เด็กๆ ชอบเล่นลูกโป่งค่ะ ของเล่นอะไรก็ไม่รู้ สีสวย เบา ลอยได้ เด้งได้ ตีได้ ยิ่งสำหรับลูกโต งานเด็กงานไหนมีลูกโป่งล่ะก็ ถึงขั้นกรี๊ดกร๊าดกันเลยล่ะค่ะว่าถูกใจจริงๆ แต่ลูกโป่งก็ไม่ใช่ของเล่นเด็ก และไม่ปลอดภัยอย่างที่คิดค่ะ ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้รายงานการตายของเด็กจากลูกโป่งถึง 110 รายในเวลาตั้งแต่ปี 1977-2001 สาเหตุการตายเกิดจากการอุดตันทางเดินหายใจโดยเศษลูกโป่งหรือลูกโป่งที่ยัง ไม่ได้เป่า เด็กส่วนใหญ่ที่ตายอายุน้อยกว่า 6 ปี
พฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการอุดตันทางเดินหายใจโดยลูกโป่งนั้นมี 2 แบบ แบบที่หนึ่งคือ
เศษลูกโป่งที่แตกแล้ว ก่อให้เกิดความเสี่ยงแบบเดียวกันได้ทั้งสองกรณี คือการเอาเศษลูกโป่งมายืดออกไว้ที่ริมฝีปากและเป่า ในจังหวะหายใจเข้า เศษลูกโป่งอาจจะถูกดูดเข้าไปในปากและสำลักลงหลอดลม หรือการเอาเศษลูกโป่งอมเคี้ยวในปาก
การอุดตันทางเดินหายใจทำให้สมองขาดออกซิเจน มีเวลาช่วยเหลือเพียง 4-5 นาที การสำลักลูกโป่งลงไปในท่อหลอดลมแล้วคงไม่ง่ายนักที่จะทำให้มันหลุดออกมาได้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงต้องตระหนัก ระวัง ดูแลเจ้าตัวน้อยให้ดี และสอนเจ้าหนูตัวน้อยให้มีพฤติกรรมที่ปลอดภัยดังนี้
การปฏิบัติการขจัดสิ่งแปลกปลอมออกจากหลอดลม
การช่วยเหลือเบื้องต้นในเด็กที่มีการอุดตันทางเดินหายใจเป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากเวลาช่วยไม่ให้สมองตายเพียง 4 นาทีเท่านั้น เด็กที่สำลักสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในทางเดินหายใจจะเกิดอาการฉับพลันทันที คือ มีอาการไอติดๆ กัน ขย้อน หายใจเสียงดัง ต่อมามีอาการเสียงแหบ เขียว และหมดสติ
การช่วยเหลือให้แบ่งแยกออกเป็นเด็กเล็กน้อยกว่า 1 ปี และเด็กที่โตกว่า 1 ปี ในกรณีที่เด็กยังรู้สึกตัวดี หายใจได้ไม่ลำบาก เพียงแต่มีอาการไอ และมีประวัติสงสัยสำลัก ให้พาไปโรงพยาบาล ในเด็กโตพอที่จะพูดกันรู้เรื่องผู้ช่วยเหลือควรพยายามให้เด็กไอแรงๆ บ่อยๆ แต่ถ้าเด็กมีอาการบ่งบอกถึงการอุดตันทางเดินหายใจ เช่น หายใจดัง หายใจลำบากอึดอัด หรือเขียว ผู้ช่วยเหลือจะต้องพยายามหาทางแก้ไขภาวะทางเดินหายใจอุดตันนี้
ความสามารถในการปฐมพยาบาลและการปฏิบัติการกู้ชีพเบื้องต้นนี้ จะต้องเป็นความรู้ที่ทุกครอบครัวจะต้องทำได้ ไม่ใช่เป็นเพียงความรู้ในหมู่บุคลากรทางการแพทย์ พ่อแม่ที่สนใจเข้ารับการอบรมการปฐมพยาบาลและการปฏิบัติการกู้ชีพในเด็ก ขอเชิญติดต่อศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี หมายเลขโทรศัพท์ 0-2201-2382 เพื่อลงชื่อกันไว้ก่อนครับ ทางศูนย์ร่วมกับทางคณะพยาบาลศาสตร์ และเครือข่ายเด็กไทยปลอดภัยซึ่งสนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)