รายงานระบุว่า ภาวะทุพโภชนาการในเด็กเอเชียทั้ง 3 ชาติ ส่งผลให้เด็กสูญเสียโอกาสทั้งในอดีตและอาจยากจนในอนาคต การได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอทำลายความสามารถในการเรียนรู้ และเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตของผู้หญิงขณะคลอดหรือหลังคลอดบุตร
นอกจากนี้พ่อแม่หลายคนยังไม่ได้ใส่ใจเรื่องโภชนาการของลูกอย่างแท้จริง เพราะถึงแม้ว่าเด็กๆ จะอิ่มท้อง แต่พวกเขาก็ไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ พ่อแม่หลายคนให้ลูกกินบะหมี่สำเร็จรูปเนื่องจากราคาถูก สะดวก และรวดเร็ว
อินโดนีเซียเป็นประเทศบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมากเป็นอันดับสองของโลกรองจากจีน ปี 2561 บริโภค 1.25 ล้านห่อตามข้อมูลของสมาคมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปโลก ตัวเลขนี้มากกว่าอินเดียและญี่ปุ่นรวมกัน
ขณะที่บะหมี่สำเร็จรูปในกรุงมะนิลาราคาแค่ห่อละ 23 เซ็นต์สหรัฐ (ประมาณ 7 บาท) มีสารอาหารและแร่ธาตุจำเป็นอย่างธาตุเหล็กต่ำ โปรตีนไม่เพียงพอ แต่ไขมันและเกลือสูง
ที จายาบาลัน ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขในมาเลเซีย ชี้ว่า ความยากจนเป็นปัญหาหลัก ครัวเรือนที่พ่อแม่ทำงานด้วยกันทั้งคู่ต้องการอาหารปรุงเร็ว ครัวเรือนรายได้น้อยในมาเลเซียส่วนใหญ่พึี่งพาบะหมี่ปรุงสำเร็จ มันหวาน และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วเหลืองเป็นอาหารหลัก
ซึ่งผู้เชี่ยวชาญต่างระบุว่า บิสกิตหวานจัด เครื่องดื่ม และฟาสต์ฟู้ดก็สร้างปัญหาในสามประเทศนี้เช่นกัน เพราะฉะนั้นการจะขจัดอิทธิพลของบะหมี่ซองที่มีต่อชีวิตประจำวันและสุขภาพของประชาชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงเป็นเรื่องที่รัฐบาลจะต้องเข้ามาดูแล
ในประเทศไทยเองแว่วมาว่าจะมีการจัดเก็บภาษีความเค็ม โดยบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเป็นหนึ่งในรายการที่จะเพิ่มภาษี ทั้งนี้นอกจากจะเป็นการควบคุมความเค็มของอาหารแล้ว ยังมุ่งหวังให้คนไทยลดการกินเค็มอีกด้วย