นมแม่คืออาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย เพราะมีสารอาหารที่มีประโยชน์มากกว่า 200 ชนิด โดยหลักๆคือ ไขมัน โปรตีน และแลคโตส1 รวมทั้ง สฟิงโกไมอีลิน ไขมันชนิดฟอสโฟไลปิดที่พบมากในน้ำนมแม่2 ซึ่งสารอาหารเหล่านี้ล้วนสำคัญต่อการเจริญเติบโต เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน พัฒนาร่างกาย และที่สำคัญคือช่วยพัฒนาสมอง
การพัฒนาสมอง วงจรประสาท และสฟิงโกไมอีลิน3-8
การพัฒนาของสมองต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของเซลล์ประสาทหลายแสนล้านเซลล์ ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกันจึงสามารถทำงานได้ ดังนั้น
กระบวนการสำคัญในการทำงานของสมอง คือการที่เซลล์ประสาทแต่ละเซลล์สามารถส่งสัญญาณหากันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมาจากการที่วงจรประสาทเชื่อมโยงกันได้ดี และการส่งสัญญาณประสาทเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
ปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการเพิ่มประสิทธิภาพของการส่งสัญญาณประสาทคือ “การสร้างไมอีลิน” โดยไมอีลิน เป็นส่วนของเซลล์สนับสนุนเซลล์ประสาทที่มาพันรอบส่วนของ “แขนงประสาทนำออก” แต่การจะสร้างไมอีลินที่มีประสิทธิภาพนั้นส่วนหนึ่งต้องอาศัยไขมันอย่าง
สฟิงโกไมอีลิน โดยแขนงประสาทนำออกที่มีไมอีลินมาห่อหุ้มจะส่งสัญญาณประสาทแบบก้าวกระโดด คือจากจุดหนึ่งกระโดดไปยังอีกจุดหนึ่ง แทนที่จะเป็นการส่งสัญญาณต่อๆ กันในระยะใกล้ ในกรณีที่แขนงประสาทนำออกไม่มีไมอีลินมาห่อหุ้ม เปรียบเทียบได้กับการกระโดด 1 ครั้งย่อมสามารถไปได้ไกลกว่าการเดิน 1 ก้าว จึงกล่าวได้ว่า การสร้างไมอีลินจะ
ช่วยทำให้การส่งสัญญาณประสาทเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว เป็นกระบวนการที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาสมองของลูกน้อยเป็นอย่างยิ่ง
อาหารดี สมองดี
เราเคยได้ยินมาบ่อยๆ ว่าอาหารที่ดี นอกจากจะเสริมสร้างสุขภาพร่างกายที่ดีแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างการทำงานของสมองด้วย แต่รู้ไหมว่า...
ไขมันเองนั้นเป็นหนึ่งในปัจจัยหลัก
ไขมันเป็นส่วนประกอบหลักของสมองถึง 60%
9 และยังเป็นส่วนประกอบหลักของไมอีลินในสมองด้วย
10 ซึ่งเส้นใยประสาทที่มีไมอีลิน จะมีการส่งสัญญาณประสาท เร็วกว่าที่ไม่มีไมอีลินถึง 60 เท่า11 และ สฟิงโกไมอีลิน เป็นหนึ่งในสารอาหารสำคัญในการสร้างไมอีลินนั่นเอง12
สฟิงโกไมอีลิน พบได้ในอาหารต่างๆ เช่น ไข่ ครีม ชีส นม รวมถึงผลิตภัณฑ์นมต่างๆ เป็นต้น
13
สมองดีสัมพันธ์กับการเลี้ยงดู
ปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่สามารถปรับหรือควบคุมการสร้างไมอีลินให้เกิดขึ้นตามต้องการได้โดยตรง แต่พ่อแม่ก็สามารถส่งเสริมการสร้างปลอกไมอีลินให้ลูกโดยการจัดหาสิ่งกระตุ้นที่เหมาะสมกับพัฒนาการของสมองในแต่ละช่วงวัย เช่น ขวบปีแรก การฟังเสียงที่หลากหลายและการฟังเสียงดนตรีจะช่วยส่งเสริมการสร้างวงจรประสาทและการสร้างปลอกไมอีลินในส่วนของการรับเสียงและการแปลความหมายของเสียง หรือการฝึกแก้โจทย์ปัญหา จะช่วยพัฒนาวงจรประสาทและการสร้างปลอกไมอีลินในสมองส่วนหน้าที่มีบทบาทในด้านการเรียนรู้ ซึ่งจะเกิดขึ้นมากในช่วงวัยเรียน เป็นต้น
แม้กระบวนการทำงานของสมองอาจเป็นเรื่องซับซ้อนและเข้าใจยาก แต่เชื่อว่าในการเลี้ยงดูลูกแล้วคุณพ่อคุณแม่หลายๆ คนย่อมคัดสรรสิ่งที่ดีที่สุด เพื่อให้สมองของลูกได้รับการพัฒนา มีไหวพริบ สติปัญญา รู้จักแก้ปัญหา และฉลาดเฉลียวสมวัยอย่างแน่นอน
ขอบคุณข้อมูลจาก ผศ. นพ.วรสิทธิ์ ศิริพรพาณิชย์
Reference:
- Olivia Ballard, JD, et al. Human Milk Composition: Nutrients and Bioactive Factors. Pediatr Clin North Am. 2013 February; 60(1): 49–74. doi:10.1016/j.pcl.2012.10.002
- Francesca Giuffrida, Cristina Cruz-Hernandez, et al. Quantification of Phospholipids Classes in Human Milk. Lipids (2013) 48:1051–1058
- Joan Stiles, Terry L. Jernigan. The Basics of Brain Development, Neuropsychol Rev (2010) 20:327–348
- Robert Stufflebeam. Neurons, Synapses, Action Potentials, and Neurotransmission - The Mind Project. http://www.mind.ilstu.edu/curriculum/neurons_intro/neurons_intro.php
- Mind’s Machine, 2e, Figure 2.1 The Major Parts of the Neuron. https://2e.mindsmachine.com/figures/02/02.01.html. Textbook Reference: The Nervous System Is Composed of Cells, p. 22
- Hiroaki Asou, et al. Development of Oligodendrocyte and Myelination in the Central Nervous System. Keio J Med 44(2), 47-52 (1995)
- Otwin Linderkamp, Ludwig Janus, et al. Time Table of Normal Foetal Brain Development. Int. J. Prenatal and Perinatal Psychology and Medicine Vol. 21 (2009) No. 1/2, pp. 4–16
- Purves D, Augustine GJ, Fitzpatrick D, et al., editors. Increased Conduction Velocity as a Result of Myelination Neuroscience. 2nd edition. Sunderland (MA): Sinauer Associates; 2001
- Chang CY, KE DS, Chen JY. Essential Fatty Acids and Human Brain. Acta Neurol Taiwan. 2009 Dec; 18(4): 231–41.
- R. Douglas Fields. White matter in learning, cognition and psychiatric disorders. Trends Neurosci. 2008 July ; 31(7): 361–370
- Susuki k.Nature Education 2010, 3(9):59
- Siegel GJ, Agranoff BW, Albers RW, et al., editors. Characteristic Composition of Myelin. Basic Neurochemistry: Molecular, Cellular and Medical Aspects. 6th edition. Philadelphia: Lippincott-Raven; 1999
- Vesper et al., Sphingolipids in Food and the Emerging Importance of Sphingolipids to Nutrition. 1999