ลูกเราอ้วนไปไหม เตี้ยไปหรือเปล่า ตารางน้ำหนักส่วนสูงจะเป็นเครื่องมือให้พ่อแม่ติดตามพัฒนาการทางร่างกาย เมื่อพบความผิดปกตินี้จะได้รีบแก้ไข
ตารางน้ำหนักส่วนสูงของลูกเป็นเรื่องที่พ่อแม่ต้องรู้เพื่อติดตามพัฒนาการด้านร่างกายและการเจริญเติบโตของลูก สำนักโภชนาการโดยกรมอนามัยได้เผยแพร่เกณฑ์น้ำหนักส่วนสูงใหม่ ที่สอดคล้องกับตารางน้ำหนักส่วนสูงของ WHO
ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าในประเทศไทย ทำให้เกณฑ์อ้างอิงน้ำหนัก ส่วนสูงที่เก็บข้อมูลมาตั้งแต่ปี 2538 ไม่ตรงกับสภาวะในปัจจุบัน เนื่องจากตารางที่ใช้อยู่วิเคราะห์ปัญหาต่ำกว่าความจริง กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ปรับเกณฑ์เติบโตเด็กขึ้นใหม่ เพื่อให้ภาวะโภชนาการของเด็กไทยสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
ดาวน์โหลด คลิก
โดยน้ำหนักตามเกณฑ์ของเด็กชายควรอยู่ที่
อายุ 1 ขวบ หนัก 8.2 - 11.4 กิโลกรัม
อายุ 2 ขวบ หนัก 10.3 - 14.4 กิโลกรัม
อายุ 3 ขวบ หนัก 12.00 - 17.2 กิโลกรัม
อายุ 4 ขวบ หนัก 13.5 - 19.8 กิโลกรัม
อายุ 5 ขวบ หนัก 15.00 - 22.5 กิโลกรัม
ดาวน์โหลด คลิก
โดยส่วนสูงตามเกณฑ์ของเด็กชายควรอยู่ที่
อายุ 1 ขวบ สูง 71 - 79.2 เซ็นติเมตร
อายุ 2 ขวบ สูง 83 - 92.2 เซ็นติเมตร
อายุ 3 ขวบ สูง 90.5 - 101.5 เซ็นติเมตร
อายุ 4 ขวบ สูง 97 - 109.5 เซ็นติเมตร
อายุ 5 ขวบ สูง 103 - 117 เซ็นติเมตร
ดาวน์โหลด คลิก
โดยน้ำหนักตามเกณฑ์ของเด็กหญิงควรอยู่ที่
อายุ 1 ขวบ หนัก 7.5 - 10.7 กิโลกรัม
อายุ 2 ขวบ หนัก 9.15 - 13.8 กิโลกรัม
อายุ 3 ขวบ หนัก 11.5 - 16.9 กิโลกรัม
อายุ 4 ขวบ หนัก 13.15 - 20.00 กิโลกรัม
อายุ 5 ขวบ หนัก 14.7 - 23.00 กิโลกรัม
ดาวน์โหลด คลิก
โดยส่วนสูงตามเกณฑ์ของเด็กหญิงควรอยู่ที่
อายุ 1 ขวบ สูง 70 - 78 เซ็นติเมตร
อายุ 2 ขวบ สูง 81.5 - 91.2 เซ็นติเมตร
อายุ 3 ขวบ สูง 89.3 - 100.4 เซ็นติเมตร
อายุ 4 ขวบ สูง 96.2 - 110เซ็นติเมตร
อายุ 5 ขวบ สูง 102.2 - 116.5 เซ็นติเมตร
การประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กทารก ไม่ได้ขึ้นอยู่กับน้ำหนักหรือส่วนสูงเพียงอย่างเดียวนะคะ แต่ยังขึ้นอยู่กับโภชนาการ การนอนนอนหลับพักผ่อน การขับถ่าย การเล่น รวมถึงพัฒนาการด้านอารมณ์และสังคมด้วย
เด็กบางคนอาจมีน้ำหนักและความสูงไม่ตรงตามเกณฑ์ อาจต้องพิจารณาจากพันธุรรมและปัจจัยอื่นประกอบด้วย ถ้าหากลูกอ้วน ผอม หรือเตี้ยเกินเกณฑ์ พ่อแม่ต้องปรึกษากุมารแพทย์ หรือพาลูกไปเช็กกับกุมารแพทย์ด้านพัฒนาการอีกทีค่ะ
ที่มา : สำนักโภชนาการ กรมอนามัย