เมื่อลูกพูดช้า แบบไหนจะเรียกว่าพัฒนาการด้านภาษาและการพูดเป็นไปตามปกติ แบบไหนถึงเรียกว่าพัฒนาการด้านภาษาและการพูดไม่เป็นไปตามปกติ พ่อแม่จะป้องกันและดูแลได้อย่างไร
1-4 เดือน ส่งเสียงอ้อแอ้ สนใจเสียงผู้ที่มาคุยด้วย คุ้นเคยกับเสียงคนใกล้ชิด
5-6 เดือน ตอบสนองเมื่อถูกเรียกชื่อ เริ่มหันหาเสียงและเลียนเสียงผู้อื่น
9-12 เดือน เริ่มพูดได้เป็นคำพยางค์เดียว ให้ท่าทางสื่อความหมายร่วมด้วย
1-1.5 ปี มีการโต้ตอบชัดเจน สามารถทำตามคำสั่งได้ เริ่มพูดคำที่มีความหมายได้
1.5-2 ปี พูดได้ 50-80 คำ เริ่มรวมคำ เข้าใจคำสั่งที่ยากขึ้น
2-3 ปี สามารถพูดเป็นประโยคได้ ตอบได้ พูดคุยสื่อสารรู้เรื่องมากขึ้น
6-10 เดือน ไม่ส่งสัญญาณการพูด ไม่หันมาตามเสียง ไม่เลียนแบบ
12 เดือน พูดได้แต่เสียงสระไม่มีเสียงพยัญชนะ เช่น อินอ้าว(กินข้าว) แอ้(แม่) อ้อ(พ่อ)
15 เดือน ไม่เข้าใจความหมายของคำง่ายๆ เช่น สวัสดี บ๊ายบาย
18 เดือน พูดคำที่มีพยางค์เดียว เช่น หิว กิน ได้น้อยกว่า 10 คำ 2 ปี พูดคำที่มีความหมาย 2 พยางค์ต่อกันไม่ได้ เช่น ไม่เที่ยว ไม่เอา
1-2 ปี ไม่เริ่มการสื่อสารและไม่เข้าใจคำถามหรืออาจจะพูดไม่หยุด แต่ไม่สื่อสารในเรื่องเดียวกัน
2 ปี 6 เดือน พูดอธิบายสื่อความหมายไม่ได้ 3 ปี พูดยังไม่เป็นประโยค อธิบายความหมายไม่ได้
3 ปี ไม่บอกความต้องการ ไม่เข้าใจและไม่เคยใช้ประโยคคำถาม หรืออาจจะพูดเป็นภาษาสคริปต์ ที่ไม่ใช่ภาษาของเด็กวัยเดียวกัน
ส่งเสียง ขยับปาก - คุณแม่เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกทำตามได้ดีที่สุด เวลาพูดกับลูกแม่ควรย่อเข่าหรือนั่งลงให้ลูกได้สังเกตหน้าและปากของแม่เวลาพูด หรือให้ลูกส่องกระจกดูว่าคำที่เขาพูดไม่ชัดนั้นเขาทำปากอย่างไร และช่วยแก้ไขโดยให้เขาทำปากตามแม่ ที่สำคัญคุณแม่ควรพูดด้วยน้ำเสียงปกติ ชัดถ้อยชัดคำ ไม่ดังหรือค่อยจนเกินไป และไม่พูดช้าหรือเร็วจนเกินไปด้วย
ชีวิตประจำวันเป็นแบบฝึกหัดที่ดี - เรื่องรอบๆ ตัว คุณแม่สามารถนำมาช่วยกระตุ้นให้ลูกพูดได้ทั้งนั้นค่ะ เช่น การฟังเสียงต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัว ให้เด็กเรียกชื่อสิ่งที่ได้ยิน และควรใช้สิ่งของจริงจะช่วยในการหัดพูดได้ดี เพราะจะช่วยให้ลูกทั้งจำสิ่งของและพูดได้ด้วย
บรรยากาศก็สำคัญ - จัดสภาพแวดล้อมใหม่ๆ ให้ลูกบ้าง เพื่อช่วยในการเรียนรู้ เช่น พาลูกไป หรือชวนคุยเมื่อเจอสิ่งที่น่าสนใจ ควรสอนแทรกไปในกิจวัตรประจำวันและสอนให้บ่อย ถ้าให้ลูกได้มีโอกาสเล่นกับเด็กวัยเดียวกันบ้างก็จะช่วยให้การพูดพัฒนาเร็วขึ้น ส่วนเด็กบางคนไม่มั่นใจที่จะพูดกับผู้ใหญ่ คนแปลกหน้าแบบนี้บทบาทสมมุติช่วยได้ ลองหาตุ๊กตาให้ลูกเล่นสักตัวเป็นเพื่อนเพื่อสร้างความมั่นใจให้ลูกได้นะคะ
อย่าสื่อสารทางเดียว - การถาม-ตอบเป็นสิ่งสำคัญ เช่น ถ้าลูกถามว่า "ทำไม" "อะไร" ควรตอบลูกให้ละเอียด เช่น เมื่อลูกถามว่า "นี่เรียกว่าอะไร" ไม่ควรตอบว่า "แมว" เท่านั้น อาจขยายความต่อว่า "แมวมีสีเทา หางยาว มีสี่ขา" การสื่อสารทางภาษาแบบนี้จะช่วยให้ลูกรับข้อมูลที่หลากหลายมากขึ้นค่ะ ให้กำลังใจ
อย่าหักโหม - อย่าลืมให้กำลังใจลูกทุกครั้งที่ลูกสามารถพูดได้แล้ว สิ่งสำคัญคืออย่าใช้ท่าทีก้าวร้าวรุนแรงกับลูก ต้องเข้าใจว่าความสามารถทางการพูดของลูกนั้นจะขึ้นอยู่ตามระดับอายุ อย่าหักโหมในการสอนเกินไป อ่านสนุก
กระตุ้นการพูดได้ด้วย - คุณแม่ลองหยิบหนังสือภาพสวยๆ มาอ่านให้ลูกฟังดูสิคะ ขณะที่อ่านนั้นลองให้ลูกชี้ภาพให้ตรงกับคำถามของแม่ เช่น นกอยู่ตรงไหน หลังจากนั้นผลัดให้พ่อแม่เป็นฝ่ายชี้ภาพแล้วถามคำถามให้ลูกตอบบ้างว่า ภาพนี้คืออะไร ร้องอย่างไร กำลังทำอะไรอยู่ ลูกน่าจะค่อยๆ พูดได้แล้วค่ะ
ถ้าสำรวจดูแล้วว่าเราช่วยเหลือลูกอย่างดี แต่ลูกก็ยังมีพัฒนาการทางด้านภาษาที่ช้าอยู่ ก็น่าจะลองพาลูกไปปรึกษากุมารแพทย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางพัฒนาการเด็กเพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง หรืออาจจะไปปรึกษานักแก้การพูดเพื่อช่วยฝึกพูดต่อไปค่ะ
อ้างอิง : RAMA CHANEL