โรคที่เด็กเป็นได้เหมือนกับผู้ใหญ่นั้นแบ่งออกเป็น 2 อย่างค่ะ
1. โรคติดเชื้อ
2. โรคไม่ติดเชื้อ
โรคติดเชื้อ
โรคติดเชื้อที่เกิดในผู้ใหญ่และเด็กก็สามารถเป็นได้ คือ ไข้หวัดใหญ่ วัณโรค โรคระบบทางเดินหายใจ ปอดอักเสบ อีสุกอีใส ไข้หวัดนก ไข้เลือดออก โรคผิวหนังอย่างโรคหิด กลากเกลื้อน ฯลฯ แต่โรคที่มีความรุนแรงและคุณควรใส่ใจเป็นพิเศษคือ ”ไข้หวัดใหญ่ และวัณโรค”
ไข้หวัดใหญ่
การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่นั้นเกิดขึ้นทุกปีโดยเฉพาะฤดูฝนกับฤดูหนาว และในเด็กเล็กที่อายุน้อยกว่า 5 ขวบอาการจะรุนแรง เกิดจากเชื้อไวรัส เป็นโรคที่มีอัตราการระบาดทุกปี ติดต่อจากคนสู่คนได้ง่าย มี 3 สายพันธุ์ใหญ่คือ A B C โดยไข้หวัดใหญ่ที่เกิดตามฤดูกาลจะเกิดจาก A และ B ชนิด C ไม่ค่อยมีอาการ และชนิด A จะมีความรุนแรงมากที่สุดค่ะ นอกจากนั้นทั้งสายพันธุ์ A และ B ยังแบ่งสายพันธ์แยกย่อยกว่าอีก 20 ชนิด สามารถกลายพันธุ์ได้ตลอดเวลา
อาการ อาการของโรคมีตั้งแต่น้อยๆ ไปจนถึงไม่มีอาการหรือรุนแรงไปจนเสียชีวิตได้
การรักษาเบื้องต้น
การป้องกัน
ดูแลสุขภาพ.ฉีดวัคซีนป้องกัน เริ่มฉีดได้เมื่ออายุ 6 เดือนจนถึง 5 ขวบ และฉีดกระตุ้นทุกปี เนื่องจากเชื้อไวรัสตัวนี้เปลี่ยนแปลงได้หลายชนิดแต่ละปีกลายพันธุ์ได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ในกลุ่มของผู้สูงอายุ และคนที่มีโรคประจำตัวหรือมีภูมิคุ้มกันน้อยก็ควรฉีดวัคซีนด้วยค่ะ
วัณโรค
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ติดต่อกันจากระบบทางเดินหายใจ โดยการไอจาม หรือละอองฝอยต่างๆ ระวังการติดในกรณีที่ในบ้านนั้นมีผู้ใหญ่เป็น และมีเด็กอาศัยรวมอยู่ในบ้าน ยิ่งถ้าเป็นเด็กอายุน้อย โอกาสทีจะติดต่อกันมีเยอะ ถ้าอายุน้อยกว่า 1 ปี เด็กมีโอกาสเป็นได้ถึง 40-50% เลยค่ะ แต่ถ้าลูกมีอายุมากกว่า 1 ปี มีโอกาสเสี่ยงเป็น 10-15%
อาการ
ทั้งนี้อาการจะเป็นเพิ่มขึ้นทีละน้อยๆ และเป็นอยู่นาน
การป้องกัน
ถ้ามีคนในบ้านเป็น แล้วมีเด็กอยู่ในบ้าน ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพราะถ้าเด็กอายุน้อยๆ ได้รับเชื้อนอกจากจะมีการติดเชื้อที่ปอด เยื่อหุ้มสมอง กลายเป็นวัณโรคชนิดรุนแรง ลุกลามไปที่อื่นได้ เช่น พวกไขสันหลัง
เพราะฉะนั้นนอกจากการฉีดวัคซีนแล้ว การคอยสังเกตอาการคนในบ้านก็จะเป็นอีกทางหนึ่งที่จะลดการแพร่เชื้อวัณโรค
โรคไม่ติดเชื้อ
โรคไม่ติดเชื้อที่พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ และเด็กก็เป็นได้มีหลายโรค ไม่ว่าจะเป็น โรคมะเร็งชนิดต่างๆ โรคหัวใจ โรคไมเกรน ฯลฯ แต่โรคที่มักจะพบได้บ่อยในเด็กเล็กทั่วโลกคือโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว พบในเด็กได้บ่อยเป็นอันดับแรกกว่ามะเร็งชนิดอื่น โดยจะมีอาการไข้ ซีด ตับโต ต่อมน้ำเหลืองโต บางคนจะอ่อนเพลีย มีจุดเลือดออกตามตัว หรือว่ามีเลือดออกผิดปกติร่วมด้วย
การรักษา
รักษาด้วยการใช้ยาเคมีบำบัด หรือใช้รังสีรักษาในบางระยะของโรค
วิธีสังเกตอาการเบื้องต้น
คุณแม่คอยสำรวจดูว่าลูก มีต่อมน้ำเหลืองโตหรือไม่ ตรงบริเวณช่องท้อง คอ หรือส่วนอื่นๆ ของร่างกาย หรือว่ามีปัญหาในเรื่องอาการซีดเฉียบพลัน เลือดออกผิดปกติบ้างหรือไม่ ถ้ามีอาการใดอาการหนึ่งให้รีบพามาตรวจเช็ก เพราะโรคนี้ถ้าพบความผิดปกติเร็วเท่าไร โอกาสรักษาหายมีมากเท่านั้น
การรักษาบางโรคอาจจะทำได้ยากกว่าการป้องกันนะคะ เพราะฉะนั้นก่อนที่โรคต่างๆ จะเกิดขึ้น คุณพ่อคุณแม่และเจ้าตัวเล็กควรดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดีที่สุด ตรวจสุขภาพ และฉีดวัคซีน จะทำให้โรคผู้ใหญ่ไม่แผ้วพานเด็ก และโรคของเด็กก็ไม่ไปทำให้ผู้ใหญ่ป่วยด้วยค่ะ
เรียบเรียงจากการสัมภาษณ์ พญ.รังรักษ์ เจริญไพบูลย์ กุมารแพทย์