ลูกชอบอมข้าว ป้อนเข้าไปแล้วกว่าเจ้าตัวดีจะกินได้สักคำก็นาน..นมาก เพราะแกเล่นอมไว้ ไม่ยอมเคี้ยว ไม่ยอมกลืน ทำท่าเหมือนไม่อยากกินงั้นแหละ มื้อหนึ่งๆ กว่าจะกินหมดนี่เล่นเอาคนป้อนเหนื่อยใจซะจริงๆ
สาเหตุ : ปัญหาการอมข้าว ส่วนใหญ่เกิดจากลูกอิ่มมาแล้วก่อนมื้ออาหาร ลองสังเกตดูว่าก่อนมื้ออาหารมีการให้ลูกกินจุบกินจิบหรือไม่ โดยเฉพาะของหวาน (น้ำหวาน น้ำอัดลมด้วย) พ่อแม่อาจไม่ได้ให้ลูกกินแต่ผู้ใหญ่บางคนเห็นเด็กน่ารักก็ป้อนขนมนมเนย ทำให้พอถึงมื้ออาหารจึงไม่อยากกิน
นักโภชนาการบอกว่าช่วงที่เด็กย่างเข้าขวบปีที่สองไปจนถึงก่อนเข้าประถมฯ นั้นจะมีปัญหาเรื่องการกินมาก บางคนขวบปีแรกกินเก่งอยู่ดีๆ พอเข้าขวบปีที่สองลูกกลับมีปัญหาไม่ยอมกิน เพราะช่วงนี้ลูกกำลังสนใจสิ่งหลากหลายรอบตัว ห่วงเล่น หรือเด็กบางคนติดทีวี พ่อแม่เอาทีวีมาล่อให้ลูกนั่งกับที่ จะได้ป้อนง่าย และที่สำคัญพ่อแม่ไม่ได้ฝึกให้ลูกกินด้วยตัวเอง ซึ่งเริ่มฝึกได้ตั้งแต่ลูกเริ่มหยิบของเข้าปากในขวบปีแรกนั่นแหละค่ะ พ่อแม่จึงต้องป้อนต้องบังคับให้กินกันร่ำไป ลูกเลยเบื่อ
ทางออก
เคี้ยวไม่เป็น โดยปกติแล้วเมื่อลูกอายุประมาณ 7 เดือน ฟันขึ้นแล้ว ลูกจะเริ่มรู้จักเคี้ยวอาหารได้บ้าง แต่เด็กบางคนไม่ถูกฝึกให้เคี้ยว เพราะพ่อแม่เห็นว่าพอเปลี่ยนอาหารเหลวมาเป็นอาหารที่เป็นชิ้นเป็นอันมากขึ้น ลูกไม่ยอมกิน ก็เลยแก้ปัญหาด้วยการให้ลูกกินอาหารบดหรือปั่นเหมือนเดิม กลัวว่าลูกไม่ยอมกินแล้วจะขาดสารอาหาร กินอย่างนี้ได้สารอาหารครบถ้วนดี หารู้ไม่ว่าเป็นการสร้างปัญหาในการกินให้ลูกโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
แน่นอนว่าการเคี้ยวมีความสำคัญต่อระบบการย่อยอาหารโดยตรง เพราะหากลูกเคี้ยวได้ดีเคี้ยวละเอียดการย่อยก็ทำได้ดีขึ้น การฝึกให้ลูกเคี้ยวอาหารในช่วงขวบปีแรกจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเท่ากับว่าลูกได้ฝึกการเคลื่อนไหวขากรรไกร ฝึกกล้ามเนื้อกระพุ้งแก้ม กล้ามเนื้อคอ ฝึกการใช้ลิ้นในการตวัด ดุนอาหารฯลฯ ทำให้ลูกเคี้ยวได้ดีในเวลาต่อมา
นอกจากนี้ การเคี้ยวจะทำให้เด็กสามารถทดสอบความสามารถของตัวเองไปด้วย เช่น ได้ควบคุมการเคี้ยว การกลืนด้วยตัวเอง (หลังจากที่ถูกคนอื่นควบคุมมาตลอด) ซึ่งเด็กที่กินอาหารปั่นจะไม่ได้รับสิ่งนี้ และแม้ว่าโตขึ้นมาเด็กจะเคี้ยวอาหารได้เองตามธรรมชาติ แต่ส่วนใหญ่เด็กจะไม่ค่อยมีความรู้สึกที่ดีต่อการกินนัก ไม่ค่อยชอบกิน กลายเป็นคนกินยาก เลือกกิน ซึ่งจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย
สาเหตุ : อย่างที่บอกค่ะ ส่วนใหญ่ปัญหาลูกไม่เคี้ยวจะเกิดจากการเลี้ยงดูลูกตั้งแต่ขวบปีแรก พ่อแม่บางคนไม่สนใจให้อาหารเสริมกับลูก หรือให้ช้าไป เพราะคิดว่านมให้สาร อาหารที่มีคุณค่ามากกว่า หรือเมื่อถึงวัยที่ลูกเริ่มฟันขึ้น ไม่ฝึกให้ลูกกัดเคี้ยวอาหารแข็งบ้างยังให้กินอาหารบดเหลวอยู่ จะด้วยความสะดวกในการป้อน หรือกลัวลูกไม่ได้สารอาหารครบถ้วนก็ตาม ลูกเลยไม่ได้ฝึกเคี้ยวซักที พอลูกไม่เคี้ยว พ่อแม่ก็ไม่พยายาม ปล่อยเลยตามเลย หรือไม่ก็ปล่อยลูกไว้กับพี่เลี้ยงที่ตามใจเด็ก เมื่อเด็กไม่เคี้ยว ก็ใช้วิธีบดอย่างที่เคยทำมา เวลาผ่านไปกว่าจะรู้ปัญหาก็เกิดขึ้นแล้ว
ทางออก
เลือกกิน หนูน้อยบางคนช่างเลือกอาหารเหลือเกิน อาหารชนิดไหนแปลกหน้าเข้ามาพ่อเป็นปฏิเสธ จริงๆ แล้วก็เป็นปกติของคนเรา แต่หากพ่อแม่ยอมลูก เห็นลูกปฏิเสธไม่กินก็ไม่ให้ลูกลองอาหารใหม่ๆ ให้กินอยู่ไม่กี่อย่างนั่นแหละ เสี่ยงต่อการที่ลูกจะขาดสารอาหารเป็นอย่างยิ่งค่ะ
สาเหตุ : พอลูกไม่กินอาหารแปลกใหม่แล้วพ่อแม่ยอม ลูกก็ไม่มีโอกาสที่จะได้ทดลองอาหารชนิดนั้นๆ เป็นเหตุให้ลูกเลือกกิน กินเป็นอยู่ไม่กี่อย่าง การเลือกกินอาจเกิดจากการมีประสบการณ์ในแง่ลบกับอาหารชนิดนั้นๆ เช่น กินตอนร้อนเกินไปจนทำให้ลูกเจ็บปาก เลยไม่กินอาหารชนิดนั้นไปเลยเพราะกลัวเจ็บตัวอีก ฯลฯ
ทางออก
จะเห็นว่าพฤติกรรมการกินของลูกเหล่านี้เกิดจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่ทั้งนั้น หากพ่อแม่เข้าใจที่มาที่ไปของปัญหาก็สามารถแก้ไขและรับมือได้ไม่ยาก แต่ต้องเริ่มเสียแต่แรกเริ่มจะได้ผลที่สุดค่ะ