อาหารสำหรับลูกวัยอนุบาล กินให้ดีสูงสมส่วน
เด็กวัยอนุบาลเป็นวัยที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโต และต้องการการสร้างเสริมอย่างเต็มที่ อาหารที่ดีจะช่วยสเป็นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการให้ลูกวัยนี้ได้
การวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทนเนสซี ร่วมกับโรงเรียนการแพทย์คน็อกวิลล์และบราวน์ พบว่า เด็กๆ จะเริ่มมีพฤติกรรมการกินที่ไม่ดีเมื่อเริ่มก้าวสู่รั้วโรงเรียน (6-12 ปี) และอาหารส่วนใหญ่ที่เด็กเลือกบริโภคก็คือน้ำหวานชนิดต่างๆ และขนมกรุบกรอบที่มีน้ำตาลและเกลืออยู่ในปริมาณมาก
การกินของลูกวัยประถม
เด็กวัยนี้มักกินแต่อาหารที่ตัวเองชอบค่ะ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเขามีโอกาสเลือกอาหารกินเองได้ทั้งที่ในโรงเรียน นอกบ้าน หรือที่เรียนพิเศษ ซึ่งอาหารส่วนใหญ่ที่เด็กๆ ชอบก็คงจะหนีไม่พ้นขนมกรุบกรอบ ของทอด ฟาสต์ฟู้ด และของหวานค่ะ ดังนั้นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำในตอนนี้คือให้ข้อมูลด้านโภชนาการการกินกับ เด็กๆ เช่น การพูดคุยเกี่ยวกับโรคอ้วน สาเหตุของโรคอ้วน อาหารแบบไหนที่มีผลเสียต่อสุขภาพ เป็นต้น
ที่สำคัญอย่ากังวลไปเองนะคะว่าเล่าให้ ฟังแล้วเขาจะไม่เข้าใจ เพราะถึงจะอยู่วัยประถมแต่พัฒนาการด้านความคิด รวมไปถึงการเข้าใจเหตุและผลของเด็กๆ นั้นทำได้ไม่แพ้ผู้ใหญ่อย่างเราๆ อีกทั้งยังสามารถเลือกได้แล้วว่าอะไรดีหรือไม่ดีต่อเขาค่ะ แต่การพูดหรือเล่าให้ฟังอย่างเดียวอาจไม่พอ คุณจึงควรยกตัวอย่างให้เด็กๆ เห็นภาพตามไปด้วย หรือชวนกันเข้าครัวคุยเรื่องสุขภาพการกินกันเสียเลย ก็จะช่วยส่งเสริมให้ลูกสนุกที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับการกินดีเพื่อ สุขภาพที่ดีของเขาได้ไม่ยากค่ะ
ปลูกฝังนิสัยเลือกกินดี
จะเห็นได้ว่าการส่งเสริมหนูประถมให้ รู้จักเลือกกินนั้นไม่ใช่เรื่องที่วุ่นวายเลยค่ะ แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือส่งเสริมด้วยความสนุก ไม่ใช้การบังคับหรือหักดิบจนลูกรู้สึกต่อต้านขึ้นมาค่ะ ลองนำเคล็ดลับนี้ไปใช้ดูนะคะ รับรองเรื่องทำให้ลูกรู้จักเลือกขี้ปะติ๋วแน่นอน
Best Practice สร้าง แรงบันดาลใจ ชวนเด็กๆ พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องโรคภัยที่มาจากการกิน และการเลือกกินที่ดีต่อสุขภาพกันค่ะ โดยอาจยกตัวอย่างจากคุณหรือคนรอบข้าง เช่น “เมื่อก่อนแม่ท้องผูกอึอึ๊ไม่ค่อยออก แม่เลยหันมากินผักจนตอนนี้แม่ไม่ท้องผูกอีกแล้ว” หรือชวนหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ตดูสิว่าใครที่เคยเป็นโรคที่เกิดจากการกิน เช่น โรคอ้วน แล้วไปดูวิธีที่เขาใช้ในการดูแลสุขภาพ ซึ่งแน่นอนค่ะว่าสิ่งหนึ่งที่คนเหล่านั้นจะต้องตอบเหมือนกันคือเลือกกิน อาหารให้ครบ 5 หมู่ และเน้นผักผลไม้ซึ่งเป็นข้อมูลที่ดีต่อลูกแน่นอนค่ะ
กินได้บ้างแต่ต้องรู้จัก ‘พอดี’ ในความเป็นจริงคุณอาจห้ามลูกไม่ให้กินของโปรดอย่างลูกชิ้นทอด น้ำหวานเย็นชื่นใจ หรือมันฝรั่งทอด ได้ทุกครั้ง แต่คุณอาจต้องพูดคุยกับเขาถึงขอบเขตของการกินอย่างพอดี เช่น อาทิตย์ละครั้งหรือกินเฉพาะเวลาที่มีแม่อยู่ด้วยเท่านั้นนะคะ
ส่วนร่วมตัวจิ๋ว ให้ลูกได้เข้ามาร่วมวงทำอาหารหรือเลือกซื้ออาหารเพื่อมาปรุงบ้าง เช่น ขณะทำอาหารชวนเขาคุยสิคะว่าอาหารมื้อนั้นๆ ต้องเสริมด้วยอาหารชนิดไหนจึงจะครบหมวดหมู่ เช่น “มื้อเช้านี้เรามีข้าวต้มหมูสับ ลูกคิดว่าเราควรกินอะไรเพิ่มเติมจึงจะครบ 5 หมู่นะ” หรือจะให้เขามีส่วนร่วมโดยให้เขาเป็นคนคิดสร้างสรรค์เมนูอาหารตั้งแต่ต้น เช่น เลือกซื้อของที่จะมาทำกับข้าว ลองปรุงด้วยตัวเอง ประดับจานอาหารเอง และเพิ่มความภาคภูมิใจด้วยการนำอาหารที่เขาทำไปแบ่งปันให้สมาชิกในบ้านได้ ลิ้มลองค่ะ
สอนให้รู้จักอาหารที่ ‘ใช่’ ไม่ใช่ที่ ‘ชอบ’ เป็นการส่งเสริมให้ลูกเข้าใจว่าอาหารชนิดใดที่ดีต่อสุขภาพ และอาหารชนิดใดที่ลูกชอบแต่เป็นโทษต่อร่างกายค่ะ อาจเริ่มต้นจากชวนสงสัยและตั้งคำถาม เช่น “ลูกว่าผักสีต่างๆ มีประโยชน์ต่างกันไหม” “หนูรู้ไหมว่าลูกชิ้นเด้งดึ๋งเนื้อหยุ่นๆ มีสารที่ชื่อว่าบอแรกซ์ผสมอยู่” หรือการชวนเขาจับผิดอาหารที่ไม่ได้คุณภาพเวลาที่ไปเดินซื้อของด้วยกัน “บางครัองการเลือกผักที่สวยๆ ไม่มีหนอนไช อาจเป็นเพเขาฉีดยาฆ่าแมลงเยอะนะจ๊ะ” อ้อ… ที่สำคัญอย่าลืมไปหาซื้อโปสเตอร์อาหาร 5 หมู่มาติดไว้ในห้องครัว แล้วชวนเจ้าหนูคุยเกี่ยวกับอาหารเหล่านั้นที่ลูกต้องกินให้สมดุลในแต่ละวัน ด้วยนะคะ