กรรมหรือกรรมพันธุ์โปรย : เคยได้ยินไหมคะที่พระท่านว่า คนเรามี"กรรม"เป็นตัวกำหนด กรรมนี้หากเป็น พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในทางวิทยาศาสตร์เขาบอกว่ามันสามารถถ่ายทอดทาง กรรมพันธุ์ ได้ แล้วที่ รักลูก กำลังบอกปาวๆว่าต้องเลี้ยงลูกยังงั้นยังงี้จะมีผลดีจริงหรือ?!
เชื่อ ไหมคะว่า คนที่มีปัญหาชีวิตคู่จนถึงกับหย่าร้างส่วนใหญ่นั้นเป็นเพราะได้รับ อิทธิพลมาจากกรรมพันธุ์ที่ถ่ายทอดมากจากพ่อแม่ปู่ย่าตายาย ไม่ได้หมายความว่าสิ่งที่ถ่าย ทอดมาคือการหย่าร้าง แต่หมายถึงการถ่ายทอดพฤติกรรมหรือลักษณะนิสัยที่ไม่พึงประสงค์ทำ ให้อยู่ร่วมกับคนอื่นได้ยากจนถึงต้องเลิกรากัน เช่น เป็นคนก้าวร้าวรุนแรง ขี้โมโห เอาแต่ ใจตัวเอง ติดเหล้ายาเสพย์ติด ปรับตัวเข้ากับคนอื่นยาก หรือนักโทษที่ก่ออาชญากรรมบาง คนก็เพราะมียีนก้าวร้าวอยู่ในตัว หรือคนที่ไม่มีความเชื่อมั่นในตัวเอง ไม่ชอบเข้าสังคม ก็ อาจจะเพราะมีพ่อแม่ขี้อาย ไม่มีความเชื่อมั่นในตัวเอง
อิทธิพลของกรรมพันธุ์เรา กำลังจะบอกคุณว่า จริงๆแล้วนิสัยหรือพฤติกรรมบางอย่างที่พึงประสงค์และ ไม่พึงประสงค์สามารถถ่ายทอดผ่านกรรมพันธุ์ได้ ถ้าทางพุทธศาสนาจะบอกว่ามันคือ"กรรม" กำหนด ไม่ว่าจะเป็นนิสัยก้าวร้าว ชอบต่อต้านสังคม ขี้อาย อ่อนน้อมถ่อมตน ติดทีวี ชอบ อ่านหนังสือ ไม่ชอบอยู่คนเดียว จิตวิปริต โอบอ้อมอารี มีความเชื่อมั่น ภูมิใจในตัวเอง หรือแม้กระทั่งนิสัยใจร้อน ไม่ยอมใคร เวลาอยู่กับใครก็ยากเสียจนคู่ชีวิตตัดสินใจขอหย่า หรือหย่ากับเขาเสียเอง รวมถึงความคิดอยากฆ่าตัวตาย ทั้งหมดก็เพราะอิทธิพลของ กรรมพันธุ์ทั้งสิ้น
เรื่อง ของพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างที่ถ่ายทอดผ่านกรรมพันธุ์ เป็นเรื่อง ที่น่าสนใจจนต้องมีการศึกษากันอย่างลุ่มลึก เพื่อเป็นความรู้และหาหนทางที่จะป้องกันไม่ให้ พฤติกรรมที่ว่านั้นรุนแรงและสืบเนื่องไปจนถึงลูกหลาน กรณีตัวอย่างที่น่าสนใจและกำลังมี การศึกษาวิจัยในต่างประเทศในขณะนี้ เห็นจะเป็นการวิจัยพ่อแม่ที่ติดยาเสพย์ติด เป็นโรค พิษสุราเรื้อรังโรคอดอาหารจนเสียชีวิต โรคกลัวความสูง โรคซึมเศร้า ถ้าพ่อแม่เหล่านี้มี ลูกก็จะมีแนวโน้มสูงที่ลูกจะมีพฤติกรรมและเป็นโรคต่างๆเหล่านี้ด้วย
ที่ เขาเชื่อเช่นนั้นก็เพราะยีนที่พ่อแม่ถ่ายทอดมาให้ลูกมียีนที่เป็นตัวกำหนด พฤติกรรมของคนเราด้วย ตั้งแต่ยีนที่กำหนดรสนิยมส่วนตัว ความชอบหรือไม่ชอบ ปฎิกิริยา โต้ตอบต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนภาวะทางอารมณ์ เช่นขี้โมโห ขี้หงุดหงิด สิ่งเหล่านี้จึง สามารถส่งต่อจากพ่อแม่ถึงลูกหลานได้อย่างไม่น่าเชื่อ นอกเหนือไปจากการถ่ายทอดโรคภัย ไข้เจ็บบางโรคที่เรารู้ๆกันอยู่ อย่างเช่น เบาหวาน ภูมิแพ้ฯลฯ และยีนที่ถ่ายทอดมาจากพ่อ แม่บางตัวก็ยังทำหน้าที่ได้ดีในการรับรู้ หรือไวต่อสารเสพย์ติดบางอย่าง เช่น ยาบ้า โคเคน ถ้าลูกได้รับยีนตัวนี้มาจากพ่อแม่ ก็จะเป็นคนที่ติดยาเสพย์ติดได้ง่ายด้วย
อิทธิพลของการเลี้ยงดูแม้ อิทธิพลของกรรมพันธุ์จะมีอำนาจ และสามารถนำทางให้เราเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ตามพ่อแบบแม่แบบของเรา แต่การเลี้ยงดูก็มีผลต่อพฤติกรรมของคนเราไม่น้อยเลย มีารทดลองในสัตว์ทดลองที่เป็นแฝดเหมือนซึ่งมียีนหรือพันธุกรรมที่เหมือนกัน มาก เมื่อนำมา เลี้ยงในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน เขาพบว่าสามารถเปลี่ยนโครงสร้างของสมองได้ และทำ ให้สัตว์ที่เป็นแฝดเหมือนนี้มีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน
จาก การศึกษาวิจัยพบว่า โดยธรรมชาติแล้วพื้นฐานทางอารมณ์ และพฤติกรรม ส่วนใหญ่ของคนเรา 30-50 % จะถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูกแน่นอน ที่เหลือเป็นอิทธิพลของ การเลี้ยงดูและสิ่งแวดล้อม เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายมีโอกาสอยู่ถึง 50 % (ที่เหลือ นั้น) สามารถปรับเปลี่ยนลูกน้อยให้เป็นไปอย่างที่คุณมุ่งหวัง หรือให้ห่างไกลจากพฤติกรรม อันไม่พึงประสงค์ที่ลูกถ่ายทอดจากพ่อแม่ ซึ่งตัวคุณเองก็พยายามจะแก้ไขปรับปรุงอยู่
..........................ล้อมกรอบ..........................
เด็ก ที่มีแนวโน้มจะเป็นคนขี้อายซึ่งเป็นลักษณะทางพันธุกรรม จากการศึกษาวิจัย ค้นพบว่า ถ้าหากเด็กได้รับการกอดบ่อยๆ พ่อแม่แสดงความรักบ่อยๆ ก็จะโตขึ้นเป็นเด็กที่มี ความเชื่อมั่นในตัวเอง และมองโลกในแง่ดี ทำให้มีความกล้าขึ้น
สรุปแล้วก็คือ พันธุกรรมจะเป็นเหมือนวัตถุดิบที่หล่อหลอมมนุษย์ขึ้นมาเป็นรูปร่าง แต่ประสบการณ์การเลี้ยงดูเป็นเหมือนเบ้าหลอมความรู้สึกนึกคิด จิตวิญญาณ โดยเฉพาะ ประสบการณ์ในวัยแรกเริ่มของชีวิตจะเป็นตัวกำหนดโครงสร้างของสมอง ซึ่งมีอิทธิพลต่อ การเรียนรู้ ความคิด และพฤติกรรมของคนแต่ละคนไปตลอดชีวิต
จากงานวิจัยเรื่อง "สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้สร้างสมองลูกให้ฉลาดได้อย่างไร" โดย รศ.ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์
.............................................................
ใน เรื่องของกรรมพันธุ์ซึ่งเป็นเรื่องที่ถ่ายทอดทางยีน เราคงไม่สามารถป้องกัน แก้ไขได้ (ยกเว้นการถอดรหัสพันธุกรรม หรือจีโนมที่กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์กันยกใหญ่ใน ขณะนี้) แต่การเลี้ยงดูอย่างมีคุณภาพของพ่อแม่สามารถกล่อมเกลาให้ลูกเติบโตเป็นเด็ก ดี และช่วยปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้ไม่ยากเลยค่ะ
* แรกสุด เห็นจะเป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวลูกน้อย ให้เต็มเปี่ยมไปด้วย ความรัก และความเข้าใจ เพราะความอบอุ่นในหัวใจ จะทำให้เขามีความมั่นคงทางจิตใจ พร้อมที่จะหยิบยื่นความรัก ความเอื้ออาทรให้แก่ผู้อื่นเช่นกัน และท้ายสุดเขาเองนั่นแหละที่ จะมีความสุขที่สุดที่ได้รับผลตอบแทนจากการได้ให้ในสิ่งดีๆแก่ผู้อื่น
* การแสดงความรักกับลูกก็เป็นสิ่งจำเป็น ด้วยการสัมผัส กอดรัด ลูบหัว หรือ การบอกรักบ่อยๆก็เป็นการสร้างบรรยากาศแห่งความรักให้อบอวลให้หัวใจของลูก น้อยได้ เมื่อบรรยากาศเต็มไปด้วยความอ่อนโยน พฤติกรรมของเขาย่อมอ่อนโยนตามไปด้วยอย่าง แน่นอน
* ให้เวลาคุณภาพกับลูก เพื่อให้เขารู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า เป็นที่ต้องการของ ใครๆ โดยคุณอาจหาเกมมาเล่นกับเจ้าลูกคนโตในยามกลางวันและเล่านิทานให้ลูกคนเล็ก ฟังในยามกลางคืน เมื่อยามเด็กเขารู้สึกตัวเองมีคุณค่า โตขึ้นมาเขาย่อมไม่มีความคิดที่จะ ไปทำร้ายผู้อื่น หรือแม้กระทั่งจะทำร้ายตัวเองอย่างแน่นอน
นิสัยไม่ดีแบบนี้แก้ไขได้
ลักษณะ นิสัยบางอย่างที่พ่อแม่เกรงว่าลูกจะได้รับการถ่ายทอดมาทางกรรมพันธุ์ สามารถแก้ไขปรับให้ดีขึ้นได้ด้วยสิ่งแวดล้อมการเลี้ยงดูที่ถูกต้องเหมาะสม สามารถทำได้ โดย...
ขี้โมโห ก้าวร้าว* ยามที่ลูกโกรธขึ้นมา คุณเองไม่ควรจะทำนิ่งเฉยเพราะนั่นเท่ากับเห็นดีเห็น งามกับพฤติกรรมที่ก้าวร้าวที่เริ่มก่อตัวขึ้นมาอย่างเงียบๆ ทางที่ดีที่สุด คุณควรจะลองพูดกับ เขาถึงอารมณ์โกรธที่เป็นอยู่ หรืออธิบายให้ลูกได้รู้ว่าตอนนี้เขาโกรธด้วยเรื่องอะไร และ ทำไมเขาถึงต้องโกรธ และพยายามเบี่ยงเบนความโกรธของเขาให้ไปสนใจเรื่องอื่นๆ แทน
* การแสดงความรักอีกแบบหนึ่ง คือหมั่นถามไถ่ความเป็นไปในแต่ละวันของเขา ว่าเขาต้องเจอะเจออะไรมาบ้าง การตั้งใจฟังเรื่องราวตั้งแต่ต้นจนจบ พร้อมคำถามที่ แสดงความสนใจ ก็จะทำให้เขารู้สึกว่าเขาเป็นที่รักของใครๆ พฤติกรรมก้าวร้าวขี้หงุดหงิด ขี้น้อยใจ หรือขี้โมโหที่ถ่ายทอดมาจากกรรมพันธุ์ อาจจะดีขึ้นหรือทุเลาลงไปได้บ้าง
ขี้กลัว วิตกกังวล* ถ้าคุณเป็นคนขี้วิตกกังวล คิดมาก กลัวลูกจะเป็นคนแบบนี้ด้วย ก็ควรสังเกต และหาความสนใจของลูกว่าเขาสนใจอะไรเป็นพิเศษ แล้วสนับสนุนให้เขาได้เล่นได้ทำเป็น งานอดิเรกเพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และไม่ฟุ้งซ่านกับอะไรได้ง่ายๆ
* ถ้าไม่อยากให้ลูกมีอาการซึมเศร้า หรือมองโลกในแง่ร้าย ควรคอยให้กำลัง ใจลูกบ่อยๆ แม้ความสำเร็จที่ลูกทำนั้นจะเล็กจะน้อยในสายตาของคุณก็ตาม และคุณเองก็ควร จะสอนลูกให้รู้จักเผชิญหน้ากับปัญหาที่ต้องแก้ไขด้วยวิธีสร้างสรรค์ อาจจะเล่าถึงปัญหาของ ตัวคุณเอง หรือยกตัวอย่างปัญหาของผู้อื่น เป็นแบบอย่างให้เขานำไปปรับใช้แก้ไขปัญหาของ เขาเอง
ขี้อาย ไม่กล้าแสดงออก* ถ้าลูกเป็นคนขี้อาย คุณควรฝึกลูกให้มีทักษะสังคมมากขึ้น หาวิธีที่จะทำให้ลูก เข้ากับผู้อื่นได้ง่าย เช่น พาลูกไปบ้านเพื่อนบ้านญาติที่มีเด็กวัยเดียวกันบ่อยๆ หรืออาจจัดงาน เลี้ยงวันเกิดลูก โดยชวนเพื่อนๆลูกให้มาร่วมเล่นเกมเก้าอี้ดนตรีด้วยกัน หรือเล่นเกมวิ่ง 3 ขาด้วยกัน
* พยายามปลูกฝังลูกให้เป็นคนที่มีความเชื่อมั่นและภูมิใจในตัวเอง คุณควรเข้าใจ เขาในสิ่งที่เขาเป็น อย่าเปรียบเทียบ หรือตำหนิแต่ข้อเสียของลูก แสดงความชื่นชมสิ่งดีๆที่ลูกมีเสมอ
* ทำให้ลูกรู้ว่า ตัวเองมีคุณค่าเป็นที่ต้องการของใครๆ โดยเฉพาะพ่อแม่ คุณ ควรจัดสรรเวลาคุณภาพอย่างจริงๆจังๆให้เขา การเล่นเกมด้วยกัน อ่านหนังสือนิทานให้เขาฟังก่อนนอน
* ถ้าลูกรู้สึกมั่นคงทางจิตใจ ก็จะกล้าออกไปแสวงหาความรู้และประสบการณ์ ข้างนอก พ่อแม่ควรจะทำตัวให้เป็นกองหลังที่ดี คอยให้กำลังใจ ให้ความรู้สึกอบอุ่นใจ ให้ความมั่นใจกับลูกว่าเมื่อไหร่ที่เขาล้มลุกคลุกคลาน อย่างน้อยๆพ่อแม่จะเป็นกำลังใจและที่ พักพิงให้เขา
เข้ากับคนอื่นได้ยาก * ถ้ากลัวลูกจะเข้ากับคนอื่นได้ยาก ควรฝึกลูกให้รู้จักฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และเข้าอกเข้าใจจิตใจผู้อื่น คุณเองก็ควรจะตั้งอกตั้งใจฟังในสิ่งที่เขาอยากเล่า อยากอธิบายให้คุณฟังเสียก่อน
* สอนลูกให้มีจิตใจโอบอ้อมอารีต่อผู้อื่น และพร้อมที่จะให้ ก่อนอื่นคุณเองควรจะ แสดงความรักต่อเขาให้มาก เพื่อให้เขารู้สึกว่าตัวเองมีค่า มีความรักเหลือเฟือที่จะแบ่ง ปันไปให้ผู้อื่น การเข้าร่วมพบปะสังสรรค์กับผู้ปกครอง หรือเข้าชมกีฬาที่ลูกกำลังแข่งขันใน โรงเรียน รวมถึงการบอกรักลูกผ่านการโอบกอด สัมผัส หรือพูดคำว่า "รัก" ล้วนแล้วแต่ เป็นมนต์วิเศษที่ทำให้เขาเป็นคนดี มีจิตใจอ่อนโยน พร้อมเผื่อแผ่ความอ่อนโยนให้แก่ผู้อื่นอยู่ ทุกเมื่อเชื่อวัน ซึ่งจะทำให้ลูกเป็นที่รักของคนรอบข้าง
* สอนลูกให้รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น โดยคุณเองก็ควรจะเคารพในสิทธิของเขาเอง เช่นกัน เช่น ถ้าจะหยิบของเล่นของลูกไปให้เด็กอื่น ก็ควรขออนุญาตลูกก่อน
* สอนลูกให้รู้จักมารยาทสังคมทั่วไป เช่น รู้จักขอบคุณ ขออนุญาต สวัสดี
เห็น ไหมคะว่าแม้คนเราเกิดมาจะมี"กรรม"หรือ 'กรรมพันธุ์'เป็นตัวกำหนด แต่ ด้วยสองมือของพ่อแม่ก็สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขให้ดีขึ้นได้ อย่ามัวแต่โทษ"เลือดพ่อแม่ดี" หรือ"เลือดแม่ไม่ดี"อยู่เลยค่ะ นอกจากไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น ซ้ำร้ายจะทำให้เหตุการณ์เลว ร้ายลงเพราะพ่อแม่ต่างโทษกันและกัน หรือตีตราลูกว่าต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ไปตลอด เกิดความร้าวฉานในครอบครัว
ขอเพียงพ่อแม่ยอมรับในตัวลูก ยอมรับว่าทุกคนเกิดมามี"กรรม"(กรรมพันธุ์)เป็นตัว กำหนด แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ใช่ปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไป"ตามบุญตามกรรม" เพราะหนทาง ที่จะแก้ไขปรับเปลี่ยนนั้นมีทางเป็นไปได้มาก แต่ก่อนอื่นคงจะต้องมองเห็นข้อบกพร่องของตัว เอง ยอมรับ และพยายามสร้างสิ่งแวดล้อมและทำสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อลูก
------------------------------------------------------
ล้อมกรอบ 1
กรรมพันธุ์ & การเลี้ยงดู
เรื่อง อิทธิพลของกรรมพันธุ์ หรือการเลี้ยงดูที่มีผลต่อบุคลิกภาพของเราดูจะเป็นที่ ถกเถียงกันไม่รู้จบแม้ปัจจุบัน ที่อเมริกาเขากำลังศึกษากันอยู่ว่า นิสัยชอบต่อต้านสังคม หรือ พฤติกรรมที่เป็นปัญหาต่างๆของเด็กวัยรุ่น ที่แท้มีที่มาจากกรรมพันธุ์ หรือเพราะการเลี้ยงดู ของพ่อแม่กันแน่ ผลสรุปจากนักวิจัยก็ออกมาว่าทั้งกรรมพันธุ์ที่เป็นต้นตอเอง และการเลี้ยง ดูที่เป็นอีกปัจจัย ต่างก็มีผลให้เรามีนิสัยใจคออย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ เพราะฉะนั้นจะเห็นว่า เด็กที่มาจากครอบครัวที่มีพ่อแม่ซึมเศร้า หงุดหงิด ก้าวร้าว หลีกหนีสังคม เด็กคนนั้นมีแนว โน้มสูงที่จะมีอาการเหมือนๆกันกับพ่อแม่ของเขา เพราะได้รับการถ่ายทอดมาจากกรรมพันธุ์ เอง และเห็นตัวอย่างความประพฤติของพ่อแม่อยู่ทุกวี่ทุกวัน
----------------------------------------------------------
โปรย 1 :
"โดย ธรรมชาติแล้วพื้นฐานทางอารมณ์ และพฤติกรรมส่วนใหญ่ 30-50 % จะ ถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูกแน่นอน ที่เหลือขอยกยอดความดีให้กับการเลี้ยงดูที่ดีมีคุณภาพ เพราะ ฉะนั้น 50% ที่เหลือนั้น คุณสามารถสร้างลูกน้อยให้แตกต่างจากตัวคุณเองได้"
----------------------------------------------------
โปรย 2 :
"ไม่ ใช่พ่อแม่ก้าวร้าวทุกคู่จะต้องมีลูกที่ก้าวร้าว หรือลูกก้าวร้าวทุกคนนั้นเพราะ มีพ่อแม่เป็นคนก้าวร้าว นิสัยไม่ดีบางอย่างแม้จะถ่ายทอดผ่านกรรมพันธุ์ได้ แต่ใช่ว่านิสัยไม่ ดีนั้นจะแก้ไขไม่ได้เอาเสียเลย เพราะอย่างน้อยๆบทบาทเรื่องการเลี้ยงดูที่ดีมีคุณภาพจะ สามารถป้องกัน หรือปรับปรุงพฤติกรรมที่ไม่ดีบางอย่างของลูกน้อยได้"
filename="C:My DocumentsrlCd125.irc"
คอลัมน์ ร้อยเรื่องราว-เดือนเมษายน 2544
โดย เดหลี