ภาวการณ์เรียนรู้ถดถอย ทำเด็กเป็น Loss Generation อย่าปล่อยให้ลูกเกิดภาวการณ์เรียนรู้ถดถอยค่ะ มาหาทางรับมือกันก่อนจะสายเกินไป
ตั้งแต่เกิดวิกฤติโควิด 19 เป็นเวลาเกือบ 2 ปีที่เด็กไทยต้องเปลี่ยนรูปแบบการเรียนในห้องเรียนมาเป็นการเรียนออนไลน์เกือบ 100% แต่จากการศึกษาในแวดวงวิชาการหลายสำนักกลับพบว่ายิ่งเรียนยิ่งมีปัญหา และภาวะ Learning Loss คือหนึ่งในนั้น
Learning Loss เป็นผลของการเสียโอกาสในการเรียนรู้มีผลทำให้ทักษะต่าง ๆ ที่เด็กควรจะได้รับการพัฒนาตามช่วงวัยสูญเสียตามไปด้วย เช่น ทักษะทางสังคม ค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม เด็กสูญเสียโอกาสในการฟอร์มตัวเป็นบุคลิกของเขา ว่าเขาจะเป็นอัธยาศัยดี เป็นคนเก็บตัว เป็นคนขี้อาย หรือเป็นคนมั่นใจในตัวเอง
แต่เมื่อเด็กไม่ได้ไปโรงเรียน ไม่มีเพื่อน ไม่ได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ไม่ได้ทำอะไรหน้าชั้นเรียน หน้าเสาธง ก็ไม่ได้แสดงความเป็นผู้นำ สุดท้ายก็จะส่งผลให้เด็กเกิดภาวะ Learning Loss เนื่องจากการเรียน Online ไม่สามารถทำให้เด็ก ๆ ได้ฝึกฝนทักษะเหล่านั้นได้
Learning Loss ทำให้เด็กต้องสูญเสียอะไรบ้าง
มีปัญหาพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร เมื่อเด็กต้องเรียนออนไลน์ที่บ้านมักจะไม่ค่อยได้คุยกับใคร นอกจากพ่อแม่ก็ไม่ได้เล่นกับเพื่อน ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับคุณครู การดู YouTube เล่น iPad หรือเล่นเกมไม่ได้พัฒนาทักษะภาษาของเด็ก ๆ เมื่อต้องกลับเข้าสู่โรงเรียน ประสิทธิภาพในการเรียนรู้และศักยภาพในการใช้ภาษาของเขาก็จะลดลง
ทักษะด้านความสัมพันธ์ถดถอย เด็กบางคนอยู่บ้านจนเกิดความเคยชิน ถ้าถึงวันที่ต้องไปโรงเรียนอาจเกิดภาวะ School Phobia หรือกลัวการไปโรงเรียน ไม่ชอบ ไม่อยากไปขึ้นได้
ขาดระเบียบวินัยความรับผิดชอบ โดยเฉพาะเด็กอนุบาลหรือเด็กประถม เมื่อตอนที่ยังไปโรงเรียนได้ เด็กจะถูกฝึกจากโรงเรียน มีแรงจูงใจจากเพื่อน ๆ และคุณครู เมื่อเด็กมีวินัยทำตามกฎของโรงเรียน ของห้องเรียนก็จะได้รับคำชม เป็นกลไกหนึ่งในการหล่อหลอมเขา
บุคลิกภาพไม่ได้รับการพัฒนา เมื่ออยู่บ้านนานเกินไป เด็กจะขาดทักษะการเข้าสังคม ซึ่งการเข้าสังคม การคบเพื่อน การทำกิจกรรมกับเพื่อนของเด็ก ๆ เป็นการพัฒนาบุคลิกภาพอย่างหนึ่งของเขา
การเรียนรู้ช้า ในแง่ของวิชาการอ่านเขียน เด็กอาจมีความรู้ความสามารถทางวิชาการที่ช้างลง
เน่ื่องจากพัฒนาการของเด็กคน และแต่ละด้านไม่เท่า เพราะฉะนั้นพ่อแม่ต้องคอยสังเกตลูกค่ะ ถ้าเราสังเกตลูกตลอดและเรารู้จักตัวตนของลูก แม้ว่าอะไรเปลี่ยนไปเราจะรู้ทันทีว่าลูกกำลังผิดปกติ เช่น จากที่เคยพูดคุยเยอะ ๆ วันหนึ่งถามคำตอบคำ พ่อแม่ต้องรีบเข้าไปพูดคุยว่าลูกเป็นอะไร มีปัญหาอะไรให้ช่วยไหม
จัดตารางเวลาที่บ้านให้เหมือนไปโรงเรียน ตั้งแต่ตื่นนอน อาบน้ำ กินข้าว ให้พร้อมก่อนถึงเวลาเรียน และเมื่อถึงเวลาเรียนลูกต้องนั่งอยู่ที่โต๊ะ พ่อแม่ต้องคอยประกบ และเมื่อลูกเรียนครบ 1 วิชาอาจจะให้ลูกไดด้พักเล่นอิสระไปก่อนสัก 10-15 นาทีก่อนเริ่มวิชาใหม่
คอยปรึกษาคุณครูเรื่องตารางการสอน การบ้าน และใบงานต่าง ๆ เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วแม้การเรียนออนไลน์จะเป็นหน้าที่ของเด็ก ๆ แต่พ่อแม่ยังคงต้องเฝ้าดู ใส่ใจ และติดตามถามความคืบหน้าต่าง ๆ โดยเฉพาะในวิชาที่ต้องลงมือทำอย่างศิลปะสร้างสรรค์ เด็กไม่สามารถเตรียมอุปกรณ์เองได้ พ่อแม่ต้องช่วย
ให้คะแนนเป็นรางวัลกระตุ้นแรงจูงใจแก่ลูก เมื่อไปโรงเรียนคุณครูจะมีดาวหรือคะแนนให้เด็ก ๆ เราสามารถนำกติกานี้มาใช้ที่บ้านได้เช่นกัน สร้างแรงจูงใจให้ลูกเกิดการเรียนรู้และกระตุ้นให้อยากทำ เช่น ถ้าเก็บจานหลังกินข้าวจะได้ 1 ดาว ถ้าสะสมดาวครบ 5 ดวงจะได้ดู YouTube 20 นาที เป็นต้น
สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องตระหนักคือ เด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน ช่วงแรกอาจจะเครียดบ้าง แต่เราสามารถปรับจูนกันได้ค่ะ
อ้างอิง : ผศ.ดร.ยศวีร์ สายฟ้า รองคณบดี คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รับฟังและรับชมเพิ่มเติมที่ Podcast รายการ รักลูก The Expert Talk ทั้งหมดได้ที่>>> https://bit.ly/2PiemQ4