photo : http://www.rgbstock.com/photo/mwMzZiY/peeking
เด็กๆเริ่มเรียนรู้ความกลัวตั้งแต่วัยทารก และจะมีเพิ่มมากขึ้น บางครั้งความกลัวอาจเกิดจากจินตนาการของเด็กเอง หรืออาจเกิดจากประสบการณ์ต่างๆของเด็ก
ประโยชน์ของความกลัว
ความกลัว ก็มีประโยชน์ต่อเด็กนะคะ เพราะความกลัวจะทำให้เด็กๆระวังตัว หลีกเลี่ยงจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่หากความกลัวไม่ได้รับการอธิบายหรือทำความเข้าใจ เด็กๆก็จะเกิดช่วงที่พัฒนาการ "ติด" อยู่ที่ความกลัวนั้น กลายเป็นคนที่ไม่กล้าเรียนรู้ และไม่สามารถพัฒนาทักษะไปต่อได้
https://www.facebook.com/childcare.SLP
การจัดการความกลัว
1. ผู้ใหญ่ควรรับรู้ และแสดงออกถึงความเข้าใจ ไม่ควรมีปฏิกิริยาที่ตำหนิ เพราะจะทำให้เด็กเข้าใจว่าสิ่งที่เขารู้สึกอยู่นี้เป็นความผิดที่ผู้ใหญ่ไม่ยอมรับ
2. อธิบายข้อเท็จจริง อาจจะไม่ทำให้ความกลัวนั้นหายไปในทีเดียว แต่อย่างน้องเมื่อเด็กได้พบเจอเหตุการณ์นั้นซ้ำๆเขาจะเริ่มเข้าใจและประมวลผลความรู้สึกตัวเองได้ดีขึ้น เช่น เด็กกลัวหมอมาก ท่านควรจะแสดงให้เห็นว่าหน้าที่ของหมอคือฆ่าเชื้อโรคที่มันทำร้ายหนู แม่อยากให้เราช่วยกันฆ่าเชื้อโรคด้วยกัน หนูจะได้แข็งแรงไปเล่นได้ (ขอร้องนะคะ อย่าขู่เด็กเพิ่มเลยค่ะ เพราะนอกจากจะทำให้เราทำงานยากขึ้นแล้ว ความกลัวของเด็กก็ไท่ได้หายไปนะคะ ยิ่งฝังใจเพิ่มค่ะ)
3. ใช้การเล่นสมมติ หรือนิทานที่มีตัวละครที่เด็กชอบกำลังเผชิญความกลัว โดยที่ท่านช่วยแก้ปัญหาอยู่
เช่น กระต่ายน้อยกลัวความมืดมากจนไม่ยอมนอน ท่านอาจจะเล่นเป็นหมีใจดีที่ช่วยปลอบกระต่ายว่าถ้าหลับตาลงตื่นมาก้จะเช้า เป็นต้น
ถ้าเด็กมีปัญหามากจนเป็นอุปสรรคในการเรียนรู้และเข้าสังคม ท่านควรปรึกษาแพทย์พัฒนาการเพื่อให้เด็กได้รับการประเมินอย่างละเอียดนะคะ
บทความโดย : พรินทร์ อัศเรศรังสรร
คลินิกกระตุ้นพัฒนาการฝึกพูดโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
https://www.facebook.com/childcare.SLP