่าเด็กมีความสามารถในการเพ่งสูงมากกล้ามเนื้อตาเกรงตลอดเวลาวันหนึ่งเด็กเพ่งนานๆ หลายชั่วโมงติดกัน พอเงยหน้าขึ้นมาปรากฏว่าเขาบอกพ่อว่ามองไม่ชัดเพราะกล้ามเนื้อตามันเกร็งข้างอยู่

วัดสายตากับจักษุแพทย์

เมื่อพ่อพาไปวัดสายตาที่ร้านแว่นก็จับเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เด็กก็เพ่งค้างวัดครั้งแรกได้ -3 300 ก็ตัดแว่น 300 มาใส่ แล้วเด็กก็ใส่เล่นเกมต่อ ผ่านไปอีก 1 เดือน เด็กบอกไม่ชัดอีกแล้วพ่อก็พาไปร้านแว่นอีกรอบร้านบอกตอนนี้สั้น 500 แล้วภายใน 1 เดือน แล้วก็ตัดแว่น 500 มาใส่ แล้วก็เล่นเกมอีกผ่านไป 2 เดือน เด็กเงยหน้าบอกไม่ชัดแล้วรอบหลังเด็กตาเหล่มาเพราะเด็กเพ่งมากจนตาเข้า การที่ให้แว่นที่สูงกว่าความเป็นจริงของสายตาเด็กจะทำให้เด็กเพ่งมากขึ้นแล้วทำให้สายตาสั้นลงไปเรื่อยๆ

เพราะฉะนั้นโดยมากถ้าเราสงสัยว่าเด็กคนไหนสายตาสั้นหมอแนะนำให้ไปที่โรงพยาบาลคุณหมอจะมีวิธีการตรวจทำให้ทราบค่าสายตาที่แท้จริงบางคนอาจจะต้องหยอดยาบ้างเพื่อให้กล้ามเนื้อตาคลายตัวแล้วเราจะทราบค่าสายตาที่แท้จริงไม่ได้แว่นที่ผิดไป

พอได้สายตาสั้นก็เอาแว่นมาใส่เด็กก็จะมองไกลชัด พ่อแม่หลายคนก็อาจจะกังวลว่าพอใส่แว่นแล้วสายตาสั้นจะแย่ลงไหม อันนี้เป็นธรรมชาติพอเด็กคนหนึ่งสายตาสั้นแล้วสายตาสั้นจะเพิ่มอยู่แล้วไม่ว่าเด็กคนนั้นจะใส่แว่นหรือไม่ใส่แว่น การใส่แว่นช่วยให้คุณภาพชีวิตของเด็กดีขึ้น พอเด็กใส่แล้วสามารถมองไกลชัด สามารถเดินลงบันไดได้แบบชัด ข้ามถนนได้แล้วชัดไม่โดนรถเฉี่ยวชน

หมอมีเด็กหลายคนที่มองไม่ชัดพอตัดแว่นแล้วกลับไปเรียนได้ที่หนึ่งคือก่อนหน้านี้เขาไม่เคยรู้ว่าเขาสายตาสั้น สมมุติดูเลข 8 เขาก็ดูเป็นเลข 6 แล้วก็จดมาแบบนี้ เขาไม่รู้ว่าสายตาสั้นเขารู้ว่าตัวเองมองไม่ชัดเขาไม่เข้าใจว่าอันนี้เป็นปัญหาด้วย ธรรมชาติของเด็กไม่เข้าใจว่าอันนี้เป็นปัญหาแล้วเขามองไม่ชัดเขาไม่รู้ว่าอันนี้เรียกสายตาสั้นกลับบ้านมาก็ไม่บอกแม่

อย่างลูกของเพื่อนที่เป็นหมอจดงานมาผิด ผิดมาเกือบทุกวัน จนวันหนึ่งคุณแม่ก็คอยไปสังเกตลูกที่ห้องเรียนปรากฏว่าลูกต้องเดินไปหน้ากระดานเดินกลับมาจดปรากฏว่าสายตาสั้น 400 อายุ 6 ขวบ สายตาสั้น 400 ซึ่งเด็กไม่เคยกลับมาบอกแม่ว่าตัวเองมองกระดานไม่ชัดด้วยความที่เขาเป็นเด็กเลยไม่รู้ว่านี้คือปัญหา

วัดสายตาทุกปี

นอกจากสายตาสั้นมันมีเรื่องอื่นด้วยเวลาเด็กมองไม่ชัด บางคนมีสายตาเอียงแต่กำเนิด หรือบางคนมีสายตายาวมากแต่กำเนิดหรือบางคนมีตาเหล่ ตาเขซ้อนเร้น หรือมีโรคต้อกระจกอยู่ในตาแต่กำเนิดซึ่งหลายโรคทำให้เขามองไม่ชัดมาตั้งแต่กำเนิดอยู่แล้วเนื่องจากเห็นอย่างนี้มาตั้งแต่เกิดเขาเลยไม่ทราบว่าอันนี้เรียกว่าไม่ชัดเพราะไม่เคยเห็นชัดมาก่อน พ่อแม่จะไม่ทราบเพราะไม่มีอาการ

จริงๆ ตอนนี้หมอแนะนำเขามีการณรงค์ว่าเด็กในช่วงอายุ 4-6 ขวบ ควรได้รับการตรวจตาโดยจักษุแพทย์อย่างน้อย 1 ครั้ง เพราะตาเรามองแทนกันไม่ได้ลูกเห็นอย่างไรแม่ไม่รู้ แต่เรารู้ว่าลูกวิ่งเล่นไปมาได้ดูเหมือนปกติเด็กบางคนดูภายนอกไม่มีทางออกว่าเด็กคนนี้มองเห็นผิดปกติ หลายคนเล่นกีฬาเก่งมาก เล่นเทนนิสเก่งมาก เล่นหรือเรียนหนังสือเก่งมาก มาวัดสายตาปรากฏว่ามีสายตาเอียงอยู่ 400-500

ในช่วง 12-13 ปีแรกของชีวิตระบบต่างๆ รวมทั้งระบบสมองก็มีการพัฒนาขึ้นต่อไปเรื่อยๆ ตาก็เป็นอวัยวะหนึ่ง ตาเป็นอวัยวะรับแสงแล้วตาก็จะส่งสัญญาณไปที่สมองที่อยู่ด้านหลัง สมองตัวนี้จะเป็นส่วนที่แปลภาพสัญญาณที่ประสาทตารับมาเป็นภาพให้เราเห็น

สมมติถ้าตาเราเห็นไม่ชัดมัวลงคุณภาพของภาพที่เห็นอยู่สักประมาณ 70% ของ 100% ที่ควรจะเป็นสมองที่ไม่เกี่ยว IQ สมองที่รับภาพจากตาสมองนี้ก็จะพัฒนาไปได้ 70% เท่ากับที่ตาเห็น เพราะมันจะได้เท่ากับสิ่งที่ได้รับการกระตุ้นอันนี้มีการทดลองแบบชัดเจนเมื่อก่อนทดลองกับลิงไม่ได้ทดลองกับคน ลูกลิงเกิดใหม่เขาจะเอาไหมเย็บตาไว้ไม่ให้ลืมตาได้ข้างหนึ่ง ผ่านไปหนึ่งปีตัดไหมออกตาข้างนั้นกลายเป็นตาบอด

ถ้าเทียบง่ายคือ สมมติเราอยากให้ลูกพูดภาษาอังกฤษชัดแบบฝรั่งพูดเราต้องฝึกตั้งแต่เด็กก่อน 10 ขวบ เด็กก็จะพูดเหมือนพอโตโอกาสที่จะพูดสำเนียงเหมือนฝรั่งเปะๆ ยากมากเพราะว่าสกิลในการพัฒนาสมองที่จะปรับให้เหมือน 100% มันพัฒนาในช่วงของเด็กเท่านั้น พอหลังจาก 12-13 ปี อย่างไรก็ไม่เปะ ภาวะที่ลูกตาพัฒนาได้ไม่เต็ม 100 ในช่วงก่อน 12-13 ปี อันนี้เรียกว่าตาขี้เกียจที่สมองส่วนที่ดูแลเรื่องลูกตายังพัฒนาไม่พอ

สมองส่วนนี้ถ้าการมองเห็นไม่ได้รับการแก้ไขก่อนอายุ 10-12 ปี การมองเห็นที่ไม่ชัดจะอยู่ไปตลอดชีวิตมันแก้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นจำเป็นมากที่เราต้องตรวจช่วง 4-6 ขวบ เพราะถ้าตรวจเจอความผิดปกติช่วงนั้นเรายังมีเวลา 5-6 ปี ในการที่จะค่อยปรับสายตาเขาให้การมองเห็นเป็น 100%

 

ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่...

Apple Podcast :https://apple.co/3m15ytB

Spotify :https://spoti.fi/3cvAVcX

YouTube Channel :https://bit.ly/3cxn31u

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk Ep.41 : รู้ก่อนเป็น สาเหตุทำให้เกิดโรคหืด

รักลูก The Expert Talk Ep.41 : รู้ก่อนเป็น สาเหตุทำให้เกิดโรคหืด

โรคหืดไม่ใช่แค่กระทบพัฒนาการ แต่อาจจะทำให้เสียชีวิตได้ 

รู้ก่อนเลี่ยงได้ก่อน แม้ส่วนหนึ่งจะมาจากพันธุกรรมที่เราเปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่สภาพแวดล้อมก็เป็นส่วนสำคัญมากที่กระตุ้นให้เป็นโรคหืด และมีอาการมากขึ้น

 

ฟังสาเหตุของโรคหืด จาก The Expert ผศ.ดร.นพ.สิระ นันทพิศาล หัวหน้าหน่วยโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สาเหตุที่ตัวเลขโรคหืดเพิ่มขึ้น

ในประเทศไทยมีการสำรวจจำนวนเด็กที่เป็นโรคหืดมาประมาณ 30 ปีแล้ว และก็ทำมาเรื่อยๆ ประมาณทุก 10 ปี และพบว่าตัวเลขเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะที่ภาคเหนือในระยะ 10 ปีที่ผ่านมามีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนรวมไปถึงโรคภูมิแพ้อื่นๆ เช่น จมูกอักเสบภูมิแพ้

ซึ่งเป็นโรคคู่กันก็เจอเยอะขึ้นโดยเฉลี่ยอยู่ประมาณ 4-10% ในประเทศไทยแล้วแต่ภูมิภาค ในกรุงเทพประมาณ6-7% สำหรับทุกช่วงอายุในผู้ป่วยเด็ก ถ้าโยงเกี่ยวกับเรื่องฝุ่นมลพิษหรือเปล่าจริงต้องบอกว่า

ปัจจัยการเกิดโรคหืดแต่เดิมเราบอกมันมีหลายปัจจัยก็คือเป็นเรื่องของพันธุกรรมเพราะคุณพ่อคุณแม่ที่เป็นโรคหืดมาก่อน ลูกจะโอกาสเป็นโรคหืดได้มากขึ้นตั้งต้นมาเหมือนต้นทุนเดิม

ทีนี้ระหว่างที่เขาเติบโตมาเขาจะเผชิญกับสภาพแวดล้อมต่างๆ ซึ่งหลายๆ คนก็จะบอกว่าเป็นเรื่องของสัตว์เลี้ยงหรือเปล่าการเลี้ยงสุนัข เลี้ยงแมวในบ้านจะสามารถทำให้เกิดเป็นโรคหืดได้ไหม ซึ่งอันนี้ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่า 2 อย่างนี้จะเป็นปัจจัยทำให้เกิดหืด

มลพิษ ควันบุหรี่ตัวร้าย

แต่สิ่งที่ชัดเจนมากๆ เลยคือส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของมลพิษ มลพิษอันดับแรกที่เรายังไม่ได้พูดถึงกันก็คือ ควันบุหรี่ อันนี้ตัวร้ายเลยเพราะว่ามีการศึกษาออกมาชัดเจนว่ามารดาที่ตั้งครรภ์ และระหว่างตั้งครรภ์สูบบุหรี่จะเป็นสาเหตุเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการหอบหืดในเด็กโดยเฉพาะเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี ชัดมาก ถือว่าเป็นปัจจัยหลัก

มีการศึกษาเพิ่มเติมด้วยว่าเป็น Secondhand Smoker คือหมายความว่าตัวคุณแม่ไม่จำเป็นต้องสูบเองแต่อยู่ในครอบครัวหรือในสภาพแวดล้อมที่มีควันบุหรี่เยอะๆ อันนี้ก็ส่งผลกับปอดของเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์เหมือนกัน เพราะฉะนั้นพอเด็กออกมามีความเสี่ยงถ้ายังอยู่ในสภาพแวดล้อมเดิม เขาก็จะเจอกับสารก่อภูมิแพ้ หรือสารระคายเคืองจากบุหรี่เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ

PM2.5 ตัวการสำคัญ

ในระยะ 10 ปีถ้าเราติดตามข่าวสารกันก็จะทราบว่าภาวะโลกร้อนเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ปริมาณ PM2.5 เพิ่มมากขึ้น จริงๆ เรารู้จักกันมานานพอสมควรแล้วสำหรับฝุ่น PM2.5 แต่เพิ่งมาให้ความสนใจกันเยอะมากในปัจจุบัน ในช่วงประมาณ 10 ปีที่ผ่านมาตัวเลขจะมีการมอนิเตอร์กันเป็นประจำก็จะพบว่าในกรุงเทพมีค่ามลพิษโดยเฉพาะ PM2.5 เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน

มีการศึกษากันแล้วว่าจุดตั้งต้นก่อน เอาง่ายๆ เลยมีการศึกษากันแล้วว่าถ้าเป็นแฝดแต่แยกที่กันเลี้ยงคนหนึ่งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มี PM2.5 เยอะ อีกคนอยู่อีกที่หนึ่งหรือว่าพี่น้องกัน ปรากฎว่าคนที่อยู่ในสภาวะที่มี PM2.5 นานๆ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคภูมิแพ้มากขึ้น

ไรฝุ่นต้นเหตุที่มักถูกลืม

สุดท้ายเรื่องสารก่อภูมิแพ้ในอาการซึ่งอันนี้เราต้องแยกว่า PM2.5 ควันบุหรี่ อันนั้นเป็นการระคายเคืองทำให้อาการภูมิแพ้กำเริบ แต่สารก่อภูมิแพ้ก็คือโปรตีนต่างๆ เล็กๆ น้อยๆ ที่มันอยู่ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ เช่น ไรฝุ่น ไม่ใช่ฝุ่นละอองที่เรากวาดบ้านถูบ้านเจอกัน คือสัตว์เล็กๆ ที่กินรังแคเราเป็นอาหารรังของเขาก็คือที่นอนของเราเป็นบ้านหลักเลยอยู่กันทีเป็นล้านตัว

เพราะฉะนั้นเขาก็จะกินอาหารคือผิวเราเองแล้วเขาก็จะอุจจาระออกมาซึ่งตัวอุจจาระเป็นตัวก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้โดยเฉพาะในทางเดินหายใจ แล้วก็ยังมีซากละอองแมลงสาป เหล่านี้เป็นสิ่งที่แยกได้ยากมากหมายความว่าหลีกเลี่ยงยากมาก เพราะไรฝุ่นกับแมลงสาปอยู่กับเรามานานแสนนานเพราะฉะนั้นเราคงไม่สามารถไปกำจัดเขาให้ออกไปจากสภาพแวดล้อมได้

3 ปัจจัยจัยก่อโรคหืด เพราะฉะนั้นหลักๆ สรุปเป็นประเด็น 3 ประเด็น คือ

1.พันธุกรรม

2.สารก่อภูมิแพ้ในอากาศ ที่เพิ่มมากขึ้นมาคือพวก ละอองเกสรดอกไม้ ตั้งแต่น้ำท่วมปี 54 และร่วมกับโลกร้อนจำนวนและสัดส่วนของหญ้าต่างๆ ในประเทศไทยเปลี่ยนเยอะและพวกนี้เป็นตัวกระตุ้นให้ปริมาณสารก่อภูมิแพ้ในอากาศโดยเฉพาะละอองเกสรดอกไม้มีมากขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนอย่างชัดเจน

3. มลพิษ

สังเกตุอาการโรคหืด

จริงๆ แล้วที่ถูกเราควรเรียกว่าโรคหืด แต่เวลาที่เด็กมีหืดกำเริบเราจะเรียกว่าอาการหอบ หลักๆ เราจะแบ่งการสังเกตอาการและสาเหตุการกระตุ้นอาการหอบเป็น 2 กลุ่มอายุ คือกลุ่มอายุน้อยกว่า 5 ปีและเกิน 5 ปีขึ้นไป

กลุ่มอายุน้อยกว่า 5 ปีอาการหืดกำเริบของเขาส่วนใหญ่จะสัมพันธ์กับการติดเชื้อทางเดินหายใจก็คือการเป็นหวัด แปลว่าเด็กที่มีอาการหอบเวลาที่เขาเป็นหวัดแต่ละครั้งจะมีอาการหอบกำเริบค่อนข้างง่าย อาจจะไม่ได้รุนแรงมาก สามารถสังเกตอาการได้อย่างไรถ้าอาการไม่รุนแรง

1.เด็กจะมีอาการไอค่อนข้างมาก สมมติมีเด็ก 2 คน คนหนึ่งเป็นหอบ คนหนึ่งไม่เป็นหอบ มานั่งคู่กันคนที่เป็นหอบเขาจะไอเยอะกว่าชัดเจน เวลาไปโรงพยาบาลบางครั้งเขาจะได้ยาขยายหลอดลมมากิน คนที่เป็นโรคหืดแล้วมีอาการหอบกำเริบเขาจะกินยาขยายหลอดลมแล้วอาการไปลดลงแปลว่าอาการไอควรจะตอบสนองกับการขยายหลอดลม

2.ไอนานมากเป็นหวัดส่วนใหญ่ไอ 5-7 วัน หาย เด็กที่เป็นหอบก็จะ 7-10 วัน ไปแล้วก็ยังไม่หายไอ ถ้าไม่เป็นหวัดอาหารที่พอสังเกตได้คือเขาวิ่งเล่นเหนื่อยๆ แล้วมีอาการไอเพราะว่าการออกกำลังเป็นตัวกระตุ้นทำให้อาการหอบกำเริบได้

หรือมีอาการไอตอนกลางคืนเพราะอากาศเย็นอันนี่ก็เป็นสิ่งที่กระตุ้นทำให้อาการไอหรือหอบหืดกำเริบเพิ่มมากขึ้น ตอนกลางวันถ้าไปเจอฝุ่นละอองหรือมลพิษต่างๆ เขาก็จะมีอาการไอ ลักษณะสำคัญเลยคืออาการไอเหล่านี้ถ้าได้รับยาขยายหลอดลมแล้วเขาจะดีขึ้น

ในขณะที่เด็กโตจะเห็นค่อนข้างชัดเจนคือโอกาสการเป็นหวัดจะลดลง เพราะฉะนั้นเขาจะเป็นลักษณะของการแสดงออกที่สัมพันธ์กับกิจกรรมประจำวันมากกว่า เช่น ออกกำลังแล้วมีอาการไอ หรือสัมผัสสารก่อภูมิแพ้อันนี้ค่อนข้างชัดมาก เช่น คุณแม่กวาดบ้านอยู่ลูกไปวิ่งเล่นแถวนั้นก็เกิดอาการไอขึ้นมา

ถ้าอาการรุนแรงมากขึ้นเขาก็จะมีอาการหอบซึ่งอาการหอบเหมือนวิ่งแล้วหอบ คือหายใจแรงขึ้น หายใจไม่ทัน มีอาการบ่นได้ก็จะบอกว่าแน่นหน้าอกอันนี้เป็นลักษณะของเด็กที่มีอาการหืดกำเริบ

หืดกับโรคภูมิแพ้

อาการอื่นๆ ที่อาจจะมีได้ก็อาการของโรคภูมิแพ้ที่มักจะพบร่วมกันกับอาการโรคหืดก็คืออาการภูมิแพ้ทางจมูก ซึ่งประมาณ 85% ของเด็กที่เป็นโรคหืดจะมีภูมิแพ้ทางจมูกร่วมด้วยก็เป็นอาการน้ำมูก จาม คันและคัดแน่นจมูกมีคันตาร่วมด้วย หลายๆ คนก็จะมีอาการนอนกรน อันนี้ก็เป็นอาการของโรคภูมิแพ้จมูกอักเสบซึ่งพบร่วมกันในเด็กที่เป็นโรคหืด

RSV ต่างจากโรคหืด

RSV จะเป็นในเด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี ซึ่งอาการโรคหืดยังไม่ค่อยแสดงออกเท่าไหร่ ความคล้ายกันของเขาคือเขาจะมีอาการหอบเหมือนกันเวลาที่เราติดเชื้อ RSV เพราะว่า RSV เป็นการติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนล่าง หลอดลมฝอยมีการอักเสบเด็กจะมีหายใจเสียงหวีดเหมือนหอบหืดได้เลย

แต่ RSV พ่นยาขยายหลอดลมแล้วไม่ค่อยตอบสนองคือจะไม่หายหอบเท่าไหร่คือต้องรอให้เขาหายเอง อาการติดเชื้อดีขึ้นเสมหะในปอดลดลง อาการหอบก็จะลดลง ในขณะที่ถ้าเป็น RSV แล้วเด็กมีอาการหอบอยู่ด้วยรวมกันมันจะส่วนหนึ่งที่จะตอบสนองกับยาขยายหลอดลม

เป็นหวัดทั่วไปก็เหมือนกันปกติถ้าเป็นหวัดเป็นการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน เด็กทั่วไปก็จะไม่มีอาการหอบ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เป็นไข้หวัดธรรมดาแล้วมีอาการเหนื่อยหอบ หายใจเร็วแล้วก็ได้ยินว่าหายใจมีเสียงหวีดๆ เกิดขึ้น อันนี้เราก็จะบอกว่าแสดงว่ามีโรคหืดแฝงอยู่ เพราะฉะนั้นการตรวจ จริงๆ แล้วเราก็บอกว่าควรให้แพทย์เป็นคนวินิจฉัย

การทดสอบสมรรถภาพปอดในอายุน้อยกว่า 5 ปี มีข้อจำกัดคือทำไม่ได้เพราะต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ป่วยต้องเกิน 5 ปีไปถึงพอจะทำได้ การวินิจฉัยถ้า 5 ปีขึ้นไปแล้วเราสงสัยว่าเป็นหรือไม่เป็นเราก็ส่งตรวจสมรรถภาพปอดไปเลย เป็นจุดยากเลยเป็นยาขมสำหรับหมอเด็กเหมือนกันไม่ใช่พ่อแม่อย่างเดียว หมอเด็กเองก็เด็กคนนี้อายุ 3ปี พ่นยามาแล้ว 3 รอบใช่หรือไม่ใช่โรคหืด

เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ที่มีประวัติลูกเป็นแบบนี้เป็นหวัดแต่ละครั้งดูอาการแล้วแบบไอเยอะ ไปโรงพยาบาลก็ต้องมีการพ่นยา

การพ่นยาจะเป็นแบบฝอยละอองแล้วใช้เป็นตัวครอบแทนเป็นกรวยแล้วใช้เป็นยากดพ่น ก็ลองถามคุณหมอหลังจากที่มีการให้ยาขยายลมพ่นว่าลูก หลาน ตอบสนองไหม เสียงหายใจหวีดลดลงไหมหรือหายใจเร็วลดลงไหมหลังจากใช้ยาขยายหลอดลมถ้าเป็นอาการแบบนี้คือตอบสนองกับยาขยายหลอดลมได้ดีและปีหนึ่งเกิน 3 ครั้ง อันนี้มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคหืดสูง

แนวทางการรักษาโรคหืด

ต้องเป็นข้อความที่เราจะสื่อสารกันเป็นหลักไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครองหรือตัวผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่เราต้องแก้ความเข้าใจกันใหม่ เพราะเวลาที่คนไข้มาพบแพทย์ส่วนใหญ่เขาบอกว่ายาที่ดีที่สุดในการรักษาโรคหืดคือยาขยายหลอดลมซึ่งจริงๆ ถูกแค่บางส่วน เพราะว่ายาขยายหลอดลมจะใช้เมื่ออาการโรคหืดกำเริบคือมีอาการหอบเป็นเป้าหมายที่ลดความรุนแรงของอาการหอบที่กำเริบ

แต่จริงๆ เป้าหมายหลักของการรักษาโรคหืดคือเราต้องการให้ไม่เกิดอาการหืดกำเริบคนไข้ต้องไม่หอบเลย เพราะฉะนั้นเป้าหมายสำคัญคือควบคุมไม่ให้เกิดอาการหอบเพราะการหอบแต่ละครั้งเวลาที่เกิดอาการแต่ละครั้งมันจะมีการอักเสบในทางเดินหายใจหลอดลมฝอยจะมีการอักเสบเกิดขึ้นถ้ามีการปล่อยไว้ให้การอักเสบเป็นไปเรื่อยๆ มันจะมีการเสียสภาพของหลอดลมในระยะเบื้องต้น

ถ้าหอบยังไม่เป็นมากสภาพหลอดลมที่เสียไปสามารถกลับมาสู่สภาวะที่เป็นปกติได้ด้วยการรักษาของการใช้ยาควบคุมโรคหืด แต่ถ้าไม่ได้ใช้เลยการที่หลอดลมมันเสียสภาพมักจะกลายเป็นเสียถาวร

ยารักษาโรคหืด

เพราะฉะนั้นคิดเอาว่าถ้าเสียสภาพถาวรตั้งแต่เป็นเด็กโตขึ้นไปเขาจะไม่มีทางที่สมรรถภาพปอดเขาจะกลับมาสู่สภาวะปกติหรือเทียบเท่ากับคนอื่นได้ เพราะฉะนั้นต้องย้ำไม่ว่าโรคหืดจะเกิดเมื่อไหร่ก็ตาม ช่วงอายุไหนก็ตาม ยารักษาหลักคือยาควบคุมโรคหืดที่ไม่ทำให้เกิดอาการหอบ ซึ่งตรงนี้ในประเทศไทยหรือทั่วโลกเราจะมียาอยู่ 2 กลุ่ม

1.ยาพ่นชนิดสเตียรอยด์

2.ยากินที่สามารถใช้รักษาควบคุมโรคหืดได้ สองอย่างนี้จะเป็นยาหลักที่ใช้ในการรักษา ซึ่งผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้ทุกวันไม่ว่าจะมีอาการหืดหรือไม่มีอาการหืดก็ตาม ถ้าเมื่อไหรก็ตามที่มีอาการกำเริบขึ้นมาเมื่อนั้นเราจึงจะใช้ยาขยายหลอดลมพ่นเพื่อทำให้บรรเทาอาการหืดกำเริบเฉียบพลัน เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้วเราต้องรักษาที่สาเหตุหลักก็คือใช้ยาควบคุมโรคหืด

สำหรับยาสเตียรอยด์ จริงๆ แล้วเป็นยาที่ปลอดภัยและสามารถใช้ได้ทุกช่วงอายุแต่ก็จะมีข้อจำกัดบางอย่างเพราะว่าสเตียรอยด์ในเด็กอุปกรณ์ที่ยาจะอยู่เป็นชนิดพ่นจำเป็นจะต้องพ่นผ่านกระบอกต้องอาศัยความร่วมมือกับผู้ป่วยพอสมควรมีอุปกรณ์ต่อเพราะถ้าพ่นใส่ปากโดยตรงยาจะไม่ถึงปอด

ผู้ปกครองหลายๆ คนจะมีความกังวลพูดขึ้นมาว่าเป็นสเตียรอยด์จะทำให้ส่งผลต่อการเจริญเติบโต ใช้ไป 1-2 ปีลูกจะเตี้ยไม่โตหรือเปล่า ติดเชื้อง่าย จริงๆ ต้องบอกว่าในปริมาณของการใช้เพื่อควบคุมโรคหืดจะเป็นขนาดที่ไม่มีผลกระทบข้างเคียงเยอะขนาดนั้น

ยากลุ่มที่ 2 ยาต้านการอักเสบที่ยับยั้งการทำงานของสารลิวโคไทรอีน เป็นยาชนิดกินซึ่งเป็นยาที่สามารถใช้ควบคุมโรคหืดได้เหมือนกันแต่เราก็จะมีการบริหารยาที่ง่ายเพราะจะมีทั้งเป็นแบบผง แบบเม็ด ซึ่งอันนี้ให้เด็กกินทุกวันต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน

ทั้ง 2 ตัวมีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคหืดได้ใกล้เคียงกัน แต่ต้องย้ำว่าทั้ง 2 ตัวนี้ไม่ใช่ยาขยายหลอดลมเพราะฉะนั้นพอหลายๆ คนบอกว่าต้องใช้ไปทุกวันถ้าเวลาหืดกำเริบขึ้นมาอย่างไรก็ต้องกลับไปใช้ยาขยายหลอดลม

แต่เป้าหมายหลักของเราถ้าใช้ยาตัวใดตัวหนึ่งไม่ว่าจะเป็นสเตียรอยด์พ่น หรือยากินควบคุมโรคหืดแล้วเราหวังว่าผู้ป่วยจะไม่มีอาการหืดกำเริบและก็ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยาขยายหลอดลมสูตรพ่นเลยอันนี้คือเป้าหมายหลักจริงๆ

โรคหืดรักษาและกินยาอย่างต่อเนื่อง

จริงๆ เรามีการให้ความรู้กับแพทย์ อัพเดทความรู้เราก็จะบอกเขาไปในกลุ่มของแพทย์ผู้ดูแลโดยเฉพาะหมอเด็กเพราะเรามีการอัพเดทแนวทางการรักษาอยู่เป็นประจำแล้วก็อยากยืนยันว่ายามีความปลอดภัยในการใช้ระยะยาว

ปัญหาสำคัญเลยคือผู้ปกครองมักจะหยุดยาก่อนถึงเวลาอันควร แต่จริงๆ รอยโรคในหลอดลมฝอยที่เวลาเราเกิดโรคหืดขึ้นมาแล้วมันอาจจะเป็นแผลที่ใหญ่พอสมควร ยิ่งเป็นมานานเป็นรุนแรงก็จะเป็นแผลที่ใหญ่

เพราะฉะนั้นการที่เราจะสมานแผลตรงนี้ให้มันกลับมาปกติได้และความไวของหลอดลมมันลดลงไปได้มันต้องใช้เวลายาวนานพอสมควรอย่างน้อยเป็นปี เพราะฉะนั้นกินยาหรือพ่นยาไปประมาณ 1-2 เดือนอาการสงบดีอย่าเพิ่งหยุด ควรจะมีการประเมินก่อนซึ่งคุณหมอก็เป็นคนประเมิน ซึ่งก็จะมีหลักการหลายๆ ข้อ อยากให้ไปพบแพทย์อย่าหยุดยาเองโดยเฉียบพลันโดยตัวเองลูกอาการสงบดีแล้วก็หยุดยาจริงๆ ถึงจะอาการสงบแต่ภายในอาจจะไม่สงบก็ได้ เป็นคลื่นใต้น้ำมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า

ผลกระทบหากหยุดใช้ยา

มีผลโดยตรงกับพยาธิสภาพในปอดก็คือหลอดลมจะมีการเสียอาจจะถาวรได้ถ้ารักษาช้าหรือรักษาไม่ถูกต้องอันนี้หลอดลมเสียสภาพถาวรได้ซึ่งมันจะไปส่งผลกระทบทางอ้อมกับสุขภาพทางกายและทางใจของเด็ก

เพราะว่าเวลาที่เขามีภาวะหลอดลมไวเด็กเขาจะถูกกระตุ้นได้ง่ายถ้าเจออากาศเย็น เจอไรฝุ่นเล็กน้อยจะมีอาการไอแล้วสำคัญเลยโรคหืดมักจะไอตอนกลางคืนเด็กมักจะตื่นมาไอตอนตีสองตีสามซึ่งเป็นเวลาทองของการหลั่ง Growth Hormones เด็กจะโตได้จริงๆ แล้วเวลาทองของการนอนคือ 4ทุ่ม ถึงตีสอง แต่โรคหืดเวลากำเริบตอนกลางคืนแล้วเด็กไอตื่นขึ้นมา Growth Hormones มันจะหายไป

มีการศึกษาออกมาชัดเจนแล้วว่าเด็กที่เป็นโรคหืดแล้วรักษาด้วยสเตียรอยด์โตเร็วกว่าเด็กที่เป็นโรคหืดแล้วไม่ได้รับการรักษา 1 ปีประมาณ 1เซนติเมตรถือว่าเยอะอันนี้คือผลกระทบแน่ๆ ต่อการเจริญเติบโตแล้วถ้าตอนกลางคืนหลับไม่สนิทผลที่ตามมาคือตื่นเช้ามางอแง ปลุกไม่ตื่น ไม่อยากไปโรงเรียนทำให้ประสิทธิภาพในการเรียนลดลง ไม่ตั้งใจเรียน ทำข้อสอบไม่ได้อันนี้เราพบว่าอาจจะมีความสัมพันธ์กับสมาธิสั้นด้วย

อันนี้สำคัญอย่างที่บอกไปแล้วว่าโรคหืดกำเริบได้ด้วยการออกกำลังกาย เพราะฉะนั้นเวลาที่เด็กไปโรงเรียนสิ่งที่เขาอยากทำคือวิ่งเล่นกับเพื่อ เด็กที่เป็นโรคหืดเขาจะหยุดตัวเองโดยอัตโนมัติเพราะเขาจะรู้ว่าเขาวิ่งได้เท่านี้ เขาจะไม่วิ่งต่อหยุดเล่นเพื่อนก็วิ่งไปได้ไกลทั้งสนามแล้วแต่ลูกเราวิ่งไปได้ 50 เมตรก็หยุดวิ่งเขาก็จะรู้สึกเหมือนเป็นปมด้อยแล้วเขาก็จะไม่เข้าสังคมในเด็กเพื่อนๆ เขาได้ก็เป็นผลกระทบต่อทั้งจิตใจและร่างกายของเด็กพัฒนาการของเด็กด้วย

ภูมิแพ้ต้นตอโรคหืด

ในส่วนที่ต้องทำในเด็กเล็กหรือในเด็กที่น้อยกว่า 12 ปี เกือบ 100% จะเป็นกลุ่มที่เป็นภูมิแพ้แล้วตรวจพบว่ามีการไวต่อสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ เช่น ไรฝุ่น แมลงสาป สุนัข แมว หญ้าต่างๆ หรือเชื้อราอย่างใดอย่างหนึ่ง

ซึ่งถ้าเป็นไปได้อยากให้ไปตรวจกับกุมารแพทย์โดยเฉพาะกุมารแพทย์เชี่ยวชาญภูมิแพ้เพื่อประเมินทดสอบการแพ้ทางผิวหนังหรือตรวจเลือดดูว่าแพ้อะไร ระหว่างนี้ถ้าทราบแล้วก็อยากให้พยายามควบคุมสภาพแวดล้อมในบ้าน อย่างเช่น ถ้าแพ้ไรฝุ่นก็ต้องมีการลดปริมาณไรฝุ่นภายในบ้านให้ได้มากที่สุดซึ่งเป็นศัตรูตัวร้ายกาจ

เพราะประมาณ 70-80% ของผู่ป่วยเด็กที่เป็นภูมิแพ้จะแพ้สารก่อภูมิแพ้จากไรฝุ่นซึ่งเป็นศัตรูตัวจิ๋วที่อยู่ในบ้านเราแล้วก็สะสมอยู่บนที่นอนออกลูกออกหลานเก่งมากเป็นแมลงตัวเล็กที่มีเป็นร้อยเป็นพันเป็นล้านตัวในที่นอนเรา

ฉะนั้นการกำจัดต้องใช้ความร้อนในการกำจัดต้องซักผ้าปูที่นอนด้วยน้ำร้อน 60 องศาขึ้นไป หมายถึงเอาผ้าไปอบเพื่อกำจัดรังของเขา หรือเป็นที่นอนที่สามารถกันไรฝุ่นได้หรือเป็นผ้าคลุมพิเศษที่หุ้มที่นอนที่ไรฝุ่นไม่สามารถเข้าไปอยู่อาศัยได้

อีกสิ่งที่เป็นที่สะสมไรฝุ่นก็คือตุ๊กตาต้องเอาไปซักทำความสะอาดถ้าเอาออกได้จะดีสุดถ้าต้องเก็บไว้จริงๆ เป็นน้องเน่าขออนุญาตน้องเอาไปล้างไปซักไปทำความสะอาดเพื่อให้ปริมาณของสารก่อภูมิแพ้ของไรฝุ่นลดลง ส่วนมากเทคนิคที่จะบอกพ่อแม่คือให้เขาเลือกไว้ตัวหนึ่งแล้วก็จัดห้องให้โล่งไม่มีฝุ่นเกาะ

เลี่ยงฝุ่นPM2.5 และควันจากการเผา

ฝุ่นและควันจากการเผาทำให้เกิดโรคหืด และโรคทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ทางผิวหนังที่อาการจะกำเริบ มีอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทำการศึกษาแล้วว่าระหว่างที่มี PM2.5 หนักๆ ที่เชียงใหม่มีอัตราการเกิดโรคเส้นเลือดสมองแตกเพิ่มมากขึ้นเพราะตัว PM2.5 เองมันสามารถทำให้เกิดการอักเสบที่เส้นเลือดของร่างกายได้เพราะฉะนั้นเส้นเลือดสมองเป็นจุดเป้าหมายเลยที่ทำให้เกิดอาการผิดปกติ

เพราะฉะนั้นไม่ใช่โรคหืดอย่างเดียวแต่กลับมาที่เด็ก PM2.5 ก็มีส่วนจริงที่ทำให้ตัวอาการโรคหืดเป็นเยอะขึ้นควบคุมได้ยากขึ้น ที่การกำจัดเราจะบอกไม่ให้ลูกออกไปนอกบ้านหรือไม่ให้ PM2.5 เข้าบ้านก็คงทำไม่ได้ช่วงนี้เป็นช่วงที่ดีเพราะว่าเด็กใส่แมสเราก็จะมีโอกาสสัมผัสฝุ่น PM น้อยลง

ต้องช่วยกันรณรงค์ในเรื่องของฝุ่น PM2.5 การเผาไหม้ทั้งหลายแล้วก็มลพิษจากการเผาไหม้รถยนต์ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ PM2.5 เยอะขึ้นถ้าบ้านไหนที่ Sensitive จริงๆ ก็อาจจะจำเป็นต้องมีเครื่องฟอกอากาศภายในบ้านแล้วก็แนะนำว่าถ้าจะเป็นห้องนอนช่วงที่มี PM2.5 เยอะๆ อาจจะต้องปิดหน้าต่างตอนกลางวันแล้วก็รอยรูรั่วต่างๆ ก็พยายามปิดไม่ให้ลมมันระบายเข้ามาและฟอกอากาศอย่างน้อยประมาณครึ่งชั่วโมงก่อนเข้าห้องนอนก็สามารถช่วยได้อย่างชัดเจนพอสมควร

แนวทางการรักษาของโรคหืดและการใช้ยา

โรคหืดเป็นโรคที่เจอได้พอสมควรประมาณ 10% ในประเทศไทยทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ไม่ใช่สิ้นหวังโรคหืดสามารถรักษาได้ควบคุมได้เพียงแต่การใช้ยาต้องทำความเข้าใจว่าโรคสามารถหายได้ควบคุมได้แต่ต้องใช้ยาอย่างสม่ำเสมอและใช้ยาถูกประเภท ยาควบคุมอาการโรคหืดไม่ว่าจะเป็นยาสเตรียรอยด์สูตรพ่นหรือว่ายากินที่เป็นยาต้าน

ในการรักษาโรคหืดระยะยาวและมีความปลอดภัยขอให้ผู้ปกครองและผู้ป่วยเองมีความมั่นใจในความปลอดภัยของตัวยา แต่อย่างไรก็ตามอย่าใช้ยาเอง อย่าหยุดยาเองควรมีการนัดติดตามจากแพทย์ผู้สั่งยา เพื่อปรับยาได้สม่ำเสมอและประเมินอาการว่ารักษาเพิ่มเติมอย่างไรนอกจากยา

ขณะเดียวกันก็จะได้ทราบวิธีการปฎิบัติตัวเวลาหืดกำเริบการใช้ยาขยายหลอดลมควรทำอย่างไร มีการตรวจประเมินเรื่องของภูมิแพ้ดูว่าต้องมีการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในบ้านหรือว่าสภาพแวดล้อมทั่วไปรอบตัวของทั้งตัวเด็กเองและตัวผู้ใหญ่อย่างไร ฉะนั้นพบแพทย์สามารถดูแลได้รักษาได้ ในระยะยาวโรคหืดอาจจะไม่ได้หายขาดหายสนิทไปจากชีวิตเมื่อเป็นแล้ว แต่ควบคุมไม่ให้เกิดอาการเราก็จะสามารถมีชีวิตและการเจริญเติบโตของเด็กที่ปกติได้ไม่ต่างจากคนทั่วไป

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

A cause de cette effet secondaire, la demande du kamagra gel était si importante que son utilisation a été complètement réorientée.

รักลูก The Expert Talk Ep.42 : รักษาหืด ก่อนกระทบพัฒนาการ

รักลูก The Expert Talk Ep.42 : รักษาหืด ก่อนกระทบพัฒนาการ

โรคหืดสามารถรักษาและควบคุมด้วยการใช้ยาถูกต้อง เพื่อไม่ให้กระทบกับการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก

สาเหตุที่ตัวเลขโรคหืดเพิ่มขึ้น

ในประเทศไทยมีการสำรวจจำนวนเด็กที่เป็นโรคหืดมาประมาณ 30 ปีแล้ว และก็ทำมาเรื่อยๆ ประมาณทุก 10 ปี และพบว่าตัวเลขเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะที่ภาคเหนือในระยะ 10 ปีที่ผ่านมามีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนรวมไปถึงโรคภูมิแพ้อื่นๆ เช่น จมูกอักเสบภูมิแพ้

ซึ่งเป็นโรคคู่กันก็เจอเยอะขึ้นโดยเฉลี่ยอยู่ประมาณ 4-10% ในประเทศไทยแล้วแต่ภูมิภาค ในกรุงเทพประมาณ6-7% สำหรับทุกช่วงอายุในผู้ป่วยเด็ก ถ้าโยงเกี่ยวกับเรื่องฝุ่นมลพิษหรือเปล่าจริงต้องบอกว่า

ปัจจัยการเกิดโรคหืดแต่เดิมเราบอกมันมีหลายปัจจัยก็คือเป็นเรื่องของพันธุกรรมเพราะคุณพ่อคุณแม่ที่เป็นโรคหืดมาก่อน ลูกจะโอกาสเป็นโรคหืดได้มากขึ้นตั้งต้นมาเหมือนต้นทุนเดิม

ทีนี้ระหว่างที่เขาเติบโตมาเขาจะเผชิญกับสภาพแวดล้อมต่างๆ ซึ่งหลายๆ คนก็จะบอกว่าเป็นเรื่องของสัตว์เลี้ยงหรือเปล่าการเลี้ยงสุนัข เลี้ยงแมวในบ้านจะสามารถทำให้เกิดเป็นโรคหืดได้ไหม ซึ่งอันนี้ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่า 2 อย่างนี้จะเป็นปัจจัยทำให้เกิดหืด

มลพิษ ควันบุหรี่ตัวร้าย

แต่สิ่งที่ชัดเจนมากๆ เลยคือส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของมลพิษ มลพิษอันดับแรกที่เรายังไม่ได้พูดถึงกันก็คือ ควันบุหรี่ อันนี้ตัวร้ายเลยเพราะว่ามีการศึกษาออกมาชัดเจนว่ามารดาที่ตั้งครรภ์ และระหว่างตั้งครรภ์สูบบุหรี่จะเป็นสาเหตุเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการหอบหืดในเด็กโดยเฉพาะเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี ชัดมาก ถือว่าเป็นปัจจัยหลัก

มีการศึกษาเพิ่มเติมด้วยว่าเป็น Secondhand Smoker คือหมายความว่าตัวคุณแม่ไม่จำเป็นต้องสูบเองแต่อยู่ในครอบครัวหรือในสภาพแวดล้อมที่มีควันบุหรี่เยอะๆ อันนี้ก็ส่งผลกับปอดของเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์เหมือนกัน เพราะฉะนั้นพอเด็กออกมามีความเสี่ยงถ้ายังอยู่ในสภาพแวดล้อมเดิม เขาก็จะเจอกับสารก่อภูมิแพ้ หรือสารระคายเคืองจากบุหรี่เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ

PM2.5 ตัวการสำคัญ

ในระยะ 10 ปีถ้าเราติดตามข่าวสารกันก็จะทราบว่าภาวะโลกร้อนเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ปริมาณ PM2.5 เพิ่มมากขึ้น จริงๆ เรารู้จักกันมานานพอสมควรแล้วสำหรับฝุ่น PM2.5 แต่เพิ่งมาให้ความสนใจกันเยอะมากในปัจจุบัน ในช่วงประมาณ 10 ปีที่ผ่านมาตัวเลขจะมีการมอนิเตอร์กันเป็นประจำก็จะพบว่าในกรุงเทพมีค่ามลพิษโดยเฉพาะ PM2.5 เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน

มีการศึกษากันแล้วว่าจุดตั้งต้นก่อน เอาง่ายๆ เลยมีการศึกษากันแล้วว่าถ้าเป็นแฝดแต่แยกที่กันเลี้ยงคนหนึ่งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มี PM2.5 เยอะ อีกคนอยู่อีกที่หนึ่งหรือว่าพี่น้องกัน ปรากฎว่าคนที่อยู่ในสภาวะที่มี PM2.5 นานๆ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคภูมิแพ้มากขึ้น

ไรฝุ่นต้นเหตุที่มักถูกลืม

สุดท้ายเรื่องสารก่อภูมิแพ้ในอาการซึ่งอันนี้เราต้องแยกว่า PM2.5 ควันบุหรี่ อันนั้นเป็นการระคายเคืองทำให้อาการภูมิแพ้กำเริบ แต่สารก่อภูมิแพ้ก็คือโปรตีนต่างๆ เล็กๆ น้อยๆ ที่มันอยู่ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ เช่น ไรฝุ่น ไม่ใช่ฝุ่นละอองที่เรากวาดบ้านถูบ้านเจอกัน คือสัตว์เล็กๆ ที่กินรังแคเราเป็นอาหารรังของเขาก็คือที่นอนของเราเป็นบ้านหลักเลยอยู่กันทีเป็นล้านตัว

เพราะฉะนั้นเขาก็จะกินอาหารคือผิวเราเองแล้วเขาก็จะอุจจาระออกมาซึ่งตัวอุจจาระเป็นตัวก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้โดยเฉพาะในทางเดินหายใจ แล้วก็ยังมีซากละอองแมลงสาป เหล่านี้เป็นสิ่งที่แยกได้ยากมากหมายความว่าหลีกเลี่ยงยากมาก เพราะไรฝุ่นกับแมลงสาปอยู่กับเรามานานแสนนานเพราะฉะนั้นเราคงไม่สามารถไปกำจัดเขาให้ออกไปจากสภาพแวดล้อมได้

3 ปัจจัยจัยก่อโรคหืด เพราะฉะนั้นหลักๆ สรุปเป็นประเด็น 3 ประเด็น คือ

1.พันธุกรรม

2.สารก่อภูมิแพ้ในอากาศ ที่เพิ่มมากขึ้นมาคือพวก ละอองเกสรดอกไม้ ตั้งแต่น้ำท่วมปี 54 และร่วมกับโลกร้อนจำนวนและสัดส่วนของหญ้าต่างๆ ในประเทศไทยเปลี่ยนเยอะและพวกนี้เป็นตัวกระตุ้นให้ปริมาณสารก่อภูมิแพ้ในอากาศโดยเฉพาะละอองเกสรดอกไม้มีมากขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนอย่างชัดเจน

3. มลพิษ

สังเกตุอาการโรคหืด

จริงๆ แล้วที่ถูกเราควรเรียกว่าโรคหืด แต่เวลาที่เด็กมีหืดกำเริบเราจะเรียกว่าอาการหอบ หลักๆ เราจะแบ่งการสังเกตอาการและสาเหตุการกระตุ้นอาการหอบเป็น 2 กลุ่มอายุ คือกลุ่มอายุน้อยกว่า 5 ปีและเกิน 5 ปีขึ้นไป

กลุ่มอายุน้อยกว่า 5 ปีอาการหืดกำเริบของเขาส่วนใหญ่จะสัมพันธ์กับการติดเชื้อทางเดินหายใจก็คือการเป็นหวัด แปลว่าเด็กที่มีอาการหอบเวลาที่เขาเป็นหวัดแต่ละครั้งจะมีอาการหอบกำเริบค่อนข้างง่าย อาจจะไม่ได้รุนแรงมาก สามารถสังเกตอาการได้อย่างไรถ้าอาการไม่รุนแรง

1.เด็กจะมีอาการไอค่อนข้างมาก สมมติมีเด็ก 2 คน คนหนึ่งเป็นหอบ คนหนึ่งไม่เป็นหอบ มานั่งคู่กันคนที่เป็นหอบเขาจะไอเยอะกว่าชัดเจน เวลาไปโรงพยาบาลบางครั้งเขาจะได้ยาขยายหลอดลมมากิน คนที่เป็นโรคหืดแล้วมีอาการหอบกำเริบเขาจะกินยาขยายหลอดลมแล้วอาการไปลดลงแปลว่าอาการไอควรจะตอบสนองกับการขยายหลอดลม

2.ไอนานมากเป็นหวัดส่วนใหญ่ไอ 5-7 วัน หาย เด็กที่เป็นหอบก็จะ 7-10 วัน ไปแล้วก็ยังไม่หายไอ ถ้าไม่เป็นหวัดอาหารที่พอสังเกตได้คือเขาวิ่งเล่นเหนื่อยๆ แล้วมีอาการไอเพราะว่าการออกกำลังเป็นตัวกระตุ้นทำให้อาการหอบกำเริบได้

หรือมีอาการไอตอนกลางคืนเพราะอากาศเย็นอันนี่ก็เป็นสิ่งที่กระตุ้นทำให้อาการไอหรือหอบหืดกำเริบเพิ่มมากขึ้น ตอนกลางวันถ้าไปเจอฝุ่นละอองหรือมลพิษต่างๆ เขาก็จะมีอาการไอ ลักษณะสำคัญเลยคืออาการไอเหล่านี้ถ้าได้รับยาขยายหลอดลมแล้วเขาจะดีขึ้น

ในขณะที่เด็กโตจะเห็นค่อนข้างชัดเจนคือโอกาสการเป็นหวัดจะลดลง เพราะฉะนั้นเขาจะเป็นลักษณะของการแสดงออกที่สัมพันธ์กับกิจกรรมประจำวันมากกว่า เช่น ออกกำลังแล้วมีอาการไอ หรือสัมผัสสารก่อภูมิแพ้อันนี้ค่อนข้างชัดมาก เช่น คุณแม่กวาดบ้านอยู่ลูกไปวิ่งเล่นแถวนั้นก็เกิดอาการไอขึ้นมา

ถ้าอาการรุนแรงมากขึ้นเขาก็จะมีอาการหอบซึ่งอาการหอบเหมือนวิ่งแล้วหอบ คือหายใจแรงขึ้น หายใจไม่ทัน มีอาการบ่นได้ก็จะบอกว่าแน่นหน้าอกอันนี้เป็นลักษณะของเด็กที่มีอาการหืดกำเริบ

หืดกับโรคภูมิแพ้

อาการอื่นๆ ที่อาจจะมีได้ก็อาการของโรคภูมิแพ้ที่มักจะพบร่วมกันกับอาการโรคหืดก็คืออาการภูมิแพ้ทางจมูก ซึ่งประมาณ 85% ของเด็กที่เป็นโรคหืดจะมีภูมิแพ้ทางจมูกร่วมด้วยก็เป็นอาการน้ำมูก จาม คันและคัดแน่นจมูกมีคันตาร่วมด้วย หลายๆ คนก็จะมีอาการนอนกรน อันนี้ก็เป็นอาการของโรคภูมิแพ้จมูกอักเสบซึ่งพบร่วมกันในเด็กที่เป็นโรคหืด

RSV ต่างจากโรคหืด

RSV จะเป็นในเด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี ซึ่งอาการโรคหืดยังไม่ค่อยแสดงออกเท่าไหร่ ความคล้ายกันของเขาคือเขาจะมีอาการหอบเหมือนกันเวลาที่เราติดเชื้อ RSV เพราะว่า RSV เป็นการติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนล่าง หลอดลมฝอยมีการอักเสบเด็กจะมีหายใจเสียงหวีดเหมือนหอบหืดได้เลย

แต่ RSV พ่นยาขยายหลอดลมแล้วไม่ค่อยตอบสนองคือจะไม่หายหอบเท่าไหร่คือต้องรอให้เขาหายเอง อาการติดเชื้อดีขึ้นเสมหะในปอดลดลง อาการหอบก็จะลดลง ในขณะที่ถ้าเป็น RSV แล้วเด็กมีอาการหอบอยู่ด้วยรวมกันมันจะส่วนหนึ่งที่จะตอบสนองกับยาขยายหลอดลม

เป็นหวัดทั่วไปก็เหมือนกันปกติถ้าเป็นหวัดเป็นการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน เด็กทั่วไปก็จะไม่มีอาการหอบ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เป็นไข้หวัดธรรมดาแล้วมีอาการเหนื่อยหอบ หายใจเร็วแล้วก็ได้ยินว่าหายใจมีเสียงหวีดๆ เกิดขึ้น อันนี้เราก็จะบอกว่าแสดงว่ามีโรคหืดแฝงอยู่ เพราะฉะนั้นการตรวจ จริงๆ แล้วเราก็บอกว่าควรให้แพทย์เป็นคนวินิจฉัย

การทดสอบสมรรถภาพปอดในอายุน้อยกว่า 5 ปี มีข้อจำกัดคือทำไม่ได้เพราะต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ป่วยต้องเกิน 5 ปีไปถึงพอจะทำได้ การวินิจฉัยถ้า 5 ปีขึ้นไปแล้วเราสงสัยว่าเป็นหรือไม่เป็นเราก็ส่งตรวจสมรรถภาพปอดไปเลย เป็นจุดยากเลยเป็นยาขมสำหรับหมอเด็กเหมือนกันไม่ใช่พ่อแม่อย่างเดียว หมอเด็กเองก็เด็กคนนี้อายุ 3ปี พ่นยามาแล้ว 3 รอบใช่หรือไม่ใช่โรคหืด

เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ที่มีประวัติลูกเป็นแบบนี้เป็นหวัดแต่ละครั้งดูอาการแล้วแบบไอเยอะ ไปโรงพยาบาลก็ต้องมีการพ่นยา

การพ่นยาจะเป็นแบบฝอยละอองแล้วใช้เป็นตัวครอบแทนเป็นกรวยแล้วใช้เป็นยากดพ่น ก็ลองถามคุณหมอหลังจากที่มีการให้ยาขยายลมพ่นว่าลูก หลาน ตอบสนองไหม เสียงหายใจหวีดลดลงไหมหรือหายใจเร็วลดลงไหมหลังจากใช้ยาขยายหลอดลมถ้าเป็นอาการแบบนี้คือตอบสนองกับยาขยายหลอดลมได้ดีและปีหนึ่งเกิน 3 ครั้ง อันนี้มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคหืดสูง

แนวทางการรักษาโรคหืด

ต้องเป็นข้อความที่เราจะสื่อสารกันเป็นหลักไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครองหรือตัวผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่เราต้องแก้ความเข้าใจกันใหม่ เพราะเวลาที่คนไข้มาพบแพทย์ส่วนใหญ่เขาบอกว่ายาที่ดีที่สุดในการรักษาโรคหืดคือยาขยายหลอดลมซึ่งจริงๆ ถูกแค่บางส่วน เพราะว่ายาขยายหลอดลมจะใช้เมื่ออาการโรคหืดกำเริบคือมีอาการหอบเป็นเป้าหมายที่ลดความรุนแรงของอาการหอบที่กำเริบ

แต่จริงๆ เป้าหมายหลักของการรักษาโรคหืดคือเราต้องการให้ไม่เกิดอาการหืดกำเริบคนไข้ต้องไม่หอบเลย เพราะฉะนั้นเป้าหมายสำคัญคือควบคุมไม่ให้เกิดอาการหอบเพราะการหอบแต่ละครั้งเวลาที่เกิดอาการแต่ละครั้งมันจะมีการอักเสบในทางเดินหายใจหลอดลมฝอยจะมีการอักเสบเกิดขึ้นถ้ามีการปล่อยไว้ให้การอักเสบเป็นไปเรื่อยๆ มันจะมีการเสียสภาพของหลอดลมในระยะเบื้องต้น

ถ้าหอบยังไม่เป็นมากสภาพหลอดลมที่เสียไปสามารถกลับมาสู่สภาวะที่เป็นปกติได้ด้วยการรักษาของการใช้ยาควบคุมโรคหืด แต่ถ้าไม่ได้ใช้เลยการที่หลอดลมมันเสียสภาพมักจะกลายเป็นเสียถาวร

ยารักษาโรคหืด

เพราะฉะนั้นคิดเอาว่าถ้าเสียสภาพถาวรตั้งแต่เป็นเด็กโตขึ้นไปเขาจะไม่มีทางที่สมรรถภาพปอดเขาจะกลับมาสู่สภาวะปกติหรือเทียบเท่ากับคนอื่นได้ เพราะฉะนั้นต้องย้ำไม่ว่าโรคหืดจะเกิดเมื่อไหร่ก็ตาม ช่วงอายุไหนก็ตาม ยารักษาหลักคือยาควบคุมโรคหืดที่ไม่ทำให้เกิดอาการหอบ ซึ่งตรงนี้ในประเทศไทยหรือทั่วโลกเราจะมียาอยู่ 2 กลุ่ม

1.ยาพ่นชนิดสเตียรอยด์

2.ยากินที่สามารถใช้รักษาควบคุมโรคหืดได้ สองอย่างนี้จะเป็นยาหลักที่ใช้ในการรักษา ซึ่งผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้ทุกวันไม่ว่าจะมีอาการหืดหรือไม่มีอาการหืดก็ตาม ถ้าเมื่อไหรก็ตามที่มีอาการกำเริบขึ้นมาเมื่อนั้นเราจึงจะใช้ยาขยายหลอดลมพ่นเพื่อทำให้บรรเทาอาการหืดกำเริบเฉียบพลัน เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้วเราต้องรักษาที่สาเหตุหลักก็คือใช้ยาควบคุมโรคหืด

สำหรับยาสเตียรอยด์ จริงๆ แล้วเป็นยาที่ปลอดภัยและสามารถใช้ได้ทุกช่วงอายุแต่ก็จะมีข้อจำกัดบางอย่างเพราะว่าสเตียรอยด์ในเด็กอุปกรณ์ที่ยาจะอยู่เป็นชนิดพ่นจำเป็นจะต้องพ่นผ่านกระบอกต้องอาศัยความร่วมมือกับผู้ป่วยพอสมควรมีอุปกรณ์ต่อเพราะถ้าพ่นใส่ปากโดยตรงยาจะไม่ถึงปอด

ผู้ปกครองหลายๆ คนจะมีความกังวลพูดขึ้นมาว่าเป็นสเตียรอยด์จะทำให้ส่งผลต่อการเจริญเติบโต ใช้ไป 1-2 ปีลูกจะเตี้ยไม่โตหรือเปล่า ติดเชื้อง่าย จริงๆ ต้องบอกว่าในปริมาณของการใช้เพื่อควบคุมโรคหืดจะเป็นขนาดที่ไม่มีผลกระทบข้างเคียงเยอะขนาดนั้น

ยากลุ่มที่ 2 ยาต้านการอักเสบที่ยับยั้งการทำงานของสารลิวโคไทรอีน เป็นยาชนิดกินซึ่งเป็นยาที่สามารถใช้ควบคุมโรคหืดได้เหมือนกันแต่เราก็จะมีการบริหารยาที่ง่ายเพราะจะมีทั้งเป็นแบบผง แบบเม็ด ซึ่งอันนี้ให้เด็กกินทุกวันต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน

ทั้ง 2 ตัวมีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคหืดได้ใกล้เคียงกัน แต่ต้องย้ำว่าทั้ง 2 ตัวนี้ไม่ใช่ยาขยายหลอดลมเพราะฉะนั้นพอหลายๆ คนบอกว่าต้องใช้ไปทุกวันถ้าเวลาหืดกำเริบขึ้นมาอย่างไรก็ต้องกลับไปใช้ยาขยายหลอดลม

แต่เป้าหมายหลักของเราถ้าใช้ยาตัวใดตัวหนึ่งไม่ว่าจะเป็นสเตียรอยด์พ่น หรือยากินควบคุมโรคหืดแล้วเราหวังว่าผู้ป่วยจะไม่มีอาการหืดกำเริบและก็ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยาขยายหลอดลมสูตรพ่นเลยอันนี้คือเป้าหมายหลักจริงๆ

โรคหืดรักษาและกินยาอย่างต่อเนื่อง

จริงๆ เรามีการให้ความรู้กับแพทย์ อัพเดทความรู้เราก็จะบอกเขาไปในกลุ่มของแพทย์ผู้ดูแลโดยเฉพาะหมอเด็กเพราะเรามีการอัพเดทแนวทางการรักษาอยู่เป็นประจำแล้วก็อยากยืนยันว่ายามีความปลอดภัยในการใช้ระยะยาว

ปัญหาสำคัญเลยคือผู้ปกครองมักจะหยุดยาก่อนถึงเวลาอันควร แต่จริงๆ รอยโรคในหลอดลมฝอยที่เวลาเราเกิดโรคหืดขึ้นมาแล้วมันอาจจะเป็นแผลที่ใหญ่พอสมควร ยิ่งเป็นมานานเป็นรุนแรงก็จะเป็นแผลที่ใหญ่

เพราะฉะนั้นการที่เราจะสมานแผลตรงนี้ให้มันกลับมาปกติได้และความไวของหลอดลมมันลดลงไปได้มันต้องใช้เวลายาวนานพอสมควรอย่างน้อยเป็นปี เพราะฉะนั้นกินยาหรือพ่นยาไปประมาณ 1-2 เดือนอาการสงบดีอย่าเพิ่งหยุด ควรจะมีการประเมินก่อนซึ่งคุณหมอก็เป็นคนประเมิน ซึ่งก็จะมีหลักการหลายๆ ข้อ อยากให้ไปพบแพทย์อย่าหยุดยาเองโดยเฉียบพลันโดยตัวเองลูกอาการสงบดีแล้วก็หยุดยาจริงๆ ถึงจะอาการสงบแต่ภายในอาจจะไม่สงบก็ได้ เป็นคลื่นใต้น้ำมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า

ผลกระทบหากหยุดใช้ยา

มีผลโดยตรงกับพยาธิสภาพในปอดก็คือหลอดลมจะมีการเสียอาจจะถาวรได้ถ้ารักษาช้าหรือรักษาไม่ถูกต้องอันนี้หลอดลมเสียสภาพถาวรได้ซึ่งมันจะไปส่งผลกระทบทางอ้อมกับสุขภาพทางกายและทางใจของเด็ก

เพราะว่าเวลาที่เขามีภาวะหลอดลมไวเด็กเขาจะถูกกระตุ้นได้ง่ายถ้าเจออากาศเย็น เจอไรฝุ่นเล็กน้อยจะมีอาการไอแล้วสำคัญเลยโรคหืดมักจะไอตอนกลางคืนเด็กมักจะตื่นมาไอตอนตีสองตีสามซึ่งเป็นเวลาทองของการหลั่ง Growth Hormones เด็กจะโตได้จริงๆ แล้วเวลาทองของการนอนคือ 4ทุ่ม ถึงตีสอง แต่โรคหืดเวลากำเริบตอนกลางคืนแล้วเด็กไอตื่นขึ้นมา Growth Hormones มันจะหายไป

มีการศึกษาออกมาชัดเจนแล้วว่าเด็กที่เป็นโรคหืดแล้วรักษาด้วยสเตียรอยด์โตเร็วกว่าเด็กที่เป็นโรคหืดแล้วไม่ได้รับการรักษา 1 ปีประมาณ 1เซนติเมตรถือว่าเยอะอันนี้คือผลกระทบแน่ๆ ต่อการเจริญเติบโตแล้วถ้าตอนกลางคืนหลับไม่สนิทผลที่ตามมาคือตื่นเช้ามางอแง ปลุกไม่ตื่น ไม่อยากไปโรงเรียนทำให้ประสิทธิภาพในการเรียนลดลง ไม่ตั้งใจเรียน ทำข้อสอบไม่ได้อันนี้เราพบว่าอาจจะมีความสัมพันธ์กับสมาธิสั้นด้วย

อันนี้สำคัญอย่างที่บอกไปแล้วว่าโรคหืดกำเริบได้ด้วยการออกกำลังกาย เพราะฉะนั้นเวลาที่เด็กไปโรงเรียนสิ่งที่เขาอยากทำคือวิ่งเล่นกับเพื่อ เด็กที่เป็นโรคหืดเขาจะหยุดตัวเองโดยอัตโนมัติเพราะเขาจะรู้ว่าเขาวิ่งได้เท่านี้ เขาจะไม่วิ่งต่อหยุดเล่นเพื่อนก็วิ่งไปได้ไกลทั้งสนามแล้วแต่ลูกเราวิ่งไปได้ 50 เมตรก็หยุดวิ่งเขาก็จะรู้สึกเหมือนเป็นปมด้อยแล้วเขาก็จะไม่เข้าสังคมในเด็กเพื่อนๆ เขาได้ก็เป็นผลกระทบต่อทั้งจิตใจและร่างกายของเด็กพัฒนาการของเด็กด้วย

ภูมิแพ้ต้นตอโรคหืด

ในส่วนที่ต้องทำในเด็กเล็กหรือในเด็กที่น้อยกว่า 12 ปี เกือบ 100% จะเป็นกลุ่มที่เป็นภูมิแพ้แล้วตรวจพบว่ามีการไวต่อสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ เช่น ไรฝุ่น แมลงสาป สุนัข แมว หญ้าต่างๆ หรือเชื้อราอย่างใดอย่างหนึ่ง

ซึ่งถ้าเป็นไปได้อยากให้ไปตรวจกับกุมารแพทย์โดยเฉพาะกุมารแพทย์เชี่ยวชาญภูมิแพ้เพื่อประเมินทดสอบการแพ้ทางผิวหนังหรือตรวจเลือดดูว่าแพ้อะไร ระหว่างนี้ถ้าทราบแล้วก็อยากให้พยายามควบคุมสภาพแวดล้อมในบ้าน อย่างเช่น ถ้าแพ้ไรฝุ่นก็ต้องมีการลดปริมาณไรฝุ่นภายในบ้านให้ได้มากที่สุดซึ่งเป็นศัตรูตัวร้ายกาจ

เพราะประมาณ 70-80% ของผู่ป่วยเด็กที่เป็นภูมิแพ้จะแพ้สารก่อภูมิแพ้จากไรฝุ่นซึ่งเป็นศัตรูตัวจิ๋วที่อยู่ในบ้านเราแล้วก็สะสมอยู่บนที่นอนออกลูกออกหลานเก่งมากเป็นแมลงตัวเล็กที่มีเป็นร้อยเป็นพันเป็นล้านตัวในที่นอนเรา

ฉะนั้นการกำจัดต้องใช้ความร้อนในการกำจัดต้องซักผ้าปูที่นอนด้วยน้ำร้อน 60 องศาขึ้นไป หมายถึงเอาผ้าไปอบเพื่อกำจัดรังของเขา หรือเป็นที่นอนที่สามารถกันไรฝุ่นได้หรือเป็นผ้าคลุมพิเศษที่หุ้มที่นอนที่ไรฝุ่นไม่สามารถเข้าไปอยู่อาศัยได้

อีกสิ่งที่เป็นที่สะสมไรฝุ่นก็คือตุ๊กตาต้องเอาไปซักทำความสะอาดถ้าเอาออกได้จะดีสุดถ้าต้องเก็บไว้จริงๆ เป็นน้องเน่าขออนุญาตน้องเอาไปล้างไปซักไปทำความสะอาดเพื่อให้ปริมาณของสารก่อภูมิแพ้ของไรฝุ่นลดลง ส่วนมากเทคนิคที่จะบอกพ่อแม่คือให้เขาเลือกไว้ตัวหนึ่งแล้วก็จัดห้องให้โล่งไม่มีฝุ่นเกาะ

เลี่ยงฝุ่นPM2.5 และควันจากการเผา

ฝุ่นและควันจากการเผาทำให้เกิดโรคหืด และโรคทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ทางผิวหนังที่อาการจะกำเริบ มีอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทำการศึกษาแล้วว่าระหว่างที่มี PM2.5 หนักๆ ที่เชียงใหม่มีอัตราการเกิดโรคเส้นเลือดสมองแตกเพิ่มมากขึ้นเพราะตัว PM2.5 เองมันสามารถทำให้เกิดการอักเสบที่เส้นเลือดของร่างกายได้เพราะฉะนั้นเส้นเลือดสมองเป็นจุดเป้าหมายเลยที่ทำให้เกิดอาการผิดปกติ

เพราะฉะนั้นไม่ใช่โรคหืดอย่างเดียวแต่กลับมาที่เด็ก PM2.5 ก็มีส่วนจริงที่ทำให้ตัวอาการโรคหืดเป็นเยอะขึ้นควบคุมได้ยากขึ้น ที่การกำจัดเราจะบอกไม่ให้ลูกออกไปนอกบ้านหรือไม่ให้ PM2.5 เข้าบ้านก็คงทำไม่ได้ช่วงนี้เป็นช่วงที่ดีเพราะว่าเด็กใส่แมสเราก็จะมีโอกาสสัมผัสฝุ่น PM น้อยลง

ต้องช่วยกันรณรงค์ในเรื่องของฝุ่น PM2.5 การเผาไหม้ทั้งหลายแล้วก็มลพิษจากการเผาไหม้รถยนต์ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ PM2.5 เยอะขึ้นถ้าบ้านไหนที่ Sensitive จริงๆ ก็อาจจะจำเป็นต้องมีเครื่องฟอกอากาศภายในบ้านแล้วก็แนะนำว่าถ้าจะเป็นห้องนอนช่วงที่มี PM2.5 เยอะๆ อาจจะต้องปิดหน้าต่างตอนกลางวันแล้วก็รอยรูรั่วต่างๆ ก็พยายามปิดไม่ให้ลมมันระบายเข้ามาและฟอกอากาศอย่างน้อยประมาณครึ่งชั่วโมงก่อนเข้าห้องนอนก็สามารถช่วยได้อย่างชัดเจนพอสมควร

แนวทางการรักษาของโรคหืดและการใช้ยา

โรคหืดเป็นโรคที่เจอได้พอสมควรประมาณ 10% ในประเทศไทยทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ไม่ใช่สิ้นหวังโรคหืดสามารถรักษาได้ควบคุมได้เพียงแต่การใช้ยาต้องทำความเข้าใจว่าโรคสามารถหายได้ควบคุมได้แต่ต้องใช้ยาอย่างสม่ำเสมอและใช้ยาถูกประเภท ยาควบคุมอาการโรคหืดไม่ว่าจะเป็นยาสเตรียรอยด์สูตรพ่นหรือว่ายากินที่เป็นยาต้าน

ในการรักษาโรคหืดระยะยาวและมีความปลอดภัยขอให้ผู้ปกครองและผู้ป่วยเองมีความมั่นใจในความปลอดภัยของตัวยา แต่อย่างไรก็ตามอย่าใช้ยาเอง อย่าหยุดยาเองควรมีการนัดติดตามจากแพทย์ผู้สั่งยา เพื่อปรับยาได้สม่ำเสมอและประเมินอาการว่ารักษาเพิ่มเติมอย่างไรนอกจากยา

ขณะเดียวกันก็จะได้ทราบวิธีการปฎิบัติตัวเวลาหืดกำเริบการใช้ยาขยายหลอดลมควรทำอย่างไร มีการตรวจประเมินเรื่องของภูมิแพ้ดูว่าต้องมีการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในบ้านหรือว่าสภาพแวดล้อมทั่วไปรอบตัวของทั้งตัวเด็กเองและตัวผู้ใหญ่อย่างไร ฉะนั้นพบแพทย์สามารถดูแลได้รักษาได้ ในระยะยาวโรคหืดอาจจะไม่ได้หายขาดหายสนิทไปจากชีวิตเมื่อเป็นแล้ว แต่ควบคุมไม่ให้เกิดอาการเราก็จะสามารถมีชีวิตและการเจริญเติบโตของเด็กที่ปกติได้ไม่ต่างจากคนทั่วไป

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

 

Беслпатно сыграйте на daddy casino уже сегодня!

รักลูก The Expert Talk Ep.43 : WHAT Indoor Generation รุ่นในร่มคือ? กระทบอะไรกับเด็กยุคใหม่

รักลูก The Expert Talk Ep.43 : WHAT Indoor Generation รุ่นในร่มคือ? กระทบอะไรกับเด็กยุคใหม่

รุ่นใหม่ท้าทายการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กยุคปัจจุบันที่หวาดกลัวการออกนอกบ้านเพราะอยู่ในบ้านแสนจะสบาย แต่รู้ไหมว่าผลกระทบของการเป็นรุ่นในร่ม ส่งผลมากกว่าที่คิด เพราะหากไม่รีบแก้ไข ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จะส่งผลกระทบไปถึงยีนระดับที่จะส่งต่อไปยังรุ่นต่อไป

เราจะพาคุณพ่อคุณแม่มาทำความเข้าใจกับ Indoor Generation รุ่นในร่ม ทั้งหมด 4 EP เพื่อให้รู้จัก เข้าใจ อยู่อย่างไรกับIndoor Generation แบบไม่กระทบพัฒนาการ โดย The Expert อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

เริ่มต้นที่ EP 43 ฟังต้นเหตุของการเป็น Indoor Generation เกิดขึ้นจากอะไร

โรคขาดธรรมชาติ คืออะไร

โรคขาดธรรมชาติ Nature Deficit disorder เกิดปี 2016 โดย ริชารด์ ลูฟ นักสังคมศาสตร์และวารสารศาสตร์ อธิบายถึง ภาวะที่คนขาดธรรมชาติ โตมาในสังคมที่เจริญมาก อยู่ในตึก ไม่ได้ออกไปใช้ชัวิตนอกบ้าน มีเทคโนโลยีดิจิตอล เข้ามาเกี่ยวข้องทำให้เราไม่ออกใช้ชีวิตนอกบ้าน และที่สำคัญพื้นที่สีเขียวเข้าถึงยาก มีราคาแพง ถูกจำกัดโดยรัฐบาล

สาเหตุเหล่านี้ทำให้เด็กเจนนี้เกิดภาวะขาดธรรมชาติ ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการการเรียนรู้ วิธีการเข้าใจโลก ส่งผลต่อการปรับสมดุลชีวิต เช่น การปรับฮอร์โมน และพัฒนาการเรียนรู็ล่าช้า สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง

สถานการณ์ของเมืองไทยเป็นอย่างไร

นักสังคมศาสตร์จะมาบอกได้ยังไงว่าเป็นโรค แต่ถ้าย้อนไปดูการศึกษา 10ปีที่ผ่านมา สังคมอเมริกาที่เป็นจุดเริ่มต้น ก็มีงานวิจัยศึกษาว่าโรคขาดธรรมชาติ เป็น disorder ซึ่งที่ตปท.หากพบว่าเด็กใช้เทคโนโยลนี ดิจิตอลมากเกินไป มีอาการติดเกม หมอจะเขียนใบสั่งยาสีเขียว Green prescription ให้พ่อแม่พาไปออกเล่นกลางแจ้ง เดินป่า เที่ยวทะเล แคมป์ปิ้ง เพื่อให้เด็กได้เล่นและได้อยู่กับธรรมชาติมากขึ้น ซึ่งในตปท.มีพัฒนาการเรื่องนี้มาก

สาเหตุที่ทำให้เราเป็นโรคขาดธรรมชาติ

1.ภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ทำให้สภาพแวดล้อมไม่ปกติ เรารู้สึกว่าอากาศข้างนอกร้อน เราอยากอยู่ในห้องแอร์ ไม่อยากออกไปไหน มีโควิด มีฝุ่น เด็กก็จะอยู่ในบ้านที่มีแอร์ มีเครื่องฟอกอากาศ ม่านกรองแสง เมืองไทยต้องขาดธรรมชาติแน่นอนเพราะว่าธรรมชาติบ้านเรามันโหดร้าย

2.ปัจจัยทางด้านเทคโนโลยี ที่ทำให้เราสบายมากขึ้น เราไม่จำเป็นต้องออกนอกบ้าน ซื้อของออนไลน์ wfh ความทันทสมัยทางเทคโนโลยี elearning e mobile banking เทคโนโลยีทำให้เราเลือกอยู่ในบ้าน

3.สังคมสูงวัย สังคมที่พึ่งพิง ความจำเป็นที่ต้องออกนอกบ้านไม่มี เพราะปู่ย่าตายายอยู่ในบ้าน เป็นคนติดเตียง และในบ้านเราเป็นสังคมสูงวัย แล้วยังเป็นสังคมที่เด็กเกิดน้อย ทำให้เรามีภาวะแหว่งกลาง พ่อแม่ทำงานในเมืองหลวง ลูกหลานอยู่กับปู่ย่าตายาย แหว่งกลางที่พ่อแม่ไม่มี ทำให้โอกาสไปเล่นนอกบ้านไม่มี

ปู่ย่าตายายเลี้ยงหลานแบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นพี่เลี้ยง สื่อดิจิตอลเป็นตัวรั้งไม่ให้ออกไปในนอกบ้าน เรากลัวธรรมชาติ เพราะมีแบคทีเรีย ไม่สะอาด ไม่อนามัย มีสัตว์มีพิษ มีความสกปรก เพราะฉะนั้นเหล่านี้ทำให้พ่อแม่รู้สึกว่าธรรมชาติเป็นสิ่งที่น่ากลัว

นิยามจริงๆ คือพ่อแม่เกิดความกลัวที่จะพาลูกไปอยู่ในพื้นที่outdoor กลางแจ้ง เพราะว่ารู้สึกว่าธรรมชาติเป็นศัตรู และเกิดความหลวงไหลในเทคโนโลยี เพราะว่ามันง่าย สะดวกสบาย เพลิดเพลิน ทำให้เราไม่จำเป็นที่จะต้องออกไปหาความบันเทิงในธรรมชาติ รวมๆ แล้วกว่า 20ปีที่ผ่านมานี้ทำให้โรคขาดธรรมชาติเกิดขึ้นในหลายๆ ประเทศ

กระทบกับพัฒนาการยังไง

ทางการแพทย์เริ่มยอมรับ 1.ส่งผลต่อพัฒนาการ ถ้าเราไปอยู่กลางแจ้ง จะได้รับแสงแดดมีผลต่อการปรับฮอร์โมนเซโรโทนิน ซึ่งส่งผลต่อการควบคุมอารมณ์และการนอนหลับ เพราะฉะนั้นเวลาเราออกไปเดินเล่น วิ่ง ร่างกายก็จะได้ปรับสมดุลฮอร์โมน

ในธรรมชาติมีแบคทีเรียตามธรรมชาติ ร่างกายจำเป็นต้องได้รับไวรัสเหล่านี้เพราะเราเป็นสิ่งมีชีวิต แต่ถ้าเราอยู่ในห้องที่ปลอดเชื้อตลอดเวลา เมื่อเราป่วยเราจะป่วยหนักมาก เพราะภูมิคุ้มกันสำคัญมาก แต่หากเด็กขาดธรรมชาติ ร่างกายจะอ่อนแอ

มีงานวิจัยที่พบว่าเด็กที่อยู่ในพื้นที่กลางแจ้ง อยู่กับธรรมชาติ มีระบบภูมิคุ้มกัน ดีกว่าเด็กที่อยู่ในห้องแอร์มากกว่าถึง 5เท่า และมีโอกาสที่เด็กขาดธรรมธรรมชาติ มีโอกาสที่จะมีพัฒนาการเรียนรู้ล่าช้า LD เพราะว่าการเล่นดิจิตอลมากๆ ทำให้เด็กขาดความเข้าใจ เพราะในดิจิตอลมีอัลกอริทึมอยู่ ในธรรมชาติเด็กจะต้องหาวิธีการเหล่านั้นเอง หาวิธีการเล่น

ในธรรมชาติเด็กจะมีความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการมากกว่าปกติ บางประเทศที่ใช้การศึกษาแบบ Nature Base Education เด็กจะมีทักษะการเรียนรู้ที่รอบด้านมากกว่า ธรรมชาติเหมือนห้องเรียนที่ดีต่อตัวเด็กเอง แต่ว่าในเมืองไทยอาจจะคิดว่าออกไปแล้วร้อน แดด มลพิษ

บ้านเรารับมือหรือรักษายังไง

ยังไม่ได้นับเป็นโรค เพราะว่า WHO ยังไม่ได้รับรอง ที่ผ่านมาเป็นการศึกษางานวิจัย แต่ถ้าค้นข่าวย้อนหลังไปเมื่อ30ปี คือเจอน้อยมาก แต่เรื่องนี้ส่งผลมายาวนาน พัฒนาการเด็กจำเป็นต้องอยู่กลางแจ้ง ไปเที่ยวและได้สัมผัสกับธรรมชาติ เด็กที่กักตัว ออกไปข้างนอกไม่ได้ เรารู้สึกเฉา เบื่อๆ ไม่สดชื่น ธรรมชาติเป็นยาอย่างหนึ่งที่ช่วยบำบัดความเครียดได้ เพราะผู้ใหญ่ก็กำลังเป็นกันนะครับ

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

 

รักลูก The Expert Talk Ep.44 : WHO Indoor Generation รู้จัก “รุ่นในร่ม” เขาคือใคร

รักลูก The Expert Talk Ep.44 : WHO Indoor Generation รู้จัก “รุ่นในร่ม” เขาคือใคร

Indoor Generation รุ่นในร่ม เขาคือใคร ใช้ชีวิตแบบไหนถึงเรียกรุ่นในร่ม เป็นแล้วส่งผลกระทบอะไรกับชีวิตบ้าง

มาทำความรู้จักรุ่นในร่ม โดย The Expert อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

Indoor generation

อินดอร์มาจาก VLUX Companyที่ทำ research วิถีชีวิตคนอเมริกาพบว่า 90% ของเวลาในชีวิตต่อวัน ต่อปี ต่อเดือน อยู่ในบ้าน ร่ม อาคาร ยิม ในห้าง ในหลังคา ไม่เจอแดด

ส่งผลกระทบต่อ สุขภาพร่างกาย ไม่เจอแสงแดด ทำให้คุณภาพการนอนผิดเพี้ยน แต่ถ้าเป็นชนบทที่ไม่มีซีรีส์ จะนอนประมาณทุ่มสองทุ่ม นี่คือจังหวะตามนาฬิกาชีวิต แต่พอมีแสงไฟ มีข่าว มีงาน มีซีรีส์ ออกกำลังกาย ทำให้ชีวิตเราใช้เวลากลางวันมากขึ้น พระอาทิตย์ตกแต่เรายังนั่งทำงาน ส่งผลต่อการปรับสมดุลในร่างกาย ทำให้รุ่นนี้เป็นเด็กๆ ที่เป็นอินดอร์ ระบบฮอร์โมน และภูมิคุ้มกัน แย่กว่า 5เท่าของเด็กที่อยู่กลางแจ้งและมีโอกาสที่เจ็บป่วยมากกว่า ในบ้านมีเครื่องฟอก มีสัญญาwif

ส่งผลทำให้เด็กมีอายุสั้นกว่าพ่อแม่ด้วยโรคอ้วน หลอดเลือด ความดัน ความเครียด ภาวะซึมเศร้า เป็นปัญหาสำคัญที่จะทำให้เราตระหนัก และไม่ใช่แค่เกิดขึ้นกับเด็ก แต่เกิดขึ้นกับเจนเนอเรชั่นนี้ ถ้าร่างกายรักษาสมดุลไม่ดี วิถีชีวิตจะเปลี่ยน แล้วลักษณะทางยีน ทางพันธุกรรม โครโมโซมจะส่งต่อไปอีกรุ่น ถ้าเด็กเจนนี้ร่างกายไม่แข็งแรง ความสมดุล พัฒนาการไม่สมบูรณ์จะถ่ายทอดผ่านยีน มีโอกาสมากที่เจนถัดไปคุณภาพมนุษย์ไม่แข็งแรง

ทำไมเรากลายเป็นยุคIndoor Generation

1.การเข้าถึงธรรมชาติมีต้นทุนสูง การไปที่เที่ยวตามธรรมชาติมีราคาแพง เมื่อเทียบกับความบันเทิงทางดิจิตอลถูกกว่า พ่อแม่มีความกลัวและลำบากในการพาไปด้วย

2.เทคโนโลยีน่าหลงไหล เย้ายวน ทำให้รู้สึกว่าอยู่ด้วยแล้วตอบสนองความพึงพอใจได้

3.พ่อแม่รู้สึกปลอดภัยการอยู่กับของเล่นในบ้าน ของเล่นดิจิตอล บ้านทำให้เรารู้สึกว่าควบคุมธรรมชาติได้ ฟ้าฝน อากาศ กลิ่น และอยากอยู่คอมฟอร์ทโซน

ของเล่นพลาสติกทำให้เด็ก Stay in touch Stay indoor อยู่นิ่งๆ ในบ้าน ในร่ม ทำให้เด็กไม่อยากออกในปีนต้นไม้ ทำให้เด็กใช้เวลาในร่มมากขึ้น พ่อแม่ก็รู้สึกปลอดภัย

พ่อแม่หวาดกลัว กลัวที่จะคุมธรรมชาติไม่ได้ สกปรก เชื้อโรค ทำให้เราใช้ชีวิตแบบเจนในร่มมากขึ้น ความหวาดกลัวที่เราไม่รู้ ทำให้ใช้ชีวิตแบบเจนในร่ม และส่งผลกับพัฒนาการด้านการเรียนรู้ วิถีชีวิต สุขภาพอนามัย และระยะยาวส่งผลต่อระดับพันธุกรรม และที่สำคัญส่งผลต่อความสัมพันธ์ทางสังคม เพราะเราไม่ออกไปเจอผู้คน ไม่ออกไปสัมผัสธรรมชาติ แต่เราจะเจอกันผ่านแชท ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ผ่านโซเชียลมีเดีย เราอยู่ในโลก metaverse กับ ai ซึ่งไม่ใช่ความสัมพันธ์จริงๆ ต่อไปเราจะเป็น โรคความสัมพันธ์ทางเดียวกับดิจิตอล คือเราลดความสัมพันธ์กับมุนษย์ลง ทำให้เด็กเจนนี้คนรุ่นนี้ขาด empathy เป็นผลกระทบต่อไป

สื่อตัวเร่งเข้าสู่อินดอร์เจน

เวลาที่ลูกใช้สื่อดิจิตอล พ่อแม่จะรู้สึกว่าลูกมีสมาธิ นั่งดูการ์ตูน เล่นเกม ดูสื่อออนไลน์ ซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้ที่บกพร่องล่าช้าไปเรื่อยๆ เพราะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยคือการเรียนรู้ จากของจริง โต้ตอบ เห็นสีหน้าท่าทาง

พ่อแม่คิดว่าการเล่นดิจิตอลคือการ Play ใช้เวลาเพื่อการเล่น จริงๆ แล้วดิจิตอลไม่ใช่การเล่นเป็นชม.ผ่อนคลายไม่ใช่เพื่อการเล่น การเล่นที่แท้จริงคือการมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมต่างๆ เด็กต้องการความไว้เนื้อเชื่อใจที่จะรับมือได้ เด็กจะเล่นของใช้ในบ้าน เด็กชอบเล่น loose part เพราะว่าเป็นวิธีการรับมือและเข้าใจโลกที่จะเขาจะได้ใช้ชีวิตจริงๆ

มนุษย์เป็นสัตว์ที่นำแรงโน้มถ่วงมาเล่นเป็นของเล่นได้ ซึ่งเป็นวิธีที่เราเอาชนะและควบคุมธรรมชาติได้ การเล่นดิจิตอล ไม่ใช่การเล่นเลย เป็นสื่อที่เอาพลังงานจากเราไป ยิ่งเล่นยิ่งสมองเหนื่อยล้า ปวดตา มีความเครียด ยิ่งใช้มากยิ่งหมดพลังงาน แต่การออกไปเล่นกับธรรมชาติช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อ ฮอร์โมน เป็นการออกแบบตามธรรมชาติตามที่เด็กๆ ได้ขยับเขยื่อนร่างกาย เพื่อให้เหงื่อออก ให้กำลังแขนได้ออกกำลัง ให้กล้ามเนื้อ ข้อต่อแข็งแรง

การเล่นในเกมดิจิตอล คือสารสื่อสมองโดปามีนหลั่งทำให้รู้สึกมีความสุข แต่การเล่นตามธรรมชาติ ฮอร์โมนเอนดอร์ฟีนหลั่งออกมาทำให้ร่างกายผ่อนคลาย บรรเทาความเครียดหายไป การหลั่งฮอร์โมนเอนดอร์ฟีนจากการออกกำลังกาย ทำให้ร่างกายฟื้นฟู

เล่นดิจิตอล 1 ชม.กับเล่นกลางแจ้ง 1ชม. ทำให้เด็กกินข้าวได้ อารมณ์แจ่มใส เรียนรู้เรื่อง หลับเร็ว แต่เล่นดิจิตอลทำให้นอนไม่หลับ เพราะเครียด ภาพติดตา เพราะเราเป็นผู้ถูกใช้ แต่ถ้าเล่นตามธรรมชาติเราเป็นผู้ใช้ให้กลับมาเยียวยาเรา

1ชม.พ่อแม่ต้องให้ได้ออกไปเล่น free play ไม่มีความเครียด ไม่มีการกดดัน ไม่มียอดLike ยอดview ไม่เคยบอกว่าต้องมาดูมาไลค์สิ ธรรมชาติไม่เรียกร้องไม่ตัดสิน

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

 

รักลูก The Expert Talk Ep.45 : Indoor Generation The Effect “รุ่นในร่ม ปัญหาใหม่ท้าทายพัฒนาการ”

 

รักลูก The Expert Talk Ep.45 : Indoor Generation The Effect "รุ่นในร่ม" ปัญหาใหม่ท้าทายพัฒนาการ

 

เรื่องใหม่ เรื่องใหญ่ ท้าทายพัฒนาการ ผลลัพธ์ของการอยู่ในร่ม น่ากลัวและต้องกังวลมากกว่าที่เราคิด

กระทบพัฒนาการและการเรียนรู้ด้านใดบ้าง ชวนฟังก่อนกระทบพัฒนาการไปมากกว่าที่เป็น

โดย The Expert อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ

อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

"บกพร่องการเรียนรู้ เรื่องใหญ่!! ของรุ่นIndoor Generation”

1.กระทบกับสุขภาพร่างกายของเด็ก

การอยู่ในอาคารตลอดเวลา อยู่ในแสงไฟประดิษฐ์ ฮอร์โมนไม่ได้ปรับตามปกติ เคยมีการทดลองการฟื้นฟูร่างกายของผู้ป่วย กลุ่มแรกอยู่ในห้องที่ไม่มีอะไร ห้องที่สองมีจอทีวีที่ฉายภาพธรรมชาติ ห้องที่สาม ไม่มีจอแต่มีหน้าต่างบานใหญ่ที่เห็นธรรมชาติ

เพราะการมองเห็นธรรมชาติไม่ใช่แค่ดู แต่ต้องได้กลิ่น ได้รับอุณหภูมิผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5 มีผลต่อการฟื้นฟูผู้ป่วย เพราะเราออกแบบบ้านให้ได้เจอกับสภาพแวดล้อมบ้าง

2.การเรียนรู้

ในดิจิตอลกับการเรียนรู้ตามธรรมชาติ เป็นการเรียนรู้แบบองค์รวม เพราะเขาสามารถมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆได้ ทำไมเด็กที่เรียนรู้ตามธรรมชาติถึงเรียนรู้ได้ดีกว่า เพราะว่ามองเห็นถึงความสัมพันธ์กันทั้งหมด แต่การเรียนรู้ผ่านดิจิตอล ผ่านสื่อ ผ่านใบงาน วิดีโอ เหล่านี้ก็เรียนรู้เข้าถึง เข้าใจได้แต่ไม่เข้าใจถึงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ และเด็กขาดการเชื่อมโยง บูรณาการ

เพราะฉะนั้นเราก็มักจะบอกว่าเด็กที่เรียนแบบ outdoor จะเรียนรู้ได้รวดเร็ว เชื่อมโยง ปฏิภาณไหวพริบดี แตกต่างจากเด็กที่ใช้สื่อดิจิตอล “ LD Learning Disability ผลกระทบถ้าเป็นเด็กIndoor”

3.LD Learning Disability

เกิดจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่หรือสภาพแวดล้อมรอบตัว เด็กมีโอกาสที่จะเป็นได้ เพราะการเรียนจากสื่อดิจิตอลไม่ได้เรียนแบบองค์รวม ตัดมาเฉพาะคลิป ในเกม ออกแบบมาให้โดยไม่ต้องคิดเชื่อมโยง การเรียนรู้ในธรรมชาติเด็กต้องหาแสวงหาความเป็นไปได้ และเชื่อมโยงทางมิติสัมพัทธ์เอง

ต้นไม้ไม่บอกว่าโจทย์คืออะไร ก้อนหินไม่บอกว่าต้องตอบว่าอะไร เด็กต้องหาคำถามและคำตอบด้วยตัวเอง และความเชื่อมโยงสัมพันธ์เองทั้งหมด แต่เด็กที่อยู่ในห้องเรียน มีโจทย์ มีช้อยส์ มีวิธีการ มีเวลาที่บอกว่าต้องทำภายในระยะเวลาเท่าไหร่ ซึ่งออกแบบมาให้แล้ว เรียนในเชิงวิชาการอาจจะเก่ง แต่ทักษะการใช้ชีวิตจะลำบาก เพราะว่าในธรรมชาติกระตุ้นให้เด็กเรียนรู้ได้เร็ว มีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี

เราถึงบอกว่าโอกาสมากหากขาดธรรมชาติ ใช้ชีวิตในร่มและใช้สื่อดิจิตอลมากเกินไป อาจจะเกิดผลกระทบสูงสุดคือเป็น LD และออทิสติกเทียม เกิดจากการเลี้ยงดู สภาพแวดล้อม และการใช้สื่อดิจิตอล

“Indoor Generation หลุมพรางที่พ่อแม่สร้างให้ลูก”

จริงๆ อินดอร์เจนเป็นทั้งหลุมพรางและเป็นทั้งสิ่งที่เราสร้างมาเพื่อตอบสนองเรา อินดอร์ทำให้เราใช้สื่อมากขึ้น เวลาที่เราเห็นข่าวมีทั้งเรื่องที่ดี และแย่มากๆ ยิ่งไปดูข่าวดราม่า เวลาเด็กที่เสพสื่อที่มีความรุนแรง ความน่ากลัว การใช้กำลัง การทำร้าย

ทำให้เกิดอีกโรคคือ Mean World Sysdrome เด็กเห็นข่าว เห็นสื่อต่างๆ ว่ามีแต่ความน่ากลัว ทำให้เด็กหวาดระแวง ไม่กล้าออกไปใช้ชีวิตในโลกความเป็นจริง โลกข้างนอกน่ากลัว ยิ่งใช้สื่อมากก็ยิ่งหวาดกลัวมาก ทำให้เด็กจะเกิดอุบัติเหตุ อันตราย ความรุนแรงที่ไม่ปลอดภัย ที่เกิดขึ้นในสื่อจะเกิดขึ้นกับตัวเอง

จึงทำให้เรายิ่งอยู่ในร่มมากไปอีกเพราะเราใช้สื่อมากเกินไป ความหวาดกลัวนี้แหล่ะทำให้เรามีความเข้าใจผิดกับโลกข้างนอกมากขึ้น เกิดเป็นภาวะซึมเศร้า หวาดกลัว ไม่ปฏิสัมพันธ์กับผู้คน และอย่าลืมว่าเด็กปฐมวัยคือการเรียนรู้ผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

 

รักลูก The Expert Talk Ep.46 : Indoor Generation How to!! “เลี้ยงยังไง ให้ห่างไกลรุ่นในร่ม”

 

รักลูก The Expert Talk Ep.46 : Indoor Generation How to!! "เลี้ยงยังไง ให้ห่างรุ่นในร่ม"

 

เปลี่ยนพฤติกรรมออกห่างการเป็นรุ่นในร่ม Indoor Generation เริ่มต้นที่พ่อแม่

 

ฟังมุมมองวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดย The Expert อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ

อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

 

รู้เท่าทัน

ตระหนักรู้และอย่ามองว่าธรรมชาติเป็นศัตรู ธรรมชาตินั้นคือยาช่วยเยียวยาเราได้ โรคขาดธรรมชาติ อธิบายว่าเพราะพ่อแม่กลัวธรรมชาติ มองธรรมชาติเป็นศัตรู มองดิจิตอล ความทันสมัย ชีวิตในร่มเป็นมิตรกับเรา ให้เปลี่ยนวิธีการมองใหม่

จัดชั่วโมงการออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง

พ่อแม่ต้องคิดว่าสัปดาห์หนึ่งได้เรียนตอนไหน before school หรือ after school

พาลูกไปเล่นกลางแจ้ง เป็นพิ้นที่ Open End 

เด็กสามารถหาอะไรมาเล่นก็ได้เด็กเมื่อไปอยู่ในพื้นที่ปลายเปิด เขาจะมองหาสิ่งต่างๆ ที่อยากจะเล่นได้ด้วยตัวเอง เกิด Inititative การริเริ่มเล่นสร้างสรรค์เกิดขึ้นตามธรรมชาติ

อย่าหลงไหลในดิจิตอลมากเกินไป

การอยู่ในโลกดิจิตอลทำให้เราต้องเสียบสายตลอดเวลาเรียกว่า Plug In Culture วัฒนธรรมแบบเสียบสายตลอดเวลา ขารจ์แบต ต่อสัญญาณไวไฟ ต้องUnplug Culture หรือ Unplug Play

การเล่นที่ถอดสายออกจากอัลกอริทึ่ม ออกจากวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ออกจากวงจรไฟฟ้า เพราะทุกอย่างเป็นระบบปิด แต่ Unplug Play ทำให้เด็กใช้ความคิดริเริ่มและแสวงหาความเป็นไปได้ในการทำสิ่งนั้นและทำให้ตัวเองเพลิดเพลิน

ธรรมชาติทำให้เด็กต้องออกแบบการเล่น และเป็นผู้เล่นเอง

เป็นการฝึก logical thinking และcreative thinking เด็กที่เล่นกับธรรมชาติคือได้กระตุ้นการเรียนรู้ทุกด้าน

“ใช้สื่ออย่างรู้เท่าทัน”

ดูเพื่อกระตุ้นจิตนาการ หรือให้เห็นสิ่งที่ออกไปมากกว่าชีวิตประจำวัน ให้เห็นความแฟนตาซีบ้าง เป็นการขยายขอบเขตจินตนาการออกไปจากนอกพื้นที่บ้าน จินตนาการต้องอาศัยความแฟนตาซี แต่ขยายไปมากเท่าไหร่ถึงจะพอ

เพราะว่าแฟนตาซีต้องยืนอยู่บนพื้นฐานความจริง และการให้ดูการ์ตูน เล่นเกม มากเกินไป ทำให้เด็กเกิดภาวะคือภาวะเบื่อชีวิตจริง

เด็กเกิดภาวะเบื่อก็มีสองด้านคือ เบื่อแล้วไป Initiative ให้หายเบื่อ กับเบื่อแล้วต้องแสวงหาความแฟนตาซี ที่สนุกมากขึ้น จินตนาการมากขึ้น รุนแรงมากขึ้น เหนือจริงมากขึ้น หากเด็กติดกับดักก็จะไป Metaverse เพราะว่ามันน่าเบื่อ

พ่อแม่ต้องไม่กลัวแต่ใช้มันอย่างเท่าทัน

ใช้อย่างพอประมาณ และวางlimit ไว้ด้วย เราไม่อยากให้ลูกเสพติดโลกดิจิตอล ติดความเสมือนจริง

ที่อันตรายคือโลก Metaverse เด็กเข้าไปอยู่โลกเหนือจริง พ่อแม่ต้องเท่าทันใช้อย่างมีขอบเขตจำกัด และลดภาวะความหวาดกลัวธรรมชาติลง
ทำให้เราเปิดรับธรรมชาติ ธรรมชาติทำให้เราเรียนรู้แบบองค์รวม และการเรียนรู้ในดิจิตอล คือการเรียนรู้แบบตัดขาดความสัมพันธ์

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

 

En outre, l'utilisation de ces pilules de kamagra 100mg peut être nuisible à la santé, car les dosages ne sont pas adaptés à l'utilisateur et à ses antécédents médicaux.

รักลูก The Expert Talk Ep.49 : ความบกพร่องทางการได้ยิน ปัญหาใหญ่ขัดขวางพัฒนาการสติปัญญา

 

รักลูก The Expert Talk Ep.49 : ความบกพร่องทางการได้ยิน ปัญหาใหญ่ขัดขวางพัฒนาการสติปัญญา

เด็กแรกเกิดทุก 1,000 คน พบว่ามี 1 คนที่มีปัญหาการได้ยิน ส่งผลให้ไม่สามารถพูดได้ และหากไม่ได้รับการรักษา อาจจะทำให้เป็นเด็กพิการ

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มองเห็นความสำคัญของพัฒนาการได้ยินของเด็ก ว่าเป็นส่วนสำคัญที่นำไปสู่พัฒนาการที่ดี จึงจัดสิทธิประโยชน์คัดกรองและรักษาเพื่อคุ้มครองเด็กแรกเกิดที่มีภาวะบกพร่องการได้ยิน สำหรับเด็กไทยทุกคน เพื่อช่วยดูแลให้เด็กไทยมีพัฒนาการที่ดี

EP 49 : ฟังสาเหตุ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เด็กมีความบกพร่องทางการได้ยิน โดย The Exeprt นพ. ดาวิน เยาวพลกุล นายแพทย์เชี่ยวชาญ ศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง โสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลราชวิถี

ปัจจัยสาเหตุที่ทำให้เด็กมีปัญหาการได้ยิน

สาเหตุที่พบได้บ่อย ที่พบได้ตั้งแต่แรกเกิด อาจจะเป็นตั้งแต่แรก หรือพบได้หลังจากนั้น อาจจะมาจากพันธุกรรม จากพ่อแม่ ปู่ย่า ที่มีปัญหาการได้ยิน ปัญหาจากการตั้งครรภ์ อาจจะได้รับการติดเชื้อไวรัสบางอย่าง เช่น ไวรัสหัดเยอรมัน การคลอดก่อนกำหนด ขาดออกซิเจนขณะคลอด มีหลายสาเหตุด้วยกัน ปัญหาการได้ยินอาจจะเกิดขึ้นตอน 2-3 ขวบ เนื่องจากปัญหาการได้ยินสังเกตได้ยาก มองเห็นไม่ได้ด้วยตา พ่อแม่ต้องสังเกตและต้องดูแลเป็นพิเศษ

โรคหรืออาการที่ทำให้เด็กไม่ได้ยิน

การเป็นภายหลังเกิดขึ้นคือหากไม่ได้มีปัจจัยตั้งแต่เกิด ก็มีโอกาสได้การได้รับยาบางอย่าง การติดเชื้อรุนแรง เช่น สมองอักเสบ

พฤติกรรม ยา ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ไม่ได้ยิน สิ่งที่ทำให้หูเสื่อมได้คือ การอยู่ในที่เสียงดังมากๆ ทำให้ประสาทหูเสื่อมโรคติดเชื้อบางอย่าง เช่น ไข้สมองอักเสบ ที่พบบ่อยในเด็ก ยามีหลายชนิด ส่วนใหญ่จะเป็นยาที่ได้จากการรักษาทางการแพทย์ ก็จะทำให้มีปัญหาเรื่องนี้ได้ ซึ่งถ้าได้รับยากลุ่มนี้ก็จะได้รับการตรวจเช็กอยู่แล้ว

ระดับของเสียงที่ทำให้เกิดปัญหาการได้ยิน

ระดับของเสียงที่ดังกระทบกับการได้ยินผู้ใหญ่ด้วย เสียงที่ดังมากยิ่งมีผลมาก ถ้าดังมากๆ เวลาที่เราอยู่ในช่วงที่มีเสียงดัง แค่ไม่นานก็ทำให้ประสาทหูเสื่อมได้ เช่น ไปคอนเสริต์ออกมาหูอื้อ เป็นสัญญาณเตือนว่าเสียงดังเกินไป บางทีอาจจะฟื้นตัวขึ้นมาได้ และบางทีก็อาจจะไม่ฟิ้นตัว แต่เสียงจากโรงงานอุตสาหกรรมถ้าอยู่เป็นเวลานานๆ หลายชม.ก็ทำให้มีปัญหาการได้ยิน

ระดับเสียงที่อันตราย ระดับเสียง90 เดซิเบล ทำให้ประสาทหูเสื่อม ถ้าอยู่นานระยะเวลาประมาณ 4 ชม. เสียงประทัดดังกว่า 90เดซิเบลอยู่แล้ว เกินกว่า 100-120 เสียงระเบิด เสียงยิงปืน แค่ปังเดียวก็ทำให้ประสาทหูเสื่อมได้เลย แต่ถ้าเสียงเบาๆ อาจจะใช้เวลานานที่ทำให้เกิดปัญหา

อาการประสาทหูเสื่อม

โดยทั่วไปจะค่อยๆ แย่ลง เคยได้ยินและไม่ค่อยได้ยิน ได้ยินไม่ชัด แย่ลงเรื่อยๆ อย่างผู้ใหญ่ก็จะมีอาการเสื่อม ซึ่งประสาทหูก็เป็นอวัยวะหนึ่งที่เสื่อมตามวัยได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นพออายุมากก็มีปัญหาเรื่องหูตึง อาการเป็นมากน้อยขึ้นแต่ละคน

 การดูแลระหว่างตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการได้ยิน 

การดูแลการตั้งครรภ์ให้เป็นปกติ พบคุณหมอเป็นระยะ เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดเป็นไปอย่างปกติที่สุด การตรวจเช็กการได้ยินทำได้ตั้งแต่แรกเกิด พอคลอดก็จะมีอุปกรณ์ เครื่องมือคล้ายๆ หูฟังที่กดปุ่มดูว่าเด็กมีปัญหาหรือเปล่า พอจะบอกได้ว่าตรวจแล้วผ่านและตรวจแล้วไม่ผ่าน 

ในรายที่ไม่ผ่านจะมีมาตรการตรววจซ้ำ เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยเพิ่มเติม ซึ่งอาจจะใช้เครื่องมืออื่นๆ เพิ่ม ซึ่งโดยทั่วไปไม่มีการตรวจรู้ได้ตั้งแต่ตอนท้อง เราไม่สามารถตรวจได้ตั้งแต่ท้อง แต่ในรายที่เราพบว่าอาจจะมีความเสี่ยงของกลุ่มโรค อาการหรือมีประวัติพันธุกรรม เด็กกลุ่มนี้จะได้รับการคัดกรองตั้งแต่เกิด และติดตามเป็นระยะ คลอดก่อนกำหนดด้วยเช่น ที่ต้องมีการตรวจคัดกรอง

สถิติของเด็กที่คลอดมาแล้วมีปัญหาการได้ยินทั่วโลกทุกๆ 1,000 คนจะมีปัญหาการได้ยิน อาจจะเป็นมากน้อย หรือรุนแรงถึงหูหนวกแตกต่างกันไป เด็กที่มีปัญหาเรื่องหูหนวกก็มีจะมีปัญหาเรื่องพัฒนาการพูดตามมา 

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

 
 

loading

รักลูก The Expert Talk Ep.50 : บกพร่องทางการได้ยิน รู้ก่อน รักษาได้ก่อนไม่กระทบพัฒนาการ

 

รักลูก The Expert Talk Ep.50 : บกพร่องทางการได้ยิน รู้ก่อน รักษาได้ก่อนไม่กระทบพัฒนาการ

 

เพราะการได้ยินเกี่ยวข้องกับพัฒนาการ และสติปัญญาของเด็ก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงจัดสิทธิประโยชน์คุ้มครองเด็กแรกเกิดที่มีภาวะบกพร่องทางการได้ยิน สำหรับเด็กไทยทุกคน

ใครมีสิทธิได้รับประโยชน์? ครอบคลุม คุ้มครองตั้งแต่อายุเท่าไหร่? มีสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง?

ฟังสิทธิประโยชน์จากสปสช. โดย พญ. กฤติยา ศรีประเสริฐ ผู้เชี่ยวชาญสายงานบริหารกองทุน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และฟังวิธีการสังเกต การรักษาเด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน โดย The Exeprt นพ. ดาวิน เยาวพลกุล นายแพทย์เชี่ยวชาญ ศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง โสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลราชวิถี

สังเกต! ลูกมีปัญหาการได้ยิน

การได้ยินสังเกตยากไม่เหมือนกับแขนขา สำหรับการสังเกตในเด็กแรกเกิด ใช้วิธีดูว่าเด็กตอบสนองต่อเสียงดีหรือเปล่า สะดุ้งตกใจ เวลาเปิด ปิดประตู เสียงเรียก เสียงฟ้าร้อง สำหรับเด็ก 6เดือน เรียกแล้วหันตามเสียง ส่งเสียงอ้อแอ้ไม่เป็นคำ อายุมากกว่า 1ปี เริ่มพูดภาษา 1พยางค์ 2ขวบก็สองพยางค์สั้นๆ

หากสังเกตว่าไม่เป็นไปตามวัย หรือสงสัย ไม่ควรรอให้ถึง 2-3ขวบ แต่ถ้า 1ขวบหรือ 1ขวบครึ่งยังไม่ส่งเสียง ที่มีความหมาย ก็ไปหาหมอผู้เชี่ยวชาญได้เพื่อเช็กอย่างน้อยเป็นเรื่องการได้ยิน

รู้เร็ว รักษาได้เร็ว ลดปัญหาพัฒนาการ

ปัจจุบันเรามีวิธีการตรวจเช็กการได้ยินตั้งแต่แรกเกิดภายใน 48 ชม. มีเครื่องมือที่ใส่ไปในหูแล้วกดปุ่มดูว่าเด็กได้ยินหรือไม่ โดยเครื่องจะบอกว่าผ่านหรือไม่ผ่าน ซึ่งปัจจุบันผลักดันให้ทำกับเด็กทุกคนที่คลอดออกมา แต่เมื่อก่อนก็ไม่ได้ทำทุกราย ซึ่งถ้าทำทุกคนก็จะพบได้ตั้งแต่แรกคลอด สำหรับเด็กที่โตมาหน่อยที่เคยและไม่เคยคัดกรองมาก่อนหรืออาจจะเคย

สำหรับเด็กที่ยังไม่ให้ความร่วมมือ ก็จะวัดจากคลื่นสมอง กราฟดูว่าการตอบสนองของคลื่นสมองต่อเสียงเป็นอย่างไรเด็กที่โตมาแล้ว ตรวจเหมือนผู้ใหญ่คือใส่หูฟังครอบ แล้วให้เด็กตอบสนองต่อเสียง

การดูแลรักษา

การวินิจฉัยรวดเร็ว จะทำให้แก้ไขได้ทันท่วงที เมื่อทราบว่าเด็กมีปัญหาการได้ยิน ก็จะมาดูความรุนแรงของอาการว่าอยู่ในระดับไหน เริ่มต้นจะแก้ไขด้วยการพยายามทำให้ได้ยินด้วยการใส่เครื่องช่วยฟัง เครื่องที่ช่วยขยายเสียงให้ดังขึ้นแล้วดูการตอบสนองของเด็กว่าได้ยินไหม ควรทำให้เร็วที่สุด เพราะสมองต้องได้รับการกระตุ้นจึงจะได้รับการพัฒนาของศูนย์การได้ยินหรือศูนย์ภาษาของสมอง ถ้าเครื่องช่วยฟังไม่ได้ เป็นขั้นรุนแรงหรือหูหนวก ก็จะพิจารณาขั้นตอนการรักษาคือ ฝังประสาทหูเทียม

เครื่องช่วยฟังทำหน้าที่ขยายเสียง แต่ประสาทหูเทียมทำงานแตกต่าง ประกอบไปด้วยสองส่วน คือส่วนแรกที่เราผ่าตัด ฝังไปที่บริเวณใต้หนังศีรษะ โดยมีส่วนสายขดลวดนำไฟฟ้าใส่ไปบริเวณหูชั้นในเพื่อกระตุ้นเส้นประสาทของสมองส่วนที่รับการได้ยินโดยตรง อีกส่วนเป็นอุปกรณ์ที่จะอยู่ภายนอก ทำหน้าที่รับสัญญาณ มีไมโครโฟนรับเสียง แล้วแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอล สัญญาณดิจิตอลนี้จะส่งเข้าไปในเครื่องที่อยู่ด้านใน แล้วกระตุ้นเส้นประสาท และกระตุ้นสมองโดยตรง ในรายที่ไม่มีการทำงานของหูชั้นในแล้วก็เป็นวิธีที่เวิรค์อยู่ เพราะมันคือการกระตุ้นเส้นประสาทโดยตรง

อายุเท่าไหร่ถึงจะอยู่ในเกณฑ์ที่รักษาไม่ได้แล้วหรือพิการไปแล้ว

สมองของคนเราพัฒนาสูงสุดเมื่ออายุ 3ขวบหรือไม่เกิน 5ปี และถ้าเลยช่วงเวลานี้ไปแล้ว สมองจะพัฒนาได้น้อย ถ้ามากระตุ้นโดยเฉพาะเสียงเมื่อ 4-5ขวบไปแล้ว สมองส่วนนั้นจะไม่พัฒนาเท่าที่ควร เพราะฉะนั้นผลการรักษาจะดีหรือไม่ดี เราต้องกระตุ้นให้เร็วที่สุด เด็กได้ยินเสียงตั้งแต่ในท้องแล้ว คลอดออกมาก็ได้ยินเสียงแล้ว กว่าที่จะพูดได้หนึ่งคำที่มีความหมาย ใช้เวลาตั้ง1ปี เพราะฉะนั้นสมองต้องพัฒนา ต้องถูกกระตุ้น คนที่ไม่ได้ยินก็จะไม่ได้พัฒนา ก็จะล่าช้าไปมาก ยิ่งรอนานผลการรักษาก็จะยิ่งแย่ลง

แนะนำพ่อแม่ในการดูแลเรื่องการได้ยินของลูก ปัญหาที่หมอเจอบ่อย คือกว่าที่พ่อแม่จะพามาคือลูกโตแล้ว ทั้งอาจจะคิดว่าไม่เป็นอะไร อาจจะแค่พูดช้าและไม่ทราบข้อมูลว่าการได้ยินรักษาได้แล้ว แล้วสามารถเปลี่ยนชีวิตเด็กได้เลย จากที่อาจจะต้องใช้ภาษามือก็เป็นเด็กที่สื่อสารและพูดกับคนอื่นได้เลย หมอแนะนำว่ามีปัญหาหรือสงสัย ก็แนะนำมาปรึกษาผู้เชี่ยวชาญได้เลย

สปสช.คุ้มครองเด็กที่มีปัญหาการได้ยิน

เบื้องต้น 2564 บอร์ดสปสช. อนุมัติเด็กที่สงสัยว่าจะมีปัญหาการได้ยิน เรียกว่ากลุ่มเสี่ยง ซึ่งจะพบประมาณ 10% ของเด็กแรกเกิดที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ซึ่งต้องนำมาคัดกรองว่าจะมีปัญหาการได้ยินหรือไม่ สิทธิประโยชน์นี้ได้ตั้งแต่แรกเกิด ตรวจตั้งแรกเกิด มีอุปกรณ์ตรวจการได้ยินเบื้องต้น โดยตรวจว่าเด็กได้ยินปกติหรือเปล่า มีเครื่องมือเรียกว่า OAE ตรวจการได้ยิน ใส่เข้าไปที่หูเด็ก โดยเทสว่าผ่านไม่ผ่าน ผ่านก็กลับบ้าน แต่หากไม่ผ่าน ไม่ได้หมายความว่าจะมีปัญหา ก็จะนัดการมาตรวจติดตามอีก 2-4 สัปดาห์ เรียกว่าเป็นการคัดกรองเบื้องต้น

คำแนะนำให้ผู้ปกครองสังเกตว่าหลังจากคลอดแล้ว พัฒนาการได้ยินไปตามแนวทางการได้ยิน หากมีปัญหาสามารถพบแพทย์ เบื้องต้นแพทย์ทั่วไปประเมินได้ แต่ดีที่สุดคือพบแพยท์ หู คอ จมูก ซึ่งมีอยู่ทั่วประเทศ แต่การคัดกรองเด็กแรกเกิด จะระบุว่ามีรพ.ไหนที่เข้าร่วมโครงการคัดกรองกับสปสช.

แม้ไม่ผ่านแต่ไม่ใช่ว่าหูหนวก แต่จะตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษ ABR หรือ ASSR ซึ่งจะวินิจฉัยว่าเด็กคนนั้นมีปัญหาทางการได้ยินหรือไม่ ระดับไหน ระดับตั้งแต่เล็กน้อย ปานกลาง หรือว่ารุนแรง หรือเข้าขั้นที่เรียกว่าหูหนวก ก็จะมีการดูแลรักษาแตกต่างกันไปตามระดับ ที่สปสช.เน้นการคัดกรองการได้ยินโดยเฉพาะเด็กแรกเกิด เพราะว่าถ้าเราสามารถตรวจได้เร็ว เด็กจะเข้าสู่กระบวนการรักษารวดเร็ว เพราะเด็กหูหนวก เมื่อปล่อยไว้ระยะหนึ่งจะเป็นใบ้ ถ้าเด็กที่เป็นใบ้จะมีปัญหาทางสติปัญญา เพราะไม่สามารถได้รับเสียงไปกระตุ้นพัฒนาการ

เด็กไทยตั้งแต่แรกเกิด คัดกรองได้ฟรีเป็นสิทธิประโยชน์ ไม่ร่วมจ่าย แต่เมื่อคัดกรองแล้วมีปัญหาต้องเข้าสู่การรักษา สิทธิประโยชน์ครอบคลุมเฉพาะคนที่มีบัตรทอง แต่สิทธิราชการ ประกันสังคมก็ให้สิทธิเหมือนกัน แต่เมื่อคัดกรองแล้วจำเป็นต้องวินิจฉัยหรือรักษา ก็มีหน่วยตามสไลด์ มีทุกแห่งในแต่ละภาค ประมาณ 20-30 หน่วย การวินิจฉัยต้องใช้หมอหู คอ จมูก และนักโสตสัมผัสวิทยาในการใช้อุปกรณ์ที่ซับซ้อน อายุการใช้งานประสาทหูเทียมประมาณ 10ปี ก็จะมีอุปกรณ์เปลี่ยนตามอายุการใช้งาน ถ้ายังอยู่สิทธิก็จะดูแลไปตลอดชีวิต

อุปกรณ์ที่จะได้รับจากสิทธิสปสช.

สปสช.มีสิทธิประโยชน์เรื่องการฝังประสาทหูเทียม ถ้าเป็นหูหนวกเกิดจากประสาทหูไม่ทำงาน ทำงานไม่ได้ ใส่เครื่องช่วยฟังไม่ได้ แทนที่จะใช้ประสาทหูเดิมก็จะใช้อุปกรณ์ขนาดเล็กฝังบริเวณฐานกะโหลกและมีไมโครโฟนเล็กๆ และมีอุปกรณ์ภายนอกที่รับสัญญาณ เมื่อมีเสียงแทนที่จะได้ยินทางหู ก็จะได้ยินทางอุปกรณ์รับสัญญาณแปลงเป็นภาษาให้เด็กเข้าใจ

แต่ภาษาที่ผ่านประสาทหูเทียม จะไม่เป็นภาษา ก ข ค จะได้ยินเป็นเสียงสัญญาณ เด็กจะต้องถูกฝึกสอน ซึ่งช่วงที่เป็นช่วงสำคัญ คือการฝังไปอย่างเเดียว เด็กจะไม่ได้ยินทันที ต้องมีการสอนหรือการทำ mapping ซึ่งต้องเดินทางมาฝึกสอนโดยหมอกับเจ้าหน้าที่วันละ 1-2 ชม. แต่หลังจากนี้พ่อแม่ ครู จะต้องช่วยทำให้เด็กคุ้นเคยกับเครื่อง ใช้เวลาประมาณ1-2 ปี เหมือนฝึกลูกพูด ซึ่งสปสช.ร่วมกับสภากาชาด โดยสปสช.ชดเชยเรื่องอุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ ค่าผ่าตัด แต่ภาระการเดินทางทุก 2อาทิตย์ ทุกเดือน เนื่องจากรพ.ที่ทำได้เป็นรพ.ขนาดใหญ่ เช่น รพ.ประจำจังหวัดประมาณ 11 แห่ง สภากาชาดจึงร่วมกับสปสช.ให้ผู้ปกครองเบิกค่าใช้ในการเดินทางได้ บัตรทอง ดูแลครอบคลุม เมื่อเครื่องมีปัญหาในช่วง 1-2ปี สปสช.จะมีช่วยเหลือชดเชย เช่น เปลี่ยนสาย หรือไมโครโฟน ก็จะช่วยดูแลให้ คือดูแลตั้งแต่แรกเกิดไปจนตลอดชีวิต

สิทธิครอบคลุมไปจนถึงอายุเท่าไหร่

หลังจากที่สิทธิหมดแล้วมีกระบวนการอย่างไร เรื่องการได้ยิน พ่อแม่ต้องเข้าระบบคัดกรองการได้ยิน เมื่อคัดกรองแล้ว หมอบอกว่ามีปัญหาต้องมา follow up และการ Early Detection จะสามารถทำให้เกิดการ Early Treatment กลุ่มเหล่านี้หากดูแลรักษาแต่แรก เด็กจะไม่ต้องไปอยู่รร.หูหนวก ไม่ต้องเข้าคลาสการศึกษาพิเศษ สามารถใช้ชีวิตปกติได้ ในรพ.ที่มีหมอหู คอ จมูก นักโสตสัมผัสวิทยา รพ.ก็ตื่นตัวเพราะรู้ว่าถ้าสามารถตรวจวินิฉัยแต่แรก ก็จะทำให้การรักษาเป็นไปอย่างรวดเร็ว แต่ข้อเสียคือจะต้องมีระบบการติดตามเยอะ follow up ซึ่งพ่อแม่ต้องสนใจ ทุ่มเทช่วงต้น เพราะจะกระทบกับพัฒนาการระยะยาว ในเรื่องสุขภาพของเด็ก 1. พาเด็กฉีดวัคซีน 2. ใส่หน้ากาก และเรื่องอาหาร ระวังเรื่องโรคอ้วน ให่กินอาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็ก

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

 

รักลูก The Expert Talk Ep.51 (Rerun) : รักลูกเป็นพิเศษ ตอน “ซน ดื้อ หรือสมาธิสั้น?”

 

รักลูก The Expert Talk Ep.51 (Rerun) : รักลูกเป็นพิเศษ ตอน "ซน ดื้อ หรือสมาธิสั้น?"

 

หลายครั้งที่เราเผลอยัดเยียดความไม่ปกติให้ลูก พบคุณหมอหลายท่าน เพื่อให้ยืนยันว่าลูกเป็น!

โดยเฉพาะอาการสมาธิสั้น ที่เรียกว่าเป็นหนึ่งในอาการที่คุณพ่อคุณแม่สงสัยเป็นอันดับต้นๆ “ใช่ไหมนะ ใช่หรือเปล่า เป็นแล้วหรือยัง”

 

“รักลูกเป็นพิเศษ” จึงเชิญผู้เชี่ยวชาญ รศ. ดร. นพ.วรสิทธิ์ ศิริพรพาณิชย์ มาตอบให้คุณแม่หายข้องใจกับอาการของลูกเราว่าแค่ซน หรือใช่สมาธิสั้น

เข้าใจสมาธิสั้น

สมาธิสั้น ชื่อโรคเต็มๆ คือ ซนสมาธิสั้น ไม่ได้มีแค่สมาธิสั้น มี ซน และ สมาธิสั้น และอีกอย่างคือมีหุนหันพลันแล่นและใจร้อนด้วย

โรคนี้มี 3 อย่าง คือ กลุ่มอาการซนไม่อยู่นิ่ง และเป็นเรื่องของอาการสมาธิ เช่น สมาธิไม่ดี ไม่สามารถจดจ่ออะไรได้นาน และหุนหันพลันแล่นใจร้อน ตัวโรคเองบางคนอาจจะเด่นเรื่องของสมาธิ บางคนอาจจะเด่นเรื่องของการเคลื่อนไหวคือลักษณะไม่อยู่นิ่ง ซนมาก แต่ที่เจอบ่อยที่สุดคือทั้ง 2 อย่าง คือทั้งเรื่องของซนด้วย  แล้วก็สมาธิไม่ดีด้วยแล้วก็ใจร้อนด้วย อันนี้ครบหมดเลย

เด็กบางคนที่มีลักษณะของสมาธิก็จะไปเด่นตรงข้อสมาธิ ซึ่งหลักๆ จะมีอยู่ 9 ข้อ จะมีเกณฑ์ในการวินิจฉัย ถ้ามี 6 ใน 9 ถือว่าเป็นเรื่องของสมาธิที่มีปัญหา หรือในกรณีของข้อในเรื่องหุนหันพลันแล่นใจร้อนซึ่งจะรวมอยู่ในข้อของการซนไม่อยู่นิ่ง ก็จะรวมกันแล้วได้ 9 ข้อ ซึ่งถ้ามี 6 ใน 9 ก็ถือว่าอยู่ในกลุ่มซนไม่นิ่ง และหุนหันพลันแล่น

เพราะฉะนั้นบางทีถ้ามีทั้ง 2 อย่าง ก็จะมีครบเลยของซนสมาธิสั้น คือทั้งใจร้อน ไม่อยู่นิ่ง แล้วก็ยังมีเรื่องของสมาธิไม่ดีด้วย แต่จุดหนึ่งที่ยากคือกลุ่มที่สมาธิไม่ดีอย่างเดียวโดยไม่ซน อันนี้จะออกในลักษณะของเฉื่อยๆ เด็กที่ไม่ซนเขาก็นั่งเฉยๆ แต่เขาสมาธิไม่ดี

ฉะนั้นเขาก็จะชอบนั่งฝันกลางวันไปเรื่อยๆ นั่งเหมอมองไป หลายคนจะมองเหมือนกับว่าเป็นเด็กที่ไม่ตั้งใจเรียน เป็นเด็กที่อยู่ในความฝันจริงๆ แล้วเขาเป็นสมาธิสั้นแบบที่เป็นเรื่องของสมาธิเป็นหลัก โดยไม่มีอาการซน

แต่ภาพจำของคนที่เป็นซนสมาธิสั้น คือเด็กที่วิ่ง อยู่ไม่นิ่ง ชอบแหย่เพื่อน อันนี้คือลักษณะของอาการซนที่เป็นอาการเด่น ในความเป็นจริงแล้วมักจะอยู่ด้วยกันทั้งซนและสมาธิสั้น ฉะนั้นเลยเห็นเป็นภาพทั้งสมาธิไม่ดีด้วยและก็อยู่ไม่นิ่งด้วยก็รวมอยู่ในกลุ่มเดียวกัน

สมาธิสั้นโรคทางพัฒนาการ

ประเด็นแรกต้องเข้าใจก่อนว่า โรคซนสมาธิสั้นไม่ใช่โรคจิตเป็นโรคพัฒนาการ หลายคนมองว่าหมอที่รักษาโรคซนสมาธิสั้นเป็นจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น หรือเป็นคุณหมอพัฒนาการเด็ก หลายคนเลยคิดว่าเป็นโรคจิตเวชหรือเปล่า คำตอบคือไม่ใช่โรคซนสมาธิสั้นเป็นโรคพัฒนาการล่าช้า

พ่อแม่อาจจะมีข้อสงสัยว่าพัฒนาการล่าช้าอย่างไร ตั้งแต่เด็กก็ไปตรวจ พัฒนาการตั้งแต่เด็กก็ปกติดี พูดก็ได้ดูก็ปกติ ใช้มือปกติดี เพราะพัฒนาการหลัก 4 ด้าน มันไม่เกี่ยวข้องมากนักกับซนสมาธิสั้น เพราะซนสมาธิสั้นต้องอาศัยพัฒนาการในระดับที่สูงขึ้น หรือถ้าใช้คำที่เราคุ้นเคยกันก็คือเกี่ยวข้องกับ EF คือเรื่องของทักษะในการควบคุมตนเอง ซึ่งตรงนี้เองอาศัยพัฒนาการทางสมองส่วนหน้าคือสมองส่วน frontal

เด็กซนสมาธิสั้น

คือ เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าในการควบคุมตัวเอง เขาคุมตัวเองให้นิ่งไม่ได้เมื่อถึงวัยที่ควรจะเป็น นั่นแปลว่าเด็กขวบหรือสองขวบจะบอกได้ยากว่าเป็นซนสมาธิสั้นหรือเปล่าเพราะในวัยนั้นซนเหมือนกันหมด

แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เขาควรจะอยู่นิ่งได้คือพัฒนาการสมองของเขาบังคับให้เขาอยู่นิ่งได้ แต่เขาจะทำไม่ได้อันนั้นคือล่าช้านะ เพราะฉะนั้นส่วนใหญ่ซนสมาธิสั้นคนที่พามาโรงพยาบาลส่วนใหญ่ไม่ใช่คุณพ่อคุณแม่แต่เป็นคุณครู โดยเฉพาะคุณครูที่อยู่ในชั้นประถมจะสามารถบอกได้

เพราะคุณครูจะสังเกตได้ว่าเด็กคนนี้ไม่เหมือนเพื่อน แทนที่เพื่อนๆ นั่งเรียนกันได้แล้วคนนี้ชอบแหย่เพื่อน นั่งไปสักพักเริ่มลุกแล้วหรือชอบเหม่อออกนอกห้อง คุณครูจะเป็นคนที่สังเกตได้ แล้วหลายๆ ครั้งที่คุณครูสังเกตได้อย่างนั้นจริงๆ เป็นจริงๆ ด้วย

ขณะเดียวกันพ่อแม่พอสังเกตได้ว่าเมื่อเทียบกับพี่น้องแล้วคนนี้รู้สึกว่าเขากิจกรรมเยอะชอบเคลื่อนไหวมากกว่าเพื่อนๆ พี่น้องสักนิดหน่อย หรือว่าไม่สามารถทำงานเสร็จตามที่คุณพ่อคุณแม่สั่งได้อันนี้พอสังเกตได้

แต่จุดหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่ชอบมองพอ 2-3 ขวบ ลูกชอบวิ่งไปวิ่งมาจะชอบมาถามว่าเป็นสมาธิสั้นหรือเปล่า เพราะวัยนั้นตอบยากมาก วัยนั้นเป็นวัยที่มีเด็กมีการเคลื่อนไหวมากเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว

อย่างที่ทราบกันดีว่าเด็กเล็กๆ เด็กจะเรียนรู้ผ่านการเล่น ผ่านการเคลื่อนไหวเพราะฉะนั้นในวัยนั้นเราจะไม่มีข้อจำกัดในลักษณะของการห้ามเขาเคลื่อนที่ ให้เขากิจกรรมได้เต็มที่เพียงแต่เราจะสังเกตพฤติกรรมเล็กๆ น้อยๆ ได้ เช่น เขาอาจจะรอฟังคำสั่งคุณพ่อคุณแม่ได้ไม่จบหรือเขาชอบพูดแทรกอันนี้เป็นการสะท้อนถึงความหุนหันพลันแล่น

หรือเวลาฟังนิทานเขาอาจจะไม่สามารถฟังนิทานได้จนจบชอบถามแทรกขึ้นมาตรงนี้อาจจะเป็นเรื่องของตัวสมาธิต่างๆ ที่อาจจะไม่ดี หรือว่าใจร้อนอยากจะถามขึ้นมา อาจจะพอสังเกตอะไรเล็กๆ น้อยๆ ได้ แต่ถ้าโฟกัสเรื่องของการเคลื่อนไหวอาจจะบอกได้ยากซนเป็นธรรมชาติอยู่แล้วในช่วงเด็กเล็ก

ในEP 01 คุณหมอเดวบอกว่าเด็กมีหลายประเภท คุณหมอบอกเด็กที่มีพลังเยอะ ลูกเราอาจจะอยู่ในเกณฑ์ของเด็กที่พลังเยอะ อย่าเพิ่งไปตัดสินว่าเขาเป็นสมาธิสั้น แต่ก็ต้องดูในเรื่องที่คุณหมอบอก นั่งฟังนิทานแล้วก็ทนไม่ได้ถามขึ้นมา หรือรอฟังคำสั่งไม่ได้เกณฑ์เล็กๆ น้อยๆ ที่พ่อแม่สังเกตได้

สิ่งเหล่านี้คุณพ่อคุณแม่อาจจะสังเกตได้ แต่ไม่ใช่จุดที่จะบอกว่าเป็นหรือไม่เป็น เพราะการที่จะสังเกตว่าเป็นหรือไม่เป็นบางทีต้องใช้กุมารแพทย์ที่ได้ดูเด็กบ่อยๆ ก็อาจจะพอบอกได้ หลายๆ ครั้งเองไปเจอในครั้งแรกหมอก็ยังบอกไม่ได้ต้องใช้วิธีการติดตามก่อน

เพราะว่าลักษณะเรื่องของเด็กว่าเป็นสมาธิสั้นเราพบว่าเด็กแต่ละคนไม่ได้เป็นขาวหรือเป็นดำ เด็กเหมือนเป็น Spectrumที่คุณหมอเดวชอบใช้คำว่าเป็นผ้าสี มีโทนสีของเขาเอง

เพราะฉะนั้นในการวินิจฉัยโรคก็เช่นกันบางทีไม่ขาวหรือดำเป็นหรือไม่เป็นชัดๆ เด็กบางคนพลังงานเยอะ หลายๆ ครั้งดูคล้ายสมาธิสั้นแต่เมื่อถึงวัยที่เขาควรจะนิ่ง ถึงวัยที่เขาจะนั่งในห้องเรียนเขาทำได้ เขาก็คือเด็กคนหนึ่งที่มีพลังเยอะแค่นั้นเอง

เกณฑ์อายุเป็นสมาธิสั้น

จุดนี้เป็นจุดที่คุณพ่อคุณแม่ค่อนข้างจะกังวลกันมาก เพราะเรากลัวว่าเป็นสมาธิสั้นต้องกินยา หรือมีปัญหาเรื่องการเข้าโรงเรียน ต้องบอกอย่างนี้ว่าถ้าอาการชัดจริงๆ ประมาณสัก 2-3 ขวบบางคนก็เห็นได้แล้ว เพียงแต่โดยส่วนใหญ่อาการไม่ได้ชัดมากคือซนพอรับไหวหรือพ่อแม่พอรับได้ว่าแบบนี้คือความซนของเขา

ซึ่งพออยู่ในเกณฑ์ที่พ่อแม่รับได้บางทีอาจจะต้องใช้คุณครูเข้ามาช่วยก็คือเปรียบเทียบกับเพื่อนวัยเดียวกัน เพราะฉะนั้นจุดสำคัญหมอมองว่าสิ่งสำคัญที่เราจะดูคือพัฒนาการตามวัยของเด็ก

เด็กช่วงประมาณ 3-4 ขวบ เข้าชั้นอนุบาลแล้วส่วนใหญ่พอจะนั่งฟังนิทานได้ ส่วนใหญ่พอจะรอคิวได้ ทำตามกฎเกณฑ์ของสังคมได้ ถ้าสังเกตว่าลูกไม่สามารถทำตรงนี้ได้ เช่น ชอบแซงคิวหรือในอีกกรณีหนึ่งคือชอบลืมของบ่อยๆ กลับบ้านมาของไม่เคยครบเลย เรื่องขี้ลืมก็เป็นเกณฑ์ของการวินิจฉัยสมาธิสั้นได้อันหนึ่ง หยิบของกลับบ้านไม่ครบ ลืมกระติกน้ำ ยางลบ ปากกาอยู่โรงเรียน ดินสออยู่ที่บ้าน อะไรแบบนี้ปนกันไปหมด อันนี้ต้องเริ่มระวังแล้ว

หรือมีกรณีที่คุณพ่อคุณแม่ใช้คำว่ามีมอเตอร์ติดตัวคือมีพลังเยอะมากเคลื่อนที่ตลอดเวลาอันนี้ต้องดูว่าอาจจะซนมากกว่าปกติหรือเปล่า หรือเป็นซนสมาธิสั้นถ้าคุณพ่อคุณแม่สงสัยแนะนำให้ไปเจอกุมารแพทย์ดีกว่า

ในความเป็นจริงที่หมอพบว่าหลายๆ ครั้งคุณพ่อคุณแม่จะไปเจอกุมารแพทย์หนึ่งท่านกุมารแพทย์ด้านพัฒนาการเด็กหรือจิตแพทย์เด็กก็ดี แล้วก็จะไปเจอคนที่สอง แล้วก็สาม สี่ ห้า แล้วบางทีก็สิบคนเพื่อยืนยันว่าเป็นหรือไม่เป็น ต้องบอกก่อนว่าโรคสมาธิสั้นมันอิงกับพัฒนาการตามวัย

เพราะฉะนั้นบางทียังโตไม่ถึงระดับมันสังเกตยาก คุณหมออาจจะยังไม่ฟันธง ณ วันนั้นว่าเป็น แต่คุณพ่อคุณแม่ก็อยากรู้ว่าเป็นหรือไม่เป็นก็เลยต้องไปนู้นไปนี่ แนะนำว่าสิ่งสำคัญคือถ้าเจอใครแล้วให้คุณหมอท่านใดท่านหนึ่งตามดีกว่าคนเดียวกันตามอาการเดิมจะเห็นได้ชัดกว่าและสามารถบอกได้ง่ายว่าเป็นหรือไม่เป็น

แต่การไปเจอหนึ่งครั้งแล้วบอกว่าเป็นหรือไม่เป็นมันตอบยาก เราใช้ข้อมูลการเมินจากพ่อแม่จากคุณครูในภาพร่วม เช่น ในหนึ่งภาคการศึกษาประกอบด้วยจะทำให้เราเห็นภาพการวินิจฉัยได้มากขึ้น อันนี้จุดหนึ่งที่สำคัญถ้าเจอกับใครแล้วอยากให้เจอ เพราะส่วนใหญ่แล้วกุมารแพทย์ที่ผ่านการอบรมมาไม่ว่าจะเป็นทางด้านเรื่องของพัฒนาการก็ดี จิตแพทย์ก็ดี เขาสามารถดูแลโรคกลุ่มนี้ได้ไม่ยาก

ที่สำคัญเป็นคนเดียวดูเด็กจะได้ประโยชน์มากกว่า กว่าการไปเจอทีเดียว 5-6 คน แล้วได้คำตอบกลางๆ หลายคนไปเจอครั้งแรกๆ อาจยังวินิจฉัยไม่ได้ตั้งแต่แรกต้องอาศัยข้อมูลมากขึ้น ถ้าอยากให้มั่นใจมากขึ้นก็อาจจะ 2ท่านได้ แต่ที่เห็นกันเจอกันเป็น 10 ท่าน โดยเฉพาะกรณีที่เป็นสมาธิสั้นเทียม คุณพ่อคุณแม่ไปเจอก็จะตามว่าตกลงเทียมหรือแท้

ซึ่งตามที่บอกไปรอบก่อนว่าโรคเทียมทั้งหลายไม่มีจริงนะ ถ้าเป็นโรคคือเป็นโรค ส่วนเทียมเป็นปัญหาจากการเลี้ยงดูทำให้เกิดเป็นโรค ซึ่งในกรณีของสมาธิสั้นเทียมปัญหาการเลี้ยงดูคือการเลี้ยงดูโดยที่เด็กไม่ได้ถูกสอนเรื่องของกฎเกณฑ์ เรื่องของการรอคอย แล้วก็ตัวเด็กเองขาดการฝึกฝนเรื่องของวินัย

ยากับเด็กสมาธิสั้น

การรักษาหลักของเด็กที่เป็นซนสมาธิสั้นคือการปรับพฤติกรรมมันจะอยู่เหนือกว่าการกินยา เพราะยาที่รักษาโรคซนสมาธิสั้นไม่ใช่รักษาโรค ยารักษาโรคซนสมาธิสั้นคือยาที่ทำให้นิ่งพอนิ่งแล้วทำให้เรียนหนังสือได้

อย่างที่ได้บอกไปแล้วโรคซนสมาธิสั้น เป็นโรคทางพัฒนาการล่าช้าแปลว่าถ้าไม่ทำอะไรเลยปล่อยไปเรื่อยๆ สุดท้ายเขาจะนิ่งเมื่อพัฒนาการทางสมองเขามีมากขึ้นแต่จะมีประโยชน์อะไรถ้าเขาไปนิ่งตอน ป.5 โดยที่ ป.1-5 เขาเรียนอะไรไม่ได้เลย

เพราะฉะนั้นหลักการในการให้ยาโรคซนสมาธิสั้นคือการให้ยาที่ทำให้เด็กนิ่งพอที่จะเรียนได้ และไม่ขาดโอกาสในการเรียน ณ เวลานั้น ส่วนการทำให้โรคหายคือการปรับพฤติกรรมทั้งปรับจากตัวพ่อแม่และที่ตัวเด็ก และปรับรูปแบบการเรียนรู้ที่โรงเรียน

ยาโรคซนสมาธิสั้นเป็นยาควบคุมเฉพาะสั่งจ่ายในโรงพยาบาลเท่านั้น คนที่สั่งจ่ายได้คือกุมารแพทย์ที่ผ่านการอบรมทางด้านนี้มาจึงจะสามารถสั่งจ่ายยาได้ ตัวยาเองไม่ได้อันตรายเพียงแต่ว่าอาจมีข้อควรระวังเล็กน้อย เช่น บางคนกินแล้วจะเบื่ออาหาร หรือบางครั้งถ้าเราไม่ต้องการให้เด็กนิ่ง เช่น วันหยุดไม่ต้องกินก็ได้ซึ่งมีข้อแตกต่างจากยาอื่นๆ ที่ออกฤทธิ์ในสมองอย่างยากันชักต้องกินทุกวันห้ามขาด

แต่ยาโรคสมาธิสั้นถ้ากินไปแล้ว วันไหนเราไม่ต้องการสมาธิเราอยากให้ลูกฟรีออกแรงเต็มที่ก็ไม่ต้องกินวันนั้นได้ เพื่อให้เขาสามารถกลับมาเป็นปกติได้ในวันที่เขาไม่ได้กินยา เขากินข้าวได้เป็นปกติไม่มีเบื่ออาหาร หรือยาสมาธิโดยส่วนใหญ่ที่เรากินไปก็เพื่อให้เรียนหนังสือได้

ฉะนั้นตอนเย็นเราไม่ต้องจำเป็นกิน เพราะบางทีกินยาตอนเย็นแล้วเด็กไม่นอนเพราะยามีผลข้างเคียงที่ทำให้นอนไม่หลับด้วย จุดที่ต้องระวังคือเรื่องเบื่ออาหารและการนอนไม่หลับ ดังนั้นยาตัวนี้ส่วนใหญ่จะกินตอนเช้า บางทีถ้าตอนบ่ายมีคาบเรียนก็จะต้องกินตอนเที่ยงด้วยถ้าเป็นการกินยาชนิดออกฤทธิ์สั้น แต่ในกรณีคนที่กินยาแบบ Long acting คือออกฤทธิ์ทั้งวันก็กินยาทีเดียวตอนเช้าได้

แต่ส่วนใหญ่ยาจะหลีกเลี่ยงกินตอนช่วงเย็นๆ เพราะเด็กบางคนนอนไม่หลับ หรือในช่วงปิดเทอมก็อาจจะไม่ต้องกินยาก็ได้ เด็กได้สามารถทำน้ำหนักช่วงนั้นได้ บางคนกินยาไปแล้วกังวลมากช่วงกินยาน้ำหนักลูกไม่ขึ้นเพราะช่วงนั้นเขาจะเบื่ออาหาร

ดูแลเด็กสมาธิสั้น อดทน

คุณพ่อคุณแม่จะต้องมีความอดทนสำคัญมากเลยเพราะว่าเรามีเด็กคนหนึ่งที่ค่อนข้างซนเลยอยู่ในบ้านความคาดหวังของเด็กซนสมาธิสั้นมักถูกวินิจฉัยในช่วงวัยเรียน เป็นวัยที่พ่อแม่คาดหวังว่าจะต้องรู้เรื่องแล้ว

ซึ่งพัฒนาการสมองในวัยนั้นต้องเข้าใจเหตุผลพื้นฐานได้แต่กลายเป็นว่าเหมือนเด็กฟังแล้วก็ไม่ทำตามเหมือนไม่เข้าใจสิ่งที่พ่อแม่พูด พ่อแม่ก็จะมองว่าเด็กดื้อ จุดสำคัญต้องปรับมุมมองก่อนว่าลูกตอนนี้เป็นสมาธิสั้น หลายครั้งไม่ใช่ว่าเขาดื้อแต่เขาคุมตัวเองไม่ได้

ฉะนั้นเมื่อพ่อแม่เปลี่ยนมุมมองจากการที่เขาเป็นเด็กดื้อมองว่าเขาเป็นเด็กที่ต้องการการช่วยเหลือพอมุมมองตรงนี้เปลี่ยนหลายอย่างจะเริ่มดีขึ้น ความเครียดในตัวพ่อแม่ก็จะเริ่มลดลง

ในสภาวะที่มองว่าเขาเป็นเด็กดื้อพ่อแม่จะมีความรู้สึกหงุดหงิด พอกดดันก็จะลงไปถึงลูกแล้วเด็กวันนี้สะท้อนกลับเลยจะไม่ใช่เหมือนกับเด็กเล็กๆ ที่เขาจะยอมพ่อแม่แล้ว พอเขาไม่ยอมแล้วเขาเป็นเด็กที่ยับยั้งตัวเองได้ไม่ดีปฏิกิริยาตอบโต้จะค่อนข้างแรงพ่อแม่ยิ่งเครียดเข้าไปใหญ่กลายเป็นทั้งสองฝั่งเครียดเข้าหากันแล้วก็จะมีปัญหา เพราะฉะนั้นคนที่เป็นผู้ใหญ่กว่าต้องอดทนก่อนปรับมุมมองก่อน

ปรับพฤติกรรม

ขณะเดียวกันต้องปรับพฤติกรรม ปรับรูปแบบกิจกรรมต่างๆ ปรับสถานการณ์ต่างๆ ให้เหมาะกับเด็ก เราทราบว่าเด็กสมาธิสั้นไม่สามารถจดจ่อกับอะไรได้นาน เพราะฉะนั้นวิธีที่จะช่วยแก้ปัญหาได้ โต๊ะเขาหันหน้าเข้าหน้าต่างไม่ได้ หันหน้าเข้าทีวีไม่ได้ เขาถูกดึงความสนใจได้ง่ายมากจากสิ่งเร้าจากการที่เขาจดจ่อไม่ได้นาน

ฉะนั้นโต๊ะเขาหันหน้าเข้ากำแพง ขณะเดียวกันเองเขาไม่มีสมาธินานเพราะฉะนั้นพ่อแม่ต้องกำหนดบทเรียนให้เขาใหม่ต้องสั้นๆ เพราะว่าการรู้สึกว่าทำอะไรสำเร็จเป็นแรงจูงใจให้คนพยายามที่จะทำงานอันนั้นต่อ

หลายท่านอาจจะเคยได้ยินเรื่องตื่นเช้ามาการเก็บที่นอนวันนั้นเหมือนประสบความสำเร็จแล้วเมื่อการที่เรารู้สึกทำอะไรสักอย่างสำเร็จในตอนเช้าของวันมันเป็นแรงที่เราอยากจะทำให้อย่างอื่นให้สำเร็จต่อ เด็กเองก็เช่นกันถ้าเขาทำอะไรสักอย่างขึ้นมาได้ทำเสร็จตามที่พ่อแม่สั่งเกิดความภูมิใจอยากทำอีกไม่มีเด็กคนไหนที่ไม่ชอบให้พ่อแม่ชม เพราะฉะนั้นการปรับรูปแบบกิจกรรม ปรับสถานที่ให้เหมาะกับการเรียนอันนี้เป็นวิธีที่ช่วยได้

กิจกรรมปลดปล่อยพลังงาน เด็กกลุ่มนี้เหมือนมีมอเตอร์อยู่ในตัวเองมีพลังเยอะ ก็ปรับนิดหนึ่งมีพลังเยอะช่วยแม่ทำนู้นทำนี่ หรือคุณครูเองหนูพลังเยอะช่วยคุณครูแบกลำโพงไปที่ห้อง ช่วยลบกระดานหน่อย ให้เด็กได้ปลดปล่อยพลังงานบ้างพอเด็กได้ปลดปล่อยพลังงานบางทีเขาก็สามารถคุมตัวเองได้มากขึ้น ก็เป็นเทคนิคต่างที่จะช่วยผู้ใหญ่ต้องเป็นหลักสำคัญในการช่วยควบคุมตรงนี้

เพราะถ้าผู้ใหญ่เองควบคุมไม่ได้ความเครียดถึงกับตัวเด็กแน่นอน แล้วบางที่เด็กสะท้อนกลับมาแล้วผู้ใหญ่ก็ยิ่งเครียดแล้วสุดท้ายก็จะเป็นปัญหา แล้วพอสมาธิสั้นถ้าจัดการไม่ดีในช่วงของวัยเด็กเขาจะโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่เป็นสมาธิสั้น ผู้ใหญ่ที่เป็นสมาธิสั้นเขาไม่ได้วิ่งรอบห้องเพราะเรื่องอาการซนจะดีโดยธรรมชาติ

ผู้ใหญ่เป็นสมาธิสั้นคือผู้ใหญ่ที่ใจร้อนหุนหันพลันแล่นและสมาธิไม่ดีทำงานไม่เสร็จ เราเห็นกันบ่อยในหนังสือพิมพ์ใจร้อนอย่างที่คาดไม่ถึงมีปัญหาต่างๆ แล้วก็เป็นคนที่ต้องเปลี่ยนงานอยู่เรื่อยๆ เพราะเป็นคนที่ทำงานแล้วก็ไม่สำเร็จผัดวันประกันพรุ่ง หรือที่เราใช้คำว่า EF ในส่วนของการควบคุมตัวเองที่มีความบกพร่อง

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

 

รักลูก The Expert Talk Ep.53 : Toxic Stress รู้ก่อนลูกเครียดเป็นพิษ

 

 

รักลูก The Expert Talk Ep.53 : Toxic Stress รู้ก่อนลูกเครียดเป็นพิษ

 “ความเครียด” เป็นอาการที่ฟังดูแล้วไม่เป็นมิต แต่คุณพ่อคุณแม่รู้ไหมว่า มีความเครียดประเภทที่เกิดขึ้นแล้วดี!! และก็มี “ความเครียดที่เป็นพิษ” ที่เมื่อเกิดกับลูกแล้วส่งผลกระทบแน่นอน

ชวนฟังความเครียด 3ประเภท เพื่อเรียนรู้ เตรียมพร้อมและรับมือเพื่อไม่ให้กระทบกับสมองและพัฒนาการ โดย The Expert ผศ. ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

ความเครียดเป็นเรื่องใกล้ตัวเรามากเวลาที่เราเกิดความเครียด เวลาที่เราวิตกกังวล กลัว หวาดระแวง คิดมาก นอนไม่หลับ เป็นเรื่องที่ไม่ปกติ ทั้งเราไม่ปกติและเหตุการณ์ไม่ปกติ แต่ความเครียดไม่มีเลยไม่ได้ความเครียดเป็นสิ่งที่อยู่กับเรา มองความเครียดดีๆ ความเครียดมีหลายประเภท ความเครียดหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราต้องมีความเครียดเพราะเป็นความรู้สึกที่ทำให้เราเติบโตและพัฒนาตัวเอง เติบโตจากข้างใน Mindset เราเติบโตได้เมื่อเราผ่านพ้นปัญหาและอุปสรรคไปได้ หรือสิ่งที่ทำให้เราเครียด ทำใจเลยว่าเครียดอยู่กับเรา และความเครียดเป็นเรื่องที่ดี เหตุการณ์ที่เข้ามากระทบเราควบคุมไม่ได้ แต่ความเครียดเราควบคุมได้

ความเครียดแบ่งได้ 3 ประเภท

ความเครียดคือเวลาที่เราต้องคิดมาก ปวดหัว คิดไม่ตก ระแวง กลัว คิดมาก เป็นสิ่งที่เกิดกับด้านจิตใจ และที่เกิดกับด้านสรีระเรา เป็นการตอบสนองต่อเหตุการณ์ แล้วร่างกายมุนษย์สามารถตอบสนองต่อความเครียดได้ โดยใช้วงจรประสาทอัตโนมัติ คือ เวลาที่เราเจอความเครียด กลัว กังวล ประสาทอัตโนมัติ จะส่งสัญญาณกัน จากนั้นต่อมหมวกไตจะหลั่งสารเครียดออกมาคือ อะดรีนาลีนและคอร์ติซอล ทำให้หัวใจเต้นแรงขึ้น ม่านตาขยาย เลือดลมสูบฉีด ระดับน้ำตาลสูงขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมให้เรารับมือกับภัยที่กำลังคุกคามกายหรือจิตใจเราอยู่ นี่คือการตอบสนองร่างกายเมื่อรู้สึกเครียด

หากความเครียดนั้นเรารับมือ มีปัญหาในชีวิตประจำวัน รับมือและผ่านไปได้ คือการตอบสนองความเครียดแบบบวก Positive Stress หมายความว่า เมื่อผ่านพ้นความเครียด ปัญหาถูกแก้ไข ระดับจิตใจเราสูงขึ้น ปัญญาเราสูงขึ้น เกิดความภาคภูมิใจในตัวเองมากขึ้น เช่น เด็กคนหนึ่งตอนที่เราจะเข้ามหาวิทยาลัยเกิดความเครียด เราวางแผนต่างๆ พอเข้าได้ความเครียดหาย พอเราผ่านพ้นเหตุการณ์ไปแล้วจะเกิดความภาคภูมิใจในตัวเอง เกิดการเรียนรู้ ชีวิตพัฒนาก้าวไปข้างหน้า นี่เป็นระดับความเครียดจากสถานการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วเราปรับตัวได้
ตอนเกิดการเปลี่ยนแปลงร่างกายก็จะหลั่งสารเครียดออกมา เพื่อให้เราสามารถตื่นตัว เหมือนเวลาที่งานไม่เสร็จก็จะกระตุ้นให้งานเสร็จได้ ทำให้เราเตรียมพร้อม รับมือ แล้วก็ผ่านไปได้ ผลหลังจากนั้นก็เป็นทางบวก เราก็ได้กับมัน

ความเครียดแบบ Positive Stress ทิ้งร่องรอยไว้?
ไม่ทิ้ง เพราะทางจิตใจเราก็รู้สึกภาคภูมิใจและฟิน เมือฟินสารเครียดก็กลับเข้าไป ไม่อยู่ ไม่สะสม กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ไม่ได้เป็นการทำงานของระบบความเครียดอีกต่อไป

ความเครียดระดับที่ทนได้ ตอบสนองความเครียดระดับที่เราทนได้ เมื่อเราต้องไปเจอกับสถานการณ์ที่ไม่ถูกใจ ไม่ใช่เรื่องที่เกิดในชีวิตประจำวัน หรือปรับเปลี่ยนในช่วงวัย เช่น วัยเด็กที่ต้องเข้าอนุบาล เราสามารถพอจะเดาออกและรับมือได้ หรือการเกิดปัญหาในชีวิตประจำวันเล็กๆ น้อย หาอะไรไม่เจอแล้วต้องใช้ ลืมของไว้ที่รร. นี่คือประเภทที่1 ส่วนประเภทที่2 จะวิกฤตขึ้นมา เช่น การสูญเสีย แมวตาย การแยกจาก การสูญเสียพ่อแม่ ญาติ หรือการที่ต้องแยกจากไปจากพ่อแม่ แบบกะทันหัน เป็นความเครียดที่เกิดขึ้นผ่านไปได้ ถ้ามีคนมาช่วยซัพพอรท์ทางด้านอารมณ์ จิตใจของเรา

หากเกิดสถานการณ์รุนแรง ร้ายแรงในครอบครัว ต้องบอกว่าการตอบสนองความเครียดเหมือนเดิม แต่ไม่อยู่นานถ้าพ่อแม่ ซัพพอร์ต อยู่ข้างๆ ขณะหนึ่งเพื่อให้ผ่านสถานการณ์นั้นไปได้ เป็นความเครียดที่ทนได้ เป็นการตอบสนองต่อความเครียดที่เราทนได้ ผลหลังจากนั้นคือเราได้เรียนรู้ว่าเหตุการณ์ร้ายๆ เราสามารถอยู่ได้รอดได้ เพราะฉะนั้นในครั้งต่อไป หากเกิดเหตุการณ์แบบนี้ ความสามารถของเราจะรับมือได้ง่ายขึ้น เมื่อเรารู้ว่าเกิดสถานการณ์แบบนี้ จะรับมือยังไง มีอยู่สองอย่างคือ เมื่อเกิดสถานการณ์เลวร้ายเกิดขึ้น ประสบการณ์เดิมเรียนรู้แล้วว่า จะมีใครสักคนอยู่ข้างๆ ที่จะผ่านพ้นไปได้ เราเคยผ่านเรื่องนี้มา และนี้เป็นอีกเรื่องที่เราจะผ่านไปได้และเราเคยใช้วิธีการอะไรเมื่อก่อน ครั้งนี้ก็จะทำได้ เป็นประสบการณ์เดิมที่ทนได้ เพราะเราผ่านมันมาได้แล้ว

ความเครียดที่ทนได้ ใช้ได้กับสถานการณ์ที่ผ่านมา ทั้งภัยพิบัติ ช่วงโควิดเป็นช่วงที่พ่อแม่เองก็ต้องการคนมาซัพพอร์ทให้ผ่านพ้นวิกฤต ลูกเองก็จำเป็นต้องมีพ่อแม่หรือคนใกล้ชิดมาซัพพอร์ทไปได้ด้วย ไม่ทิ้งร่องรอยแต่ทิ้งประสบการณ์เดิมที่มีคุณภาพให้ใช้ในอนาคตแล้วก็ทนได้

Toxic Stress

การตอบสนองความเครียดแบบเป็นพิษ ดู 3 เรื่องคือ เป็นความเครียดแบบรุนแรง สถานการณ์ทำให้เครียดมาก

  1. ความเข้มข้นของความเครียด
  2. ความถี่ เจอบ่อยๆ ไม่หมดสักที เดี๋ยวก็มาให้เครียด เรื่องเดิมๆ ซ้ำ
  3. ระยะเวลายาวนาน เครียดอยู่อย่างนั้น เพราะทุกครั้งที่เราเครียดร่างกายเราจะตอบสนองโดยประสาทอัตโนมัติ หลั่งสารเครียดออกมาเพื่อให้เราตื่นตัว หากเครียดแบบนั้นนานๆ ก็อยู่แบบนั้นนานๆ นี่ละที่เป็นพิษ เมื่อเกิดแบบนั้นม่านตาขยาย นอนไม่หลับ ตื่นตัว หัวใจเต้นแรง ความดันสูง ระดับน้ำตาลสูง เพื่อให้ตัวเราเกิดความระวัง ระแวง คิดมาก ตื่นตัวตลอดเวลา ไม่ได้เข้าโหมดความผ่อนคลายเลย เครียดนานจนเป็นนิสัย ไม่สามารถเข้าสู่ภาวะปกติได้ นี่คือความเป็นพิษ ร่างกายที่ตื่นตลอดเวลาจะทำให้เหนื่อยนี่คือทางสรีระ ส่วนทางจิตใจว้าวุ่นขนาดไหนเมื่อต้องอยู่ในเหตุการณ์ที่เครียดนานๆ จนเป็นพิษ เพราะฉะนั้นการตอบสนองต่อความเครียดแบบเป็นพิษจะเกิดขึ้น เมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤตในชีวิตและไม่มีใครมาช่วยซัพพอร์ททางอารมณ์และจิตใจ คอยช่วยผ่อนคลาย

แบบไหนเรียกว่า “เครียดเป็นพิษ"

เช็กว่าลูกกำลังอยู่ในสภาวะ Toxic Stress

-มีเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด

-พ่อแม่ไม่ได้ซัพพอร์ตลูกทางอารมณ์

-ปล่อยปละละเลยทางด้านร่างกายและอารมณ์ ด้านร่างกายอาจจะไม่ห่วง แต่ในช่วงโควิดที่ผ่านมาพ่อแม่อาจจะปล่อยปละละเลย เพิกเฉยอารมณ์ของลูก

ช่วงนี้ครูหม่อมมีพ่อแม่มาปรึกษาเรื่องลูก ครูจะถามว่าเวลา wfh กับลูกและลูกเรียนที่บ้าน

1.เวลาที่ลูกวิ่งมาหาแล้วเบรคลูก เดี๋ยวก่อนอย่าเพิ่ง ห้ามเข้าห้อง ห้ามเข้ามากำลังประชุม คือลูกเล็กทั้งวัน บางทีคิดถึง พอวิ่งเข้าไปก็โดนห้าม หากว่าเคย บ่อยไหม ถ้าไม่บ่อยไม่เป็นไร แต่ถ้าอยู่แบบนั้นนานๆ ความถี่ๆ บ่อย สะสมเป็นระยะเวลานาน นี่คือเกิด Toxic Stress เด็กจะเกิดคำถามว่าทำไมหาพ่อแม่ไม่ได้ ทำไมพ่อแม่ปฏิเสธมา

2.ถูก Abuse ทางร่างกายและจิตใจ ทางเพศ ถ้าลูกประสบสถานการณ์แบบนี้ ถ้าไม่รู้แล้วไม่มีใครมาซัพพอร์ทก็เกิด Toxic Stress ได้ แต่ถ้าช่วยซัพพอร์ท ก็จะกลายเป็นความเครียดที่ทนได้

3.ดูคนในครอบครัวว่ามีใครมีปัญหาสุขภาพจิตไหม มีคนใช้สารเสพติดหรือเปล่า หรือว่ามีการแยกจากแบบกะทันหัน หย่าร้าง หากไม่มีคนไปซัพพอร์ตก็จะเกิด Toxic Stress

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues