เรื่องใกล้ตัวที่พ่อแม่มักไม่รู้เลยก็คือ ภูมิแพ้นั้นอยู่ใกล้ลูกมากกว่าที่คิด อย่างโรคจมูกอักเสบที่เด็ก ๆ มักเป็นกันบ่อย ๆ สาเหตุหลักก็มาจากภูมิแพ้เช่นกัน
โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ บางครั้งดูเหมือนโรคหวัดธรรมดา เช่น มีน้ำมูกใส ๆ จาม คันจมูก คัดจมูก ไอกระแอม แต่ความจริงแล้ว จะมีอาการหนักเพิ่มขึ้นเมื่อในช่วงเวลาที่สัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ อาจจะจามติด ๆ กันเป็นสิบ ๆ ครั้ง คัดจมูกมากจนนอนหลับไม่ได้ หรือมีภาวะแทรกซ้อนตามมาได้อีกมากมาย เช่น ไซนัสอักเสบ แก้วหูอักเสบ ต่อมอดีนอยด์โตจนนอนกรนดังมาก อาจถึงขั้นหยุดหายใจขณะนอนหลับได้
สารก่อภูมิแพ้ที่คนทั่วโลกรวมถึงเด็กไทยด้วย แพ้บ่อยที่สุด คือ “ไรฝุ่น” ซึ่งพบมากบริเวณที่มีฝุ่นปนเปื้อนอยู่ เช่น สิ่งของเครื่องใช้ที่อยู่ใกล้ตัวลูก ตุ๊กตา หมอน ที่นอน ผ้าห่ม เปรียบเสมือนภัยมืดที่อยู่ใกล้ตัวลูก ๆ ของเรา ดังนั้นหากลูก ๆ มีอาการคล้ายหวัด แต่เป็นเรื้อรัง เป็นมากขึ้น ๆ หรือมีภาวะแทรกซ้อน เมื่ออยู่ใกล้สิ่งของดังกล่าว ควรไปพบแพทย์โรคภูมิแพ้เพื่อการวินิจฉัยและรักษาโรคที่ถูกต้องต่อไป
ประกอบด้วย 3 ปัจจัย คือ
1. ตัวเด็กมียีนหรือพันธุกรรมที่แพ้สารก่อภูมิแพ้
2. สารก่อภูมิแพ้ต้องมาสัมผัสใกล้ชิดเด็ก
3. สภาวะที่เหมาะต่อการเกิดโรค เช่น มลภาวะ PM 2.5 ควันรถ/ บุหรี่ การดูแลสุขภาพที่ไม่ดี นอนดึก ไม่ออกกำลังกาย เครียด รับประทานอาหารไม่ครบถ้วน เมื่อมีครบทั้ง 3 ปัจจัย ก็จะเกิดโรคได้
หากรู้ว่าแพ้สารก่อภูมิแพ้ตัวใดและสามารถหลีกเลี่ยงได้ ก็จะไม่มีอาการของโรคอีกเลย แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้และมีปัจจัยครบทั้ง 3 ข้อ จะเริ่มรักษา โดย การล้างจมูก ยาพ่นจมูก ยารับประทาน หรือในบางรายต้องได้รับวัคซีนภูมิแพ้ร่วมด้วยจึงจะควบคุมอาการได้
จากปัจจัยด้านพันธุกรรมมีผลต่อการเกิดโรคภูมิแพ้ โดยเฉพาะหากทั้งพ่อและแม่เป็นโรคนี้ ลูกมีโอกาสเป็นโรคนี้ 60 – 80 % ดังนั้นถ้าเลือกคู่ครองที่ไม่มีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัวได้ก็จะดีที่สุด แต่ถ้าเลือกไม่ได้แล้ว ควรจะต้องดูแลเด็กตั้งแต่เริ่มอยู่ในครรภ์ โดยไปฝากครรภ์ตั้งแต่เริ่มแรก ปฏิบัติตามที่สูติแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด พักผ่อนให้พอเพียงรับประทานอาหารหลากหลายชนิดให้ครบ 5 หมู่ งดสูบบุหรี่และงดไปแหล่งที่มีมลภาวะสูง
เมื่อเด็กทารกคลอด ควรให้นมแม่อย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรก และให้ต่อไปจนอย่างน้อยอายุ 1 ปี หรือนานที่สุดเท่าที่จะให้ได้ อาหารเสริมควรเริ่มเมื่ออายุ 6 เดือนขึ้นไป ดูแลสิ่งแวดล้อมของเด็กให้ห่างจากมลภาวะและสารก่อภูมิแพ้ชนิดต่างๆ
กรณีคุณแม่มีปัญหาสุขภาพหรือข้อจำกัดที่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ คุณแม่อาจขอคำแนะนำจากแพทย์ในเรื่องของนมสูตรพิเศษ ที่เป็นสูตร Hypo-Allergenic (HA)ซึ่งมีโปรตีนผ่านการย่อยบางส่วน (partial hydrolysate formula) ร่วมกับ เติม Probiotics คือ เชื้อจุลลินทรีย์ชนิดดี เช่น Bifidus BL (B. lactis), LGG, L. reuteri เป็นต้น และอาจจะเติม Prebiotics คืออาหารของเชื้อจุลลินทรีย์ชนิดดี เช่น Lactose, GOS, IcFOS, 2’-FL เป็นต้น สุดท้ายแล้ว เมื่อเราดูแลลูกได้ดังที่กล่าวมาแล้ว คงทำให้เด็ก ๆ ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ลดลงได้บ้างไม่มากก็น้อย
อยากรู้ว่าลูกน้อยมีความเสี่ยงภูมิแพ้แค่ไหน ทำแบบทดสอบเบื้องต้นได้เลยที่ https://www.nestlemomandme.in.th/sensitive-expert/sensitive-check
#SensitiveExpert #ผู้เชี่ยวชาญด้านความบอบบางของลูกน้อย
ขอบคุณข้อมูลจาก : นพ. วิชาญ บุญสวรรค์ส่ง กุมารแพทย์โรคภูมิแพ้ โรคหืด และ วิทยาภูมิคุ้มกัน โรงพยาบาลวิภาราม
พื้นที่โฆษณาและประชาสัมพันธ์