หนู / ผม |
ใช่ |
ไม่ใช่ |
ชอบจินตนาการบางครั้งก็คิดเพลิน |
||
ช่างซัก ช่างถาม และมีคำถามแปลกๆ ตลอดเวลา |
||
ชอบวิเคราะห์ วิจารณ์ และมักจะคิดแตกต่างจากคนอื่น |
||
ชอบเล่นของเล่นตามใจตัวเอง ไม่เล่นตามที่วิธีในคู่มือ |
||
ไม่ชอบกฏกติกาตายตัว หรือลองคิดกติกาเอง |
||
ชอบพลิกแพลง ไม่ยึดติดกับความคิดเดิม |
||
มีความรู้สึกไวกับคำพูด ความคิด และท่าทางของคนรอบตัว |
||
ชอบคิดและจดอะไรออกมาเป็นภาพมากกว่าตัวหนังสือ |
||
ช่างสังเกต จำรายละเอียดแม่น |
||
ชอบความบันเทิง เช่น ดูหนัง ฟังเพลง วาดรูป เที่ยว |
ลูกบ้านไหนที่ทำได้หรือมีมากกว่า 5 ข้อนี้ คุณพ่อคุณแม่มั่นใจได้เลยค่ะว่าพลังความคิดสร้างสรรค์ของเขาโดดเด่นไม่แพ้ใครแล้ว ซึ่งถ้าคุณพ่อคุณแม่เสริมสร้างทักษะอีกสักนิดด้วยวิธีต่อไปนี้ รับรองเลยว่าในอนาคตข้างหน้า เขาจะใช้ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานจนอาจกลายเป็นกลายเป็นครีเอทีฟโฆษณา นักสร้างหนัง นักการตลาด หรือแม้แต่นักธุรกิจที่เห็นโอกาสใหม่ๆ เสมอค่ะ
วิธีที่ 1 : ตั้งคำถามปลายเปิดกับทุกการพูดคุย ไม่ว่าเรื่องนั้นจะเล็กน้อยแค่ไหน เพื่อกระตุ้นให้ลูกใช้ความคิด กล้าแสดงออก รวมถึงสามารถถ่ายทอดความรู้สึกของตัวเองได้จากความคิดเหล่านั้นโดยไม่มีถูกผิด เช่น ทำไมลูกถึงชอบตุ๊กตาล่ะ เมฆบนฟ้าเป็นรูปอะไร รู้ไหมว่าถ้าไม่แปรงฟันจะเกิดอะไรขึ้นฯลฯ
วิธีที่ 2 : พาลูกไปเที่ยวสถานที่ต่างๆ เช่น สวนสนุก สวนสาธารณะ พิพิธภัณฑ์ หรือแม้แต่บ้านเพื่อน บ้านญาติพี่น้อง เพื่อให้ลูกได้มอง สังเกต และจดจำสิ่งต่างๆ รอบตัวที่มีความหลากหลายซึ่งจะเป็นเหมือนสร้างคลังข้อมูลที่ลูกจะนำไปใช้ในกระบวนการคิด และการประติดประต่อเรื่องราวต่างๆ ในอนาคต
วิธีที่ 3 : สร้างชั่วโมงกิจกรรมบันเทิงอยู่เสมอ เช่น ร้องหรือฟังเพลงที่ชอบ ดูหนังเรื่องโปรด หรือวาดภาพตามจินตนาการ เพื่อช่วยให้ลูกอารมณ์ดี ผ่อนคลาย และมีอิสระให้การคิดโดยไม่ติดกรอบข้อบังคับใดๆ ยิ่งลูกเปิดจินตนาการได้มากเท่าไหร่ ความคิดสร้างสรรค์ก็จะยิ่งมีมากเท่านั้นนะคะ
วิธีที่ 4 : ฝึกจดบันทึกให้เป็นนิสัย คุณแม่ลองชวนลูกมาทำสมุดบันทึกเล็กๆ เพื่อจดประโยคสั้นๆ ที่ลูกชอบ หรือจะวาดภาพ ติดสติ๊กเกอร์ ติดรูปภาพ แทนการเขียน จะช่วยเตือนความจำหรือลูกสามารถเปิดขึ้นมาดูเพื่อนำมาใช้งานได้
วิธีที่ 5 : ไม่ควรพูดว่า “ไม่” และ “อย่า”กับลูก เมื่อลูกกำลังแสดงความคิดเห็น หรือกำลังสร้างจินตนาการ เพราะคำพูดเหล่านี้จะทำให้ลูกไม่กล้าคิดเพราะกลัวความผิด กลัวความแตกต่าง หากคุณพ่อคุณแม่เห็นว่าสิ่งที่ลูกทำไม่ทำให้เกิดอันตรายหรือไม่สร้างความคิดในแง่ลบ ก็ควรปล่อยให้ลูกแสดงออกได้อย่างเต็มที่ โดยเราทำหน้าที่เป็นเพียงผู้แนะนำและสนับสนุนค่ะ
(พื้นที่เพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์)